นิตยสาร สสวท. ปีที่ 52 ฉบับที่ 245

...
Author:
37 downloads 114 Views 41MB Size
ปที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ChatGPT ความท้าทายใหม่สำ�หรับ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) การออกแบบเกมกระดาน (Board Game) เพื่อการศึกษา เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์กับการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แบบจำ�ลองอะตอมยังเหมือนเดิมหรือไม่

1

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

นิตยสาร สสวท.

2

ปที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

เปิดเล่ม สสวท.

ChatGPT ความท้าทายใหม่สำาหรับ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) การออกแบบเกมกระดาน (Board Game) เพื่อการศึกษา เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์กับการดำารงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แบบจำาลองอะตอมยังเหมือนเดิมหรือไม่

1

สสวท. ยังคงดำ�เนินการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร สื่อ การจัดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับศักยภาพครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เรียนให้มีสมรรถนะ ในระดับสากลผ่านระบบดิจิทัลและนวัตกรรมที่ทันสมัย การจัดทำ�นิตยสาร สสวท. ฉบับออนไลน์ก็ เช่นเดียวกัน ผู้สอนและนักวิชาการในและนอกองค์กรสามารถถ่ายทอดความรู้ และกิจกรรมต่างๆ ใน รูปแบบของบทความด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้เข้าถึงทั้งผู้สอน นักวิชาการ และ บุคคลทั่วไปได้ นิตยสารฉบับนีเ้ ป็นฉบับสุดท้ายของปี 2566 ยังคงนำ�เสนอเรือ่ งของปัญญาประดิษฐ์ทชี่ ว่ ยให้ผคู้ น สามารถสร้างข้อความตอบโต้คอมพิวเตอร์ดว้ ยการสนทนาทีเ่ ป็นธรรมชาติคล้ายมนุษย์ มีบทความทัง้ ด้านวิทย์ คณิต และเทคโนโลยี การออกแบบเกม รวมทั้งด้านการประเมิน อาทิ ทันโลก ทันยุค ทันสมัยเชื่อมโยง บทเรียนในหนังสือเรียนกับชีวติ จริง ความคลาดเคลือ่ นทีไ่ ม่ได้เกิดจากการเลือกตัวอย่างในการวิจยั เชิงสำ�รวจ แบบจำ�ลองอะตอมยังเหมือนเดิมหรือไม่ การสอนตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ นิตยสาร สสวท. ยังคงเปิดโอกาสให้นกั วิชาการ ครู อาจารย์ ส่งบทความทีเ่ กีย่ วข้องมานำ�เสนอเช่นเดิม โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความมาได้ที่ e-mail: [email protected] หรือ [email protected] ท่านสามารถติดตาม นิตยสาร สสวท. ฉบับออนไลน์ได้ที่ emagazine.ipst.ac.th และ Facebook http://facebook.com/ipstmag หวังว่าทุกท่านยังคงติดตามนิตยสารต่อไป และหากมีขอ้ เสนอแนะใดๆ ก็สื่อสารมาได้ตลอดเวลา

ขจีรัตน์ ปิยกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการ

วัตถุประสงค์ 1. เผยแพร่และส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีให้แก่ครูและผู้สนใจทั่วไป 2. เผยแพร่กิจกรรมและผลงานของ สสวท. 3. เสนอความก้าวหน้าของวิทยาการในด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนนการศึกษาของ ชาติให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน 4. แลกเปลี่ยนและรับฟังความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี จากครูและผูส้ นใจ ทั่วไป เจ้าของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) 924 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทรศัพท์: 0-2392-4021 ต่อ 3307

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

คณะที่ปรึกษา ประธานกรรมการ สสวท. ผู้อำ�นวยการ สสวท. รองผู้อำ�นวยการ สสวท. หัวหน้ากองบรรณาธิการ ขจีรัตน์ ปิยกุล กองบรรณาธิการ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ผู้อำ�นวยการสาขา/ฝ่าย ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ/ผู้เชี่ยวชาญ ขจิต เมตตาเมธา จินดาพร หมวกหมื่นไวย ดร.ดวงกมล เบ้าวัน ทิพย์วรรณ สุดปฐม นันทฉัตร วงษ์ปัญญา ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ดร.ประวีณา ติระ ดร.ภัทรวดี หาดแก้ว ดร.รณชัย ปานะโปย ดร.สนธิ พลชัยยา ดร.อรสา ชูสกุล ผู้ช่วยกองบรรณาธิการ จิรวัฒน์ นิยะมะ จิราภรณ์ เจริญยิ่ง เทอด พิธิยานุวัฒน์ นิลุบล กองทอง รัชนีกร มณีโชติรัตน์ สินีนาฏ จันทะภา สิริมดี นาคสังข์ สุประดิษฐ์ รุ่งศรี

(ข้อเขียนทั้งหมดเป็นความเห็นอิสระของผู้เขียน มิใช่ของ สสวท. หากข้อเขียนใดผู้อ่านเห็นว่าได้มีการลอกเลียนแบบ หรือแอบอ้างโดยปราศจากการอ้างอิง กรุณาแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง)

3

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

สารบัญ 30 55

11 36

05

05

ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment)

11

การออกแบบเกมกระดาน (Board Game) เพื่อการศึกษา

15

เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ กับการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก

21

Exotic Pets และ Alien Species: การสอนปัญหาสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์

24

แบบจำ�ลองอะตอมยังเหมือนเดิมหรือไม่

30

ทันโลก ทันยุค ทันสมัย เชื่อมโยงบทเรียน ในหนังสือเรียนกับชีวิตจริง

34

ความคลาดเคลื่อนที่ไมไดเกิดจากการเลือกตัวอยาง ในการวิจัยเชิงสํารวจ

นิตยสาร สสวท.

47

15

ดร.กฤษลดา ชูสินคุณาวุฒิ

ดร.ยศินทร์ กิติจันทโรภาส

ดร.โศภิตา อุไพพานิช

56

36

ChatGPT ความท้าทายใหม่สำ�หรับ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

41

การสอนตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ (Symbolic Logic) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

47

ต้นไม้ แหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอน ช่วยลดโลกร้อน

วุฒิชัย ภูดี | รัฐพร บรรลือ | ดร.อรรถพร วรรณทอง

ผ.ศ.ดร.สุพจน์ ไชยสังข์

สุวินัย มงคลธารณ์

55 เว็บช่วยสอน วรรษา กะฐินทอง

สุทธิพงษ์ พงษ์วร

56

ศุภณัฐ คุ้มโหมด

ข่าว

59 QUIZ

อุปการ จีระพันธุ

วิโรจน ลิ่วคงสถาพร

4

ดร.กฤษลดา ชูสินคุณาวุฒิ | นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: [email protected]

ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) “วิธีง่ายๆ ที่ผู้สอนใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เริ่มสอนอย่างสม่ำ�เสมอเกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอน โดยมี จุ ด มุ่ ง หมายเพื่ อ นำ � เสนอข้ อ มู ล ที่ ทำ � ให้ ทั้ ง ผู้ ส อนและผู้ เรี ย นสามารถนำ � ไปใช้ ป รั บ ประสิ ท ธิ ภ าพ การสอนและคุณภาพของการเรียนรู้” คำ�อธิบายนี้เป็นความหมายของคำ�ว่า การประเมิน (Assessment) ที่กล่าวโดย Thomas Angelo (1991)

5

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566



ากความหมายข้างต้น การประเมินเป็นกิจกรรมสำ�คัญที่ไม่ใช่ เพียงเพื่อการตรวจสอบการเรียนรู้ แต่เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative Assessment) เป็นส่วน สำ�คัญของกระบวนการเรียนรูเ้ นือ่ งจากทำ�ให้เกิดการเปลีย่ นแปลงการเรียนรู้ ของนักเรียนและมีประโยชน์ทั้งต่อนักเรียนและครู บทความนี้จะกล่าวถึง ความหมาย ลักษณะสำ�คัญ และกระบวนการของการประเมินเพือ่ การพัฒนา การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง

การประเมินเพื่อพัฒนามีลักษณะสำ�คัญสรุปได้ดังนี้ (1) มีจดุ ประสงค์เพือ่ ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรูข้ องนักเรียน ให้มคี วามก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ (Learning Goals) และ ปรับปรุงการสอนของครู (Bell & Cowie, 2001, 2002; Shepard et al., 2005; Greenstein, 2010) (2) ครูและนักเรียนมีบทบาทสำ�คัญในการประเมินร่วมกัน ครูมี บทบาทสร้างวัฒนธรรมที่ดีในห้องเรียนให้เป็นสังคมที่ช่วยเหลือและ สนับสนุนซึ่งกันและกัน มีสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี และเปิดโอกาส ให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองและแสดงความคิดเห็นได้อย่าง อิสระ ส่วนนักเรียนมีบทบาทเป็นผู้เรียนที่ตื่นตัว (Active Learner) และ มีส่วนร่วมในการประเมินผ่านการประเมินตนเองของนักเรียน (Student Self-assessment) และการประเมินโดยเพือ่ น (Peer Assessment) การสะท้อน คิดเกีย่ วกับการกระทำ�ของตนเอง และร่วมแสดงความคิดเห็นโดยไม่นงิ่ เฉย ซึง่ จะช่วยให้ครูสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลเกีย่ วกับการเรียนรูข้ องนักเรียนได้ (Black and Wiliam, 1998; Bell & Cowie, 2001, 2002; Heritage, 2010) (3) ใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็น ทางการเพื่อนำ�ข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ที่เก็บรวบรวมได้ไปใช้ในการ ปรับเปลี่ยนการสอนและวางแผนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการ ในการเรียนรูข้ องนักเรียนในขณะนัน้ ซึง่ เป็นการช่วยให้ครูตดั สินใจเกีย่ วกับ การสอนของตนเองและสามารถเลือกใช้กลวิธีสอนได้อย่างมีจุดมุ่งหมาย (Bell & Cowie, 2001; Greenstein, 2010) (4) เป็นส่วนหนึง่ ในกระบวนการเรียนรู้ สามารถเกิดขึน้ ได้ตลอด และทำ�ได้ในทุกขัน้ ของการสอน ไม่จ�ำ เป็นต้องเกิดขึน้ ในขัน้ การสอนเท่านัน้ แต่สามารถเกิดได้ตงั้ แต่ขนั้ นำ�ไปจนถึงขัน้ สรุป (Black & Wiliam, 1998; Bell & Cowie, 2001; Greenstein, 2010) (5) มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ซึ่งเป็นองค์ประกอบ สำ�คัญของการประเมินเพือ่ พัฒนา (Sadler, 1989; Bell & Cowie, 2002)

ความหมายและลักษณะสำ�คัญของการประเมินเพื่อพัฒนา การประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นาเป็ น กระบวนการประเมิ น ที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่างต่อเนือ่ งในกระบวนการเรียนรูแ้ ละดำ�เนินการได้ในทุกขัน้ ของการสอน โดยครูและนักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กันหรือทำ�งานร่วมกันเสมือนหุ้นส่วน ทีม่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบในการเรียนรูร้ ว่ มกัน การประเมินรูปแบบนีเ้ ป็นการประเมิน เพื่อใช้หลักฐานการเรียนรู้หรือผลการประเมินสำ�หรับการปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและปรับปรุงการสอนของครูจนบรรลุ เป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการเพื่อให้นักเรียนเกิดความก้าวหน้าในการ เรียนรูแ้ ละบรรลุเป้าหมายการเรียนรูท้ คี่ าดหวังควบคูก่ นั ไป (Sadler, 1989; Bell & Cowie, 2002; Brown, 2008; Heritage, 2010; Popham, 2011; MacMil an, 2014) หรืออาจกล่าวได้วา ่ การประเมินเพือ่ พัฒนาเป็น กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลเกีย่ วกับการเรียนรูข้ องนักเรียน ตีความหมาย ข้อมูล และใช้ข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้เพื่อประกอบการตัดสินใจว่า นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่อย่างไร การเรียนรู้อยู่ห่างจากเป้าหมาย การเรียนรู้เพียงใด ต้องพัฒนาการเรียนรู้ไปในทิศทางใด และต้องพัฒนา การเรียนรู้ให้ไปถึงเป้าหมายการเรียนรู้นั้นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ครูเข้าใจ การเรียนรูข้ องนักเรียนและได้ตรวจสอบแผนการสอนทีต่ นเองเตรียมมาว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วทำ�การปรับเปลีย่ น การสอนทีก่ �ำ ลังดำ�เนินการอยูใ่ ห้เหมาะสมกับนักเรียนได้ พร้อมทัง้ หาวิธกี าร ทีจ่ ะช่วยให้นกั เรียนเกิดการเรียนรูต้ ามเกณฑ์ทตี่ งั้ ไว้ เปิดโอกาสให้นกั เรียน ทุกคนได้ปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของตนเองโดยให้ข้อมูลย้อนกลับที่มี กระบวนการของการประเมินเพื่อพัฒนา คุณภาพแก่นกั เรียน รวมทัง้ นำ�ข้อมูลมาใช้ส�ำ หรับวางแผนการสอนครัง้ ถัดไป การประเมินเพือ่ พัฒนาเป็นกระบวนการประเมินทีม่ ลี กั ษณะวนซ้�ำ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่นักเรียนก็ใช้ข้อมูลย้อนกลับที่ได้มา เป็นวงจร ซึง่ มีหลายขัน้ ตอนต่อเนือ่ งและบูรณาการเข้ากับการสอน ดังภาพ ปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองให้ดีขึ้นเช่นกัน

ภาพจาก: https://www.edutopia.org/article/incorporating-simple-student-designed-assessments/

นิตยสาร สสวท.

6

ภาพ 1 กระบวนการของการประเมินเพื่อพัฒนา (Heritage, 2010)

เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Pathway) หรือความก้าวหน้าในการเรียนรู้ (Learning Progression) ที่ ห่างจากเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการแตกต่างกัน กล่าวคือ นักเรียน แต่ละคนจะมีช่องว่างระหว่างตำ�แหน่งหรือสถานะการเรียนรู้ที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบนั กับตำ�แหน่งหรือสถานะการเรียนรูท้ นี่ กั เรียนและครูตอ้ งการจะไปถึง เมือ่ สิน้ สุดบทเรียนแตกต่างกันด้วย การประเมินเพือ่ พัฒนาจึงเป็นกระบวนการ ที่ใช้สำ�หรับปิดช่องว่างของนักเรียนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ที่ต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ (1) กำ�หนดเป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์สำ�หรับความสำ�เร็จ (Determine Learning Goal and Define Criteria for Success) เป้าหมายการเรียนรู้และเกณฑ์สำ�หรับความสำ�เร็จเป็นสิ่งที่ครู กำ�หนดขึน้ โดยพิจารณาจากตัวชีว้ ดั และสาระการเรียนรูท้ ก่ี �ำ หนดในหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พุทธศักราช 2551 ซึง่ จะทำ�ให้ทราบเส้นทาง การเรียนรูห้ รือความก้าวหน้าในการเรียนรูข้ องนักเรียนในการกำ�หนดเป้าหมาย การเรียนรู้ ครูควรระบุว่านักเรียนจะได้เรียนรู้อะไรในระหว่างบทเรียน หรือเมื่อจบบทเรียน และในการกำ�หนดเกณฑ์สำ�หรับความสำ�เร็จหรือ เรียกว่า เกณฑ์ความสำ�เร็จ ครูควรระบุว่านักเรียนต้องทำ�อะไรได้เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายการเรียนรูน้ นั้ โดยเกณฑ์ความสำ�เร็จจะนำ�ไปใช้เป็นเกณฑ์ สำ�หรับการประเมิน

ในการจัดการเรียนรู้ก่อนที่จะเริ่มบทเรียนครูจะต้องชี้แจงหรือ อธิบายเกีย่ วกับเป้าหมายการเรียนรูแ้ ละเกณฑ์ความสำ�เร็จให้นกั เรียนเข้าใจ และเห็นความสำ�คัญ รวมทั้งให้นักเรียนใช้เกณฑ์ความสำ�เร็จเป็นแนวทาง ในการเรียนรู้ และในระหว่างการจัดการเรียนรู้ทั้งครูและนักเรียนยัง สามารถใช้เกณฑ์ความสำ�เร็จตรวจสอบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อทำ�ให้การเรียนรู้มีความก้าวหน้าและมุ่งไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ ปลายทางให้ได้ (2) เก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ (Elicit Evidence of Learning) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ครูต้องใช้ วิธีการประเมินที่หลากหลายเพื่อให้ทราบว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเป็น อย่างไร การเรียนรู้ได้รับการพัฒนาไปสู่เป้าหมายหรือไม่อย่างไร โดยวิธี การประเมินทีค่ รูสามารถเลือกใช้ได้ เช่น การสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ การพูดคุย การใช้ค�ำ ถาม การสะท้อนคิด การทำ�ตัว๋ ออก การทดสอบ การทำ� ภาระงานทีก่ �ำ หนดให้เพือ่ แสดงความสามารถ เช่น การทดลอง การสำ�รวจ การแก้ปญั หา การปฏิบตั งิ านเชิงทักษะ การสาธิต การนำ�เสนอ ซึง่ ประเมิน โดยครู และสามารถให้นกั เรียนประเมินตนเองและประเมินโดยเพือ่ นได้ดว้ ย โดยทั่วไปวิธีการประเมินควรผสมผสานอยู่ในการสอนของครู ที่วางแผนล่วงหน้า แต่บางครั้งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่าง

7

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

การจัดการเรียนรู้โดยที่ครูไม่ได้วางแผนไว้ เช่น เมื่อครูวางแผนการสอน วิชาวิทยาศาสตร์และตัดสินใจเลือกใช้คำ�ถามเพื่อตรวจสอบว่านักเรียน เข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์นั้นได้ดีเพียงใด อย่างไรก็ตาม ครูอาจได้ ข้อมูลดังกล่าวจากการสังเกตในระหว่างการทำ�กิจกรรมหรือจากการพูดคุย กับนักเรียนซึ่งเกิดขึ้นเองในขณะที่สอนก็ได้ ซึ่งทำ�ให้ครูไม่ได้ใช้คำ�ถาม ที่เตรียมมาและปรับเปลี่ยนการสอนไปโดยอัตโนมัติ (3) ตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ (Interpret the Evidence) เมือ่ ครูเก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรูไ้ ปแล้ว สิง่ ทีค่ รู ต้องดำ�เนินการต่อเนือ่ งคือ การตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ทีร่ วบรวมได้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ความสำ�เร็จทีก่ �ำ หนดไว้เพือ่ ให้ทราบ สถานะการเรียนรู้ของนักเรียนที่เป็นอยู่ เช่น สิ่งที่นักเรียนเข้าใจคืออะไร สิ่งที่นักเรียนเข้าใจคลาดเคลื่อนคืออะไร ความรู้และทักษะใดที่นักเรียน มีหรือยังไม่มี และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อตัดสินใจว่าจำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยน การสอนไปตามข้อมูลที่ได้รับหรือไม่ กรณีทค่ี รูพบว่า ข้อมูลทีร่ วบรวมได้ยงั ไม่เพียงพอทีจ่ ะบ่งบอกสถานะ การเรียนรู้ของนักเรียนได้ ครูจ�ำ เป็นต้องรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนการสอน เช่น เปลี่ยนแปลงวิธีการประเมินที่ เตรียมมา กรณีที่ครูพบว่าข้อมูลที่รวบรวมได้เพียงพอที่จะบ่งบอกสถานะ การเรียนรูข้ องนักเรียนได้แล้ว ถ้าการเรียนรูข้ องนักเรียนเป็นไปตามเกณฑ์ ความสำ�เร็จ ครูก็ไม่จำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยนการสอนนั้น แต่ถ้าการเรียนรู้ ของนักเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ความสำ�เร็จ ครูจำ�เป็นต้องระบุช่องว่าง แล้วปรับตัวและตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียนต่อไป ในขณะที่นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สิ่งที่นักเรียนจะต้อง ทำ�ควบคูไ่ ปกับครูกค็ อื การกำ�กับติดตามการเรียนรูผ้ า่ นการสังเกตตนเอง แล้วตีความหมายข้อมูลโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ความสำ�เร็จที่กำ�หนดไว้ เพื่อให้ทราบว่าการเรียนรู้ของตนเองมีการพัฒนาและเข้าใกล้เป้าหมาย การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ ครูควรให้นักเรียนสังเกตตนเองอย่าง สม่ำ � เสมอและสื่ อ สารออกมาอย่ า งตรงไปตรงมาเพื่ อ ช่ ว ยให้ นั ก เรี ย น สามารถตัดสินใจที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ได้ (4) ระบุช่องว่าง (Identify the Gap) ภายหลังการตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ครูตอ้ ง เปรียบเทียบสถานะการเรียนรู้ที่นักเรียนเป็นอยู่ในปัจจุบันกับเป้าหมาย การเรียนรูท้ ตี่ อ้ งการเพือ่ ระบุชอ่ งว่าง ซึง่ จะทำ�ให้ครูทราบว่าปัจจุบนั นักเรียน อยู่ห่างจากเป้าหมายการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด และมีความต้องการ ในการเรียนรู้เป็นอย่างไร (5) ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เมือ่ ทราบช่องว่างของนักเรียนแล้ว ครูจะต้องใช้ขอ้ มูลหรือหลักฐาน การเรียนรู้เป็นข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และ ทำ�ให้การเรียนรู้มีความก้าวหน้าไปเป็นลำ�ดับและปิดช่องว่างของนักเรียน นอกจากข้อมูลย้อนกลับจะมาจากครูแล้ว นักเรียนยังได้รบั ข้อมูล ย้อนกลับผ่านการประเมินตนเอง ซึง่ ช่วยให้นกั เรียนกำ�กับติดตามการเรียนรู้ ของตนเองอีกทางหนึง่ และทำ�ให้นกั เรียนได้ฝกึ คิดเกีย่ วกับสิง่ ทีต่ อ้ งเรียนรู้ นิตยสาร สสวท.

8

แนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ครูควรรู้ ในการให้ขอ้ มูลย้อนกลับ ครูไม่ควรบอกว่านักเรียนถูกหรือผิดและไม่ควรให้เป็นเกรดหรือคะแนนเพียงอย่างเดียว โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดีและมีคุณภาพ ครูควรให้รายละเอียดเกี่ยวกับสถานะการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับเกณฑ์ ความสำ�เร็จอย่างตรงประเด็น เข้าใจง่าย และครบถ้วนในลักษณะการบอกกล่าว พูดคุย มีการใช้ข้อความ เอกสาร รูปภาพ หรือให้ตัวอย่างผลงานที่มีการระบุจุดเด่น จุดที่ต้องการปรับปรุงแก้ไข พร้อมทั้งแนะแนวทางที่นักเรียนจะสามารถนำ�ไป ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองได้ ให้ข้อมูลตามความเป็นจริงและทันเวลา เพื่อให้นักเรียนได้แก้ไขข้อผิดพลาดหรือ ข้อบกพร่อง ตลอดจนสิ่งที่เข้าใจคลาดเคลื่อนของตนเองได้ทันท่วงที (Sadler, 1989; Hattie & Timperley, 2007; Heritage, 2010) นอกจากนี้การให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพยังสามารถทำ�ได้ดังภาพ

ภาพ 2 ลักษณะของการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Hattie & Timperley, 2007; Heritage, 2010)

ครูสามารถให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนได้ทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดกระบวนการ เรียนรู้ จึงควรอยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตร สร้างความรู้สึกที่ดี เป็นไปในทางเชิงบวก อาจให้กำ�ลังใจและชื่นชมได้ตาม ความเหมาะสม หลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลที่แสดงอารมณ์ที่ทำ�ให้นักเรียนรู้สึกว่าถูกซ้ำ�เติมหรือทำ�ให้นักเรียนรู้สึกกดดัน เมื่อ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนแล้ว ครูก็ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปรับปรุงแก้ไขตนเองและติดตามการปรับปรุง แก้ไขของนักเรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ท่คี าดหวัง Sadler, 1989; Hattie & Timperley, 2007; Heritage, 2010)

รวมทั้งกลวิธีหรือกลยุทธ์ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ และวางแผนเพื่อทำ�ให้ การเรียนรู้ของตนเองประสบความสำ�เร็จจนส่งผลให้เกิดการตระหนักรู้ได้ และเมื่อนักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินโดยเพื่อน นักเรียนก็ยังสามารถ ใช้เกณฑ์ความสำ�เร็จเพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับซึ่งกันและกันอีกด้วย (6) ปรับตัวและตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ (Adapt and Respond to Learning Needs)

เพื่ อให้ ส ามารถปิ ด ช่ อ งว่ า งและส่ ง เสริ ม การเรี ย นรู้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ สิ่งที่ครูจะต้องทำ�ต่อจากการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียน ก็คอื การใช้ขอ้ มูลหรือหลักฐานการเรียนรูม้ าเป็นข้อมูลย้อนกลับแก่ตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนการสอนหรือจัดประสบการณ์ให้ตรงกับความต้องการ ในการเรียนรูข้ องนักเรียน ขณะเดียวกันนักเรียนก็ใช้ขอ้ มูลย้อนกลับทัง้ จาก ครูและเพือ่ นเพือ่ ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการเรียนรูข้ องตนเองให้กา้ วหน้า มากขึ้น

9

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

(7) เสริมต่อการเรียนรู้ใหม่ (Scaffold New Learning) เมื่อครูปรับเปลี่ยนการสอนของตนเองให้ตรงกับความต้องการ ในการเรียนรูข้ องนักเรียนแล้ว สิง่ ทีค่ รูตอ้ งดำ�เนินการต่อเนือ่ งคือ การเสริม ต่อการเรียนรูข้ องนักเรียน โดยให้การสนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนแต่ละคน ผ่านวิธสี อนทีเ่ หมาะสม และเปิดโอกาสให้นกั เรียนทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ มากกว่าให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนที่มีความรู้ความสามารถน้อยกว่า ผ่านการทำ�งานร่วมกันหรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมทั้งจัดให้มี สภาพแวดล้อมที่ดีที่ส่งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อการเรียนรู้ ซึ่ง การเสริมต่อการเรียนรู้จะช่วยขยายขอบเขตความรู้ความสามารถของ นักเรียนให้มีระดับที่สูงขึ้น (8) ปิดช่องว่าง (Close the Gap) ในขัน้ ตอนนีค้ รูจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้ ตีความหมายข้อมูลหรือหลักฐานการเรียนรู้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์

ภาพจาก: https://www.turnitin.com/blog/assessment-strategies-in-the-classroomraising-the-bar-for-learning

ความสำ�เร็จทีต่ ง้ั ไว้เพือ่ ให้ทราบว่าช่องว่างระหว่างสถานะการเรียนรูท้ น่ี กั เรียน เป็นอยู่ในปัจจุบันกับสถานะการเรียนรู้ที่นักเรียนและครูต้องการปิดลง หรือไม่ ถ้าช่องว่างปิดไม่ได้ กระบวนการประเมินจะวนซ้ำ� โดยครู จะต้องกลับไประบุชอ่ งว่างใหม่ ให้ขอ้ มูลย้อนกลับ ปรับตัวและตอบสนอง ความต้องการในการเรียนรู้ แล้วเสริมต่อการเรียนรู้ไปจนกว่าช่องว่างจะ ปิดได้ ถ้าช่องว่างปิดลงได้ กล่าวคือ นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในบทเรียน และสามารถทำ�ในสิ่งที่ต้องการเพื่อแสดงถึงการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ ที่กำ�หนดไว้ได้ เมื่อครูกำ�หนดเป้าหมายการเรียนรู้ใหม่จะทำ�ให้ช่องว่างของ นั ก เรี ย นเปิ ด และกระบวนการการประเมิ น เพื่ อ พั ฒ นาก็ จ ะวนซ้ำ � เพื่ อ ปิดช่องว่างอีกครั้ง จากข้อมูลเกีย่ วกับการประเมินเพือ่ พัฒนาทีก่ ล่าวข้างต้น การประเมิน เพื่อพัฒนาเป็นกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้ เกิดความก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายการเรียนรูท้ คี่ าดหวังหรือปิดช่องว่าง ของนักเรียนและการสอนของครูไปพร้อมกัน ซึ่งมีหลายขั้นตอนและต้อง ดำ�เนินการอย่างต่อเนือ่ งตลอดกระบวนการเรียนรู้ การจะทำ�ให้การประเมิน เพื่อพัฒนาเกิดประสิทธิภาพได้นั้น สิ่งสำ�คัญคือ ครูควรแยกการประเมิน เพือ่ พัฒนาออกจากการให้คะแนนและใช้เป็นการประเมินหลักของการสอน ไม่ละเลยทีจ่ ะการปรับเปลีย่ นการสอนของตนเองให้สมั พันธ์กบั ผลการประเมิน ที่ได้รับ โดยจัดประสบการณ์ให้เหมาะสมกับความต้องการในการเรียนรู้ ของนักเรียนในขณะนัน้ ให้ขอ้ มูลย้อนกลับทีด่ ี มีคณุ ภาพและประสิทธิภาพ เกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักเรียน โดยให้เวลานักเรียนได้ลงมือปรับปรุง แก้ไขตนเองและติดตามการปรับปรุงแก้ไขของนักเรียนทุกครัง้ และควรให้ นักเรียนมีส่วนร่วมในการประเมินและกำ�กับติดตามการเรียนรู้ของตนเอง อย่างสม่ำ�เสมอ เพียงเท่านี้การประเมินเพื่อพัฒนาก็จะเป็นกลไกที่ช่วย ให้ครูสามารถขับเคลื่อนการเรียนรู้ของนักเรียนจากตำ�แหน่งที่เป็นอยู่ไปสู่ เป้าหมายการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้ได้

บรรณานุกรม Angelo, T.A. (1991). Ten Easy Pieces: assessing higher learning in four dimensions. New Directions for Teaching and Learning, 46: 17-31. Bell, B. & Cowie, B. (2001). The Characteristics of Formative Assessment in Science Education. Science Education, 85: 536–553. doi: 10.1002/sce.1022 Bell, B. & Cowie, B. (2002). Formative Assessment and Science Education. Kluwer Academic Publishers. Black, P. & Wiliam, D. (1998). Inside the Black Box: raising standards through classroom assessment. Phi Delta Kappan, 80: 139–148. Brown, G.T.L. (2008). Conceptions of Assessment: understanding what assessment means to teachers and students. Nova Science Publishers. Greenstein, L. (2010). What Teachers Really Need to Know about Formative Assessment. ASCD. Hattie, J. & Timperley, H. (2007). The Power of Feedback. Review of Educational Research, 77(1): 81-112. doi: 10.3102/003465430298487 Heritage, H. M. (2010). Formative Assessment: making it happen in the classroom. Corwin. MacMillan, J. (2014). Classroom Assessment: principles and practice for effective standards-based instruction. 6th ed. Pearson Education. Popham, W.J. (2011). Assessment Literacy Overlooked: a teacher educator’s confession. The Teacher Educator, 46(4): 264-273. doi: 10.1080.08878730.2011.605048 Sadler, D.R. (1989). Formative Assessment and the Design of Instructional System. Instructional Science, 18(2): 119-144. Shepard, L. A. (2005). Linking Formative Assessment to Scaffolding. Educational Leadership, 63(3): 66–71.

