สิบชีวิต สิบแรงบันดาลใจ 9742991960, 9789742991968

...
Author:
57 downloads 116 Views 8MB Size
ศ.ดร.ว�ร�ยะ นามศิร�พงศพันธุ

นายแพทยว�ชัย โชคว�วัฒน

170.-

10 ชีว�ต 10 แรงบันดาลใจ

“การตาบอดเปšนเคราะหกรรม ที่รŒายแรงที่สุดที่ผมเคยประสบ แต‹การตาบอด ก็ ไดŒสรŒางโอกาสที่ดี ที่สุดใหŒกับผม”

นายแพทยว�ชัย โชคว�วัฒน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 1

10 ชีวิต 10 แรงบันดาลใจ

2 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ISBN 978-974-299-196-8 ที่ปรึกษา แพทย์หญิงวัชรา ริ้วไพบูลย์ บรรณาธิการ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ผู้เขียน นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน ออกแบบปกและรูปเล่ม สิบเจ็ดธันวา พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2556 จำ�นวน 1,500 เล่ม พิมพ์ที่ บริษัท ต้นเงินการพิมพ์ จำ�กัด จัดพิมพ์และเผยแพร่ โดย สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) 88/39 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ชั้น 3 ถ.ติวานนท์ 14 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 ราคา 170 บาท ขอขอบคุณภาพจาก http://pongphun.wordpress.com • http://krunongkala.

blogspot.com • http://www.modxtoy.com • http://www.facebook.com/happy2reading/posts/ • http://www.ch7.com/ • http://movie.sanook.com • http://www.dek-d.com • http://www.matichon.co.th • http://thaigramophone.com • http://forum.02dual.com • http://4825003.multiply.com • http://4825003.multiply.com • http://astrohamburg. wordpress.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมหนังสือ วิชัย โชควิวัฒน. 10 ชีวิต 10 แรงบันดาลใจ.-- นนทบุรี : สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.), 2556. 280 หน้า. 1. การดำ�เนินชีวิต--แง่จิตวิทยา. II. ชื่อเรื่อง. 158.1 ISBN 978-974-299-196-8

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 3

ค�ำน�ำ หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องราวของบุคคล 10 คน ทั้งเทศและไทย เป็น ชาวต่างประเทศ 7 คน คนไทย 3 คน ทุกคนล้วนเผชิญความยากล�ำบาก ด้วยข้อจ�ำกัดของความพิการทางกายหรือจิตใจ แต่ทกุ คนสามารถฟันฝ่าจน “รอดปากเหยี่ยวปากกา” และประสบความส�ำเร็จ สามารถสร้างผลงานอัน เป็นประโยชน์ ได้มากน้อยแตกต่างกัน หนังสือเล่มนี้จึงตั้งชื่อว่า “สิบชีวิต สิบแรงบันดาลใจ” ทั้งนี้ ด้วยความหวังว่า ตัวอย่างชีวิตของทั้งสิบท่านนี้จะ ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ทกุ ท่าน โดยเฉพาะผูท้ มี่ ขี อ้ จ�ำกัด ไม่วา่ ด้านร่างกาย หรือจิตใจก็ตาม

นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

4 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ค�ำน�ำเสนอ

ชีวิตที่ด�ำเนินไปของผู้คน ต้องมีพลังที่จะช่วยขับเคลื่อนให้ชีวิตได้ เคลื่อนไปในทิศทางที่ปรารถนา บางคนสามารถสร้างและสั่งสมพลังใน ตัวเองได้ แต่บางคนอาจมีบางช่วงเวลาทีพ่ ลังถูกลดทอนหรือมอดไปด้วยความ เหนือ่ ยล้า หากในสังคมเราจะมีแหล่งเติมพลังชีวติ ให้ผคู้ นได้ ก็คงเป็นแหล่ง ที่ “สร้างแรงบันดาลใจ” นั่นเอง แรงบันดาลใจทีม่ าจากชีวติ จริงของเพือ่ นมนุษย์ เป็นแรงบันดาลใจที่ มีค่าและความหมายของความเกี่ยวโยงเกื้อกูลกัน สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ซึง่ ท�ำงานสร้างองค์ความรู้ ไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงของระบบสังคมและสุขภาพ ทีจ่ ะเอือ้ ต่อการมีคณ ุ ภาพ ชีวติ ของคนทีม่ คี วามพิการหรือคนที่ใกล้ชดิ กับความพิการ ได้เห็นว่าเรือ่ งราว ชีวิตของคนที่ผ่านประสบการณ์ความพิการมักสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คน ทั่วไปได้เป็นอย่างมาก จึงขอให้คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน ซึ่งท่านเป็นทั้ง นักอ่านและนักถ่ายทอดช่วยเลือกหนังสือประสบการณ์ชวี ติ 10 ชีวติ ทีจ่ ะช่วย สร้างแรงบันดาลใจให้ผคู้ นได้ มาแนะน�ำกับท่านผูอ้ า่ น ด้วยลีลาการเล่าผ่าน ตัวอักษรที่จะท�ำให้ท่านทั้งหลายได้รับการจุดติดพลังแห่งชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง แล้วลุกไปหาหนังสือเรื่องราวชีวิต ทั้ง 10 ชีวิตมาอ่านต่อให้พลังแห่งชีวิต ท่านได้โชติช่วงขึ้นมาอีกครั้ง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 5

ด้วยความหวังว่าทุกชีวติ ในสังคมเราจะเต็มเปีย่ มไปด้วยพลังจากแรง บันดาลใจ ที่มิใช่เพียงมุ่งไปสู่แค่สิ่งที่เราสนใจ แต่เพื่อเกื้อกูลกันและกัน ให้ ทุกคนได้มีชีวิตที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างเป็นุสขด้วยกัน สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.)

6 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 7

ค�ำนิยม แรงบันดาลใจ คือพลังนิวเคลียร์ในตัวมนุษย์ ในอะตอมของสสารมีพลังงานมหาศาลซ่อนเร้นอยู่ ฉันใด ในตัวมนุษย์ ก็เช่นเดียวกัน แรงบันดาลใจท�ำให้มนุษย์ธรรมดากลายเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ และก็ ท�ำให้ท�ำอะไรอื่นๆ ได้ที่ตามธรรมดาท�ำไม่ได้ ความสามารถพิเศษนี้บางทีก็ เรียกว่า อัจฉริยภาพ ทุพพลภาพ-อัจฉริยภาพ เป็นคู่แฝดกัน เพราะคนทีม่ คี วามพิการหรือทุพพลภาพของอวัยวะอย่างใดอย่างหนึง่ เขาไม่ได้พกิ ารทัง้ ตัว เขาไม่ใช่คนพิการ เขามักจะพิการเฉพาะอย่างใดอย่าง หนึ่งอย่างเดียว แต่อย่างอื่นอีกหลายอย่าง นอกจากจะไม่พิการแล้ว ยังอาจ จะดีกว่าคนธรรมดาด้วยซ�้ำไป เพราะธรรมชาติจะเพิ่มศักยภาพในส่วนอื่นๆ เหล่านั้น ไปจนกระทั่งมีความสามารถพิเศษบางอย่างที่คนธรรมดาท�ำไม่ได้ ที่เรียกว่าอัจฉริยภาพ ต้องถือเป็นหลักว่า ทุพพลภาพกับอัจฉริยภาพเป็น คู่แฝดกัน ถ้าเข้าใจเช่นนี้ สังคมควรมองคนพิการด้วยสายตาใหม่ แทนทีจ่ ะมอง ว่าคนพิการเป็นภาระ (Burden) แต่มองว่าคนพิการเป็นประโยชน์ เช่น สามารถให้ค�ำปรึกษาเพื่อคลายทุกข์ เพราะคนพิการได้ผ่านความทุกข์มา แล้ว จึงมีความสามารถที่จะเอาชนะทุกข์ คนธรรมดาในสังคมมีทุกข์มาก

ด้วยประการต่างๆ แต่มีความสามารถน้อยในการเอาชนะทุกข์ คนพิการ สามารถเป็นที่ปรึกษาในการคลายทุกข์ของคนทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ดังนี้ เป็นต้น ในหนังสือเล่มนี้ “10 ชีวิต 10 แรงบันดาลใจ ” ที่คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน ได้รวบรวมมาจากทีต่ า่ งๆ เป็นเรือ่ งราวของคนทีม่ คี วามพิการหรือทุพพลภาพ อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ภายใต้ความทุพพลภาพนั้นกลับมีอัจฉริยภาพอัน ยิ่งใหญ่ที่สร้างผลงานในด้านต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ คุณหมอวิชัย โชควิวัฒน เป็นนักเลงหนังสือ ทั้งชอบอ่านชอบเขียน และชอบถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์กับผู้อื่น ควรจะมีคนไทยแบบนี้แยะๆ ระบบการศึกษาไทยในรอบร้อยปีทผี่ า่ นมาล้มเหลวในการสร้างบุคลิกคนไทย ที่พึงประสงค์ เพราะไม่ได้มีวัตถุประสงค์เช่นนั้น บุคลิกเหยาะๆ แหยะๆ ใน ปัจจุบันไม่สามารถเผชิญสถานการณ์ความเป็นจริงในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สลับ ซับซ้อนฉ้อฉลและยาก เราต้องการบุคลิกคนไทยที่มีความเข้มแข็งในความ สุจริต ความเห็นแก่ส่วนรวม การเห็นคุณค่าในงาน อดทน รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ ระบบการศึกษาเป็นระบบที่ใหญ่มาก ถ้าระบบการศึกษามุ่งสร้าง บุคลิกคนไทยที่พึงปรารถนา โดยไม่ต้องไปห่วงเนื้อหา เพราคนที่มีบุคลิก ดังกล่าวเขาหาเนือ้ หาทีจ่ ำ� เป็นได้มากกว่าทีค่ รูสอน ประเทศไทยก็จะเปลีย่ นแปลง

8 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 9

สารบัญ จึงขอขอบคุณคุณหมอวิชยั โชควิวฒ ั น และสถาบันสร้างเสริมสุขภาพ คนพิการ (สสพ.) ที่จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ รวมทั้งท�ำเรื่องอื่นอีกนานัปการ ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์เพื่อสุขภาวะของคนพิการและคนที่คิดว่าไม่ พิการ ขอให้หนังสือเรื่อง “10 ชีวิต 10 แรงบันดาลใจ” ก่อให้เกิดแรงบันดาล ใจอย่างใหญ่หลวงแก่มหาชน ว่าในตัวของท่านแต่ละคนมีศกั ยภาพทีป่ ระดุจ พลังนิวเคลียร์ในมนุษย์ซ่อนเร้นอยู่ ที่สามารถ “ระเบิดออกมาจากข้างใน” แล้วยังประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ และสรรพสิ่งอย่างมหาศาล

ประเวศ วะสี

ยอดหญิงเฮเลน เคลเลอร์............................................ ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ นักสู้ชีวิต ผู้เปลี่ยนเคราะห์เป็นโอกาส............................... โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ ผู้เกิดมา “ไม่ครบห้า”.....................

บุรุษลึกลับผู้อยู่ในฉากซ่อนเร้น ของการจัดทำ�พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด.............................

10 30 42 66

สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง : อัจฉริยะในร่างพิการ จากมุมมองของ “คู่ชีวิต”............................................. 94

116 คริสโตเฟอร์ รีฟว์ : ยอดซูเปอร์แมน.............................. 152 สตีเฟน คิง : นักเขียนดัง นักสู้ชีวิต............................... 186 ด้านอื่นของชีวิต ซิดนีย์ เชลดอน................................... 218 ชุดประดาน้ำ�และผีเสื้อ................................................. 274 คีตกวีลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน........................................

10 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 11

ยอดหญิงเฮเลน เคลเลอร์ “เราไม่สามารถเรียนรู้ที่จะกล้าหาญและอดทน ถ้าโลกนี้มีแต่ความรื่นรมย์” จดหมายลงวันที่ 1 มีนาคม 2433 ของเฮเลน เคลเลอร์ วัย 10 ขวบ ถึง “เพื่อนต่างวัย” คนหนึ่งของเธอ นายแพทย์โอลิเวอร์ เวนเดลล์ โฮล์มส์ วัย 81 ปี กวี นักประพันธ์ และนายแพทย์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ

หลายปีมาแล้ว ผมเดินทางไปญี่ปุ่น ผ่านร้านหนังสือที่สนามบินเห็น หนังสืออัตชีวประวัติของเฮเลน เคลเลอร์ ชื่อ “The Story of My Life” ปก เป็นรูปเฮเลน เคลเลอร์ในวัยสาวก้มหน้าน้อยๆ มองไม่เห็นดวงตาทั้งสอง ข้างที่บอดสนิทของเธอ ผมพลิกดูราคา 840 เยน ลด 5% เหลือ 800 เยน เทียบกับราคาปก 4.95 ดอลลาร์สหรัฐแล้วแพงกว่าราคาปกราว 70% แต่ผม ตัดสินใจซือ้ ทันที เพราะเชือ่ ว่าหนังสือเล่มนีค้ งไม่มวี างจ�ำหน่ายในเมืองไทย ซึ่งคงจะราคาถูกกว่ากันมาก

12 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

อันทีจ่ ริง ผมเคยอ่านอัตชีวประวัตขิ องเฮเลน เคลเลอร์เล่มนี้ในพากย์ ภาษาไทย ซึ่งเป็นหนังสือแปลชุด “เสรีภาพ” เล่มที่ 29 แปลโดย “อาภรณ์ ชาติบุรุษ” ซึ่งปกเป็นภาพวาดฝีมือจิตรกร ปยุต เงากระจ่าง พิมพ์ครั้งแรก ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 แต่เพราะหนังสือเล่มนี้ซึ่งพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ซิกเนต (Signet) เมือ่ ปี 2545 เป็นฉบับเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปีของฉบับพิมพ์ครัง้ แรก เนือ้ หานอกจากส่วนทีเ่ ป็นอัตชีวประวัตแิ ล้ว ยังรวบรวมจดหมายจ�ำนวน มากที่เฮเลนเริ่มหัดเขียนส่งไปเป็นฉบับแรกและฉบับต่อๆ มาอีกมากมาย หลายฉบับ แสดงให้เห็นพัฒนาการการเขียนหนังสือของเธอ นอกจากนี้ยัง มีภาพถ่ายโทรสารฉบับหนึง่ จากจดหมายของเฮเลน และฉบับพิมพ์ครัง้ นีย้ งั มีค�ำน�ำโดยจิม คนิปเฟล นักเขียนประจ�ำกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ นิวยอร์คเพรส ซึ่งเป็นคนพิการทางสายตาเขียนให้เป็นพิเศษด้วย เฮเลน เคลเลอร์ เป็นบุคคลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะเธอพิการตั้งแต่ ยังเป็นเด็กเล็กอายุแค่ 19 เดือน โดยเชื่อว่าสาเหตุเกิดจากการล้มป่วยด้วย โรคอีด�ำอีแดง (Scarlet Fever) ซึ่งท�ำให้เธอเกือบเสียชีวิต แต่รอดมาได้โดย เชื้อไวรัสได้ท�ำลายประสาทตาและหูของเธอท�ำให้เธอตาบอดและหูหนวก สนิท แต่เธอสามารถเอาชนะความพิการร้ายแรงทัง้ สองนีม้ าได้ เธอไม่เพียง สามารถพัฒนาจนอ่านออกเขียนได้เท่านัน้ แต่ยงั พูดได้ โดยเริม่ หัดพูดตัง้ แต่ คนฟังไม่รู้เรื่องจนกลายเป็นนักพูดที่ยิ่งใหญ่ สามารถสร้างผลงานที่เป็น

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 13

คุณูปการให้แก่โลกได้มากมาย จนนับได้ว่าเธอคือ “ยอดหญิง” โดยแท้ โดย เป็นทั้งนักพูดและนักเขียนที่มีชื่อเสียง เขียนหนังสือรวม 12 เล่ม และ บทความอีกมากมาย เป็นนักต่อสู้เพื่อคนพิการ นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี นักต่อต้านสงคราม นักต่อสูเ้ พือ่ ผูใ้ ช้แรงงานและคนยากจน เธอมีโอกาสเข้า พบปะและสนทนากับประธานาธิบดีสหรัฐทุกคนตลอดช่วงชีวิตอันยืนยาว ของเธอ เธอได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากหลายมหาวิทยาลัย และรางวัล เกียรติยศต่างๆ มากมาย เช่นเมื่อปี 2507 ประธานาธิบดี ลินดอน บี.จอห์น สัน มอบรางวัลเกียรติยศสูงสุดของสหรัฐที่มอบให้พลเรือนแก่เธอ ปีต่อมา เธอได้รับเลือกให้จารึกชื่อในหอเกียรติยศแห่งชาติในงานแสดงสินค้าโลกที่ กรุงนิวยอร์ค เรือ่ งราวของเธอปรากฏในภาพยนตร์และละครหลายเรือ่ งสร้าง แรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนทั่วโลก เมื่อเธอล่วงลับไปแล้วก็ยังมีผู้ร�ำลึกถึงและ ยกย่องให้เกียรติเธอมากมาย เช่น เมื่อพ.ศ. 2542 เธอได้รับการโหวตจาก สถาบันหยัง่ เสียงแกลลัปว่าเป็นผูไ้ ด้รบั การยกย่อง กว้างขวางทีส่ ดุ ในศตวรรษ ที่ 20 ปี 2546 มลรัฐแอละบามาตั้งชื่อจตุรัสแห่งหนึ่งเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ เธอในฐานะที่เธอเกิดในมลรัฐแห่งนั้น และโรงพยาบาลเชฟฟีลด์ ในมลรัฐ แอละบามาก็ตั้งชื่อเธอเป็นชื่อโรงพยาบาลเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอ ชื่อเสียง ของเธอยังขจรขจายไปทัว่ โลก หลายเมืองตัง้ ชือ่ เธอเป็นชือ่ ถนน เช่น ในเมือง จีนาเฟในสเปน เมืองลอดในอิสราเอล เมืองลิสบอนในโปรตุเกส และเมือง คานในฝรั่งเศส โรงเรียนสอนเด็กเล็กที่ตาบอดและหูหนวกในเมืองไมซอร์

14 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

อินเดียก็ตั้งชื่อเธอเป็นชื่อโรงเรียน โดยผู้ก่อตั้งคือ เค.เค. ศรีนิวาสัน นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์ของเธออีกมากมาย เฮเลน เคลเลอร์ เกิดเมื่อเดินมิถุนายน พ.ศ. 2423 ที่เมืองทูสคัมเบีย (Tuscumbia) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ทางตอนเหนือของมลรัฐแอละบามาใน สหรัฐอเมริกา พ่อเป็นนายทหารยศร้อยเอกแห่งกองทัพฝ่ายสหพันธรัฐ (ฝ่าย เหนือ) แม่เป็นภรรยาคนทีส่ องของพ่อ อายุออ่ นกว่าพ่อหลายปี พ่อมีลกู ชาย กับภรรยาคนแรก 2 คน เฮเลนเป็นลูกคนโตของภรรยาคนที่สอง มีน้องสาว 1 คน บรรพบุรุษดั้งเดิมเป็นชาวสวิส อพยพมาตั้งหลักแหล่งครั้งแรกที่ มลรัฐแมรีแลนด์ แม้เธอจะตาบอดและหูหนวกตัง้ แต่ยงั เล็ก แต่เพราะเธอมีแม่ทมี่ คี วาม รักและความฉลาดอย่างล�ำ้ ลึกท�ำให้เธอผ่านคืนวันอันยากล�ำบากมาได้ ส่วน พ่อก็เป็นคนรักครอบครัวมาก คอยดูแลเอาใจใส่ทุกคนในครอบครัว และยัง เป็นนักเล่านิทานที่เก่งมากด้วย เฮเลนพยายามสื่อสารกับคนอื่นโดยการ ท�ำท่าทาง เช่น สั่นศีรษะ แปลว่า ไม่ พยักหน้า แปลว่า ใช่ ท�ำท่าดึง แปลว่า มา ผลัก แปลว่า ไป ถ้าต้องการขนมปังก็จะท�ำท่าเลียนแบบการตัด ขนมปังและทาเนย เวลามีแขกมาทีบ่ า้ น เธอมักจะไปร่วมอยู่ในการสนทนาด้วย

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 15

และเมื่อแขกจะกลับเธอก็รู้จักวิธีโบกมือลา เมื่ออายุ 5 ขวบ เธอรู้จักการพับ เสื้อผ้าและน�ำไปเก็บเข้าที่ และรู้จักแยกเสื้อผ้าของตนออกจากของผู้อื่น แต่เพราะการสื่อสารท�ำได้จ�ำกัด ท�ำให้อารมณ์ร้ายถูกเพาะบ่มในตัว มาโดยล�ำดับ ความซุกซนตามประสาเด็กท�ำให้เธอโดนไฟลวก เคราะห์ดีที่ พี่เลี้ยงมาดับได้ทัน เมื่อเธอเริ่มรู้จักการใช้ลูกกุญแจ เช้าวันหนึ่งเธอล็อค กุญแจขังแม่ไว้ในห้องเก็บอาหารที่แม่ชอบเข้าไปท�ำงานในนั้น บางทีขังแม่ ไว้นานถึง 3 ชั่วโมง คนใช้อยู่อีกส่วนหนึ่งของบ้านจึงไม่ได้ยินเสียงแม่ทุบ ประตูเรียกให้เปิด ส่วนเฮเลนนัง่ เล่นอยูท่ ขี่ นั้ บันไดหน้าระเบียง หัวเราะชอบใจ ขณะสัมผัสกับเหยือกน�้ำซึ่งสะเทือนจากแรงกระแทกประตูของแม่ หลังจากได้ครูมาอยู่ที่บ้าน เฮเลนก็แกล้งครู โดยขังเธอไว้ในห้อง ขณะน�ำของไปให้ครูตามที่แม่มอบหมาย แทนที่จะให้ของกลับปิดประตูขัง ครูไว้ในห้องแล้วเอาลูกกุญแจไปซ่อน จนพ่อต้องเอาบันไดไปพาดหน้าต่าง จึงน�ำครูออกมาได้ หลังจากนั้นหลายเดือนเฮเลนจึงบอกที่ซ่อนลูกกุญแจให้ ครูทราบ เมือ่ มิลเดรดน้องสาวเกิด ไม่นานเฮเลนก็รสู้ กึ ว่าน้องสาวแย่งความรัก

16 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ของแม่ไปจากเธอ ตักแม่ทเี่ ธอเคยนัง่ ก็เป็นมิลเดรดได้ไปนัง่ แทน เธอเกลียด น้องและอิจฉาน้อง จนคราวหนึง่ น้องเข้าไปนอนในเปลทีเ่ ธอหวงไว้ใส�ำหรับ ตุ๊กตาแสนรักของเธอนอน เฮเลนโกรธมาก ตรงเข้าไปคว�่ำเปลทันทีท�ำให้ น้องเกือบตายถ้าแม่ไม่เข้าไปช่วยไว้ก่อน คราวหนึ่งมีแขกมาหาที่บ้าน เฮเลนขึ้นไปแต่งตัวเพื่อมารับแขก แต่ เธอรู้สึกว่า แขกกับแม่มิได้สื่อสารโดยใช้ภาษาท่าทางของเธอ แต่ใช้ปาก เท่านั้น เธอรู้สึกไม่พอใจมาก และพาลพาโล เตะของ ร้องกรีดด้วยความ โกรธจนเหนือ่ ยและหยุดไปเอง ยิง่ เธอมีความต้องการจะติดต่อสือ่ สารกับผูค้ น มากเพียงใด เธอก็ยิ่งหงุดหงิดมากขึ้น เพราะภาษาท่าทางที่เธอคิดขึ้นมีอยู่ จ�ำกัด ท�ำให้เธอยิ่งว้าวุ่นและพยายามดิ้นรนอย่างสุดแรง แต่ก็ไม่สามารถ ตอบสนองความปรารถนาภายในทีม่ อี ยูอ่ ย่างรุนแรงได้ หลายครัง้ เธอร้องไห้ จนอ่อนใจ ถ้าแม่อยู่ใกล้เธอจะเข้าไปซบที่ตักแล้วร้องไห้ ความทุกข์ของเธอ ท่วมท้นล้นใจ เธอสรุปไว้ชดั เจนว่า “คนเรานัน้ เมือ่ รูว้ า่ ตนเองก�ำลังเดินอยู่ในหุบเขา แห่งความอ้างว้างตามล�ำพัง ย่อมรู้จักคุณค่าแห่งความรักอันนุ่มนวลจาก ค�ำพูด การกระท�ำ และมิตรภาพของผู้อื่นได้น้อยมาก”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 17

ในที่สุดพ่อแม่ก็ทนเห็นลูกทุกข์อยู่เช่นนั้นไม่ได้ จึงเริ่มเสาะหาหมอ เพื่อรักษา เมื่อเฮเลนอายุได้ 6 ขวบ พ่อเริ่มจากเดินทางพาเธอไปหาหมอ ตาที่เมืองบัลติมอร์ แต่หมอก็ช่วยอะไรไม่ได้นอกจากแนะน�ำให้ไปหา ดอกเตอร์ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ทีก่ รุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวง ซึง่ ทีน่ นั่ เองประตูสชู่ วี ติ ใหม่ของเธอก็เปิดแง้มออก ดอกเตอร์เบลล์ปฏิบตั ติ อ่ เธอ อย่างยอดเยี่ยม อุ้มเธอไว้บนตัก เมื่อเธอสนใจนาฬิกาพกของท่าน ท่านก็ เล่นกับเธอโดยท�ำให้นาฬิกาพกมีเสียงดังได้ การพบกันครัง้ นัน้ ท�ำให้เธอรูส้ กึ เสมือนพบ “ประตูที่เปิดรับแสงสว่างจากความมืดมน ความอ้างว้าง ไปสู่ มิตรภาพ ความรู้ และความรักในที่สุด” เมื่อเธอเขียนอัตชีวประวัติของเธอ เฮเลนได้เขียนค�ำอุทิศ ว่า แด่ อเล็กซานเดอร์ เกรเเฮม เบลล์ ผู้สอนคนหูหนวกให้พูด และท�ำให้หูที่ก�ำลังเงี่ยฟัง สามารถได้ยินค�ำพูดจากฝั่งแอตแลนติกถึงเทือกเขาร็อคกี้

18 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ข้าพเจ้าอุทิศ เรื่องราวชีวิตของข้าพเจ้า เล่มนี้ให้แก่ท่าน

ครูของเฮเลน คือ แอนน์ แมนส์ฟิลด์ ซัลลิแวน วัยย่าง 21 ปี เกิดใน ครอบครัวยากจน เมื่ออายุได้ 10 ขวบ เธอและน้องชายก็ต้องถูกส่งไปอยู่ใน โรงเลี้ยงเด็กอนาถา ซึ่งมีเด็กอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียดจนแอนน์และน้อง ชายต้องไปอยู่ในห้อง “เก็บศพ” ที่รอฝัง เมื่ออายุได้ 14 ปี ตาเธอเกือบบอด สนิทจากโรคที่สมัยนี้ไม่ใคร่พบในบ้านเราแล้ว คือ โรคริดสีดวงตาและไม่ได้ รับการรักษาจนเธอถูกส่งไปยังสถาบันเพอร์คินส์ ในเมืองบอสตัน ซึ่งเป็น โรงเรียนสอนคนตาบอด แต่โชคดี เธอกลับมามองเห็นได้อีก เธอเรียนอยู่ที่ สถาบันเพอร์คนิ ส์จนอายุครบ 20 ปี จึงได้งานไปเป็นครูสอนเฮเลน ครูแอนน์ เข้ามาสู่ชีวิตของเฮเลน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2430 3 เดือนก่อนเฮเลน อายุครบ 7 ขวบ การพบปะครั้งแรก เป็นความประทับใจของเฮเลนอย่างยิ่ง “ข้าพเจ้ารูส้ กึ ว่ามีฝเี ท้าใกล้เข้ามา จึงได้ยนื่ แขนออกไปโดยคิดว่าเป็นแม่ แต่ ใครก็ไม่ทราบได้จบั มือไว้ และดึงข้าพเจ้าเข้าไปกอด ผูน้ นั้ คือผูซ้ งึ่ จะเปิดเผย ความลีล้ บั ทัง้ มวลแก่ขา้ พเจ้า และเหนืออืน่ ใดทีข่ า้ พเจ้าได้รบั จากท่านผูน้ คี้ อื ความรัก”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 19

แอนน์ แมนส์ฟิลด์ ซัลลิแวน เป็นยอดครู เธอมีทั้งความรู้ และทักษะ อันยอดเยี่ยมที่จะสื่อและสอนคนที่ทั้งตาบอดและหูหนวก เหนื่อสิ่งอื่นใดคือ เธอมีทั้ง ความรัก ความเมตตา กรุณา และความมุ่งมั่นอดทนอย่างเปี่ยมล้น เช้าวันหนึ่งเธอพาเฮเลนไปที่ห้องแล้วมอบตุ๊กตาให้เฮเลน เป็นตุ๊กตา ที่เด็กตาบอดที่สถาบันเพอร์กินส์ ส่งมาให้ ขณะที่เฮเลนก�ำลังเล่นกับตุ๊กตา เธอก็ใช้นิ้วมือเขียนตัวอักษรค�ำว่า “ตุ๊กตา” บนฝ่ามือของเฮเลนอย่างช้าๆ ท�ำให้เฮเลนสนใจทันที และเริ่มเลียนแบบ จนเขียนได้ เฮเลนภูมิใจมาก วิ่ง ลงบันไดไปหาแม่และเขียนอวดท่าน อีกวันหนึง่ แอนน์สอนเรือ่ งตุก๊ ตาต่อ เฮเลนไม่พอใจต่อการสอนทีร่ สู้ กึ ว่าซ�้ำซาก จึงฉวยเอาตุ๊กตาตัวนั้นมากระทืบจนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยเธอ ไม่รสู้ กึ เสียใจต่อการกระท�ำนัน้ เลย ตรงกันข้ามกลับพอใจ เพราะแท้จริงแล้ว เธอมิได้รักตุ๊กตาตัวนั้นเลย “ในโลกแห่งความมืดมน ความรู้สึกอันนุ่มนวล อ่อนโยนนั้นเกิดขึ้นได้ยาก” แทนที่จะโกรธ ครูแอนน์กวาดเศษตุ๊กตาไว้ข้างๆ เตาผิง เมื่อเฮเลนมี ท่าทางสบายใจขึ้น ครูแอนน์ก็ได้หยิบหมวกมาสวมให้เฮเลนแล้วพาออกไป เดินเล่น ตามทางเดินมีดอกไม้สง่ กลิน่ หอมหวลทีเ่ ฮเลนสัมผัสได้ มีคนก�ำลัง

20 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 21

“ คนเรานั้น เมื่อรู้ว่าตนเอง

ก�ำลังเดินอยู่ในหุบเขา แห่งความอ้างว้างตามล�ำพัง ย่อมรู้จักคุณค่าแห่งความรัก อันนุ่มนวลจาก ค�ำพูด การกระท�ำ และมิตรภาพของผู้อื่นได้น้อยมาก



สูบน�้ำขึ้นมาจากบ่อ ครูจึงฉวยมือเฮเลนไปรองไว้ใต้ก๊อกน�้ำเมื่อน�้ำไหลผ่าน มือ ครูก็เขียนค�ำว่า “น�้ำ” บนมืออีกข้างหนึ่งของเฮเลนอย่างช้าๆ และต่อมา ก็เร็วขึน้ เฮเลนยืนนิง่ สมาธิมงุ่ ไปอยูท่ กี่ ารเคลือ่ นไหวของนิว้ มือครูบนมือของ ตนเอง “ทันใดนั้นข้าพเจ้ารู้สึกว่าตนเองได้หลุดออกมาจากเมฆหมอกอัน หนาทึบ และสิ่งนี้ได้หลงลืมมาเป็นเวลาช้านานได้กลับมาสู่ความคิด และสิ่ง นั้นคือความมหัศจรรย์ของภาษา ซึ่งได้เปิดเผยให้ข้าพเจ้าเข้าใจแล้ว” เมื่อ กลับถึงบ้านเฮเลนคล�ำทางไปทีเ่ ตาผิง หยิบเศษตุก๊ ตาขึน้ มาพยายามประกอบ มันขึ้นมาใหม่ เฮเลนร้องไห้ ส�ำนึกผิดในสิ่งที่ได้กระท�ำลงไป เธอเขียนไว้ว่า “เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจในการกระท�ำของตนเอง” ต่อมาครูสอนให้เฮเลนเข้าใจเรื่องธรรมชาติ เธอเขียนไว้ว่า “เมื่อมี ความรูม้ ากขึน้ ข้าพเจ้ารูส้ กึ ว่าโลกนีน้ า่ อยู่ ครูสอนให้ขา้ พเจ้ารูว้ า่ นก ดอกไม้ และตัวข้าพเจ้านั้นเป็นมิตรต่อกัน” ขณะเดียวกันเธอก็ได้รับประสบการณ์ สอนให้รู้ว่า “ธรรมชาตินั้นไม่อ่อนโยนและน่ารักเสมอไป” เพราะบางครั้งก็มี ภัยธรรมชาติ เช่น พายุฝน จากเรื่องรอบๆ ตัว ครูได้น�ำพาเฮเลน “ก้าวจากความรู้ในการเรียก ชือ่ สิง่ ของต่างๆ ไปสูค่ วามคิดอันเปรียบเสมือนหนทางอันกว้างใหญ่ คือ เมือ่ เราเริ่มที่จะเข้าใจข้อความบางตอนของเช็คสเปียร์”

22 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สองปีต่อมาเธอกลับไปกรุงวอชิงตันอีกครั้ง คราวนี้เธอสงบขึ้นมาก บนรถไฟ เธอนั่งข้างๆ ครู สนใจฟังทุกสิ่งทุกอย่างที่ครูพูด ครูมองออกไป นอกหน้าต่าง แล้วเล่าให้เธอฟังถึงความสวยงามของแม่น�้ำเทนเนสซี ทุง่ นา ป่าเขา ไร่ฝา้ ยอันกว้างใหญ่ และชาวนิโกรทีห่ วั เราะร่าเริงอยูต่ ามสถานีรถไฟ ภาษาเขียนของเธอก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว สามเดือนครึ่งหลังจาก เริ่มเรียนรู้ค�ำค�ำแรก เธอก็ใช้ดินสอเขียนจดหมายสามสี่บรรทัดไปถึงญาติ ยี่สิบห้าวันต่อมา เธอเขียนจดหมายสามย่อหน้าสั้นๆ ถึงแม่ จากภาษาที่ยัง ผิดบ้างถูกบ้าง เธอเริ่มเรียนรู้ “ส�ำนวน” (idiom) เมื่อย่างเข้า 10 ขวบ เธอก็ก้าวกระโดดเข้าสู่อีกโลกหนึ่งคือเรียนพูด โดยเหตุบังเอิญจากการรับรู้เรื่องราวของ แรคนิลด์ คาทา เด็กตาบอดและ หูหนวกชาวนอร์เวที่ได้รบั การสอนให้พดู ท�ำให้เธอเกิดความปรารถนาอย่าง แรงกล้าที่จะเรียนพูดและครูก็พาเธอไปหานางซารา ฟูลเลอร์ ครู ใหญ่ โรงเรียนฮอเรสมาน และเริ่มเรียนพูดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2433 ครูฟูลเลอร์ใช้วิธีให้เฮเลนเอามือลูบไปบนใบหน้าของนางเบาๆ เพื่อ คล�ำต�ำแหน่งของริมฝีปาก ลิ้น เมื่อครูเปล่งเสียงออกมา ภายในชั่วโมงแรก เธอก็เรียนรู้ที่มาของการเปล่งเสียงพยัญชนะและสระ 6 ตัว เอ็ม พี เอ เอส

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 23

ที โอ จากนั้นครูให้บทเรียนเธอ 11 บท และประโยคแรกที่เธอเปล่งออกมา คือ “อากาศร้อน” แน่นอนยังเป็นประโยคที่ตะกุกตะกัก ขาดเป็นห้วงๆ ฟัง แทบไม่รู้เรื่อง แต่ท�ำให้เธอ “รู้สึกชื่นชมยินดีเมื่อรู้ว่าตนเองสามารถเปล่ง เสียงพูดค�ำแรกออกมาได้ แน่นอนเป็นความรู้สึกคล้ายๆ กับว่าได้เดินออก จากคุกแห่งความเงียบทีไ่ ม่เคยได้ยนิ สรรพส�ำเนียงใดๆ แม้สำ� เนียงแห่งความ รักก็ไม่เคยได้ยิน.....” จากค�ำพูดที่ตะกุกตะกัก กะท่อนกะแท่น เธอใช้ความมานะ บากบั่น ฝึก ฝึก และฝึกบ่อยๆ จนสามารถพูดให้คนใกล้ชดิ ฟังรูเ้ รือ่ งมากขึน้ ๆ แน่นอน เธอต้องต่อสูก้ บั ความเหนือ่ ยหน่าย ท้อถอย จนในทีส่ ดุ ก็พดู ได้ เมือ่ เธอมัน่ ใจ ว่าพูดได้ก็แทบคอยวันเวลากลับบ้านไม่ไหว จนเมื่อรถไฟมาถึงสถานีใกล้ บ้าน แม่และพ่อมารอรับอยู่แล้ว ดวงตาของเธอเต็มไปด้วยน�้ำตาเมื่อแม่ดึง เธอเข้าไปกอดและพูดอะไรไม่ออกเมือ่ ได้ฟงั เธอพูดกับแม่ มิลเดรดน้องสาว ฉวยมืออีกข้างหนึง่ ของเธอไปจูบและเต้นอยูข่ า้ งๆ พ่อแสดงความภาคภูมิใจ และความรักด้วยการยืนดูอยู่เงียบๆ ข้างๆ เธอนึกถึงค�ำพยากรณ์ ใน พระคัมภีร์ที่ว่า “ภูเขาและทะเลจะแยกออกต่อหน้าท่านเพื่อร้องเพลง และ ต้นไม้ทุกต้นในทุ่งนาจะตบมือชื่นชมยินดี” แต่ชีวิตย่อมไม่โรยด้วยดอกกุหลาบ เมื่ออายุได้เพียง 11 ขวบ เฮเลน

24 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ก็ประสบกับวิกฤตในชีวติ ครัง้ ส�ำคัญเมือ่ เธอเขียนความเรียงขึน้ เรือ่ งหนึง่ ซึง่ ต่อมามีผู้กล่าวหาว่างานชิ้นนั้นเธอลอกเลียนมาจากของผู้อื่น (Plagiarism) ซึ่งถือเป็นความผิดร้ายแรง เธอถูกสอบสวนเพื่อเอาผิดทั้งๆ ที่เธอมิได้ตั้งใจ ลอกเลียนหรือหลอกลวงผู้ใด แต่คงเป็นเพราะเธอได้ฟังเรื่องราวมาแล้ว ประทับอยู่ในความทรงจ�ำของเธอ และเธอก็ลืมไปแล้วว่าฟังจากใครที่ไหน เมื่อเขียนขึ้นก็เขียนออกจากใจ และสมองน้อยๆ ของเธอเอง เหตุการณ์ที่ เธอถูกสอบสวนโดย “คณะลูกขุน” ซึ่งมีคนตาบอด 4 คน คนตาดี 4 คน เป็นฝันร้ายของเฮเลน ท�ำให้เธอเกิดอาการหวาดระแวงและเกือบจะสูญเสีย ความมั่นใจเคราะห์ยังดีที่มีคนจ�ำนวนมากเข้าใจ และเห็นใจเธอ โดยเฉพาะ อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ ซึ่งพยายามสืบหาข้อเท็จจริงด้วยความ เป็นธรรม และครูแอนน์ ซัลลิแวน ซึ่งเชื่อมั่นและให้ก�ำลังใจเธออย่างมั่นคง ที่ส�ำคัญเพราะ “สุจริต คือเกราะบัง ศาสตร์พร้อง” ในที่สุดเธอก็ประคองตัว ฝ่าวิกฤต ศึกษาเล่าเรียน และกล้าที่จะเขียนต่อมา เธอประสบความสูญเสียครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2439 ขณะอายุได้ 16 ปี เธอเสียทัง้ พ่อ และนายจอน พี. สปอลดิง ซึง่ เป็นผูใ้ ห้ความเมตตากรุณาช่วย เหลือทัง้ เธอและครูแอนน์ ซัลลิแวน อย่างมาก แต่เธอก็ไม่ทอ้ ถอย การเรียน ของเธอก้าวหน้าขึ้นโดยล�ำดับ เธอได้ไปเรียนในนิวยอร์ค เรียนทั้งภาษา

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 25

เยอรมัน ฝรัง่ เศส ละติน กรีก รวมทัง้ วิชาทีย่ ากทีเ่ ธอไม่ชอบ คือ คณิตศาสตร์ เรขาคณิตจนในที่สุดก็สามารถสอบเข้าเรียนในวิทยาลัยแรดคลิฟฟ์ ได้ แน่นอนว่าตลอดเส้นทางการศึกษาในฐานะผู้พิการเช่นเธอ ท�ำให้เธอต้อง เผชิญอุปสรรคขวากหนามมากมาย จนบางครั้งเธอแทบหมดก�ำลังใจ โชคดีที่ครูแอนน์ ซัลลิแวน เข้าใจอยู่เคียงข้าง ให้ก�ำลังใจ และช่วยเธอแก้ ปัญหาฝ่าฟันอุปสรรคไปได้จนตลอดรอดฝั่ง ทีว่ ทิ ยาลัยแรดคลิฟฟ์นเี้ อง ทีเ่ ธอได้เขียนอัตชีวประวัตขิ องเธอขึน้ จน ส�ำเร็จ และได้ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 ขณะเธออายุได้ 22 ปี แม้จะเป็นหนังสือเล่มแรกของเธอซึง่ เขียนขึน้ ขณะศึกษาอย่างหนักใน วิทยาลัย ซึง่ ขณะนั้นมีอุปกรณ์ช่วยเหลือคนพิการอย่างเธอน้อยมาก เธอฟัง อาจารย์ไม่ได้ยนิ ต้องอาศัยครูแอนน์ ซัลลิแวน ช่วยถ่ายทอดค�ำบรรยายโดย การใช้ นิ้ ว เขี ย นบนมื อ ของเธอ ท� ำ ให้ เ ธอจดเล็ ค เชอร์ ไ ม่ ไ ด้ เ ลย แต่ อัตชีวประวัตเิ ล่มนีก้ เ็ ขียนขึน้ ได้อย่างหมดจดงดงามยิง่ เล่าเรือ่ งราวชีวติ ของ เธอไว้ทกุ แง่ทกุ มุม ทัง้ เหตุการณ์ในชีวติ และความยากล�ำบากในการเอาชนะ ความพิการ รวมทั้งวิธีการแสวงหาความรู้และความสุขในชีวิตอย่างหลาก หลาย ตั้งแต่การอ่านหนังสือที่ท�ำส�ำหรับคนตาบอดที่มีอยู่แทบทุกเล่มใน