นิตยสาร สสวท.

10

ดร.ยศินทร์ กิติจันทโรภาส | นักวิชาการ สาขาวิทย์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: [email protected]

การออกแบบเกมกระดาน

(Board Game) เพื่อการศึกษา Board Game เป็นสื่อที่พบได้ในหลายวัฒนธรรม ในสมัยโบราณ Board Game ถูกใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้ เช่น วิธีวางแผนการรบ การค้าขาย หรือใช้เพื่อสร้างความบันเทิงเป็นกิจกรรมยามว่าง เมื่อเวลาผ่านไป Board Game สมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่หลากหลายและซับซ้อน ปัจจุบันในด้านการศึกษา มีการใช้ Board Game เป็นสื่อสนับสนุนการสอนมากขึ้น

11

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

Board Game คืออะไร Board Game คือเกมที่ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้กติกาที่ชัดเจน อาจมีการใช้วัสดุอุปกรณ์หลายชนิดประกอบการเล่น เช่น ลูกเต๋า กระดาน การ์ด และเบี้ย (รักชน พุทธรังสี, 2560; วชรวรรธน์ ปิยะรัตนมงคล, 2563; วรรณิภา พรหมหาราช, 2564; ธีระวุฒิ ศรีมงั คละ และคณะ, 2565; Bayeck, 2020) Board Game เพื่อการศึกษาเป็นเกมที่ใช้เป็นสื่อเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน ข้อดีของ Board Game เพื่อการศึกษา ข้อดีที่เด่นชัดของ Board Game เพื่อการศึกษาคือเป็นสื่อที่ผู้เรียน ให้ความสนใจ จากงานวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความรู้สึกอยากเรียนรู้เมื่อทราบว่า จะได้เรียนโดยมีเกมเป็นสื่อในการเรียนรู้และรู้สึกสนุกสนานไปกับการเรียน ผู้เรียน มีความคิดเห็นว่าตนเองมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างมาก เกมช่วยส่งเสริมการมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนได้ดี และพบว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยเกมมีระดับ ความจำ�และความเข้าใจทีส่ งู กว่ากลุม่ ทีเ่ รียนด้วยวิธกี ารบรรยาย (สกุล สุขศิร,ิ 2550; อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์, 2557) นอกจากนี้ เกมยังเป็นสือ่ ทีส่ ามารถนำ�เสนอเนือ้ หา ที่เป็นนามธรรมผ่านประสบการณ์ระหว่างการเล่น และสามารถส่งเสริมการพัฒนา ทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การทำ�งานเป็นทีม การสื่อสาร การแก้ปัญหา (Kalmpourtzis, 2019; Thornhil -Miller et al., 2023) Board Game เพื่อการศึกษามีข้อจำ�กัดหรือไม่ สือ่ แต่ละประเภทมีจดุ แข็งและข้อจำ�กัดในการสือ่ สารทีแ่ ตกต่างกัน แม้วา ่ Board Game จะมีขอ้ ดีหลายอย่าง แต่กม็ ขี อ้ จำ�กัดเช่นกัน Board Game เป็นสือ่ ทีต่ อ้ งใช้ความเข้าใจในการใช้งาน ถ้าผูเ้ รียนคนใดคนหนึง่ ในกลุม่ ไม่เข้าใจวิธกี ารเล่น อาจตามไม่ทัน ทำ�ให้ผู้เรียนถูกทิ้งไว้จนไม่เกิดการเรียนรู้ และการประเมิน ความเข้าใจของผูเ้ รียนมักจะมาจากผลงานของกลุม่ ซึง่ อาจทำ�ให้การประเมินไม่ทวั่ ถึง (สกุล สุขศิริ, 2550) นอกจากนี้ Board Game ยังเป็นสื่อที่ใช้เวลานานในการ ออกแบบและทดสอบเมือ่ เทียบกับสือ่ อืน่ ทีม่ อี ยูแ่ ล้ว และถ้าออกแบบ Board Game ที่มีวิธีการเล่นที่ยากและซับซ้อนเกินไปจะทำ�ให้ผู้เรียนไม่เข้าใจจนรู้สึกไม่อยากเล่น หรือ Board Game ทีเ่ น้นการแข่งขันจนเกินไปอาจทำ�ให้ผเู้ รียนไม่สนใจเนือ้ หาทีเ่ กม ต้องการจะสื่อ (อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์, 2557) Board Game เพื่อการศึกษาออกแบบอย่างไร แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อกำ�หนดเกี่ยวกับมาตรฐานการออกแบบหรือ ส่วนประกอบของ Board Game เพื่อการศึกษา แต่ครู นักวิชาการ และ ผู้ออกแบบ Board Game ต่างมีข้อแนะนำ�เกี่ยวกับการออกแบบ Board Game เพื่อการศึกษาไว้ดังนี้ 1. การกำ�หนดหัวข้อ Board Game เพือ่ การศึกษามักจะใช้จดุ ประสงค์ การเรียนรู้เป็นหัวข้อในการออกแบบเพื่อกำ�หนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าเมื่อเล่นเกม จบแล้วผู้เล่นจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องใด 2. การเลือกกลไกของเกม ในปัจจุบนั มีกลไกของ Board Game ในตลาด ให้เลือกใช้มากมายหลายร้อยแบบ (Boardgamegeek, 2023) ในการออกแบบ Board Game เพือ่ การศึกษาทีม่ เี ป้าหมายเพือ่ พัฒนาสมรรถนะควรเลือกกลไกทีส่ อดคล้อง กับสมรรถนะที่ต้องการพัฒนา เช่น กลไกการเล่นแบบร่วมมือกัน (Cooperative) นิตยสาร สสวท.

12

(Food web)

(Rocks Dominoes)

(Too little to late) ภาพ 1 Board game เพื่อการศึกษา

เพื่อ พัฒนาสมรรถนะความสามารถในการใช้ทัก ษะชีวิต หรื อ กลไก การเล่นแบบเล่าเรื่อง (Narrative) เพื่อพัฒนาสมรรถนะความสามารถ ในการสื่อสาร 3. การกำ�หนดขัน้ ตอนการเล่น ขัน้ ตอนการเล่นเกมเพือ่ การศึกษา นั้นต้องมีการกำ�หนดขั้นตอนที่เป็นลำ�ดับขั้นตอนที่ชัดเจน สอดคล้องกับ กลไกของเกม และส่งเสริมให้ผู้เล่นฝ่าฟันผ่านอุปสรรคเพื่อไปให้ถึง วัตถุประสงค์ของเกมที่ผู้ออกแบบกำ�หนดไว้ การกำ�หนดขั้นตอนการเล่น ทีย่ าวหรือซับซ้อนเกินไปจะเป็นอุปสรรคในการเรียนรูว้ ธิ กี ารเล่น และทำ�ให้ เวลาที่ใช้เล่นเกมนานเกินไป ดังนั้น เมื่อพิจารณาแล้วพบว่าขั้นตอนใด ไม่ได้ส่งผลต่อการเล่นก็ควรตัดออก 4. การกำ�หนดจุดจบของเกม ในการออกแบบเกมจะต้องมีการ กำ�หนดข้อตกลงว่าเกมจะจบลงเมื่อใด เกมเพื่อการศึกษามักมีข้อจำ�กัด ด้านเวลาทีต่ อ้ งสอดคล้องกับเวลาในคาบเรียน จึงทำ�ให้จ�ำ นวนรอบในการเล่น

มักถูกนำ�มาใช้เป็นตัวกำ�หนดจุดจบของเกม 5. การกำ�หนดเงื่อนไขการแพ้ชนะ เงื่อนไขการชนะเป็นสิ่งแรก ทีผ่ เู้ ล่นให้ความสนใจ เนือ่ งจากเป็นธรรมชาติของมนุษย์ทตี่ อ้ งการเป็นผูช้ นะ ในการเล่นเกม ดังนั้น จึงต้องมีการระบุเงื่อนไขการแพ้ชนะที่ชัดเจนเพื่อ ให้เกิดความยุติธรรม 6. การออกแบบ Board Game เพื่อการศึกษาควรหลอมรวม แนวคิดของเรื่องที่ต้องการสอนกับกลไกของเกมเข้าด้วยกันเพื่อให้เกมที่ ออกแบบมีเอกลักษณ์ และสือ่ สารแนวคิดของเรือ่ งทีต่ อ้ งการสอนได้ดยี งิ่ ขึน้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ • ตัวอย่างที่ 1 ใช้กับแนวคิดเรื่องการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรมกับกลไกการสุ่มทรัพยากร (Random Production) ที่ให้ผู้เล่น ได้สุ่มทรัพยากรบางอย่างมาใช้ในการเล่น โดยผู้เล่นจะได้ทอยลูกเต๋าเพื่อ สุ่มรหัสที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตในเกม

ภาพ 2 การปรับปรุงพันธุ์มอนสเตอร์จากเกม NiuNiu

• ตัวอย่างที่ 2 ใช้กบั แนวคิดเรือ่ งความหลากหลายทางชีวภาพ ตามเงื่อนไขที่กำ�หนดเพื่อทำ�แต้ม โดยผู้เล่นจะรวบรวมการ์ดสิ่งมีชีวิตให้ กับกลไกชุดคอลเลกชัน (Set Collection) ทีผ่ เู้ ล่นจะได้รวบรวมทรัพยากร สอดคล้องกับสิ่งมีชีวิตอื่นและลักษณะพื้นที่ของป่าแต่ละแห่ง

13

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

(ก) (ข) (ค) ภาพ 3 จากเกม My Rain Forest (ก) ปกเกม (ข) การ์ดหมีที่มีเงื่อนไขได้คะแนนเมื่อวางอยู่ติดกับการ์ดพืชและ การ์ดแมลง (ค) การ์ดป่าที่กำ�หนดเงื่อนไขพื้นที่การวางการ์ดสิ่งมีชีวิต ที่มา: https://speckystudio.com/how-to-play/my-rainforest/

7. ในหนึ่งเกมอาจมีวิธีการเล่นมากกว่า 1 แบบ เพื่อให้เกิด ความยืดหยุน่ และสามารถใช้เป็นกิจกรรมในห้องเรียนหรือนอกห้องเรียนได้ เช่น ในเกมเดียวกันอาจมีวธิ กี ารจบเกม 2 แบบ แบบแรกจบเกมเมือ่ ถึงรอบ ที่กำ�หนดเพื่อควบคุมเวลาในการเล่นให้เหมาะสมกับกิจกรรมในห้องเรียน แบบที่สองจบเกมเมื่อผู้เล่นทำ�คะแนนได้ตามที่กำ�หนด ซึ่งจะทำ�ให้ผู้เล่น ได้แข่งขันกันและรูส้ กึ ท้าทายมากกว่า แต่จะใช้เวลานานกว่าจึงเป็นวิธจี บเกม ที่เหมาะกับกิจกรรมนอกห้องเรียนมากกว่าวิธีจบเกมแบบแรก

Board Game เพือ่ การศึกษาเป็นสือ่ การเรียนรูท้ มี่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่สนุกสนานและมีส่วนร่วมให้กับ ผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น และส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ในศตวรรษที่ 21 อย่างไรก็ตาม การออกแบบ Board Game เพื่อ การศึกษาควรคำ�นึงถึงหัวข้อ กลไก ขั้นตอนการเล่น จุดจบ เงื่อนไขการ แพ้ชนะ และเนื้อหาที่ถูกต้องเพื่อให้ได้สื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและ ตรงกับความต้องการของครูและผู้เรียน

บรรณานุกรม Bayeck, R. Y. (2020). Examining Board Gameplay and Learning: a multidisciplinary review of recent research. Simulation & Gaming, 51(4): 411-431. Boardgamegeek. (2023). Board Game Mechanic. Retrieved November 20, 2023, from https://boardgamegeek.com/advsearch/boardgame. Kalmpourtzis, G. (2019). Educational Game Design Fundamentals a Journey to Creating Intrinsically Motivating Learning Experiences. CRC Press Taylor & Francis Group. Shaenfeld, K. S. (2016). Learning Education and Games Volume One: curricular and design considerations. ETC Press. Thornhill-Miller, B. et al. (2023). Creativity, Critical Thinking, Communication, and Collaboration: assessment, certification, and promotion of 21st century skills for the future of work and education. Journal of Intelligence, 11(3): 54. Thornhill-Miller, B. et al. (2023). Creativity, Critical Thinking, Communication, and Collaboration: assessment, certification, and promotion of 21st century skills for the future of work and education. Retrieved November 20, 2023, from http://dx.doi.org/10.3390/jintelligence11030054. ธีระวุฒิ ศรีมังคละ สุดารัตน์ ประกอบมัย และนัฐวุฒิ สลางสิงห์. (2564, 25-26 ธันวาคม). พื้นฐานของ Board game และการพัฒนานวัตกรรม Board game เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำ�หรับครูในศตวรรษที่ 21 [เอกสารประกอบการอบรม]. หลักสูตรการพัฒนานวัตกรรม Board game เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำ�หรับครู ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร. ธีระวุฒิ ศรีมังคละ สุดารัตน์ ประกอบมัย และนัฐวุฒิ สลางสิงห์. (2564, 25-26 ธันวาคม). พื้นฐานของ Board game และการพัฒนานวัตกรรม Board game เพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำ�หรับครูในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2566. จาก https://online.pubhtml5.com/dhif/lmau/?fbclid=IwAR2nY4aT8e96uhR_ CGo8k0gjbXGiwgnb1kaQCyex21OY9w7wRaxkU8fI8CQ#p=1. รักชน พุทธรังสี. (2560). การประยุกต์ใช้ Board game เพื่อพัฒนาทักษะสื่อสารการแสดง. [วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วชรวรรธน์ ปิยะรัตนมงคล. (2563). การประยุกต์ใช้ Board game ในการฝึกอบรมที่ส่งผลต่อความคิดเชิงระบบและการเรียนรู้ของหัวหน้างาน. [วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร. วรรณิภา พรหมหาราช. (2564). การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับ Board game เรื่อง พันธะเคมี เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สกุล สุขศิริ. (2550). ผลสัมฤทธิ์ของสื่อการเรียนรู้แบบ Game Based Learning The Study of Effectiveness of Game Based Learning Approach. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์. (2557). การออกแบบ Board game การศึกษา เรื่อง วงสีธรรมชาติ สำ�หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิตยสาร สสวท.

14

ดร.โศภิตา อุไพพานิช | นักวิชาการ สาขาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์โลก สสวท. | e-mail: [email protected]

เส้นทางการขึ้นการตก

ของดวงอาทิตย์ กับการดำ�รงชีวิต ของสิ่งมีชีวิตบนโลก

ทีม่ า: https://www.teachoo.com/11064/3123/Why-does-Sun-appear-Reddish-at-Sunrise-and-Sunset-/category/Concepts/

ดวงอาทิตย์มีความสัมพันธ์ต่อการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก เนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์โดย กระบวนการถ่ายโอนพลังงานจากชัน้ บรรยากาศ ซึง่ อยูใ่ นรูปของคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้า เช่น พลังงานแสง พลังงาน ความร้อน การที่โลกหมุนรอบตัวเองจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกส่งผลให้คนบนโลกเห็นดวงอาทิตย์ เปลีย่ นตำ�แหน่งจากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตกทุกวัน เราเคยสังเกตเส้นทางการขึน้ การตกของดวงอาทิตย์ ในแต่ละวันและเกิดคำ�ถามหรือข้อสงสัยไหมว่าเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์อยู่ตำ�แหน่งเดิมทุกวันหรือ มีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร

15

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

1.1 ตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า การที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะแกนโลกเอียงส่งผลให้ตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า เปลี่ยนแปลงไปดังภาพ 1 และ 2 เมื่อโลกโคจรมายังตำ�แหน่งที่ 1 ประมาณวันที่ 21 มีนาคม ตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์ จะอยูบ่ นเส้นศูนย์สตู รฟ้าพอดี เรียกจุดดังกล่าวว่าจุดวสันตวิษวุ ตั (Vernal Equinox) เมือ่ เวลาผ่านไปโลกโคจรมายังตำ�แหน่งที่ 2 ประมาณวันที่ 21 มิถนุ ายน ตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะอยูใ่ นตำ�แหน่งทีห่ า่ งจากเส้นศูนย์สตู รฟ้าขึน้ ไปทางขัว้ ฟ้าเหนือมากทีส่ ดุ

ภาพ 1 แสดงตำ�แหน่งในวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์

ภาพ 2 แสดงตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้า

เรียกจุดดังกล่าวว่า จุดครีษมายัน (Summer Solstice) และเมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ�แหน่งมาอยู่ในตำ�แหน่งที่ 3 ประมาณวันที่ 22 กันยายน ตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่มาอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้าอีกครั้ง เรียกจุดดังกล่าวว่า จุดศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) จนกระทัง่ เมือ่ ดวงอาทิตย์เปลีย่ นตำ�แหน่งมาอยูใ่ นตำ�แหน่งที่ 4 ประมาณวันที่ 21 ธันวาคม เป็นตำ�แหน่งที่ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้าไปทางขั้วฟ้าใต้มากที่สุด เรียกว่าจุดเหมายัน (Winter Solstice) เมื่อเราลากเส้นเชื่อมต่อ จุดสำ�คัญทัง้ 4 จุดนีจ้ ะเกิดเส้นวงกลมใหญ่ทเี่ รียกว่า เส้นสุรยิ วิถี โดยตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะเปลีย่ นแปลงไปตามเส้นสุรยิ วิถี ซึ่งส่งผลต่อเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ 1.2 เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ หากเราลองถ่ายภาพตำ�แหน่งการขึ้นหรือตกของดวงอาทิตย์ที่ตำ�แหน่งเดิมในทุกๆ เดือนเราจะเห็นว่าตำ�แหน่งการขึ้น และตกของดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ในตำ�แหน่งเดิมทุกวัน จากภาพ 3 แสดงตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ขณะที่อยู่ขอบฟ้าด้านตะวันตก ในเดือนต่างๆ จะเห็นว่าตำ�แหน่งการตกของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์บน ทรงกลมฟ้า โดยเมื่อดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดวสันตวิษุวัต (ประมาณวันที่ 21 มีนาคม) คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวัน

ภาพ 3 ตำ�แหน่งดวงอาทิตย์ที่ขอบฟ้าด้านตะวันตกในเดือนต่างๆ นิตยสาร สสวท.

16

ออกและตกทางทิศตะวันตกพอดีและเป็นวันทีม่ ชี ว่ งเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืน เมือ่ ดวงอาทิตย์เปลีย่ นตำ�แหน่งมาอยูท่ ี่ จุดครีษมายัน (ประมาณวันที่ 21 มิถนุ ายน) คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขนึ้ ทางตะวันออกเฉียงไปทางเหนือ และตกทางตะวันตก เฉียงไปทางเหนือ ในวันดังกล่าวจะเป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อนสำ�หรับผู้สังเกตที่อยู่บริเวณซีกโลกเหนือซึ่งจะเป็นวันที่มีกลางวัน ยาวนานที่สุดในรอบปี เมื่อดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำ�แหน่งมาอยู่ที่จุดศารทวิษุวัต (ประมาณวันที่ 22 กันยายน) คนบนโลกจะเห็น ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดีและมีช่วงเวลากลางวันยาวนานเท่ากับกลางคืนเช่นเดียวกับ จุดวสันตวิษวุ ตั เป็นวันเริม่ ต้นเข้าสูฤ่ ดูใบไม้รว่ ง และเมือ่ ดวงอาทิตย์เปลีย่ นตำ�แหน่งมาอยูท่ จี่ ดุ เหมายัน (ประมาณวันที่ 21 ธันวาคม) คนบนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางตะวันออกเฉียงไปทางใต้และตกทางตะวันตกเฉียงไปทางใต้ ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูหนาว สำ�หรับผู้สังเกตที่อยู่ทางซีกโลกเหนือ วันดังกล่าวจะมีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดในรอบปี นอกจากตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์จะส่งผลต่อเส้นทางการขึน้ การตกของดวงอาทิตย์แล้ว ตำ�แหน่งละติจดู ของผูส้ งั เกต ก็มผี ลต่อการเห็นเส้นทางการขึน้ การตกของดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน โดยผูส้ งั เกตทีอ่ ยูบ่ ริเวณศูนย์สตู รจะเห็นเส้นทางการขึน้ การตก ของดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับขอบฟ้าดังภาพ 4ก ผู้สังเกตที่อยู่ทางซีกโลกเหนือจะเห็นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์เฉียงไป ทางใต้ดงั ภาพ 4ข และผูส้ งั เกตทีอ่ ยูท่ างซีกโลกใต้จะเห็นเส้นทางการขึน้ การตกดวงอาทิตย์เฉียงไปทางเหนือ ดังภาพ 4ค นอกจากนี้ การทีเ่ ส้นทางการขึน้ การตกของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันมีความยาวแตกต่างกันส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน กลางคืน และ ปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่โลกได้รับในแต่ละวัน

ภาพ 4 เส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์ที่ตำ�แหน่งละติจูดแตกต่างกัน

สำ�หรับบริเวณประเทศไทยทีต่ �ำ แหน่งของกรุงเทพมหานครฯ ซึง่ มีละติจดู ประมาณ 15๐N ผูส้ งั เกตจะเห็นเส้นทางการขึน้ การตกของดวงอาทิตย์เอียงไปทางทิศใต้ โดยในวันวสันตวิษวุ ตั (ประมาณวันที่ วันที่ 21 มีนาคม) เส้นทางการขึน้ การตกของดวงอาทิตย์ จะเอียงไปทางทิศใต้หา่ งจากจุดเหนือศีรษะประมาณ 15 องศา (ตามตำ�แหน่งละติจดู ของผูส้ งั เกต) จากนัน้ เส้นทางการขึน้ การตก ของดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ขยับขึน้ มาทางทิศเหนือจนกระทัง่ ประมาณวันที่ 21 มิถนุ ายนซึง่ ตรงกับวันครีษมายัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏ อยูท่ างเหนือมากทีส่ ดุ และเป็นวันทีม่ กี ลางวันยาวนานทีส่ ดุ ในรอบปี จากนั้นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์จะค่อยๆ ขยับไป ทางใต้จนกระทัง่ ประมาณวันที่ 22 กันยายนซึง่ ตรงกับวันศารทวิษวุ ตั ิ ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี และเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์จะขยับไปทางทิศใต้ มากที่สุดประมาณวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งวันดังกล่าวจะเป็นวันที่มี กลางวันสั้นที่สุดในรอบปีดังภาพ 1.3 ปรากฏการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับการเปลีย่ นตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ การเปลี่ ย นตำ � แหน่ ง ของดวงอาทิ ต ย์ ส่ ง ผลให้ เ กิ ด ปรากฏการณ์ต่างๆ บนโลก ตัวอย่างปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ การเปลี่ยนตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ เช่น ปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าวเกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ ปรากฏบนจุดเหมายันบนทรงกลมฟ้า จะอยู่ในช่วงประมาณวันที่

17

ภาพ 5 แสดงเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์บริเวณ ประเทศไทย (ละติจูดประมาณ 15 องศาเหนือ)

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

21 - 22 ธันวาคม ผู้สังเกตที่ประเทศไทยจะเห็นเส้นทางการขึ้นการตกของดวงอาทิตย์เฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุด โดยไม่ได้ผ่าน จุดเหนือศีรษะของผูส้ งั เกต และช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาทีต่ น้ ข้าวออกรวง จึงเรียกปรากฏการณ์นวี้ า ่ ตะวันอ้อมข้าว นอกจากนี้ ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะมีเส้นทางการขึ้นการตกสั้นที่สุด ส่งผลให้วันดังกล่าวมีช่วงเวลากลางวันสั้นที่สุดในรอบปี ปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืน เกิดในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาอยู่ที่ตำ�แหน่งครีษมายันบนทรงกลมฟ้าซึ่งเป็น ช่วงฤดูร้อน (สำ�หรับผู้สังเกตบริเวณซีกโลกเหนือ) ส่งผลให้ช่วงเวลาดังกล่าวผู้สังเกตจะไม่เห็นดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้า หรือมี กลางวันตลอด 24 ชัว่ โมง แต่ปรากฏการณ์พระอาทิตย์เทีย่ งคืนไม่ได้เกิดในทุกตำ�แหน่งบนโลก จะเกิดเฉพาะบริเวณประเทศทีอ่ ยู่ ตำ�แหน่งละติจูด 66.5 องศาเหนือขึ้นไป เช่น ประเทศนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ ปรากฏการณ์ Zero Shadow Day เป็นปรากฏการณ์ทดี่ วงอาทิตย์ปรากฏตรงตำ�แหน่งจุดเหนือศีรษะของผูส้ งั เกตพอดี ส่งผลให้ช่วงเวลาดังกล่าวเกิดเงาที่สั้นที่สุด จะเกิดในวันที่ตำ�แหน่งปรากฏของดวงอาทิตย์บนทรงกลมฟ้ามีค่าเดคลิเนชันตรงกับ ตำ�แหน่งละติจดู ของผูส้ งั เกตบนโลก โดยปรากฎการณ์ดงั กล่าวจะเกิดขึน้ ปีละ 2 ครัง้ ซึง่ ช่วงวันและเวลาในการเกิดจะแตกต่างกัน ตามตำ�แหน่งละติจูดของผู้สังเกต 1.4 การใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ การที่ เ ส้ น ทางการขึ้ น การตกของดวงอาทิ ต ย์ เปลี่ยนแปลงไปทุกวันส่งผลต่อการดำ�รงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก ดังนั้น การศึกษาการเปลี่ยนตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์สามารถ นำ�มาใช้ในหลายด้าน เช่น การบอกเวลา ในแต่ละวันจะสังเกตเห็นตำ�แหน่งปรากฎ ของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ในอดีตมนุษย์ศึกษา การเปลี่ยนตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์และนำ�มาช่วยในการบอก เวลาบนโลก โดยช่วงเวลาระหว่างการสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ เคลือ่ นทีผ่ า่ นเมริเดียนท้องถิน่ ครัง้ แรกถึงครัง้ ถัดไป เรียกว่า 1 วัน สุริยคติปรากฏ (Apparent Solar Day) โดยจะใช้นาฬิกาแดด ช่วยในการสังเกตตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ แต่เนือ่ งจากเวลา 1 วัน สุริยคติปรากฏยาวไม่คงที่ จึงไม่สามารถใช้เป็นมาตรฐานในการ ภาพ 6 แสดงเงาที่ปรากฏขณะเกิดปรากฏการณ์ Zero Shadow Day ภาพถ่ายโดย นายณัฐพงศ์ วงศ์ชัย บอกเวลาได้ ดังนั้น จึงต้องหาวิธีการอื่นในการบอกเวลา การวางผังการก่อสร้างสถาปัตยกรรมในอดีต การสังเกตการเปลี่ยนตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์และดวงดาวถูกนำ�มาช่วย ในการวางตำ�แหน่งของสถาปัตยกรรมตัง้ แต่ในอดีต เช่น การออกแบบสโตนเฮนจ์ ซึง่ ประกอบด้วยเสาหินจำ�นวนมากปักเรียงราย เป็นวงกลม และมีหินเอนวางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันครีษมายันหากมายืนที่กึ่งกลางของวงกลมนี้และมองไปยังหิน เอนจะเห็นดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้นเหนือขอบฟ้าทางตะวันออกตรงกับตำ�แหน่งของหินเอนพอดี ส่วนในวันเหมายันดวงอาทิตย์จะ ตกลับขอบฟ้าทางตะวันตกในฝั่งตรงข้ามของหินเอนผ่านจุดศูนย์กลางของเสาหิน

ภาพ 7 แสดงการวางตำ�แหน่งเสาหินบริเวณสโตนเฮนจ์

ภาพ 8 แสดงตำ�แหน่งดวงอาทิตย์กำ�ลังขึ้นทางทิศตะวันออก บริเวณเสาหินสโตนเฮนจ์

ที่มา: http://www.ancient-wisdom.com/englandstonehenge.htm

นิตยสาร สสวท.

ที่มา: https://pixabay.com/photos/sunrise-stonehenge-mystical-england-3901312/

18

วิหารแพนธีออน (Pantheon) ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นแสดงถึง ความสามารถทางวิศวกรรมของคนสมัยนัน้ เป็นวิหารทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลาง 43.3 เมตร หลังคามีลกั ษณะเป็นโดมโค้งมน ครึง่ ทรงกลม ตรงกลางมีชอ่ งวงกลมขนาดใหญ่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8.3 เมตร ให้แสงอาทิตย์สอ่ งผ่านเข้ามาได้ เรียกช่องนีว้ า่ “โอคูลสุ ” (Oculus) โดยในแต่ละเดือนแสงอาทิตย์ทสี่ อ่ งผ่านช่องวงกลมเข้ามาในวิหารจะเปลีย่ นตำ�แหน่งไป ในช่วงวันศารทวิษวุ ตั ตำ�แหน่งของแสงอาทิตย์จะส่องมายังขอบของโดมพอดี จากนั้นตำ�แหน่งของแสงอาทิตย์จะขยับขึ้นไปตามส่วนโค้งของโดมจน กระทั่งในวันเหมายันตำ�แหน่งของแสงอาทิตย์จะขยับไปที่จุดสูงสุดของโดมเหนือทางเข้า และตำ�แหน่งของแสงอาทิตย์จะค่อยๆ ส่องลงมาส่วนล่างของโดมจนกระทัง่ ในวันที่ 21 เมษายน แสงอาทิตย์จะส่องลงมาทีพ่ นื้ ของวิหารตรงกับบริเวณทางเข้าของวิหารพอดี หลังจากนั้นแสงอาทิตย์จะส่องลงบนพื้นวิหารโดยขยับเข้าใกล้ศูนย์กลางของวิหารมากที่สุดในวันครีษมายันดังภาพ 10

ภาพ 9 แสดงช่อง “โอคูลุส”ภายในวิหารแพนธีออน

ที่มา: https://pixabay.com/photos/pantheon-dome-rome-history-2469962/

ภาพ 10 แสดงตำ�แหน่งของแสงอาทิตย์ที่ส่องภายในวิหารแพนธีออน ที่มา: https://www.architecturerevived.com/wp-content/uploads/2015/10/ pantheon-elevation-3.jpg

สำ�หรับในประเทศไทยปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ทเี่ กีย่ วข้องกับการเปลีย่ นตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ เช่น ปรากฏการณ์ แสงอาทิตย์ลอดช่อง 15 ประตูของปราสาทพนมรุง้ ตัวปราสาทวางตัวเบนออกจากแนวทิศตะวันออกไปทางเหนือประมาณ 5.5 องศา มีมุมทิศ 84.5 องศา ในแต่ละปีจะสังเกตเห็นแสงอาทิตย์ลอดผ่านช่องประตูของปราสาทปีละ 4 ครั้ง โดยสามารถสังเกตเห็น ดวงอาทิตย์ขึ้นลอดผ่านช่องประตูทางด้านตะวันออกปีละ 2 ครั้ง (ประมาณวันที่ 3 - 5 เมษายน และ 8 - 10 กันยายน) และ ตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์จะลอดผ่านช่องประตูของปราสาทอีกครัง้ ทางด้านตะวันตกอีก 2 ครัง้ (ประมาณวันที่ 5 - 7 มีนาคม และ 5 - 7 ตุลาคม) ของทุกปี หรือปรากฏการณ์แสงอาทิตย์ลอดช่อง ปราสาทประธานของปราสาทพิมาย ตัวปราสาทพิมายวางตัวห่างจาก แนวทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือประมาณ 20.5 องศา มีมมุ ทิศ 69.5 องศา ในแต่ละปีจะเห็นแสงอาทิตย์ลอดผ่านช่องประตูที่ ปราสาทประธานปีละ 4 ครัง้ โดยสามารถสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ ลอดผ่านช่องประตูของปราสาททางด้านตะวันออกปีละ 2 ครั้ง (ประมาณวันที่ 17 - 18 พฤษภาคม และ 22 - 23 กรกฎาคม) และ ตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์ลอดผ่านช่องประตูที่ปราสาทประธาน ด้านตะวันตกอีก 2 ครั้ง (ประมาณวันที่ 22 - 23 มกราคม และ 20 - 21 พฤศจิกายน) ของทุกปี การวางผังของห้องต่างๆ ภายในบ้าน การวางผังบ้านถือเป็นปัจจัยสำ�คัญในการสร้างบ้าน การวางแผนการออกแบบตำ�แหน่งและทิศทางของตัวบ้านและห้อง ต่างๆ ในบ้านให้สอดคล้องกับตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์จะช่วย ทำ�ให้บ้านอยู่สบาย ลดการใช้พลังงานในบ้านรวมถึงลดปริมาณ ความร้อนที่เกิดขึ้นในแต่ละห้อง เนื่องจากเส้นทางการขึ้นการตก ของดวงอาทิตย์ทปี่ ระเทศไทยจะเอียงไปทางทิศใต้เกือบตลอดทัง้ ปี

19

ภาพ 11 แสดงดวงอาทิตย์กำ�ลังตกลอดช่องประตูปราสาทประธาน ของปราสาทพิมาย ทางด้านทิศตะวันตก ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ภาพ 12 แสดงการวางผังของห้องต่างๆ ภายในบ้านให้สอดคล้องกับตำ�แหน่งของดวงอาทิตย์

การออกแบบห้องต่างๆ ภายในบ้านจำ�เป็นต้องคำ�นึงถึงทิศทางของแสงอาทิตย์และความร้อนทีจ่ ะเข้ามายังห้องต่างๆ โดยทิศเหนือเป็น ทิศทีร่ บั แสงแดดน้อยทีส่ ดุ ทิศตะวันออกจะได้รบั แสงในตอนเช้าถึงเทีย่ งซึง่ เป็นแดดทีไ่ ม่แรงนัก ดังนัน้ สองทิศนีจ้ งึ เหมาะทีจ่ ะวางตำ�แหน่ง ของห้องทีไ่ ม่ตอ้ งการความร้อน เช่น ห้องนอน ห้องนัง่ เล่น ห้องทำ�งาน ทิศตะวันตกเป็นทิศทีร่ บั แสงแดดจัดในช่วงบ่ายเหมาะกับ วางตำ�แหน่งห้องครัว และห้องน้�ำ เพือ่ ช่วยลดกลิน่ อับและฆ่าเชือ้ โรค อีกทัง้ ยังช่วยป้องกันความร้อนและความชืน้ เข้าไปยังพืน้ ทีใ่ ช้งาน ภายในบ้าน ทิศใต้หรือทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นทิศทีร่ บั แสงเกือบตลอดทัง้ วันจึงเหมาะกับการสร้างห้องหรือเป็นพืน้ ทีท่ ไี่ ม่ได้ใช้งาน ตลอดทัง้ วัน เช่น ห้องเก็บของ โถงบันได โรงรถ และควรปลูกต้นไม้ใหญ่ในทิศนี้ จะสามารถช่วยกรองแสงทีจ่ ะเข้าสูต่ วั บ้านทำ�ให้ อุณหภูมขิ องบ้านไม่สงู จนเกินไป นอกจากนี้ การติดตัง้ แผ่นเซลล์สรุ ยิ ะก็ควรหันไปทางทิศใต้โดยให้แผ่นเซลล์สรุ ยิ ะเอียงสูงจากพืน้ เป็นมุมตามตำ�แหน่งละติจดู เพือ่ สามารถรับแสงทีต่ กตัง้ ฉากกับดวงอาทิตย์และใช้ประโยชน์พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้คมุ้ ค่า ช่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้า

บรรณานุกรม Kay, L. & Palen, S. & Smith, B. & Blumenthal, G. (2013). 21st Century Astronomy: stars and galaxies. 4th ed. New York: W. W. Norton & Company. Hannah, Robert & Magli, Giulio. (2009). The Role of the Sun in the Pantheon’s Design and Meaning. Numen. 58. 10.1163/156852711X577050. Stonehenge. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2566. จาก http://www.ancient-isdom.com/englandstonehenge.htm. เชิดศักดิ์ แซ่ลี่ อรพิน ริยาพร้าว กรกมล ศรีบุญเรือง และศิรามาศ โกมลจินดา. (2566). หนังสือชุดความรู้โบราณดาราศาสตร์ ปราสาทพนมรุ้ง. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชิดศักดิ์ แซ่ลี่ อรพิน ริยาพร้าว กรกมล ศรีบุญเรือง และศิรามาศ โกมลจินดา. (2566). หนังสือชุดความรู้โบราณดาราศาสตร์ ปราสาทพิมาย. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2566). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ เล่ม 6. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

นิตยสาร สสวท.

20

สุทธิพงษ์ พงษ์วร | นักวิชาการอิสระ | e-mail: [email protected]

Exotic Pets และ Alien Species:

การสอนปัญหาสิ่งแวดล้อม ในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ทีม่ า: https://www.aza.org/connect-stories/stories/not-a-pet-aza-ifaw-combat-illegal-exotic-pet-trade

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข่าวปัญหา “อิกัวนาเขียว เอเลียนสปีชีส์ บุกลพบุรี” ทำ�ให้เกิดความกังวลเรื่องโรคติดต่อที่ อาจจะปนเปือ้ นมากับพืชอาหารทีป่ ลูกไว้ในท้องถิน่ ทีอ่ กิ วั นาเข้าไปกินหรือเข้าไปอาศัยอยูแ่ ล้วถ่ายมูลทิง้ ไว้ อิกวั นาเขียว (Green Iguana, ชื่อวิทยาศาสตร์ Lguana iguana) เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omnivore) และ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำ�เนิดในทวีปอเมริกาโดยพบอาศัยในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปกติแล้วอิกัวนาจะ ถูกล่าโดยสัตว์ในท้องถิ่น เช่น เหยี่ยว นกขนาดใหญ่ หมาป่า งู แมวป่า แรคคูน หมูป่า มนุษย์ (ที่กินทั้งเนื้อและ ไข่ของอิกัวนา หรือใช้อิกัวนาเป็นเหยื่อล่อจระเข้และจับมาเพื่อค้าเป็นสัตว์เลี้ยง) พอถูกนำ�มาปล่อยในธรรมชาติ ในประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่ถิ่นกำ�เนิดเดิม ก็จะทำ�ให้อิกัวนาเขียวไม่มีศัตรูหรือสัตว์ผู้ล่า (Predator) ตามธรรมชาติ ทีจ่ ะมาควบคุมปริมาณของอิกวั นาเขียวไม่ให้เพิม่ ปริมาณมากเกินจนทำ�ให้เกิดปัญหาสิง่ แวดล้อมอืน่ ๆ ตามมามากมาย

อิ

กัวนาเขียว ได้ถูกนำ�เข้ามาในประเทศไทยมานานกว่า 30 ปีแล้ว โดยถูกนำ�เข้ามาขายเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ แปลก สวยงาม จัดเป็น Exotic Pet โดยจะมีราคาขายในช่วงแรกๆ ที่มีการนำ� เข้ามาในประเทศราคาตัวละ 1,000 - 10,000 บาท ขึ้นกับลักษณะของสี ลวดลายบนตัว และขนาดหรืออายุของอิกัวนาเขียว สำ�หรับ Exotic Pet

อาจจะเป็นสัตว์ทอี่ ยูใ่ นประเทศหรือนำ�มาเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้ เช่น ชูการ์ไกรเดอร์ เฟอเรท ซินซิล่า เฟนเน็คฟ็อกซ์ แรคคูน สกั๊งค์ กิ้งก่า Beard Dragon กิ้งก่าเวลล์คาเมเลียน ด้วงแปลกๆ แฮมสเตอร์ นกแก้ว มาคอร์ ดอร์เม้าส์หรือกระรอกจิ๋ว เต่าบกยักษ์ซูลคาตา และอื่นๆ

21

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ภาพ 1 ตัวอย่าง Exotic Pet ทีม่ ขี ายในประเทศไทย ภาพแถวบนจากซ้ายไปขวา 1) ดอร์เม้าส์หรือกระรอกจิว๋ 2) ซูการ์ไกรเดอร์ 3) กิง้ ก่าเวลล์คาเมเลียน ภาพแถวล่างจากซ้ายไปขวา 4) แพนเทอร์คาเมเลียน 5) ซินซิลล่า 6) เต่าบกยักษ์ซลู คาตา ทีม่ า: ภาพสต็อก รูปภาพ และภาพถ่ายปลอดค่าลิขสิทธิ์ - iStock (istockphoto.com)

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการปัญหา Alien Species องค์ ก ารเพื่ อ การศึ ก ษาวิ ท ยาศาสตร์ แ ละวั ฒ นธรรมแห่ ง สหประชาชาติ (ยูเนสโก หรือ UNESCO) ได้รายงานเกี่ยวกับปัญหาและ กระแสของความนิยมเกีย่ วกับการศึกษาเพือ่ การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน ในปี ค.ศ. 2018 ซึ่งในรายงานนี้จะมีการพูดถึงจุดประสงค์ของการจัดการศึกษา เรื่องของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานที่จะนำ�ไปสู่การป้องกันรักษา ความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่ควบคู่ไปกับการป้องกันการสูญเสีย แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นที่เป็นผลมาจากสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ ต่างถิน่ ทีร่ กุ ราน การป้องกันการทำ�ลายป่าไม้ การกระจายตัวของแหล่งทีอ่ ยู่ เป็นพืน้ ทีเ่ ล็กๆ ทีเ่ ป็นผลมาจากการทีป่ า่ ไม้ถกู ทำ�ลาย และการใช้ทรัพยากร ที่มากเกินพอดี การแก้ปัญหาเอเลียนสปีชีส์จำ�เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก บุคคลและหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องมากมาย ตัง้ แต่การกำ�หนดนโยบาย ที่ชัดเจนจากรัฐบาล การออกกฎ ระเบียบ และแนวทางในการปฏิบัติที่ ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการ และประชาชนเข้าใจ และปฎิบัติ ไปในทางเดียวกันได้อย่างยั่งยืน ในหนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม 6 ได้ให้ความหมายของชนิดพันธุ์ ต่างถิน่ หรือเอเลียนสปีชสี ว์ า่ คือสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ข้ามาอยูใ่ นแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยใหม่ นอกเขตการกระจายพันธุด์ งั้ เดิมตามธรรมชาติของสิง่ มีชวี ติ นัน้ โดยอาจจะ เกิดตามธรรมชาติ หรือนำ�เข้ามาโดยมนุษย์ทงั้ ทีต่ งั้ ใจหรือไม่ตงั้ ใจก็ได้ และได้ มีการจัดแบ่งเอเลียนสปีชสี ท์ ค่ี วรถูกควบคุมและกำ�จัด ออกเป็น 4 กลุม่ คือ 1. ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานแล้วในประเทศไทย เช่น หอยทากยักษ์ แอฟริกา และต้นไมยราบยักษ์ 2. ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีแนวโน้มรุกราน เช่น กบบุลฟร๊อก และ ต้นพวงชมพู 3. ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีม่ ปี ระวัตวิ า่ รุกรานแล้วในประเทศอืน่ แต่ยงั ไม่รุกรานในประเทศไทย เช่น มดหัวโต และต้นศรนารายณ์ 4. ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานทีย่ งั ไม่เข้ามาในประเทศไทย และมี รายงานว่าได้รกุ รานแล้วในประเทศอืน่ เช่น ตัวต่อในยุโรป และคางคกยักษ์ สำ�หรับการจัดการปัญหาสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานในชุมชน ให้ประสบความสำ�เร็จแบบยัง่ ยืนมีความจำ�เป็นต้องอาศัยความร่วมมือจาก บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลากหลายกลุ่ม ดังนั้น การที่หน่วยงาน ทางการศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย และผู้มี ส่วนได้สว่ นเสียจากผลกระทบของสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานในชุมชน เข้ามามีสว่ นร่วมในการศึกษา สำ�รวจ และวางแผนการจัดการปัญหาทีเ่ กิดขึน้ จากสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานในชุมชนร่วมกัน ก็จะทำ�ให้สามารถ วางแผน ออกแบบวิธกี ารเก็บข้อมูล การควบคุมการแพร่กระจาย ส่งเสริม การเรียนรูแ้ ล้วสร้างความเข้าใจถึงปัญหา รับฟังความคิดเห็นจากผูม้ สี ว่ นได้ ส่วนเสียจากปัญหานี ้ อภิปรายและวิเคราะห์สาเหตุและปัญหาเพือ่ ใช้ในการ ออกแบบกฎและนโยบายของประเทศเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ รุกรานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จาก Exotic Pets กลายเป็น Alien Species จากความรักความเมตตาที่มีให้กับสัตว์เลี้ยงแปลกหรือ Exotic Pets เมือ่ สัตว์เหล่านีเ้ ติบโตขึน้ จะด้วยเหตุผลของความน่ารักลดลง ขนาดตัว ทีใ่ หญ่มากขึน้ เหตุผลทางเศรษฐกิจทัง้ ในเรือ่ งของค่าอาหาร ค่าวัสดุตา่ งๆ ทีต่ อ้ งใช้ในการดูแลสัตว์เลีย้ งเหล่านัน้ ค่ายารักษาโรคทีส่ งู มากเมือ่ นำ�สัตว์ เหล่านี้ไปคลีนิครักษาสัตว์และอื่นๆ จึงทำ�ให้มันถูกปล่อยทิ้งในธรรมชาติ กลายเป็นเอเลียนสปีชสี ์ (Alien Species) สิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ ราน (Invasive Alien Species) สิง่ มีชวี ติ ในท้องถิน่ ในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำ�ลาย หรือสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศ แย่งอาหารและทีอ่ ยูอ่ าศัยกับสิง่ มีชวี ติ ในท้องถิน่ จับสิง่ มีชวี ติ ในท้องถิน่ ตัวอ่อน หรือไข่กนิ เป็นอาหารจนส่งผลทำ�ให้ จำ�นวนประชากรของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นลดจำ�นวนลง สำ�หรับความหมายจริงๆ ของเอเลียนสปีชสี น์ นั้ จะมีความหมาย รวมทัง้ สัตว์ พืช ฟังไจ (Fungi) จุลนิ ทรีย์ (Microorganism หรือสิง่ มีชวี ติ ขนาดเล็ก) ที่หลุดเข้ามาอาศัยในถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ที่ไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อาศัย ดั้ ง เดิ ม ที่ เ คยอยู่ ต ามธรรมชาติ ซึ่ ง เป็ น ปั จ จั ย สำ � คั ญ มากที่ ผ ลั ก ดั นให้ ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง และนำ�ไปสู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยนัน้ ๆ ในเวลาต่อมา โดยพบว่าเอเลียนสปีชสี เ์ มือ่ เข้าไป อยูใ่ นแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยใหม่ อาจจะกลายเป็นผูล้ า ่ (Predator) เข้าไปเป็นคูแ่ ข่ง (Competitor) ในการหาอาหารหรือแย่งที่อยู่อาศัย เข้าไปเป็นปรสิต (Parasite) ทีท่ �ำ ให้สตั ว์หรือพืชในท้องถิน่ เกิดโรคและตาย และสุดท้ายก็จะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และความมั่นคงในด้านอาหารของมนุษย์ในที่สุด (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก Invasive Alien Species|IUCN) สำ�หรับ บทความนีจ้ ะพูดถึงเฉพาะเอเลียนสปีชสี ท์ อี่ ยูใ่ นกลุม่ สัตว์เลีย้ งแปลกเท่านัน้ หลังจากเกิดปัญหาอิกวั นาทีเ่ ป็นเอเลียนสปีชสี แ์ ละมีการนำ�เสนอ ผ่านข่าวทำ�ให้กรมอุทยานแห่งชาติสตั ว์ปา่ และพันธุพ์ ชื ได้ประกาศห้ามนำ�เข้า อิกวั นาทุกชนิดเข้ามาในประเทศไทยโดยเด็ดขาด แต่ Exotic Pets ชนิดอืน่ ยังคงมีขายอยูใ่ นตลาดขายสัตว์เลี้ยงแปลก และในตลาดค้าสัตว์เลี้ยงก็จะ ยังคงมีผู้ค้าตามหาสัตว์แปลกต่างถิ่นมาเปิดตลาดสินค้า Exotic Pets ชนิดใหม่ๆ อยูต่ ลอดเวลา ปัญหาในลักษณะนีจ้ ะเกิดขึน้ ซ้�ำ หรือไม่ รัฐบาล จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร คงไม่มีใครสามารถให้คำ�ตอบที่แน่ชัดได้ กิจกรรมการสำ�รวจ Alien Species ในชุมชน กิจกรรมการสำ�รวจในชุมชน หรือการจัด Field Trip เพือ่ สำ�รวจ นิตยสาร สสวท.

22

นโยบายจากรัฐบาล เจ้าหน้าทีร่ ฐั ที่ เกีย่ วข้องกับ การควบคุมและค้นหา

นักวิชาการ เช่น นักชีววิทยา เจ้าหน้าทีป่ า่ ไม้ เจ้าหน้าทีป่ ระมง ปัญหาเอเลียน สปีชสี ์

คนในชุมชนต้องหมัน่ สังเกตและ สอดส่องดูแลสิง่ แวดล้อมในชุมชน เพือ่ ตรวจหาการรุกรานในชุมชน

การกำ�กับดูแลและออกใบอนุญาต นำ�เข้าสัตว์ตา่ งถิน่ สำ�หรับผูค้ า้ สัตว์เลีย้ ง

ภาพ 3 ตัวอย่างภาพแผนทีแ่ สดงการแพร่กระจายของคางคกชนิดต่างๆ ในทวีป อเมริกาใต้ ทีส่ มั พันธ์กบั ปริมาณน้�ำ ฝน ซึง่ นักเรียนสามารถนำ�รูปแบบการแสดงผล การสำ�รวจนี้ มาใช้ในการดัดแปลงเพือ่ แสดงผลการสำ�รวจการแพร่กระจายของ สิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานในชุมชนได้ (ภาพจาก Simon et al., 2016)

ภาพ 2 ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการปัญหาเอเลียนสปีชสี ใ์ นภาพรวม

หาสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานจะทำ�ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ มากมาย เช่น 1) ทักษะการค้นหาข้อมูลจากสือ่ ต่างๆ ทีผ่ เู้ รียนจะต้องทำ�ให้ แล้วเสร็จก่อนการออกสำ�รวจ 2) ทักษะการวางแผน และออกแบบวิธีการ เก็บรวบรวมข้อมูลทีผ่ เู้ รียนจะต้องคิดและวางแผนว่าจะเก็บข้อมูลอะไรบ้าง ในรูปแบบตัวเลข ภาพ หรือการบรรยายลักษณะ ตำ�แหน่งพิกดั ทีพ่ บเอเลียน สปีชสี ท์ ไี่ ด้จาก GPS ทีม่ กั จะมีอยูใ่ นโทรศัพท์มอื ถือและจะนำ�ข้อมูลเหล่านัน้ มาใช้ท�ำ อะไรได้บา้ ง สำ�หรับการวิเคราะห์และนำ�เสนอข้อมูลทีเ่ ก็บกลับมา เช่น ตาราง กราฟ หรือ แผนทีเ่ พือ่ ระบุต�ำ แหน่งและการแพร่กระจายของ เอเลียนสปีชสี ใ์ นท้องถิน่ 3) ทักษะการสังเกต และการเก็บข้อมูล เมือ่ อยูใ่ น พื้นที่สำ�รวจในชุมชน 4) ทักษะการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาที่ สามารถพบเจอได้เมื่อออกเก็บข้อมูลในชุมชน 5) ทักษะการสื่อสาร และ การทำ�งานเป็นทีม สำ�หรับทักษะการสือ่ สารนอกจากจะหมายถึงการสือ่ สาร ระหว่างสมาชิกภายในกลุม่ แล้ว ยังจะมีความหมายรวมไปถึงทักษะการสือ่ สาร กับบุคคลต่างๆ ที่พบเจอในชุมชนด้วย โดยนักเรียนจะได้ฝึกในเรื่องของ การสื่อสารเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล ตัวอย่างผลของการสำ�รวจสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ ราน ทีน่ �ำ ไปสูก่ าร สร้างความตระหนักให้กับชุมชน ในประเทศโปรตุเกส เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้ในห้องเรียนเกี่ยวกับ ปัญหาของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน และหลังจากนั้นก็ได้ออก สำ�รวจสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานในชุมชน ทำ�ให้พวกเขาได้คน้ พบ จอกหูหนูยักษ์ (Giant Salvinia ชื่อวิทยาศาสตร์ Salvinia molesta) จนนำ�ไปสู่การพูดคุยเพื่อหาทางแก้ปัญหาร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ การทำ�ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหาทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคตและเริม่ ต้น

ร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างจริงจังเพื่อลดพื้นที่ของการแพร่กระจายและ ป้องกันการแพร่กระจายของจอกหูหนูยกั ษ์ไม่ให้มพี นื้ ทีข่ องการแพร่กระจาย เพิ่มขึ้นไปจากเดิม สาธารณรัฐฟินแลนด์ได้ทำ�ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าการศึกษา เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่ได้จำ�กัดอยู่แค่ในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัยเท่านั้น โดยได้จัดงานนิทรรศการ “The Alien Species Exhibition” ขึ้นที่ พิพธิ ภัณฑ์ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติ ฟินแลนด์ (Finnish Museum of Natural History) ในปี ค.ศ. 1999 เพือ่ สร้างความตระหนักและการรับรูเ้ กีย่ วกับปัญหา ของสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานทีก่ �ำ ลังเกิดขึน้ ในขณะนัน้ เช่น เพียงพอน อเมริกา (American Mink ชือ่ วิทยาศาสตร์ Neovison vison) ปลาเทราท์บรูค (Brook Trout ชื่อวิทยาศาสตร์ Salvelinus fontinalis) และพืชที่เป็น สิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานอีกหลายชนิดที่สร้างปัญหาให้กับเมือง เฮลซิงกิ ฟินแลนด์ นอกจากนี้ พิพธิ ภัณฑ์ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติ ฟินแลนด์ ยังได้ออกแบบชุดการเรียนการสอนสำ�หรับนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ ออกมาใช้กบั นักเรียนทีม่ าเยีย่ มชมงานนิทรรศการด้วย พร้อมๆ กับการจัด สัมมนาในระดับนโยบายสำ�หรับนักวิชาการด้านต่างๆ เพือ่ การพัฒนาและ การบริหารจัดการนโยบายทีเ่ กีย่ วข้องกับสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ ราน บทสรุป สำ�หรับการบริหารจัดการในภาพรวมของประเทศ หากมี นโยบายที่ไม่ชัดเจนและการปฎิบัติตามนโยบายที่ไม่เคร่งคัดจะเป็นสาเหตุ ที่ทำ�ให้เกิดปัญหาการเพิ่มจำ�นวนและการแพร่กระจายของเอเลียนสปีชีส์ ทีไ่ ม่สามารถควบคุมได้ ประกอบกับการขาดความรูแ้ ละความตระหนักของ ผูค้ า ้ ผูน้ �ำ เข้าสัตว์และพืชต่างถิน่ และเจ้าหน้าทีร่ ฐั ผลกระทบของสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานก็เป็นอีกสาเหตุหนึง่ ทีส่ �ำ คัญทีภ่ าครัฐควรเร่งแก้ไข เพื่อป้องกันผลกระทบในด้านต่างๆ ที่จะเกิดตามมาอีกมากมาย

บรรณานุกรม Leicht, A. & Heiss, J. & Byun, W. J. (2018). Issues and Trends in Education for Sustainable Development. UNESCO Publishing. Shackleton, R. T., Adriaens, T., Brundu, G., Dehnen-Schmutz, K., Estévez, R. A., Fried, J., ... & Richardson, D. M. (2019). Stakeholder engagement in the study and management of invasive alien species. Journal of environmental management, 229, 88-101. Simon, M. N., Machado, F. A., & Marroig, G. (2016). High evolutionary constraints limited adaptive responses to past climate changes in toad skulls. Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences, 283(1841), 20161783. Verbrugge, L. N. and et al. (2021). Novel Tools and Best Practices for Education about Invasive Alien Apecies. Management of Biological Invasions. Invasivesnet.