26 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

หลายภาษา การดูละคร การฟังดนตรี การออกไปทั ศ นศึ ก ษา การออกไป สัมผัสชนบท การดูการแข่งขันกีฬา เป็นต้น นอกจากนั้นเธอยังเล่าถึงการ ไปพบบุคคลที่ส�ำคัญอย่าง โอลิเวอร์ เวนเดลล์ โฮล์มส์ ซึง่ เธอท�ำให้ทา่ นผูน้ ี้ ถึ ง กั บ หลั่ ง น�้ ำ ตาเมื่ อ เธอได้ ก ลิ่ น หนังสือ แล้วเอามือกวาดไปสัมผัส หนังสือ เมื่อครูแอนน์บอกว่าหนังสือ เล่มนั้นคือบทกวีของเทนนิสัน เธอก็ ท่องบทกวีของเทนนิสนิ ออกมาบทหนึง่ ทันที ท�ำให้น�้ำตาของโอลิเวอร์ เวนเดลล์ โฮล์มส์ หยดลงบนมือเธอ หลังอัตชีวประวัตขิ องเธอตีพมิ พ์ออกมาได้ปเี ดียว เธอก็เขียนหนังสือ ออกมาอีกหนึ่งเล่ม คือ “มองโลกแง่ดี” (Optimism) เฮเลนจบการศึกษาจากแรดคลิฟฟ์เมื่อ ปี 2447 ขณะอายุได้ 24 ปี หลังจากนั้นเธอเขียนหนังสืออีก 2 เล่ม คือ “โลกที่ฉันอยู่อาศัย” (The World I Live In) เมื่อปี 2451 ขณะอายุได้ 28 และ “บทเพลงแห่งก�ำแพงหิน” เมื่อ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 27

ปี 2453 ขณะอายุได้ 30 ปี ตลอดชีวิต เธอเขียนหนังสือรวมทั้งสิ้น 12 เล่ม และบทความอีกมากมาย เฮเลนเป็ น ทั้ ง นั ก พู ด และ นักเขียนทีท่ รงอิทธิพล ได้ออกไปแสดง ปาฐกถาทั่วทุกรัฐในสหรัฐ เธอสร้าง ภาพยนตร์และแสดงน�ำในภาพยนตร์ เรื่ อ งซึ่ ง คื อ ประวั ติ ชี วิ ต ของเธอเอง เธอมีบทบาทมากมายในสังคม นอกจากใน สหรัฐแล้วเธอยังเดินทางท่องเทีย่ วไปทัว่ ยุโรป เป็นผูก้ อ่ ตัง้ มูลนิธสิ าธารณกุศล จ�ำนวนมาก ชื่อของเธอปรากฏเป็นชื่อของสถาบันและอาคารมากมาย เธอถึงแก่กรรมที่เมืองเวสต์พอร์ต ในมลรัฐคอนเนตติคัต เมื่อ พ.ศ. 2511 สิริรวมอายุได้ 88 ปี ครูแอนน์ ซัลลิแวน จากเธอไปตั้งแต่ พ.ศ.2479 ขณะ อายุได้ 70 ปี หลังจากอยู่กับเฮเลนยาวนานถึง 49 ปี เฮเลนจึงอยู่โดยไม่มี ครูแอนน์ซัลลิแวนเคียงข้างยาวนานถึง 32 ปี เฮเลน เคลเลอร์ ได้รจู้ กั พบปะ และติดต่อกับบุคคลร่วมสมัยของเธอ มากมาย หนึ่งในนั้นคือ มาร์ค ทเวน นักประพันธ์เรืองนามของสหรัฐ เธอ

28 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

กล่าวถึงมาร์ค ทเวนว่า “ข้าพเจ้ารักมาร์ค ทเวน ใครบ้างจะไม่รักท่านผู้นี้ แม้แต่เทพเจ้าก็อดรักมาร์ค ทเวนไม่ได้” ส่วน มาร์ค ทเวน ได้กล่าวถึง เฮเลนว่า บุคคลที่น่าสนใจที่สุดในรอบศตวรรษเดียวกันกับเขามีอยู่สองคน คนหนึ่งคือพระจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต อีกคนหนึ่งคือ เฮเลน เคลเลอร์

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 29



เมื่อมีความรู้มากขึ้น ข้าพเจ้ารู้สึกว่าโลกนี้น่าอยู่ ครูสอนให้ข้าพเจ้ารู้ว่า นก ดอกไม้ และตัวข้าพเจ้านั้น เป็นมิตรต่อกัน



30 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 31

ธุ์ น ั พ ์ ศ ง พ ิ ร ิ ศ ม า น ะ ย ิ ร ิ ว ์ ย ร ศาสตราจา ส า ก อ โ น ็ ป เ ์ ห ะ า ร เค น ย ่ ี ล ป นักสู้ชีวิต ผู้เ

ศาสตราจารย์วริ ยิ ะ นามศิรพิ งศ์พนั ธุ์ เป็นผูพ้ กิ ารทางสายตาตัวอย่าง ของไทย ที่สามารถเอาชนะความพิการของตนเอง สู้ชีวิตด้วยความมานะ บากบั่น จนประสบความส�ำเร็จมาโดยล�ำดับ ตั้งแต่เรียนจบเป็นนิติศาสตร์ บัณฑิตโดยสอบได้ที่ 1 ในคณะนิตศิ าสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนะคน ตาดีในรุ่นเดียวกันทั้งหมด และได้สร้างผลงานวิชาการจนได้รับต�ำแหน่ง ศาสตราจารย์ทแี่ ม้คนตาดีกท็ ำ� ผลงานจนถึงขัน้ นี้ได้ไม่มากนัก ทัง้ นีอ้ าจารย์ วิรยิ ะต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคในชีวติ มามากมาย น่ายินดีทอี่ าจารย์วริ ยิ ะได้

32 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เขียนอัตชีวประวัตขิ นึ้ ไว้ หลังจากทีส่ อบได้ที่ 1 ทีค่ ณะนิตศิ าสตร์ ธรรมศาสตร์ จนเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์เวลานั้น ท�ำให้มีคนไปสัมภาษณ์ท่าน มากมาย ท่านจึงได้เขียนประวัติของท่านขึ้นเป็นกิจลักษณะ ซึ่งหนังสือ ดังกล่าวได้สร้างแรงบันดาลใจให้แก่คนจ�ำนวนมากทั้งคนพิการและคนปกติ ทั่วไป พื้นเพครอบครัวของอาจารย์วิริยะเป็นคนจีนโพ้นทะเลซึ่งอพยพมา ท�ำมาค้าขายอยูใ่ นกรุงเทพฯ จนเกือบจะซือ้ ห้องแถวเป็นของตัวเองแถวส�ำเพ็ง ได้ แต่เกิดวิบตั กิ รรมไฟไหม้ ท�ำให้หมดเนือ้ หมดตัว แม่อาจารย์วริ ยิ ะจึงกลับ ไปตั้งหลักที่บ้านพ่อแม่ที่อ�ำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา เริ่มตั้งตัวใหม่ได้ หนึง่ ปีพอ่ จึงย้ายตามไป อาจารย์วริ ยิ ะจึงเกิดทีอ่ �ำเภอคง มีพนี่ อ้ งท้องเดียวกัน รวม 9 คน อาจารย์วิริยะเป็นคนที่ 8 อาจารย์วริ ยิ ะก็เหมือนเด็กผูช้ ายในเมืองเล็กๆ ในชนบท คือเติบโตมา กับธรรมชาติ ประเพณี และวิถีชีวิตชาวบ้าน และเป็นเด็กซุกซนจนถึงขั้น เคยแขนหักถึง 2 ครั้ง การห่วงแต่เล่นสนุกไปวันๆ ส่งผลให้เป็นคนเดียวใน หมู่เพื่อนๆ ที่สอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมไม่ได้ จนต้องขอให้พี่ชายไป ขอครู ให้ได้เรียนต่อซึ่งพี่ชายรับปากจะช่วยแต่ต้องให้สัญญาว่าจะเอา ใจใส่และขยันเรียน อาจารย์วริ ยิ ะจึงเปลีย่ นชือ่ เป็นวิรยิ ะ ซึง่ แปลว่าขยันหมัน่

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 33

เพียร จากเดิมชื่อเป็นจีน คือ เด็กชายเต็กเช็ง แซ่นา (เต็กเซ็ง แปลว่า สติปัญญาเป็นเลิศ) อาจารย์วิริยะพยายามตั้งหน้าอุตสาหะจนเรียนดีขึ้น ตามล�ำดับ แต่แล้วชีวติ ก็กลับผกผันเมือ่ ไปหยิบ “ของ” สิง่ หนึง่ มาเล่น บังเอิญ ของชิ้นนั้นเป็นระเบิดส�ำหรับระเบิดหิน จนเกิดระเบิดท�ำให้นิ้วมือซ้ายขาด ไปสองนิ้ว และตาบอดทั้งสองข้าง แม้เตี่ยและพี่ๆ จะพาไปรักษาถึงศิริราช และที่อื่นๆ แต่ก็สิ้นหวัง ท�ำให้จิตใจหดหู่ ท้อแท้มาก โชคดีที่มีผู้แนะน�ำให้ ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนคนตาบอดซึง่ เวลานัน้ มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ปกติโรงเรียนสอนคนตาบอดจะรับเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี แต่อานิสงส์ จากผลการเรียนที่ดีในระยะหลัง แม้อายุจะถึง 15 ปีแล้ว แต่ทางโรงเรียนก็ รับ โดยอาจารย์วิริยะได้มโี อกาสพบซิสเตอร์โรสแม่อธิการ และ มิสเจนนีวีฟ คอลฟิลด์ หญิงอเมริกนั ตาบอดผูก้ อ่ ตัง้ โรงเรียนแห่งนัน้ ด้วย และทัง้ สองท่าน เป็นผู้ตัดสินใจรับอาจารย์วิริยะเข้าเป็นนักเรียนประจ�ำ เพียงวันแรก อาจารย์ก็ “เห็นแสงสว่าง” เพราะนอกจากรับเข้าเรียน แล้ว แม่อธิการยังพูด “จับเข้าไปในหัวใจ” สอนอาจารย์วิริยะมิให้ตั้งค�ำถาม “ท�ำไม”ที่ท�ำร้ายตัวเอง แต่ให้คิดเสมอว่าทุกคนล้วนอยู่ตรงกลาง มีทั้งคนที่ ดีและด้อยกว่าเรา ให้ตงั้ ค�ำถามว่า “ท�ำอย่างไร” เราจะใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ สูงสุด

34 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ค�ำพูดของแม่อธิการท�ำให้อาจารย์วิริยะ “ได้ดวงตาเห็นธรรม” เกือบ จะในฉับพลัน จน “ไม่อยากเชือ่ เลยว่าวิธคี ดิ ทีถ่ กู ต้องนัน้ สามารถทีจ่ ะช่วยให้ ความโศกเศร้า ความหงุดหงิด อึดอัด ความเสียใจของมนุษย์ลดลงไปได้มาก ทีเดียว” ต่อจากนัน้ มิสเจนนีวฟี ยังชีว้ า่ จะต้องเชือ่ มัน่ ว่าแม้ตาบอดก็สามารถ ท�ำอะไรต่ออะไรได้ โดยได้ยกตัวอย่างคนทีป่ ระสบความส�ำเร็จมากมาย เช่น อาจารย์วิรัช ศรีตุลานนท์ คนตาบอดคนแรกของไทยที่จบปริญญาตรี จาก คณะอักษรศาสตร์จฬุ าฯ ขณะนัน้ เป็นอาจารย์สอนหนังสือที่โรงเรียนสอนคน ตาบอดที่อาจารย์วิริยะจะได้รับการดูแลจากอาจารย์วิรัชด้วย ฯลฯ ระหว่างแม่อธิการคุยกับอาจารย์วริ ยิ ะ ท่านมีงานอืน่ แทรกเข้ามาเป็น ระยะๆ เช่น มีหนังสือมาให้เซ็น มีผู้ศรัทธามาบริจาค มีแขกมาพบ แต่หลัง เสร็จภารกิจเฉพาะหน้าท่านก็จะกลับมาคุยกับอาจารย์วริ ยิ ะต่อ ท�ำให้อาจารย์ วิริยะยอมรับว่า “ท่านทั้งสองได้เปลี่ยนชีวิตของผมจากคนที่หมดหวัง ที่ หมดอาลัยตายอยากในชีวิตที่โศกเศร้าหดหู่ที่พร้อมจะร้องไห้ได้ทุกเมื่อ มา เป็นคนที่มีความหวังและมีพลังที่จะต่อสู้กับชีวิตต่อไป” นอกจากเปลี่ยนทัศนะต่อชีวิตและชี้ให้เห็นศักยภาพของคนพิการ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 35

แม่อธิการและมิสคอลฟิลด์ ยังชี้ หนทางการพัฒนาตนเองให้ใช้ชวี ติ แบบพอเพียงรักงาน กินอยู่อย่าง เรียบง่าย รูจ้ กั จัดการทรัพย์สนิ รูจ้ กั การความสัมพันธ์กับผู้อื่นต้องไม่ ท�ำให้ผอู้ นื่ เดือดร้อน และสุดท้ายคือ การฝึกฝนตนเองในส่วนความสัมพันธ์กับพระเจ้า รู้จักการใช้เวลาให้เกิด ประโยชน์สูงสุด อาจารย์วิริยะไม่เชื่อว่าคนพิการสามารถช่วยผู้อื่นได้ แม่อธิการก็ ชี้แนะว่า เรื่องแรกคือให้ยิ้ม เพราะ “การยิ้มของคนตาบอดนั้นได้ช่วยให้ หลายคนไม่ฆ่าตัวตาย และได้ช่วยให้หลายคนไม่ท้อแท้กับชีวิต แต่มีพลังที่ จะต่อสู้กับชีวิตต่อไป...” การสนทนากับมิสคอลฟิลด์นนั้ ภาษาอังกฤษทีอ่ าจารย์วริ ยิ ะเรียนมา หลายปีจาก “บ้านนอก” แทบไม่ช่วยอะไรได้เลย ต้องมีแม่อธิการช่วยแปล ตลอดแต่ต่อมาอาจารย์วิริยะก็ฟันฝ่าอุปสรรคนี้จนได้ไปศึกษาต่อในสหรัฐ และจบมาได้ด้วยดี เรื่องอักษรเบรลล์ ประสบการณ์แรกของอาจารย์วิริยะ คือไม่คดิ ว่าจะเรียนได้ แต่หลังจากค่อยๆ เปลีย่ นทัศนะการมองชีวติ และด้วย

36 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 37



การตาบอด เป็นเคราะห์กรรม ที่ร้ายแรงที่สุด ที่ผมเคยประสบ แต่การตาบอด ก็ ได้สร้างโอกาสที่ดี ที่สุดให้กับผม



การฝึกฝนไม่นานเรื่องนี้ ก็กลายเป็นเรื่องง่าย เรื่องการใช้พิมพ์ดีด นิ้วกลาง และนิ้วนางมือซ้ายที่ขาดไปพร้อมส่วนที่เหลือที่ถูกจ�ำกัดการเคลื่อนไหว เพราะการยึดของแผลเป็น มิสคอลฟิลด์ก็ช่วยให้ได้รับการผ่าตัดแก้ไขจาก หน่วยแพทย์ในกองทัพสหรัฐที่มาประจ�ำการในประเทศไทย ท�ำให้สามารถ พิมพ์ดีดได้อย่างคล่องแคล่วในเวลาต่อมา อย่างไรก็ดี หนทางชีวิตย่อมมิได้โรยด้วยดอกกุหลาบอาจารย์วิริยะ ต้องประสบปัญหาตั้งแต่วันแรกๆ เมื่อถูกเพื่อนคนตาบอดชนจนล้มปากเจ่อ เพราะไปกีดขวางทางเขา ไม่เดิน “ชิดซ้าย” ตามกติกา เรื่องนี้ท�ำให้อาจารย์ วิริยะถึงกับท้อไปพักหนึ่งเลย เพียงเดือนเศษที่อยู่ในโรงเรียนสอนคนตาบอด แม่อธิการก็เรียก อาจารย์วิริยะไปพบแจ้งว่าจะส่งไปเรียนหนังสือร่วมกับคนตาดีที่โรงเรียน เซ็นต์คาเบรียล โดยให้ไปตัง้ ต้นเรียนซ�ำ้ ชัน้ มศ.2 แทนทีจ่ ะเป็น มศ.3 ทีเ่ คย เรียนมาแล้ว ทั้งนี้เพราะชั้น มศ. 2 มีคนตาบอดเรียนอยู่ด้วย 4 คนจะได้ ช่วยกัน และจะต้องเดินทางไปกลับเอง และต้องช่วยตัวเองแทบทุกอย่าง การได้รับเลือกให้ไปเรียนที่เซนต์คาเบรียลนี้ถือเป็นรางวัลอย่างดี เพราะปกตินกั เรียนทีจ่ บ ป.7 ที่โรงเรียนสอนคนตาบอดจะได้รบั การพิจารณา

38 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แยกเป็น 3 กลุ่ม ถ้าเรียนไม่เก่งก็จะให้เรียนที่โรงเรียนต่อไป ถ้าเรียนไม่ดี และโตแล้วก็จะส่งไปเรียนฝึกอาชีพที่ศูนย์ฝึกอาชีพคนตาบอดปากเกร็ด ถ้า เรียนเก่งจึงจะส่งไปเรียนร่วมกับเด็กทัว่ ไป อาจารย์วริ ยิ ะจึงต้องออกไปเผชิญ โลกภายนอก ต้องพบเจอปัญหามากมาย เช่น เดินตกท่อจนบาดเจ็บ ถูก เพื่อนล้อ ไม้เท้าขาวไปท�ำให้คนตาดีสดุดจนล้ม ไม้เท้าหัก เดินคล�ำทางไป จับหน้าอกผูห้ ญิงเข้าโดยบังเอิญจนถูกต่อว่าอย่างแรง ฯลฯ แต่อาจารย์วริ ยิ ะ ก็ฟันฝ่ามาได้ เทอมแรกสอบได้ 59 % แม้คะแนนไม่ดีแต่ก็ผ่าน ขณะที่ เพือ่ นนักเรียนทัง้ ตาดีตาบอด สอบตกถึงครึง่ ชัน้ ต่อมาสอบได้ถงึ 80 % ได้ที่ 3 ของห้อง ต่อมาแม่อธิการและมิสคอลฟิลด์ได้เรียกอาจารย์วริ ยิ ะไปพบ สอนให้ รู้จักตั้งเป้าหมายชีวิตและหนทางสู่เป้าหมายนั้น พร้อมกับให้การบ้านไปคิด ว่า จะตั้งเป้าหมายในชีวิตของตนเองอย่างไร อาจารย์วิริยะกลับมาศึกษา ใคร่ครวญ พูดคุย ปรึกษาหารือ จนในที่สุดก็ได้ค�ำตอบที่แน่วแน่คือ 1) จะ ประกอบอาชีพทางด้านกฎหมาย ไม่ไปขายลอตเตอรีเ่ หมือนคนตาบอดโดย มาก 2) จะอุทศิ ชีวติ ต่อสูใ้ ห้คนตาบอดมีศกั ดิศ์ รีและมีสทิ ธิเ์ ท่าเทียมกับบุคคล อื่น เพื่อสืบทอดอุดมการณ์ของแม่อธิการและมิสคอลฟิลด์ แม่อธิการและ มิสคอลฟิลด์ฟังแล้วก็สอบถามถึงเหตุผลที่ตัดสินใจเช่นนั้น และได้เตือนให้ ทราบว่าจะต้องประสบอุปสรรคขวากหนามอีกมาก ดังต่อมามีผู้ใหญ่มา

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 39

เตือนว่ากฎหมายเมืองไทยไม่อนุญาตให้คนตาบอดมีอาชีพทางกฎหมาย ทัง้ เป็นผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ หรือแม้แต่รับราชการเป็นอาจารย์สอน กฎหมาย จึงแนะน�ำให้เรียนทางอักษรศาสตร์เหมือนอาจารย์วิรัชแทน แต่ อาจารย์วิริยะก็ยืนยันหนักแน่นที่จะเป็นผู้บุกเบิก สานฝัน และต่อสู้ต่อไป เพื่อให้บรรลุความฝัน อาจารย์วิริยะได้วิเคราะห์ปัญหาและวางแผน ยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนให้ดีที่สุด จนได้ ไปเรียนต่อชั้น มศ. 4 - 5 ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก แม้จะต้องเจอปัญหา มากมาย โดยเฉพาะต้องเริม่ เรียนปูพนื้ ภาษาฝรัง่ เศส เพือ่ ให้เข้าเรียนได้โดย ทางโรงเรียนก�ำหนดคะแนนสอบผ่านไม่ต�่ำกว่าร้อยละ 80 ซึ่งนับว่าสูงมาก แต่อาจารย์วริ ยิ ะไม่ทอ้ และท�ำคะแนนได้ถงึ ร้อยละ 88 เมือ่ เตรียมซักซ้อมเดิน ทางไปโรงเรียน ก่อนโรงเรียนเปิดเทอมก็เจอครูอาวุโสที่ไม่เห็นด้วยกับการ รับนักเรียนตาบอดเข้าเรียน มาขัดขวางและประกาศต่อต้านแต่ด้วยความ ช่วยเหลือของแม่อธิการและมิสคอลฟิลด์ รวมทัง้ ความเมตตาและทัศนะอัน ก้าวหน้าของผู้บริหารโรงเรียนอัสสัมชัญเอง ในที่สุดอาจารย์วิริยะก็สามารถ เข้าเรียนได้ และเมื่อจบ มศ. 5 ก็ท�ำคะแนนได้ดี จน “ติดบอร์ด” อันดับที่ 24 ของประเทศ เป็นข่าวฮือฮาไปทั่ว ในขณะที่โรงเรียนดังๆ ของรัฐบาล ปฏิเสธที่จะรับคนตาบอดเข้าไปเรียน เพราะไม่ต้องการเป็นภาระและเป็น “ตัวถ่วง” ผลการเรียนโดยรวมของโรงเรียน

40 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

หลังจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อาจารย์วิริยะก็สามารถสอบ เอนทรานซ์เข้าธรรมศาสตร์ ได้ตามเป้าหมาย และผลการเรียนก็ดีเยี่ยมได้ เป็นที่ 2 ของชั้น แพ้เพื่อนสนิทคือ ชัยวัฒน์ สถาอนันต์ ซึ่งได้ที่ 1 เพียง คนเดียวเท่านั้น ปีต่อมาจึงได้เข้าเรียนในคณะนิติศาสตร์สมปรารถนา เมื่อ เรียนจบก็สอบได้ที่ 1 ของคณะ ชนะคนตาดีทั้งหมด ได้รับพระราชทานทุน ภูมิพล และต่อมาได้บรรจุเป็นอาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์สมความตัง้ ใจ นับเป็นคนพิการทีเ่ ป็นข้าราชการพลเรือนคนแรก ตาม พรบ. ข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ที่ได้แก้ไขเปิดโอกาสให้คนพิการ รับราชการได้ โดยก�ำหนดว่า ผู้ที่จะขาดคุณสมบัติจะต้อง “ทุพพลภาพจน ไม่สามารถปฏิบัติงานได้” เท่านั้น ระหว่างเป็นนักศึกษาทีธ่ รรมศาสตร์ อยู่ในช่วงต่อสูเ้ พือ่ ประชาธิปไตย ต่อกับยุค “ประชาธิปไตยเบ่งบาน” อาจารย์วิริยะได้ร่วมขบวนการนักศึกษา อย่างเข้มแข็ง เมื่อเข้ารับราชการแล้วก็ได้ท�ำงานด้วยความตั้งใจมุ่งมั่นตาม เป้าหมายในชีวิตที่ได้ตั้งไว้จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติมากมาย โดยได้ไปศึกษาต่อจนจบปริญญาโทสาขากฏหมายภาษีอากรจากมหาวิทยา ลัยฮาร์วาร์ด หนังสืออัตชีวประวัติของอาจารย์วิริยะ นามศิริพงษ์พันธุ์ เล่มนี้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 41

นอกจากเล่าประสบการณ์อนั ทรงคุณค่า สะท้อนถึงการเอาชนะความสิน้ หวัง และความพิการได้ด้วยความมานะบากบั่น โดยมีผู้ชี้ทางและสนับสนุนช่วย เหลือทีด่ ี อาจารย์วริ ยิ ะได้บนั ทึกค�ำสอนอันทรงคุณค่าของแม่อธิการโรสมัวร์ และมิสคอลฟิลด์ไว้อย่างดี และได้สร้างชีวิตของตนขึ้นอย่างงดงาม จนพูด ได้ว่า “การตาบอดเป็นเคราะห์กรรมที่ร้ายแรงที่สุดที่ผมเคยประสบ แต่การ ตาบอดก็ได้สร้างโอกาสที่ดีที่สุดให้กับผม” ท�ำให้ผมได้พบคนดีๆ อย่างซิส เตอร์ โรสมัวร์ และมิสเจนนีวีฟคอลฟิลด์ และได้รู้หลักธรรมดีๆ จากท่านทั้ง สอง..... สัจธรรมแท้คอื เคราะห์มกั สร้างโอกาส แต่ความประมาทก่อให้เกิด เคราะห์ โอกาสหรือเคราะห์อยู่ที่ตัวเรานั่นเอง ด้วยเหตุนี้เองพระคุณเจ้า พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต) จึงกล่าวเตือนสติพวกเราอยู่เสมอ ‘คนฉลาด ท�ำเคราะห์ให้เป็นโอกาส ส่วนคนประมาทท�ำโอกาสให้เป็นเคราะห์’ ”

42 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 43

า ม ด ิ ก เ ู ้ ผ ะ ด า ท ร โ ิ ฮ ะ เก โอโตทา “ไม่ครบห้า” งเล่าจากหนังสือ “ ไม่ครบห้า” เรื่อ ียน โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ เข พรอนงค์ นิยมค้า แปล

ค�ำว่า “ไม่ครบห้า” เป็นส�ำนวนญี่ปุ่น หมายถึงภาวะร่างกาย “ไม่สม ประกอบ” คล้าย “อาการไม่ครบ 32” ของไทย ญี่ปุ่นเรียกคนร่างกายไม่ สมประกอบว่า ไม่ครบห้า เพราะคนปกติจะมีห้าส่วนคือ หัว 1 แขน 2 ขา 2 รวมเป็น 5 หนังสือ “ไม่ครบห้า” เป็นอัตชีวประวัติของ “โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ” ซึง่ มีรา่ งกายไม่สมประกอบในลักษณะ “ไม่ครบห้า” อย่างชัดเจน เพราะแขน

44 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ขาทัง้ 4 ข้าง “กุด” หมด มีลกั ษณะเหมือน “มันฝรัง่ ” ยาวราว 10 เซนติเมตร งอกออกมาจากไหล่และสะโพก แม้จะพิการรุนแรงขนาดนี้ แต่โอโตทาเกะ ฮิโรทาดะ ประกาศอย่าง ชัดเจนว่า “ผมเกิดมาพิการ...แต่...ผมก็มีความสุขสนุกทุกวัน” หนังสือเล่ม นี้เขียนขึ้นอย่างสนุกสนานตลอดเล่ม และอย่าง “มืออาชีพ” โดยแท้ เพราะ อ่านสนุก เร้าใจ ชวนติดตามด้วยเนือ้ หาทีก่ ระชับ ฉับไว เต็มเปีย่ มด้วยสาระ สูงด้วยคุณค่า อย่างแท้จริง โดยเฉพาะเมื่อได้ฝีมือแปลของพรอนงค์ นิยม ค้า นักแปลวรรณกรรมญี่ปุ่นฝีมือเยี่ยม ที่งานแปลทุกเล่มสูงด้วยคุณภาพ ทัง้ ความถูกต้อง สละสลวย ประณีต งดงาม เพราะแปลทัง้ ด้วยใจรักและด้วย ฝีมือที่ “เข้าขั้น” อย่างแท้จริง หนังสือเปิดฉากชีวิตตั้งแต่วัยเด็กโดยพูดถึงความพิการของตนอย่าง สนุกสนาน ไม่มีกลิ่นอายของความทุกข์หรือความน้อยเนื้อต�่ำใจแต่อย่างใด เลย เมื่อเข้าโรงเรียนอนุบาลเพื่อนๆ พากันแปลกใจ “เมื่อเห็นผมทีไร ทุก คนจะเข้ามาตอมเหมือนมด บางคนแตะแขนขาของผมดูแล้วระดมค�ำถาม ไม่หยุดว่า ‘ท�ำไม? ท�ำไม?’ ผมก็จะอธิบายว่า ‘ผมไม่สบายในท้องแม่ก็เลย ไม่มีแขนไม่มีขา’ เด็กๆ ก็จะพูดว่า ‘เหรอ’ แล้วยอมรับเป็นเพื่อนด้วยกัน”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 45

เมือ่ ยังเป็นทารกเขามีปญั หาไม่ยอมนอน กลางคืนก็เอาแต่รอ้ ง กลาง วันก็ไม่คอ่ ยนอน ท�ำให้แม่ตอ้ งเหน็ดเหนือ่ ยทัง้ กลางวันกลางคืน และเขาก็ได้ รับฉายาว่า “นโปเลียน” เพราะพระจักรพรรดิองค์นั้น “นอนเพียงวันละ 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น” ปัญหาแรกทีเ่ ขาต้องประสบคือหาโรงเรียนประถมรับเข้าเรียนยาก มี โรงเรียนหนึง่ ยอมรับแต่ “คณะกรรมการการศึกษา” ของจังหวัดให้ “ทบทวน” เพราะมองไม่ออกว่าเด็กจะเรียนได้อย่างไร จะเขียนหนังสือและร่วมกิจกรรม ต่างๆ ได้อย่างไร จนแม่ตอ้ งพาเขาไปแสดงตัวต่อคณะกรรมการ เพือ่ ยืนยัน ว่า “เด็กคนนี้ท�ำอย่างนี้ได้นะคะ” และเขาก็ได้แสดงให้คณะกรรมการดูด้วย ความภาคภูมิใจ “เอาดินสอหนีบไว้ระหว่างแก้มกับแขนสัน้ ๆ แล้วเขียนอักษร ให้ดู เอาช้อนและส้อมวางไว้ริมจาน แล้วตักอาหารกินโดยใช้กฏของแรงงัด ใช้ปากคาบกรรไกรไว้ขา้ งหนึง่ แล้วใช้แขนกดอีกข้างไว้ พร้อมกับขยับใบหน้า เพื่อตัดกระดาษ และแสดงท่าเดินด้วยขาสั้นๆ โดยร่างของผมยังอยู่ในรูป ตัว L เหมือนเดิม” ในที่สุดคณะกรรมการก็อนุญาตให้โรงเรียนรับเขาเข้าเรียนโดยครู ทาคางิ ซึ่งมีประสบการณ์สูงจนได้ฉายาว่าคุณครูคุณปู่เสนอตัว “ขอเป็นครู ประจ�ำชั้นให้เอง” ซึ่งครูทาคางิต้องใช้ประสบการณ์และความพยายามอย่าง

46 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สูงฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคมากมายทั้งจากตัวของโอโตทาเกะ และปัญหาจาก เพื่อนร่วมชั้น สิ่งที่นับว่าก้าวหน้าที่สุดคือความพยายามให้ลูกศิษย์พัฒนา ตัวเองให้ใกล้เคียงเด็กปกติ โดยตั้งกติกา “ห้ามช่วยเหลือ” และต่อมาไม่ อนุญาตให้ใช้ “เก้าอี้ล้อ” ไฟฟ้า เพื่อช่วยการเคลื่อนไหวซึ่งหลายคนคัดค้าน แต่คณ ุ ครูปกู่ ็ไม่ยอมฟังด้วยเหตุผลหนักแน่น “อยากจะเอ็นดูตอนนีส้ กั เท่าไร ก็ทำ� ได้ แต่วนั หนึง่ เด็กคนนีจ้ ะต้องเผชิญชีวติ ตามล�ำพัง หน้าทีข่ องครูคอื จะ ต้องคิดว่าจ�ำเป็นต้องท�ำอะไรให้กับเด็กในปัจจุบันเพื่ออนาคตในวันข้างหน้า ของเขา” ต่อมาโอโตทาเกะยืนยันว่าคุณครูปู่ถูกต้อง “หากผมใช้เก้าอี้ล้อไฟฟ้า ตลอดมาตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียนประถม ผมจะต้องกลายเป็นคนพิการที่ไม่ สามารถแยกจากเก้าอีล้ อ้ ไฟฟ้าได้เลย และถ้าเป็นเช่นนัน้ ลองวาดภาพชีวติ ประจ�ำวัน คงจะแตกต่างกับชีวิตปัจจุบันมากโข ความรู้สึกสบายใจก็คงจะ แตกต่างกันด้วย ดูเหมือนคุณครูตั้งใจเข้มงวดกับผม ยอมให้โอโตทาเกะคิด ว่าเป็นครูดุ และอยากเป็นครูที่ลูกศิษย์พูดในภายหลังว่า “ครูดุแต่ดีใจที่ได้ เป็นศิษย์ในชัน้ ของคุณครูทาคางิ ความเข้มงวดทีแ่ ท้จริงคือความเมตตาทีแ่ ท้ จริง พอคิดถึงคุณครูทาคางิ ความหมายของค�ำพูดประโยคนี้ เสียดแทงลึก เข้าไปในใจ”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 47

ทั้งๆ ที่มีข้อจ�ำกัดอย่างมาก แต่วิชาที่โอโตทาเกะชอบคือพลศึกษา เขาพยายามร่วมท�ำกิจกรรมกับเพือ่ นๆ ทุกอย่าง ตัง้ แต่ กายบริหาร วิง่ โหน บาร์ กระโดดเชือก ซึง่ เพือ่ นๆ ก็ชว่ ยกันคิดหาวิธใี ห้เขาร่วมกิจกรรมโดยสร้าง “กติกาโอโตจัง” ก�ำหนด “แต้มต่อ” ให้ ซึ่งหลังจากเรียนร่วมกันมาหนึ่งปี ทุกคนก็เข้าใจเขาและรู้ว่า “ถ้าก�ำหนดแต้มต่อให้ โอโตจังก็จะร่วมกิจกรรม ทุกอย่างได้เหมือนทุกคน” เขาท�ำได้แม้กระทั่งร่วมปีนเขาโอโบอันสูงชันใน กิจกรรมเดินทางไกลร่วมกับเพื่อนๆ ได้ขึ้นไปจนถึงยอดเขา ได้กินข้าวปั้น บนยอดเขาโคโบซึ่งโอโตทาเกะเห็นว่าเป็นการกินอาหารที่อร่อยที่สุด ยิ่งกว่าความพิการรุนแรง ช่วงวัยแห่งการเจริญเติบโต กระดูกแขน ของโอโตทาเกะเจริญเร็วจนท�ำท่าจะทะลุปลายแขนท�ำให้เกิดอาการปวด ทรมานมาก สิ่งที่เคยท�ำได้หดหายไปทีละอย่าง จนต้องเข้ารับการผ่าตัด หลายครั้ง แต่ละครั้งต้องอยู่โรงพยาบาลนาน การไม่มีแขนขาท�ำให้ตัวเล็ก ต้องปรับขนาดยาสลบให้เหมาะสม และไม่มีหลอดเลือดตามแขนขาให้แทง น�ำ้ เกลือ ต้องไปให้บริเวณล�ำคอ เพิม่ ความหวาดเสียวมากขึน้ แม้เมือ่ จะเข้า ห้องผ่าตัดเขาพยายามจะรักษาฟอร์มไม่ร้องไห้ แต่พอบานประตูห้องผ่าตัด ปิดพ้นหน้าน�้ำตาพ่อแม่ก็ไหลเป็นทาง หลังผ่าตัดต้องเข้าเฝือกและอยู่ใน โรงพยาบาลนานแรมเดือน ขณะนั้นเขายังเรียนชั้นอนุบาลและประถม นอกจากความกลัวการผ่าตัดและความเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังต้องเผชิญกับ

48 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ความเหงารุนแรง คุณครูทาคางิทราบเรือ่ งจากแม่และกังวลใจมาก จึงชวนเด็ก นักเรียนเขียนจดหมายถึงโอโตทาเกะ ปรากฏว่าเด็กทุกคนก็รู้สึกและลงมือ ท�ำบางอย่างไปแล้ว เช่น เวียนสมุดโน้ตให้เพื่อนๆ เขียนถึง พับนกกระเรียน ให้ครบพันตัว เอาขนมปังไปฝากเยี่ยมที่บ้าน ซึ่งโอโตทาเกะย่อมประทับใจ มาก เพราะ “ความรู้สึกของทุกคน คือก�ำลังใจชุบชีวิตผมในโรงพยาบาล” คุณครูทาคางิเป็นครูประจ�ำชั้นของโอโตทาเกะอยู่ 4 ปี ก็เกษียณอายุ ได้คุณครูโอกะ มาเป็นครูประจ�ำชั้นคนใหม่ คุณครูโอกะเป็นคนร่างใหญ่ สมัยเรียนหนังสือเคยเป็นนักกีฬาอเมริกนั ฟุตบอลและเคยอาสาเป็นครูประจ�ำ ชั้นโอโตทาเกะตั้งแต่แรก แต่ครู ใหญ่เห็นว่าประสบการณ์ยังน้อยส�ำหรับ ชั้นเรียนที่มีเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือมากอย่างโอโตทาเกะ จึงเลือก คุณครูทาคางิท�ำหน้าที่อยู่จนเกษียณอายุ เมื่อคุณครูโอกะเข้ามาท�ำหน้าที่ ครูประจ�ำชั้น โอโตทาเกะเริ่มมี “ปัญหา” กับเพื่อนๆ มากขึ้น เพราะเพื่อนๆ ทุกคนพากันเติบโตจนรูปร่างแตกต่างจากโอโตทาเกะมาก แนวคิดของคุณครู ทาคางิที่จะให้โอโตทาเกะท�ำเหมือนเด็กคนอื่นทุกอย่างจึงเริ่มมีปัญหามาก ขึน้ แม้จะใช้ระบบ “แต้มต่อ” ก็ตาม คุณครูโอกะสังเกตเห็นความล�ำบากของ โอโตทาเกะทีต่ อ้ งช่วยท�ำความสะอาดห้องเรียนเหมือนเพือ่ นๆ แต่ทำ� ได้เพียง เอาผ้าขี้ริ้วแห้งหนีบไว้ที่ขาแล้วถูห้อง จะใช้ผ้าขี้ริ้วเปียกก็ไม่ได้เพราะขาที่ สั้นมากจะท�ำให้ก้นเปียกไปด้วย คุณครูโอกะจึงเปลี่ยนแนวคิดในการสร้าง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 49

พัฒนาการของโอโตทาเกะใหม่ โดยให้โอโอ ทาเกะท�ำหน้าทีแ่ ตกต่างจากเพือ่ นๆ วิธกี าร แรก คือ น�ำเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์ ที่ เรียกว่า เวิรด์ โปรเซสเซอร์ มาให้โอโตทาเกะ หัดพิมพ์ แล้วท�ำหน้าที่พิมพ์เอกสารของ ห้องเรียน เหมือนเป็นเลขานุการของชั้น และเพื่อเป็นการจูงใจก็ตั้งเป็นบริษัท “โอโต ฮิโรการพิมพ์” โดยน�ำตัวแรกของชือ่ นามสกุล โอโตทาเกะมาตั้งชื่อ “บริษัท” ให้โอโตทาเกะ เป็นประธาน ปรากฏว่าโอโตทาเกะเรียนรูแ้ ละ ท�ำหน้าที่ได้ดีจนสามารถช่วยพิมพ์เอกสาร ของห้องเรียนรวมทั้งของห้องเรียนอื่นๆ ได้มาก ต่อมาคุณครูโอกะก็ชักชวนโอโตทาเกะลงแข่งขันวิ่ง 100 เมตร แต่ เพราะระยะทางขนาดนั้นเขาต้องใช้เวลาวิ่งถึง 2 นาที ขณะที่เด็กคนอื่นที่วิ่ง ช้าที่สุด จะใช้เวลาแค่ 20 วินาที จึงตกลงให้โอโตทาเกะตั้งต้นวิ่งที่จุด 50 เมตรแทน โอโตทาเกะต้องฝึกซ้อมกับมิโนรุเพื่อนสนิทอย่างหนัก ในที่สุดก็ วิ่งถึงเส้นชัยจนได้ ท่ามกลางเสียงเชียร์ของเพื่อนๆ ครูและผู้ปกครอง แม้ จะเข้าที่โหล่ แต่ก็ได้รับเสียงปรบมือกึกก้อง