23

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ศุภณัฐ คุ้มโหมด | นักวิชาการ สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ สสวท. | e-mail: [email protected]

แบบจำ�ลองอะตอม ยังเหมือนเดิมหรือไม่

โครงสร้ า งอะตอมเป็ น หนึ่ ง ในเนื้ อ หาที่ อ ยู่ ใ นตั ว ชี้ วั ด ตามหลั ก สู ต รแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ สำ�หรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่ง เป็นความรู้พื้นฐานการเรียนรู้เรื่องฟิสิกส์อนุภาคหรือสมบัติของธาตุในระดับที่ สูงขึน้ แบบจำ�ลองอะตอมจากตำ�ราทีเ่ ขียนไว้ตง้ั แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั ระบุวา่ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคพื้นฐาน 3 ชนิด ได้แก่ โปรตอน (Proton) นิวตรอน (Neutron) และอิเล็กตรอน (Electron) โดยโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกัน ตรงศูนย์กลางของอะตอมเรียกว่า นิวเคลียส (Nucleus) ซึ่งมีขนาดเล็กมากเมื่อ เทียบกับขนาดของอะตอม พืน้ ทีท่ เ่ี หลือของอะตอมเป็นที่ว่าง อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ อยู่ในที่ว่างโดยรอบนิวเคลียส ดังภาพ 1 (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี, 2562) แนวคิดเรื่องโครงสร้างอะตอมและแบบจำ�ลองอะตอมนี้ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ห รื อ ผู้ ที่ ส นใจได้ พั ฒ นาแนวคิ ด นี้ ตั้ ง แต่ ยุ ค กรี ก เรื่ อ ยมาผ่ า น การสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ รอบตัวโดยพยายามหาคำ�ตอบด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์และพัฒนาแนวคิดจากหลักฐานเชิงประจักษ์

ภาพ 1 แบบจำ�ลองอะตอมทีม่ อี เิ ล็กตรอนอยูร่ อบนิวเคลียส ทีม่ า: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2562

ภาพจาก: https://www.space.com/standard-model-physics นิตยสาร สสวท.

24



วามเข้าใจเกีย่ วกับองค์ประกอบและลักษณะของอะตอมดังภาพ 1 ได้มกี ารพัฒนามาเรือ่ ยๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์คน้ พบว่านอกจาก โปรตรอนและนิวตรอนก็ยังประกอบด้วยอนุภาคอื่นที่เล็กกว่าที่ เรียกว่า ควาร์ก (Quark) และยังค้นพบอนุภาคที่เป็นสื่อของแรง อนุภาค ที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีกหรือที่เรียกว่าอนุภาคมูลฐาน อนุภาคเหล่านี้ อยูใ่ นทฤษฎีทเี่ รียกว่า แบบจำ�ลองมาตรฐาน (Standard Model) ซึง่ เป็น ทฤษฎีหนึ่งที่สำ�คัญในการศึกษาฟิสิกส์อนุภาค โดยทฤษฎีนี้ได้อธิบาย พฤติกรรมและอันตรกิริยาระหว่างอนุภาคมูลฐานในแบบจำ�ลองมาตรฐาน ซึ่งมีทั้งหมด 12 อนุภาค และมีแรงธรรมชาติพื้นฐานทั้งหมด 4 แรง แบบจำ�ลองนี้ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากยังไม่ค้นพบอนุภาคบางชนิด เช่น อนุภาคฮิกส์ (Higgs) ดังภาพ 2 ซึง่ เป็นจิก๊ ซอว์ชนิ้ สำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้แบบจำ�ลอง มาตรฐานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น (CERN Accelerating Science, n.d.; ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ, 2566; นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, 2566)

ภาพบรรยากาศการแถลงข่าวการค้นพบอนุภาคฮิกส์

ภาพ 2 อนุภาคมูลฐานในแบบจำ�ลองมาตรฐาน ทีม่ า: cds.cern.ch

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2012 ได้มีข่าวใหญ่ที่สำ�คัญมากในวงการ วิทยาศาสตร์นั่นก็คือ อนุภาคฮิกส์ได้ถูกค้นพบโดยสภาวิจัยนิวเคลียร์แห่ง ยุโรปหรือเซิรน์ (Conseil Europeen pour la Recherche Nucleaire, CERN) ซึง่ ได้ประกาศการค้นพบอนุภาคฮิกส์ ดังภาพ 3 โดยอนุภาคนีม้ กี ารค้นหากัน มายาวนานเกือบ 50 ปี ตั้งแต่ปีเตอร์ ฮิกส์ นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษได้ ทำ�นายถึงการมีอยู่ของมันมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 (สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข, 2555) และในปี ค.ศ. 2018 เซิรน์ ก็ได้ประกาศการค้นพบอนุภาคฮิกส์เป็น ครัง้ ทีส่ อง ซึง่ เป็นหลักฐานยืนยันการมีอยูจ่ ริงของอนุภาคดังกล่าวให้ชดั เจน หนักแน่นขึ้น ข่าวการค้นพบอนุภาคฮิกส์นี้ทำ�ให้คนทั่วไปได้รู้จักเซิร์นและ เครื่องเร่งอนุภาคกันมากขึ้น (BBC News ไทย, 2561) สภาวิจยั นิวเคลียร์แห่งยุโรปหรือเซิรน์ ก่อตัง้ มาตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1952 จากความร่วมมือของกลุ่มประเทศในยุโรปตะวันตก 12 ประเทศ ซึ่งได้ ร่วมกันจัดตัง้ องค์กรเพือ่ วิจยั เกีย่ วกับฟิสกิ ส์นวิ เคลียร์ โดยเน้นไปทีก่ ารศึกษา วิจัยโดยไม่เกี่ยวข้องกับการทหารและต้องเผยแพร่ผลการศึกษาออกสู่ สาธารณะ เซิรน์ ตัง้ อยู่ ณ พืน้ ทีบ่ ริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส มีพื้นที่ครอบคลุมพรมแดนระหว่างสมาพันธรัฐสวิสและ ประเทศฝรัง่ เศส ดังภาพ 4 (สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ, 2564)

25

ภาพจำ�ลองแสดงการสลายตัวของอนุภาคฮิกส์ทบ่ี นั ทึกได้เมือ่ วันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 ภาพ 3 การค้นพบอนุภาคฮิกส์ ทีม่ า: cds.cern.ch

ภาพ 4 สถานทีต่ ง้ั ของเซิรน์ ทีม่ าภาพ : cds.cern.ch

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

วัตถุประสงค์ของเซิรน์ ในปัจจุบนั ได้ปรับเปลีย่ นจากอดีตเล็กน้อย โดยเปลีย่ นขอบเขตงานวิจยั จากการศึกษาฟิสกิ ส์นวิ เคลียร์หรือฟิสกิ ส์อะตอม มาเป็นการศึกษาฟิสิกส์อนุภาค ภารกิจหลักของเซิร์นคือ เป็นศูนย์วิจัย ที่สนับสนุนเครื่องเร่งอนุภาคสำ�หรับการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์อนุภาคในการ เพิม่ พูนความรูด้ า้ นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพือ่ ประโยชน์ของมนุษยชาติ ปัจจุบันเซิร์นเป็นที่รู้จักในฐานะสถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคแห่งยุโรป มี ประเทศสมาชิกกว่า 23 ประเทศ ดังภาพ 5 สำ�หรับประเทศไทยเป็น หนึ่งในประเทศที่มีข้อตกลงความร่วมมือกับเซิร์นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 โดย มีความร่วมมือในการพัฒนาการวิจัยระหว่างกัน (สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, 2564) เซิรน์ มีพนักงานรวมกันกว่า 2,500 คน และมีนกั วิจยั จากทัว่ โลก ลงทะเบียนเป็นผูใ้ ช้งานมากกว่า 17,500 คน มีนกั วิทยาศาสตร์จากหลากหลาย

ภาพ 5 ประเทศสมาชิกของเซิรน์ ทีม่ า: cds.cern.ch

ภาพ 6 การทำ�งานของเครือ่ งเร่งอนุภาค ทีม่ า: ดัดแปลงจาก cds.cern.ch

สาขาวิชาไม่ว่าจะเป็นฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรม มาร่วมกันดำ�เนินการวิจัย (สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ, 2564) เครื่องมือวิจัยที่สำ�คัญของเซิร์นคือเครื่องเร่ง อนุภาค ซึง่ เป็นเครือ่ งจักรทีท่ �ำ หน้าทีเ่ ร่งอนุภาคให้เคลือ่ นทีด่ ว้ ยความเร็วสูง จนมีความเร็วเกือบเท่าความเร็วแสง โดยการใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามากระทำ� กับอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าให้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นในทิศทางที่ ต้องการ อนุภาคจะถูกเร่งความเร็วให้เคลือ่ นทีไ่ ปข้างหน้าด้วยแรงไฟฟ้าและ จะถูกเปลี่ยนทิศทางด้วยแรงแม่เหล็ก ซึ่งอนุภาคจะไม่ได้เคลื่อนที่ไปแค่ อนุภาคเดียวแต่จะไปกันเป็นกลุม่ โดยมีแม่เหล็กช่วยโฟกัสให้อนุภาคอยูใ่ กล้กนั เป็นกลุม่ ดังภาพ 6 อนุภาคทีถ่ กู เร่งจะแบ่งเป็น 2 กลุม่ เคลือ่ นทีใ่ นทิศทาง นิตยสาร สสวท.

ตรงกันข้าม เมื่อเร่งความเร็วอนุภาคได้ตามที่ต้องการก็จะควบคุมให้ อนุภาคชนกัน ณ บริเวณตัวตรวจวัดสัญญาณ (Detector) ที่ทำ�หน้าที่ ตรวจวัดอนุภาคต่าง ๆ ทีป่ รากฏขึน้ จากการชนกัน (ฐกลวรรธน์ จันทร์วฒั นะ, 2566; นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, 2566) เครื่องเร่งอนุภาคโดยทั่วไปมี 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องเร่งอนุภาค แนวตรง หรือ Linac (Linear Accelerator) เป็นเครือ่ งเร่งอนุภาคทีท่ �ำ ให้ อนุภาคเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง เครื่องเร่งอนุภาคไซโคลตรอน (Cyclotron) ทำ�ให้อนุภาคเคลื่อนที่เป็นรูปก้นหอย และเครื่องเร่งอนุภาคซินโครตรอน (Synchrotron) ทำ�ให้อนุภาคเคลื่อนที่เป็นรูปวงแหวน ดังภาพ 7 ซึ่งใน แบบหลังนี้ ขณะทีอ่ นุภาคเลีย้ วโค้งจะแผ่คลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้าทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะ

26

Linac

Cyclotron

Synchrotron

ภาพ 7 จำ�ลองการทำ�งานของเครือ่ งเร่งอนุภาคชนิดต่าง ๆ ทีม่ า: symmetrymagazine.org

ออกมา เรียกว่า Synchrotron Radiation ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มี ความเข้มสูง ขนาดลำ�แสงเล็ก มีความถี่หลากหลายตั้งแต่รังสีอินฟราเรด จนถึ ง รั ง สี เ อ็ ก ซ์ สามารถนำ � คลื่ น นี้ ไ ปใช้ ป ระโยชน์ ที่ เ หมาะสมตาม ความต้องการได้ (Brewster, S., 2016; ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ, 2566; นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, 2566)

เครือ่ งเร่งอนุภาคทีเ่ ซิรน์ มีทงั้ ชนิด Linac และซินโครตรอน โดย เครือ่ งเร่งอนุภาคทีท่ รงพลังทีส่ ดุ ของเซิรน์ และของโลกก็คอื เครือ่ งเร่งอนุภาค LHC (Large Hadron Collider) ซึง่ เป็นเครือ่ งเร่งอนุภาคชนิดซินโครตรอน ที่มีขนาดใหญ่มาก มีลักษณะเป็นอุโมงค์รูปวงกลมที่มีเส้นรอบวงถึง 27 กิโลเมตร ดังภาพ 8 เครือ่ งเร่งอนุภาค LHC นีม้ ตี วั ตรวจวัดสัญญาณ 4 ตัว

แผนทีแ่ สดงตำ�แหน่งทีต่ ง้ั ของ LHC

ส่วนหนึง่ ของเครือ่ งเร่งอนุภาค LHC ภาพ 8 เครือ่ งเร่งอนุภาค LHC ทีม่ า: cds.cern.ch

ด้วยกัน ได้แก่ ATLAS ALICE CMS และ LHCb โดยแต่ละตัวมีจดุ ประสงค์ ในการตรวจวัดอนุภาคในการทดลองทีแ่ ตกต่างกันไป ในอนาคตเซิรน์ กำ�ลัง พัฒนาเครื่องเร่งอนุภาคเครื่องใหม่ที่มีขนาดใหญ่และทรงพลังกว่า คือ เครือ่ งเร่งอนุภาค FCC (Future Circular Collider) ซึง่ จะมีขนาดเส้นรอบวง กว่า 100 กิโลเมตร (CERN Accelerating Science, n.d.; ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ, 2566; นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, 2566) งานวิจัยหลักที่เกิดขึ้นในเซิร์นเป็นการศึกษาฟิสิกส์อนุภาคเพื่อ ทำ�ความเข้าใจและเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่มนุษยชาติ ในปัจจุบันเราได้ ทราบว่าอนุภาคมูลฐานในแบบจำ�ลองมาตรฐานมีทั้งหมด 12 อนุภาค มี อนุภาคฮิกส์ทพี่ งึ่ ได้รบั การยืนยัน และมีแรงธรรมชาติพนื้ ฐานทัง้ หมด 4 แรง ถึงแม้จะมีการค้นพบอนุภาคฮิกส์แล้ว ก็ยังคงมีการทดลองอีกหลายอย่าง ที่เซิร์นเพื่อศึกษาธรรมชาติของอนุภาคต่างๆ เช่น มีการหาค่าของมวล

ที่แม่นยำ�ของอนุภาคฮิกส์ในการทดลองที่ ATLAS มีการศึกษาธรรมชาติ ของอนุภาคกลูออนในการทดลองที่ ALICE มีการศึกษาอนุภาคทีเ่ ป็นกลาง ที่มีอายุยืน (Long-lived Neutral Particles) ในการทดลองที่ CMS มี การศึกษาความไม่สมมาตรของอนุภาคและปฏิอนุภาคในการทดลองที่ LHCb (CERN Accelerating Science, 2023) นอกจากนี้ ยังมีเครื่อง เร่งอนุภาคอื่นที่ศึกษาฟิสิกส์อนุภาคเช่นกัน เช่น เครื่องเร่งอนุภาคที่แฟร์ มีแล็บ (Fermilab) ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังภาพ 9 ที่ได้ประกาศผล การทดลองทีน่ า่ จะเป็นหลักฐานการมีอยูข่ องแรงธรรมชาติแรงที่ 5 เมือ่ เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2566 (BBC News ไทย, 2566) ซึ่งการค้นพบดังกล่าว อาจทำ�ให้มกี ารเปลีย่ นแปลงองค์ความรูใ้ นแบบจำ�ลองมาตรฐานได้ จึงเห็น ได้วา่ ความรูด้ า้ นฟิสกิ ส์อนุภาคยังมีการค้นพบใหม่ๆ และยังมีสงิ่ ทีน่ า่ ค้นหา อีกมากมาย

27

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ภาพ 9 การทดลอง Muon g-2 ทีแ่ ฟร์มแี ล็บ

ภาพ 10 การวิเคราะห์ภาพศิลปะด้วยรังสีเอ็กซ์

นอกจากความรูด้ า้ นฟิสกิ ส์อนุภาคแล้ว เทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ ที่ได้จากเครื่องเร่งอนุภาคสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆ ได้ เช่น ด้านการแพทย์ได้น�ำ เครือ่ งเร่งอนุภาคไปใช้ในการถ่ายภาพและวินจิ ฉัยโรค ด้านสิง่ แวดล้อมได้น�ำ เทคโนโลยีเซนเซอร์ไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดมลพิษ ด้านศิลปะได้ใช้รงั สีเอ็กซ์ทเี่ รียกว่า Color X-ray ในการศึกษาองค์ประกอบ ของภาพวาดในอดีต ดังภาพ 10 ด้านการสื่อสารได้นำ�เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ทีเ่ ป็นเทคโนโลยีสอื่ สารภายในของเซิรน์ ในการรับส่ง ข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำ�วัน ซึ่งแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างมาก (CERN Accelerating science, n.d.; ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ, 2566; นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ, 2566 สำ�หรับประเทศไทยก็มีเครื่องเร่งอนุภาคเช่นกัน โดยเครื่อง ที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เป็น

เครื่องเร่งอนุภาคชนิดซินโครตรอนที่มีขนาดเส้นรอบวง 81 เมตร มีระดับ พลังงาน 1.2 จิกะอิเล็กตรอนโวลต์ ดังภาพ 11 มีวตั ถุประสงค์ในการวิจยั และให้บริการแสงซินโครตรอนเพื่อประโยชน์หลายด้าน เช่น ด้าน วิทยาศาสตร์พื้นฐานใช้ในงานวิจัยเกี่ยวกับสมบัติของอะตอมหรือโมเลกุล ของสสาร ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ ชี ว ภาพและวิ ท ยาศาสตร์ ก ารแพทย์ ใ ช้ ในการศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลหรือโปรตีนเพื่อประยุกต์ใช้ ในการออกแบบยารักษาโรค ด้านอุตสาหกรรมใช้ในการศึกษาวัสดุเพื่อ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม (สถาบันวิจัย แสงซินโครตรอน, 2565) ในปัจจุบันความต้องการใช้แสงซินโครตรอนใน ประเทศไทยมีมากขึ้น จึงมีการสร้างเครื่องกำ�เนิดแสงซินโครตรอนรุ่นที่ 2 ซึง่ มีขนาดเส้นรอบวงถึง 321 เมตร มีระดับพลังงาน 3 จิกะอิเล็กตรอนโวลต์ ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic

ทีม่ า: bbc.com

ทีม่ า: home.cern

ภาพ 11 ภาพจำ�ลองเครือ่ งกำ�เนิดแสงซินโครตรอนของประเทศไทย ทีม่ า: สถาบันวิจยั แสงซินโครตรอน, 2562

นิตยสาร สสวท.

28

ภาพจาก: https://sciencing.com/five-types-atomic-models-7911352.html

Corridor of Innovation: EECi) จ.ระยอง ซึ่งจะเปิดดำ�เนินการได้ ในปี พ.ศ. 2573 มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ข้ันสูง รองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต (สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน, 2562) จะเห็นได้วา ่ ลักษณะและธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์หรือผูท้ ี่ สนใจในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ จะไม่หยุดการสังเกตปรากฏการณ์ตา่ งๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในธรรมชาติ และไม่ย่อท้อที่จะค้นหาคำ�ตอบที่สงสัย รวมถึงได้ใช้วิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ในการแสวงหาจนทำ�ให้ค้นพบความรู้ใหม่ๆ มากมาย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำ�ให้ได้เรียนรู้ว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไม่มี ความคงทน มีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการค้นพบเกี่ยวกับแบบจำ�ลองอะตอมนี้ ซึ่งสอดคล้องกับ

ลักษณะของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ทว่ี า ่ ความรูท้ างวิทยาศาสตร์มพี น้ื ฐาน มาจากหลักฐานเชิงประจักษ์ และสามารถเปลีย่ นแปลงได้เมือ่ มีหลักฐานใหม่ ทีข่ ัดแย้งกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์เดิมและสามารถอธิบายปรากฏการณ์ ได้ดกี ว่า และ/หรือมีการตีความหลักฐานเชิงประจักษ์ทมี่ อี ยูด่ ว้ ยมุมมองหรือ ทฤษฎีใหม่ (AAAS, 1990) ด้วยเหตุนผี้ เู้ รียนจึงไม่ควรหยุดนิง่ ในการเรียนรู้ ความรูใ้ หม่ๆ ทีเ่ พิม่ ขึน้ หรือเปลีย่ นแปลงได้ และไม่มองข้ามปรากฏการณ์ตา่ งๆ เช่น ความรูเ้ รือ่ งโครงสร้างอะตอมหรือองค์ความรูท้ ไี่ ด้จากเครือ่ งเร่งอนุภาค ที่บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่สามารถนำ�ความรู้มาประยุกต์ใช้ ประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ�วันและในอนาคตได้ อย่างมากมาย

บรรณานุกรม American Association for the Advancement of Science (AAAS). (1990). Project 2061: Science for all Americans. New York: Oxford University Press. BBC News ไทย. (2561). เครื่องชนอนุภาคแอลเอชซีตรวจพบ “ฮิกส์ โบซอน” เป็นครั้งที่สอง. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566. จาก https://www.bbc.com/thai/international-44386550. BBC News ไทย. (2566). นักฟิสิกส์พบอนุภาคแกว่งตัวผิดปกติ บ่งชี้ว่า “แรงที่ 5” มีอยู่จริง. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566. จาก https://www.bbc.com/thai/articles/c0k4kw5qv4lo. CERN Accelerating Science. (n.d.). Contribute to Society. Retrieved June 13, 2023, from https://home.cern/about/what-we-do/our-impact. CERN Accelerating Science. (n.d.). Fundamental Research. Retrieved June 13, 2023, from https://home.cern/about/what-we-do/fundamental-research. CERN Accelerating Science. (n.d.). Graphics. Retrieved June 13, 2023, from https://cds.cern.ch/collection/Graphics?ln=en. CERN Accelerating Science. (n.d.). The Standard Model. Retrieved June 13, 2023, from https://home.cern/science/physics/standard-model. CERN Accelerating Science.. LHCb tightens precision on key measurements of matter–antimatter asymmetry. Retrieved June 13, 2023, from https://home.cern/news/news/physics/lhcb-tightens-precision-key-measurements-matter-antimatter-asymmetry. CERN Accelerating science. ALICE shines light into the nucleus to probe its structure. Retrieved June 14, 2023, from https://home.cern/news/news/physics/ alice-shines-light-nucleus-probe-its-structure. CERN Accelerating science. ATLAS sets record precision on Higgs boson’s mass. Retrieved June 21, 2023, from https://home.cern/news/news/physics/ atlas-sets-record-precision-higgs-bosons-mass. CERN Accelerating science. Looking for sterile neutrinos in the CMS muon system. Retrieved June 28, 2023, from https://home.cern/news/news/physics/ looking-sterile-neutrinos-cms-muon-system. Signe Brewster. (2016). A primer on particle accelerators. Symmetry Magazine. Retrieved June 13, 2023, from https://www.symmetrymagazine.org/article/ a-primer-on-particle-accelerators?language_content_entity=und. ฐกลวรรธน์ จันทร์วัฒนะ. (2566). Introduction to Particle Accelerator and LHC. โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร. นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ. (2566). เปิดโลกสู่ CERN และการศึกษาฟิสิกส์อนุภาค. โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน, กรุงเทพมหานคร. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). (2565). แสงซินโครตรอนสำ�หรับประชาชนทั่วไป. Thai Synchrotron National Lab. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566. จาก https://www.slri.or.th/th/what-is-synchrotron-light/forpeople.html#benefit. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). (2566). เครื่องกำ�เนิดแสงซินโครตรอน 3 GeV กำ�ลังสำ�คัญแห่ง EECi. Thai Synchrotron National Lab. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566. จาก https://www.slri.or.th/th/ข่าววิทยาศาสตร์ทั่วไป/เครื่องกำ�เนิดแสงซินโครตรอน-3-gev-กำ�ลังสำ�คัญแห่ง-eeci.html. สถาบัันส่่งเสริิมการสอนวิิทยาศาสตร์์และเทคโนโลยีี. (2562). หนัังสืือเรีียนรายวิิชาพื้นฐานวิิทยาศาสตร์์ มัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่่ม 1 ตามมาตรฐานการเรีียนรู้และตััวชี้วัด กลุ่มสาระการเรีียนรู้วิทยาศาสตร์์ (ฉบัับปรัับปรุุง 2560) ตามหลัักสููตรแกนกลางการศึึกษาขั้นพื้นฐาน พุุทธศัักราช 2551. กรุุงเทพมหานคร: โรงพิิมพ์์สกสค. ลาดพร้้าว. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). เซิร์น สถาบันวิจัยฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูง ภารกิจเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานและความเป็นหนึ่งเดียวกัน ของมนุษยชาติ. การประชุมวิชาการประจำ�ปี สวทช. ครั้งที่ 16. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566. จาก https://www.nstda.or.th/nac/2021/2021/03/20/cern-organization/. สุรศักดิ์ พงศ์พันธุ์สุข. (2555). 4 กรกฎาคม 2555 เซิร์นประกาศการค้นพบอนุภาคฮิกส์โบซอน. กลุ่มวิจัยและพัฒนานิวเคลียร์ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2566. จาก http://nkc.tint.or.th/nkc55/content55/nstkc55-074.html.