50 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สิ่งที่ยากที่สุดส�ำหรับโอโตทาเกะที่จะต้องท�ำให้ได้คือการว่ายน�้ำ ซึ่ง ทางโรงเรียนก�ำหนดให้นักเรียนชั้นประถม 6 จะต้องว่ายน�้ำให้ได้ระยะทาง 25 เมตร สภาพร่างกายที่สูงเพียง 70 ซม. ขณะที่สระน�้ำลึกกว่าหนึ่งเมตร ท�ำให้เขาหยั่งไม่ถึงพื้น จึงลงสระน�้ำคนเดียวไม่ได้ เมื่อน�้ำสาดใส่หน้าก็ไม่ สามารถใช้แขนปาดน�ำ้ ออกได้ เป็นผลให้โอโตทาเกะมีอาการ “กลัวน�ำ้ ” ตัง้ แต่ แรก แต่ครูก็ไม่ลดละ ได้ใช้ความพยายามจนเขาค่อยๆ เรียนรู้วิธีลอยตัวจน เริ่มว่ายได้ แต่ตลอดห้าปีแรกเขาว่ายได้ระยะทางไกลแค่ 6 เมตรเท่านั้น เด็กคนอื่นเมื่อว่ายไปสักครึ่งทางเกิดหมดแรง ก็สามารถพักโดยยืนบนพื้น สระ ก่อนจะว่ายต่อไปจนครบ 25 เมตร แต่โอโตทาเกะท�ำเช่นนั้นไม่ได้ ใน ที่สุดต้องใช้แผ่นโฟมช่วยให้ลอยตัว จึงว่ายจนถึงได้ โดยใช้เวลาถึง 1 นาที 57 วินาที ซึ่งเป็นที่โหล่ในชั้น แต่เพื่อนๆ ทั้งในชั้นและจากโรงเรียนอื่นพา กันปรบมือให้ คุณป้าผู้ปกครองคนหนึ่งที่ไปในงานวันนั้นถึงกับร้องไห้เลย ทางด้านการพัฒนาสมอง คุณครู โอกะใช้วิธี ให้เด็กนักเรียนสอบ แข่งขันวัดอันดับความเก่งอักษร “คันจิ” ปรากฏว่าโอโตทาเกะได้แชมป์เป็น ประจ�ำ เพราะข้อจ�ำกัดของร่างกายท�ำให้ได้อยูบ่ า้ นมากกว่าเพือ่ นๆ หลังเลิก เรียน จึงมีเวลาค้นหาค�ำศัพท์จากพจนานุกรมได้มากกว่าเพื่อนๆ เหนืออื่นใด ความพิการของโอโตทาเกะซึ่งคุณครูก�ำหนดให้เพื่อนๆ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 51

ทุกคนให้ความช่วยเหลือ ได้ปลูกฝังให้เด็กนักเรียนในชั้นเป็นคนใจดีอย่าง ชัดเจน คุณครูโอกะบอกว่า “เพราะห้องเรามีฮิโร เวลามีใครเดือดร้อน เรา ก็จะช่วยกันโดยธรรมชาติ เป็นห้องที่มีความเมตตาดีจริงๆ” ประสบการณ์ เช่นเดียวกันนี้เกิดกับเพื่อนของโอโตทาเกะ ซึ่งท�ำงานเป็นครูพี่เลี้ยงเล่าให้ เขาฟังว่า “เมื่อเริ่มฤดูใบไม้ผลิปีนี้ มีเด็กดาวน์ซินโดรมมาอยู่ในความดูแล ของฉัน ตอนแรกๆ เด็กในห้องก็ตกใจ ไม่กล้าเข้าใกล้ แต่พอเวลาผ่านไปสัก เดือนสองเดือน ห้องของเราก็เกิดบรรยากาศของความมีเมตตาขึ้นมา โดย มีเด็กคนนั้นเป็นศูนย์กลาง” ในทีส่ ดุ โอโตทาเกะก็เรียนจนจบชัน้ ประถมศึกษาไปได้ดว้ ยดี และเข้า สู่ระดับมัธยม ซึ่งโรงเรียนมัธยมโองะรับโอโตทาเกะเข้าเรียนโดยไม่มีปัญหา อะไร คงเพราะตอนประถมปลาย โอโตทาเกะไปโรงเรียนเองโดยไม่ตอ้ งมีใคร ต้องดูแล และยังสนุกสนานกับชีวิตในโรงเรียนยิ่งกว่าคนอื่น พอเข้าเรียนชั้นมัธยม เด็กนักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมชมรมต่างๆ โอโตทาเกะท�ำเซอร์ไพร้ส์ให้แก่ทกุ คนโดยเฉพาะพ่อกับแม่โดยการสมัครเข้า ชมรมบาสเกตบอล ร่างทีเ่ ตีย้ มากเป็นข้อจ�ำกัดอย่างยิง่ แต่เขาก็ขยันฝึกซ้อม จนวิ่งเลี้ยงลูกและส่งลูกได้ เริ่มจากหัดเลี้ยงลูกอยู่กับที่ ต่อด้วยการวิ่งเลี้ยง ลูกจากมือซ้ายทีถ่ นัด เริม่ หัดเลีย้ งลูกด้วยมือขวา และสลับซ้ายขวาจนครูให้

52 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 53

“ ความพิการของโอโตทาเกะ

ซึ่งคุณครูก�ำหนดให้เพื่อนๆ ทุกคน ให้ความช่วยเหลือ ได้ปลูกฝังให้เด็กนักเรียนในชั้น เป็นคนใจดีอย่างชัดเจน



ลงแข่งขันได้ แน่นอนว่า เขาท�ำให้ทีมมีสภาพเหมือนลงแข่งแค่ 4 คน สู้กับ อีกทีมซึ่งมีครบ 5 คน แต่ทั้งโค้ชและเพื่อนร่วมทีมต่างพร้อมใจให้เขาร่วม ทีมลงแข่ง นอกจากกิจกรรมกีฬาแล้ว โอโตทาเกะยังเข้าร่วมกิจกรรมด้าน “วัฒนธรรม” อย่างแข็งขัน ถึงขั้นลงสมัครเป็นผู้แทนของชั้นในคณะ “กรรมการบริหารด้านวัฒนธรรม” โดยแข่งขันกับเพื่อนที่อยู่ในแมนชั่นตรง ข้ามบ้านของเขา คู่แข่งของเขาเป็นนักเรียนเก่ง และยังเป็นหนึ่งใน “สาม หัวโจกประจ�ำหมู่ 1” ในชั้นด้วย คะแนนเสียงของทั้งคู่สูสีกัน ซึ่งในที่สุดโอโต ทาเกะสามารถเอาชนะได้ แต่ชนะแล้วก็ไม่สบายใจ เพราะบ้านของทั้งสอง อยู่ ใกล้กัน เวลากลับบ้านก็ ไปทางเดียวกัน แต่น่ายินดีที่เพื่อนยอมรับ ความพ่ายแพ้โดยดุษฎีและแสดงออกโดย การบอกว่า “วันนีเ้ ราจะไปเล่นบ้าน นายนะ” เมื่อไปถึงก็บอกแม่โอโตทาเกะว่า “คุณป้าฮะ ผมแพ้โอโตซะแล้ว แพ้แค่นิดเดียวเอง น่าเจ็บใจจังฮะ” แม่ตอบว่า “แล้วยังอุตส่าห์มาเล่นด้วย เหรอ? ดีจังนะ เด็กผู้ชายนี้ไม่เรื่องมากดี” โอโตทาเกะเขียนถึงเพื่อนคนนี้ อย่างน่ารักมาก ว่า “ไม่ใช่หรอกครับ ไม่ใช่เพราะเป็นผู้ชายแล้วไม่เรื่องมาก อย่างทีแ่ ม่ผมคิด แต่เขาค�ำนึงถึงความรูส้ กึ ของผม จึงสูท้ นอดกลัน้ ความรูส้ กึ เสียใจเอาไว้ ตอนนีเ้ พือ่ นท�ำอะไร อยูท่ ี่ไหนนะ? ได้เรียนหมอตามทีเ่ คยใฝ่ฝนั หรือเปล่านะ? คนอย่างเพื่อนรับรองว่าเป็นหมอที่ดีแน่นอน”

54 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ในช่วงมัธยมต้นนั่นเอง โอโตทาเกะพบ “ฮีโร” ของเขาซึ่งมาจาก โรงเรียนประถมเดียวกัน แต่ไม่เคยเรียนห้องเดียวกัน เมื่อขึ้นไปเรียนชั้น มัธยม “ยัตจัง” เริ่มเบื่อเรียน โดดเรียน แอบสูบบุหรี่และมีพฤติกรรมแบบ “นักเรียนนักเลง” โอโตทาเกะ มองความแปลกแตกต่างนั้นเป็นเสน่ห์ดึงดูด อย่างมาก จนเริ่มโดดเรียนไปกับยัตจัง ซึ่งชวนเขาสูบบุหรี่ แต่เขาปฏิเสธ และยัตจังก็ไม่คะยัน้ คะยออีก โอโตทาเกะ “รูส้ กึ ผิดเหมือนกันที่โดดเรียน แต่ ความสุขที่ได้อยู่กับเขา พัดเอาความรู้สึกผิดของผมหายไปหมด” ครูเตือน โอโตทาเกะว่า “อย่าไปเกี่ยวข้องกับหมอนั่นนะ” และเตือนยัตจังว่า “อย่าไป ยุ่งกับโอโตทาเกะนักนะ” ในสายตาของครูและคนทั่วไปมองว่ายัตจังเป็น “เด็กเลว” แต่โอโตทาเกะมองว่าเขาไม่ใช่ “คนเลว” แน่นอน สุดท้ายยัตจังก็ เรียนไม่จบ ต้องออกจากโรงเรียนกลางคันขณะเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย แต่ เขาก็ไม่ได้เสียคน และกลายเป็นช่างไฟฟ้าที่กลับตัดผมเรียบร้อยและย้อม ผมให้กลับเป็นสีด�ำดังเดิม แม้โอโตทาเกะจะสุ่มเสี่ยงที่ไปคบและชื่มชมกับ “นักเรียนนักเลง” อย่างยัตจัง แต่ด้านดีก็คือ สถานะที่เป็นคนเรียนเก่งจนเป็น “คนเด่น” และ มีลักษณะ “อวดดี” จนอาจมีเด็กบางคน “หมั่นไส้ไอ้เด็กพิการนั่น” แต่เขาก็ ไม่เคยถูกใครรังแกเลย

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 55

ในชั้นมัธยมต้นนั่นเอง แม้จะพิการอย่างมาก แต่ความเด่นความดัง ของโอโตทาเกะก็ท�ำให้นักเรียนหญิงรุ่นน้องเขียนจดหมายบอกรัก เริ่มจาก ฉบับแรก และต่อมาอีกหลายฉบับถึงขัน้ โอโตทาเกะมอบ “กระดุมเม็ดทีส่ อง” ให้ กระดุมเม็ดทีส่ องของเครือ่ งแบบนักเรียนชาย “คือเม็ดทีอ่ ยู่ใกล้หวั ใจทีส่ ดุ นักเรียนหญิงจึงมักขอจากคนที่เธอชอบในวันจบการศึกษา” แม้ในที่สุด โอโตทาเกะจะ “ไม่สามารถตอบสนองความรู้สึกของเธอได้” แต่เธอคือผู้ลบ ปมด้อยความพิการของเขาในเรื่องความรัก “เธอคือผู้ที่ท�ำให้ผมเกิดความ กล้าหาญต่อความรักในภายหลัง” จากมัธยมต้น ก็ถึงเวลาหาโรงเรียนมัธยมปลายที่ดีที่สุด โอโตทาเกะ ฝันอยากเข้าโรงเรียนมัธยมโทยามะ สังกัดมหานครโตเกียว ซึง่ เป็นโรงเรียน เก่าแก่มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปี แต่คนที่จะเข้าโรงเรียนนี้ได้คะแนนต้อง สูงมากทุกวิชา คะแนนหลักทั้ง 5 วิชา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และวิทยาศาสตร์ โอโตทาเกะท�ำได้ดีมาก แต่ คะแนนทีฉ่ ดุ มากคือพลศึกษาเพราะเขาได้เพียง 1 จากเต็ม 5 ฉะนัน้ เขาต้อง ท�ำคะแนนวิชาอืน่ ๆ ให้สงู ลิว่ นอกจากนัน้ บ้านเขายังอยูไ่ กลจากโรงเรียนมาก จึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะเดินทางไปโรงเรียนเป็นประจ�ำทุกวัน แต่แล้ว ทุกอย่างก็เป็นไปได้ เมือ่ พ่อของเขาตัดสินใจย้ายบ้านไปอยูใ่ กล้โรงเรียน ซึง่ กว่า จะหาบ้านใหม่ได้ก็แสนยาก เพราะทางเข้าต้องไม่เป็นขั้นบันได ถ้าอยู่ชั้น

56 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สองต้องมีลิฟท์ ตรงทางเข้าต้องมีที่ว่าง ส�ำหรับไว้เก้าอี้ล้อ เวลาก็มีจ�ำกัด แต่ใน ที่ สุ ด พ่ อ ก็ห าจนได้ และรีบ ท�ำสัญญา เพราะมีรายอื่นมาติดต่อไว้ด้วย แรง กดดันจึงอยูท่ ี่โอโตทาเกะจะต้องสอบเข้า ให้ได้ ซึ่งในที่สุดโอโตทาเกะก็ท�ำได้ พ่อ แม่บอกภายหลังว่า ที่ตกลงท�ำสัญญาก็ เพราะ “มั่นใจในตัวลูกชาย” พอเข้าโรงเรียนมัธยมโทยามะ ได้ โอโตทาเกะก็ท�ำตามความฝันอีกขั้นคือ ขอสมัครเข้าชมรมอเมริกัน ฟุตบอล ซึ่งปกติจะต้องเป็นคนปกติร่างกายใหญ่โตเท่านั้น แต่เพราะความ ฝังใจกับค�ำกล่าวของศัลยแพทย์คนหนึง่ ทีผ่ า่ ตัดให้เขา บอกว่า “พวกอเมริกนั ฟุตบอลโทยามะน่าทึ่งมาก” ในที่สุดทุกฝ่ายก็หาหน้าที่ที่เหมาะสมให้แก่เขา ได้ เพราะแม้อเมริกนั ฟุตบอลจะต้องต่อสูก้ นั ด้วยพลก�ำลังมหาศาล แต่ “พลัง ปัญญา” ก็มคี วามส�ำคัญไม่แพ้กนั โอโตทาเกะได้รบั มอบหน้าทีด่ า้ น “ข้อมูล” ของคู่ต่อสู้ โดยรวบรวมข้อมูลให้รอบด้านป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ น�ำมา วิเคราะห์เพื่อวางแผนการเล่นของทีม โอโตทาเกะยังได้รับอนุญาตพิเศษให้ เข้าร่วมประชุมเวลาโค้ชตัดสินต�ำแหน่งของผูเ้ ล่นน้องใหม่ และบางครัง้ ก็ทำ�

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 57

หน้าที่ดูแลการฝึกซ้อมด้วย และแล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้นเมื่อทีมของ โทยามะสามารถพิชิตแชมป์โตเกียว ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ ของโรงเรียนโทยามะ แต่ไม่สามารถไปถึงฝัน “แชมป์คันโต” คือแชมป์ภาค ตะวันออกของเกาะฮอนชูได้ โรงเรียนมัธยมโทยามะไม่ได้มุ่งการเรียนการสอนในชั้นเรียนเท่านั้น ทุกปีในเดือนกันยายนจะมี “เทศกาลโทยามะ” ซึ่งนักเรียนปีหนึ่งจะเป็นผู้จัด แสดงนิทรรศการ ปีสองจัดแสดงละคร และปีสามจะต้องผลิตภาพยนตร์หอ้ ง ละ 1 เรื่อง เพื่อนๆ เชียร์ให้โอโตทาเกะสมัครเป็นผู้ก�ำกับ แต่โอโตทาเกะรู้ดี ว่า เพือ่ นชือ่ มิชโิ อะมีความรูค้ วามสามารถดีกว่าตนมาก จึงไม่ยอมท�ำตาม แรงเชียร์ของเพื่อน ห้องเรียนจึงมีมิชิโอะเป็นผู้ก�ำกับ โอโตทาเกะเป็นผู้ช่วย ผู้ก�ำกับ โอโตทาเกะพึงพอใจในหนังและผลงานชิ้นนี้มาก โอโตทาเกะมิได้เรียนเก่งไปทุกวิชา การทีเ่ ขามุง่ มัน่ ทุม่ เทให้แก่ชมรม อเมริกันฟุตบอล ท�ำให้คะแนนบางวิชาของเขาต�่ำมาก วิชาคณิตศาสตร์ ซึง่ เป็นวิชาที่เขาไม่ชอบ คะแนนเต็ม 200 เขาเคยสอบได้แค่ 7 คะแนน โอโตทาเกะก็เหมือนเด็กคนอืน่ ๆ ทีม่ คี วามฝันอยากเป็นโน่นเป็นนีม่ า ตั้งแต่ยังเด็ก เริ่มจากอยากเป็นนักเบสบอลทั้งๆ ที่มีแขนขากุด ต่อมาตอน

58 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เรียน ป.3 ป.4 อยากเป็นนักเล่นหมากรุกอาชีพ พออยู่ชั้น ป. 6 จู่ๆ ก็อยาก เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ถึงชัน้ มัธยมต้นอยากเป็นทนายความ เพราะ ตอนนั้นชอบเถียงแม่จนแม่ประชดให้ว่า “ถ้าลูกชอบต่อล้อต่อเถียง ชอบ เอาชนะด้วยปากละก็ เป็นทนายความซะเลยสิ” โอโตทาเกะฟังแม่ประชดก็ เกิดอยากเป็นทนายความจริงๆ เพราะคิดว่า “เป็นทนายความนี่เท่ดี” และ ฝันเช่นนัน้ อยูห่ ลายปี แต่พอใกล้ขนึ้ ชัน้ มัธยมปลายความอยากเป็นทนายเกิด จางหายไป และเริ่มเคว้งคว้างไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร และพาลคิดต่อไป ว่าเมือ่ “ไม่รวู้ า่ ตัวเองอยากท�ำอะไรแล้วจะเรียนมหาวิทยาลัยไปท�ำไม” เพราะ ปักใจกับคติชีวิตที่ว่า “ผมไม่ยอมท�ำงาน เพราะไม่รู้จะท�ำอะไรดีเด็ดขาด” ความคิดเช่นนั้นท�ำให้หมดไฟที่จะทุ่มเทดูหนังสือเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ไปดือ้ ๆ ขณะทีเ่ พือ่ นๆ พากันมุง่ เข้ามหาวิทยาลัย บางคนวิง่ หาโรงเรียนกวด วิชา แต่โอโตทาเกะยังไม่รู้จะไปไหนกับเขา เคราะห์ดีมีเพื่อนคนหนึ่งมาพูดว่า “โอโต นายน่ะอุดมคติเกินไป อายุ 18 ปี แค่นี้ จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าตัวเองอยากจะท�ำอะไร จริงอยู่ เราเข้า มหาวิทยาลัยเพือ่ เรียนในสาขาทีเ่ ราอยากท�ำ ถ้าใครท�ำอย่างนี้ได้กด็ ที สี่ ดุ แต่ เราก็อาจจะเข้ามหาวิทยาลัยเพื่อแสวงหาสิ่งที่เราอยากจะท�ำก็ได้นี่นา” ประโยคนี้เองท�ำให้โอโตทาเกะตาสว่าง ตกลงใจจะเข้ามหาวิทยาลัย

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 59

ซึ่งเขาเล็งมหาวิทยาลัยวาเซดะไว้แล้ว เพราะมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็น มหาวิทยาลัยเอกชนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงมาก ข้อส�ำคัญอยู่ใกล้ๆ โรงเรียน โทยามะ และอยู่ฝั่งตรงข้ามหรือเยื้องๆ บ้านของเขานั่นเอง แต่จะเข้า มหาวิทยาลัยวาเซดะได้ไม่ใช่ง่ายๆ ต้องแข่งขันสูงมาก เขาจึงต้องไปหา โรงเรียนกวดวิชาซึง่ ก็ตอ้ งไปเจอปัญหาใหญ่ เพราะโรงเรียนกวดวิชาโดยมาก ไม่ “พร้อม” ที่จะรับคนพิการมากๆ อย่างโอโตทาเกะ เนื่องจากสถานที่ไม่ เอื้ออ�ำนวย ตั้งแต่เรียนจนจบชั้นมัธยม โอโตทาเกะได้รับการดูแลช่วยเหลือ จากครู พ่อแม่และเพือ่ นๆ จนไม่รสู้ กึ ว่าเป็นคนพิการ แต่พอถึงคราวต้องหา โรงเรียนกวดวิชาก็เจอปัญหาจนรูส้ กึ ว่า “นีค่ อื ครัง้ แรกทีผ่ มต้องชนก�ำแพงใน ฐานะคนพิการ” เคราะห์ดีที่สุขภาพจิตเขาดีเยี่ยม จึง “เพียงแต่รู้สึกแปลกใจ เท่านั้นว่า ....หืมม์ คนนั่งเก้าอี้ล้อเนี่ยล�ำบากเหมือนกันนะ” โชคดี สุดท้ายโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึง่ ก็รบั เขาเข้าเรียน แต่ชว่ งแรก เขายังห่วงเทีย่ วสนุกสนานกับเพือ่ นๆ ขณะทีจ่ ะต้องทุม่ เทดูหนังสือสอบ แล้ว “จะมีหวังหรือ” แม้จะมาจากโรงเรียนชัน้ ดี แต่พนื้ ฐานความรูบ้ างวิชาของโอโตทาเกะ อ่อนมาก ชัว่ โมงแรกในวิชาภาษาอังกฤษ อาจารย์ฟน้ื เรือ่ งโครงสร้างพืน้ ฐาน ของประโยค คือ ประธาน (S-Subject) กริยา (V-Verb) กรรม (O-Object)

60 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

โอโตทาเกะยังไม่รู้เลยว่ามันหมายถึงอะไร ห้องนอนที่บ้านเขาก็แคบ ตั้งได้ แต่เตียง กับตูเ้ สือ้ ผ้าเท่านัน้ ไม่มที พี่ อให้ตงั้ โต๊ะหนังสือ ถ้าจะดูหนังสือทีบ่ า้ น ก็ตอ้ งลงไปดูในห้องนัง่ เล่น ซึง่ อยูข่ า้ งๆ พ่อแม่ซงึ่ ก�ำลังดูโทรทัศน์ โอโตทาเกะ จึงต้องใช้ห้องหนึ่งที่โรงเรียนเป็นที่ดูหนังสือ เมื่อกลับบ้านก็ดูการถ่ายทอด เบสบอลกับพ่ออย่างสบายอารมณ์ และเข้านอนตั้งแต่สี่ทมุ่ เศษ เขามีสภาพ เหมือนเด็กประถมคือ ต้องนอนให้พอ ไม่เช่นนั้นวันรุ่งขึ้นจะไม่ค่อยมีแรง ท�ำอะไรไม่ไหว แต่การจัดระบบเช่นนี้ท�ำให้เขาได้ดูหนังสือวันละมากกว่า 10 ชั่วโมงทุกวัน และนอนพอด้วย แต่พอถึงวันสอบ ซึ่งเขาสมัครสอบเข้า ถึง 5 คณะ ขณะสอบวิชาที่สอง ในวันแรก เกิดปวดฉี่ขึ้นมากะทันหัน เนื่องจากอุณหภูมิห้องเย็นกว่าที่คาด และเครียดด้วย ท�ำให้เสียสมาธิอย่าง มาก สอบเสร็จก็ไม่มีหวังจะเข้าได้สักคณะ พ่อแม่ก็ไม่คิดว่าจะสอบได้ ตอน นั้นพ่อแม่ไม่ได้ห่วงว่าเขาจะสอบได้หรือไม่ ได้แต่ปรึกษากันว่าจะปลอบใจ ลูกอย่างไรดีตอนที่เห็นลูกคอตกกลับบ้าน ซ�้ำร้ายรายการท�ำนายโชคชะตา ทางโทรทัศน์เช้าวันฟังผลสอบ ยังท�ำนายคนราษีเมษอย่างโอโตทาเกะว่า “จะ ต้องอับอายต่อหน้าคนจ�ำนวนมาก” แต่ผลกลับตรงข้าม เข้าสอบได้ทงั้ 5 คณะ และต้องใช้เวลาถึงหนึ่งสัปดาห์ตัดสินใจเลือกเข้าเรียนในคณะเศรษฐศาสตร์ การเมือง มหาวิทยาลัยวาเซดะ มีชมรมต่างๆ ให้เลือกถึง 2-3 พันชมรม โอโตทาเกะ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 61

เลือกเข้า “สมาคมฝึกพูดภาษาอังกฤษ” (English Speaking Society : ESS) ซึ่งเขาทุ่มเทฝึกซ้อมอย่างหนักในการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ แข่งขันกับสมาชิกที่เป็นนักศึกษาใหม่ถึง 200 คน บางคนเคยไปเรียนต่าง ประเทศมาแล้วด้วย ผลการแข่งขัน โอโตทาเกะแทบไม่เชื่อตัวเอง เพราะ เขาได้ชนะเลิศ! หลังชนะเลิศแสดงสุนทรพจน์ โอโตทาเกะก็ลาออกจากสมาคมฝึกพูด ภาษาอังกฤษ เพราะไม่ชอบกิจกรรมอืน่ เช่น ละครภาษาอังกฤษ และเปลีย่ น ไปเข้าสมาคมนักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจนานาชาติแทน ได้ เข้าร่วมกิจกรรมฤดูร้อนซึ่งเป็นกิจกรรมใหญ่ใช้งบประมาณถึงหนึ่งล้านเยน เนื้อหาหลักของงานคือ “ไลฟ์ดีไซน์” หรือการร่วมกันคิดออกแบบชีวิตว่า “เราจะมีชวี ติ อย่างไร” โอโตทาเกะสนุกกับงานนีม้ าก และจากงานนีเ้ ขาก็เริม่ “ค้นพบตัวเอง” ว่าชีวิตนี้จะมุ่งท�ำเพื่อคนอื่นและเพื่อสังคมได้แค่ไหน “จะมี เมตตาต่อคนรอบด้านได้เพียงใด จะแลกเปลี่ยนความเข้าใจกับคนจ�ำนวน มากขนาดไหน...ขณะเดียวกันผมต้องให้ความส�ำคัญที่สุดกับตัวเองด้วย” นอกจากนัน้ โอโตทาเกะยังเริม่ ครุน่ คิดว่า “คนพิการอาจจะท�ำอะไรบางอย่าง ไม่ได้ แต่ก็น่าจะมีอะไรบางอย่างที่คนพิการเท่านั้นท�ำได้ และเริ่มตระหนัก ว่าทีแ่ ล้วมา “ผมไม่ได้ใช้ประโยชน์ของความพิการที่ได้รบั ติดตัวมา หรือกล่าว อีกนัยหนึ่งคือมันกลายเป็นสมบัติที่สูญเปล่า” คืนนั้นเขาคิดถึงเรื่องเหล่านี้

62 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

จนตีสอง ทั้งๆ ที่ปกติเขาจะนอนราวสี่ทุ่มเท่านั้น แต่ความครุ่นคิดคืนนั้น “ผมคงไม่มีวันลืมไปชั่วชีวิต” รุ่งขึ้น เหมือนเทพเจ้าบันดาล มีเพื่อนมาชวนท�ำกิจกรรม “สร้าง ชุมชน” ที่ “ปลอดสิ่งกีดขวาง” (Barrier-free) ส�ำหรับคนพิการและคนชรา เพือ่ นมาปรึกษาเพราะต้องการความเห็นโดยตรงจากคนพิการอย่างโอโตทาเกะ งานนี้จึงเหมือน “โอกาสอันดีที่สวรรค์ประทานให้” งานเทศกาลรักสิง่ แวดล้อมช่วงฤดูรอ้ น (Eco-Summer Festival) ครัง้ แรก มุ่ง “การทดลองขยะเป็นศูนย์ระหว่างเวลาเปิดเรียน” ต่อมาจึงตั้งเป็น “คณะกรรมการสร้างชุมชนเพื่อชีวิตวาเซดะ” ขึ้น โอโตทาเกะเข้าร่วมงาน เทศกาลตั้งแต่ครั้งที่สอง ท�ำหน้าที่ผลิตใบปลิวโฆษณางาน เพื่อส่งไปยัง หนังสือพิมพ์และบ้านหนึ่งหมื่นหลัง และรับผิดชอบ “ทัวร์เก้าอี้ล้อส�ำหรับ เด็ก” ท�ำหน้าที่บรรยายให้เด็กที่มาร่วมงานฟัง ด้วยความหวังว่า “อีก 30 ปี ชุมชนนี้จะไม่มีสิ่งกีดขวาง” เขาต้องแสดงสุนทรพจน์ตอนจบ และต้องท�ำ หน้าที่ยื่นข้อเสนอให้มหาวิทยาลัยเป็นเขตปลอดสิ่งกีดขวาง ก่อนจะยื่นข้อเสนอให้รองอธิการบดี เขาออกลูกเล่นว่า “เพื่อนผม เตือนว่า ถ้ามหาวิทยาลัยมีอุปกรณ์พร้อม นายก็จ�ำเป็นต้องเข้าเรียนนะซี่”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 63

เรียกเสียงหัวเราะครืนจากผู้ที่รุมล้อม ท่านรองอธิการบดีก็เล่นมุขตอบว่า “เราจะพิจารณาเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้โอโตทาเกะคุงมีข้ออ้างในการไม่มาเรียน” เรียกเสียงฮาอีกครั้งจากผู้ฟัง ต่อมามีงานใหญ่ คือการจัดประชุมเพื่อการท่องเที่ยวโดยครั้งแรกจัด ในหัวข้อ “ไม่ว่าใคร ไม่ว่าที่ไหน ก็เที่ยวได้สบาย” คราวนี้ก้าวหน้าไปอีกขั้น ในหัวข้อ “จาก Barrier - Free สู่ Universal Design” จากแนวคิดทีว่ า่ เพราะ มีสงิ่ กีดขวางจึงต้องท�ำให้ปลอด แต่ถา้ เราออกแบบสร้างพืน้ ที่ให้ใช้ได้ทงั้ คน ปกติและคนพิการตั้งแต่แรก เราก็ไม่จ�ำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์พิเศษส�ำหรับ คนชราหรือคนพิการ งานนี้เป็นงานใหญ่ใช้งบประมาณถึงเกือบ 4 ล้านเยน เพือ่ นๆ เสนอให้โอโตทาเกะรับเป็นประธาน เขาปฏิเสธหลายครัง้ เพราะเพิง่ จะได้ยินเรื่อง Universal Design อายุก็เพิ่งจะ 20 ปี แต่ในที่สุดเขาก็รับ หน้าที่ และท�ำจนลุลว่ งไปด้วยดี เพียงแต่ตอนปิดงาน โอโตทาเกะจะต้องขึน้ เวทีกล่าวปิดงาน แต่เขากลับพูดไม่ออกทั้งๆ ที่ปกติเป็นคนพูดเก่ง อย่างไร ก็ดี เพื่อนๆ ก็เข้าใจดี ทุกคนรู้ว่าเขาเหนื่อยมาก และขอบคุณเขา แทนที่จะ ขอบคุณตอบ น�้ำตาเขากลับไหลออกมาแทนค�ำตอบ และ ร้องไห้ไม่หยุด เหมือนเด็ก สุดท้าย โอโตทาเกะกับเพือ่ นสมัยเรียนกวดวิชา 5 คน พากันไปเทีย่ ว

64 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

อเมริกาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และพบว่าสหรัฐอเมริกาก้าวหน้าเรื่องผู้พิการ กว่าญี่ปุ่นมาก ขณะที่ชาวญี่ปุ่นมองคนพิการอย่างโอโตทาเกะเป็นคนแปลก คนพิเศษ คนอเมริกันมองเขาอย่างคนปกติ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกก็พรั่ง พร้อมกว่ามาก แม้แต่ในโรงละครก็จัดที่นั่งอย่างเหมาะสมส�ำหรับคนพิการ สวนสนุกอย่างโรงถ่ายภาพยนตร์ยูนิเวอร์แซลมีการจัดสภาพแวดล้อม สมบูรณ์แบบส�ำหรับเก้าอี้ล้อ โชว์ทุกแห่งมีที่นั่งส�ำหรับเก้าอี้ล้ออยู่แถวหน้า สุด และเก้าอี้ล้อสามารถขึ้นไปร่วมการละเล่นทุกอย่างได้ ห้องน�้ำส�ำหรับ เก้าอี้ล้อก็สะดวก โอโตทาเกะพูดถึงพ่อแม่อย่างน่ารักมาก พ่อเป็นสถาปนิก แต่งงาน เมือ่ อายุ 33 มีลกู เมือ่ อายุ 35 เพราะมีลกู คนเดียว พ่อจึงท�ำหน้าทีเ่ ป็นทัง้ พ่อ และพี่ “เพือ่ ฝึกไม่ให้ลกู เอาแต่ใจตัวเองเกินไป” “พ่อเป็นคนทีม่ คี วามเป็นเด็ก มากกว่าผมอยู่หลายส่วนทีเดียว พอทีมเบสบอลไจแอนท์แพ้ พ่อก็จะหน้า บูด เวลามีขนมหวานหลังอาหารเกินจ�ำนวน พ่อก็จะแย่งกับผม เวลาดูทีวีก็ พยายามร้องเพลงตามนักร้อง ทั้งๆ ที่ร้องไม่เป็น” ส่วนแม่นั้นคุณครูทาคางิ บอกว่า “ตามปกติพอ่ แม่ของเด็กพิการมักจะเรียกร้องกับทางโรงเรียนว่า ต้อง อย่างนัน้ ต้องอย่างนี้ แต่คณ ุ แม่ของโอโตทาเกะไม่เป็นเช่นนัน้ เลย มอบให้ครู ท�ำทุกอย่าง จึงจัดการได้ง่าย” ไม่เฉพาะกับครูเท่านั้น กับตัวลูกชาย แม่ก็ จะไม่เข้าไปยุ่งโดยไม่จ�ำเป็น ตอนเข้าโรงเรียนใหม่ๆ เด็กจะเข้าไปรุมล้อม

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 65

โอโตทาเกะ ซักถามบ้าง ท�ำท่าเหมือนล้อเลียนบ้าง ท�ำให้ครู “หายใจไม่ทั่ว ท้อง” แต่แม่ก็ยังใจเย็นบอกว่า “เป็นปัญหาที่เจ้าตัวต้องแก้เอง” เมื่อโอโตทา เกะบอกแม่ว่าจะไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อน แทนที่จะแสดงความเป็นห่วง ซักโน่นซักนีว่ า่ จะไปได้หรือ แม่กลับถามทันทีวา่ จะไปเมือ่ ไรให้บอกแต่เนิน่ ๆ เพื่อพ่อกับแม่จะได้วางแผนไปเที่ยวระหว่างนั้นด้วย ท่าทีที่คอยห่วงใย มักท�ำให้เด็กพิการรู้สึกถึงความพิการตั้งแต่อายุ 4 - 5 ขวบ แต่ท่าทีของพ่อแม่โอโตทาเกะท�ำให้เขาอยู่มาจนอายุ 20 จึงรู้สึก ถึงความพิการ เมื่อต้องตระเวนหาโรงเรียนกวดวิชา หนังสือ “ไม่ครบห้า” นี้ โอโตทาเกะเขียนอย่างคนมองโลกในแง่ดโี ดย แท้ และเขียนได้อย่างสนุก สอดแทรกความคิดเรือ่ งคนพิการอย่างแหลมคม ผู้แปลคือ พรอนงค์ นิยมค้า ซึ่งเป็นนักแปลฝีมือเยี่ยม แปลงานนี้ด้วยใจรัก อย่างแท้จริง ดังเธอได้เขียนไว้ในหมายเหตุผู้แปลว่า “สิ่งที่มีค่าที่สุดในการ ท�ำงาน(นี้) คือก�ำลังใจ ในการฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลาย เมื่อพบผู้พิการที่มี ชีวิตอยู่อย่าง สง่างาม สิ่งที่เราจะได้รับอย่างอัตโนมัติ คือ ก�ำลังใจในการสู้ ชีวติ ดิฉนั ขออุทศิ งานแปลหนังสือเล่มนีเ้ พือ่ ประโยชน์สำ� หรับผูพ้ กิ ารทุกท่าน”

66 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 67

เร้น บุรุษลึกลับผู้อยู่ในฉากซ่ออนกซ์ฟอร์ด อ ของการจัดท�ำพจนานุกรม

เกริ่นน�ำ พจนานุกรมในโลกปัจจุบนั รวมทัง้ ในอนาคตอีกยาวนาน คงไม่มฉี บับ ใดยิ่งใหญ่เท่าพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า Oxford English Dictionary(OED) ฉบับที่ตีพิมพ์ครั้งแรก มีชื่อว่า A New English Dictionary on Historical Principles (NED) เริ่มทยอยตีพิมพ์เล่มแรกตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2427 จนถึงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2471 เป็นหนังสือ รวม 10 เล่ม ต่อมาในปี 2476 ได้จัดเล่มใหม่ รวมภาคผนวกที่จัดท�ำเพิ่มขึ้น

68 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

รวมเป็น 12 เล่ม ในช่วงปี พ.ศ. 2515-2529 มีการตีพิมพ์ภาคผนวกออก มาอีก 4 เล่ม โดยเริ่มจัดท�ำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ท�ำการรวบรวมค�ำใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่พิมพ์เล่มแรก ในปี พ.ศ. 2532 ได้ตีพิมพ์ใหม่ ถือเป็นฉบับ พิมพ์ครั้งที่ 2 (OED2) รวมเป็น 20 เล่ม หนารวม 22,000 หน้า รวบรวม ค�ำทัง้ สิน้ กว่า 500,000 ค�ำ พร้อมค�ำอธิบายและอ้างอิงกว่า 2.4 ล้านประโยค เทียบกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของเรามี เพียงเล่มเดียว หนาเพียง 1,488 หน้าเท่านั้น พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดฉบับซีดีรอมออกจ�ำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะนี้ส�ำนักพิมพ์ก�ำลังด�ำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อจัดท�ำเป็นฉบับพิมพ์ ครั้งที่สาม พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวางโดยผู้ใช้ ภาษาอังกฤษ ทั้งในรัฐสภา ในศาล ในโรงเรียน ในห้องบรรยายและที่อื่นๆ ด้วยการเริ่มต้นประโยคว่า “พจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดกล่าวว่า….” แต่เชื่อหรือไม่ว่า บรรณาธิการคนแรกที่สามารถจัดท�ำพจนานุกรม ออกซ์ฟอร์ดเป็นผลส�ำเร็จ เป็นคนที่มีพื้นเพจากครอบครัวที่ยากจนในเมือง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 69

“ แต่เชื่อหรือไม่ว่า

บรรณาธิการคนแรก ที่สามารถจัดท�ำพจนานุกรม ออกซ์ฟอร์ดเป็นผลส�ำเร็จ เป็นคนที่มีพื้นเพจาก ครอบครัวที่ยากจน



70 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เล็กๆ ชายแดน ต้องออกจากโรงเรียนเมื่ออายุได้เพียง 14 ปี เพราะยากจน จนกว่าจะเรียนต่อได้ และมีบคุ คลอีกคนหนึง่ ทีม่ สี ว่ นช่วยเหลือไม่นอ้ ยในการ จัดท�ำพจนานุกรมฉบับนี้ ซึง่ เมือ่ เปิดเผยตัวออกมาแล้ว ยังความตืน่ ตะลึงให้ แก่ผู้คนทั้งหลายเป็นอย่างมาก พจนานุกรมที่มีอยู่ก่อนแล้วบางเล่ม ย้อนไปเพียงสีร่ อ้ ยปีกอ่ น ยังไม่มีใครจัดท�ำพจนานุกรมออกมาใช้ สมัย ที่เชคสเปียร์แต่งบทละคร ถ้าจะต้องใช้ค�ำแปลกๆ หรือค�ำที่ไม่ได้ใช้กันบ่อย จึงไม่มที างจะพึง่ พจนานุกรมฉบับใดได้ วลีทวี่ า่ “ลองค้นหาความหมาย (จาก พจนานุกรม หรือสารานุกรม หรือหนังสืออ้างอิงอื่นๆ)…..” เพิ่งพบมีการใช้ ครั้งแรกโดย นักประวัติศาสตร์ที่ออกซ์ฟอร์ด ชื่อ แอนโธนี วูด เมื่อปี พ.ศ. 2235 หรือเมื่อสามร้อยกว่าปีมานี้เอง พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ ฉบับแรก ตีพมิ พ์เมือ่ ปี พ.ศ.2147 แต่ง โดย โรเบิร์ต คอว์เดรย์ ครูใหญ่โรงเรียนรัทแลนด์ เป็นหนังสือเล็กๆ หนา เพียง 120 หน้า อธิบายศัพท์ยากในภาษาอังกฤษ ชื่อหนังสือคือ A table Alphabetical….of hard unusual English Words พจนานุกรม อังกฤษ-อังกฤษ ฉบับแรกที่ขยายขอบเขตอธิบายทั้ง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 71

ศัพท์ยากและค�ำที่ใช้ทั่วไป จัดพิมพ์ขึ้นโดย นาธาเนียล เบเลย์ เจ้าของ โรงเรียนกินนอนสเตพเนย์ มีผู้รู้ประวัติของ นาธาเนียล เบเลย์ น้อยมาก ทีน่ า่ สนใจคือ ในพจนานุกรมฉบับพิมพ์ครัง้ แรก มีหลักฐานแสดงความรอบรู้ อย่างกว้างขวางของเขา นั่นคือระหว่างปี พ.ศ. 2264-2325 มีผลงานของ เขาตีพิมพ์แล้วถึง 25 เล่ม ทุกเล่มล้วนขายดี พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ ทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ก่อนการจัดท�ำพจนานุกรม ออกซ์ฟอร์ด คือฉบับของ ซามูเอล จอห์นสัน บุรุษผู้ได้รับฉายาว่า “ข่านผู้ ยิ่งใหญ่แห่งวงวรรณกรรม” (“Literature’s Great Cham”) จอห์นสันใช้ทีม งานเจ็ดคน เลือกค�ำจากเอกสารจ�ำนวนมากจนเสร็จเมือ่ พ.ศ. 2293 ต่อจากนัน้ ใช้เวลาอีก 4 ปี คัด และเรียบเรียง ข้อความค�ำอธิบายต่างๆ จ�ำนวน 118,000 ข้อความ ในทีส่ ดุ ได้คำ� ทัง้ สิน้ 43,500 ค�ำ ตีพมิ พ์ออกมาเป็นหนังสือสองเล่ม เมือ่ วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2298 ในชือ่ A Dictionary of English Language พจนานุกรมฉบับนี้ ตีพิมพ์ถึงครั้งที่สี่ในขณะที่จอห์นสัน ยังมีชีวิตอยู่ พจนานุกรมของจอห์นสันนับเป็นพจนานุกรมทีย่ งิ่ ใหญ่ แต่ยงั มีความ บกพร่องและขาดความสมบูรณ์อยู่มาก เพราะ • รวบรวมค�ำจากเอกสารทีเ่ ขียนขึน้ ในช่วงหนึง่ ร้อยห้าสิบปีทจี่ อห์นสัน เห็นว่าเป็นช่วงส�ำคัญเท่านั้น

72 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

• จอห์นสันได้ใส่ทศั นะส่วนตัวลงไปในค�ำอธิบายต่างๆ ซึง่ นักวิชาการ บางคนเห็นว่าเป็นการผิดหลักการจัดท�ำพจนานุกรม หนึ่งศตวรรษต่อมา ธอมัส บาบิงตัน แมคคอเลย์ กวี นักประวัติศาสตร์ และรัฐบุรุษของอังกฤษ (พ.ศ.2343-2402) ถึงกับประณามจอห์นสันว่าเป็น “นักนิรกุ ติศาสตร์ชนั้ เลว” (“a wretched etymologist”)

ความฝันอันยิ่งใหญ่ ผู้จุดประกายความฝันอันยิ่งใหญ่ที่จะจัดท�ำพจนานุกรมฉบับสมบูรณ์ ทีต่ อ่ มาคือพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด คือ ดร.ริชาร์ด เชเนวิค เทรนช์ เจ้าคณะ แห่งมหาวิหารเวสต์มนิ สเตอร์ ผูแ้ สดงปาฐกถาเมือ่ หัวค�ำ่ วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 ซึ่งเป็นวันกัยฟอว์คส์ (Guy Fawkes Day)* ในการประชุมของ สมาคมภาษาและหนังสือ (Philological Society) ที่หอสมุดลอนดอน หัวข้อปาฐกถาของ ดร. เทรนช์ ในวันนั้นคือ “ความบกพร่องบาง ประการในพจนานุกรมภาษาอังกฤษของเรา” (“Some Deficiencies in Our * กัยฟอว์คส์ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2113 เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องระเบิด ถูกจับได้เนื่องจากวางแผนกับ พวกจะระเบิดรัฐสภา หลังจากถูกทรมานได้ยอมรับสารภาพ และเปิดเผยชื่อผู้ร่วมขบวนการ ทั้งหมด ถูกประหารชีวิตโดยการแขวนคอที่เวสต์มินสเตอร์ เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2149 ทุกวันที่ 5 พฤศจิกายน อังกฤษจะจัดงานเฉลิมฉลอง มีการจุดพลุไฟในงาน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 73

English Dictionaries”) มีผู้เข้าประชุม 60 คน ดร.เทรนช์ได้เสนอหลักเจ็ด ประการในการจัดท�ำพจนานุกรม ที่น่าสนใจส�ำหรับคนทั่วไป คือ • พจนานุกรม คือที่รวมค�ำที่มีใช้อยู่ในภาษา (an inventory of the language)[หลักการข้อนีค้ อื หลักทีผ่ จู้ ดั ท�ำพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ยึดถือ ดังปรากฏในค�ำน�ำพจนานุกรรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 เมื่อพิมพ์ครั้งที่หนึ่ง ดังนี้ “ในเรื่องค�ำนั้นถือกันเป็นหลักว่า พจนานุกรมเป็น ทีร่ วมค�ำทีม่ ีใช้อยู่ในภาษา ดุจทะเบียนส�ำมะโนครัว ซึง่ เป็นทีร่ วบรวมจ�ำนวน พลเมืองของชาติ” แต่ในการจัดท�ำจริง ราชบัณฑิตยสถานดูจะไม่ยึดหลัก การข้อนี้นัก] • พจนานุกรมมิใช่หนังสือแนะน�ำการใช้ค�ำที่ถูกต้อง ผู้จัดท�ำจึงไม่มี หน้าที่เลือกค�ำเพื่อบรรจุในพจนานุกรมโดยพิจารณาว่าเป็นค�ำที่ดีหรือเลว (เช่นที่ซามูเอล จอห์นสัน ท�ำผิดพลาดมาแล้ว) นักจัดท�ำพจนานุกรมเป็น “นักประวัติศาสตร์” มิใช่ “นักวิจารณ์” การตัดสินใจว่าจะบรรจุค�ำใดเข้าใน พจนานุกรมมิใช่หน้าที่ของเผด็จการคนใดคนหนึ่งหรือคณะใดคณะหนึ่ง พจนานุกรมควรเป็น บันทึกค�ำทุกค�ำ ที่ใช้ในช่วงใดช่วงหนึ่ง • หัวใจของพจนานุกรม คือการบันทึกประวัตขิ องค�ำแต่ละค�ำทุกๆ ค�ำ

74 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

บางค�ำอาจใช้มาแต่โบราณและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบนั บางค�ำอาจเป็นค�ำใหม่ และอายุสนั้ อย่างแมลงชีปะขาว (mayfly) บางค�ำอาจใช้ในช่วงเวลาหนึง่ แล้ว ใช้ต่อๆมาจนดูท่าทางว่าจะใช้กันไปตลอด บางค�ำอาจดูท่าทางว่าจะอายุสั้น ค�ำทุกประเภทเหล่านี้ล้วนถือเป็นส่วนหนึ่งของภาษา ไม่ว่าจะเป็นค�ำเก่า ล้าสมัย หรือค�ำใหม่ที่อาจไม่มีอนาคต ข้อส�ำคัญ เมื่อใครก็ตามต้องการจะ ค้นหาค�ำใดก็ตาม จะต้องมีค�ำนั้นอยู่ในพจนานุกรม ไม่เช่นนั้น พจนานุกรม นั้นก็ไร้ความหมาย เพราะเป็นเอกสารที่คนอ้างอิงถึงไม่ได้ • ในการล�ำดับประวัตขิ องค�ำแต่ละค�ำ จ�ำเป็นต้องรูว้ า่ ค�ำนัน้ เริม่ ใช้ครัง้ แรกเมื่อไร แล้วบันทึกก�ำเนิดของค�ำนั้นไว้ ซึ่งในยุคที่ยังไม่มีเครื่องบันทึก เสียง จ�ำเป็นต้องค้นหาให้ได้วา่ ค�ำนัน้ มีผเู้ ขียนไว้ครัง้ แรกเมือ่ ไร แล้วคัดลอก ข้อเขียนตอนนั้นเอาไว้ ต่อจากนั้นจะต้องค้นหาประโยคที่แสดงให้เห็นการ บิดผันหรือเปลี่ยนแปลงความหมายของค�ำแต่ละค�ำ เพิม่ ความละเอียดอ่อน ของความหมายของค�ำหรือบางครั้งอาจกลายความหมายไปตามที่อารมณ์ ของสาธารณชนก�ำหนด แนวคิดดังกล่าวนี้ ซามูเอล จอห์นสันเคยท�ำแล้วแต่เฉพาะเพือ่ อธิบาย ความหมายของค�ำเท่านัน้ ข้อเสนอของ ดร.เทรนช์ตอ้ งการให้หาประวัตโิ ดย ละเอียดของแต่ละค�ำ ซึ่งแปลว่าจะต้องอ่านเอกสารทั้งหมด และคัดลอก

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 75

ข้อความทุกข้อความที่แสดงประวัติของค�ำทุกค�ำเพื่ออ้างอิงถึง จึงเป็นงาน ที่ใหญ่โตมโหฬารและดูไม่มีทางที่จะเป็นไปได้โดยวิธีที่เคยท�ำกันมาก่อน เพราะจะต้องอ่านวรรณกรรมภาษาอังกฤษทัง้ หมด รวมตลอดถึงหนังสือพิมพ์ ทัง้ ทีอ่ อกในลอนดอนและนิวยอร์ค รวมทัง้ นิตยสารและวารสารต่างๆ ส่วนใหญ่ แต่ ดร.เทรนช์ ได้เสนอวิธีการใหม่ นั่นคือ แทนที่จะท�ำงานนี้เฉพาะในวง ผูเ้ ชีย่ วชาญ ก็ให้คดั เลือกทีมงานขนาดใหญ่ประกอบด้วยคนนับร้อยๆ คนเข้า มาช่วยท�ำ โดยท�ำงานในรูปแบบอาสาสมัครทัง้ หมด นัน่ คือต้องให้ประชาชน ได้เข้ามามีสว่ นร่วมอย่างกว้างขวาง หรือเป็นการท�ำงานแบบ “ประชาธิปไตย” โดยแท้จริง ยี่สิบสองปีที่ฝันเกือบสลาย เพียงสองเดือนหลังการประชุมทีห่ อสมุดลอนดอน สมาคมภาษาและ หนังสือตกลงใจเริ่มโครงการจัดท�ำพจนานุกรมฉบับใหม่ โดยมีมติเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2401 ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นบรรณาธิการคนแรกคือ เฮอเบิรต์ โคเลอริดจ์ บุตรชายของ ซามูเอล เทเลอร์ โคเลอริดจ์ กวี นักปรัชญา และนักวิจารณ์ของอังกฤษ (พ.ศ.2315-2377) เฟรเดอริค เฟอร์นิวอลล์ เลขาธิการสมาคมได้ออกหนังสือเชิญชวน อาสาสมัครให้ช่วยงานนี้โดยก�ำหนดแบ่งหนังสือเป็นสามช่วง ที่เชื่อว่ามี พัฒนาการของภาษาแตกต่างกัน

76 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ช่วงแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1793 ถึง 2069 ซึ่งเป็นปีแรกที่ตีพิมพ์ พระคัมภีร์ใหม่ (New Testament) ฉบับภาษาอังกฤษ ช่วงสอง ตั้งแต่หลัง พ.ศ. 2069 ถึง 2217 ซึ่งเป็นปีที่กวีเอกมิลตัน ถึงแก่มรณกรรม ช่วงสาม นับจากหลังปี 2217 จนถึงขณะนั้น งานของอาสาสมัครคือ ให้แจ้งว่าจะช่วยอ่านหนังสือใด อาสาสมัคร จะได้รบั การขอร้องให้ทำ� บัญชีคำ� ทัง้ หมดจากหนังสือทีอ่ า่ น นอกจากนัน้ อาจ จะได้รับการขอร้องให้ตรวจสอบค�ำเฉพาะที่ทีมงานจัดท�ำพจนานุกรมก�ำลัง ให้ความสนใจ อาสาสมัครแต่ละคนจะต้องเขียนบันทึกในแผ่นกระดาษ โดย เขียนค�ำที่ก�ำหนดที่มุมซ้ายบน บรรทัดถัดมาให้เขียนวันเดือนปีที่พิมพ์ หนังสือ ถัดมาเป็นชื่อหนังสือหรือเอกสาร พร้อมหมายเลขฉบับ และเลข หน้า บรรทัดถัดลงไปเป็นประโยคเต็มทัง้ ประโยคทีแ่ สดงการใช้คำ� นัน้ วิธกี าร ดังกล่าวนี้เป็นวิธีการที่นักจัดท�ำพจนานุกรมยังใช้อยู่จนปัจจุบัน โคเลอริดจ์ ได้จัดท�ำ “รังนกกระจอก” ขนาดกว้าง 9 ช่อง สูง 6 ช่อง เพือ่ เตรียมรับเอกสารจากอาสาสมัครได้ 60,000-100,000 แผ่น โดยคาดว่า จะสามารถจัดท�ำพจนานุกรมเล่มแรกออกมาได้ภายในสองปี เพือ่ ให้สามารถ ทยอยพิมพ์ออกจ�ำหน่ายเป็นทุนในการด�ำเนินการต่อไป

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 77

แต่โคเลอริดจ์คาดผิดไปถนัด เพราะแท้จริงแล้วมีเอกสารจากอาสา สมัครส่งมาถึง 6 ล้านฉบับ และเวลาที่คาดไว้ก็ผิดไปกว่าสิบเท่า ปัญหาใหญ่เรือ่ งแรกทีป่ ระสบก็คอื เฮอเบิรต์ โคเลอริดจ์ เสียชีวติ เมือ่ อายุได้แค่ 31 ปี เพียงสองปีหลังจากรับงาน ยังท�ำแค่อักษร A ไปได้ไม่ถึง ครึ่ง โคเลอริดจ์เสียชีวิตเพราะโดนฝนระหว่างเดินทางไปสมาคมแล้วไปนั่ง หนาวสัน่ อยู่ในห้องท�ำงานชัน้ สองที่ไม่มเี ครือ่ งท�ำความอุน่ จนเป็นไข้หวัดใหญ่ ก่อนตายเขาเพ้อว่า “ฉันจะเริ่มเรียนภาษาสันสกฤตพรุ่งนี้” เฟอร์นิวอลล์รับหน้าที่แทนโคเลอริดจ์ เฟอร์นิวอลล์เป็นคนมีความรู้ แต่มีปัญหาในการท�ำงานหลายอย่าง รวมทั้งมีปัญหาความประพฤติส่วนตัว โดยเฉพาะในเรื่องผู้หญิง ท�ำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของผู้คนในวงวิชาการ เสน่ห์ดึงดูดใจให้อาสาสมัครช่วยท�ำงานก็แทบไม่มี อาสาสมัครจ�ำนวนมาก หยุดงานไปเฉยๆ ในปี พ.ศ. 2422 ปีเดียวอาสาสมัครส่งเอกสารคืนเป็น น�้ำหนักถึงสองตัน งานต่างๆ เริ่มอย่างเชื่องช้าและท�ำท่าว่าจะหยุดชงัก ใน ปี พ.ศ. 2411 ข่าวในวารสารที่ติดตามงานของสมาคมอย่างใกล้ชิดบอกกับ ผู้อ่านว่าโครงการนี้คงล้มเหลว อย่างไรก็ตาม ความดีของเฟอร์นวิ อลล์กค็ อื การยอมรับว่าตัวเองไม่มี

78 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คุณสมบัติที่จะท�ำงานนี้ให้ส�ำเร็จ จึงได้พยายามติดต่อคนอื่นๆ ในสมาคมให้ มารับงานนี้ต่อ หนึ่งในจ�ำนวนนั้นคือ เจมส์ ออกัสตัส เฮนรี เมอร์เรย์ ความหวังเริ่มทอแสง เจมส์ เมอร์เรย์ เกิดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2380 ที่เมืองฮาวิค ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆใกล้ชายแดนด้านสกอตแลนด์ ครอบครัวมีอาชีพขายผ้า และตัดเสื้อผ้าขาย เจมส์เป็นคนรักการศึกษาเล่าเรียนมาก แต่ต้องออกจาก โรงเรียนเมื่ออายุเพียง 14 ปี เหมือนเด็กยากจนอื่นๆในอังกฤษเวลานั้น แต่ เจมส์พยายามศึกษาต่อด้วยตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง เมื่ออายุ 15 ปี เขารู้ทั้ง ภาษาฝรั่งเศส อิตาเลียน เยอรมัน กรีก และละติน เมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ งานเป็นผู้ช่วยครูใหญ่ที่โรงเรียนในหมู่บ้าน พออายุ 20 ปี ก็ได้เป็นครูใหญ่ ของสถาบันแห่งหนึ่งในหมู่บ้าน และยังได้เป็นสมาชิกคนส�ำคัญของสถาบัน วิชาการสาขาประจ�ำเมือง สามารถแสดงปาฐกถาในที่ประชุมของสถาบัน และส่งผลงานทางวิชาการไปยังสมาคมวรรณกรรมและปรัชญาอย่างต่อเนือ่ ง แต่แล้วความก้าวหน้าทางวิชาการของเขาเริม่ ชงัก เมือ่ ตัดสินใจแต่งงาน ขณะอายุได้ 25 ปี กับครูสอนดนตรี สองปีต่อมาได้ลูกสาวแต่เสียชีวิตตั้งแต่ แรกเกิด ภรรยาก็ล้มป่วยด้วยวัณโรค แพทย์แนะน�ำให้หนีอากาศหนาวของ แถบนัน้ ไปอยูท่ างตอนใต้ของฝรัง่ เศส แต่รายได้อนั น้อยนิดท�ำให้เจมส์ไปได้แค่

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 79

ลอนดอน โดยต้องทิง้ อาชีพและแวดวงวิชาการทีต่ นเองรักทัง้ หมดเพือ่ ภรรยา ไปเป็นเสมียนทีธ่ นาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ทุกสิง่ ทุกอย่างดูทา่ ทางจะจบสิน้ ทว่าเหตุการณ์หาได้เป็นเช่นนัน้ ไม่ แม้จะต้องท�ำงานประจ�ำทีไ่ ม่ตรงจริต แต่เพียงชั่วไม่กี่เดือน เจมส์ก็เริ่มปรับตัวได้ เขาเริ่มศึกษาภาษาฮินดูสถาน และเปอร์เซียในระหว่างเดินทางไปกลับจากที่ท�ำงาน และได้แสดงปาฐกถา เกี่ยวกับเรื่องนี้ในที่ประชุมทางวิชาการด้วย ไม่นานภรรยาของเจมส์กเ็ สียชีวติ หลังจากนัน้ หนึง่ ปีเขาแต่งงานใหม่ กับสตรีจากครอบครัวฐานะดีและสนใจวรรณคดี แม่ของภรรยาเคยเรียน หนังสือกับชาร์ลอต บรองเต นักประพันธ์สตรีเรืองนามของอังกฤษ ภรรยา ใหม่ของเจมส์จงึ เป็นผูท้ เี่ หมาะสมกับเขาอย่างยิง่ ทัง้ คูม่ ลี กู ด้วยกันถึง 11 คน เมือ่ อายุได้ 30 ปี เจมส์ขอสมัครเข้าท�ำงานในพิพธิ ภัณฑ์องั กฤษ โดย ได้บรรยายความรอบรู้ไว้มากมายในใบสมัคร แต่ก็น่าประหลาดที่ทาง พิพิธภัณฑ์ไม่รับเขาเข้าท�ำงาน แม้ไม่จบปริญญา แต่ผลงานคุณภาพสูงจ�ำนวนมากท�ำให้เขาได้รับ คัดเลือกให้เป็นสมาชิกสมาคมภาษาและหนังสือตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2412 เมือ่ อายุ

80 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ได้ 32 ปี ขณะนั้นเขาได้ลาออกจากธนาคารไปท�ำงานที่เขารักคือเป็นครูที่ มิลล์ฮิลล์ ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมมีชื่อในกรุงลอนดอน ตอนที่เฟอร์นิวอลล์ ทาบทามให้เจมส์รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ด เขา มีอายุเพียง 40 ปี ซึง่ นับว่ายังน้อยส�ำหรับงานเช่นนัน้ เขาได้รบั การชักชวนให้ ลองท�ำตัวอย่างค�ำทีจ่ ะปรากฏในพจนานุกรมเพือ่ เสนอให้สำ� นักพิมพ์ออกซ์ฟอร์ด พิจารณา เขาเลือกค�ำสี่ค�ำคือ arrow carouse castle และ persuade ส่งไป ให้ออกซ์ฟอร์ดเมื่อปลายฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ.2420 แต่ทางส�ำนักพิมพ์ ไม่สนใจ เฟอร์นิวอลล์จึงลองติดต่อส�ำนักพิมพ์แห่งใหม่ ได้แก่ ส�ำนักพิมพ์ แมคมิลแลน ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และที่อื่นๆ แต่ไม่ได้รับ ความสนใจอย่างจริงจังจากที่ใดๆ คณะผูแ้ ทนของส�ำนักพิมพ์ออกซ์ฟอร์ดเอง วิจารณ์ตัวอย่างค�ำในพจนานุกรมที่เจมส์จัดท�ำเสนอว่า เจมส์ยังต้องท�ำการ บ้านมากกว่านั้น รวมทั้งไม่ชอบรูปแบบวิธีการออกเสียงที่เสนอ และเสนอ ให้พจิ ารณาว่าควรตัดส่วนทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ งทางนิรกุ ติศาสตร์ออกหรือไม่ เพราะ ส�ำนักพิมพ์เองได้พิมพ์พจนานุกรมนิรุกติศาสตร์แยกเล่มออกจ�ำหน่ายแล้ว ในทีส่ ดุ เจมส์ เมอร์เรย์ได้รบั เชิญให้ไปพบคณะผูแ้ ทนของออกซ์ฟอร์ด เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2421 เป็นการพบกันครั้งแรกโดยต่างเกร็งเข้าหากัน ทัง้ สองฝ่าย แต่เมือ่ พบกันจริงๆ ต่างพึงพอใจซึง่ กันและกันจนตกลงหลักการ กันได้และมีการดื่มฉลองกันอย่างง่ายๆ แต่การเจรจาในรายละเอียดของข้อ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 81

ตกลงต้องใช้เวลาอีกปีเศษ จึงเซ็นสัญญากันได้เมือ่ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2422 รวมเวลาเกือบ 22 ปี นับจากวันที่ ดร. เทรนช์ เสนอความคิดนีใ้ นการแสดงปาฐกถา ที่หอสมุดลอนดอน ในชั้นต้นคาดว่าพจนานุกรมจะจัดพิมพ์ในรูปเล่มขนาดแปดหน้ายก หนาประมาณเจ็ดพันหน้า แบ่งเป็นสี่เล่ม คาดว่าจะใช้เวลาจัดท�ำประมาณ สิบปี แต่เหนือความคาดคิดของทุกคน พจนานุกรมทีท่ ำ� ออกมามีความหนา มากกว่านั้นมาก และใช้เวลานับจาก เจมส์ เมอร์เรย์ รับเป็นบรรณาธิการ รวมถึง 50 ปี รวมเวลานับตั้งแต่ต้นกว่า 70 ปี เจมส์ เมอร์เรย์ ท�ำงานนี้อยู่ ถึง 36 ปี จนเสียชีวิตด้วยโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ขณะอายุได้ 78 ปี 5 เดือน มีผู้รับเป็นบรรณาธิการต่อจากเขา 3 คน คือ เฮนรี แบรดเลย์ วิลเลียม อเลกซานเดอร์ เครกี และ ซี.ที.อันยันส์

งานอันยิ่งใหญ่ หลังเซ็นสัญญาไม่กี่วัน เจมส์ เมอร์เรย์เริ่มต้นลงมือเตรียมงานสอง อย่าง คือ ปรับปรุงส�ำนักงานส�ำหรับงานจัดท�ำพจนานุกรมทีโ่ รงเรียนมิลล์ฮลิ ล์ เรียกว่า หอคัมภีร์ (Scriptorium) และเขียนจดหมายสี่หน้ากระดาษผ่านสื่อ และส่งตรงไปยังที่ต่างๆ เชิญชวนอาสาสมัครให้ช่วยกันท�ำงานนี้ต่อ เพราะ “ต้องการความช่วยเหลือจากผูอ้ า่ นทัง้ ในบริเตนใหญ่ อเมริกา และอาณานิคม

82 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ของอังกฤษทัว่ โลก ให้มาช่วยกันท�ำงานทีเ่ ริม่ ต้นด้วยศรัทธาอันแรงกล้าเมือ่ ยี่สิบปีก่อนให้ส�ำเร็จ โดยขอให้อาสาสมัครช่วยกันอ่านและสกัดข้อความที่ ต้องการจากหนังสือที่ยังไม่ได้อ่าน” ส�ำหรับเอกสารที่อาสาสมัครส่งมาแล้ว ก่อนหน้านั้น และเอกสารอื่นๆ ที่ เจมส์ เมอร์เรย์ รับจากบรรณาธิการคน ก่อนมีน�้ำหนักถึงสองตัน ห้าปีเศษหลังจากนั้น หลังจากพจนานุกรมเล่มแรกได้ตีพิมพ์ออก จ�ำหน่ายได้ราวหกเดือน เมอร์เรย์ ได้ย้ายส�ำนักงาน หรือ “หอคัมภีร์” เข้าไป อยู่ในออกซ์ฟอร์ด โดยภรรยาและลูกทั้งสิบเอ็ดคน (ชายหกหญิงห้า) ย้าย เข้าไปอยู่ด้วย เพื่อให้มีเวลาทุ่มเทท�ำงานได้เต็มที่ รังนกกระจอกได้ท�ำเพิ่ม เป็น 1,029 ช่อง จากเดิมสมัยโคเลอริดจ์ ซึ่งมีเพียง 54 ช่อง แต่ก็ยังไม่พอ ต้องมีชั้นส�ำหรับเอกสารเพิ่มขึ้นอีกเป็นจ�ำนวนมาก งานจัดท�ำพจนานุกรมจะท�ำอย่างเป็นระบบ ดังนี้ ขั้นตอนแรก หนึ่งในทีมงานจะตรวจสอบเอกสารที่ส่งมาจากอาสา สมัครอย่างคร่าวๆ ว่า ข้อความทีค่ ดั ลอกมานัน้ สมบูรณ์และตัวสะกดถูกต้อง ขัน้ ตอนทีส่ อง เอกสารแต่ละแผ่นจะถูกแยกเป็นกลุม่ ๆตามล�ำดับอักษร งานนี้ลูกๆของเมอร์เรย์ที่เริ่มรู้หนังสือและพอแยกค�ำได้จะได้รับค่าจ้าง สัปดาห์ละหกเพนนีให้ท�ำงานนี้วันละครึ่งชั่วโมง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 83

ขัน้ ตอนทีส่ าม ค�ำทีค่ ดั ไว้แต่ละค�ำจะถูกเจ้าหน้าทีแ่ ยกไปตามประเภท เช่น เป็นค�ำนาม คุณศัพท์ หรือค�ำกริยา เป็นต้น ขั้นตอนที่สี่ ข้อความที่รวบรวมไว้ของแต่ละค�ำจะถูกน�ำมาเรียงตาม ล�ำดับเวลาที่ปรากฏในเอกสารต่างๆ ขั้นตอนที่ห้า ผู้ช่วยบรรณาธิการจะท�ำหน้าที่แยกย่อยความหมายที่ แตกต่างของแต่ละค�ำ ในขั้นตอนนี้อาจจัดท�ำร่าง นิยามศัพท์ (definition) ขึ้น งานนี้เป็นงานละเอียดอ่อน ต้องการความรู้ ความสามารถพิเศษ ขัน้ ตอนทีห่ ก บรรณาธิการจะเป็นผูต้ รวจสอบและอาจจัดหรือแยกย่อย เอกสารเหล่านีใ้ หม่ตามทีเ่ ห็นว่าเหมาะสม แล้วเขียนเพิม่ เรือ่ งทีม่ าและความหมาย ของค�ำ รวมทัง้ การออกเสียง ซึง่ เป็นเรือ่ งทีย่ ากและมีความเห็นโต้แย้งได้มาก จากนัน้ จะคัดเลือกข้อความอ้างอิง (quotation) เป็นขัน้ สุดท้าย ซึง่ โดยหลักการ จะเลือกอย่างน้อยหนึง่ ประโยคจากงานวรรณกรรมในแต่ละช่วงศตวรรษ เว้นแต่บาง ค�ำทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงโดยรวดเร็วก็อาจเลือกข้อความอ้างอิงมากกว่านัน้ ขั้นตอนที่เจ็ด เป็นขั้นตอนสุดท้าย บรรณาธิการจะเป็นผู้เขียนนิยาม ศัพท์แต่ละค�ำ ทีก่ ระชับ (concise) ดูคงแก่เรียน (scholarly) ถูกต้อง (accurate) และงดงามน่ารัก (lovingly elegant) ส่งไปเข้าโรงพิมพ์ พจนานุกรมเล่มแรกตีพิมพ์ออกมาภายหลังเมอร์เรย์เข้ารับต�ำแหน่ง บรรณาธิการเกือบห้าปี ท�ำได้แค่อกั ษร A ถึง Ant เป็นหนังสือหนา 352 หน้า

84 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

จ�ำหน่ายเล่มละ 12 ชิลลิง 6 เพนนี ส�ำหรับในอเมริกาจัดพิมพ์โดยส�ำนักพิมพ์ แมคมิลแลนในนิวยอร์ค จ�ำหน่ายเล่มละ 3.25 ดอลลาร์ จากผลงานอันยิง่ ใหญ่ชนิ้ นี้ ท�ำให้เจมส์ เมอร์เรย์ ได้รบั ปริญญาดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิจ์ ากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และต่อมาได้รบั พระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็นเซอร์ เมอร์เรย์ คาดว่าจะสามารถทยอยพิมพ์งานนีอ้ อกมาได้ปลี ะสองเล่ม จึงต้อง เขียนนิยามศัพท์ให้ได้วนั ละ 33 ค�ำ แต่ความจริงแต่ละค�ำ เช่น ค�ำว่า approve ค�ำ เดียว เมอร์เรย์ใช้เวลาถึงค่อนวัน จึงไม่แปลกที่เมอร์เรย์คาดว่าพจนานุกรม จะเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอีกสิบเอ็ดปี แต่ความจริงต้องใช้เวลาอีกถึงสี่สิบสี่ปี บุรุษลึกลับแห่งโครวธอร์น หลังจากประกาศเชิญชวนอาสาสมัครไม่นานนัก เจมส์ เมอร์เรย์ ได้ รับจดหมายขอเป็นอาสาสมัครจากนายแพทย์วิลเลียม เชสเตอร์ ไมเนอร์ จดหมายลงที่อยู่ว่า“บรอดมัวร์ โครวธอร์น เบอร์คส์” ช่วง 17-18 ปีหลังจากนัน้ คณะผูจ้ ดั ท�ำพจนานุกรมได้รบั เอกสารจาก นายแพทย์ ไมเนอร์จ�ำนวนมากมาย นับร้อยชิ้นในแต่ละสัปดาห์ หรือ ประมาณ 20 ชิ้น ในแต่ละวัน เอกสารทุกชิ้นเขียนอย่างประณีตและชัดเจน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 85

จากบันทึกค�ำปราศรัยเรื่องการจัดท�ำพจนานุกรมของเซอร์เมอร์เรย์ ที่แสดง ณ สมาคมภาษาและหนังสือเมื่อปี พ.ศ. 2440 เซอร์เมอร์เรย์กล่าว ว่า “ปีที่แล้วเราได้รับเอกสารจากอาสาสมัครราว 15,000-16,000 ชิ้น ครึ่ง หนึง่ มาจากนายแพทย์ไมเนอร์…. ซึง่ ช่วยอ่านหนังสือ 50 หรือ 60 เล่ม ส่วน ใหญ่เป็นหนังสือหายากของศตวรรษที่ 16-17 ผลงานของเขาดูจะล�ำ้ หน้าไป กว่างานจัดท�ำพจนานุกรมที่ก�ำลังท�ำอยู่” เมือ่ ผูจ้ ดั ท�ำพจนานุกรมก�ำลังจัดท�ำค�ำว่า art ผูจ้ ดั ท�ำได้เขียนจดหมาย ติดต่อไปยังอาสาสมัครหลายคนรวมทั้งนายแพทย์ไมเนอร์ ให้ช่วยตรวจค้น ความหมายของค�ำดังกล่าวทีอ่ าจมีความหมายอย่างอืน่ นอกเหนือจากทีพ่ บ แล้ว 16 ความหมาย หรือมีข้อความอ้างอิงที่เก่ากว่าที่มีอยู่แล้ว ปรากฏว่า มีจดหมายตอบกลับไปยังคณะบรรณาธิการรวม 18 ฉบับ ในจ�ำนวนนัน้ 17 ฉบับ คัดลอกประโยคมาได้เพียงฉบับละ 1-2 ประโยค แต่นายแพทย์ไมเนอร์ส่ง ไปถึง 27 ประโยค ยังความประหลาดใจให้แก่คณะผู้ช่วยบรรณาธิการเป็น อย่างมากว่าอาสาสมัครผูน้ ี้ นอกจากเป็นคนพิถพี ถิ นั แล้ว ยังเป็นคนทีม่ คี วาม รู้ลึกซึ้ง นับเป็นอาสาสมัครที่หายากมาก เอกสารที่หลั่งไหลเข้ามาจ�ำนวนมาก ท�ำให้ไม่มีใครให้ความสนใจต่อ ที่อยู่ที่ค่อนข้างแปลกในจดหมายของนายแพทย์ไมเนอร์ เซอร์เมอร์เรย์เล่า

86 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ในภายหลังว่า “ผมคิดว่าเขาอาจจะเป็นแพทย์ที่มีรสนิยมทางวรรณกรรม และมีเวลาว่างค่อนข้างมาก หรืออาจเป็นแพทย์ทเี่ กษียณอายุแล้วและไม่ได้ ท�ำงานอื่นอีก” จนกระทัง่ วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2440 ซึง่ เป็นวันจัดงานเฉลิม ฉลองใหญ่ที่ ควีนส์คอลเลจของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด เนือ่ งจากงานจัดท�ำ พจนานุกรมคืบหน้ามาด้วยดี ทางมหาวิทยาลัยเห็นสมควรจัดงานเพือ่ เป็นเกียรติ แก่บรรณาธิการ โดยปีนั้นเป็นปีเฉลิมฉลองวัชรสมโภช (Diamond Jubilee) หรือฉลองครบรอบ 60 พรรษาแห่งการครองราชสมบัตขิ องสมเด็จพระราชินี วิคตอเรียด้วย ในงานมีอาหารและเครือ่ งดืม่ ชัน้ ดีเยีย่ มบริการ แขกแต่ละคนแต่ง ตัวประดับประดาเต็มยศ ในงานนี้อาสาสมัครคนส�ำคัญๆ ที่ช่วยงานจัดท�ำ พจนานุกรมได้รบั เชิญเป็นแขกด้วย หนึง่ ในจ�ำนวนนัน้ คือ นายแพทย์ไมเนอร์ แต่ปรากฏว่า นายแพทย์ไมเนอร์ ไม่ได้ไปร่วมงานด้วย ยังความประหลาดใจให้ แก่หลายๆ คน เพราะโครวธอร์น ทีเ่ ป็นทีอ่ ยูข่ องนายแพทย์ไมเนอร์อยูห่ า่ งจาก ออกซ์ฟอร์ดไม่ถงึ สีส่ บิ ไมล์ ใช้เวลาเดินทางโดยรถไฟเพียงหกสิบนาที ดังทีเ่ ซอร์ฟรานซิส เบคอน ได้รวบรวมค�ำจากคัมภีรแ์ ละเขียนไว้เมือ่ ปี พ.ศ. 2167 ว่า “ถ้าภูเขาไม่ไปหาพระมหะหมัด พระมหะหมัดก็ตอ้ งไปหาภูเขา” ดร.เมอร์เรย์ ตัดสินใจขอไปพบ นายแพทย์ไมเนอร์ทโี่ ครวธอร์น ด้วยตนเอง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 87

ดร.เมอร์เรย์ จึงทราบว่า บรอดมัวร์ คือสถานพักฟืน้ ส�ำหรับผูว้ กิ ลจริต ทีก่ อ่ อาชญากรรม หรือคุกส�ำหรับนักโทษทีว่ กิ ลจริต ซึง่ ตัง้ อยูท่ หี่ มูบ่ า้ นโครวธอร์น ในอ�ำเภอเบอร์คไชร์ และนายแพทย์ไมเนอร์คือผู้ต้องขังหมายเลข 742 ซึ่ง ถูกศาลตัดสินให้ต้องคุมขังตลอดชีวิต ชีวิตที่ผกผันของผู้ต้องขังจากแดนไกล นายแพทย์ไมเนอร์เกิดทีศ่ รีลงั กา เมือ่ เดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2377 อายุ มากกว่า ดร.เมอร์เรย์สามปีเศษ ในครอบครัวมิชชันนารีอเมริกัน เมื่ออายุ ได้สบิ สีป่ พี อ่ แม่สง่ กลับไปเรียนหนังสือทีอ่ เมริกา จนจบการศึกษาแพทย์จาก มหาวิทยาลัยเยล เข้ารับราชการในกองทัพบกสหรัฐในต�ำแหน่งผู้ช่วย ศัลยแพทย์ ขณะนั้นอเมริกาอยู่ในช่วงสงครามกลางเมือง ความโหดร้าย ทารุณของสงครามก่อความกระทบ กระเทือนต่อจิตใจของศัลยแพทย์หนุม่ มากมาย เชื่ อว่ า เหตุ การณ์ ที่ ส ร้ า ง บาดแผลทางใจให้ แ ก่ น ายแพทย์ ไมเนอร์เป็นอย่างมากคือ การทีต่ อ้ งท�ำ หน้าที่ตีตราทหารที่หนีทัพจนในที่สุด ป่วยเป็นโรคจิต อาการทางจิตของเขา รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนต้องเข้าพักรักษา

88 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ตัวในโรงพยาบาลโรคจิตและถูกปลดประจ�ำการ เมือ่ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2414 นายแพทย์ไมเนอร์เดินทางจากบอสตัน มุ่งหน้าสู่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาตั้งใจจะไปพักผ่อนในยุโรปสัก หนึ่งปีและหวังว่าจะหายจากโรค เช้ามืดวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2415 ในย่านแลมเบธ ซึ่งเป็นถิ่น คนยากจนในกรุงลอนดอน ไมเนอร์ก่ออาชญากรรมโดยการยิงกรรมกรชื่อ จอร์จ เมอร์เรตต์ ถึงแก่ความตาย เพราะประสาทหลอนว่ามีคนจะเข้าไป ท�ำร้าย จึงตามออกมาแล้วยิงใส่เหยื่อที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ที่น่าเศร้าอย่างมาก ก็คือ จอร์จ ผู้ตายมีลูกถึงเจ็ดคนและเมียก�ำลังอุ้มท้องอยู่อีกหนึ่งคน ศาลตัดสินว่าจ�ำเลยไม่ผิด แต่วิกลจริตและเป็นอันตรายต่อสังคม ให้ ส่งเข้าสถานพักฟืน้ ส�ำหรับคนวิกลจริตทีก่ อ่ อาชญากรรม “จนกว่าจะเป็นทีพ่ อ พระทัยของสมเด็จพระราชินี” (“until Her Majesty’s Pleasure be known”) นายแพทย์ ไมเนอร์มีลักษณะคุ้มดีคุ้มร้าย อาการส�ำคัญของเขาคือ ระแวงว่าจะมีคนเข้าไปท�ำร้ายในยามวิกาล แต่โดยทัว่ ไปเขาจะดูเหมือนปกติ เงินบ�ำนาญจากกองทัพท�ำให้เขาอยู่คอ่ นข้างสบายในสถานพักฟื้น หลังจาก

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 89

ปรับตัวระยะหนึ่งเขาได้อยู่ในห้องสองห้อง พื้นเพที่มีการศึกษาสูงท�ำให้เขา สามารถหาความเพลิดเพลินได้จากการอ่านหนังสือ และเขียนรูป เขาสะสม หนังสือจ�ำนวนมากไว้ในห้องหนึ่ง ในหิ้งหนังสือที่สูงจนจรดเพดาน เมื่อได้ ทราบข่าวการรับอาสาสมัครเพื่อช่วยท�ำพจนานุกรมนั้น นายแพทย์ไมเนอร์ ถูกคุมขังมาแล้วแปดปี เวลาว่างทีม่ ากมายประกอบกับความคงแก่เรียนท�ำให้ เขาสามารถท�ำประโยชน์แก่ทีมงานจัดท�ำพจนานุกรมได้มากมาย เป็นเวลา ยาวนานประมาณ 30 ปี บางช่วงอาการวิกลจริตของเขาก�ำเริบขึน้ จนท�ำงาน ไม่ได้ ทางทีมผูจ้ ดั ท�ำพจนานุกรมพากันคิดแต่เพียงว่าเขาคงหมดความสนใจ งานนี้ไปแล้ว ช่วงหลังในสถานพักฟื้น อาการของเขารุนแรงมากถึงขั้นตัดอวัยวะ เพศตัวเองทิง้ บัน้ ปลายชีวติ เขาได้รบั พิจารณาว่าน่าจะไม่เป็นภัยต่อผูอ้ นื่ แล้ว และด้วยการช่วยเหลือของน้องชาย เขาได้รับการปลดปล่อยจากบรอดมัวร์ กลับไปอยู่ภายใต้การดูแลในสหรัฐอเมริกาบ้านเกิด จนเสียชีวิตเมื่อวันศุกร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2463 ด้วยโรคปอดบวม รวมอายุได้ 85 ปี 9 เดือน หนังสือของเขาที่สะสมไว้ได้ยกให้แก่เลดีเมอร์เรย์ ภริยาของเซอร์เมอร์เรย์ ซึ่งต่อมาตกเป็นสมบัติของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด โรคของนายแพทย์ไมเนอร์นนั้ นายแพทย์แฮมมอนด์แห่งกองทัพบก