29

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

อุปการ จีระพันธุ | นักวิชาการอิสระ | e-mail: [email protected]

ทันโลก ทันยุค ทันสมัย

เชื่อมโยงบทเรียน ในหนังสือเรียน กับชีวิตจริง ภาพจาก : https://insiderguides.com.au/balancing-your-work-study-and-social-life/

หนังสือเรียนรายวิชาเพิม่ เติมชีววิทยา ของ สสวท. เล่ม 5 ชัน้ มัธยมศึกษา ปีท่ี 6 กลุม่ สาระการเรียนรูว้ ทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังภาพ 1 บทที่ 20 หน้า 120 เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ ได้กล่าวถึง โรคเบาหวานและอินซูลนิ ไว้วา่ ...“อินซูลนิ จะหลัง่ ออกมามากเพื่อกระตุ้น ให้เซลล์ตบั และเซลล์กล้ามเนือ้ นำ�กลูโคสเข้าไปในเซลล์มากขึน้ และเปลีย่ น กลูโคสให้เป็นไกลโคเจนเพื่อเก็บสะสมไว้ ทำ�ให้ระดับน้ำ�ตาลในเลือด ลดลงสูร่ ะดับปกติ ถ้าเซลล์ทส่ี ร้างอินซูลนิ ถูกทำ�ลาย ระดับน้�ำ ตาลในเลือด จะสูงกว่าปกติ ทำ�ให้เป็นโรคเบาหวาน”...

ภาพ 1 หนังสือเรียน รายวิชาเพิม่ เติมชีววิทยา ของ สสวท. เล่ม 5 ชัน้ มัธยมศึกษาปีท่ี 6

ทีม่ า : https://suksapanmall.com/#/product?code=product_QBVM30QV43G5E1

นิตยสาร สสวท.

30



นเด็กและวัยรุน่ มีการเปลีย่ นแปลงของฮอร์โมนมาก ผูพ้ ฒั นาหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาระชีววิทยา จึงได้ใส่เรื่องของ “ฮอร์โมนกับการรักษาดุลยภาพ” ไว้ ประกอบกับในปัจจุบนั มีแนวโน้มของการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ดังภาพ 2 ใน เด็กและวัยรุน่ มากขึน้ ซึง่ จะเกิดขึน้ พร้อมๆ กับโรคอ้วนทีม่ ากขึน้ จากพฤติกรรม ของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินจากการรับประทานอาหารที่มีนำ�้ ตาลและ ไขมันสูง เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ที่สำ�คัญจะพบภาวะแทรกซ้อนใน อนาคตมากขึน้ กว่าผูใ้ หญ่ (จากข้อมูลใน Website ของมหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในสาระน่ารู้ด้านการแพทย์ สาธารณสุข หัวข้อ โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุน่ ) ด้วยเหตุดงั กล่าวจึง ปรากฏเรือ่ งของฮอร์โมนอินซูลนิ (insulin) และโรคเบาหวาน ในแบบเรียน เนือ่ งจากวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น “วันเบาหวานโลก” (World Diabetes Day) จึงขอเชือ่ มโยงบทเรียนในหนังสือเรียนสูช่ วี ติ จริง

ภาพ 2 วันเบาหวานโลก 2566

ทีม่ า: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย

เริม่ ต้นมาจาก ปี ค.ศ. 1922 Sir Frederick Banting ได้คน้ พบ อินซูลนิ ร่วมกับ Charles Best จากนัน้ สหประชาชาติมมี ติก�ำ หนดให้วนั ที่ 14 พฤศจิกายน ซึง่ เป็นวันเกิดของ Sir Frederick Banting เป็น “วันเบาหวานโลก” อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2006 ดังนัน้ ทุกประเทศทัว่ โลกจะจัดกิจกรรม วันเบาหวานโลกขึน้ รวมทัง้ ประเทศไทยด้วย ซึง่ มีหลายหน่วยงานจัดงานขึน้ ภายใต้หวั ข้อ “เบาหวาน..รูว้ า่ เสีย่ ง รูแ้ ล้วต้องเปลีย่ น...” ตัวอย่างเช่น 1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ สยามสมาคม แยกอโศก-สุขมุ วิท 21 กทม. โดยได้มกี ารเผยแพร่ ข้อความเชิญชวนร่วมงาน ดังภาพ 3 2. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ ด้านเบาหวาน ฮอร์โมน และ เมตะบอลิสม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ณ อาคารรัตนวิทยาพัฒน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพมหานคร โดยได้มกี าร เผยแพร่ขอ้ ความเชิญชวนร่วมงาน ดังภาพ 4

ภาพ 3 วันเบาหวานโลก 2566

ทีม่ า : https://www.dmthai.org/new/index.php/activities-and-news/news-pr/2023-10-17-1

เบาหวานเป็นภัยเงียบที่หลายคนไม่ร้ตู ัวเพราะไม่แสดงอาการ ออกมามาก กว่าจะรูต้ วั ก็อาจตาบอด หรือตัดขา เบาหวานไม่ท�ำ ให้ตายโดยตรง แต่สง่ ผลจากภาวะแทรกซ้อน การเกิดภาวะน้�ำ ตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้อวัยวะเสื่อมสมรรถภาพและทำ�งานล้มเหลวเป็นเหตุให้เกิดภาวะ แทรกซ้อน เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจขาดเลือด ตาสูญเสียการมองเห็น ชาปลายมือปลายเท้า ไตวายเรือ้ รัง รวมถึงเป็นแผลหายยาก บางรายอาจ จำ�เป็นต้องตัดขา จากการที่เบาหวานไม่แสดงอาการมากถ้าไม่ระวังให้ดีไม่ว่า จะเป็นหลายอาการหรือเพียงอาการเดียว เช่น น้ำ�หนักลดโดยไม่ทราบ

ภาพ 4 วันเบาหวานโลก 2566

ทีม่ า : https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/.

สาเหตุปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีแรง กระหายน้ำ� หิวน้ำ�บ่อย กินจุ หิวบ่อย สายตาพร่ามัวมองไม่ชัดเจน ชา ปลายมือปลายเท้า เป็นแผลง่าย แผลหายยาก คันตามผิวหนัง จึงมีการพยายาม รณรงค์ให้มีการคัดกรองผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวาน โดยอาจใช้การประเมิน ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานให้รู้และระวังตัวก่อน หรือเฝ้าระวังภาวะก่อน เบาหวาน (Pre-Diabetes) วันเบาหวานโลกในแต่ละปีจะมีการนำ�เสนอความก้าวหน้าของ เบาหวานทั้งการตรวจและการรักษา แนวโน้มในปีน้แี พทย์ท่ที ำ�การวิจัย และให้การรักษาโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ท่ตี ่างไปจากเดิมในหลายด้าน

31

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ก่อนจะกล่าวถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่คงต้องมาทบทวนการรักษาในปัจจุบนั ทีม่ ี การตรวจระดับน้�ำ ตาลในเลือดด้วยการเจาะปลายนิว้ หรือการเจาะเลือดแล้ว นำ�ไปเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจค่าระดับน้ำ�ตาลสะสมที่จับบนเม็ดเลือด ประมาณ 3 - 4 เดือน มีการรักษาโดยการกินยาเม็ดหรือฉีดอินซูลิน ด้วยเข็มบนผิวหนังก่อนหรือหลังอาหาร รวมทัง้ การปรับพฤติกรรมทีเ่ ป็นอยูใ่ ห้ ห่างไกลความเสีย่ ง แนวโน้มทีเ่ ป็นเทคโนโลยีเพือ่ การดูแลผูป้ ว่ ยเบาหวาน 10 อันดับแรก ในปี พ.ศ.​ 2566 ได้แก่ 1) การตรวจวัดระดับน้�ำ ตาลผ่านทางผิวหนัง 2) การตรวจวัดระดับ น้�ำ ตาลทีไ่ ม่ตอ้ งใช้เข็ม 3) อุปกรณ์ฉดี ยาอินซูลนิ 4) ตับอ่อนเทียม 5) การดูแล รักษาเบาหวานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 6) การตรวจหาความเสีย่ งต่อการ เป็นเบาหวาน 7) การรักษาเบาหวานระบบทางไกล 8) การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ อัตโนมัตใิ นการตัดสินใจ 9) การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ 10) การรักษาเบาหวาน ให้หายขาด เทคโนโลยีเหล่านีห้ ลายรายการมีการนำ�มาใช้ในประเทศไทยแล้ว แต่อาจจะยังมีราคาสูง เช่น การตรวจวัดระดับน้ำ�ตาลผ่านทางผิวหนัง (Transdermal Glucose Monitoring) รวมทัง้ อุปกรณ์ตา่ งๆ ทีท่ �ำ ให้ผเู้ ป็น เบาหวานสามารถดูแลตนเองได้ดขี น้ึ เช่น Continuous Glucose Monitoring (CGM) บางรายการก็ราคาไม่สงู มากและนำ�มาใช้แพร่หลายแล้ว เช่น การเก็บค่า ระดับน้ำ�ตาลลงบนมือถือโดยไม่ต้องกรอกตัวเลขเพือ่ ให้แพทย์ได้เห็นข้อมูล โดยไม่ตอ้ งจดหรือพิมพ์ สำ�หรับ Continuous Glucose Monitoring (CGM) เป็นอุปกรณ์ วัดระดับน้�ำ ตาลว่ากำ�ลังขึน้ หรือลง โดยมีคา่ แสดงต่อเนือ่ งตลอดเวลา ช่วยให้ สามารถคำ�นวณขนาดยาอินซูลิน หรือปรับอาหารและพฤติกรรมได้ดีข้นึ รวมไปถึงการป้องกันและแก้ไขระดับน้�ำ ตาลต่�ำ โดย Continuous Glucose Monitoring (CGM) จะมีตวั วัดทีต่ ดิ กับผูเ้ ป็นเบาหวานบริเวณหน้าท้อง หรือ ต้นแขน ดังภาพ 5 โดยจะมีตวั นำ�ทีพ่ าสายเล็กๆ ฝังเข้าไปในชัน้ ผิวหนังได้ แล้วจะ

ถอดออกเหลือเพียงตัวอ่านและตัวส่งสัญญาน Bluetooth ดังภาพ 6 ทีจ่ ะ ส่งข้อมูลไปยังแอปพลิเคชันบนมือถือ ดังภาพ 7 และ 8 ซึง่ แพทย์สามารถ ดูผลรวมจาก Report จาก Application ดังภาพ 9 แต่เครือ่ งนีย้ งั มีราคาสูง และติดอยูบ่ นตัวคนได้ครัง้ ละไม่เกิน 7 วัน ก็ตอ้ งเปลีย่ นใหม่

ภาพ 7 Application Guardian CGM ของ Medtronic

ทีม่ า: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.medtronic.diabetes.guardianconnect&hl=en_US

ภาพ 8 CGM ส่งค่าไปยัง Application ในมือถือ ภาพโดย : อุปการ จีระพันธุ

ภาพ 5 CGM ทีต่ ดิ บนหน้าท้อง ภาพโดย : อุปการ จีระพันธุ

นิตยสาร สสวท.

ภาพ 9 การรายงานผลจากข้อมูลใน Professional CGM

ภาพ 6 CGM ทีก่ �ำ ลังติดตัง้ บนหน้าท้อง

ทีม่ า : https://cimjournal.com/dia-conference/technology-diabetes-treatment/

ภาพโดย : อุปการ จีระพันธุ

32

สำ�หรับเครือ่ งวัดระดับน้�ำ ตาลในเลือด (Blood Glucose Meter : BGM) หรือทีน่ ยิ มเรียกกันสัน้ ๆ ว่า เครือ่ งตรวจน้�ำ ตาล หรือเครือ่ งตรวจเบาหวาน เป็นเครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการควบคุมระดับน้�ำ ตาลในเลือดของผูป้ ว่ ยโรคเบาหวาน เพือ่ ความแม่นยำ�ในการวางแผนการรักษา และประเมินความเสีย่ งการเป็น โรคแทรกซ้อนทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ เครือ่ งตรวจระดับน้�ำ ตาลจากการเจาะเลือด ปลายนิ้วสร้างขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1965 ต่อมามีการพัฒนาให้ใช้

ได้สะดวกสบาย ราคาถูกลง คุณภาพดีขน้ึ มีขนาดเล็กลง หลากหลายแบรนด์ และราคา ตัวอย่างเช่น Accu-Chek รุน่ Instant สามารถส่งค่าต่างๆ ผ่าน Bluetooth ไปยังแอปพลิเคชันบนมือถือ ใส่คา่ อินซูลนิ ทีฉ่ ดี ยาทีก่ นิ รวมทัง้ ใส่รปู อาหารในแต่ละมือ้ ทำ�รายงาน ส่งให้แพทย์ได้เลย ดังภาพ 10 และ ภาพ 11 ในการเฝ้าระวังและรักษาโรค จะมีบรรจุไว้ในหลักสูตรและบทเรียน

ภาพ 10 BGM กับข้อมูลหลังเจาะเลือดบนเครือ่ ง BGM

ภาพ 11 ข้อมูลจาก ในApplication

ภาพโดย : อุปการ จีระพันธุ

ภาพโดย : อุปการ จีระพันธุ

ซึง่ มีการพัฒนาขึน้ เรือ่ ยๆ ทำ�ให้คน ทันโลก ทันยุค ทันสมัย กับการตรวจสอบ ทีต่ อ้ งปรับพฤติกรรมตัวเอง รูจ้ กั มีวนิ ยั ใฝ่หาความรู้ ดูแลรักษาสุขภาพให้มี ระดับน้�ำ ตาล การรายงานผล การรับประทานอาหารหรือฉีดยา อย่างไรก็ตาม ความสมดุล แข็งแรง ไม่ให้เสีย่ งต่อการเป็นโรคต่างๆ โดยเฉพาะเบาหวาน เป็นเพียงการอำ�นวยความสะดวกให้เราเท่านัน้ ทุกอย่างยังต้องขึน้ กับตัวเรา หรือเมือ่ เป็นแล้วก็เอาตัวรอดได้ไม่ถงึ แก่ชวี ติ บรรณานุกรม Elife อีไลฟ์. (2566). Blood glucose เครื่องวัดน้ำ�ตาลในเลือด CGM. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.elifegear.com/blood-glucose/. KCMH Advanced Diabetes Clinic โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. (2566). Blood glucose เครื่องวัดน้ำ�ตาลในเลือด CGM. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100087673985707&locale=zh_CN. กรมประชาสัมพันธ์. (2566). 14 พฤศจิกายน วันเบาหวานโลก (World Diabetes Day). สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.prd.go.th/th/content/category/ detail/id/31/iid/228622. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติม ชีววิทยา เล่ม 5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2566). งานมหกรรมสุขภาพ เนื่องในวันเบาหวานโลก ประจำ�ปี 2566. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.dmthai.org/new/index.php/activities-and-news/news-pr/2023-10-17-1. รศ.สมพงษ์ สุวรรณวลัยกร. (2566). การบรรยายความรู้ทางวิชาการเรื่องทันโลก ทันยุค ทันสมัย กับโรคเบาหวาน ครั้งที่ 1/2566. ประจำ�เดือน กรกฎาคม ชมรมเบาหวาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. ณิชกานต์ หลายชูไทย. (2566). ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการรักษาเบาหวานในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566. จาก https://cimjournal.com/dia-conference/ technology-diabetes-treatment/. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. (2566). งานวันเบาหวานโลก 2566 “เบาหวาน..รู้ว่าเสี่ยง รู้แล้วต้องเปลี่ยน…”. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566. จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/. โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย). คู่มือการใช้เครื่องวัดระดับน้ำ�ตาลในเลือด ACCU-CHEK INSTANT. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566. จาก https://www.accu-chek.co.th/accu-chek-instant.

33

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

วิโรจน ลิ่วคงสถาพร | ผู้ชำ�นาญ ฝ่ายส่งเสริมการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สสวท. | e-mail: [email protected]

ความคลาดเคลื่อน ที่ไมไดเกิดจากการเลือกตัวอยาง ในการวิจัยเชิงสํารวจ การวิจยั ทีม่ กี ารเก็บรวบรวมขอ มูลดว ยการสาํ รวจ (Survey) มักจะมีความคลาดเคลือ่ น (Errors) เกิดขึน้ อยูเ สมอ ซึง่ แบงไดเปนความคลาดเคลือ่ นทีเ่ กิดจากการเลือกตัวอยาง (Sampling Errors) และความคลาดเคลือ่ นทีไ่ มไดเ กิด จากการเลือกตัวอยาง (Non-sampling Errors)

นิตยสาร สสวท.

34

ภาพจาก: https://sharpencx.com/blog/encourage-customer-satisfaction-surveys/



ภาพจาก: https://vbhc.nhs.wales/delivering-value/population-survey-2023/

ทความนี้ก ลาวถึงเฉพาะความคลาดเคลื่อนที่ไม ได เกิ ด จาก การเลือกตัวอยางซึ่งความคลาดเคลื่อนประเภทนี้อาจจะเกิดขึ้น จากความผิดพลาดในขัน้ ตอนตางๆ ของการสํารวจ แบง ไดเ ปน 3 ขัน้ ตอนหลัก ไดแก การออกแบบและวางแผนการสํารวจ การดําเนินการ เก็บรวบรวมขอมูล และการประมวลผลและการวิเคราะหขอมูล โดยใน แตละขัน้ ตอนจําแนกไดเปนขัน้ ตอนยอยไดอกี การระบุความคลาดเคลื่อนในแตละขั้นตอนดังกลาวจะเปน ประโยชนใ นการปอ งกันมิใหเ กิดความคลาดเคลือ่ นทีไ่ มไ ดเ กิดจากการเลือก ตัวอยางในทุกขั้นตอนของการสํารวจ โดยเฉพาะขั้นตอนการดําเนินการ เก็บรวบรวมขอ มูลซึง่ จําแนกประเภทของความคลาดเคลือ่ นไดเปน 3 ประเภท ดังนี้ 1. Coverage Errors หมายถึง ความคลาดเคลือ่ นทีเ่ กิดจากการ ระบุขอบเขตของประชากรทีไ่ มครบถวน 2. Non-response Errors หมายถึง ความคลาดเคลือ่ นทีเ่ กิดจาก การไมใหขอ มูลของผูใ หขอ มูลซึง่ รวมถึงการใหขอ มูลทีไ่ มสมบูรณดว ย 3. Response Errors หมายถึง ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจาก การใหขอ มูลของผูใ หขอ มูล โดยสว นใหญแ ลว ความคลาดเคลือ่ นทัง้ 3 ประเภทนีเ้ กิดจากการ ออกแบบและวางแผนการสํารวจทีไ่ มเหมาะสม เชน การสํารวจความคิดเห็น ของครูวทิ ยาศาสตร ชน้ั มัธยมศึกษาปท ่ี 3 เกีย่ วกับการใชผ ลผลิตของ สสวท. โดยการสง แบบสอบถามทางไปรษณีย อาจจะเกิดความคลาดเคลือ่ นไดท ง้ั

3 ประเภท เชน กรอบการเลือกตัวอยางทีไ่ มส มบูรณอ าจไมค รอบคลุมประชากร บางสว น (Coverage Errors) ผูต อบแบบสอบถามอาจไมใ ชค รูวทิ ยาศาสตร ชนั้ มัธยมศึกษา ปท ่ี 3 เชน รองผูอ ํานวยการฝายวิชาการ หรือหัวหนากลุม สาระการเรียนรู วิทยาศาสตร เปน ผูต อบแบบสอบถาม (Response Errors) ครูวทิ ยาศาสตร ชน้ั มัธยมศึกษาปท ่ี 3 เปน ผูต อบแบบสอบถาม แตใหขอมูลครบถวนดวยความเขาใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคําถามใน แบบสอบถาม (Response Errors) ครูวทิ ยาศาสตร ชน้ั มัธยมศึกษาปท ่ี 3 เปน ผูต อบแบบสอบถาม แตไมไดใหขอมูลอยางครบถวนเนื่องจากไมเขาใจคําถามในแบบสอบถาม (Non-response Errors) แบบสอบถามทีต่ อบอยางถูกตองและสมบูรณโดยครูวทิ ยาศาสตร ชัน้ มัธยมศึกษาปท ่ี 3 ไดส ง คืนกลับมาเพียงบางสว น (Non-response Errors) ดังนั้น ถาเปนไปไดในการวิจัยเชิงสํารวจจึงควรมีการสํารวจ เบือ้ งตน กอ นการสํารวจจริงเพือ่ ตรวจสอบและปรับปรุงทัง้ วิธกี ารและเครือ่ งมือ ใหม คี วามคลาดเคลือ่ นนอ ยทีส่ ดุ แตถ าไมส ามารถสํารวจเบือ้ งตนได ในการ สํารวจจริงจะตอ งมีการตรวจสอบความคลาดเคลือ่ นทีไ่ มไ ดเ กิดจากการเลือก ตัวอยางและรายงานผลการตรวจสอบดังกลาวในรายงานการวิจยั ดวยเพือ่ ให ผูอ านรายงานระมัดระวังในการนําผลการสํารวจไปใช

บรรณานุกรม United Nations. (1982). Non-sampling errors in household surveys: sources, assessment and control. Preliminary version. New York: United Nations Department of Technical Co-operation for Development and Statistical Office. สุชาดา กีระนันทน. (2538). ทฤษฎีและวิธีการสำ�รวจตัวอย่าง. กรุงเทพมหานคร: ศูนยหนังสือจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

35

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

วุฒิชัย ภูดี | โรงเรียนชุมชนบ้านคำ�พอกท่าดอกแก้ว สพป.นครพนม เขต 2 | e-mail: [email protected] รัฐพร บรรลือ | โรงเรียนบ้านม่วงนาสีดา สพป.นครพนม เขต 2 ดร.อรรถพร วรรณทอง | สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ChatGPT

ความท้าทายใหม่สำ�หรับ การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ภาพจาก: https://billwadge.com/2022/12/15/just-how-smart-are-you-chatgpt-i-quiz-chatgpt-about-math/ นิตยสาร สสวท.

36

หลังจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ทำ�ให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทและ เปลี่ยนแปลงการดำ�รงชีวิตอย่างรวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีเป็นตัวเร่งให้เกิดการพลิกผัน ในทุกภาคส่วนที่ต้องมีการเรียนรู้และพัฒนาเพื่อปรับและเปลี่ยนตนเองให้มีความยืดหยุ่นและพร้อมต่อสถานการณ์ ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้น ปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการสร้างความฉลาดให้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถ คำ�นวณ คิดหาเหตุผล มีการเรียนรู้ได้เสมือนกับสมองของมนุษย์เพื่อช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ แต่เดิมนัน้ การศึกษาปัญญาประดิษฐ์มงุ่ สนใจในการผลิตเครือ่ งจักร ที่สามารถทำ�งานได้อย่างอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เทคโนโลยีค่อยๆ พัฒนาท้ายที่สุดเทคโนโลยีก็ได้เข้ามา มีบทบาทในชีวิตประจำ�วัน

C

hatGPT เป็นปัญญาประดิษฐ์ทเ่ี ป็นรูปแบบภาษาทีช่ ว่ ยให้ ผู้ ค นสามารถสร้ า งข้ อ ความตอบโต้ ค อมพิ ว เตอร์ ด้วยการสนทนาที่เป็นธรรมชาติท่ีคล้ายมนุษย์โดยใช้ การเรียนรูเ้ ชิงลึก (Deep Learning) และประมวลผลความสัมพันธ์ ภายในข้อความ (Natural Language Processing) เพื่อ สร้างคำ�ตอบที่มีคุณภาพสูงในการตอบคำ�ถามหรือการสนทนากับ ผูใ้ ช้ โดยสามารถใช้งานผ่านแอปพลิเคชันแชทหรือเว็บไซต์ตา่ งๆ ได้ ดังนัน้ การเข้ามาของ ChatGPT ทำ�ให้การจัดการเรียนรู้ มีการเปลี่ยนแปลง ครูจึงเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อน การเรียนรูใ้ ห้ผเู้ รียนได้เรียนรูอ้ ย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนัน้ ครูตอ้ ง ทำ�อย่างไรเพือ่ สนับสนุนให้ผเู้ รียนได้เข้าถึง ChatGPT เพือ่ ให้ผเู้ รียน บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ และมีความฉลาดทางดิจทิ ลั ควบคูไ่ ปกับการเรียนรูเ้ พือ่ จะเป็นพลเมืองดิจทิ ลั ได้ ChatGPT กับการจัดการเรียนรู้ ChatGPT เป็นแชทบอทอัจฉริยะทีพ่ ฒั นาขึน้ โดย OpenAI ซึ่งสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ง่าย เนื่องจากสามารถใช้ได้หลายช่องทาง โดย ChatGPT ใช้ การประมวลผลทางภาษาเพื่อจะตอบโต้กับผู้ใช้ได้เหมือนมนุษย์ โดยการตอบโต้กลับของ ChatGPT ให้ขอ้ มูลทีม่ คี วามสอดคล้องและ เป็นระบบเพือ่ ตอบสนองความต้องการของผูใ้ ช้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ ได้รบั ความสนใจเป็นอย่างมากจากทัว่ โลก เนือ่ งจากมีความสามารถ ในการสร้างและประมวลข้อมูล ดังนั้น ครูสามารถนำ�มาเป็น เครื่องมือสำ�หรับการจัดการเรียนการสอนได้ โดยเป็นจุดเริ่มต้น สำ�หรับการสร้างหลักสูตร สือ่ การสอนและการออกแบบเครือ่ งมือ ประเมินผลการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น การให้ ChatGPT ช่วยออกแบบ เกณฑ์ ก ารให้ ค ะแนนการนำ � เสนองานของนั ก เรี ย นแบบรู บ ริ ค (Rubrics) ใช้คำ�สั่งว่า “สร้างตาราง Rubric Score เกี่ยวกับ ภาพ 1 ChatGPT ช่วยออกแบบเกณฑ์การให้คะแนนการนำ�เสนองานของนักเรียน การนำ�เสนอผลงานของนักเรียน” ดังภาพ 1 ChatGPT ยังสามารถนำ�มาช่วยพัฒนากระบวนการ จัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์และจัดประสบการณ์ให้กับผู้เรียนได้ สนทนากับ ChatGPT ค้นหาข้อมูลตามทีผ่ เู้ รียนได้รบั มอบหมายงานจากครู แล้ว เช่น การหาคำ�ตอบสมการ การเขียนกราฟของสมการ การหา สามารถนำ�ข้อมูลที่ได้มาอภิปรายร่วมกันเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และครูต้องคอย คำ�ตอบของระบบสมการ โดยผู้เรียนสามารถป้อนข้อความเพื่อ ให้คำ�แนะนำ�และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการ

37

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

เรียนรูแ้ ละเข้าใจผ่าน ChatGPT (UNESCO, 2023) ซึง่ ครูสามารถทดลองใช้ ตัวอย่างที่ 1 การแสดงวิธกี ารแยกตัวประกอบของสมการ 2x2 -x-10 = 0 ซึง่ เรา ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ป้อนข้อความดังนี้ ”แสดงวิธกี ารแยกตัวประกอบของสมการ 2x^2 -x-10 = 0” จะได้ค�ำ ตอบดังภาพ 2

ภาพ 2 ChatGPT แยกตัวประกอบของสมการ

ตัวอย่างที่ 2 เป็นการให้ ChatGPT ทดลองแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง อัตราส่วนของอายุของแก้วต่ออายุของมิน้ ท์ เป็น 9 : 7 ถ้ากราฟอายุ 42 ปี อัตราส่วน ดังนี้ “อัตราส่วนของอายุของกราฟต่ออายุของแก้ว เป็น 2 : 3 แล้วมิ้นท์อายุเท่าไร” จะได้คำ�ตอบดังภาพ 3 นิตยสาร สสวท.

38

ภาพ 3 ChatGPT แก้โจทย์ปญ ั หาทางคณิตศาสตร์

ดังนัน้ จะเห็นได้วา ่ ChatGPT ช่วยในการพัฒนาการจัดการเรียน และสามารถพลิกโฉมการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูสามารถใช้เพื่อ ปรับปรุงการเรียนรู้ผ่านการวิเคราะห์ การหาคำ�ตอบ การสร้างแนวคิด การโต้ตอบ การสอบ และการอำ�นวยความสะดวกในการเรียนรู้ โดยสามารถ เข้าถึงได้งา่ ย ซึง่ สามารถใช้ผา่ นสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ ดังนัน้ เราสามารถ ใช้ ChatGPT ขับเคลือ่ นการศึกษา (Daia, Liub, Yun & Lim 2023) ได้ดงั ภาพ 4 ChatGPT กับ TPACK Model การผนวก ChatGPT ร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรูใ้ ห้มี ประสิ ท ธิ ภ าพ สิ่ ง สำ � คั ญ คื อ ครู ต้ อ งมี ค วามรู้ ด้ า นเทคโนโลยี แ ละ การจัดการเรียนรูเ้ พือ่ ให้ผเู้ รียนได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ดว้ ยการคิดอย่างมีเหตุผล ดังนัน้ กรอบแนวคิด TPACK Model (Technological Pedagogical and Content Knowledge) จากภาพ 5 ซึง่ เป็นแนวทางการบูรณาการร่วมกัน

ภาพ 4 ChatGPT as an enabler in higher education.