90 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สหรัฐวินิจฉัยไว้ครั้งแรก เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2411 ว่าเป็นโรค โมโนแมเนีย (Monomania) ซึง่ เป็นค�ำกว้างๆ หมายถึงโรคจิตทีม่ อี าการหมกมุน่ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ขณะนั้นนายแพทย์ ไมเนอร์อายุได้ 34 ปี ประมาณสิบปี ต่อมามีบนั ทึกในเวชระเบียนทีส่ ถานพักฟืน้ บรอดมัวร์ แห่งโครวธอร์นว่า “เขา สามารถพูดคุยในเรื่องต่างๆ ได้อย่างมีเหตุมีผลเป็นส่วนมาก เขาสนุกกับ งานท�ำสวนเล็กๆ น้อยๆ แต่บางวันก็อารมณ์ไม่ดีและเก็บตัว” เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 จิตแพทย์ดาวิเดียน ซึง่ ดูแลเขาที่โรงพยาบาลจิตเวช เอลิซาเบธ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้ให้การวินิจฉัยโรคที่ จ�ำเพาะมากขึ้นว่าเป็นโรคดีเมนเชีย ปรีคอกซ์ (Dementia praecox) ซึ่งใน ปัจจุบันคือโรคจิตเภท (Schizophrenia) โรคที่นายแพทย์ไมเนอร์เป็นน่าจะ เป็นชนิดหวาดระแวง (paranoid type) โรคนี้เป็นแล้วระดับเชาวน์ปัญญา (intelligent หรือ intellect) มักไม่เสื่อม แต่สติมักเสื่อมเป็นระยะ ส�ำหรับเอลิซา เมอร์เรตต์ ภรรยาหม้ายของจอร์จ ทางสถานทูตอเมริกนั ในกรุงลอนดอนได้มอบเงินช่วยเหลือแก่เธอเพื่อไถ่บาปให้คนของประเทศ ตนที่ก่อโศกนาฏกรรมขึ้น และพระในย่านแลมเบธก็ได้จัดงานกุศลหาเงิน ช่วยเหลือเธอด้วย นายแพทย์ ไมเนอร์เองได้ขอพบเอลิซาในภายหลังและ มอบเงินช่วยอุปการะเธอ เอลิซาไปเยี่ยมนายแพทย์ ไมเนอร์เป็นครั้งคราว โดยรับเป็นธุระช่วยหาซือ้ หนังสือไปให้ดว้ ย น่าเสียดายทีม่ ติ รภาพของคนทัง้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 91

สองไม่ยืนยาวนักเพราะต่อมาเอลิซาหันไปพึ่งสุราและขาดการติดต่อไป ในพจนานุกรมออกซ์ฟอร์ดฉบับพิมพ์ครัง้ แรก ในบรรดารายชือ่ อาสา สมัครที่ได้รบั การขอบคุณจากบรรณาธิการ มีชอื่ ทีอ่ ยูข่ องบุคคลคนหนึง่ รวม อยู่ด้วยเขียนไว้สั้นๆว่า “ดร.ดับเบิลยู.ซี.ไมเนอร์ แห่งโครวธอร์น” เอกสารที่ใช้ในการเรียบเรียง 1. Simon Winchester, The Professor and the Madman, Harper Collins Publishers, Inc. New York 1999 2. The New Encyclopedia Britannica, Vol.9 Encyclopedia Britannica, Inc.1997 3. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 พิมพ์ครั้งที่ 1 บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ กรุงเทพฯ 2546 4. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 พิมพ์ครั้งที่ 9 โรงพิมพ์ศูนย์การทหารราบ กรุงเทพฯ 2511 5. นพพร สุวรรณพานิช, พจนานุกรมศัพท์นอกต�ำรา พจนานุกรม ฉบับสัปดน อังกฤษ-ไทย ส�ำนักพิมพ์แสงดาว กรุงเทพฯ 2541 6. Encyclopedia Americana, Vol. 7, 11, 18, Grolier Interna tional, Inc. 1980

92 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 93

ล�ำดับเหตุการณ์ส�ำคัญ กุมภาพันธ์

2380

เจมส์ เมอร์เรย์ เกิด

5 พฤศจิกายน 2400

ดร.ริชาร์ด เชเนวิค เทรนช์ แสดงปาฐกถา เรือ่ งเกีย่ วกับพจนานุกรมทีห่ อสมุดลอนดอน

7 มกราคม 2401

สมาคมภาษาและหนังสือ มีมติให้จัดท�ำ พจนานุกรมตามแนวคิดของ ดร.เทรนช์



เฟรเดอริค เฟอร์นิวอลล์ เลขาธิการสมาคม รับหน้าที่ต่อ

26 เมษายน 2421

เจมส์ เมอร์เรย์ ได้รับเชิญให้ไปพบเจรจา กับคณะผู้แทนของออกซ์ฟอร์ด

เฮอเบิร์ต โคเลอริดจ์ บรรณาธิการคนแรก เสียชีวิตหลังรับงานได้เพียงสองปี

1 มีนาคม 2422

ออกซ์ฟอร์ดเซ็นสัญญาโครงการจัด ท�ำพจนานุกรม

29 มกราคม 2427

พจนานุกรมเล่มแรก พิมพ์ออกจ�ำหน่าย

12 ตุลาคม 2440

งานเลี้ยงฉลองใหญ่ที่ควีนส์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด

26 กรกฎาคม 2458

เซอร์เจมส์ เมอร์เรย์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคเยือ่ หุ้มปอดอักเสบ ขณะ อายุได้ 78 ปี 5 เดือน

19 เมษายน 2471

พจนานุกรมฉบับพิมพ์ครั้งแรกเสร็จสมบูรณ์



พ.ศ. 2532 พิมพ์ครั้งที่สอง



พ.ศ. 2535 ฉบับซีดีรอมออกจ�ำหน่าย

94 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 95

งพิการ า ่ ร น ใ ะ ย ิ ร ฉ จ ั อ : ง ้ ิ ก ์ ว อ ฮ สตีเฟ่น จากมุมมองของ “คู่ชีวิต” เรื่องเล่าจากหนังสือ ่น ฮอว์กิ้ง” ฟ เ ี ต ส ละ แ น ั ฉ ต ิ ว ี ช าล ก ต น ั ”สู่อน

คนไทยที่ผ่านระบบการศึกษามาพอสมควร จะรู้จัก สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้ยิ่งใหญ่ของโลกปัจจุบัน ในฐานะ “อัจฉริยะในร่างพิการ” เพราะเป็นผูพ้ กิ ารเกือบทัง้ ร่างกายจากโรคทีเ่ รียกว่าโรคของเซลล์ประสาทสัง่ งานส่วนล่าง (Low Motor Neurone Disease : LMN) เกิดจากเส้นประสาท สั่งงานกล้ามเนื้อของร่างกายแทบทุกส่วนเสื่อมจนสั่งงานกล้ามเนื้อไม่ได้ ท�ำให้ร่างกายเป็นอัมพาตไปแทบทุกส่วน ในขณะที่ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve) ยังดี ซึ่งจะท�ำให้ยังคงมีความรู้สึกของผิวหนังเป็นปกติ

96 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ทั้งเจ็บ ร้อน แสบ คัน เป็นต้น โรคนี้มักเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรค ลู เกห์ริก (Lu Gehrig Disease) ตามชื่อของนักเบสบอลอเมริกันคนหนึ่งที่ป่วยและ เสียชีวติ จากโรคนีต้ งั้ แต่อายุยงั น้อย ท�ำให้โรคนีซ้ งึ่ พบน้อยมากแต่เป็นทีร่ จู้ กั อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา เพราะคนอเมริกันสมัยนั้นล้วน รู้จักนักเบสบอลผู้นี้ เนื่องจากเบสบอลเป็นกีฬายอดนิยมถึงขั้นเป็นกีฬา ประจ�ำชาติของสหรัฐ สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง เริ่มป่วยด้วยโรคนี้ตั้งแต่อายุแค่ 20 ต้นๆ แพทย์ วินจิ ฉัยแล้วท�ำนายว่าเขาคงจะมีอายุตอ่ ไปได้อกี ไม่เกิน 2 ปี แต่เขาอยูม่ าได้ จนอายุย่างเข้า 70 ปี แล้ว โดยอาการของโรคเริ่มจากเส้นประสาทส่วนล่าง ของล�ำตัวคือขา ท�ำให้เริ่มมีอาการเดินเซ และหกล้มง่าย ต่อจากนั้นจะลาม สูงขึน้ ไปเรือ่ ยๆ อย่างช้าๆ จนในทีส่ ดุ เมือ่ ไปถึงบริเวณทรวงอกจะท�ำให้หายใจ โดยกล้ามเนื้อทรวงอกไม่ได้เพราะกล้ามเนื้อจะยกไม่ขึ้น เมื่อลามขึ้นไปถึง ล�ำคอ คอก็จะพับเพราะสมองไม่สามารถสัง่ งานกล้ามเนือ้ ให้ลำ� คอตัง้ ตรงไว้ ได้ ตามปกติโรคมักหยุดแค่ระดับไขสันหลังไม่ลามขึ้นสมอง เพราะเซลล์ สมองมีลักษณะแตกต่างจากเซลล์ประสาทสั่งงาน โรคจึงมักไม่ท�ำลายเนื้อ สมอง สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง โชคดีที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี จึงด�ำรงชีวิต มาได้แม้รา่ งกายจะพิการแทบทุกส่วน เสียงพูดก็แทบจะไม่ได้ยนิ และมีเพียง บางคนเท่านั้นที่ฟังรู้เรื่อง แต่สมองยังปกติ คงความเป็นอัจฉริยะไว้ได้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 97

โดยความเป็นอัจฉริยะของสตีเฟ่นนัน้ เชือ่ กันว่าเลอเลิศระดับเดียวกับอัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ การที่สตีเฟ่นรักษาชีวิตและสมองอันเลอค่าเอาไว้ได้ ผู้มึส่วนส�ำคัญ อย่างยิ่งคือ เจน ภรรยาคนแรกของเขา ซึ่งใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ถึง 25 ปี ก่อน จบลงด้วยโศกนาฏกรรมคือต้องหย่าขาดจากกัน สตีเฟ่น ฮอว์กิ้ง เป็นที่รู้จักทั่วโลก จากหนังสือที่โด่งดังของเขาคือ “ประวัติย่อของกาลเวลา” (A Brief History of Time) ซึ่งติดอันดับขายดี ยาวนานกว่าทศวรรษ ขายได้กว่าสิบล้านเล่มทัว่ โลก และมีการแปลเป็นภาษา ต่างๆ มากมาย ภาษาไทยมีการแปลออกมาหลายส�ำนวน เริม่ จากฉบับทีน่ กั ดาราศาสตร์คนส�ำคัญของไทย คือ ดร.นิพนธ์ ทรายเพชร แปลออกมาเป็น คนแรก หนังสือเล่มนีอ้ ธิบายเรือ่ งจักรวาลซึง่ เป็นเรือ่ งเข้าใจยาก โดยใช้ภาษา ง่ายๆ และเข้าใจได้ง่าย เพราะเขียนโดยอัจฉริยะที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง และเข้าใจเรื่องราวในระดับทะลุปรุโปร่ง สามารถเขียนให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ดีพอสมควร โดยทั้งเล่มมีสมการที่น�ำมาใช้อธิบายเพียงสมการเดียวเท่านั้น คือสมการเปลีย่ นโลก ของอัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ (E = mc2) และมีภาพประกอบ อีกเพียงไม่กี่ภาพ ต่อมาฮอว์กิ้ง ได้เขียนอธิบายเรื่องเดียวกันนี้ใหม่ในรูป แบบการเขียนอีกอย่างหนึ่งในชื่อ “จักรวาลในเปลือกนัท” (Universe in the

98 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

Nutshell) ซึง่ แปลเป็นภาษาไทยแล้วเช่นกัน หนังสือเล่มนีเ้ นือ้ หาสาระส�ำคัญ เหมือนกับ “ประวัติย่อของกาลเวลา” แต่ใช้รูปแบบการเขียนแตกต่างกัน โดยการใช้ตาราง ภาพ และค�ำอธิบายแยกหลายเรื่องออกไปไว้ใน “กล่อง” (Box) ต่างหาก คล้ายใส่วงเล็บข้อความยาวมากๆ แทนที่จะเขียนต่อเนื่อง กันไป เพื่อท�ำให้เข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น ในหนังสือทัง้ สองเล่มของฮอว์กงิ้ มีการสรุปประวัตยิ อ่ ของฮอว์กงิ้ เอา ไว้ ช่วยให้ผู้อ่านรู้จักเขาโดยสังเขป ซึ่งมักท�ำให้ผู้อ่านเกิดปัญหาตามมา มากมายว่า อาการป่วยของฮอว์กิ้งเป็นอย่างไร มากน้อยแค่ไหน เขาดูแล ตัวเองอย่างไร ใครดูแลเขาบ้าง มีปัญหามากน้อยแค่ไหน ฯลฯ จึงน่ายินดี ทีเ่ จน ฮอว์กงิ้ ภรรยาคนแรกของเขาได้เขียน เล่าเรื่องราวเหล่านี้อย่างละเอียดละออ ชวน ติดตาม เป็นหนังสือเล่มโต ในภาษาไทยเป็น เล่มขนาด 16 หน้ายกขยาย หนาถึง 624 หน้า ซึ่งหลายคนเห็นแล้วก็อาจท้อ แต่ผู้ สนใจใฝ่รู้ ย่อมยินดีเพราะย่อมหวังได้ว่า จะได้รับรู้เรื่องราวโดยได้อ่านอย่างจุใจ ซึ่ง เมื่อได้ตั้งต้นอ่านไปจนจบก็ขอบอกได้เลย ว่าไม่ผิดหวัง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 99

นอกจากเนือ้ เรือ่ งอันน่าสนใจติดตามอย่างมากแล้ว น่าเชือ่ ว่า ในโลก ยุคปัจจุบันซึ่งมีหนังสือออกมาวางตลาดแข่งขันกันมากมาย หนังสือแต่ละ เล่มจึงต้องมีการวางแผนอย่างดี ตัง้ แต่การวางโครงเรือ่ ง การล�ำดับเรือ่ ง การ เล่าเรื่อง การขัดเกลาภาษาส�ำนวน และอื่นๆ หนังสือเล่มนี้คงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในฉบับแปลภาษาไทย ซึ่งแม้ผู้แปลจะอยู่ในระดับ “มือใหม่” และ เป็นหนังสือแปลเล่มแรก แต่กต็ อ้ งชมเชยว่าแปลได้ดี มีการศึกษาค้นคว้าใน ศาสตร์นอกแขนงทีเ่ รียนมาพอสมควร น่าชมเชย ท�ำให้หนังสือที่ “มิใช่นยิ าย” (Non-Fiction) เล่มนี้ อ่านได้ลื่นไหล เข้าใจง่ายตลอดเล่ม สาระส�ำคัญของหนังสือเล่มโตนี้ สรุปได้สนั้ ๆ เป็น 3 เรือ่ ง คือ ท�ำไมเจน จึงตัดสินใจแต่งงานกับสตีเฟ่น ทั้งๆ ที่รู้ว่าเขาป่วยเป็นโรคร้าย และจะอายุ สัน้ เพียงแค่ 2 ปี แต่งงานแล้วทัง้ คูอ่ ยูก่ นั อย่างไร สุดท้ายท�ำไมจึงต้องแยกทางกัน แน่นอนว่า เนื้อหาสาระหลักของหนังสือ คือ ช่วงชีวิตที่ทั้งคู่อยู่ร่วม กัน เพราะกินเวลายาวนานที่สุดถึง 25 ปี ช่วงแรกที่ทั้งสองรู้จักและตัดสิน ใจใช้ชีวิตคู่ร่วมกันกินเวลาเพียง 2-3 ปี เท่านั้น และเนื้อที่ที่เล่าเรื่องราวช่วง นี้ก็ราว 80 หน้า ในขณะที่ส่วนที่สามเขียนไว้ไม่ยาวนัก เจนเป็นรุ่นน้องนักเรียนมัธยมของฮอว์กิ้ง อายุห่างกัน 2 ปี เคยเรียน

100 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

โรงเรียนเดียวกันสมัยยังเด็ก แต่ไม่รู้จักและไม่เคยพูดจากันเลย จนเมื่อเจน อายุ 18 และสตีเฟ่นอายุ 20 ทั้งคู่จึงเริ่มรู้จักและท�ำความคุ้นเคยกันช่วงไม่ นาน ตามแบบ “ผู้ดี” อังกฤษ นั่นคือมีเวลาไปท�ำความรู้จักเพื่อดูใจกันเพียง ช่วงสั้นๆ ไม่กี่ครั้ง ในระยะเวลาราว 3 ปี ก่อนที่จะตกลงใจแต่งงานกัน เจนตัดสินใจแต่งงานกับฮอว์กิ้ง ด้วยเหตุผลส�ำคัญ 2 ประการ ง่ายๆ และตรงไปตรงมา ได้แก่ 1) เพราะเธอรักเขา และเชื่อว่าฮอว์กิ้งก็รักเธอ 2) แม้รู้ว่าเขาจะพิการและอายุสั้น แต่เธอก็ไม่เปลี่ยนใจรักเขา และต่อมา แต่งงานกับเขา เพราะต้องการเป็นผู้ดูแลเขา นับเป็นความรักที่บริสุทธิ์และ สูงส่งอย่างแท้จริง ความจริงสตีเฟ่นไม่ใช่ชายหนุ่มรูปงามและมีเสน่ห์ดึงดูดใจให้ผู้หญิง หลงรัก ชีวิตวัยหนุ่มของฮอว์กิ้งคงจะมีเจนเพียงคนเดียว และเจนก็มีผู้ชาย ที่เธอสนใจ และต้องการจะรักเพียงคนเดียวเช่นกัน สตีเฟ่น นอกจากมิใช่ ผู้ชายเจ้าเสน่ห์แล้ว ยังน่าจะดูน่าเบื่อส�ำหรับผู้หญิงโดยมาก เพราะบุคลิก ค่อนข้างแข็ง จริงจัง และไม่ใคร่เอาใจใคร เมื่อเริ่มคิดจะรักและในที่สุดตกลงใจจะแต่งงานกัน เจนก็ต้องพบเจอ ปัญหามากมาย ทั้งปัญหาระหว่างเธอกับฮอว์กิ้ง ปัญหาญาติตระกูลของ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 101

ฮอว์กิ้ง และปัญหาความต้องการของเธอเอง ได้แก่ 1) ฮอว์กิ้ง มาจาก ครอบครัวใหญ่มาก ขณะที่เจนมาจากครอบครัวเล็ก เจนเล่าว่า สตีเฟ่น “ราวกับมีกองร้อยของญาติสนิท” ในงานคราวหนึง่ ก่อนแต่งงาน เจนพบลูกพี่ ลูกน้องของสตีเฟ่นถึง 32 คน ขณะทีพ่ อ่ แม่ของเจนต่างเป็นลูกคนเดียว เธอ จึงไม่มี “ลูกพีล่ กู น้อง” เลย เธอจึงช็อคเมือ่ เจอคณาญาติของฮอว์กงิ้ 2) ครอบ ครัวฮอว์กงิ้ ในสายตาคนรูจ้ กั เป็นพวก “แปลก” “พิลกึ ” เพราะล้วนเป็นหนอน หนังสือและคงแก่เรียน 3) ครอบครัวของเจนอยู่ในกลุ่มที่ “กลัวพระเจ้า” ในขณะที่สตีเฟ่นแสดงตัวชัดเจนว่าเป็น “อเทวนิยม” คือไม่เชื่อในพระเจ้า 4) สตีเฟ่นมีน้องสาวชื่อฟิลิปป้า ซึ่ง “ตั้งแง่” รังเกียจเจนตั้งแต่ต้น และแทบ ไม่เคยเปลี่ยนท่าทีเลย หลังหมั้นหมายเจนกับสตีเฟ่นไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ก่อนถึงวันแต่งงานในช่วงคริสต์มาส ฟิลปิ ป้ากระแทกเอาอย่างแรงกับสตีเฟ่นว่า “แล้วตอนนี้ พี่รู้สึกว่ามีศีลธรรมสูงขึ้นมั้ย” ดีที่สตีเฟ่นหัวเราะและแม่ของ สตีเฟ่นตอบแทนว่า “ยังไงซะ พี่เขาก็ต้องมีศีลธรรมสูงกว่าเธอแน่ๆ เพราะ ว่าตอนนีเ้ ขาตกอยู่ใต้อทิ ธิพลของผูห้ ญิงทีด่ ”ี กรณีฟลิ ปิ ป้านี้ ต่อมาเธอป่วย เข้าโรงพยาบาล เจนตั้งใจจะไปขอ “คืนดี” ด้วยการขอไปเยี่ยม แต่ฟิลิปป้า แจ้งมาชัดเจนว่า ไม่ต้องไป เมื่อญาติๆ เข้าไปเยี่ยม เจนจึงต้องรออยู่ข้าง นอก 4) สตีเฟ่นได้แสดงท่าที “เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง” ตั้งแต่ก่อนหมั้น เมือ่ เจนไปเยีย่ มพร้อมมือข้างหนึง่ ทีเ่ ข้าเฝือกเพราะลืน่ ล้มจนกระดูกหัก สตีเฟ่น ต้องการให้เจนไปช่วยพิมพ์ใบสมัครงานให้ เขาจึงแสดงท่าทีไม่พอใจ แทนที่

102 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

จะเห็นใจ 5) ทั้งสตีเฟ่นและเจนต่างมิได้มาจากครอบครัวที่ร�่ำรวย และ ประเพณีอังกฤษพ่อแม่ก็ ไม่มีหน้าที่ส่งเสียเมื่อทั้งคู่บรรลุนิติภาวะแล้ว สตีเฟ่นก็ยังไม่มีชื่อเสียง ทั้งคู่จึงจะต้องเริ่มต้นชีวิตอย่างยากล�ำบากในทาง เศรษฐกิ จ ความเป็ น อยู ่ 6) เจนเองก็ มี ความฝั น ที่ จ ะต้ อ งเรี ย นให้ จ บ มหาวิทยาลัย โดยพ่อก�ำหนดว่าแม้แต่งงานแล้วก็ตอ้ งเรียนให้จบปริญญาตรี ซึ่งเป็นการท�ำให้ชีวิตแต่งงานยากล�ำบากมากขึ้น เพราะนอกจากต้อง ดูแลฮอว์กิ้งซึ่งเริ่มพิการแล้ว ยังต้องเรียนให้จบ ในขณะที่ฐานะก็ไม่ดี เหนืออื่นใดคือ ความพิการของสตีเฟ่น ซึ่งปรากฏเพิ่มขึ้นๆ และ รุนแรงขึน้ เรือ่ ยๆ แต่เจนก็ไม่เปลีย่ นใจ คงเป็นดังที่ คาลิล ยิบราน เขียนไว้วา่ “เมือ่ ความรักเรียกร้องเธอ จงตามมันไป แม้วา่ หนทางจะชันและขรุขระเพียง ใด เมื่อความรักโอบปีกรอบกายเธอ จงยอมทน แม้ใต้ปีกนั้นจะเต็มไปด้วย หนามแหลมทีท่ มิ่ แทงเธอ” เมือ่ รูว้ า่ สตีเฟ่นมีใจกับเธอ ห่วงใยเธอ และในทีส่ ดุ ขอเธอแต่งงาน เจนจึงเดินไปข้างหน้าด้วยความเชื่อมั่น ดังที่เธอเขียนไว้ว่า “ด้วยความไร้เดียงสาของวัย 21 ปี ฉันก็เชือ่ ว่าสตีเฟนจะทะนุถนอมฉัน และจะสนับสนุนฉันให้เติมเต็มความฝันของตัวเอง ฉันเองก็เชือ่ ในค�ำสัญญา ทีเ่ ขาให้กบั พ่อของฉัน ค�ำมัน่ ทีว่ า่ เขาจะไม่เรียกร้องอะไรจากฉันมากเกินกว่าที่ ฉันจะสามารถท�ำได้ และเขาจะไม่ยอมให้ตนเองกลายเป็นภาระในชีวติ ของฉัน...”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 103

ขณะนั้น สตีเฟ่นอายุ 23 ปี เจนคงได้ตัวอย่างจากแม่ แม่ ตัดสินใจแต่งงานกับพ่อเมื่อรู้ว่าจะเกิด สงคราม และพ่ออาจจะต้องบาดเจ็บหรือ พิการ แม่แต่งงานเพราะ “ถ้าหากพ่อบาด เจ็บ ท่านจะคอยเป็นผูค้ อยดูแล” นอกจาก นี้ เมือ่ เจนคุยกับเพือ่ นนักเรียนนานาชาติ ระหว่างไปทัศนศึกษาทีส่ เปน ตอนนัน้ เจน รู้แล้วว่า สตีเฟ่นจะมีชะตากรรมอย่างไร “ความป่วยไข้ของเขาท�ำให้ทุกความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับเขาย่อมถูกผูก ตรึงเข้าไปสูค่ วามล่อแหลม เพราะมันย่อมเป็นความสัมพันธ์ทมี่ อี ายุสนั้ และ ท�ำให้หัวใจแตกสลาย ฉันจะสามารถช่วยให้เขาเติมเต็มตนเอง และพบกับ ความสุขที่แม้จะแสนสั้นนั้นได้บ้างไหม.....” โชคดีของทั้งสองคน เพราะบรรดา เพื่อนๆ ต่างหนุนให้เจนเดินหน้า โดยบอกว่า “ถ้าเขาต้องการเธอ เธอก็ต้อง ท�ำให้ได้” ด้วยเหตุนี้ ต�ำนานรักอันยิง่ ใหญ่ระหว่างสตีเฟ่นกับเจนก็ได้ดำ� เนินต่อ เนือ่ งไปยาวนาน มีปญั หามากมายให้ตอ้ งแก้ บางครัง้ เกิดความทุกข์ทว่ มท้น จนท�ำให้เจนแทบจะสิ้นหวังในชีวิต

104 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

นอกจากต้องยุง่ ยากในเรือ่ งการหางาน หาบ้าน และเรือ่ งการเรียน ซึง่ ล้วน ยุ่งยาก ในขณะที่สตีเฟ่นมีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น จนเกือบเป็น “ลางมรณะ” เมื่อเขาเกิดอาการไอไม่หยุด ไออย่างรุนแรง จากอากาศที่หนาวเย็นในตอน กลางคืน ท�ำให้หายใจไม่ออก “มันเป็นปีศาจที่ย่องออกมาจากเงามืด และ ตะครุบล�ำคอของสตีเฟ่นเอาไว้ โยนเขาไปมา เขย่าเขาราวกับตุก๊ ตา เหยีบบ ขยีเ้ ขาให้กองอยูแ่ ทบเท้า เหยียบเขาให้ไอขลุกขลักไปรอบๆ ห้อง จนกระทัง่ ทุกอณูอากาศเต็มไปด้วยเสียงดิ้นรนฟืดฟาดๆ ที่ดังก้อง” อาการป่วยของสตีเฟ่นซึง่ เริม่ จากเดินเซ ผูกเชือกรองเท้าไม่ได้ แล้ว ลุกลามเรื่อยๆ จนล้มง่าย ล้มจนฟันหัก ต่อมาต้องนั่งรถเข็นและบางครั้ง หายใจไม่ออก กลายเป็นภัยคุกคาม ซึ่งเจนรู้สึกเสมือนมันเป็น “มือที่สาม” ที่ เข้ามาบ่อนท�ำลายความสงบสุขในครอบครัว นอกจากนี้การที่สตีเฟ่นอยู่ ในวงการนักฟิสิกส์ชั้นสูง ซึ่งภรรยาของคนเหล่านี้โดยทั่วไปมักไม่สามารถ ยกระดับขึน้ สูค่ วามรูร้ ะดับเดียวกันจนถึงขัน้ สนทนาวิสาสะกันทางวิชาการได้ อย่างเต็มที่ วิชาฟิสิกส์จึงกลายเป็น “มือที่สี่” ที่เข้ามาเป็นเสมือนก�ำแพง ขวางกั้นชีวิตครอบครัวด้วย ในขณะทีต่ อ้ งแบกภาระหนักอึง้ ทัง้ เรือ่ งค่าใช้จา่ ยในครอบครัว ความ พิการของสตีเฟ่น และภาระการเรียนของเธอเอง ต่อมาเธอก็ต้องแบกภาระ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 105

อันหนักเพิ่มขึ้น คือ การตั้งท้องและคลอดลูกคนแรก ซึ่งสิบเดือนของการ อุม้ ท้องและการคลอดท�ำให้รา่ งกายของเธอลดความแข็งแกร่งลงไปมาก การ เดินทางตามสตีเฟ่นไปร่วมประชุมในแดนไกล ท�ำให้ต้องมีการปรับตัวเรื่อง เวลา ขณะที่เจ้าลูกเล็กไม่ต้องปรับตัว หลับ-ตื่น ตามสบาย ประกอบกับเป็น เด็กที่มีพลังเหนือเด็กธรรมดา ท�ำให้เจนต้อง “รับมือ” กับภาระอันหนักหนา สาหัส ตั้งแต่การดูแลลูกชายในวัยแบเบาะ ต้องตื่นมาดูแลยามที่ร่างกาย ต้องการการพักผ่อน เมื่อเริ่มเดินได้ ก็ซนมาก เสี่ยงที่จะจมน�้ำตายและตก จากทีส่ งู หลายครัง้ และครัง้ หนึง่ ก็เกิดเหตุสะเทือนขวัญอย่างแรง เมือ่ โรเบิรต์ น้อย หาทีต่ อ่ ขาขึน้ ไปหยิบขวดยาทีเ่ หลือของตัวบนหลังตูเ้ ย็นกินจนหมดทุกขวด ผลคือหลับลึกและเข้าสู่ขั้นโคม่า ต้องเข้าโรงพยาบาลล้างท้องแล้วรอชะตา กรรมว่าจะอยูห่ รือตาย ท�ำให้หวั ใจของเจนแทบแตกสลาย ซึมเศร้าอย่างหนัก คิดว่าถ้าลูกตายเธอก็คงอยูไ่ ม่ได้อกี ต่อไป “ถ้าหากว่าเขาตาย ฉันก็ควรตายด้วย” ตลอดช่วงชีวิตที่ต้องแบกภาระอันหนักหนาสาหัสแต่เธอสามารถ อดทนฟันฝ่ามาได้ เพราะทัศนะที่มองโลกในแง่ดี การมีอารมณ์ขัน และการ มีชวี ติ อยูก่ บั ปัจจุบนั ซึง่ เธอเขียนว่า “หลักการของชีวติ ก็คอื ว่า” มีชวี ติ แต่ละ วันอย่างทีม่ นั เป็นจริง แทนทีจ่ ะคาดหวังถึงภาพลวงตาในอนาคตอันห่างไกล” แต่เหตุการณ์ที่ลูกชายเกือบเสียชีวิตครั้งนั้น ได้ท�ำลายบางส่วนในชีวิตของ เธอไปเพราะ “แม้โรเบิร์ตจะรอดชีวิตในวันนั้น แต่บางเสี้ยวของชีวิตฉันกลับ

106 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 107

“ หลักการของชีวิตก็คือว่า

มีชีวิตแต่ละวัน อย่างที่มันเป็นจริง แทนที่จะคาดหวังถึงภาพลวงตา ในอนาคตอันห่างไกล



ตายจากไป บางเสี้ยวเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด บางเสี้ยวของการมองโลกใน แง่ดีเหลือล้นตามแบบคนหนุ่มสาว ซึ่งเคยเป็นไฟกระตุ้นให้ฉันมีความ กระตือรือร้นอย่างมากมาย ตอนนีม้ นั ถูกฝังลงไปภายใต้ภาระหนักหน่วงของ ความกังวล เป็นเงื่อนปมที่ไม่มีทางขจัดออกไปจากจิตใจ” และเธอก็อยู่ต่อมาได้ ไม่นานลูซี่ลูกคนที่สองก็เกิด แน่นอนลูกคือ ความสุขอันเปี่ยมล้น แต่ก็คือภาระอันหนักหน่วงที่กดทับเธอเพิ่มขึ้น การตัดสินใจแต่งงานกับสตีเฟ่น คือ การตัดสินใจที่จะดูแลเขา แต่ นานวันภาระที่โถมทับเธอท�ำให้ความสัมพันธ์ฉนั สามีภรรยา กลายสภาพเป็น เสมือนความสัมพันธ์แบบ “นายกับทาส” ขณะที่ “ท�ำหน้าที่” ที่เธอเองเป็น ผูเ้ ลือก เจนก็ตอ้ งต่อสูก้ บั ความต้องการภายในของเธอ นัน่ คือการทีต่ อ้ งรักษา “คุณค่า” ของตัวเอง เมื่อเริ่มต้นงานรับใช้สตีเฟ่นด้วยการพิมพ์งานให้แก่เขา เจนเล่าว่า “ในฐานะที่เป็นลูกสาวของข้าราชการพลเรือนผู้มั่งคั่ง ฉันถูกสอนมาตั้งแต่ อายุยังน้อยให้ใช้ภาษาอย่างแม่นย�ำ ทั้งต้องตระหนักถึงคุณค่าของความ ชัดเจนและความรุ่มรวย นั้น และนี่คือพื้นที่ซึ่งฉันผนึกก�ำลังร่วมกับสตีเฟ่น ฉันสามารถช่วยเขาด้วยการใช้สติปัญญาแทนที่จะใช้แค่มือพิมพ์ และฉันยัง ได้ช่วยสร้างสะพานเชื่อมโยงระหว่างศิลปะกับวิทยาศาสตร์”

108 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สมัยเรียนหนังสือชั้นมัธยม เจนเคยเป็นหัวหน้านักเรียน เธอจึงไม่ ต้องการเป็นเพียงแม่บา้ นในครอบครัวเท่านัน้ เธอต้องใช้ความมานะบากบัน่ อย่างยิ่งในฐานะภรรยาที่ต้องดูแลสามีที่พิการ ร่วมสร้างครอบครัวในสภาพ “ปากกัดตีนถีบ”กว่าจะจบปริญญาตรีได้ และเธอก็ไม่ยอมทิ้งความฝันที่จะ เรียนจนจบปริญญาเอก ด้วยการลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัยลอนดอน เพราะทีน่ นั่ ไม่มกี ำ� หนดเวลาจบ แตกต่างจากเคมบริจที่ให้เวลาแค่ 3 ปี ท�ำให้ เธอต้องเรียนในลักษณะโดดเดีย่ ว หาเวลาไปร่วมชัน้ เรียนกับเพือ่ นๆ ได้ยาก เธอจึงต้องใช้เวลาถึง 13 ปีกว่าจะท�ำดุษฎีนิพนธ์เสร็จก่อนคลอดลูกคนที่ 3 ได้เพียงไม่กี่วัน แต่ปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดของเจนก็คือ การอยู่กับสามีพิการร้ายแรง ขณะทีเ่ ธอยังสาวในวัย 30 ต้นๆ ปัญหาเช่นนีล้ กู ผูห้ ญิงด้วยกันย่อมตระหนักดี เฮลม่า แทตเชอร์หญิงชราผู้การุณซึ่งคอยให้ความช่วยเหลือครอบครัวของ เธอตั้งแต่ยังยากล�ำบาก ได้พูดกับเธอก่อนเสียชีวิตไม่นานว่า “ที่รัก.... จินตนาการไม่ออกเลยว่า เธอมีชีวิตอย่างไรโดยปราศจากชีวิตทางเพศที่ เหมาะสม” ทั้งนี้เพราะสภาพของสตีเฟ่นนั้น ครั้งหนึ่ง เจนได้ยินพนักงาน ท�ำความสะอาดของโรงแรมแห่งหนึ่งที่เขาไปประชุม “เม้าธ์” กันถึงเขาว่า “เจ้าหนุ่มคนนั้นน่ะ ดูยังกับจะตายมิตายแหล่ ว่ามั้ย” “....ท่าทางจะอาการ หนักซะด้วย ใกล้ๆ จะหลุดเป็นชิ้นๆ แล้ว แค่จะประคองหัวตัวเองก็คงไม่ ไหวมั้ง” เรื่องนี้แม้แต่ฟิลิปป้า น้องสาวของสตีเฟ่น ซึ่ง “ชิงชัง” พี่สะใภ้ก็ยัง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 109

บอกกับเจนว่า ถึงเวลาแล้วที่เธอควรจะแยกจากสตีเฟ่น “จริงๆ นะไม่มีใคร ว่าอะไรเธอหรอก” ในที่สุดก็มีผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาในชีวิตของเธอ เขาเป็นครูสอนดนตรี ที่เข้าใจและเห็นใจเธออย่างยิ่ง เธอเองก็มีใจกับเขา เพราะต้องการทั้งคนที่ จะเข้ า มาช่ ว ยแบ่ ง เบาภาระ และเพราะไฟปรารถนาที่ เ ผาลนอยู ่ ใ น สัญชาตญาณของเธอด้วย แต่เธอต้องต่อสู้กับค�ำมั่นสัญญาที่จะซื่อสัตย์ต่อ สตีเฟ่นและยังต้องการรักษาครอบครัว คือทั้งสตีเฟ่นและลูกๆ ไว้ ในขณะที่ “แรงดึงดูดระหว่างเราทัง้ คูร่ นุ แรงนัก” แต่เพราะความรูส้ กึ อย่างลึกซึง้ ว่า “การ ลักลอบเป็นชู้กันเป็นค�ำที่สกปรกและขัดแย้งกับพื้นฐานทางจริยธรรม ซึ่ง ชีวิตของเราทั้งคู่ถูกปลูกฝังมา” นับว่าเคราะห์ดีที่ทั้งคู่สามารถรักษาความสัมพันธ์ในแบบความรักใน อุดมคติ หรือ ความรักแบบ “พลาโตนิก” (Platonic love) คือรักและปรารถนา ดีต่อกันอย่างแท้จริง โดยไม่มีเพศสัมพันธ์ต่อกันไว้ได้อย่างยาวนาน ทว่าดังค�ำประพันธ์ใน “นิราศเดือน” ของนายมีที่ว่า “ถ้ารักกันลั่นเปรี้ยงดังเสียงฟ้า หูจะชาเสียด้วยดังฟังไม่ไหว แต่เงียบเงียบสิยังอึงคะนึงไป เหมือนดัง่ ไฟไหม้ฟางสว่างโพลง”

110 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ท่าทีที่ทั้งคู่แสดงออกต่อกัน และการเข้ามาดูแลช่วยเหลือสตีเฟ่น อย่างสนิทสนม ซึ่งทีแรกสตีเฟ่นก็หึงและโกรธอย่างรุนแรง แต่ในที่สุดก็ ยอมรับได้ ภาพที่ปรากฏต่อคนทั่วไป จึงเชื่อว่าทั้งคู่ “มีอะไรกัน” แน่นอน และช่วงนีเ้ อง เจนก็ตงั้ ท้องลูกคนทีส่ าม เมือ่ ลูกคลอด แม่ของสตีเฟ่น ถึงกับถามเจนตรงๆ ว่า “เจน ฉันมีสิทธิ์ที่จะรู้ว่าเด็กคนนี้เป็นลูกใคร ทิโมธี เป็นลูกของสตีเฟ่น หรือว่าเป็นลูกของโจนาธานกันแน่” เป็นค�ำถามที่เสียด แทงเธออย่างรุนแรงร้ายกาจ ทั้งๆ ที่เธอรู้แน่ว่า “ไม่มีทางที่ทิโมธีจะเป็นลูก ของคนอื่นนอกจากสตีเฟ่น” สาเหตุสำ� คัญทีเ่ จนต้องแบกรับภาระมากมายเช่นนี้ เพราะแม้สตีเฟ่น จะมีชอื่ เสียงก้องโลกแล้ว จนมกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษเคยเสด็จไปทรงเยีย่ ม เป็นการส่วนพระองค์ แต่รายได้ของครอบครัวก็ไม่มากพอที่จะจ้างคนมา ดูแลประจ�ำ ทั้งๆ ที่สภาพความพิการของสตีเฟ่นนั้นมากมายเกินกว่าที่เจน และผู้การุณทั้งหลายจะรับไหว โดยเฉพาะเมื่อสตีเฟ่นล้มป่วยด้วยโรค ปอดบวมซึง่ มักเป็นโรคทีค่ ร่าชีวติ ของผูป้ ว่ ยด้วยโรคนี้ และสตีเฟ่นก็ตอ่ ต้าน การรักษาของแพทย์และพยาบาลอย่างดื้อดึงเสมอด้วย ตราบจนกระทั่ง สตีเฟ่นได้รับต�ำแหน่งศาสตราจารย์ลูคาเซียนอันทรงเกียรติยิ่ง ซึ่งเป็น ต�ำแหน่งที่เซอร์ ไอแซค นิวตัน เคยด�ำรงมาก่อน และสตีเฟ่นป่วยหนักจน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 111

แทบจะเอาชีวติ ไม่รอด จึงมีผยู้ นื่ มือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ เมื่อมาร์ติน รีส์ ซึ่งเป็น “ศาสตราจารย์พลัมเมี่ยน” หรือ “เมธีดาราศาสตร์” ได้จัดการหาทุนมาเป็นค่าใช้จ่ายจนส�ำเร็จ และเจนสามารถหาทีมพยาบาล ที่ดีมาดูแลสตีเฟ่นได้ ท�ำให้เธอสามารถปลดเปลื้องภาระที่เกินก�ำลังลงได้ ความสัมพันธ์ระหว่างสตีเฟนกับเธอ จึงเปลี่ยนจากลักษณะนายกับทาส ไป สู่ “ความเป็นมิตรและเท่าเทียม” กันอีกครัง้ และในทีส่ ดุ เจนก็สามารถไปสอบ ป้องกันดุษฎีนิพนธ์ของเธอ และได้รับปริญญาเอกในพิธีที่อัลเบิร์ตฮอลล์ ใน ไม่ช้าเธอก็ได้งานเป็นครูสอนหนังสือที่ศูนย์การศึกษามัธยมปลายแห่งเคม บริดจ์ ท�ำหน้าทีส่ อนนักเรียนทีจ่ ะสอบเข้า “ออกซ์บริดซ์” และโดยที่โรงเรียน มีพื้นที่จ�ำกัด จึงอนุญาตให้เธอสอนที่บ้าน โดยเลือกเวลาสอนตามสะดวก ชีวิตช่วงนี้ของเจนจึงลงตัวที่สุด แต่ทอ้ งฟ้าก็สงบอยูไ่ ม่นาน เมือ่ สตีเฟ่นตัดสินใจเขียน “ประวัตยิ อ่ ของ กาลเวลา” จนเสร็จ ส่งร่างแรกเสนอส�ำนักพิมพ์แล้ว เขาก็ป่วยหนักระหว่าง ไปประชุมที่เจนีวาด้วยโรคที่อาจคร่าชีวิตเขาได้โดยง่ายคือปอดบวม เขา เกือบไม่รอด แพทย์เรียกเจนเข้าพบเพื่อให้ตัดสินใจถอดเครื่องช่วยหายใจ ออก แต่เธอให้ค�ำตอบฉับพลันทันทีว่า “สตีเฟ่นจะต้องมีชีวิต คุณจะต้อง ท�ำให้เขาฟื้น” หลังจากนั้นก็เป็นการต่อสู้อันยาวนานถึง 3 เดือนกว่าจะพา สตีเฟ่นกลับบ้านได้ในอีกสภาพหนึง่ คือไม่สามารถพูดได้ เพราะต้องเจาะคอ

112 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

และต้องกลับไปเผชิญความยุ่งยากแสนสาหัสใหม่ในการดูแลเขาที่บ้านโดย ต้องจ้างพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งการหาพยาบาลที่มีความรู้ความ สามารถเพียงพอและอุทศิ ตนเต็มตามอุดมคติเป็นเรือ่ งยากยิง่ เจนต้องช่วย จัดการให้พยาบาลสามารถดูแลสตีเฟ่นจนเป็นที่วางใจ ต้องรอจนตี 2 ตี 3 จึงจะเข้านอน และหลังจากนั้น “พยาบาลเวรดึกก็ยังมาปลุกฉันบ่อยๆ เนื่องจากเธอไม่สามารถรับมือตามล�ำพังได้” ไม่เพียงแต่ปัญหาการดูแลสตีเฟ่นเท่านั้น เจนยังต้องดิ้นรนหาเงิน จ�ำนวนมากมาเป็นค่าใช้จ่ายในการจ้างพยาบาล 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง จนได้ เงินช่วยเหลือจากมูลนิธจิ อห์น ดี. และแคทเธอรีน ที. แม็คอาเธอร์ ทีช่ คิ าโก้ ในสหรัฐ รวมทั้งหาทางให้เขาสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ โดยการ เสาะหา จนพบนักประดิษฐ์ทสี่ ร้างคอมพิวเตอร์เฉพาะให้เขาจนได้ และผูอ้ า่ น หนังสือประวัตยิ อ่ ของกาลเวลา ย่อมไม่ทราบเลยว่า ถ้าไม่มเี จน หนังสือเล่ม นี้ก็อาจไม่ออกมาสู่บรรณพิภพ จนเป็นหนังสือขายดีทั่วโลกข้ามทศวรรษ เพราะสตีเฟ่นอาจลาลับจากโลกไปก่อนทีจ่ ะทันได้ปรับปรุงต้นฉบับจนเป็นที่ พอใจของทุกฝ่าย และสตีเฟ่นได้แสดงความขอบคุณเจนอย่างเป็นทางการ โดยการเขียนค�ำอุทิศให้แก่เธอ ทีมพยาบาลที่ไปดูแลสตีเฟ่นที่บ้านตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยแบ่งเบา

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 113

ภาระอันหนักหนาสาหัสออกจากบ่าของเจน แต่แล้วหนึ่งในพยาบาลที่ไปดู แลสตีเฟ่นนัน้ เองทีพ่ รากเขาไปจากเจนทัง้ ๆ ทีพ่ ยาบาลคนนัน้ ก็แต่งงานแล้ว และวันทีข่ นของ ของสตีเฟ่นออกไปจากบ้านก็เป็นสามีของพยาบาลนัน้ เอง ที่มาช่วยขน ชีวิตครอบครัวอันมี “ทั้งรัก ทั้งชัง ทั้งหวานและขมขื่น” ของ เจนกับสตีเฟ่นก็ถึงกาลอับปาง หลังจากประคับคองกันมาได้ถึง 25 ปี หลังจากแยกกันอยูน่ านนับปี ทัง้ คูก่ ห็ ย่าขาดจากกัน สตีเฟ่นแต่งงาน กับพยาบาลคนนัน้ แต่อยูก่ นั ไม่นานก็หย่าขาดจากกัน เจนแต่งงานกับโจนาทาน และมีชวี ติ ทีเ่ ป็นสุข สามารถยืนอยูบ่ นขาของตนเองได้อย่างภาคภูมิ น่ายินดี ที่สตีเฟ่นยังไปมาหาสู่กับเจน เพราะยังมีลูกชายคนเล็กที่ทั้งคู่ต้องช่วยกัน ฟูมฟักทะนุถนอม และเมื่อสตีเฟ่นหย่าขาดจากภรรยาคนที่สองแล้ว ความ สัมพันธ์กับเจนก็คือเพื่อนที่ดีต่อกัน น่ายินดีที่เจนเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น เพราะสตีเฟ่นเองคงไม่มีโอกาส เขียนอัตชีวประวัตขิ องตนเอง และคนอืน่ เขียนก็ไม่มที างจะเข้าถึงข้อมูลและ ความจริงได้อย่างลึกซึง้ ถึงแก่นเช่นนี้ หนังสือเล่มนีน้ อกจากท�ำให้ทฤษฎีเกีย่ ว กับจักรวาลของสตีเฟ่น ฮอว์กงิ้ ชัดเจน สมบูรณ์ขนึ้ ยังสะท้อนภาพความยาก ล�ำบากของครอบครัวทีต่ อ้ งดูแลคนพิการ และยังสะท้อนระบบบริการของรัฐ ทีน่ า่ จะเป็นทีพ่ งึ พอใจมากกว่านี้ เพราะอังกฤษได้สร้าง “ระบบบริการสุขภาพ

114 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แห่งชาติ” มายาวนานกว่า 6 ทศวรรษ แต่การเขียนอย่างเปิดเผยตรงไป ตรงมาของเจน ก็ท�ำให้เห็นว่ายังมีความพิการอยู่ในระบบไม่น้อย เรื่องราว ทั้งหมดนี้ ควรเป็นกรณีศึกษาที่ดียิ่งส�ำหรับประเทศไทย ทั้งในเรื่องความรู้ ความเข้าใจต่อคนพิการ และครอบครัวของคนพิการ ตลอดจนระบบบริการ ที่ประเทศและสังคมไทยควรสร้างสรรค์และพัฒนาขึ้น

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 115

“ เรื่องราวทั้งหมดนี้

ควรเป็นกรณีศึกษาที่ดียิ่ง ส�ำหรับประเทศไทย ทั้งในเรื่องความ รู้ความเข้าใจต่อคนพิการ และ ครอบครัวของคนพิการ



116 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 117

น ั ข ร ต ุ บ ์ ย ล ู บ พ ไ ง ่ ุ ท ก ู ล ี ว ก คตี รลยางกูร วร ์ น ฒ วั ง อ ข อ ื ส ง ั น ห าก เรือ่ งเล่า จ

ครูไพบูลย์ บุตรขัน เป็นนักประพันธ์เพลงไทยที่มีชื่อเสียงโด่งดัง มี ผลงานเพลงมากมายที่คนไทยตั้งแต่ก่อนยุคเบบี้บูมเมอร์ คือยุคที่เด็กเกิด มากหลังสังครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ตราบจนปัจจุบันจะต้องเคยฟัง และชอบเพลงที่เป็นผลงานของเขามาแล้วทั้งนั้น เพราะเพลงที่เขาแต่งที่ ถือว่าประสบความส�ำเร็จมีถงึ กว่าร้อยเพลง เฉพาะทีเ่ ด่นๆ ทีว่ ฒ ั น์ วรรลยางกูร ผู้ยกย่องครูไพบูลย์ บุตรขัน ว่าเป็น “คีตกวีลูกทุ่ง” ตามหนังสือที่วัฒน์ พากเพียรศึกษาค้นคว้าและเรียบเรียงออกมาอย่างดี ก็มีถึง 69 เพลง เพลง

118 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เหล่านี้ไม่เพียงสร้างชื่อเสียงให้แก่ครูไพบูลย์ บุตรขันเท่านั้น แต่ยังสร้างชื่อ เสียงให้แก่นักร้องไทยจ�ำนวนมาก ดังปรากฏชื่อเพลงและชื่อนักร้องที่ วัฒน์ วรรลยางกูร ประมวลสรุปไว้เฉพาะที่ส�ำคัญๆ ดังนี้ “มนต์เมืองเหนือ, น้องนางบ้านนา (สมยศ ทัศนพันธ์), ค่าน�้ำนม, สามหัวใจ, แม่ศรีเรือน, กลิน่ โคลนสาบควาย (ชาญ เย็นแข), ชายสามโบสถ์, น�้ำตาเสือตก, ตาสีก�ำสรวล 1-2, สวรรค์ชาวนา, หนุ่มสุพรรณฝันเพ้อ (ค�ำรณ สัมบุณณานนท์) , โลกนีค้ อื ละคร, ขวัญใจคนจน, ลิเกชีวติ , มือพีม่ พี ลัง (ปรีชา บุญยเกียรติ), มัศยาหลงเหยื่อ, โอ้ ทู ล กระหม่ อ ม (ลั ด ดา ศรี ว รนั น ท์ ) , กลิน่ เหล้า, แม้พจี่ ะขีเ้ มา, เพลงนีอ้ ทุ ศิ ให้เธอ (นริศ อารีย)์ , นิราศนุช (ชรินทร์ นันทนาคร), มนต์ รั ก อสู ร (ทัศ นัย ชะอุ่ม งาม, วินัย จุลละบุษปะ), ชัว่ ดีกล็ กู แม่ (วินยั จุลละบุษปะ), สาวชาวสวน (ศิริจันทร์ อิศรางกูรฯ), เสียง ดุเหว่าแว่ว, เดือนต�่ำดาวตก, น�้ำตาเทียน, สาส์นรักฉบับล่า, แล้วจะรู้ว่าพี่รัก, อันเป็น ดวงใจ, รังรักในจินตนาการ, เหนือดวงชีวา, คืนนัน้ สวรรค์ลม่ (ทูล ทองใจ), น�ำ้ ค้างเดือนหก,

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 119

ดอกกระถินในกระท่อม (สุรพล สมบัตเิ จริญ) , ฝนตกบ้านน้อง ฟ้าร้องบ้านพี่ (ชาย เมืองสิงห์), ตามน้องต้อย (ปอง ปรีดา), ข้าวแตกรวง ทรวงแตกรัก (ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย), แอบมอง, เพราะขอบรั้วกั้น (ก้าน แก้วสุพรรณ), แม่แตงร่มใบ, ดอกดินถวิลฟ้า (ชัยชนะ บุญนะโชติ) , ดอกพะยอมยามยาก (เพลิน พรหมแดน) , ยมบาลเจ้าขา, รักคนแก่ดีกว่า (บุปผา สายชล), มนต์ รักลูกทุง่ , นิราศรักนครปฐม (ไพรวัลย์ ลูกเพชร), ฝนเดือนหก, น�ำ้ ลงเดือนยี,่ ไอดินกลิ่นสาว (รุ่งเพชร แหลมสิงห์), ฝนซาฟ้าใส (ยุพิน แพรทอง), เมาเหล้าเมารัก (ชาตรี ศรีชล), เพชรร่วงในสลัม, บ้านไร่นารัก (ชินกร ไกรลาศ), แว่วเสียงซึง, แคนล�ำโขง, สวรรค์บ้านนา (เรียม ดาราน้อย), น�้ำลงนกร้อง (พรไพร เพชรด�ำเนิน), หนุ่มเรือนแพ (กาเหว่า เสียงทอง), น�้ำท่วม, แม่ค้า ตาคม, ลานรักลัน่ ทม, มนต์รกั แม่กลอง (ศรคีรี ศรีประจวบ), โธ่! คนอย่างเรา (ระพิน ภูไท) , หนุ่มตะลุงมุ่งเหนือ (ไวพจน์ เพชรสุพรรณ) ฯลฯ” ดูจากรายชื่อ จะเห็นได้ว่าครูไพบูลย์ บุตรขัน มิใช่เป็นเพียง คีตกวี “ลูกทุ่ง” เท่านั้น เพราะเขาแต่งเพลง “ลูกกรุง” ดังๆ ไว้มากมาย เช่น นิราศนุช ที่ นริศ อารีย์ ขับร้อง มนต์รักอสูร ที่ ทัศนัย ชอุ่มงาม ขับร้องคู่กับ วินัย จุลละบุษปะ และหลายเพลงก็เป็นเพลงดังตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มีการแบ่ง ประเภทเป็นเพลงลูกกรุง-ลูกทุ่ง ไม่ว่าจะเป็น มนต์เมืองเหนือ ค่าน�้ำนม แม่ศรีเรือน โลกนี้คือละคร น�้ำตาเทียน เป็นต้น

120 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ต้องนับว่าครูไพบูลย์ บุตรขัน เป็นผู้มีพรสวรรค์ด้านศิลปะการแสดง โดยแท้ เพราะเรียนจบเพียงชัน้ มัธยมปลายที่โรงเรียนสวัสดิ์อ�ำนวยเวทย์ ใน กรุงเทพมหานคร เมือ่ พ.ศ. 2481 ไม่เคยเข้าเรียนในโรงเรียนสอนการดนตรี ที่ไหน แต่เขาสามารถสร้างผลงานเป็นนักประพันธ์เพลงและบทละครได้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2485 ขณะมีอายุได้เพียง 24 ปี โดยแต่งเพลงและบทละครให้ แก่คณะแม่แก้วและคณะจันทรโรภาส ในช่วง พ.ศ. 2485-2490 ต่อมาได้ผนั ตัวเองมาเป็นนักประพันธ์เพลง รวมทัง้ บทละครวิทยุ และบทภาพยนตร์ตงั้ แต่ พ.ศ. 2490 จนจบชีวิต เมื่อ พ.ศ. 2515 ในวัยเพียง 54 ปี รางวัลผลงานที่ เด่นๆ ได้แก่ 1. รางวัลที่ 1 การประกวดบทประพันธ์นาฏดนตรีของกรมโฆษณา การ (ซึง่ ปัจจุบนั คือกรมประชาสัมพันธ์) ชือ่ เรือ่ ง “ตัวตายดีกว่าชาติตาย” ใน นามปากกา “ศรีบูรพ์” เมื่อราว พ.ศ. 2493 2. รางวัลที่ 1 การประกวดบทประพันธ์นาฏดนตรี (ครั้งที่ 2) เรื่อง “น�้ำพระทัยพ่อขุนรามค�ำแหง” 3. รางวัลแผ่นเสียงทองค�ำพระราชทานประจ�ำปี 2514 จ�ำนวน 6 รางวัลแน่นอนว่า ถ้าครูไพบูลย์ บุตรขัน มีอายุยืนยาวต่อมา เขาจะต้องได้ รับคัดเลือกอยู่ในท�ำเนียบ “ศิลปินแห่งชาติ” อย่างไม่ต้องสงสัย

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 121

ครูไพบูลย์ บุตรขัน เกิดเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2461 ที่บ้าน ท้องคุ้ง ต�ำบลเชียงรากใหญ่ อ�ำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ่อคือ นายพร้อม ประณีต เป็นคน “คลองน�้ำอ้อม” ซึ่งคลองนี้แต่เดิมคือแม่น�้ำเจ้าพระยาแต่ แคบลงหลังมีการ “ขุดคลองลัด” ในสมัยพระเอกาทศรถ เมือ่ พ.ศ. 2158 ท�ำให้ แม่นำ�้ เปลีย่ นทางเดินไปตามคลองทีข่ ดุ ขึน้ ซึง่ เป็นเส้นทางสายตรง แม่นำ�้ เดิม จึงค่อยๆ แคบลง แม่คือ นางพร้อม แก้วช่วง เป็นคนบ้านท้องคุ้ง ริมฝั่ง แม่น�้ำเจ้าพระยาทีข่ ดุ ใหม่ พ่อเป็นชาวสยามดัง้ เดิม ส่วนแม่เป็นเชือ้ สายมอญ ที่ วงศ์ตระกูลมาตัง้ บ้านเรือนทีบ่ า้ นท้องคุง้ ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ครูไพบูลย์ เป็นลูกชายคนโต มีน้องชายอีก 2 คน คือ ใบ (เทิด) และ บัว (ฉกาจ) สมัย เด็กเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนปทุมวิไล (วัดส�ำแล) อ�ำเภอเมือง จังหวัด ปทุมธานี พออายุไม่ทันถึง 10 ขวบ ก็ก�ำพร้าพ่อ อาชื่อ เจน ประณีต จึงรับ แม่และลูกทั้งสามคนรวมทั้งครูไพบูลย์เข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ แถวปทุมวัน บริเวณห้างมาบุญครองในปัจจุบัน และอาได้ขอพระราชทานนามสกุลใหม่ ในฐานะเป็นข้าราชการกรมการรถไฟ โดยเอาชื่อพี่ชาย คือ บุตร และ ชื่อ บิดา คือ ขัน มาเป็นนามสกุล บุตรขัน และครูไพบูลย์ก็ใช้นามสกุลใหม่นี้ สืบมา ครูไพบูลย์จงึ มาเรียนจบชัน้ ประถมที่โรงเรียนสตรีปทุมวันในกรุงเทพฯ และเรียนจนจบชั้นมัธยมปลาย (ม.8) ที่โรงเรียนสวัสดิ์อ�ำนวยเวทย์ ครูไพบูลย์เริ่มท�ำงานเป็นครูภาษาไทยที่โรงเรียนจีนกว๋องสิว ต่อมา

122 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เป็นเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน ก่อนจะหันเหไปเป็นนักประพันธ์เพลงเต็มตัว ในเวลาต่อมา ครูไพบูลย์ ได้แสดงแววอัจฉริยะ ตัง้ แต่ครัง้ เรียนมัธยม 7-8 ที่ โรงเรียนสวัสดิอ์ ำ� นวยเวทย์ ช่วง พ.ศ. 2479-80 แต่งบทละครวิทยุ จนได้ ค่าตอบแทนถึง 12 บาท “ซึ่งสมัยนั้นซื้อข้าวได้ 15 ถัง หรือเนื้อหมูอย่างดีได้ 40 กิโลกรัม” ผลงานของครูไพบูลย์ ได้รับการยอมรับมาตั้งแต่แรกเริ่ม ท�ำให้มีเงิน รายได้ค่อนข้างดี แต่ครูไพบูลย์ก็ต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้ายเพราะ ปรากฏอาการของโรคทีส่ งั คมรังเกียจ คือโรคเรือ้ น มาตัง้ แต่วยั หนุม่ ดังบันทึก ของเปล่ง คทวณิช ในหนังสือของ วัฒน์ วรรลยางกูร ที่ว่า “เมื่อปี 2483 ตอนนั้นผมเพิ่งอายุจะ 18 ไพบูลย์ก็คงราว 22-23 ผม เป็นคนหนึ่งที่ชอบวิชาดนตรี โดยเฉพาะหีบเพลงปาก เขียนโน้ตได้ แต่ง เพลงได้ แต่ไม่ใคร่จะมีหวั นัก พีช่ ายชักชวนให้ไปช่วยควบคุมวงหีบเพลงปาก วงหนึง่ ซึ่งมีผู้อุปการะจัดตั้งขึ้นที่โรงไฟฟ้าสามเสน เคยบรรเลงเพลงตาม วิทยุและตามวัดมาบ้างแล้ว (สมัยนัน้ นิยมวงสตริงแบนด์ และวงหีบเพลงปาก กันมาก)... “คืนแรกทีผ่ มไป เขาก็กำ� ลังซ้อมกันอยู่ โดยมีพวกเด็กๆ ลูกหลานเป็น ผู้เล่น ประมาณ 6-7 คน และก็มีชายหนุ่มคนหนึ่งอยู่ด้วย มือข้างหนึ่งมีผ้า

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 123

พันแผลพันนิ้วไว้รอบยังกับนักมวยก่อนจะสวมนวม แต่มักชอบเอามือข้าง นีซ้ กุ เอาไว้ในกระเป๋า ครูชติ แนะน�ำให้ผมรูจ้ กั ว่าชือ่ ไพบูลย์ บุตรขัน ท�ำงาน ที่โรงไฟฟ้าเหมือนกัน มีหัวทางแต่งเพลงจึงได้ให้มาช่วยแต่งเพลงให้วงหีบ เพลงปากวงนี้ ซึ่งมีชื่อคณะว่า นฤมิตรบรรเลง พวกลูกวงเรียกเขาว่าครู โรคเรื้อนเป็นโรคเก่าแก่ มีมาแต่โบราณกาล มีคนเป็นกันมากเพราะ เป็นโรคติตต่อ ลักษณะของโรคมักปรากฏอาการน่ารังเกียจ เช่น “หูหนาตาเล่อ” จนท�ำให้เรียกโรคนี้อีกชื่อหนึ่งว่า โรคหูหนาตาเล่อ จมูกอาจจะยุบแบนลง หรือถึงขัน้ โหว่ แขนขามักจะมีแผลเป็นน�ำ้ เหลืองเกรอะกรังหรือไหลซึม ท�ำให้ คนรอบข้างใกล้ชิดพากันหนีห่างเพราะกลัวติดโรค โรคนีเ้ กิดจากเชือ้ โรคตัวหนึง่ ในกลุม่ เดียวกับเชือ้ วัณโรค คือ เชือ้ ไมโค แบคทีเรียม เลเปร (Mycobacterium leprae) ขณะที่เชื้อวัณโรคคือ ไมโค แบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) โรคเรื้อนแบ่ง เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่ม “เชื้อมาก” และกลุ่ม “เชื้อน้อย” กลุ่มเชื้อมากจะ มีอาการรุนแรงและก�ำเริบขึ้นเป็นครั้งคราว เรียกว่าอาการ “เห่อ” หรือ “ปฏิกิริยาของโรคเรื้อน” (Leprae Reaction) พยาธิสภาพของโรคนี้เกิดจาก เชื้อโรคเข้าไปท�ำลายปลายประสาทและผิวหนัง ตามปกติปลายประสาทที่ ผิวหนังจะมี 3 ส่วน คือ 1) ส่วนรับความรูส้ กึ (Sensory fibre) 2) ส่วนควบคุม สั่งงานกล้ามเนื้อ (Motor fibre) และ 3) ส่วนควบคุมประสาทอัตโนมัติ

124 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

(Autonomic fibre) ท�ำหน้าทีก่ ระตุน้ ต่อมเหงือ่ และหลอดเลือด เมือ่ ปลายประสาท เหล่านี้ถูกท�ำลาย โดยเฉพาะส่วนที่หนึ่ง จะท�ำให้สูญเสียความรู้สึก ผู้ป่วย โรคนีเ้ มือ่ ถูกของร้อน หรือของมีคมจะไม่รสู้ กึ ร้อนหรือเจ็บ จนท�ำให้เกิดแผล ติดเชือ้ มีน�้ำเหลืองน�้ำหนอง ซึง่ มักจะพบตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ขณะทีเ่ มือ่ เส้นประสาทอัตโนมัติถูกท�ำลาย จะท�ำให้หลอดเลือดหดแคบลงหรือถึงกับ ตีบตัน อวัยวะจึงขาดเลือดไปเลี้ยง ท�ำให้นิ้วมือนิ้วเท้าหลุดออกไปเป็นข้อๆ เชื้อโรคตัวนี้มีลักษณะเฉพาะคือไม่ชอบที่ร้อน จึงมักไปอยู่ตามที่เย็น กว่าในร่างกายมนุษย์คือที่ปลายมือปลายเท้าและที่โพรงจมูก การท�ำลาย อวัยวะจึงพบที่นิ้วมือนิ้วเท้าและที่จมูก โดยนิ้วมือและเท้ากุดทั้งจากการ ท�ำลายของเชื้อโดยตรงและจากแผลติดเชื้อแทรกซ้อน ส่วนที่จมูกเชื้อ สามารถท�ำลายกระดูกบริเวณสันจมูกจนท�ำให้สันจมูกยุบ และถ้าเป็นมาก อาจถึงขั้นท�ำให้จมูกโหว่ได้ สมัยโบราณ มีสมุนไพรที่รักษาโรคนี้ได้ คือ น�้ำมันกะเบา ดังปรากฏ ในต�ำราสมุนไพรเก่าแก่เช่นของอินเดีย และที่ผนังก�ำแพงนครธม ก็ปรากฏ ภาพหินสลักการรักษาโรคเรื้อนด้วยน�้ำมันกะเบา ซึ่งช่วยให้อาการทุเลาลง ได้ แต่มกั ไม่ถงึ ขัน้ หายขาด และอาจได้ผลน้อยในพวกทีอ่ ยู่ในกลุม่ “เชือ้ มาก”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 125

ยาแผนปัจจุบนั ตัวแรกและใช้กนั มานานคือ แดปโซน (Dapsone) ซึง่ ต้องกินกันนานถึง 6 ปี และได้ผลระดับหนึ่งเท่านั้น ในกลุ่มเชื้อมากโดย เฉพาะเมื่อมีอาการก�ำเริบ คือ “เห่อ” จะ “เอาไม่อยู่” มักถึงขั้นต้องใช้ยา สเตียรอยด์ช่วย แต่มีข้อจ�ำกัดเพราะยาสเตียรอยด์จะใช้มากและใช้นานเกิน ไปไม่ได้ เนื่องจากจะเกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงต่อร่างกาย เช่น ท�ำให้เป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตเสื่อม เป็นต้น สาเหตุหลักทีย่ าแดปโซนได้ผลไม่ดนี กั เพราะมีฤทธิเ์ ป็นเพียงยาชะลอ การแบ่งตัวของเชื้อ (Bacteriostatic) เท่านั้น ไม่ใช่ยาฆ่าเชื้อ (Bactericide) อย่างยารุ่นหลัง มียาที่ได้ผลดี คือ ไรแฟมปิซิน (Rifampicin) ซึ่งมีฤทธิ์เป็น “ยาฆ่า เชื้อ” ใช้ได้ผลดีทั้งกับวัณโรคและโรคเรื้อน ออกมาเมื่อ พ.ศ. 2524 ปัจจุบัน การรักษาใช้ยาผสม 3 ชนิด ซึ่งได้ผลดีและลดระยะเวลารักษาลงได้มากจาก 6 ปี เหลือราว 6 เดือนเท่านั้น ท�ำให้เราก�ำลังจะเอาชนะโรคนี้ได้ เพราะแม้ กับกลุ่มที่มีเชื้อมาก หรือ กรณีอาการก�ำเริบ ก็มักจะ “เอาอยู่” แตกต่างจาก วัณโรคที่แม้มียาดีกว่าแต่ก่อนมาก แต่ก็ท�ำท่าจะเอาไม่อยู่ โดยเฉพาะเมื่อมี การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ท�ำให้คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้ติดเชื้อเอดส์ เป็น วัณโรคกันมากขึ้น และเกิดเชื้อโรคดื้อยามากขึ้น

126 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ทัง้ วัณโรคและโรคเรือ้ นติดต่อกันทาง “ฝุน่ ละอองฝอย” (Droplet) โดย วัณโรคจะออกมาจากปอดโดยการไอหรือจาม ส่วนโรคเรือ้ นมักออกจากเยือ่ บุโพรงจมูกซึ่งมีเชื้อไปอออยู่มาก วัณโรคจะติดง่ายกว่า ขณะที่โรคเรื้อนจะ ติดต่อยากกว่ามาก สาเหตุของความแตกต่างเกิดจากปัจจัย 2 ประการ คือ 1) เชื้อวัณโรคมีการแบ่งตัวเพิ่มจ�ำนวนเร็วกว่ามาก รอบหนึ่งราว 24 ชั่วโมง เท่านั้น แต่เชื้อโรคเรื้อนต้องใช้เวลาถึง 10 วัน ปริมาณเชื้อที่จะแพร่ระบาด ได้จึงน้อยกว่ากันมาก 2) วัณโรคติดได้ทุกคน ขณะที่โรคเรื้อน โดยเฉพาะ กลุ่ม “เชื้อมาก” จะติดได้เฉพาะคนที่มีความต้านทานหรือภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ นี้ต�่ำ ซึ่งในประชากรทั่วไปมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น วัณโรคจึงติดง่าย ขณะ ที่โรคเรือ้ นจะติดต่อได้มกั ต้องอยูค่ ลุกคลีรว่ มกันอย่างใกล้ชดิ (Close intimate contact) เป็นเวลาถึง 3 เดือน ส�ำหรับ ครูไพบูลย์ พิจารณาจากภาพถ่ายซึ่งปรากฏอาการของโรค ครูไพบูลย์นา่ จะโชคร้ายทีเ่ ป็นโรคเรือ้ นชนิดเชือ้ มาก ในยุคทีย่ งั ไม่มยี าดีออก มารักษา เพราะครูไพบูลย์เสียชีวิตไปตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ขณะที่ยาที่ได้ผลดี คือไรแฟมปิซนิ เพิง่ ออกมาเมือ่ ปี พ.ศ. 2524 ท�ำให้ปรากฏอาการทางผิวหนัง ลักษณะ “หูหนาตาเล่อ” มีแผลติดเชื้อที่มือจนสูญเสียนิ้วไปบางส่วน ข้อ ส�ำคัญคืออาการปวดที่อาจรุนแรงมาก เพราะเชื้อที่กัดกินเข้าไปถึงปลาย ประสาทอัตโนมัติเป็นผลให้หลอดเลือดตีบตัน ปลายมือ-เท้า ขาดเลือดไป เลี้ยง ซึ่งนอกจากจะท�ำให้บางส่วนของนิ้วหลุดขาดไป แล้วยังท�ำให้เกิด

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 127

อาการปวดได้มาก ตามประวัติการป่วยของครูไพบูลย์นั้น “หากโรคก�ำเริบ ในฤดูหนาวจะเจ็บปวดตามข้อ ถึงกับชักกระตุก ครางโอยๆ ต้องหามส่งหมอ” อาการปวดประกอบกับความทุกข์จากโรคที่ “สังคมรังเกียจ” น่าจะเป็นเหตุ ท�ำให้ครูไพบูลย์ต้องหันไปพึ่งยาฝิ่น ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดที่แรงที่สุดในบรรดา ยาแก้ปวดทั้งหลายที่มีอยู่และยังมีฤทธิ์ท�ำให้ “เคลิ้มฝัน” พาให้ผู้เสพพ้นไป จากความทุกข์ทรมานทั้งจากความเจ็บปวดและความทุกข์ใจได้เป็นระยะๆ ปัญหาของฝิน่ ก็คอื มันช่วยแก้ปญั หาได้เพียงชัว่ คราว ผูเ้ สพจึงต้อง “พึง่ ยา” และในที่สุดก็ตกเป็นทาสของมัน เพราะขาดมันไม่ได้ ซ�้ำร้ายอาจต้องเพิ่ม ขนาดและความถี่ในการเสพด้วย ในที่สุดก็อาจต้องไปพึ่ง “ยา” ที่มีฤทธิ์แรง ยิ่งกว่าฝิ่น ก็คือ เฮโรอีน ซึ่งเป็น “อนุพันธ์” ของฝิ่นที่มีฤทธิ์แรงกว่าฝิ่นนับ สิบนับร้อยเท่า ท�ำให้ “หลุดพ้น” ไปจากความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานได้ ชะงัดขึ้น แต่ก็ต้องตกเป็นทาสของมันรุนแรงขึ้นเป็นเงาตามตัว การที่ต้องหลีกเร้นหลบกายไปจากสังคม ท�ำให้เกิดการเก็บกด และ ครูไพบูลย์ก็มีประวัติหันไปหาความสุขจากสิ่งเสพติด ทั้งบุหรี่ เหล้า และ กัญชา ดีที่ต่อมาเลิกบุหรี่และแม้แต่ เฮโรอีน ก็เลิกได้ ตามประวัติ ครูไพบูลย์ เป็น “นักสู้” ดังปรากฏว่า เมื่อสมัยเรียนชั้น มัธยมก็เป็นนักกีฬาต่อยมวยจนได้เป็นแชมป์มวยนักเรียน และชีวติ ก็ประสบ ความส�ำเร็จรวดเร็วพอสมควร แม้จะก�ำพร้าพ่อตัง้ แต่เมือ่ อายุได้แค่ 10 ขวบ

128 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 129

“ ครูไพบูลย์ เป็น “นักสู้”

ดังปรากฏว่า เมื่อสมัยเรียน ชั้นมัธยม ก็เป็นนักกีฬาต่อยมวย จนได้เป็นแชมป์มวยนักเรียน และชีวิตก็ประสบความส�ำเร็จรวดเร็ว พอสมควร แม้จะก�ำพร้าพ่อตั้งแต่เมื่อ อายุได้แค่ 10 ขวบ



แต่ก็มีญาติอุปการะและสามารถแสดงความเป็นอัจฉริยะโดยหาเงินก้อนโต พอสมควรได้ตั้งแต่ยังหนุ่ม แต่เพราะโรคร้าย ที่เวลานั้นไม่มีทางรักษาหาย ซ�้ำยังปรากฏอาการจนเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ท�ำให้ครูไพบูลย์ต้องปกปิด “ปมด้อย” และในที่สุดต้องเร้นกายซ่อนตัวจากสังคม แม้ต่อมาวงการแพทย์ จะทราบว่า โรคนี้ติดต่อยาก แต่สมัยนั้นผู้คนก็ยังเชื่อว่าติดต่อง่าย และ น่ากลัวมาก แน่นอนว่า ในวัยหนุม่ ครูไพบูลย์ยอ่ มต้องตาต้องใจกับหญิงสาว หลายคน แต่ใครเล่าเขาจะกล้ามารัก มาร่วมชีวติ ด้วย แม้จะมีความสามารถ สูง มีชื่อเสียง และหาเงินได้มาก แต่ดังที่หลายคนเล่าไว้ว่า “เงินหาได้เท่าไร ก็ต้องหมดไปกับการรักษาตัว” จากการสอบถามนายแพทย์ธีระ รามสูต ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคเรื้อน ทัง้ ของไทยและขององค์การอนามัยโลก นายแพทย์ธรี ะ ไม่เคยมีโอกาสดูแล รักษาครูไพบูลย์เลย แสดงว่าแม้สมัยนั้นประเทศไทยจะมีโครงการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อนเป็นโครงการใหญ่และส�ำคัญโครงการหนึ่งของ ประเทศ แต่ครูไพบูลย์ก็คงไม่มีโอกาส “เข้าถึง” บริการเหล่านี้ แต่ไปพึ่ง บริการจากภาคเอกชนแทน แน่นอนว่าค่ารักษาย่อมต้องสูงตามไปด้วย เกีย่ วกับเรือ่ งการรักษาตัวของครูไพบูลย์นี้ อาจารย์ลาวัณย์ โชตามระ ได้เขียนเล่าเหตุการณ์เมือ่ พบกันคราวหนึง่ ไว้วา่ “คุณบอกดิฉนั ว่า ไม่ได้รกั ษา เพราะไม่มีเงิน การรักษาที่ลุ่มๆ ดอนๆ เพราะการเงินที่ไม่ตายตัว ท�ำให้

130 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สภาพการเจ็บป่วยเป็นไปดังที่เห็นนั้น คุณคงนึกออกว่า ดิฉันได้ถามคุณว่า จะขัดข้องไหม ถ้าหากจะส่งคุณไปยังสถานบ�ำบัดโรคนี้โดยเฉพาะ และคุณ ได้ตอบว่าไม่มีข้อขัดข้องเลย นี่คือการเริ่มต้นรักษาตัว... ดิฉันเคยพาคุณ อ.ไชยบวรศิลป์ ไปเยีย่ มคุณ เพือ่ เป็นก�ำลังใจว่า โรคของคุณนัน้ ไม่ใช่วา่ เหลือ ทีแ่ พทย์จะเยียวยาได้ ซึง่ ต้องการเวลาราว 3-4 ปี เท่านัน้ ......” อ.ไชยวรศิลป์ เป็นนักเขียนสตรีแนวสะท้อนชีวติ สาวเหนือ มีนวนิยายทีม่ ชี อื่ หลายเรือ่ ง เช่น ริมฝั่งแม่ระมิงค์ แม่สายสะอื้น อ. หรือ อ�ำพัน ไชยวรศิลป์ ก็ป่วยด้วย โรคเรื้อนและสามารถรับการรักษาจนหายได้ นอกจากนัน้ ในสมัยทีร่ ะบบลิขสิทธิย์ งั ไม่ให้ความเป็นธรรมแก่นกั แต่ง เพลงอย่างครูไพบูลย์ รายได้ที่แม้จะนับว่ามากในแต่ละครั้ง แต่ความจริง แล้วก็ไม่มากเท่าทีค่ วร และไม่มหี ลักประกันความมัน่ คงของรายได้ดว้ ย ชีวติ ที่ต้องผูกพันกับความนิยมของประชาชน จึงเป็นชีวิตที่ผกผันได้ง่าย ชีวิต ของครูไพบูลย์จึงตกต�่ำเป็นช่วงๆ เช่น สมัยที่แม่ตาย เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2508 ต้องเก็บศพไว้จนถึงวันที่ 5 มิถนุ ายน จึงได้เผา ครูมงคล อมาตยกุล เล่าไว้ในหนังสืองานศพของครูไพบูลย์วา่ “ผม (มงคล) และเพือ่ นฝูงอีก 2-3 คน ได้ไปทีบ่ า้ นปทุมธานี พบไพบูลย์นงั่ ซึมท�ำอะไรไม่ถกู เขาจะเผาศพมารดาของเขา ในวันนั้น ผมไม่ยอม ไพบูลย์บอกว่า ‘ผมท�ำอะไรไม่ถูก ไม่มีเงิน ก็อยากจะ ท�ำให้เสร็จสิน้ ไป’ ผมจึงให้เก็บศพไว้กอ่ น เรือ่ งเงินไม่ตอ้ งห่วง ผมจะหาให้เอง”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 131

หลังจากนัน้ มงคล อมาตยกุล น�ำวงดนตรีไปแสดงทีโ่ รงภาพยนตร์ศรียา่ น ได้เงิน 8,000 บาท โดยขอมาจากเจ้าของโรงหนังก่อน น�ำมาให้ครูไพบูลย์ ได้จดั งานศพแม่ เบญจมินทร์ หรือ ชื่อจริงคือ ตุ้มทอง โชคชนะ นักร้องและนักแต่ง เพลงเพื่อนรักคนหนึ่งของครูไพบูลย์เล่าว่า ทุกครั้งที่ไปเยี่ยมครูไพบูลย์ จะ หาจังหวะลากลับขณะก�ำลังคุยกันอย่างเพลิดเพลิน เพราะ “แทบทุกครัง้ เมือ่ คุณก�ำลังเพลิดเพลิน ผมมักจะลาจากคุณทันที ท�ำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะ ผมต้องการไปทั้งๆ ที่คุณก�ำลังมีความสุข คุณจะได้ลืมความทุกข์ที่เกาะกิน คุณอยู่ในร่างกายและจิตใจ คุณไม่รหู้ รอกว่า เมือ่ ผมเดินออกจากบ้านหลัง น้อยของคุณทีป่ ทุมวัน ทุกครัง้ ผมมักจะมายืนนิง่ โดดเดีย่ วและร�ำพึง.....ท�ำไม หนอ คนที่มีสมองในเชิงกลอนอันยอดเยี่ยมอย่างคุณ พระเจ้าจึงรังแกด้วย ให้ทั้งความสมหวังและผิดหวังร้ายกาจเช่นนี้? ” ยังโชคดี ที่ครูไพบูลย์ ยังมีเพื่อนที่รักและคอยช่วยเหลือเป็นระยะๆ เช่น เมื่อช่วยหาเงินเผาศพแม่ให้แล้ว ครูมงคล ยังชวนให้ครูไพบูลย์ออกไป “สูโ้ ลก” โดยให้รว่ มเดินสายไปกับรถวงดนตรีจฬุ ารัตน์ โดยมีเบีย้ เลีย้ งให้ดว้ ย ท�ำให้ครูไพบูลย์กลับมาแต่งเพลงได้อีก และได้สร้างเพลงดีๆ ออกมาอีก มากมาย

132 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เมื่อติดฝิ่นและเฮโรอีน เพื่อน คือ “บังเละ” (ด�ำริ ประเสริฐสกุล) ก็พา ไปอดที่วัดถ�้ำกระบอก เมื่อปี พ.ศ. 2502 จนเลิกได้ ความรังเกียจของผูค้ น เกิดขึน้ แม้แต่กบั นักร้องทีค่ รูไพบูลย์แต่งเพลงให้ คือ นริศ อารีย์ ซึง่ ร้องเพลงทีค่ รูไพบูลย์แต่งให้ราว 15 เพลง เช่น กลิน่ เหล้า แม้พี่จะขี้เมา เพลงนี้อุทิศให้เธอ นริศควรจะได้ร้องเพลงของครูไพบูลย์ มากกว่านี้มาก เพราะครูไพบูลย์ “ก็ชอบเสียงของผมนะ บอกว่าเป็นเสียง ไทยๆ ดี ร้องไทยเดิมได้ ร้องไทยสากลก็ได้” แต่สาเหตุที่นริศร้องเพลงของ ครูไพบูลย์เพียงเท่านัน้ นริศเองเล่าว่า “ความเป็นเด็กของเราเลยกลัวติดโรค ไม่กล้าไปหา เรียกให้ไปต่อเพลงก็ไม่ไป ตอนนั้นแกเป็นหนักมาก ไม่ได้ร้อง ต่อเพราะผมปอด กลัวเวลาต่อเพลงแกเอามือเคาะ มือก็อย่างนี้ (ท�ำท่ามือหงิก) เป็นความคิดของผมเอง เลยไม่ได้ร้องเพลงดีๆ อีก เสียดายเหมือนกัน” ครูไพบูลย์ มีความรักตั้งแต่วัยหนุ่ม อุไรพรรณ วิวิธสิริ ซึ่ง “เป็นคน สวย” และมีความสามารถสูง เป็นเจ้าของละครคณะสิริวิธ ทั้งคู่ท�ำงานร่วม กัน เช่น ครูไพบูลย์เขียนบทละครเรื่อง “พรหมทัณฑ์” ใช้นามปากกาว่า “ศรีบรู พ์” ให้คณะละครสิรวิ ธิ เล่น และยังมีเพลงหลายเพลงทีม่ ชี อื่ ว่าอุไรพรรณ แต่ง แต่เชื่อว่าครูไพบูลย์มีส่วนในการแต่งหรือ แก้-เกลา ให้ ทั้งคู่รักกัน ตัง้ แต่ครูไพบูลย์ยงั ไม่ปรากฏอาการโรคเรือ้ น และแม้ปรากฏอาการแล้ว อุไร พรรณก็ยังไปขลุกอยู่บ้านครูไพบูลย์สัปดาห์ละ 1-2 วัน โดยไม่มีอาการ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 133