39

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ระหว่างความรูใ้ นเนือ้ หาทีส่ อน ความรูใ้ นวิธกี ารสอน และการใช้เทคโนโลยีเพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการช่วยเหลือ สนับสนุนหรือส่งเสริมการเรียนรูข้ องผูเ้ รียนและเป็นการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู อย่างไรก็ตามการใช้ ChatGPT ในการจัดการเรียนรู้ครูควรมีคุณธรรมจริยธรรมในการ ใช้งาน ซึ่งแนวคิด Intelligent-TPACK จากภาพ 6 จะทำ�ให้ครูค�ำ นึงถึงคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ โดยมี 4 องค์ประกอบดังนี้ 1) Intelligent-TK ครูสามารถใช้ความรู้ เพื่อโต้ตอบกับเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และเพื่อใช้ฟังก์ชันพื้นฐานของเครื่องมือที่ใช้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ 2) Intelligent-TPK ครูสามารถใช้ความรู้สำ�หรับการจัดหาเครื่องมือและ การตีความข้อความจากเครือ่ งมือทีใ่ ช้เทคโนโลยีปญั ญาประดิษฐ์ 3) Intelligent-TCK มุง่ เน้นความเข้าใจ ของครูเกีย่ วกับเทคโนโลยีเฉพาะซึง่ เหมาะสำ�หรับการเรียนรูเ้ นือ้ หาสาระในสาขาของตน 4) Intelligentภาพ 5 TPACK framework. TPACK ครู ส ามารถเลื อ กและใช้ เ ครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ปัญ ญาประดิ ษ ฐ์ ท่ี เ หมาะสมสำ � หรั บ การจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ท่ีกำ�หนดไว้โดยครูต้องมีคุณธรรมจริยธรรม ความโปร่งใส ยุตธิ รรม ตรวจสอบได้ และครอบคลุมในการใช้งานเทคโนโลยีปญั ญาประดิษฐ์ ในการจัดการเรียนรู้ (Celik, 2023) ซึง่ จะส่งเสริมให้ผเู้ รียนสามารถสร้างองค์ความรูแ้ ละเชือ่ มโยง องค์ความรูด้ ว้ ยตนเอง ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ควบคูก่ บั การส่งเสริมให้ ผูเ้ รียนมีความฉลาดทางดิจทิ ลั (DigitalQuotient: DQ) เพือ่ ให้ด�ำ รงชีวติ อยูบ่ นโลกยุคดิจทิ ลั ได้ อย่างรูเ้ ท่าทัน ChatGPT กับความฉลาดทางดิจทิ ลั ของผูเ้ รียน ChatGPT ช่ ว ยพั ฒ นาความฉลาดทางดิ จิ ทั ล (Digital Intelligence Quotient หรือ DQ) ของผูเ้ รียนดังนี้ ภาพ 6 Intelligent-TPACK Framework and 1) ให้ขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องและครอบคลุม: ChatGPT สามารถให้ขอ้ มูลทีถ่ กู ต้องและครอบคลุม its components. ตามคำ�ถามหรือข้อความทีถ่ กู ป้อนเข้ามา โดยมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต หรือข้อมูลภายในคลังข้อมูลที่มีอยู่ 2) ตอบคำ�ถามและให้คำ�แนะนำ�: ChatGPT สามารถตอบคำ�ถามที่ผู้ใช้สอบถามได้อย่าง รอบคอบและครอบคลุม โดยให้ขอ้ มูลและคำ�อธิบายทีเ่ กีย่ วข้องกับคำ�ถาม 3) สนับสนุนในการเรียนรูแ้ ละพัฒนาทักษะ: ChatGPT สามารถช่วยในกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะต่างๆ ของผูใ้ ช้ เช่น การให้ค�ำ แนะนำ� 4) สนับสนุนการศึกษาและการเรียนรูต้ ลอดชีวติ : ChatGPT สามารถเป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยในการ ศึกษาและการเรียนรูต้ ลอดชีวติ โดยสามารถให้ขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้องกับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ประวัตศิ าสตร์ เทคโนโลยี วัฒนธรรม และด้านอืน่ ๆ ทีผ่ ใู้ ช้สนใจ 5) สนับสนุนในการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์: ChatGPT สามารถช่วยในกระบวนการ คิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหาให้กบั ผูใ้ ช้ โดยการให้ขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้อง การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล และแนวคิดทีอ่ าจเป็นประโยชน์ ภาพ 7 DQ framework. 6) พัฒนาทักษะระบบ: ChatGPT สามารถช่วยในการพัฒนาทักษะระบบ เช่น การวางแผน การดำ�เนินงาน การจัดการเวลา และการวางกลยุทธ์เพือ่ ให้ผใู้ ช้สามารถปรับตัวและทำ�งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ สุดท้ายนีห้ วังว่าผูอ้ า่ นจะได้แนวคิดทีจ่ ะนำ� ChatGPT ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ของตนเองได้อย่างเหมาะสมต่อไป บรรณานุกรม Daia, Y. & Liub, Yun. & Lim C. P. (2023). Reconceptualizing ChatGPT and generative AI as a student-driven innovation in higher education. 33rd CIRP Design Conference. DOI: 10.13140/RG.2.2.33039.05283 Celik, I. (2023). Towards Intelligent-TPACK: an empirical study on teachers’ professional knowledge to ethically integrate artificial intelligence (AI)-based tools into education. Computers in Human Behavior, 138: 107468. UNESCO. (2023). ChatGPT and Artificial Intelligence in Higher Education. Retrieved April 25, 2023, from: https://shorturl.asia/x8DEz.

นิตยสาร สสวท.

40

ผ.ศ.ดร.สุพจน์ ไชยสังข์ | อาจารย์ คณะอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา | e-mail: [email protected]

การสอน ตรรกศาสตร์สัญลักษณ์ (Symbolic Logic) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตรรกศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาการอ้างเหตุผลเพื่อแยกการอ้างเหตุผลที่ สมเหตุสมผล (Valid Argument) ออกจากการอ้างเหตุผลที่ไม่สมเหตุสมผล (Invalid Argument) (Nolt, J. and others, 1987

Russell) และไวท์เฮด (Alfred Whithead) โดยมีผลงานในตำ�ราชื่อ ตัวอย่างการอ้างเหตุผลในชีวิตประจำ�วัน “สมศรีถกู ขโมยกระเป๋าถือขณะทีอ่ ยูใ่ นงานเลีย้ งเมือ่ คืนนีส้ มชาย Principia Mathematica ตรรกศาสตร์สญั ลักษณ์ได้รบั การบรรจุลงในหลักสูตรคณิตศาสตร์ ไม่ได้ไปงานเลี้ยงนั้นเลยดังนั้นสมชายไม่ได้ขโมยกระเป๋าของสมศรี” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อให้นักเรียนคุ้นเคยกับหลักการให้เหตุผล เบือ้ งต้น และเป็นพืน้ ฐานสำ�หรับการทำ�ความเข้าใจเกีย่ วกับวิธีการพิสูจน์ ตัวอย่างการอ้างเหตุผลในทางคณิตศาสตร์ “∆ABC กับ ∆DEF มี AB = DE, BC = EF, CA = FD (Methods of Proof) ต่างๆ ที่ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ ทำ�ให้เข้าใจและ รูปสามาเหลี่ยมสองรูปนี้มีความสัมพันธ์กันแบบด้าน-ด้าน-ด้าน ดังนั้น ยอมรับวิธีพิสูจน์นั้นๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิชาชีพชั้นสูงที่ต้องใช้ คณิตศาสตร์ต่อไป ∆ABC ∆DEF” การพิสูจน์เป็นการแสดงว่าการอ้างเหตุผล (Argument) นั้น บุคคลทีไ่ ด้รบั การยกย่องว่าเป็นผูว้ างรากฐานและคิดค้นเกีย่ วกับ ตรรกศาสตร์เป็นคนแรกคือ อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาที่มี สมเหตุสมผลโดยใช้กฎต่างๆ ทางตรรกศาสตร์และข้อสนับสนุนต่างๆ ทาง ผลงานเป็นตำ�ราทางตรรกศาสตร์ชอื่ Organum ซึง่ เกีย่ วกับการให้เหตุผล วิชาการในสาขานัน้ ๆ หัวข้อของตรรกศาสตร์ทกี่ �ำ หนดไว้ในหลักสูตรได้แก่ ทีถ่ กู ต้อง หลักการในหนังสือเล่มนีก้ ลายมาเป็นหลักการของตรรกศาสตร์ ประพจน์และตัวเชือ่ ม ตารางค่าความจริง ประพจน์ทสี่ มมูลกัน สัจนิรนั ดร์ เชิงนิรนัย (Deductive Logic) ในปัจจุบนั ส่วนตรรกศาสตร์ทใี่ ช้ในการเรียน แล้วนำ�เข้าสูเ่ รือ่ งทีเ่ ป็นหัวใจของตรรกศาสตร์คอื การอ้างเหตุผล และสุดท้าย คณิตศาสตร์เรียกว่า ตรรกศาสตร์สญั ลักษณ์ มีรากฐานมาจากตรรกศาสตร์ คือเรื่องตัวบ่งปริมาณ จากประสบการณ์ในการสอนผู้เขียนมีข้อสังเกต เชิงนิรนัย แต่ใช้สัญลักษณ์ เช่น p, q, r แทนประพจน์ และใช้ ˄, ˅, บางประการเพือ่ เสริมให้การสอนมีความชัดเจนและสัมพันธ์กบั การให้เหตุผล →, ↔ และ ~ แทนตัวเชื่อมประพจน์ เพื่อใช้ในการให้เหตุผลทาง ทั้งจากตัวอย่างในชีวิตประจำ�วันและคณิตศาสตร์ดังนี้ คณิตศาสตร์ 1. ค่าความจริงของประพจน์ (Statement) อาจจะมีคา่ ได้มากกว่า บุคคลทีไ่ ด้รบั การยกย่องว่าเป็นผูค้ ดิ ค้นในเรือ่ งของตรรกศาสตร์ สัญลักษณ์เป็นนักคณิตศาสตร์และนักปรัชญาสองท่านคือ รัสเซลล์ (Bertrand สองค่า ในตรรกศาสตร์ดั้งเดิม (Classical Logic) ประพจน์ ถูกกำ�หนด

41

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ให้มคี า่ ความจริง (Truth Value) คือ จริง (True) หรือ เท็จ (False) เพียง 2 ค่าเท่านั้น ปัจจุบันมีการพัฒนาไปให้มีค่ามากกว่า 2 ค่า เช่น จริง จริงบางส่วน ไม่แน่ใจ เท็จ (Bennett. D.J., 2004) การกำ�หนด ให้ประพจน์มีค่าหลากหลายค่านั้นทำ�ให้ประยุกต์ได้ใกล้เคียงกับชีวิตจริง มากขึ้น มีการประยุกต์ได้กว้างมากขึ้นในหลายสาขา เช่น Fuzzy Logic หรือ Machine Learning เราสร้างโปรแกรมให้หุ่นยนต์มีการตัดสินใจ เองได้ ดังในกรณีที่ทีมงานของ IBM สร้างและพัฒนาโปรแกรมการเล่น หมากรุกจนสามารถเล่นชนะนักหมากรุกชั้นนำ�ของโลกได้ หรือกรณีของ การเล่นสนุกเกอร์สามารถพัฒนา Robot ให้เล่นสนุกเกอร์ได้ทัดเทียมกับ นักสนุกเกอร์มืออาชีพได้ ประเด็นนี้คณิตศาสตร์เป็นเพียงยาดำ�ที่แทรกอยู่ เท่านัน้ ความสำ�เร็จมาจาก STEM (Science, Technology, Engineering และ Mathematics) ซึ่งปัจจุบันมีความสำ�คัญต่ออุตสาหกรรมการผลิต ทุกชนิด การเกษตร การแพทย์ ด้านอวกาศ และการทำ�สงคราม 2. ความหมายของตัวเชือ่ มประพจน์ (Connective) “หรือ” กับ ตัวเชื่อม “ถ้า....แล้ว...” 2.1 ตัวเชื่อม “หรือ” ˅ ในทางคณิตศาสตร์ใช้ตัวเชื่อมนี้ใน ความหมายอย่างใดอย่างหนึง่ หรือทัง้ สองอย่าง (either one or both) เช่นใน ทฤษฎีบทของระบบจำ�นวนจริง “ให้ a และ b เป็นจำ�นวนจริง ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0” การกำ�หนดความหมายของ “หรือ” เช่นนีม้ ผี ลต่อการสร้างตาราง ค่าความจริงของตัวเชื่อม “˅” 2.2 ตัวเชือ่ ม ถ้า....แล้ว..... (→) มีนกั เรียนจำ�นวนหนึง่ มีความเข้าใจ คลาดเคลื่อน (Misconception) ว่า ถ้า p → q เป็นจริงแล้ว q → p จะเป็นจริงด้วย ผูส้ อนไม่ควรปล่อยทิง้ ไว้ ควรรีบแก้โดยเร็วเมือ่ เริม่ ต้นแนะนำ� ตัวเชื่อมนี้ การยกตัวอย่างที่เหมาะสมเข้าเรื่องเข้าราวจะทำ�ให้นักเรียน เข้าใจได้ ข้อเท็จจริง : ถ้า p → q จริงแล้ว q → p อาจจะเป็นจริงใน บางกรณีหรือเป็นเท็จในบางกรณี โดยทัว่ ไปไม่อาจสรุปว่า q → p เป็นจริง ตามไปด้วยได้ ตัวอย่างในชีวิตประจำ�วัน “ถ้าเย็นจิตต์เป็นไข้ แล้วเย็นจิตต์ปวดศีรษะ” เป็นจริง จะสรุป ได้หรือไม่ว่า “ถ้าเย็นจิตต์ปวดศีรษะแล้วเย็นจิตต์เป็นไข้” คำ�ตอบคือ 1. สรุปได้ถ้าสาเหตุที่ทำ�ให้เย็นจิตต์ปวดศีรษะนั้นมีเพียง สาเหตุเดียวคือ “เป็นไข้” 2. สรุปไม่ได้ ถ้าสาเหตุที่ทำ�ให้เย็นจิตต์ปวดศีรษะนั้นมาจาก หลายสาเหตุ เช่น เป็นไข้ บาดเจ็บศีรษะจากการกระแทก ไมเกรน หรือ การอักเสบเฉียบพลัน ตัวอย่างในวิชาคณิตศาสตร์ 1. กรณี ถ้า p → q เป็นจริงแล้ว q → p เป็นจริง ถ้า ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า แล้ว ∆ABC เป็นรูป นิตยสาร สสวท.

สามเหลี่ยมมุมเท่า (p → q เป็นจริง) ถ้า ∆ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมเท่า แล้ว ∆ABC เป็นรูป สามเหลี่ยมด้านเท่า (q → p เป็นจริง) 2. กรณี ถ้า p → q เป็นจริงแล้ว q → p เป็นเท็จ ถ้า □ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มจัตรุ สั แล้ว □ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ ม มุมฉาก (p → q เป็นจริง) ถ้า □ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ มมุมฉาก แล้ว □ABCD เป็นรูปสีเ่ หลีย่ ม จัตุรัส (q → p เป็นเท็จ) 3. นักเรียนควรรูเ้ หตุผลว่า ทำ�ไมตารางค่าความจริง (Truth Table) จึงกำ�หนดไว้เช่นนั้น พิจารณาตารางค่าความจริงของ ถ้า ... แล้ว ..... p

q

p→q

T T F F

T F T F

T F T T

มีนกั เรียนหลายคนไม่เข้าใจ หรือ อธิบายไม่ได้วา่ ทำ�ไมประพจน์ เชิงประกอบ (Compound Statement) เมื่อ p → q เป็นเท็จ p และ q เป็นเท็จ จึงเป็น Compound Statement ที่เป็นจริง (บรรทัดที่ 4 ของ ตาราง) เข้าทำ�นอง ถ้า เท็จ แล้ว เท็จ จะเป็นข้อความที่เป็นจริง หรือ จำ�นวนลบคูณกับจำ�นวนลบแล้วได้จ�ำ นวนบวก ซึง่ ฟังดูแล้วอาจเป็นข้อสรุป เพื่อให้จำ�ได้ง่าย แต่นักเรียนควรรู้เหตุผลด้วย สำ�หรับเรือ่ งตารางค่าความจริงนีค้ วรมีการอภิปรายร่วมกัน และ ใช้ตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อให้เข้าใจว่าทำ�ไมนักตรรกศาสตร์จึงกำ�หนด แต่ละตารางไว้เช่นนั้น ในตำ�ราตรรกศาสตร์สญั ลักษณ์ ตารางค่าความจริงกำ�หนดไว้เป็น บทนิยาม ซึง่ บทนิยามก็คอื ข้อตกลง แต่ค�ำ ถามเพือ่ ให้เกิดความเข้าใจก็คอื “ทำ�ไมตกลงกันเช่นนั้น” ผู้เขียนได้สำ�รวจตำ�ราตรรกศาสตร์หลายเล่ม พบดังนี้ 1. กำ�หนดตารางค่าความจริงเป็นบทนิยาม แต่ไม่อธิบายว่าทำ�ไม กำ�หนดเช่นนั้น 2. กำ�หนดตารางค่าความจริงเป็นบทนิยาม และพยายามอธิบาย แต่ไม่ชัดเจน 3. กำ�หนดตารางค่าความจริงเป็นบทนิยาม และอธิบายได้ชดั เจน มีตวั อย่างในข้อค้นพบที่ 3 จากหนังสือ Logic and Proof เขียนโดย Marvin L. Bittinger จาก Indiana University (Bittinger, M.L., 1972) ซึ่งผู้เขียนอธิบายไว้ชัดเจน การใช้ตัวอย่างเพื่ออธิบายการสร้างตาราง p → q ผู้เขียนใช้ ตัวอย่างดังนี้ สมมุตวิ า่ สมศรีพดู กับเพือ่ นๆ ซึง่ จะไปหาสมศรีในวันพรุง่ นีว้ า่ “ถ้าฝนตก (p) แล้วสมศรีอยูบ่ า้ น (q)” จะมีกรณีพจิ ารณาค่าความจริงของ p → q สี่กรณีคือ

42

1. ถ้าฝนตก (p เป็นจริง) สมศรีอยู่บ้าน (q เป็นจริง) สมศรี รักษาสัญญาไม่โกหก ดังนั้น p → q เป็นจริง 2. ถ้าฝนตก (p เป็นจริง) สมศรีไม่อยู่บ้าน (q เป็นเท็จ) สมศรี ไม่รักษาสัญญา สมศรีโกหกดังนั้น p → q เป็นเท็จ 3. ถ้าฝนไม่ตก (p เป็นเท็จ) สมศรีอยู่บ้าน (q เป็นจริง) สมศรี ไม่โกหก เพราะสัญญาทีส่ มศรีให้ไว้เฉพาะกรณีฝนตกเท่านัน้ เมือ่ ฝนไม่ตก จึงอยู่นอกสัญญาจะอยู่หรือไม่อยู่บ้านถือว่าไม่ผิดสัญญา ดังนั้น p → q เป็นจริง 4. ถ้าฝนไม่ตก (p เป็นเท็จ) สมศรีไม่อยูบ่ า้ น (q เป็นเท็จ) จะได้วา่ p → q เป็นจริง พิจารณาเช่นเดียวกับข้อ 3 E1 ~(~p) ≡ E2 p ↔ q ≡ p ˄ q ≡ p ˅ q ≡ E3 p ˄ (q ˄ r) ≡ p ˅ (q ˅ r) ≡ E4 p ˄ (q ˅ r) ≡ p ˅ (q ˄ r) ≡ E5 ~(p ˄ q) ≡ ~(p ˅ q) ≡ E6 p ˄ p ≡ p ˅ p ≡ E7 p → q ≡ E8 p → q ≡ E9 ~(p → q) ≡ E10 ~(p ↔ q) ≡ ≡ ≡ E11 p ↔ q ≡ E12 p ˄ T ≡ p ˅ F ≡ E13 p ˄ ~p ≡ ≡ p ˅ ~p E14 (p → r) ˄ (q → r) ≡ E15 p → (q ˅ r) ≡

การสร้างความเข้าใจว่าเหตุใดจึงกำ�หนดตารางค่าความจริง เช่นนั้น มีผลต่อความมั่นใจในการวิเคราะห์ค่าความจริงของประพจน์เชิง ประกอบ (Compound Statement) ส่งผลต่อความเข้าใจ และความ มั่นใจในเรื่องประพจน์ที่สมมูล สัจนิรันดร์ และการอ้างเหตุผล 4. รูค้ วามหมายของรูปแบบของประพจน์ทสี่ มมูล (Equivalent) และการนำ�ไปใช้ในทางคณิตศาสตร์ จากบทนิยามของรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกัน ทำ�ให้พิสูจน์ ได้ว่ารูปแบบประพจน์ต่อไปนี้สมมูลกัน

p Double Negation q ↔ p q ˄ p Commutative Laws q˅p (p ˄ q) ˄ r Associative Laws (p ˅ q) ˅ r (p ˄ q) ˅ (p ˄ r) Distributive Law (p ˅ q) ˄ (p ˅ r) ~p ˅ ~q de Morgan‘s Laws ~p ˄ ~q p Idempotent Law p ~p ˅ q ~q → ~p Law of Contra positive p ˄ ~q p ↔ ~q ~p ↔ q (p ˄ ~q) ˅ (q ˄ ~p) (p → q) ˄ (q → p) p, T is true statement. p, F is false statement. F T

(p ˅ r) → r (p ˄ ~q) → r

43

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

4.1 รูปแบบประพจน์ที่สมมูลกันจะเป็นรูปแบบที่มีความหมาย เดียวกัน แต่เขียนคนละแบบ ใช้แทนกันได้ ขอยกตัวอย่างในกรณีของ p ˄ (q ˅ r) ≡ (p ˄ q) ˅ (p ˄ r) ดังนี้ ในการรับสมัครคนเข้าทำ�งาน มีข้อกำ�หนดว่าผู้สมัครจะต้องนำ� สิ่งต่อไปนี้มาแสดง คือ นำ�บัตรประจำ�ตัวประชาชนมาแสดง (p) และนำ� ใบปริญญาบัตร (q) หรือใบแสดงผลการเรียนมาแสดง (r) ซึง่ เขียนในรูปแบบ ประพจน์ได้ดงั นี้ p ˄ (q ˅ r) โดยมีใจความเดียวกับรูปแบบประพจน์ (p ˄ q) ˅ (p ˄ r)

เมือ่ รูปแบบของประพจน์มใี จความเดียวกันก็ยอ่ มสามารถใช้แทน กันได้ ดังนั้น p ˄ (q ˅ r) แทนได้ด้วย (p ˄ q) ˅ (p ˅ r) โดยกฎ Distributive Law และ p → q แทนได้ด้วย ~q → ~p โดยกฎ Contrapositive 4.2 ถ้า P, Q และ R เป็นรูปแบบของประพจน์แล้วสามารถพิสูจน์ โดยใช้บทนิยามของการสมมูลของประพจน์ได้ว่า 1. P ≡ P (Reflexive) 2. ถ้า P ≡ Q แล้ว Q ≡ P (symmetric) 3. ถ้า P ≡ Q และ Q ≡ R แล้ว P ≡ R (Transitive) 4. P ≡ Q ก็ต่อเมื่อ (P → Q) ˄ (Q → P) สมบัตขิ อ้ ที่ 4 นี้ เป็นสมบัตทิ นี่ กั คณิตศาสตร์ได้น�ำ ไปใช้ในเรือ่ ง ทีโ่ ด่งดังในประวัตศิ าสตร์ของคณิตศาสตร์มาแล้ว ดังในกรณี แทนสัจพจน์ขอ้ ที่ 5 2. ยอมรับว่า PA เป็นจริง แล้วพิสูจน์ให้ได้ว่า P เป็นจริง ของยุคลิดด้วย Playfair’s Axiom (PA → P ) จากข้อ 1 และข้อ 2 สรุปได้ว่า P ≡ PA ดังนั้น สามารถแทน Playfair’s Axiom : กำ�หนดจุดๆ หนึง่ ทีไ่ ม่อยูบ่ นเส้นตรงทีก่ �ำ หนดให้จะมี P ด้วย PA เส้นตรงที่ผ่านจุดที่กำ�หนดให้ และขนานกับเส้นที่กำ�หนดให้ แม้วา่ นักคณิตศาสตร์พยายามใช้ PA มาแทน P แล้วก็ตาม เพียงเส้นเดียวเท่านั้น นักคณิตศาสตร์ก็ไม่ประสบความสำ�เร็จในการพิสูจน์ว่า PA เป็นจริงอยู่ดี P : ถ้าเส้นตรงเส้นหนึง่ ตัดเส้นตรงสองเส้นโดยทำ�ให้ขนาดของมุมภายใน ต่อมานักคณิตศาสตร์จึงทราบว่าทำ�อย่างไรก็พิสูจน์ P ไม่ได้ เพราะ P บนข้างเดียวกันของเส้นตัดรวมกันน้อยกว่าสองมุมฉากแล้ว เป็นอิสระ (Independent) จากสัจพจน์ข้ออื่นๆ เส้นตรงทัง้ สองนัน้ ถ้าต่อออกไปอย่างไม่สนิ้ สุดจะตัดกันทางด้าน 4.3 รูปแบบของประพจน์ทส่ี มมูลกันมีประโยชน์ในการพิสจู น์ เช่น ทีม่ ผี ลรวมของขนาดของมุมภายในทีน่ อ้ ยกว่าสองมุมฉากนั้น ในการพิสูจน์ p → q ทำ�ได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้เลย จึงหันมาพิสูจน์ว่า ~q → ~p เป็นจริง แล้วจึงสรุปว่า p → q เป็นจริง เช่นในการพิสูจน์ นักคณิตศาสตร์สงสัยกันมานานหลายศตวรรษว่า สัจพจน์ ข้อความ “ให้ a เป็นจำ�นวนเต็ม จงพิสูจน์ว่า ถ้า a เป็นจำ�นวนคู่ ข้อที่ 5 ของยุคลิด (P ) น่าจะเป็นทฤษฎีบทมากกว่าจะเป็นสัจพจน์ เพราะ P แล้ว a เป็นจำ�นวนคู่” กล่าวในรูป ถ้า......แล้ว..... ซึ่งเป็นรูปแบบของทฤษฎีบท นักคณิตศาสตร์ จะเห็นว่าข้อความนีพ้ สิ จู น์ได้ยาก (โดยการพิสจู น์ทางอ้อม) เราจึง จึงพยายามพิสูจน์ให้ได้ว่า P นี้เป็นทฤษฎีบท โดยได้พยายามมาหลายวิธี พิสูจน์ Contrapositive ของข้อความนี้แทน ซึ่งก็คือ ก็ไม่ประสบความสำ�เร็จ จึงหันมาลองใช้วธิ พี สิ จู น์ให้ได้วา่ ข้อความทีส่ มมูล “ให้ a เป็นจำ�นวนเต็ม ถ้า a เป็นจำ�นวนคีแ่ ล้ว a เป็นจำ�นวนคี”่ กับ P เป็นจริง แล้วจึงสรุปว่า P เป็นจริง ซึ่งพิสูจน์ได้ง่ายกว่า ข้อความทีน่ กั คณิตศาสตร์น�ำ มาใช้กนั มากในกรณีนคี้ อื สัจพจน์ ของเพลย์แฟร์ (Playfair’s Axiom) หรือ PA โดยทำ�ดังนี้ 5. สัจนิรนั ดร์ (Tautology) เป็นแบบร่าง (Template) ของการ 1. ยอมรับว่า P เป็นจริง แล้วพิสูจน์ให้ได้ว่า PA เป็นจริง กล่าวข้อความทีเ่ ป็นจริง และทำ�ให้ได้รปู แบบการอ้างเหตุผลทีส่ มเหตุสมผล (P → PA) และ จากบทนิยามของสัจนิรันดร์ทำ�ให้ได้รูปแบบของประพจน์ที่เป็น สัจนิรันดร์ และนำ�ไปใช้อ้างอิงในการให้เหตุผลได้ดังนี้ 5

5

5

5

5

5

5

5

2

5

5

5

2

5

5

5

5

นิตยสาร สสวท.

44

T1 T2



p→p˅q Law of Addition q→p˅q p ˄ q → p Law of Simplification p ˄q→q T3 p ˄ (p → q) → q Modus Ponens T4 ~q ˄ (p → q) → ~p Modus Tollens T5 p → q ↔ ~q → ~p Law of Contrapositive T6 (p → q) ˄ (q → r) → (p → r) Law of Syllogism T7 p ↔ p Reflexive Law T8 p ˅ p ↔ p Idempotent Law p ˄ p ↔ p T9 p ˅ ~p Law of Excluded Middle T10 ~(~p) ↔ p Double Negation T11 p ˅ q ↔ q ˅ p Commutative Laws p˄q↔q˄p T12 p ˅ (q ˅ r) ↔ (p ˅ q) ˅ r Associative Laws p ˄ (q ˄ r) ↔ (p ˄ q) ˄ r T13 p ˅ (q ˄ r) ↔ (p ˅ q) ˄ (p ˅ r) Distributive Law p ˄ (q ˅ r) ↔ (p ˄ q) ˅ (p ˄ r) T14 ~(p ˅ q) ↔ ~p ˄ ~q de Morgan‘s Laws ~(p ˄ q) ↔ ~p ˅ ~q T15 {~p → (q ˄ ~q)} → p Law of Absurdity T16 (p → r) ˄ (q → r) ↔ (p ˅ q) → r Proof by Cases T17 (p → q) ↔ ~p ˅ q Equivalence Form for Implication T18 ~(p → q) ↔ p ˄ ~q Law of Negation for Implication T19 ~p ˄ (p ˅ q) → q Disjunctive Syllogism T20 (p → q) → (p → p ˄ q) T21 (p → q) → (p ˅ r → q ˅ r) T22 (p → q) → (p ˄ r → q ˄ r) T23 (p → q) ˄ (p → r) ↔ (p → q ˄ r) T24 (p ˄ q → r) ↔ {p → (q → r)} T25 (p → q ˄ ~q) → ~p T26 (p ↔ q) ↔ (p → q) ˄ (p → q) T27 [(p ↔ q) ˄ (r → s) ˄ (p ˅ r)] → q ˅ s Constructive Dilemma T28 [(p → q) ˄ (r → s) ˄ (~q ˅ ~s)] → ~p ˅ ~r Destructive Dilemma

45

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ภาพจาก: http://logiconline.weebly.com/

3. สัจนิรนั ดร์ท�ำ ให้สามารถสรุปได้วา ่ การอ้างเหตุผลจากเหตุ S , S , S , ..., S สรุปผล Q จะสมเหตุสมผลหรือไม่ ขึน ้ อยูก่ บั ว่า (S ˄ S ˄ S , ˄..., ˄ S ) → Q เป็น สัจนิรันดร์ หรือไม่ กล่าวคือ 1. ถ้า (S ˄ S ˄ S , ˄..., ˄ S ) → Q เป็นสัจนิรันดร์ การอ้าง เหตุผลนั้นสมเหตุสมผล 2. ถ้า (S ˄ S ˄ S , ˄..., ˄ S ) → Q ไม่เป็นสัจนิรนั ดร์ การอ้าง เหตุผลนั้นไม่สมเหตุสมผล ทีก่ ล่าวมาทัง้ หมดนีเ้ ป็นข้อสังเกตบางประการเพือ่ ช่วยให้การสอน ตรรกศาสตร์สญั ลักษณ์สมั พันธ์กบั ชีวติ ประจำ�วันและโลกของคณิตศาสตร์ ทำ�ให้การเรียนตรรกศาสตร์สญั ลักษณ์มคี วามหมาย สร้างความเข้าใจ และ เห็นการประยุกต์กบั คณิตศาสตร์ นอกจากนี้ ยังชีใ้ ห้เห็นว่าความก้าวหน้า สัจนิรันดร์อื่นๆ ที่นำ�ไปใช้ในการอ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผลเช่น ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์มากมาย และมี Modus Tollens, Syllogism, Disjunctive Syllogism, Contrapositive, คณิตศาสตร์แทรกอยู่เสมอขาดกันไม่ได้ Constructive Dilemma ความสำ�คัญของ สัจนิรันดร์ 1. เป็นแบบร่าง (Template) ของรูปแบบของประพจน์ที่เป็นจริง Template นีน้ �ำ ไปใช้อา้ งอิงได้เสมอว่าเป็นคำ�กล่าวทีเ่ ป็นจริง เช่น กล่าวว่า p ˅ ~p เป็นคำ�กล่าวอ้างที่เป็นจริง 2. สัจนิรันดร์ที่อยู่ในรูปแบบ ถ้า....แล้ว... สามารถสรุปไปใช้เป็น รูปแบบในการอ้างเหตุผลทีส่ มเหตุสมผล (Valid Arguments) ได้ เช่น [p ˄ (p → q)] → q (Modus Ponens) คือการอ้างเหตุผล ที่สมเหตุสมผลโดยมีเหตุและผลดังนี้ เหตุ 1. p 2. p → q ผล q

1

2

2

3

n

1

3

n

1

1

2

2

3

3

n

n

บรรณานุกรม Bennett, D.J. (2004). Logic Made Easy. New York: w.w Norton & Company Inc. Bittinger, M.L. (1972). Logic and Proof. Addison: Wesley Publishing Company. Kanokwatt Shiangjen. Fuzzy Logic. School of Information and Communication Technology. University of Phayao. Nolt, John et. al. (1987). Theory and Problems of Logic, Schaum’s Outlines Series. Second Edition. McGraw-Hill. Stoll, R.R. (1963). Set Theory and Logic. New York: Dover Publication Inc. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว พ.ศ. 2563.

นิตยสาร สสวท.

46

สุวินัย มงคลธารณ์ | ผู้ชำ�นาญ โครงการวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโลก สสวท. | e-mail: [email protected]

ต้นไม้

แหล่งดูดซับและ กักเก็บคาร์บอน ช่วยลดโลกร้อน ต้นไม้ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีม่ ปี ระโยชน์มากมายทัง้ ทางตรงและทางอ้อม เช่น เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค แหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัย ของสิง่ มีชวี ติ ชนิดต่างๆ ป้องกันการกัดเซาะพังทลายของหน้าดิน เพิม่ ความอุดมสมบูรณ์ให้ดนิ สามารถป้องกันแสงแดด จากความร้อนดวงอาทิตย์ ไอน้�ำ ทีร่ ะเหยจากการคายน้�ำ บริเวณปากใบยังช่วยลดความร้อนในบรรยากาศ ทำ�ให้อณ ุ หภูมิ บริเวณนั้นลดลงได้ถึง 3 - 5 องศาเซลเซียส หากปลูกต้นไม้ไว้ในบริเวณบ้านจะช่วยลดอุณหภูมิรอบบ้านได้ถึง 2 - 4 องศาเซลเซียส (มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, 2553) ดังนั้น ต้นไม้จึงมีบทบาทสำ�คัญยิ่งต่ออุณหภูมิบรรยากาศ และ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เนื่องจากต้นไม้สามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจกที่สำ�คัญ ชนิดหนึ่งจากบรรยากาศมาสะสมกักเก็บไว้ในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ โดยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกต้นไม้ดูดซับ นำ�ไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและถูกนำ�ไปกักเก็บในรูปของเนื้อไม้ (ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากร ป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2559) ทั้งส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน ได้แก่ ลำ�ต้น กิ่ง และ ใบ ร้อยละ 62 11 และ 1 ตามลำ�ดับ และส่วนที่อยู่ใต้พื้นดิน ได้แก่ ราก ร้อยละ 26 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2559) ดังภาพ 1

ภาพ 1 การกักเก็บคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของต้นไม้

ภาพจาก: https://www.nature.org/en-us/about-us/where-we-work/united-states/common-tree-species/

47

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ดั

งนั้น ต้นไม้ 1 ต้น สามารถดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เฉลี่ย 9 - 15 กิโลกรัม/ปี ช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศได้ 1.4 กิโลกรัม/ปี (ไทยรัฐออนไลน์, 2566) ซึ่งศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโตของต้นไม้ และ ปัจจัยแวดล้อม หากปลูกบนพืน้ ทีท่ เี่ หมาะสมกับชนิดของพืชนัน้ ๆ ก็จะทำ�ให้ตน้ ไม้กกั เก็บคาร์บอนเพิม่ ขึน้ ทัง้ นี้ การกักเก็บคาร์บอน ของต้นไม้จะสัมพันธ์กบั การสร้างอาหารและการเติบโตของต้นไม้ ถ้าต้นไม้เติบโตมากขึน้ แสดงให้เห็นว่าต้นไม้มคี วามสามารถในการกักเก็บ คาร์บอนได้มากขึ้น (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2559) ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ ปริมาณคาร์บอน (Carbon Content) ทีส่ ะสมกักเก็บในมวลชีวภาพส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ได้แก่ ลำ�ต้น กิง่ ใบ และราก มีการ แปรผันระหว่างชนิดของพรรณไม้ไม่มากนัก โดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) (2006) กำ�หนดให้ค่า Default Value ของปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพมีค่าร้อยละ 47 ของ น้ำ�หนักแห้ง คู่มือศักยภาพของพรรณไม้สำ�หรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้ (2554) ระบุว่า ปริมาณคาร์บอนในพรรณไม้ชนิดต่างๆ มีการแปรผันระหว่างส่วนต่างๆ ของต้นไม้ (ลำ�ต้น กิ่ง ใบ และราก) แต่มีความใกล้เคียงกัน ระหว่างพรรณไม้แต่ละชนิด ทั้งนี้ ปริมาณคาร์บอนในลำ�ต้นของพรรณไม้ชนิดต่างๆ มีค่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 48 ของน้ำ�หนักแห้ง ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนในกิ่ง ใบ และราก มีการแปรผันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณคาร์บอนในใบมีการแปรผันระหว่างชนิดของพรรณไม้มากกว่าส่วนอื่นๆ ดังนั้น จึงให้ความสำ�คัญกับปริมาณคาร์บอนในลำ�ต้น เนือ่ งจากมวลชีวภาพของลำ�ต้นมีสดั ส่วนสูงกว่ามวลชีวภาพส่วนอืน่ ๆ ทัง้ นี้ สามารถสรุปเป็นปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของชนิด/กลุม่ ของพรรณไม้ ดังตาราง 1 (คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2554) ตาราง 1 ปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของชนิด/กลุม่ ของพรรณไม้ ปริมาณคาร์บอน (ร้อยละของน้�ำ หนักแห้ง)

ชนิด/กลุม่ พรรณไม้ สัก ยูคาลิปตัส อะคาเซีย กระถินยักษ์ โกงกาง พืชเกษตร - ยางพารา - ปาล์มน้�ำ มัน พรรณไม้พน้ื เมืองโตช้า พรรณไม้อเนกประสงค์ และ พรรณไม้ปลูกในเมือง

ลำ�ต้น

กิง่

ใบ

ราก

เฉลีย่

48.10 48.24 48.09 48.19 47.57

46.22 49.46 46.13 47.24 47.49

47.01 52.30 49.45 50.37 46.41

46.07 49.19 46.51 49.19 na

48.13 49.88 47.66 48.75 47.15

48.01 41.30 48.72

50.55 43.00 47.28

52.77 42.00 47.39

47.88 39.40 45.92

49.90 41.30 47.33

การคำ�นวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ การคำ�นวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ทำ�ได้โดยการประเมินมวลชีวภาพ หรือปริมาณคาร์บอนที่สะสมอยู่ใน รูปของเนื้อไม้ โดยการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ที่ระดับความสูง 1.30 เมตร (Diameter at Breast Height: DBH) กับความสูงทั้งหมดของต้นไม้ 1. การเลือกพื้นที่และสุ่มตัวอย่างต้นไม้ 1. สำ�รวจพื้นที่ที่สนใจศึกษา กำ�หนดขนาดพื้นที่ และวัดพิกัดทางภูมิศาสตร์พื้นที่ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนในการวัดต้นไม้ 2. สำ�รวจและสุม่ ตัวอย่างต้นไม้เพือ่ ประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอน สำ�หรับในพืน้ ทีท่ ม่ี ตี น้ ไม้ไม่มากให้วดั ทุกต้น แต่ในกรณี ทีม่ ตี น้ ไม้เป็นจำ�นวนมากให้ก�ำ หนดแนวทางการสุม่ ตัวอย่างในการวัดต้นไม้ดงั นี้ (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2559) นิตยสาร สสวท.

48

• การสำ�รวจ (Inventory) การสำ�รวจเป็นวิธกี ารประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ดว้ ยการวัดเส้นรอบวงของต้นไม้และความสูงของต้นไม้ทกุ ต้น ในพื้นที่ที่ต้องการประเมิน วิธีการนี้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีการปลูกแบบกระจัดกระจายไม่มีระเบียบแบบแผนการปลูกที่แน่นอน มีจำ�นวน ต้นไม้ไม่มากนัก เช่น การปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้าน อาคาร สำ�นักงาน หรือการปลูกในสวนสาธารณะขนาดเล็ก • การสุ่มตัวอย่าง (Sampling) การสุ่มตัวอย่างเป็นวิธีการวัดต้นไม้เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ที่เหมาะสมกับกรณีที่มีการปลูกต้นไม้ จำ�นวนมากและไม่สามารถที่จะทำ�การวัดได้ครบทุกต้น อาจด้วยข้อจำ�กัดต่างๆ เช่น การปลูกเป็นสวนป่าขนาดใหญ่ ป่าธรรมชาติ หรือ การปลูกแบบเป็นแถวเป็นแนวที่มีจำ�นวนต้นไม้มากกว่า 300 ต้นขึ้นไป ควรสุ่มวัดให้กระจายและครอบคลุมทั้งชนิดและอายุของ ต้นไม้ พร้อมทั้งนับจำ�นวนต้นไม้ที่ปลูกทั้งหมด ทั้งนี้ “ข้อสำ�คัญของการสุ่มตัวอย่าง” คือ การเลือกพื้นที่หรือต้นไม้ที่สามารถเป็นตัวแทน สำ�หรับการประเมินฯ พื้นที่นั้นๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดปริมาณที่มากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง 1) การสุ่มตัวอย่างในพื้นที่สวนป่าหรือป่าธรรมชาติ พืน้ ทีก่ ารปลูกน้อยกว่า 100 ไร่

พืน้ ทีป่ ลูกต้นไม้มากกว่า 100 ไร่

วางแปลงสุม่ ตัวอย่าง อย่างน้อย 1 ไร่

วางแปลงสุม่ ตัวอย่าง อย่างน้อยร้อยละ 1 ของพืน้ ทีท่ ง้ั หมด

(ก) (ข) ภาพ 2 การสุม่ ตัวอย่างในพืน้ ที่ (ก) สวนป่า หรือ (ข) ป่าธรรมชาติ

กำ�หนดพืน้ ทีต่ วั อย่างขนาดพืน้ ที่ 1 ไร่ (40 x 40 เมตร) จำ�นวน 2 แปลง กระจายในพืน้ ทีป่ า ่ ซึง่ ในแปลงใหญ่ ขนาด 1 ไร่ นัน้ อาจวางแปลงย่อย ขนาด 10 X 10 เมตร รวมเป็นเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 2 แปลงใหญ่ 32 แปลงย่อย (ยุพเยาว์ โตคีร,ี ชวนพิศ จารัตน์, ดวงตา โนวาเชค และ น้องนุช สารภี, 2563)

แปลงใหญ่ 40X40 เมตร แปลงย่อย 10X10 เมตร

ภาพ 3 การสุม่ ตัวอย่างขนาดพืน้ ที่ 1 ไร่ (40x40 เมตร)

2) การปลูกต้นไม้แบบเป็นแถวเป็นแนว เป็นการสุ่มวัดตันไม้เพื่อเป็นตัวแทนในการประเมินปริมาณการกักเก็บแก๊สเรือนกระจก โดยในกรณีที่ต้นไม้มีจำ�นวนน้อยกว่า 300 ต้น ให้วัดต้นไม้ทุกต้น และในกรณีที่ต้นไม้มีจำ�นวนมากกว่า 300 ต้นขึ้นไป ให้วัดต้นไม้จำ�นวน 300 ต้นหรือมากกว่าก็ได้ โดยในการสุ่มวัดต้นไม้ตัวอย่างนั้นเพื่อให้เป็นตัวแทนที่เหมาะสมควรสุ่มวัดให้กระจายและครอบคลุมทั้งในแง่ของชนิดไม้หรืออายุของ ต้นไม้ พร้อมทั้งนับจำ�นวนต้นไม้ที่ปลูกทั้งหมด

ภาพ 4 การสุม่ ตัวอย่างในพืน้ ทีท่ ม่ี กี ารปลูกต้นไม้แบบเป็นแถวเป็นแนว

49

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

2. การสำ�รวจไม้ต้นขนาดใหญ่ (Tree) สำ�รวจไม้ตน้ ขนาดใหญ่ (Tree) ทีม่ ขี นาดเส้นผ่านศูนย์กลางระดับอก (Diameter at Breast Height: DBH) มากกว่า 4.5 เซนติเมตร และมีความสูงมากกว่า 1.30 เมตร โดยทำ�การเก็บข้อมูลชนิดของไม้ต้น ตรวจวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ หรือตรวจวัดเส้นรอบวง และคำ�นวณหาเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ และตรวจวัดความสูงของไม้ใหญ่ทุกต้น ตามหลักวิธีดำ�เนินการตรวจวัดตามแนวทางของ GLOBE (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2565)

ภาพ 5 การวัดเส้นรอบวงของต้นไม้ทม่ี ลี กั ษณะแตกต่างกัน

การหาเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ เส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ = เส้นรอบวงของต้นไม้ / 3.14 การตรวจวัดความสูงของต้นไม้ 1) เลือกพืชเด่นในพืน้ ทีศ่ กึ ษา จากนัน้ เลือกต้นไม้ 5 ต้น ทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ในระดับ เดียวกับสายตา โดยเลือกต้นไม้ทส่ี งู ทีส่ ดุ 1 ต้น ต้นไม้ทเ่ี ตีย้ ทีส่ ดุ 1 ต้น และต้นไม้ทม่ี คี วามสูงเฉลีย่ ของต้นไม้ทส่ี งู ทีส่ ดุ กับต้นไม้ทเ่ี ตีย้ ทีส่ ดุ อีก 3 ต้น 2) เริม่ วันความสูงต้นไม้ โดยให้ผสู้ งั เกตยืนห่างจากต้นไม้ทต่ี อ้ งการวัดความสูง ในระยะทีส่ ามารถมองเห็นโคนต้นไม้และยอดสูงสุดของต้นไม้

ภาพ 6 การวัดความสูงของต้นไม้ โดยใช้ Clinometer ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ เอง นิตยสาร สสวท.

50

51

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

3. วิธีการคำ�นวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ การคำ�นวณหาปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ ทำ�ได้โดยการประเมินมวลชีวภาพ หรือปริมาณคาร์บอนที่สะสมอยู่ในรูป ของเนื้อไม้ โดยการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นไม้ที่ระดับความสูง 1.30 เมตร กับความสูงของต้นไม้ จากการใช้สมการแอลโลเมตรี (Allometric Equation) ของ Ogawa et al. (1965) Komiyama et al. (1987) และ Peason et al. (2005) เพือ่ คำ�นวนหามวลชีวภาพรวมของพืช ทัง้ นี้ การเลือกใช้สมการต้องสอดคล้องกับประเภทของป่าชนิดนัน้ ๆ และหาค่าคาร์บอนทีส่ ะสมอยูใ่ น มวลชีวภาพโดยคูณด้วยค่า Conversion factor ซึ่งมีค่า 0.47 (ICCP, 2006) ดังนี้ มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ�หรับพืน้ ทีป่ า่ เบญจพรรณและป่าเต็งรัง (Ogawa et al., 1965) มวลชีวภาพของลำ�ต้น (Ws) = 0.0396(D2H)0.9326 มวลชีวภาพของกิง่ (WB) = 0.003487(D2H)1.0270 มวลชีวภาพของใบ (WL) = (28.0/(Ws+Wb))+0.025)-1 มวลชีวภาพของราก (WR) = 0.0264(D2H)0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = Ws + WB + WL + WR

มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ�หรับพืน้ ทีป่ า่ ดิบแล้ง (Ogawa et al., 1965) มวลชีวภาพของลำ�ต้น (Ws) = 0.0509(D2H)0.919 มวลชีวภาพของกิง่ (WB) = 0.00893(D2H)0.977 มวลชีวภาพของใบ (WL) = 0.0140(D2H)0.669 มวลชีวภาพของราก (WR) = 0.0264(D2H)0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = Ws + WB + WL + WR

มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ�หรับพืน้ ทีป่ า่ ชายเลน (Komiyama et al. ,1987)* มวลชีวภาพของลำ�ต้น (Ws) = 0.05466 (D2H)0.945 มวลชีวภาพของกิง่ (WB) = 0.01579 (D2H)0.9124 มวลชีวภาพของใบ (WL) = 0.0678 (D2H)0.5806 มวลชีวภาพของราก (WR) = 0.0264(D2H)0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = Ws + WB + WL + WR

มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ สำ�หรับพืน้ ทีป่ าล์ม (Peason et al, 2005)* WT = 0.666 + 12.82 (H)0.5(ln H) มวลชีวภาพของราก (WR) = 0.0264(D2H)0.775 มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (W) = Ws + WB + WL + WR

*ทีม่ า: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน), 2565

ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ = มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ x 0.47 (กิโลกรัม)



เมื่อ WS = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในส่วนที่เป็นลำ�ต้น (กิโลกรัม) WB = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในส่วนที่เป็นกิ่ง (กิโลกรัม) WL = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินในส่วนที่เป็นใบ (กิโลกรัม) WR = มวลชีวภาพของราก (กิโลกรัม) WT = มวลชีวภาพเหนือพื้นดินทั้งหมด (กิโลกรัม) W = มวลชีวภาพรวมของต้นไม้ (กิโลกรัม) D = ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับความสูง 1.30 เมตร (เซนติเมตร) H = ความสูงทั้งหมดของต้นไม้ (เมตร)

ต้นไม้ชนิดต่างๆ นอกจากจะสามารถดูดซับและกักเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้แล้ว ยังสามารถคิดเป็นคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) นำ�ไปขายเพือ่ สร้างรายได้ได้อกี ด้วย ซึง่ คาร์บอนเครดิตเป็นสิทธิทบี่ คุ คลหรือองค์กรได้รบั จากการลดปริมาณการปล่อย แก๊สเรือนกระจก (จำ�นวนคาร์บอนฟรุตพรินต์) ในแต่ละปี มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า กลไกการลดแก๊สเรือนกระจก เช่น การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การดักจับและกักเก็บแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งหากปล่อยคาร์บอนน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำ�หนด ปริมาณคาร์บอนทีเ่ หลือจะถูกนำ�มาตีราคา และสามารถนำ�ไปจำ�หน่ายในรูปแบบคาร์บอนเครดิตให้กบั องค์กรอืน่ ๆ ทีต่ อ้ งการได้ ดังภาพ 7 ประเทศไทยมีโครงการลดแก๊สเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) เป็นโครงการคาร์บอนเครดิตทีม่ กี ารดำ�เนินการสอดคล้องกับมาตรฐานโครงการคาร์บอนเครดิตในระดับสากล มุง่ เน้นการลด และการดูดกลับแก๊สเรือนกระจกอย่างถาวร รวมถึงให้ความสำ�คัญกับการมีสว่ นร่วมของภาคประชาชนเพือ่ สนับสนุนเป้าหมายการพัฒนา นิตยสาร สสวท.

52

ที่ยั่งยืน โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ชุมชน และประชาชนในท้องถิน่ ซึง่ กลไกคาร์บอนเครดิตเป็นกลไกหนึง่ ที่ช่วยให้ประเทศไทยมุ่งสู่การลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยการสร้างสมดุลให้กบั ภูมอิ ากาศ ของโลก (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน), 2566) ต้นไม้ที่ควรปลูก ต้ น ไม้ แ ต่ ล ะชนิ ด มี ศั ก ยภาพการกั ก เก็ บ แก๊ ส เรือนกระจกทีแ่ ตกต่างกัน ต้นไม้ทแี่ นะนำ�ให้ปลูกเพือ่ ช่วยกันลด แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ และช่วยลดโลกร้อน ดังตัวอย่าง ในตาราง 2 (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน), 2559)

ภาพ 7 การซือ้ ขายคาร์บอนเครดิต

ทีม่ า: ศูนย์ขอ้ มูลและข่าวสืบสวนเพือ่ สิทธิพลเมือง, 2566

ตาราง 2 ศักยภาพการกักเก็บแก๊สเรือนกระจกของพรรณไม้แต่ละชนิด กลุม่ พรรณไม้ กลุ่มพรรณไม้ปลูกเชิงพาณิชย์

กลุ่มพรรณไม้พื้นเมือง

กลุ่มพรรณไม้ รอบรั้วกินได้

กลุ่มพรรณไม้ ป่าชายเลน กลุ่มพรรณไม้ ริมถนน

พรรณไม้ สัก กระถินยักษ์ กระถินเทพา กระถินณรงค์ พะยูง มะค่าโมง ตะเคียนทอง ประดู่ป่า ยางนา กระท้อน ขนุน ขี้เหล็กบ้าน ทุเรียน มะกอก มะขาม มะขามป้อม มะม่วง สะเดา โกงกาง ราชพฤกษ์ มะฮอกกานี สัตบรรณ / ตีนเป็ด ปีบ ประดู่บ้าน

53

ศักยภาพการกักเก็บแก๊สเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ไร่/ปี) 1.36-2.16 0.77-6.49 4.00-6.09 2.27-4.40 0.95 0.95 0.95 0.95 0.95 1.21 1.21 1.21 1.21 1.21 1.21 1.21 1.21 1.21 2.75 1.21 1.21 1.21 1.21 1.21

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ภาพจาก: https://wallpapercave.com/landscape-sky-trees-hd-wallpapers

“ต้นไม้”… เป็นสิง่ มีชวี ติ มหัศจรรย์ทมี่ ปี ระโยชน์อย่างมหาศาล หากพืน้ ทีใ่ นชุมชนหรือในโรงเรียนของเรามีพนื้ ทีว่ า่ งเปล่าอยูม่ าก เรามาร่วมมือกันริเริ่มปลูกต้นไม้เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน ถ้าเราทุกคนช่วยกันปลูกต้นไม้เพียงคนละ 1 ต้น จะสามารถลดปริมาณ แก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ ช่วยกันลดโลกร้อน และช่วยให้ทุกชีวิตดำ�รงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่กำ�ลังเปลี่ยนแปลงได้อย่างยั่งยืนแน่นอน มาปลูกต้นไม้ตั้งแต่วันนี้กันเถอะ! บรรณานุกรม Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (1996). Greenhouse Gas Inventory Reference Manual. International Panel on Climate Change. Cambridge University Press, Cambridge. Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (2006). IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventories. Japan: IGES, Hayama. Ogawa, H. & Yoda, K. & Ogino, K. & Kira, T. (1965). Comparative ecological studies on three main type of forest vegetation in Thailand II. Plant Biomass, Nature and Life in Southeast Asia. 4: 49-80. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). คู่มือศักยภาพของพรรณไม้ สำ�หรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. กรุงเทพมหานคร: อักษรสยามการพิมพ์. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). คู่มือศักยภาพของพรรณไม้ สำ�หรับส่งเสริมภายใต้โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดภาคป่าไม้. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://ghgreduction.tgo.or.th/th/download-tver/download/2160/1200/32.html. ไทยรัฐออนไลน์. (2566). “ต้นไม้” ตัวช่วยดูดซับคาร์บอน เพิ่มออกซิเจน ลดโลกร้อน. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://www.thairath.co.th/news/sustainable/ 2712707?gallery_id=1. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2553). ปลูกต้นไม้ 1 ต้น ได้อะไรมากกว่าที่คิด. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://www.seub.or.th/index.php?option=com_ content&view= article&id=350: seubmewscatid=5:2009-10-07-10-58-20&Itemid=14. ยุพเยาว์ โตคีรี และคณะ. (2020). การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของไม้ต้นในป่าชุมชนบ้านแสงตะวัน จังหวัดสุรินทร์. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสาร PSRU Journal of Science and Technology, 5(3): 23-36. ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2566). เผย อปท. ประสบความสำ�เร็จการซื้อขายคาร์บอนเครดิตครั้งแรกในประเทศไทย นำ�ร่อง 4 จังหวัด. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://www.tcijthai.com/news/2023/6/current/13042. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2565). หนังสือวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ ช่วงชั้นที่ 2 และ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอินเตอร์ เอ็ดดูเคชั่น ซัพพลายส์ จำ�กัด. ส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2559). ปลูกป่าชายเลนคลายร้อนให้โลก. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://dmcrth.dmcr.go.th/manpro/detail/11697/. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2559). ปลูกต้นไม้…ช่วยลดโลกร้อนได้ยังไงนะ?. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://www.tgo.or.th/2020/ file_managers/uploads/file_managers/source/PUBLICATION/final%20Tree_version%2002.pdf. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2565). การคำ�นวณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ (Calculation for Carbon Sequestration). T-VER-TOOL-FOR/ AGR-01 Version 03. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-method/tver-tool/for-agr/download/4497/247/23.html. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2566). ผืนป่ากับคาร์บอนเครดิต. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2566. จาก https://www.tgo.or.th/2023/index.php/th/ post/ผืนป่ากับคาร์บอนเครดิต-150. นิตยสาร สสวท.