รังเกียจ หรือตีตวั ออกห่าง มาท�ำงานด้านบทละครวิทยุดว้ ยกัน พร้อมทัง้ น�ำ อาหารมารับประทานด้วยกันที่กระท่อมหลังน้อยของไพบูลย์ที่ปทุมวัน แต่ รักของทัง้ คูก่ เ็ ป็นเพียงความรักที่ไม่สมหวัง เพราะฝ่ายหญิงรอให้ครูไพบูลย์ หายป่วย แต่ยาและการรักษาสมัยนัน้ ก็ไม่สามารถท�ำให้ความหวังนีเ้ ป็นจริง ได้ และอุไรพรรณก็ครองโสดไปจนเสียชีวิตด้วยโรคชรา เมื่ออายุได้ 70 ปี ช่วงหลังอุไรพรรณ ขาดการติดต่อกับครูไพบูลย์ไปนาน แต่ความรัก และ “ค�ำสัญญา” คงไม่จางหายไป เมือ่ ทราบข่าวการแต่งงานของครูไพบูลย์ จึงมีปฏิกิริยารุนแรง ดัง นคร ถนอมทรัพย์ หรือ “กุงกาดิน” นักร้องนักแต่ง เพลงผูเ้ คยด�ำรงต�ำแหน่งนายกสมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย เล่าว่า “ต่อมาครูไพบูลย์แต่งงานกับดวงเดือน เมือ่ ปี 2512 คุณอุไรพรรณโกรธมาก เสียความรู้สึกรุนแรง เพราะในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่ง อุทิศชีวิตให้กับครู ไพบูลย์ เป็นสาวแก่ ไม่แต่งงานจนกระทั่งเสียชีวิต” และในงานพระราชทาน เพลิงศพครูไพบูลย์ที่วัดเทพศิรินทราวาท เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2515 ไม่มใี ครเห็นแม้แต่เงาของอุไรพรรณ เรียกว่า “โกรธชนิดผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ” เกือบตลอดชีวติ แม้จะหาเงินได้คอ่ นข้างมาก ครูไพบูลย์กต็ อ้ งอาศัย อยู่บ้านแม่ที่ปทุมธานี และบ้านอาที่ปทุมวัน ความฝันที่จะมีบ้านของตัวเอง คงเหมือนคนทั่วไป แต่ครูไพบูลย์แปลความฝันเป็นวรรณกรรมอันงดงาม บรรเจิด คือ เพลงรังรักในจินตนาการ

134 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

พี่ฝันจะสร้างรังรักสักหนึ่งหลัง ณ ริมฝั่งเจ้าพระยาอยู่อาศัย แม้ฝันของพี่ไม่เกิดมีอันเป็นไป สองชีวีเราคงได้ร่วมเสน่หา รังรักในจินตนาการ วิมานรักอันบรรเจิดจ้า ริมหน้าต่างปลูกซุ้มลัดดา ห้องนอนสีฟ้า ติดม่านชมพู ความรักเป็นมนต์ดลใจ ฝันไป พลังใจต่อสู้ คอยพี่หน่อยเถิดนะโฉมตรู ไม่นานจะรู้ ว่ารังรักอยู่แห่งใด รังรักริมฝั่งน�้ำเจ้าพระยา สุขตา ฝังตรึงซึ้งอยู่ในใจ แม้ความฝันพี่เป็นจริงได้ พี่จะให้ชื่อว่ารังรักอนุสรณ์ ความฝันเป็นจริงวันใด หัวใจพี่คงจะบินว่อน คอยพี่อีกไม่ช้าบังอร แม้ใจไม่ร้อน แน่นอนเราได้สุขสันต์

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 135

เพลงนี้แต่งตั้งแต่ พ.ศ. 2503 ฝันเป็นจริงเอาเมื่อบั้นปลายสุดของ ชีวิต ครูไพบูลย์มีบ้านที่หมู่บ้านจัดสรรย่านวิภาวดีรังสิต เมื่อ พ.ศ. 2515 และเข้าอยู่ได้ไม่กี่เดือนก็เสียชีวิต ช่วงปลายชีวิต อาการของโรคน่าจะสงบไปมาก ในที่สุดครูไพบูลย์ก็ มีหญิงสาวสวยตกลงปลงใจมาเป็นภรรยา คือ คุณดวงเดือน ดุษณีย์วงศ์ ตามประวัติทั้งคู่พบกันโดยการชักน�ำของไสล ไกรเลิศ เพื่อนรุ่นพี่ซึ่งแก่กว่า ครูไพบูลย์ 4 ปี ได้พาดวงเดือนไปพบ “ป๋าไพบูลย์” เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2511 แต่ทั้งคู่ก็อยู่กันไม่นานนัก เพราะ ครูไพบูลย์จากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515 รวมอายุได้ 54 ปี ดวงเดือนไม่ได้ จดทะเบียนสมรสกับครูไพบูลย์ ทรัพย์สมบัติ ทั้งหมดคือลิขสิทธิ์เพลงจ�ำนวนมากมายที่ครู ไพบูลย์สร้างไว้ จึงแทบไม่ตกถึงดวงเดือนเลย แต่ไปได้แก่ ฉกาจ บุตรขัน น้องชายคนเล็กของ ครูไพบูลย์ บัน้ ปลายชีวติ ดวงเดือนได้กลับไปอยู่ ที่อ�ำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เมือ่ ดวงเดือนพบกับครูไพบูลย์นนั้ เธออายุ ได้ 34 ปีแล้ว เป็นแม่รา้ งมานานปี มีลกู ติดคนหนึง่

136 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ชื่ออ้อย ฝากยายเลี้ยงไว้ที่เมืองแพร่ ดวงเดือนเข้ากรุงเทพฯ มาเป็นครู โรงเรียนราษฎร์เล็กๆ แห่งหนึง่ แล้วไปอบรมวิชาดนตรีศกึ ษาทีค่ รุ สุ ภา จึงได้ เป็นศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ได้ชว่ ยงานเป็นเสมียนให้ครูไสล และเริม่ หัดแต่งเพลง จนได้พบครูไพบูลย์ ช่วยงานกันจนถูกอัธยาศัยและได้แต่งงานกันในที่สุด หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2518 และฉบับ วันต่อมา ได้ลงข่าวมรณกรรมของครูไพบูลย์วา่ เสียชีวติ เมือ่ “ เวลา 13.30 น. ระหว่างผ่าตัดโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล ที่โรงพยาบาลเปาโล มีนาง ดวงเดือน ดุษณีย์วงศ์ ภริยาที่ยังไม่ได้จดทะเบียนคอยเฝ้าดูแล ..... ในชีวิต แต่งเพลงประมาณ 1,000 เพลง ในจ�ำนวนนี้ 6 เพลง ได้รับพระราชทาน แผ่นเสียงทองค�ำจากในหลวง” เพลงสุดท้ายที่แต่งคือเพลง “วันนี้วันหน้า” “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (องค์ชายกลาง) รับสั่งให้ตั้งศพที่วัดเทพศิรินทร์ เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล” สาเหตุการเสียชีวิตของครูไพบูลย์ น่าจะมี 2 ประการหลัก เรื่องแรก คือ การกินยาซองแก้ปวดชนิดหนึ่งเป็นประจ�ำ ยาดังกล่าวมีส่วนผสมของ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 137

แอสไพรินซึง่ กัดกะเพาะ ท�ำให้เลือดออกในกระเพาะ ประกอบกับเรือ่ งทีส่ อง คือ หลังจากประสบความส�ำเร็จอย่างสูงสุดในชีวิตจากเพลงในภาพยนตร์ มนต์รักลูกทุ่งซึ่งท�ำสถิติถล่มทลาย ฉายอยู่ที่โรงหนังโคลีเซียมถึง 6 เดือน ท�ำให้งานประดังประเดเข้ามามากมาย จนต้องเร่งงานอย่างหามรุ่งหามค�่ำ ท�ำให้กินข้าวผิดเวลาเป็นประจ�ำ และน่าจะมีความเครียดอยู่ไม่น้อยด้วย ครูไพบูลย์ เลือดออกในกระเพาะจนต้องเข้านอนในโรงพยาบาลถึง 15 วัน เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 และครั้งสุดท้ายเข้าโรงพยาบาล เมือ่ วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2515 เลือดออกมากจนต้องให้เลือดมากมาย แต่ก็ไม่สามารถช่วยชีวติ ไว้ได้ และจากโลกนี้ไปเมือ่ วันอังคารที่ 29 สิงหาคม ดวงเดือน ดุษณียวงศ์ เขียนกลอนอาลัยสามีไว้ว่า เมียจ๋า เสียงแผ่วแผ่วเรียกหาว่าเมียจ๋า มองดูหน้าผัวรักชักใจหาย ในแววตานั้นบ่งส่งประกาย ห่วงมิวายจิตจอดยอดชีวี บนเตียงไข้เขารอหมอให้เลือด

138 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

หน้าขาวเผือดด้วยแผลจึงแปรสี เส้นเลือดใหญ่ในกระเพาะเปราะพอดี เหตุฉะนี้แหละหนาผ่าตัดพลัน เติมเลือดไปเท่าไหร่ไหลออกหมด โอ้รันทดวิโยคใจโศกศัลย์ ได้แต่ส่งตาสองจ้องมองกัน แววตานั้นห่วงเมียเสียเหลือใจ เพียงค�ำเดียว “เมียจ๋า...” ผวาอก พาวิตกอกสั่นหวิวหวั่นไหว “ปู่จ๋าปู่ เลือดเหลือเฟือ” เพื่อปลอบใจ “จันทร์เจ้า” ให้เลือด “ปู่” ทุกผู้คน คุณวิเชียร วีระโชติ ช่วยโจษขาน บริวารกองถ่ายหนัง ทั้งลุงผล ช่วยชีวิตอุทิศเลือดหลั่งกมล ตื้นตันจนเหลือย�้ำค�ำขอบคุณ เสียง “เมียจ๋า...” ยังแว่วแผ่วในหู ปู่จ๋าปู่เคยแนบแอบตักหนุน ได้ประจักษ์วันเมตตาเกื้อการุณย์ มาสิ้นบุญเสียแล้วโอ้แก้วเอย.

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 139

ชีวติ ของครูไพบูลย์ บุตรขัน มีเรือ่ งน่าเรียนรูม้ ากมาย ครูไพบูลย์ เกิด ในครอบครัวยากจนในชนบท พ่อตายเมื่ออายุได้เพียงสิบขวบ แต่โชคดีที่มี ญาติให้ความอุปการะพาเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และได้เรียนหนังสือจนจบ ชั้นมัธยมปลาย คือมัธยม 8 สมัยนั้น จบแล้วก็ได้เป็นครูเลย ต่อมาก็ได้เป็น เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน และเริม่ หันเหมาเอาดีทางดนตรี แต่แล้วโรคร้าย ก็เริ่มคุกคาม และบ่อนท�ำลายทั้งร่างกายและจิตใจ ก่อให้เกิดความทุกข์ ทรมานอย่างเรื้อรังและแสนสาหัสจนจบชีวิตด้วยวัยเพียง 54 ปี น่าสนใจว่า แม้จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายจนร่างกายพิการ บางส่วน แต่ครูไพบูลย์สามารถสร้างสรรค์งานประพันธ์เพลงได้ถึงประมาณ พันเพลง โดยเป็นเพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และมีส่วนส�ำคัญในการสร้างชื่อ เสียงให้แก่นักร้องจ�ำนวนมาก รวมแล้วกว่าร้อยเพลง ผลงานเช่นนี้นับเป็น เรือ่ งน่าทึง่ เพราะเพลงแต่ละเพลงเสมือนบทกวีบทสัน้ ๆ ทีจ่ ะต้องสร้างความ ประทับใจผูฟ้ งั ได้ตงั้ แต่วรรคแรก ให้ความหมายอันสะเทือนใจ สร้างอารมณ์ ให้แก่ผู้ฟังได้ตลอดจนจบ และยังต้องสร้างความดื่มด�่ำ ประทับใจให้ติดตรึง และจดจ�ำได้อกี นานๆ การสร้างผลงานเพลงให้ได้เช่นนีแ้ ต่ละเพลงไม่ใช่เรือ่ ง ง่าย การที่ครูไพบูลย์สามารถสร้างเพลงที่ให้ความสุขและความประทับใจ ให้ประชาชนคนไทยได้อย่างยาวนานนับได้หลายทศวรรษ จึงย่อมไม่ใช่เรือ่ ง บังเอิญ หากจะต้องเป็นทัง้ พรสวรรค์ และฝีไม้ลายมืออันยอดเยีย่ ม ประกอบ กับมีวิธีการท�ำงานที่เป็นระบบ รวมทั้งจะต้องมีแรงบันดาลใจและพลังใจที่

140 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 141

“ น่าสนใจว่า แม้จะต้อง

ทนทุกข์ทรมานจากโรคร้าย จนร่างกายพิการบางส่วน แต่ครูไพบูลย์สามารถสร้างสรรค์ งานประพันธ์เพลง ได้ถึงประมาณพันเพลง โดยเป็น เพลงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง รวมแล้วกว่าร้อยเพลง



หนักแน่นเพียงพอด้วย ตามประวัติ ครูไพบูลย์ มิได้เข้าเรียนในโรงเรียนดนตรีใดๆ ครูสอนคนแรก คือ “แม่แก้ว” หรือ ประวัติ โคจริก และ “พรานบูรพ์” หรือ จวงจันทน์ จันทรคณา ซึ่งเป็นนักเพลงรุ่นบุกเบิก ยุค พ.ศ. 2475 ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง น่ายินดีที่ครูไพบูลย์ได้ให้สัมภาษณ์ กุลชาติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา นักจัดรายการเพลงชื่อดังในรายการ “เพื่อนรัตติกาล” เมื่อราว พ.ศ. 2512 เล่าถึงวิธีการแต่งเพลงไว้อย่างน่าสนใจ เช่น “พูดถึงเพลง ง่ายน่ะมันไม่ง่ายหรอก เพราะว่าเราต้องใช้อารมณ์ ใช้ ความรู้สึกละเมียดละไม ไม่ว่าสมัยก่อนหรือสมัยนี้ ถ้าจะให้เป็นเพลงที่ดีก็ ยากเท่าๆ กัน ใช้ความคิดลึกซึ้ง ละเมียดละไม ต้องใช้เวลาครับ จึงได้ผล งานที่ดีออกมา” พูดถึงแรงจูงใจให้แต่งเพลง ครูไพบูลย์เล่าถึงสมัยที่แต่ง เพลงในยุคแรกๆ ว่า “สมัยนั้นแต่งขึ้นมา เพราะมีอารมณ์รักที่จะแต่ง ไม่มีใครมาจ้างหรือ เคี่ยวเข็ญให้แต่งเหมือนสมัยนี้ ช่วงนั้นมีเวลามาก ถ้ามีอารมณ์เพลงดีๆ มี แรงบันดาลใจถึงขีดสุด เพลงหนึง่ ก็ราวๆ สามวัน รวมทัง้ ประดิดประดอยด้วย”

142 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ถามถึงเพลง “กลิ่นโคลนสาบควาย” ที่มีชื่อเสียงมาก ครูไพบูลย์ใช้ เวลานานไหมในการแต่งเพลงนี้ ครูไพบูลย์ตอบว่า “พอสมควรครับ เราต้องคิดส�ำนวนเพลงนีข้ นึ้ มา มีทบทวนแก้ไข มีการ เกลาส�ำนวน เพลงนี้ถ้าแต่งพรวดเอาออกใช้จะมีข้อด้อย แต่ถ้าเราอ่านไป อ่านมาสักสิบเทีย่ ว เราจะพบว่าควรปรับตรงนัน้ นิด ตรงนีห้ น่อย ท�ำให้เพลง มีรสดีขึ้น” ถามถึงถ้อยค�ำ ศัพท์แสง ส�ำนวนที่ใช้ เพือ่ ให้ไพเราะกินใจ ครูไพบูลย์ บอกว่า “เกิดจากการอ่านหนังสือมาก คิดขึ้นเองนี่นานๆ จะมีแวบขึ้นมาสัก ที เราอ่านหนังสือประเภทกวี เช่น กวีของท่านสุนทรภู่ เกิดอารมณ์แยกออก ไป พวกนิราศต่างๆ ท่านมักแทรกอารมณ์โรแมนติก ให้ความดื่มด�่ำ ข้อ เปรียบเทียบในนิราศของสุนทรภู่จะอิงธรรมชาติอยู่เรื่อยๆ” หนังสืออย่างกามนิตวาสิฏฐี ก็ “เป็น แรงบันดาลใจด้านชีวิต ด้าน ความรัก ถือเป็นบรรทัดฐานที่เราก็เก็บมาเป็นต�ำราเหมือนกัน”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 143

ถามว่าบางเพลงเอาวรรณคดีมาเกี่ยวบ้างใช่ไหม อย่างเพลงมนต์รัก อสูร ครูไพบูลย์ตอบว่า “เกิดจากการอ่านหนังสือ โคลงโลกนิติ แล้วมานึกถึงความน้อยเนื้อ ต�่ำใจเกี่ยวกับรักผู้หญิงแล้วเขาไม่ค่อยจะรักอะไรพวกนี้ เลยนึกว่าตัวเรานะ ต�่ำต้อย เป็นประเภทอสูร” เพลงนี้มักกล่าวถึง แร้ง ซึ่ง “เสพ สัตว์ที่มรณัง นฤโทษ” ครูไพบูลย์ตอบว่า “หมายความว่า แร้ง ถือว่ากินสัตว์ที่เน่าตายแล้ว เรียกว่าสัตว์ถือศีล ผู้มีใจเป็นสาธุชน เรียกว่าใจประเสริฐเหมือนแร้ง ไม่กิน ของเป็น ของมีชีวิต...” พูดถึงความรัก ครูไพบูลย์พูดถึงสมัยยังหนุ่มว่า “ตอนนั้นเป็นธรรมดา ยังหนุ่มยังแน่น ความรักให้แรงบันดาลใจ ไป รักผูห้ ญิงทีไ่ หน ก็ให้ในสิง่ ทีด่ งี าม ไม่ได้เป็นไปในทางท�ำลาย เป็นสิง่ บันดาลใจ” ครูไพบูลย์พูดถึงเพลง “ฝนเดือนหก” เพลงดังที่ รุ่งเพชร แหลมสิงห์ ขับร้อง ไว้อย่างน่าสนใจว่า

144 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

“.....เพลงนีผ้ มคิดมาเป็นเวลาหกเดือน แนวคิดนะครับ โดยเฉพาะเพลง นี้ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็วิจารณ์ ไปหลายด้าน บางท่านบอกว่าภาษาจะวิบัติกระมัง เดือนฮกแล้วฝนก็ต๊ก ที่นี้เจตนารมณ์ของผมคือไปศึกษาทางเพลงเป็นเวลา ถึงหกเดือน คือภาษาและส�ำเนียงพูดของคนพื้นเมืองทางเหนือ คือ ผมเก็บ มาจากชาวพิจติ ร สุโขทัย และพิษณุโลก เขาพูดเหน่อ มาเป็นทางแบบนีค้ รับ ผมก็เรียนโน้ตสากลมา โน้ตตัวสูงไปใส่อักษรต�่ำจะเพี้ยนทันที หลักการของ การแต่งเพลงก็มีอยู่ ท�ำไมผมถึงเขียนแบบนี้ เพราะว่าเจตนารมณ์ผมอยาก จะดึงวัฒนธรรมภาษาพูดเข้ามามีบทบาทในการเผยแพร่ให้พนี่ อ้ งภาคต่างๆ ได้เข้าใจว่าในประเทศไทยมีการพูดหลายส�ำเนียงภาษา เหน่อไปหลายแบบ” ครูไพบูลย์แต่งทัง้ ค�ำร้องและท�ำนองเพลง ถามว่าแต่งท�ำนองหรือเนือ้ ก่อน ครูไพบูลย์ บอกว่า “เนื้อกับท�ำนองมันสับๆ กันอยู่ ไม่แน่ครับ บางครั้งเขียนเนื้อก่อน บางครั้งเขียนท�ำนองก่อน” ธรรมดาของนักประพันธ์เพลง บางครั้งก็มี “ติด” คิดไม่ออก ครู ไพบูลย์ก็เช่นกัน “เคยติดอยู่เป็นเวลาอาทิตย์นึง มีบ่อยเสียด้วย” ส�ำหรับ เพลงมนต์เมืองเหนือ ซึ่งเป็นเพลงแรกของครูไพบูลย์ที่ได้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 145

อัดแผ่นเสียง และโด่งดังมานานยังมีคนชอบร้องชอบฟังอยู่จนทุกวันนี้ มี ประวัติน่าสนใจ เพราะครูไพบูลย์ ไม่เคยไปถึง “เมืองเหนือ” จริงๆ อย่าง เชียงใหม่ จนกระทัง่ พ.ศ. 2512 ก็ยงั ไม่เคยไป เพลงนีแ้ ต่งตัง้ แต่ พ.ศ. 2492 ครูไพบูลย์ไปกับวงดนตรีถึงแค่ล�ำปางเท่านั้น ครูไพบูลย์เล่าว่า “หลังจากแสดงดนตรีทจี่ งั หวัดล�ำปาง เสร็จแล้วก็ไปเทีย่ วเกาะคา มอง เห็นทิวทัศน์ทางเหนือ ผมเป็นคนภาคกลาง การเห็นภูเขาเมฆหมอกห้วย ละหานธารน�ำ้ ตอนเช้าหมอกลงแลดูสลัวไปหมด มันเร่งความรูส้ กึ เป็นความ ตื่นตาตื่นใจ ประทับอยู่ในใจ แต่ยังไม่ได้นึกจะแต่งเพลงทันที เพียงแต่เก็บ ภาพไว้ในอารมณ์ความรู้สึก สามสี่วันที่อยู่ล�ำปาง ความประทับใจมากเหลือ เกิน เพราะผมมีความใฝ่ฝันจะได้เห็นเมืองเหนือ จุดส�ำคัญที่สุดคืออยากจะ เห็นเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไป ผมยืนอยู่ที่สถานีรถไฟล�ำปาง มองไปตาม ทางรถไฟ คิดว่าเชียงใหม่จะมีรูปร่างเป็นอย่างไร คิดอยู่ตลอดเวลา พอ กลับมาถึงกรุงเทพฯ ผมลงมือเขียนเลย” แน่นอนว่า วรรคที่ว่า “ริมฝั่งวังน�้ำค�่ำลงคงมีแสงจันทร์ คืนหนึ่งคืน นัน้ พบกันน้องเอย...สองคน” ความจริงแล้วเป็นเพียงจินตนาการ “เป็นภาพ ความนึกคิด เพราะได้เห็นสภาพของผูห้ ญิงชาวเมืองแต่งตัวสวยๆ งามๆ นึก ไปถึงว่าทางเหนือมีแม่น�้ำปิง ได้ยินเขาเล่ากัน มันเกิดเป็นภาพฝันขึ้นมาว่า ไปทีร่ มิ ฝัง่ น�ำ้ เดือนหงาย จะสวยแค่ไหน อันนีเ้ ป็นอารมณ์กวี ความจริงไม่ได้ไปเว้า

146 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

วอนสาวอะไรเลย เป็นอารมณ์ของความเป็นหนุม่ เอาตัวเราเข้าไปเป็นตัวละคร” เพลงมนต์ เ มื อ งเหนื อ นี้ มี นั ก ศึ ก ษาปริ ญ ญาโททางดนตรี จ าก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร ได้ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้าง ดนตรีไว้อย่างเป็นระบบ สรุปว่าเพลงนี้แม้เป็นเพลงแรกๆ ของครูไพบูลย์ แต่ถือว่าเป็นเพลงที่ “สมบูรณ์ทั้งโวหารดนตรี โวหารกวี บวกด้วยเนื้อหา ความคิด มีความหมาย รวมเป็นความสมบูรณ์ คลาสสิก ที่คนรุ่นหลังต้อง ศึกษาเรื่อยไป” อีกเพลงที่ควรจะกล่าวถึง คือ เพลงค่าน�้ำนม ซึ่งคนไทยจ�ำนวนมาก ยังชอบร้อง ด้วยความซาบซึง้ ใจในพระคุณแม่ของทุกคน ลาวัณย์ โชตามระ นักเขียนสารคดีมีชื่อได้เขียนไว้ในนิตยสารภาพยนตร์โทรทัศน์ ฉบับประจ�ำ เดือนกรกฎาคม 2508 ว่า “ชีวิตของเขา นอกจากคุณอา-นายเจน บุตรขัน ผู้อุปการะมาเสมือน บิดาแล้ว ก็มแี ม่เท่านั้นที่เขารักมากทีส่ ุด เพราะแม่เป็นบุคคลเดียวในชีวิตที่ เขารักมากเหลือเกิน รักอย่างสุดใจ แม่ไม่เคยรังเกียจเลยแม้แต่นอ้ ย ต่อโรค ร้ายอันบังเกิดขึน้ แก่ลกู ชายคนโต แม้ในขณะที่โรคร้ายก�ำลังคุกคามเขาอย่าง รุนแรง แม่กเ็ ฝ้าดูแลปรนนิบตั พิ ยาบาลโดยไม่มคี วามรังเกียจกลัวเลยแม้แต่ น้อย ทั้งๆ ที่โรคที่เขาเป็นนั้นเป็นโรคร้ายที่ติดต่อกันได้ง่าย”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 147

วัฒน์ วรรลยางกูร เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “ภาพชีวติ ทีม่ ิใช่ฉากภาพยนตร์คอื ภาพแม่พร้อมคอยดูแลลูกชายวัย หนุ่มซึ่งป่วยด้วยโรคเรื้อน ผิวกาย มือไม้หลายส่วนมีน�้ำเหลืองเน่าเฟอะ ใน ยุคที่โรคนี้ยงั ไม่มียารักษาให้หายขาดได้ ใครๆ ย่อมหวาดกลัวและรังเกียจที่ จะเข้าใกล้ ผิวหนังที่เน่าเปื่อยเกรอะกรัง หากนอนบนฟูกหรือเสื่อธรรมดา แผลฉ�่ำหนองน�้ำเหลืองปนเลือดย่อมติดกับที่นอนให้ต้องเจ็บปวด ทรมาน คนป่วยด้วยโรคเรื้อนจึงต้องใช้ใบตองรองนอน เพื่อไม่ให้แผลเกรอะ กรังติดที่นอน จะมีใครเล่าทีค่ อยไปตัดใบตองมาให้รองนอน และคอยเปลีย่ นใบตอง ที่เขรอะด้วยน�้ำเลือดน�้ำหนองให้แม่เพียงคนเดียวเท่านั้น แม่ทเี่ คยอุม้ ชูลกู ตัง้ แต่ยงั นอนแบเบาะ และแม้เมือ่ ลูกโตเป็นหนุม่ แล้ว มามีอันเจ็บป่วยสังคมรังเกียจ เหลือแม่....แม่เพียงคนเดียวที่ไม่เคยรังเกียจลูกไปตามกระแสสังคม ลูกจะยังเป็นทารก หรือลูกโตเป็นหนุ่มแล้ว ความรักของแม่ไม่เคย เปลี่ยนแปลง ชีวติ จริงอันขืน่ เข็ญ พลังรักอันงดงามของแม่ เหล่านีก้ ระมังเป็นทีม่ า ของเพลงอย่าง ‘ค่าน�้ำนม’ ”

148 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

อาจินต์ ปัญจพรรค์ นักเขียนรุ่นครู กล่าวถึงครูไพบูลย์ว่า “ผมนับถือที่สุด คนคนนี้เหมาะสมเรียกว่าครู เพราะภาษาไทยท่าน ชัน้ หนึง่ จะเห็นได้วา่ นักเรียน ม.แปดแผนกภาษาสมัยก่อนนี้ ภูมริ ดู้ า้ นภาษา ไทยแน่น เขาเรียนเวสสันดรชาดกนี่มีค�ำเยอะ และเต็มไปด้วยความเปรียบ เทียบพรรณนาโวหาร เพลงของครูไพบูลย์คอื กวี เนือ้ เพลงคือบทกวี สมบูรณ์ พร้อมด้วยรูป รส กลิน่ เสียง สัมผัส ฟังแล้วเห็นภาพอย่างขลุย่ เป่าแผ่วพลิว้ ผ่านทิวแถวต้นตาล สามารถบรรยายภาพของเสียงขลุย่ ลัดเลาะผ่านต้นตาล เรียกว่าใช้ภาษาให้จินตนาการยอดเยี่ยม เรามองเห็นเสียงขลุ่ยลัดเลาะมา เลย อีกอย่างชื่อเพลงก็เป็นแบบกลบท เช่น กลิ่นโคลนสาบควาย, น้องนาง บ้านนา ผมชอบทุกเพลง ชีวิตเอยไม่เคยสบาย ค�ำว่าชีวิตเอยนี่เป็นกวีเลย นะ อย่าดูหมิ่นชาวนาเหมือนดั่งตาสี ขึ้นต้นมานี่เป็นคอลัมนิสต์เลยนะ คือ แสดงความเห็น หรือใบข้าวคมเรียวเกี่ยวแก้มเป็นรอย เป็นเพลงเพลงเดียว ทีบ่ รรยายภาพชาวนาโดนใบข้าวบาด (น้องนางบ้านนา) เป็นทัง้ กวีทงั้ คอลัมนิสต์” หนังสือ “คีตกวีลกู ทุง่ ไพบูลย์ บุตรขัน” เป็นชีวประวัตทิ สี่ มบูรณ์ทสี่ ดุ ของนักประพันธ์เพลงคนส�ำคัญคนหนึ่งของไทย นอกจากประวัติของครู ไพบูลย์แล้ว ยังเต็มไปด้วยประวัตขิ องนักร้อง นักแต่งเพลงอีกมากมายหลาย คน ล้วนน่าสนใจทั้งสิ้น

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 149

โดยเฉพาะเกร็ดประวัติเพลงหลายเพลงของครูไพบูลย์ เช่น เพลง สาส์นรักฉบับล่าแดน บุรรี มั ย์ หัวหน้าตลกและนักจัดรายการเพลงลูกทุง่ เล่า ว่า “.....ครูมักจะชอบคนสวย เห็นเป็นต้องติดใจ แต่ให้เอาจริงก็ไม่เอานะ ครูเป็นคนที่คิดอะไรยาวไกล ไม่มักง่ายในเรื่องพวกนี้....จนกระทั่งไปเจอ ผูห้ ญิงชือ่ ฝน ทีส่ ระบุรี เป็นเด็กสาวเพิง่ จบ ม.หก ชอบการแต่งการประพันธ์ แล้วก็มาติดพันครู....” จนตามครูไพบูลย์เข้ามาในกรุงเทพฯ ครูไพบูลย์พา ไปเช่าโรงแรมให้อยู่แถวผ่านฟ้า ซื้อเสื้อผ้าให้ แต่ “ไม่มีอะไรกัน” เพราะครู ไปอยู่ในโรงแรมกับเด็ก โดยแดน บุรีรัมย์อยู่ด้วยโดยตลอด แม้เด็กจะ แสดงออกว่ารัก แต่ครูไพบูลย์ก็หักห้ามใจ ไม่ท�ำอะไร บอกแดน บุรีรัมย์ ว่า “ไอ้แดนเราจะท�ำเขาได้ยงั ไง เราก็สงั ขารอย่างนี้ ขืนท�ำไปเด็กเขาเสียอนาคต อย่าดีกว่า....” ถ้าใครรู้จักครู จะรู้ว่าครูพูดจริง เพราะปกติก็สุภาพ เป็นผู้ดี ให้เกียรติผู้หญิง เพราะครูเป็นคนรักแม่มาก คือเป็นคนรู้จักคิด ไม่เอาแต่ สนุก........พอผ่านไปสักเดือน เด็กเห็นว่าครูคงไม่มอี ะไรมากไปกว่านัน้ อีกแล้ว ก็เลยขอกลับสระบุรี ก่อนกลับให้ทอี่ ยูก่ นั ไว้ เขียนจดหมายติดต่อกัน เรื่องของ “ฝน” ที่แดน บุรีรัมย์ ยืนยันว่า “ไม่มีอะไรกัน” นี้ หลายคน เชื่อว่า ฝน เป็นหนึ่งในสามผู้หญิงในชีวิตของครูไพบูลย์ วันหนึ่งครูไพบูลย์คิดถึงฝนมาก จึงเขียนจดหมายถึง ปกติ “ต้องมี

150 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ปากกาติดกระเป๋าตลอดเวลา สีนำ�้ เงินกับสีแดง คือสีแดงเอาไว้แก้ ไว้ขดี เส้น ใต้ จะเน้นอะไร” วันที่เขียนจดหมายถึงฝน เขียนไปๆ ปากกาน�้ำเงินหมึก หมด ก็เอาปากกาหมีกแดงมาเขียนต่อ “เขียนไปแกก็นั่งบ่น คนบ้าอะไรเอา หมึกแดงเขียนจดหมาย แล้วใครเขาจะอยากอ่าน เขียนไปเขียนมาครูกบ็ อก ว่า ขี้เกียจเขียนจดหมายแล้ว เขียนเพลงเลยดีกว่า....” จนออกมาเป็น “สาส์นรักฉบับล่า” ซึ่งมีจินตนาการและแปลความหมายอันบรรเจิดว่า ......สีน�้ำหมึกที่ฉันผนึกอักษร ถ้าบางตอนเห็นเธอจะต้องสงสัย เขียนด้วยสีแดง แม้นเธอแคลงว่าเขียนท�ำไม ฉันขอบอกให้ สีเลือดจากใจฉันจารึกมา ชลธี ธารทอง นามจริง สมนึก ทองมา นักแต่งเพลงผู้มีชื่อเสียง มีผลงานเพลงดังๆ มากมาย เป็นศิษย์คนหนึ่งของครูไพบูลย์ พูดถึงเพลง ฝีมอื ครูไพบูลย์ทตี่ นชืน่ ชอบเป็นพิเศษ ว่า “หนึง่ ต้องโลกนีค้ อื ละคร..... สอง น�้ำตาเทียน ...สามคือสาส์นรักฉบับล่า” ข้อเขียนตอนต้นๆ ของหนังสือเล่มนี้ ที่น่าจะเป็นบทสรุปชีวิตของ ครูไพบูลย์ บุตรขันก็คือ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 151

“โรคร้ายท�ำให้เขาทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่มันกลับ ท�ำให้เขามุมานะสร้างสรรค์ผลงานเพลง มิได้อ้างอิงความบกพร่องของ สังขาร ร้องขอความเห็นใจใครอย่างคับแคบชวนเวทนาแบบ “พิการทัศน์” หากเชื่อมั่นในพลังสร้างสรรค์ของตนแบบ “อัครทัศน์” แสนเข้มข้นเมื่อ วิจารณ์การเมือง และสังคมที่มีความเหลื่อมล�้ำต�่ำสูง แต่เมื่อเป็นเพลงรัก กลับหวานเศร้าสร้อย และหลายเพลงบ่งบอกถึงความเก็บกด เมื่อร่างกาย เป็นข้อจ�ำกัดมิให้สมปรารถนาในรักใคร่ กระทัง่ เพลงเพลินชมธรรมชาติกม็ กั จะเป็นความงามแฝงความเศร้า ดังเพลงแรกที่เขาแต่งและได้บันทึกแผ่น เสียง มนต์เมืองเหนือ พ.ศ. 2492 ขับร้องโดย สมยศ ทัศนพันธ์ ค�ำ พิการทัศน์ แล อัครทัศน์ เป็นส�ำนวนของ อาจินต์ ปัญจาพรรค์ พญาอินทรีย์คนหนึ่งในโลกวรรณกรรมไทย แน่นอน ประวัติชีวิตของครูไพบูลย์ บุตรขัน คือ แบบอย่างส�ำหรับ ทัง้ คนปกติและคนพิการ ทีแ่ ม้จะต้องประสบชะตากรรมเลวร้ายมากมาย จน “พิการทัศน์” ครอบง�ำ แต่ถงึ ทีส่ ดุ แล้วก็สมควรเลือกน�ำทางชีวติ ด้วย “อัครทัศน์”

152 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 153

ร์แมน อ ป เ ู ซ ด อ ย : ์ ว ฟ ี ร ์ ร อ เฟ ต คริสโ

ก�ำเนิดซูเปอร์แมน ซูเปอร์แมน หรือ “ยอดมนุษย์” เป็นความฝันของมนุษย์ที่ต้องการ บุคคลทีม่ คี วามสามารถเหนือมนุษย์ หรือเก่งเกินมนุษย์ แต่เป็นคนทีม่ จี ติ ใจ ดี และพร้อมจะปกป้องมนุษย์ให้พ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง แต่การที่จะสร้าง ซูเปอร์แมนให้เป็นทีร่ กั ศรัทธา ชืน่ ชม และยอมรับของผูค้ นอย่างกว้างขวาง ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ซูเปอร์แมนในโลกแห่งความเป็นจริง เกิดจากการสร้างสรรค์ของคน สองคนคือ เจอร์รี ซีเกล (Jerry Siegel) และ โจ ชูสเตอร์ (Joe Shuster)

154 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ซีเกล เป็นนักเขียนชาวอเมริกนั ส่วนชูสเตอร์เป็นชาวอเมริกนั เกิดในแคนาดา ทั้งคู่อาศัยอยู่ในเมืองคลีฟแลนด์ มลรัฐโอไฮโอ ความพยายามสร้างซูเปอร์ แมน ตั้งต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2475 เริ่มแรกทั้งสองสร้างตัวละคร “ซูเปอร์แมน” เป็นผูร้ า้ ยทีม่ อี ำ� นาจพิเศษ มีลกั ษณะเป็นชายศีรษะล้าน มีอำ� นาจครอบครอง โลก โดยท�ำเป็นเรือ่ งสัน้ ในรูปของนิยายวิทยาศาสตร์ ตัง้ ชือ่ ว่า “ยุคสมัยของ ซูเปอร์-แมน” (The Reign of the Super-Man) หนังสือได้พิมพ์จ�ำหน่าย ออกมาเมื่อ พ.ศ. 2476 ปลายปีนั้นทั้งสองเปลี่ยนบุคลิกของตัวละครนี้เป็น ตรงกันข้าม คือ เป็น “พระเอก” แทน โดยสร้างตัวละครในอุดมคติ เป็น ซูเปอร์แมนคนใหม่ มีสองสถานะ สถานะหนึ่งเป็น “ยอดมนุษย์” อีกสถานะ หนึ่งเป็นคนธรรมดามีชื่อว่า คลาร์ค เค้นท์ (Clark Kent) โดยผูกชื่อจาก พระเอกหนังชื่อดังในสมัยนั้นสองคน คือ คลาร์ก เกเบิล (Clark Gable) กับ เค้นท์ เทเลอร์ (Kent Taylor) ทั้งคู่พยายามขายเรื่องนี้ให้ส�ำนักพิมพ์ต่างๆ อยู่ถึง 6 ปี จึงมีผู้รับพิมพ์จ�ำหน่าย เป็นหนังสือการ์ตูน ขาว-ด�ำ หนา 48 หน้า ชื่อ “นักสืบแดน : ปฏิบัติการลับหมายเลข 48” (Detective Dan : Secret Operative No.48) มีจดหมายเขียนมาชมเชยอยูบ่ า้ ง แต่สำ� นักพิมพ์ ก็ไม่สนใจรับพิมพ์การ์ตูนชุดนี้อีก ชูสเตอร์เสียใจมาก ถึงขั้นเอาหนังสือ การ์ตูนไปเผา ยังดีที่ซีเกลเห็นเข้า สามารถช่วยให้ปกไม่ถูกเผาไปด้วย ซีเกล เห็นว่าชูสเตอร์คงไม่มีใจจะท�ำงานนี้ต่อ จึงไปสร้างทีมกับนัก เขียนการ์ตนู อีกสามคน สร้างซูเปอร์แมนขึน้ มาใหม่ ต่อมาชูสเตอร์กบั ซีเกล

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 155

จึงกลับมาร่วมงานกันอีก ในที่สุดซูเปอร์แมนต้นฉบับดั้งเดิมก็ถือก�ำเนิดขึ้น ในโลกในชื่อ “แอ็คชันโคมิก หมายเลข 1” (Action Comics No 1) ตีพิมพ์ ออกจ�ำหน่ายเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2481 โดยถือเป็นฉบับประจ�ำเดือน มิถนุ ายน 2481 การ์ตนู ฉบับจริงเล่มนี้ มีการประมูลขายเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ได้ราคาถึง 1 ล้านดอลลาร์ ในการสร้างตัวละครซูเปอร์แมนให้มคี วามสามารถเหนือมนุษย์ ซีเกล และชูสเตอร์ มีแนวคิดคล้ายการสร้างเรื่องราวก�ำเนิดหนุมานในเรื่อง รามเกียรติ์ หรือก�ำเนิดเห้งเจีย ในเรื่องไซอิ๋ว ซูเปอร์แมนจึงมิใช่มนุษย์ที่ ก�ำเนิดบนโลกมนุษย์ แต่ถอื ก�ำเนิดบนดาวพระเคราะห์ชอื่ คริปตอน (Krypton) จอร์-เอล (Jor-El) พ่อของซูเปอร์แมนเป็นนักวิทยาศาสตร์ เมือ่ รูว้ า่ ดาวคริป ตอนก�ำลังจะแตกสลายจึงน�ำลูกชายขึ้นจรวดและส่งมายังโลกมนุษย์ มาถึง โลกอย่างปลอดภัยในมลรัฐแคนซัส มีชาวนาคือ แซม และ มอลลี เค้นท์ มาพบเข้า จึงน�ำไปเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนให้เคร่งครัดในศีลธรรม โดยตั้ง ชื่อว่า คลาร์ค เค้นท์ ซูเปอร์แมนได้แสดงพลังความสามารถเหนือมนุษย์ใน ฐานะเป็นมนุษย์จากต่างดาวมาตั้งแต่เล็ก ความเหนือมนุษย์ของซูเปอร์แมน แรกๆ ซูเปอร์แมน ยังไม่มีความสามารถเหนือมนุษย์มากมายนัก เพียงมีพลังมากขนาดยกรถยนต์ขึ้นเหนือศีรษะได้ โดยชูสเตอร์เขียนปก