54

วรรษา กะฐินทอง | เจ้าหน้าที่ ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. | e-mail: [email protected]

เว็บช่วยสอน ClassDojo

https://www.classdojo.com/ ClassDojo เป็นเว็บไซต์ส�ำ หรับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ ออนไลน์โดยสามารถบริหารจัดการห้องเรียนเสมือนและสร้างกิจกรรม การเรียนรู้ท่ีหลากหลายเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้ มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมบนเว็บไซต์จะเน้นการติดตามและ ประเมินผูเ้ รียนด้วยฟังก์ชนั การเช็คชือ่ การเข้าห้องเรียน การจัดกลุม่ ผูเ้ รียน เพื่อทำ�กิจกรรมการสุ่มรายชื่อเพื่อตอบคำ�ถาม การประเมินการเข้าร่วม กิจกรรมของผูเ้ รียน การจับเวลา หรือการเปิดคลิปวีดทิ ศั น์และอีกหลากหลาย เครื่องมือที่สามารถนำ�มาใช้เพื่อกระตุ้การมีส่วนร่วมของผู้เรียน อีกทั้งมี ช่องทางในการบันทึกผลหลังสอนเพือ่ จัดเก็บข้อมูลการสอนในแต่ละชัน้ เรียน ว่าเป็นอย่างไร แล้วนำ�ไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดยี ง่ิ ขึน้

coggle

https://coggle.it/ coggle เป็นเว็บไซต์สำ�หรับสร้างแผนที่ความคิด (Mind Map) และผังการทำ�งาน (Flowchart) โดยในการสร้างแผนที่ความคิดหรือผัง การทำ�งานมีเครือ่ งมือใช้งานทีง่ า่ ย ช่วยอำ�นวยความสะดวกในการสร้าง ลบ และเพิ่มหัวข้อและกิ่งก้านได้รวดเร็ว สามารถเพิ่มรูปแบบของกิ่งก้านของ แต่ละหัวข้อได้หลากหลายและปรับเส้นโค้งหรือปรับเปลีย่ นสีของแต่ละกิง่ ก้าน ได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถเพิ่มข้อความและรูปภาพได้โดย ไม่จำ�กัดขนาดอีกด้วย จุดเด่นที่น่าสนใจของเว็บไซต์ coggle คือผู้ใช้ สามารถแชร์หน้าเว็บการสร้างแผนทีค่ วามคิดให้กบั บุคคลอืน่ เพือ่ ให้เข้าร่วม แสดงความคิดเห็นและสร้างแผนทีค่ วามคิดร่วมกันได้ ดังนัน้ ผูส้ อนสามารถ นำ � ไปประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการจั ด การเรี ย นการสอนเพื่ อ ให้ ผู้ เ รี ย นได้ แ สดง ความคิดเห็นหรือสรุปความรู้ที่ได้รับจากห้องเรียนร่วมกัน

socrative

https://www.socrative.com/ socrative เป็นเว็บไซต์ส�ำ หรับสร้างกิจกรรมการเรียนรูใ้ นรูปแบบ ออนไลน์ทส่ี นับสนุนการประเมินผลการเรียนรูข้ องผูเ้ รียน ผูส้ อนสามารถสร้าง แบบทดสอบได้ 3 ประเภท ได้แก่ แบบเลือกตอบ (Multiple Choice) แบบ ถูกผิด (True/False) และแบบเติมคำ�ตอบสัน้ (Short Answer) ซึง่ ในการนำ� แบบทดสอบไปใช้งานนัน้ สามารถเลือกได้วา่ จะให้ระบบแสดงข้อคำ�ถามทีละข้อ แสดงข้อคำ�ถามทัง้ หมด หรือผูส้ อนเป็นผูค้ ลิกเพือ่ แสดงข้อคำ�ถามเพือ่ ให้ผเู้ รียน ทำ�แบบทดสอบไปพร้อมกัน อีกทัง้ ยังสามารถตัง้ ค่าข้อสอบอืน่ ๆ เพิม่ เติม เช่น ระบุชื่อผู้เรียนที่ทำ�แบบทดสอบ การสลับข้อคำ�ถามหรือตัวเลือกตอบ และ การแสดงผลคะแนน ผูส้ อนสามารถติดตามการทำ�แบบทดสอบของผูเ้ รียน แต่ละคน และดาวน์โหลดเป็นไฟล์รายงานผลการตอบคำ�ถามของผู้เรียน เพือ่ นำ�ไปใช้วเิ คราะห์และปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนได้ นอกจากนี้ Socrative ยังมีเครือ่ งมือทีส่ ามารถนำ�แบบทดสอบไปใช้ในรูปแบบเกมแข่งขัน เพือ่ เสริมสร้างการมีสว่ นร่วมในชัน้ เรียนของผูเ้ รียนได้อกี ด้วย

55

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ข่าว

สสวท. ร่วมพิธีบำ�เพ็ญกุศลน้อมรำ�ลึกฯ “ในหลวง รัชกาลที่ 9” เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำ�นวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) นำ�คณะ บุคลากร สสวท. เข้าร่วมพิธีทำ�บุญตักบาตรพระสงฆ์ สามเณร และพิธี บำ�เพ็ญกุศลอุทศิ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ในหลวงรัชกาลที่ 9) เพื่อแสดง ความจงรักภักดีและน้อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคณุ ทีท่ รงมีแก่พสกนิกร ชาวไทย เนือ่ งในวันคล้ายวันสวรรคต 13 ตุลาคม “วันนวมินทรมหาราช” โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานพิธี พร้อมด้วยรัฐมนตรีชว่ ยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนคณะผูบ้ ริหาร ระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมพิธีเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

สสวท. อบรมครูโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน โรงเรียนพระปริยตั ธิ รรม แผนกสามัญศึกษา เรือ่ ง การจัดการเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ และการใช้สอ่ื Project 14 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ ดำ�เนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรูต้ ามโครงการในพระราชดำ�ริสมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึง่ ดำ�เนินการอบรมครูในโครงการฯ เรือ่ งการจัดการเรียนรูค้ ณิตศาสตร์ และ การใช้สื่อ Project 14 (สื่อออนไลน์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยี สสวท.) ให้กับโรงเรียนตำ�รวจตระเวนชายแดน และโรงเรียน พระปริยตั ธิ รรม แผนกสามัญศึกษา นอกจากนี้ สสวท. ยังได้สงั เกตการณ์ การจัดการเรียนการสอนของครูผู้เข้ารับการอบรม พบว่า ครูผู้เข้ารับการ อบรมมีความรูค้ วามเข้าใจในทักษะ เนือ้ หา และเทคนิคการจัดการเรียนรู้ และมีความมัน่ ใจสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กบั นักเรียน โดย ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนากระบวนการคิด และมีเจตคติที่ดีต่อวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

สสวท. - สพฐ. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียน ศูนย์วิทยาศาสตร์พลังสิบ ระดับประถมศึกษา หลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 สถาบั น ส่ ง เ สริ ม การ สอนวิ ท ยาศ าสตร์ แ ละ เทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับสำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารหลักสูตรพัฒนา ศักยภาพครูโรงเรียนศูนย์วทิ ยาศาสตร์พลังสิบ ระดับประถมศึกษา หลักสูตรชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 จำ�นวน 96 โรงเรียน จากทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 200 คน ระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพมหานคร นิตยสาร สสวท.

56

ข่าว รมช.ศธ. ตรวจเยี่ยม สสวท.เร่งเดินหน้ายกระดับ การเรียนรู้วิทย์ คณิต ชื่นชมผลงานสื่อ คอนเทนต์ แพลตฟอร์มดิจิทัล พร้อมใช้งานทันใจหายห่วง นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมการดำ�เนินงานของ สถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พร้อมทั้งมอบนโยบายการทำ�งาน รับทราบปัญหาและแนวทางการแก้ไข พร้อมทัง้ หารือร่วมกับคณะผูบ้ ริหาร สสวท. เพื่อร่วมกันกำ�หนดทิศทางขับเคลื่อนพัฒนาการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของประเทศ เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระเดช เจียรสุขสกุล ผู้อำ�นวยการ สสวท. พร้อมด้วย ดร.พรชัย อินทร์ฉาย รองผู้อำ�นวยการ ดร.สุพัตรา ผาติวสิ นั ต์ รองผูอ้ �ำ นวยการ และคณะผูบ้ ริหาร สสวท. ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม M2 สำ�นักงานชั่วคราว สสวท. อาคารสิริภิญโญ ชั้น 9 กรุงเทพมหานคร

สสวท. ร่วมกับ สวทช. มจธ. มจพ. และ บพค. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ และ วิทยาการข้อมูล (AI & Data Science) ดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิรวิ รรณ ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการ สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นประธานเปิดการอบรมครู เชิงปฏิบตั กิ ารปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล (AI & Data Science) พร้อมด้วย ผศ.ดร.ศิรนิ นั ท์ กุลชาติ รองผูอ้ �ำ นวยการหน่วยบริหารและ จัดการทุนด้านการพัฒนากำ�ลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อํานวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอเิ ล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผูบ้ ริหารหน่วยงาน ทีมวิทยากร ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ สสวท. ระหว่างวันที ่ 2 - 5 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ณ ห้องเบญจรงค์ ชั้น 3 โรงแรมรอยัล เบญจา สุขมุ วิท 5 กรุงเทพมหานคร

สสวท. จัดพิธีต้อนรับและแสดงความยินดีกับ คณะผู้แทนประเทศไทยคว้าชัยได้ จากการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกที่ฮังการี ดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิรวิ รรณ ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการ สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) พร้อมด้วยคณะผูบ้ ริหาร ผู้ อำ�นวยการโรงเรียน ผูป้ กครอง และพนักงาน สสวท. ร่วมพิธตี อ้ นรับและ แสดงความยินดีกบั คณะผูแ้ ทนประเทศไทยกลับจากการแข่งขันคอมพิวเตอร์ โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำ�ปี พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที ่ 28 สิงหาคม th 4 กันยายน พ.ศ. 2566 ( 35 IOI 2023 ) ณ เมืองเซเกด สาธารณรัฐฮังการี ซึง่ ในปีนมี้ ผี เู้ ข้าร่วมการแข่งขันจำ�นวน 351 คน จาก 88 ประเทศ ณ บริเวณ ประตู 1 ชั้น 2 อาคารผู้โดยสารขาเข้า สนามบินสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2566 โดย ผู้แทนประเทศไทยสามารถคว้าชัยมาได้ 2 เหรียญทองแดง 2 เกียรติบัตร

57

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

ข่าว

ศธ. ผนึก สอวน. สสวท. ประชุมวิชาการนานาชาติ ฉลอง 100 ปีกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ฟื้นฟู คุณภาพการเรียนวิทย์ คณิตทั่วโลกหลังโควิด 19 เมือ่ วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พลตำ�รวจเอกเพิม่ พูน ชิดชอบ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธแี ถลงข่าวการประชุม วิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 เพือ่ เฉลิมฉลองใน วาระครบรอบ 100 ปี วันประสูตสิ มเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.พินติ ิ รตะนานุกลู เลขาธิการมูลนิธสิ ง่ เสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒั นา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ และ Ms.Soohyun Kim ผู้อำ�นวยการสำ�นักงาน ยูเนสโกส่วนภูมภิ าค ณ กรุงเทพมหานคร ร่วมแถลงข่าว พร้อมด้วยผูบ้ ริหาร หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ ผูอ้ �ำ นวยการสถาบันส่งเสริมการ สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ณ ห้องราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดการประชุมวิชาการ นานาชาติว่าด้วยการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์หลังภาวะการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมือ่ วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 9.00 น. สมเด็จพระ กนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินไปยังศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ิ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ทรงเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติว่าด้วยการเรียน การสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์หลังภาวะการระบาดของโรคติดเชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 ในวาระสำ�คัญนี้ มูลนิธสิ ง่ เสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนา มาตรฐานวิทยาศาสตร์ศกึ ษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับ กระทรวง ศึกษาธิการ โดย สำ�นักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำ�นักงานคณะกรรมการ การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน (สพฐ.) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (สสวท.) จัดขึน้ เพือ่ เฉลิมฉลองในโอกาสทีอ่ งค์การยูเนสโกประกาศ ยกย่องและร่วมเฉลิมฉลองพระเกียรติคณุ ของสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นบุคคลสำ�คัญของโลก ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ในวาระเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันประสูติ ในปี พ.ศ. 2566

ปีการศึกษา 2567 หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของ สสวท. ราคาเท่าเดิม (ไม่ขึ้นราคา) “กระทรวงศึกษาธิการยังไม่มีประกาศเปลี่ยนหลักสูตรใหม่” ยังใช้ หลักสูตรเดิม ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นิตยสาร สสวท.

58

QUIZ สวัสดีคุณๆ ผู้อ่านที่รัก จากข่าว “อิกัวนาเขียว เอเลียนสปีชีส์ บุกลพบุรี” ทำ�ให้ต่ายนึกถึง “Cane Toad” เอเลียนสปีชีส์ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (Invasive Alien Species) ของประเทศออสเตรเลีย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhinella marina ชื่อสามัญที่เป็นภาษาอังกฤษ คือ Giant Neotropical Toad หรือ Marine Toad ความหมายของชื่อก็บอก ให้รู้แล้วว่า ตัวใหญ่เอาเรื่องทีเดียว ในขณะที่ชื่อไทยคือ คางคกอ้อย ที่ชื่อฟังดูแล้วน่าจะหว๊านหวานเหมือนน้ำ�อ้อย แต่จริงๆ แล้ว มันไม่ได้หวานเหมือนอ้อยหรอกที่ไปที่มาของชื่อ Cane Toad ก็คือ เจ้าคางคกตัวนี้เกี่ยวข้องกับ “ไร่อ้อย” เนือ่ งจากมันเป็นคางคกทีม่ ถี น่ิ กำ�เนิดเดิมอยูท่ างตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ หลายๆ พืน้ ทีใ่ นทวีปอเมริกากลางและทางตอนใต้ ของรัฐเท็กซัสประเทศอเมริกา แต่มีรายงานว่าบรรพบุรุษของคางคกอ้อยในออสเตรเลียเป็นคางคกอ้อยจากเกาะฮาวาย ที่ถูกนำ�ไปผสมพันธุ์เพิ่มจำ�นวนที่เมือง Gordonvale รัฐ Queensland ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป ออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1935 (พ.ศ. 2478) โดยให้ดูแลกำ�จัด “ด้วงอ้อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Demolepida albohirtum และ ด้วงฝรั่งเศส French’s beetle ชื่อวิทยาศาสตร์ Lepidiota frenchi” ในไร่อ้อย

ภาพ 1 ภาพซ้าย - แผนที่แสดงการนำ�คางคกอ้อยจากเกาะฮาวายเข้ามาประเทศออสเตรเลียใน ปี ค.ศ. 1935 เพื่อนำ�มาผสมพันธุ์เพิ่มจำ�นวนที่เมือง Gordonvale (ลูกศรชี้) และจากข้อมูลในการสำ�รวจเมื่อปี ค.ศ. 2007 พบมีการแพร่กระจายอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ตะวันออก และใต้ของออสเตรเลีย (แถบสีเทา) (ที่มา: Shanmuganathan et al., 2010) ภาพขวา – แสดงลักษณะการแพร่กระจายของคางคกอ้อยทุกๆ 10 ปี โดยสีแดงแสดงตำ�แหน่งการพบคางคกอ้อยเมื่อ 50 ปีทแี่ ล้ว และสีเหลืองแสดงตำ�แหน่งการพบคางคกอ้อยเมือ่ 10 ทีแ่ ล้ว โดยทีมผูว้ จิ ยั ได้อธิบายไว้วา่ การแพร่กระจายในรัฐทางใต้ของออสเตรเลียจะเกิดได้ชา้ อาจจะเป็น ผลมาจากอากาศเย็น ทำ�ให้มีแมลงอาหารน้อยกว่าเขตที่อากาศร้อนทางตอนเหนือของออสเตรเลีย (ที่มา: Macgregor et al., 2021)



ต่สุดท้ายก็นำ�ไปสู่ปัญหาในเวลาต่อมาเนื่องจากในไร่อ้อยที่มีอากาศร้อน แล้ง และด้วงอ้อยก็ไม่ได้จะจับกินได้ง่ายๆ เพราะว่า ด้วงอ้อยสามารถปีนหนีขน้ึ ไปบนต้นอ้อยได้ แต่คางคกอ้อยปีนขึน้ ต้นอ้อยตามไปไม่ได้ แม้จะพยายามยืดลิน้ ให้ยาวทีส่ ดุ เพือ่ หวังจะตวัดให้ ด้วงอ้อยเข้าปาก แต่ลน้ิ ทีม่ อี ยูก่ ย็ าวไม่พอ อดกินละสิ ทำ�ยังไงต่อดี คางคกอ้อยมองไปทีท่ างเลือกอีกทางคือ ตัวอ่อนด้วงอ้อยทีเ่ ป็นตัวหนอน อยู่ใต้ดิน ซึ่งคางคกอ้อยไม่ได้มีเท้าสำ�หรับใช้ขุดดินทำ�ให้ไม่สามารถขุดดินไปกินตัวหนอนด้วงอ้อยที่อาศัยอยู่ใต้ดินได้ นี่แหล่ะเลยเป็นเหตุท่ี ทำ�ให้คางคกอ้อยต้องตัดสินใจก่อกบฏหนีออกจากไร่ออ้ ยไปตายเอาดาบหน้า และเมือ่ เดินทางออกจากไร่ออ้ ยคางคกอ้อยจึงค้นพบความจริงว่า มีแมลงมากมายทีม่ นั สามารถกินได้งา่ ยกว่าการไปไล่จบั ด้วงอ้อยในไร่ออ้ ย เมือ่ มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีทห่ี ลบร้อน จึงทำ�ให้คางคกอ้อยตัดสินใจ ลงหลักปักฐาน แต่งงาน เพิม่ จำ�นวน และแพร่กระจายแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยจนสร้างปัญหามากมายให้กบั ประเทศออสเตรเลียจนมาถึงทุกวันนี้

ภาพ 2 ด้วงอ้อย (Cane Beetle) แมลงที่มนุษย์คาดหวังให้คางคกอ้อย (Cane Toad) จับกินในไร่อ้อย (ที่มา: Dermolepida albohirtum - Wikipedia (ภาพซ้าย) และ Cane toad | Agriculture and Food (ภาพขวา)

คางคกอ้อยตัวไม่ได้ใหญ่มากมายแล้วก็อพยพมาอยู่ที่ออสเตรเลียเกือบ 90 ปี จะสร้างปัญหาให้กับประเทศออสเตรเลียได้อย่างไร ระบบนิเวศภายในเกาะออสเตรเลียไม่สามารถปรับตัวได้เลยหรือหลายๆ คนอาจจะสงสัยเหมือนกับต่าย ต่ายอยากพาคุณๆ มาดูภาพจากงานวิจยั ในภาพที่ 3

59

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

QUIZ

ภาพ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารทางตอนเหนือของประเทศ ก่อนและหลังจากการนำ�คางคกอ้อยเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย (ที่มา: Radford et al., 2019)

จากภาพ 3 ขนาดของสิ่งมีชีวิตในภาพ a และ b ที่แตกต่างกันแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มและลดลงของจำ�นวนสิ่งมีชีวิตใน กลุม่ ประชากร เช่น ภาพแถวบนสุด (Apex) แสดงผูล้ า่ ระดับบนสุดในห่วงโซ่อาหาร จะเห็นว่าเมือ่ เปรียบเทียบก่อนและหลังการเข้ามาของ คางคกอ้อยพบว่าทัง้ งูและตะกวดมีขนาดกลุม่ ประชากรลดลง แต่ผลู้ า่ อันดับ 2 (Meso) เกือบทุกชนิดมีจ�ำ นวนเพิม่ มากขึน้ เป็นผลมาจาก ผูล้ า่ แถวบนสุดลดจำ�นวนลงนัน่ เอง และสิง่ มีชวี ติ ทีเ่ ป็นเหยือ่ (Prey) เกือบทุกชนิดมีจ�ำ นวนลดลง ลูกศรสีชมพูจากคางคกอ้อยแสดงให้เห็นว่า คางคกอ้อยมีผลทำ�ให้สง่ิ มีชวี ติ ปลายลูกศรลดจำ�นวนลงอย่างมาก ซึง่ ทัง้ หมดเป็นผลกระทบต่อเนือ่ งจากการนำ�คางคกอ้อยเข้ามาในประเทศ คุณๆ เชือ่ ไหมว่าผลกระทบจากคางคกอ้อยทีเ่ ป็นสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานไม่ได้เกิดแค่ในประเทศออสเตรเลียเท่านัน้ ยังแพร่กระจาย ไปยังประเทศอืน่ ๆ ใกล้กบั ออสเตรเลีย เช่น อินโดนีเซีย ฟิลปิ ปินส์ (ภาพ 4) และไปทำ�ให้ตะกวด (Monitor Lizard) หลายชนิดตาย โดยเฉพาะตะกวดทีไ่ ม่มปี ระสบการณ์ชวี ติ พอเห็นคางคกอ้อยก็คดิ ว่ากินได้กก็ นิ เข้าไป ผลก็คอื พวกมันต้องตายจากพิษของคางคกทีอ่ ยูบ่ ริเวณผิวหนัง นัน่ เอง ส่งผลทำ�ให้จ�ำ นวนประชากรของตะกวดทีอ่ าศัยอยูเ่ ดิมลดจำ�นวนลง นอกจากนี้ ยังพบเพิม่ เติมอีกว่าปรสิตทีอ่ าศัยในร่างกายของคางคกอ้อย ก็ไปมีผลทำ�ให้สง่ิ มีชวี ติ อืน่ ๆ ในท้องถิน่ เกิดโรค ล้มตาย เกิดการแพร่ระบาดของเชือ้ โรคขึน้ ในชุมชน เรียกว่าเป็นภัยคุมคามทีน่ า่ กลัวมากเลยทีเดียว สุดท้าย จากเรือ่ งราวทีต่ า่ ยนำ�เสนอทำ�ให้ตา่ ยนึกถึง “หอยเชอรี่ หรือ Apple Snail ชือ่ วิทยาศาสตร์ Pomacea analiculata” ซึง่ เป็นสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานทีม่ ี ถิน่ กำ�เนิดทีป่ ระเทศอาร์เจนตินา และอุรกุ วัย ทีถ่ กู นำ�เข้ามา โดยผู้ซื้อขายสัตว์เลี้ยงและผู้ประกอบการฟาร์มเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ�และปัจจุบนั ได้หลุดเข้ามาอาศัยในประเทศไทยทัว่ ทัง้ ประเทศทัง้ แหล่งน้�ำ ในธรรมชาติและในเขตพืน้ ทีอ่ นุรกั ษ์ โดย สิง่ ทีร่ บั รูไ้ ด้จากสือ่ ต่างๆ ก็คอื หอยเชอรีช่ อบกินต้นอ่อนข้าว ภาพ 4 ภาพแสดงการแพร่กระจายของคางคกอ้อยไปเป็นสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ ราน มากๆ รวมทัง้ กัดกินทำ�ลายพืชน้�ำ หลายชนิดจนเป็นสาเหตุ ในประเทศอื่นๆ ที่ติดกับออสเตรเลีย (ที่มา: Pettit et al., 2021) ทำ�ให้มกี ารเปลีย่ นแปลงของสังคมพืช การลดลงของความ หลากหลายของชนิดพันธุพ์ ชื หอยเชอรีย่ งั เป็นพาหะนำ�พยาธิมาสูค่ นได้ แย่งถิน่ อาหารและอาหารของหอยพืน้ เมืองทีอ่ ยูอ่ าศัยมาก่อน และจากรายงาน ของกรมประมงได้รายงานสรุปไว้วา่ ในปัจจุบนั มีแผนการจัดการการแพร่กระจายภายในประเทศแล้ว การแพร่ระบาดมีแนวโน้มคงที่ อันนีต้ า่ ยว่า เราต้องรอติดตามผลกันต่อไป สิง่ ทีน่ า่ จะช่วยได้อกี ทางทีต่ า่ ยเห็นจากข่าวก็คอื การทีห่ อยเชอรีก่ ลายมาเป็นอาหารของคนไทยเฉพาะกลุม่ และมี ฟาร์มเลีย้ งหอยเชอรีใ่ นท้องถิน่ ซึง่ ก็นา่ จะมีสว่ นช่วยในการควบคุมปริมาณหอยเชอรีไ่ ด้บา้ ง บนโลกของสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ทีร่ กุ รานยังมีสง่ิ มีชวี ติ อีกหลายชนิดทีเ่ ข้ามาในประเทศไทยแล้วรอแค่การรุกราน และสิง่ มีชวี ติ ที่ กำ�ลังจะเข้ามาในประเทศไทยด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ต่ายเชือ่ ว่าวันนึงประเทศไทยจะมีระบบการจัดเก็บ การรวบรวมข้อมูล และการจัดการควบคุม ปัญหาของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย ไม่รอให้เกิดปัญหาขึ้นก่อนแล้วจึงเข้ามาจัดการและดูแล ถ้าทำ�ได้ก็จะทำ�ให้ ประเทศไทยมีความเสีย่ งลดลงสำ�หรับการเกิดปัญหาสิง่ แวดล้อม และการสูญพันธุ์ Saen Hanna กล่าวไว้วา่ ของสิง่ มีชวี ติ ท้องถิน่ หากคุณๆ สนใจหรืออยากให้ตา่ ยติดตามเรือ่ งราวอะไร “ถ้าสิง่ มีชวี ติ ชนิดพันธุต์ า่ งถิน่ ที่ เป็นพิเศษ เช่นเดิมสามารถเขียน e-mail ส่งมาบอกกล่าวหรือมาคุย รุกรานได้เข้ามาแล้ว ไม่มที างที่ กับต่ายได้เหมือนเดิม ที่ [email protected] ส่งท้ายปีเก่า ชีวติ ไฉไล จะกำ�จัดมันออกไปได้เลย” สุขภาพดีถว้ นหน้ากันทุกคน ต่าย แสนซน นิตยสาร สสวท.

60

61

ปีที่ 52 ฉบับที่ 245 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2566

BOOK

ตด ิ ตอ  ไดต  าม ชอ  งทางดานลาง

องคก  ารคาของ สกสค.

รานหนังสือ สสวท.

CU e-Bookstore

bookstore.ipst.ac.th

รานศก ึ ษาภณ ั ฑพ  าณช ิ ย

SE-ED

suksapanpanit.com

e-BOOK NAIINPANN

OOKBEE

นิตยสาร สสวท.

Bundanjai by SE-ED meb The 1 book

62