156 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

การ์ตูนเล่มแรกให้ซูเปอร์แมนยกรถโฟล์คเต่าทองชูขึ้นเหนือศีรษะ สามารถ วิ่งได้เร็วมาก กระโดดได้ไกลถึง 1/8 ไมล์ และหนังเหนียวจนแทงไม่เข้า ซีเกลและชูสเตอร์เปรียบเทียบพลังของซูเปอร์แมนยุคแรกเริม่ ว่า มีพลังและ กระโดดได้อย่าง “มดและตั๊กแตน” ต่อมาซูเปอร์แมนก็เพิ่มความเป็นยอด มนุษย์มากขึน้ ๆ จนเคลือ่ นที่ได้เร็วกว่าลูกปืน มีแรงยกตึกสูงๆ ได้อย่างสบาย มีตาทีม่ องทะลุทะลวงได้อย่างเอกซเรย์ เห็นในทีม่ ดื ได้อย่างมีแสงอินฟราเรด มองของเล็กๆ ได้อย่างกล้องจุลทรรศน์ มีหูทิพย์ มีลมหายใจที่วิเศษที่ สามารถหายใจในจุดเยือกแข็งได้ แรกๆ เหาะไม่ได้ ต่อมาก็เหาะได้จน สามารถเหาะข้ามจักรวาล ข้ามกาแลกซี่ และเหาะไปหยุดลูกอุกกาบาตมิให้ มาชนโลกได้ ความอยู่ยงคงกะพันเริ่มจากทนกระสุนปืน ต่อมาพัฒนาไปถึง ขั้นทนทานต่อพลังระเบิดนิวเคลียร์ และเก่งกว่าหนุมานที่สามารถเหาะเหิน ไปถึงดวงอาทิตย์ ได้โดยไม่ถูกเผาท�ำลาย ไม่มอดไหม้เป็นจุณ จากยกตึกก็ ถึงขั้นเคลื่อนย้ายภูเขาได้ และสามารถท่องอยู่ในอวกาศที่ไร้ออกซิเจนได้ พลังความสามารถเหล่านีพ้ ฒ ั นาขึน้ ก็เพือ่ ให้สามารถต่อสูก้ บั ภัยร้ายต่างๆ ได้ อย่างไม่มีขีดจ�ำกัด อุปนิสัยใจคอและบุคลิกภาพ เมื่อเริ่มต้น ซีเกลและชูสเตอร์สร้างซูเปอร์แมนให้มีลักษณะหยาบ กระด้างและก้าวร้าว ต่อสูก้ บั อธรรมอย่างถึงลูกถึงคน โดยไม่ตระหนักว่าพลัง เหนือมนุษย์ของตนอาจท�ำอันตรายคูต่ อ่ สูถ้ งึ ตาย ต่อมาจึงมีการปรับอุปนิสยั

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 157

ใจคอและบุคลิกภาพซูเปอร์แมนให้ออ่ นโยนลง โดยมีอดุ มคติและอยู่ในกรอบ ศีลธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากทศวรรษ 1940 เป็นต้นมา ปัจจุบันภาพของ ซูเปอร์แมนจะเป็นคนกล้าหาญ แต่ใจดี มีสำ� นึกสูงในเรือ่ งความยุตธิ รรม ศีล ธรรมและความชอบธรรม ยึดถือเคร่งครัดในหลักศีลธรรมตามที่ได้รับการ อบรมสั่งสอนมาโดยครอบครัวชาวนาในชนบทของสหรัฐอเมริกา และ ประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของกฎหมาย ถือเป็นตัวอย่างของ “พลเมืองดี” จ�ำนวนมาก แต่บรรดา “สายเหยี่ยว” ทั้งหลายมักวิพากษ์วิจารณ์ว่าซูเปอร์ แมนมีลักษณะเหมือน “ลูกเสือในชุดสีฟ้าตัวโต” (Big Blue Boy Scout) เพราะโลกก�ำเนิดของตนคือดาวคริปตันของเขาถูกท�ำลายจึงเป็นแรง บันดาลใจส�ำคัญ ท�ำให้ซูเปอร์แมนท�ำหน้าที่พิทักษ์ โลกซึ่งเป็น “บ้านอยู่ อาศัย” ของตนอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะคือการปกป้องครอบครัวของคลาร์ก เค้นท์ และบรรดามิตรสหาย แต่เพราะสูญเสีย “โลกบ้านเกิด” และการต้อง ใช้พลังเหนือมนุษย์ของตนอย่างมีความรับผิดชอบ ท�ำให้ซเู ปอร์แมนมีความ อ้างว้างอยู่ลึกๆ แม้จะมีเพื่อนมากมาย มีพ่อแม่ และต่อมาผู้สร้างซูเปอร์ แมนยังจัดการให้เขาแต่งงานด้วยก็ตาม อีกด้านหนึ่งของซูเปอร์แมน สามลักษณะเด่นของซูเปอร์แมนที่ก�ำหนดมาแต่ต้นคือ 1) เป็นผู้มา เยือนจากต่างดาว 2) เป็นอภิมนุษย์ และ 3) มีสองอัตลักษณ์คือ ด้านหนึ่ง

158 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เป็นซูเปอร์แมน อีกด้านหนึ่งเป็นมนุษย์ธรรมดาในชื่อคลาร์ค เค้นท์ ซึ่งมี อาชีพเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์ “เดลีแพลเนต” (Daily Planet) หรือ “ดาว พระเคราะห์รายวัน” อิทธิพลต่อแนวคิดการสร้างซูเปอร์แมน มีนกั ศึกษาและนักวิเคราะห์หลายคน ศึกษาถึงสิง่ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อแนวคิด ในการสร้างตัวละครซูเปอร์แมนออกมา ได้ข้อสรุปหลายข้อ ดังนี้ 1. สภาพเศรษฐกิจตกต�ำ่ ทัว่ โลก ท�ำให้ผคู้ นอดอยากและมีปญั หาสังคม ตามมามากมาย รัฐไม่สามารถแก้ปญั หาอาชญากรรมและความเลวร้ายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท�ำให้เกิดความฝันทีจ่ ะมี “วีรบุรษุ ” เข้ามาต่อสูเ้ หล่า ร้าย ช่วยเหลือผู้คนให้พ้นทุกข์ภัยได้อย่างทันการณ์ 2. ภาพ “วีรบุรษ” ทีห่ ล่อหลอมเข้ามาเป็นซูเปอร์แมน มีตงั้ แต่วรี บุรษุ ใน ต�ำนานอย่าง เฮอร์ควิ ลิส และแซมซันผูท้ รงพลัง นักบินอย่างชาร์ลส์ ลินด์เบิรก์ ผูส้ ามารถบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้เป็นคนแรก และฮูโก แคนเนอร์ พระเอกในนวนิยาย เรือ่ งแกลดิเอเตอร์ ผูม้ พี ลังเช่นเดียวกับซูเปอร์แมนในยุคแรก 3. อิทธิพลของนวนิยายวิทยาศาสตร์ ทีม่ ชี อื่ เสียงในสมัยนัน้ เช่น เรือ่ ง ราวของอาร์น มันโร ทายาทของมนุษย์ในโลกแต่ไปเติบโตในดาวพฤหัสบดีซึ่งมี

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 159

แรงโน้มถ่วงสูงกว่าโลกมาก จึงมีทงั้ สติปญั ญา และพลังร่างกายเหนือมนุษย์ธรรมดา 4. ทั้งซีเกลและชูสเตอร์ล้วนเป็นชาวยิว จึงมีอิทธิพลจากคติของยิว แฝงอยู่ กล่าวคือชื่อเดิมของซูเปอร์แมนในดาวพระเคราะห์คริปตัน คือ “คาล-เอล” (Kal-El) ซึ่งคล้ายคลึงกับค�ำในภาษาฮิบรู ซึ่งมีความหมายว่า “เสียงของพระเจ้า” [el เป็น “ปัจจัย” (suffix) แปลว่า(ของ)พระเจ้า] บทบาท ของซูเปอร์แมนจึงอุปมาดังบทบาท “โมเสส” ในฐานะของ “ศาสดาพยากรณ์” (Prophet) การสร้างเรื่องราวให้ซูเปอร์แมนถูกพ่อแม่ส่งจากต่างดาวมาเป็น ลูกบุญธรรมของพ่อแม่คนใหม่ เพือ่ ให้เด็กรอดตายจากดวงดาวทีก่ ำ� ลังแตกสลาย ก็ละม้ายคล้ายคลึงกับที่พ่อแม่กระท�ำกับโมเสส ค�ำบรรยายก�ำเนิดเรื่องการ เกิดการตายบนดาวคริปตันใช้สำ� นวนเลียนแบบคัมภีร์ไบเบิลภาค “ปฐมกาล” (Genesis) นักวิทยาศาสตร์บางคนเปรียบเทียบบทบาทของซูเปอร์แมน โดย เทียบกับบทบาทของพระเยซูในฐานะ “พระมหาไถ่” ส�ำหรับมนุษย์ 5. นักวิจารณ์บางคนกล่าวถึงอิทธิพลจากหนังสือเรื่อง “อภิมนุษย์” (Ubermensch) ของฟรีดริช นิทซ์เซ่ นักปรัชญาคนส�ำคัญของเยอรมนี ค�ำค�ำนี้ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ นักประพันธ์คนส�ำคัญของอังกฤษแปลว่า “ซูเปอร์แมน” นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดปรัชญาของนิทซ์เช่

160 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

อาจมีอิทธิพลต่อผู้สร้างซูเปอร์แมน แต่หลายคนโต้แย้งเพราะแนวคิดของ นิทซ์เช่ เสนอให้ “มนุษย์ทสี่ มบูรณ์” จะต้องก้าวพ้นไปจากกฎเกณฑ์ศลี ธรรม ที่สังคมยอมรับ ขณะที่ซีเกล และชูสเตอร์สร้างซูเปอร์แมนให้มีมาตรฐาน ทางศีลธรรมสูง และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของสังคมอย่างเคร่งครัด 6. ซีเกลและชูสเตอร์เล่าว่า นวนิยายวิทยาศาสตร์มีอิทธิพลต่อพวก เขามาก เช่น เรือ่ งราวของมนุษย์ที่ไปอยู่ในดาวอังคารซึง่ เล็กกว่าโลก ท�ำให้ เขามีพลก�ำลังมากขึน้ ทัง้ คูเ่ ป็นนักอ่านและชอบสะสมการ์ตนู ศึกษาผลงาน ของนักเขียนการ์ตูนคนส�ำคัญๆ และสร้างเอกลักษณ์ของตนเองขึ้น และ ภาพยนตร์กม็ อี ทิ ธิพลต่อผลงานของพวกเขา โดยเฉพาะบทบาทของดักลาส แฟร์แบงค์ในภาพยนตร์เรื่องโรบินฮูด 7. นักวิชาการบางคนตัง้ ข้อสังเกตว่า การทีซ่ เู ปอร์แมนอยูย่ งคงกะพัน อาจเป็นผลจากกรณีที่พ่อของซีเกลซึ่งเป็นผู้อพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งโดย เปิดร้านขายเสือ้ ผ้าทีเ่ มืองคลีฟแลนด์ และเสียชีวติ จากการถูกปล้นเมือ่ พ.ศ. 2475 ก่อนก�ำเนิดซูเปอร์แมนหนึ่งปี 8. เครื่องแต่งกายซูเปอร์แมน ได้รับแรงบันดาลใจจากชุดแต่งกาย ของนักแสดงละครสัตว์ น�ำมาดัดแปลงลงตัวเป็นชุดสีฟ้ารัดรูป นุ่งกางเกงสี แดงแบบกางเกงในรัดรูปทับอยูภ่ ายนอก หน้าอกมีกรอบรูปโล่พร้อมตัวอักษร

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 161

เอส (S) ซึ่งย่อมาจากซูเปอร์แมน ความสามารถที่เป็นผู้ควบคุมสัตว์นานา ชนิดได้ของนักแสดงละครสัตว์โดยเฉพาะบรรดาสัตว์ร้าย เช่น เสือ สิงโต ก็ เป็นความฝันพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการคนซึ่งเก่งเหนือคนทั่วไป จากการ์ตูนสู่สื่อหลากหลาย หลังจากซูเปอร์แมนซึง่ ก�ำเนิดในรูปหนังสือการ์ตนู ประสบความส�ำเร็จ เป็นที่นิยมชมชอบอย่างกว้างขวาง ซูเปอร์แมนก็ได้ออกสู่สื่อต่างๆ หลาก หลาย จากหนังสือการ์ตูนเล่ม เริ่มขยายออกสู่การท�ำเป็นการ์ตูนเผยแพร่ เป็นตอนๆ ในหนังสือพิมพ์รายวันตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2482 ซึ่ง ได้รบั ความนิยมต่อมาอย่างยาวนานจนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2509 เมือ่ วิทยุเริ่มมีบทบาทอย่างกว้างขวางในสังคม ก็มีการจัดท�ำรายการเป็นซีรีส์ ทางวิทยุในชื่อ “การผจญภัยของซูเปอร์แมน” (The Adventure of Superman) เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2483 ซึ่งก็ได้รับความ นิยมอย่างยาวนาน จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2494 ระหว่างนั้นมีการสร้าง ซูเปอร์แมนในรูปแอนิเมชัน โดยมีการจัดท�ำถึง 17ภาค ในช่วง พ.ศ. 2484 - 2486 ซูเปอร์แมนได้สร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 น�ำแสดง โดย เคิร์ค อลิน (Kirk Alyn) ซึ่งได้รับความนิยมจนต้องท�ำภาคสองออกฉาย เมื่อ พ.ศ. 2493 ต่อมาก็ได้สร้างเป็นภาพยนตร์ชุดทางโทรทัศน์ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ในชื่อเดียวกับที่เผยแพร่ทางวิทยุคือ “การผจญภัยของซูเปอร์

162 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แมน” น�ำแสดงโดยจอร์จ รีฟว์ (George Reeve) ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้ มีถึง 104 ตอน ออกฉายระหว่าง พ.ศ. 2495 – 2501 เมื่อ พ.ศ. 2509 ซูเปอร์แมนได้ขึ้นสู่เวทีละครเพลงบรอดเวย์ ในชื่อ “มันคือนก... มันคือเครื่องบิน...มันคือ ซูเปอร์แมน” (It’s a Bird… It’s a Plane… It’s Superman) ละครได้รับค�ำชมจากนักวิจารณ์ด้วยดี แต่ก็ต้อง ลาโรงไปหลังแสดงได้ 129 รอบ ต่อมาบทละครเรือ่ งนี้ได้นำ� มาสร้างใหม่และ ออกฉายทางโทรทัศน์ และมีการท�ำในรูปแอนิเมชัน ออกฉายเป็นชุดทาง โทรทัศน์ 68 ตอน แพร่ภาพในช่วง พ.ศ. 2509 – 2512 และต่อมายังมี การจัดท�ำในรูปแอนิเมชันออกฉายทางสถานีโทรทัศน์เอบีซี ในช่วง พ.ศ. 2516 – 2527 มีการน�ำเรือ่ งซูเปอร์แมนมาท�ำเป็นภาพยนตร์อกี ครัง้ เมือ่ พ.ศ. 2521 น�ำแสดงโดยคริสโตเฟอร์ รีฟว์ ซึ่งประสบความส�ำเร็จอย่างมาก จนต้องท�ำ ต่อมาอีก 3 ภาค คือ ซูเปอร์แมน ภาค 2 พ.ศ. 2523 ซูเปอร์แมน ภาค 3 พ.ศ. 2526 และซูเปอร์แมนภาค 4 พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นซูเปอร์แมนยัง กลับมาอีกหลายครั้ง

พ.ศ. 2531 ซูเปอร์แมนกลับสู่จอโทรทัศน์อีกครั้ง และฉายไปจนถึง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 163

พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2536 สถานีโทรทัศน์ เอบีซี สร้างซูเปอร์แมนออกเผยแพร่ อีกครั้ง และแพร่ภาพไปจน พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2539 เครือข่ายโทรทัศน์ของ วอร์เนอร์บราเธอร์ส สร้างแอนิเมชันซูเปอร์แมน เผยแพร่จนสิ้นศตวรรษ เมื่อ 2543 เมือ่ เริม่ คริสต์ศตวรรษใหม่ มีการสร้างซูเปอร์แมนช่วงวัยรุน่ ออกแพร่ ภาพทางโทรทัศน์ถึงสิบปีเต็ม ตั้งแต่ พ.ศ. 2544 – เดือน พฤษภาคม 2554 และอีกหลายๆ ครั้ง ซูเปอร์แมน ได้รับความนิยม และยอมรับอย่างกว้างขวางมาอย่าง ยาวนาน ได้รบั การยกย่องอย่างเป็นทางการหลายครัง้ เช่น นิตยสารเอมไพร์ ยกย่องให้ซูเปอร์แมนเป็นการ์ตูนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล ในปี พ.ศ. 2547 สมาคมผูช้ มภาพยนตร์องั กฤษยกย่องให้ซเู ปอร์แมนเป็นซูเปอร์ฮโี รทีย่ งิ่ ใหญ่ ที่สุดตลอดกาล ส�ำหรับผู้แสดงเป็นซูเปอร์แมน ผู้ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคือ คริสโตเฟอร์ รีฟว์ โดยเขาได้รับยกย่องทั้งในฐานะผู้แสดงเป็นซูเปอร์แมน และในบทบาททางสังคมอันโดดเด่นมากมายของเขา

164 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คริสโตเฟอร์ รีฟว์ : ยอดซูเปอร์แมน คริสโตเฟอร์ รีฟว์ เกิดเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2495 ที่นคร นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เขาเป็นทั้งดาราละคร ดาราภาพยนตร์ ผู้ก�ำกับ ภาพยนตร์ ผู้สร้าง ผู้เขียนบท นักประพันธ์ และแอ๊คติวิสต์ คริสโตเฟอร์ มาจากครอบครัวและตระกูลที่มีฐานะและพื้นฐานดี แม่ เป็นนักหนังสือพิมพ์ พ่อเป็นครู นักประพันธ์ กวี และนักปราชญ์ พ่อทูนหัว ของเขาเป็นซีอีโอของบริษัทประกันพรูเดนเชียล ไฟแนนเชียล (Prudential Financial) อยูน่ านกว่า 25 ปี บริษทั ดังกล่าวเป็นบริษทั ติดอันดับ 500 บริษทั ของนิตยสารฟอร์จูน ทวดของเขาเป็นนักธุรกิจใหญ่ เป็นทหารผ่านศึกใน สงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ และเป็นประธานองค์การ ทหารผ่านศึกอเมริกันคนแรก พ่อของเขา สืบสายจากผูว้ า่ การมลรัฐแมสซาชูเสตส์ รอง ผูว้ า่ การมลรัฐเพนซิลเวเนีย ตุลาการศาลสูงสุด แม่เป็นหลานสาวของตุลาการศาลสูงสุด และ สืบเชือ้ สายมาจากผูอ้ พยพมาอเมริกา รุน่ แรก ในเรือเมย์ฟลาวเวอร์ พ่อของเขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ชั้นน�ำของสหรัฐทั้งปรินซ์ตัน และโคลัมเบีย

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 165

และยังมีชีวิต “ติดดิน” โดยแม้จะมาจากครอบครัวฐานะดี ช่วงปิดภาคเรียน ฤดูร้อนก็ยังไปท�ำงานที่ท่าเรือ คริสโตเฟอร์มีน้องชายหนึ่งคนชื่อเบนจามิน เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2496 พ่อและแม่ของเขาหย่าขาดจากกัน เมือ่ พ.ศ. 2499 พ่อแต่งงานใหม่ กับบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในปีเดียวกันกับที่หย่าจากแม่ ส่วน แม่แต่งงานใหม่กับนักค้าหุ้น เมื่อสามปีต่อมา คริสโตเฟอร์กับน้องชายซึ่ง อยู่กับแม่เข้าเรียนที่โรงเรียนปรินสตัน ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนของคนชั้นสูง คริสโตเฟอร์ทงั้ เรียนเก่ง และยังเก่งหลายอย่าง ทัง้ กรีฑา การละคร ฟุตบอล เบสบอล เทนนิส และฮอคกี้ เขาเล่นฮอคกี้เก่งจนได้รับรางวัลเกียรติยศจาก การแข่งขันของโรงเรียน คริสโตเฟอร์ บอกว่า เขากดดันตัวเองจนเก่งหลาย อย่างเพื่อให้พ่อยอมรับ เมือ่ อายุได้ 9 ขวบ คริสโตเฟอร์ได้รบั คัดเลือกให้แสดงละครสมัครเล่น เรื่องหนึ่งของโรงเรียน ซึ่งเขาพบว่าเขาชอบการแสดง ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี เขาได้รับคัดเลือกเข้าเป็นนักแสดงฝึกหัดที่โรงละครในเมืองวิลเลียมส์ทาวน์ ในมลรัฐแมสซาชูเซตส์ นักแสดงฝึกหัดส่วนใหญ่มาจากระดับมหาวิทยาลัย ขณะทีค่ ริสโตเฟอร์ยงั เรียนมัธยม แต่เขาก็สามารถเข้ากับรุน่ พี่ได้ดี และแสดง ได้ดีจนโอลิมเปีย ดูคากิส ซึ่งเป็นนักแสดงอาชีพบอกเขาว่า “ฉันประหลาด ใจมาก เธอมีความสามารถพิเศษมากเลย อย่าให้เสียของนะ” ฤดูรอ้ นปีตอ่ มา

166 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เขาได้รบั เลือกไปเป็นนักแสดงทีโ่ รงละครฤดูรอ้ นของฮาร์วาร์ดทีเ่ มืองเคมบริดจ์ ได้ค่าจ้างสัปดาห์ละ 44 ดอลลาร์ เขาแสดงได้ดีจนได้รับการวิจารณ์ชมเชย ทีน่ นั่ เองเขามีรกั ครัง้ แรกกับนักแสดงรุน่ พีว่ ยั 23 ปี ซึง่ หมัน้ แล้ว แต่การหมัน้ ก็ต้องเลิกรา เมื่อเช้าวันหนึ่งคู่หมั้นของเธอไปหาแล้วพบเธออยู่กับคริสโต เฟอร์ อย่างไรก็ดีเพราะวัยที่ต่างกัน ไม่ช้าทั้งคู่ก็เลิกราต่อกัน หลังเรียนจบมัธยมปลาย เมือ่ เดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2523 คริสโตเฟอร์ ได้แสดงละครที่บูธเบย์ ในมลรัฐเมน และวางแผนจะเข้าสู่วงการละคร บรอดเวย์ที่นครนิวยอร์ค แต่แม่แนะน�ำให้เขาเรียนต่อมหาวิทยาลัย ซึ่ง มหาวิทยาลัยมีชอื่ หลายแห่งอ้าแขนรับเขา ทัง้ มหาวิทยาลัยบราวน์ คาร์เนกี เมลลอน โคลัมเบีย คอร์เนล นอร์ทเวสเทิร์น และปรินซตัน เขาตัดสินใจ เลือกคอร์เนลด้วยเหตุผลส�ำคัญเพราะสามารถขับรถไปนครนิวยอร์คโดยใช้ เวลาราว 3 ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น เพราะความตั้งใจจะเอาดีทางเป็นดาราละคร ยังไม่เปลี่ยนแปลง ที่คอร์เนล คริสโตเฟอร์เข้าร่วมในแผนกการละคร และได้แสดงใน ละครเรือ่ งส�ำคัญคือ “คอยโกโดต์” (Waiting for Godot) และอีกหลายๆ เรือ่ ง พอถึงฤดู ใบไม้ร่วงขณะเป็นนักศึกษาน้องใหม่ เขาก็ได้รับการติดต่อจาก สตาร์ค เฮลเซลไทน์ ผูจ้ ดั การชือ่ ดัง ซึง่ เป็นผูป้ น้ั ดาราดัง คือ โรเบิรต์ เรดฟอร์ด และเป็นผู้แทนให้กับดาราใหญ่หลายคนเช่น ริชาร์ด แชมเบอร์เลน ไมเคิล

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 167

ดักลาส และ ซูซาน ซารานดอน เฮสเซลไทน์ ได้ดูคริสโตเฟอร์แสดงละคร เรือ่ ง “เดือนหนึง่ ในชนบท” (A Month in the Country) และเห็นแวว จึงเสนอ ตัวเป็นผู้แทนให้เขา ทั้งคู่ได้พบกันและเห็นตรงกันว่า คริสโตเฟอร์ควรเรียน ต่อ แต่ให้เข้ามานครนิวยอร์ค เดือนละครั้ง เพื่อพบตัวแทนบริษัทคัดเลือก ดาราและผู้สร้างละครเพื่อท�ำงานช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน ฤดูร้อนปีนั้นเอง เขาได้มีโอกาสได้เข้าไปดูการผลิตละครเรื่อง “สี่สิบกะรัต” (Forty Carats) พอขึน้ เป็นนักศึกษาปีทสี่ อง เขาได้สัญญาการแสดงตลอดฤดูกาลกับ งานเทศกาลละครเชคเสปียร์ทซี่ านดิเอโกด้วยการแสดงละครสามเรือ่ ง ก่อน จบปีสาม คริสโตเฟอร์ขอลาพัก 3 เดือน บินไปนครกลาสโกว์ สกอตแลนด์ ดูการสร้างละครทัง้ ทีส่ กอตแลนด์และอังกฤษ เขามีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับ ดาราหลายคน ต่อจากนั้นได้บินไปกรุงปารีสเพื่อศึกษาการละครที่นั่น คริสโตเฟอร์พูดฝรั่งเศสได้คล่อง เพราะเรียนภาษานี้ตั้งแต่ชนั้ ประถม 3 และ เรียนต่อมาจนเข้ามหาวิทยาลัย หลังกลับจากยุโรป คริสโตเฟอร์ตดั สินใจทีจ่ ะให้เวลากับการแสดงเป็น หลัก ตอนนั้นเขายังต้องเรียนอีกหลายวิชากว่าจะจบหลักสูตร เขาจึงเจรจา กับผู้จัดการโรงละครคอร์เนลและคณบดีคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในฐานะที่เรียนวิชาการละครเป็นวิชาเอก เขาเสนอว่าถ้าเขาไปเรียนต่อที่ สถาบันดนตรีและการละครจูลเลียร์ด (Juilliard) เขาจะ “ได้” มากกว่าเรียน

168 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ปีสที่ คี่ อร์เนล ทางมหาวิทยาลัยเห็นด้วยยอมเทียบการเรียนปีหนึง่ ทีจ่ ลู เลียร์ด เท่ากับการเรียนปีสุดท้ายที่คอร์เนล ในปี พ.ศ. 2516 มีนักศึกษาราวสองพันคนสมัครเข้าจูลเลียร์ดซึ่งรับ เพียง 20 คน เขาต้องสอบกับอาจารย์ของสถาบัน 10 คน รวมทัง้ จอห์น ฮูสแมน ซึ่งเพิ่งได้รับรางวัลตุ๊กตาทองจากเรื่อง The Paper Chase คริสโตเฟอร์สอบ ผ่าน จอห์น ฮูสแมน เสนอให้เขาออกไปเป็นนักแสดงเต็มตัว แต่เขาปฏิเสธ ช่วงฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2518 คริสโตเฟอร์ ไปรับคัดเลือกเพื่อแสดง ละครบรอดเวย์ มีดาราใหญ่รนุ่ คุณย่าคือแคเทอรีน เฮปเบิรน์ เห็นเขาระหว่าง การคัดเลือกและชอบใจ เลือกเขาเป็นผู้แสดงเป็นหลานของเธอ ต่อมาทั้งคู่ สนิทสนมกันมากจนเป็นข่าวซุบซิบถึงสัมพันธ์รักต่างวัยของคนทั้งสอง แคเทอรีนพูดถึง คริสโตเฟอร์ว่า “เธอจะเป็นดาราใหญ่ และได้ดูแลฉันตอน ฉันแก่” คริสโตเฟอร์ตอบว่า “ผมไม่อาจรอได้นานขนาดนั้น” เมื่อละครเรื่อง นั้นย้ายข้ามฟากไปแสดงที่นครลอสแอนเจลิสในปีต่อมา คริสโตเฟอร์ไม่ได้ ตามไปด้วย สร้างความผิดหวังให้แก่แคเทอรีนมาก หลังจากนัน้ ทัง้ คูย่ งั ติดต่อ กันอีกหลายปี ถึงปี 2521 คริสโตเฟอร์ เริ่มเข้าสู่วงการฮอลลีวูด โดยแสดงเป็น ตัวประกอบเท่านั้น

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 169

ซูเปอร์แมน แม้จะเพิ่งเข้าสู่วงการฮอลลีวูด แต่เพราะ ความสามารถทางการแสดงที่โดดเด่น และรูปร่าง หน้าตาที่หล่อเหลามาดแมนพร้อมดวงตาสีฟ้า คริสโตเฟอร์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แสดงน� ำใน ภาพยนตร์เรือ่ งซูเปอร์แมนซึง่ เป็นหนังฟอร์มใหญ่ โดยต้องไปแสดงกับดาราผู้ยิ่งใหญ่คือ มาร์ลอน แบรนโด ซึ่งจะรับบทเป็น “จอร์-เอล” (Jor-El) พ่อ ของซูเปอร์แมน และ ยีน แฮคแมน ซึ่งจะแสดงเป็น เลกซ์ ลูเทอร์ ดาวร้าย ตัวฉกาจในเรื่องซูเปอร์แมน คริสโตเฟอร์สูง 190 ซ.ม. แต่น�้ำหนักเพียง 87 กิโลกรัม ซึ่งนับว่าผอมไปส�ำหรับบทบาทซูเปอร์แมน เขามีทางเลือกสอง ทาง คือพอก “กล้ามเนื้อปลอม” เข้าไปใต้ชุดซูเปอร์แมนกับเพิ่มน�้ำหนัก เขาเลือกเพิ่มน�้ำหนัก โดยไปเข้าคอร์สกับเดวิด พราวส์ (David Prowse) ผู้ แสดงเป็นดาร์ท เวเดอร์ ในเรือ่ งสตาร์วอร์ส คอร์สเพิม่ น�้ำหนักประกอบด้วย วิ่งตอนเช้า ต่อด้วยยกน�้ำหนัก 2 ชั่วโมง ฝึกยิมนาสติก 90 นาที และกิน อาหารโปรตีนสูงโดยเพิ่มปริมาณอาหารเป็นสองเท่า ในที่สุดเขาก็สามารถ เพิม่ น�ำ้ หนักโดยการเพิม่ กล้ามเนือ้ ได้ถงึ 16 กิโลกรัม เป็นทีพ่ อใจของทุกฝ่าย คริสโตเฟอร์ ไม่ใช่แฟนการ์ตูนซูเปอร์แมนมาก่อน แต่เคยดูหนังที่ จอร์จ รีฟว์น�ำแสดง เขาชอบบทในภาพยนตร์เรื่องนี้ ทีต่ อ้ งแสดงเป็นคนสอง

170 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คน คือซูเปอร์แมน กับ คลาร์ค เค้นท์ ผลการแสดงออกมาน่าพอใจ หนัง ได้ทั้งเงินและกล่อง นั่นคือ ได้เงินกว่า 300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงมาก ในเวลานั้นและเสียงวิจารณ์ชื่นชมก็เซ็งแซ่โดยเฉพาะการชื่นชมผู้แสดงน�ำ คริสโตเฟอร์กลายเป็นดาราชื่อก้องโลกแล้ว คริสโตเฟอร์ ใช้ความมีชอื่ เสียงของตนท�ำงานการกุศลหลายแห่ง เขา ร่วมกับมูลนิธิ “สร้างความหวัง” (Make-a-Wish Foundation) ไปเยี่ยมเด็ก ที่ป่วยระยะสุดท้าย เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารกองทุนช่วยเหลือเด็ก (Save the Children Fund) ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลที่ท�ำงานช่วยเหลือเด็ก ทัว่ โลก และไปเป็นโค้ชทัง้ กีฬาลูแ่ ละลานในการแข่งขันโอลิมปิกเพือ่ คนพิการ

ภาพยนตร์เรื่องอื่น หลังซูเปอร์แมนภาคหนึง่ ออกฉายเมือ่ พ.ศ. 2521 และได้ถา่ ยท�ำภาค สองไปด้วย ในปีต่อมาคริสโตเฟอร์ ได้แสดงเรื่อง Somewhere in Time ร่วม กับ เจน ซีมวั ร์ (Jane Semour) เป็นหนังดีแต่เพราะความผิดพลาดเรือ่ งการ ตลาด หนังจึงไม่ประสบความส�ำเร็จ แต่เกือบสิบปีต่อมาหนังเรื่องนี้กลับมา ดังอีกครัง้ และถือเป็น “ภาพยนตร์ศกั ดิส์ ทิ ธิ”์ ของวงการ เจนกับคริสโตเฟอร์ กลายเป็นเพือ่ นรักกันและเมือ่ ปี 2539 จีนคลอดลูกแฝด เธอตัง้ ชือ่ ลูกคนหนึง่ ว่าฆริสโตเฟอร์ (Kristopher) เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 171

คริสโตเฟอร์ยงั แสดงภาพยนตร์ดังๆ อีกหลายเรื่อง ร่วมกับดาราดังๆ อีกหลายคน เช่น ไมเคิล เคน วาเนสซา เรดเกรฟว์ และภาพยนตร์จาก นวนิยายเรื่องเยี่ยมของตอลสตอย คือ แอนนา คาเรนนินา ในภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แคเทอรีน เฮปเบิร์น โทรศัพท์ชื่นชมเขาว่า “ยอดเยี่ยมที่สุด” (absolutely marvelous) คริสโตเฟอร์ฝึกบินจนได้รับใบอนุญาตเป็นนักบิน เขาบินเดี่ยวข้าม มหาสมุทรแอตแลนติคถึงสองครั้ง ระหว่างถ่ายท�ำภาพยนตร์ซูเปอร์แมน ภาคสาม เวลาว่างเขาจะขับเครื่องบินเล่น เขาสมัครเป็นสมาชิกสโมสรเสือ อากาศ (The Tiger Club) ซึ่งเป็นสโมสรของนักบินที่เคยเป็นนักบินรบสมัย สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง “นักบิน” (The Aviator) ติดต่อให้เขาแสดงน�ำโดยไม่รวู้ า่ เขาเป็นนักบิน เขาจึงรับทันที และแสดงเอง ทั้งหมดในฉากผาดโผนบนเครื่องบินสมัยโบราณ โดยไม่ต้องใช้สตั๊นท์หรือ ตัวแสดงแทนเลย นอกจากแสดงภาพยนตร์แล้ว คริสโตเฟอร์ยังแสดงละครเวที และ ภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ด้วย ทางด้านการกีฬา คริสโตเฟอร์เริ่มสนใจกีฬา แข่งม้าอย่างมากตอนช่วงปลายทศวรรษ 1980 เขาฝึกซ้อมถึงสัปดาห์ละ 5-6

172 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

วัน นอกจากนี้ยังสนใจกีฬาเรือใบ เขาสร้างเรือ “เทพธิดาแห่งท้องทะเล” (Sea Angel) และแล่นเรือจากซีซาพีคไปถึงโนวาสโกเตียของแคนาดา งานสังคม นอกจากงานการแสดงแล้ว คริสโตเฟอร์ทำ� งานสังคมมากมาย ได้แก่ เข้าเป็นกรรมการบริหารของกองทุนชาร์ลส์ ลินด์เบิรก์ ซึง่ มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมเทคโนโลยีที่รักษาสิ่งแวดล้อม ท�ำงานสนับสนุนองค์กรนิรโทษกรรม สากล สภาป้องกันทรัพยากรธรรมชาติ และองค์กร “ประชาชนเพื่อวิถี อเมริกัน” (People for the American Way) เข้าร่วมกับกองบินรักษา สิ่งแวดล้อมของกองทัพอากาศ ขับเครื่องบินไชแอนน์ II ซึ่งเป็นเครื่องบิน เทอร์โบน�ำข้าราชการ และผูส้ อื่ ข่าวบินขึน้ ไปดูบริเวณทีส่ งิ่ แวดล้อมถูกท�ำลาย เมื่อฤดูใบไม้ร่วง ปี พ.ศ. 2530 นักแสดง 77 คน ในกรุงซานติอาโก ของชิลี ถูกคุกคามอย่างหนักโดยจอมเผด็จการออกุสโต ปิโนเชต์ คริสโตเฟอร์ได้รบั การขอร้องให้ไปช่วย เขาบินไปชิลแี ละช่วยน�ำการเดินขบวนต่อต้านปิโนเชต์ ต่อมาเขาได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดจากชิลีที่มอบให้แก่ชาวต่าง ชาติ ทางด้านการเมืองในประเทศเขารณรงค์หาเสียงให้แก่วฒ ุ สิ มาชิกแพตริค เลไฮย์ ตระเวนปราศรัยไปทั่วมลรัฐ เมื่อรอน ซิลเวอร์ เพื่อนของเขาก่อตั้ง องค์กร “พันธมิตรสร้างสรรค์” (Creative Coalition) เพื่อฝึก “คนดัง” ให้พูด เรื่องการเมืองอย่างผู้มีความรู้ คริสโตเฟอร์สมัครเป็นสมาชิกคนแรก พร้อม

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 173

กับดาราดังหลายคน เช่น ซูซาน ซาแรนดอน อเลค บอลด์วิน ต่อมาเขา ได้รบั เลือกเป็นประธานร่วมขององค์กรแห่งนี้ เขาท�ำงานนีจ้ นพรรคเดโมแครต สนใจ ชวนให้เขาลงสมัครเป็นสมาชิกสภาคองเกรส คริสโตเฟอร์ปฏิเสธ เพราะรู้ว่าถ้าเขาได้เป็นสมาชิกสภาคองเกรส อิทธิพลต่อรัฐบาลและรัฐสภา ในกรุงวอชิงตันของเขากลับจะลดลง ชีวิตคู่ ภรรยาคนแรกของคริสโตเฟอร์ คือ จี เอกซ์ตัน (Gae Exton) มีลูก คนแรกเป็นหญิง คือ แมทธิว เอกซตัน รีฟว์ เกิดเมือ่ วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2522 หลังซูเปอร์แมนภาคแรก ออกฉายได้ 1 ปี โดยเกิดที่โรงพยาบาลใน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ลูกคนที่สองก็เป็นหญิง ชื่ออเลกซานดรา เอกซตัน รีฟว์ เกิดทีโ่ รงพยาบาลแห่งเดียวกันในกรุงลอนดอน เมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2525 ความสัมพันธ์กับภรรยาคนแรกแตกสลาย และ แยกขาดจากกันเมื่อ พ.ศ. 2530 หลังซูเปอร์แมนภาค 4 ออกฉาย คริสโตเฟอร์กลับไปอยูน่ วิ ยอร์ค โดย ลูกทั้งสองคนอยู่กับแม่ที่ลอนดอน เขาปวดร้าวมาก พยายามหาทาง คลายทุกข์ด้วยการแสดงภาพยนตร์

174 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ประเภทชวนหัว แต่ไม่เป็นผล เพราะระหว่างถ่ายท�ำภาพยนตร์เรือ่ งนัน้ ดารา ส�ำคัญคือเบิร์ต เรย์โนลด์ กับ แคทลีน เทอร์เนอร์ มีเรื่องทะเลาะวิวาทกัน ท�ำให้เขาต้องไปท�ำหน้าทีห่ ย่าศึกระหว่างทัง้ สองคน ผลคือไม่สามารถแสดง ได้ดี และหนังก็ออกมาไม่ดี ไม่ท�ำเงิน จนเขาคิดว่า อนาคตการแสดง ภาพยนตร์ของเขาคงจะจบลงแล้ว ห้าเดือนหลังแยกทางกับจี เอกซ์ตัน คริสโตเฟอร์พาลูกไปเมือง วิลเลียมส์ทาวน์ ทั้งสองอายุ 7 และ 3 ขวบ ไปดูการแสดงดนตรีของวง “คาบาเรต์คอร์ปส์” (Cabaret Corps) คริสโตเฟอร์ติดใจนักร้องสาวคนหนึ่ง ในวง คือ ดานา มอโรซินิ (Dana Morosini) ทั้งคู่เริ่มออกเดตกัน และใน ที่สุดก็แต่งงานกันเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2535 สองเดือนหลังแต่งงาน ลูกชายคือวิลเลียม แอลลิออต รีฟว์ ก็เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คริสโตเฟอร์ยังพ�ำนักอยู่ที่นิวยอร์ค ซึ่งเขาสามารถนั่งเครื่องบิน คองคอร์ดไปเยีย่ มลูกทัง้ สองทีล่ อนดอนเป็นประจ�ำ ในปี พ.ศ. 2537 เขาได้รบั การติดต่อให้แสดงน�ำในซีรสี ท์ างสถานีโทรทัศน์ซบี เี อสสองเรือ่ ง โดยเขาต้อง ไปถ่ายท�ำที่ลอสแอนเจลิส ซึ่งอยู่คนละฟากของประเทศ ผลคือเขาจะไม่ สามารถบินไปเยีย่ มลูกได้เหมือนอยูน่ วิ ยอร์ค คริสโตเฟอร์จงึ ปฏิเสธข้อเสนอนัน้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 175

ก่อนเกิดอุบัติเหตุไม่นาน คริสโตเฟอร์ ได้แสดงเป็นคนพิการ–เป็น มนุษย์ลอ้ เขาต้องศึกษาชีวติ ของคนพิการที่โรงพยาบาลแห่งหนึง่ และเรียน รูว้ ธิ กี ารใช้รถเข็น ต่อมาเขาได้แสดงน�ำในภาพยนตร์อกี เรือ่ งหนึง่ ทีจ่ ะไปถ่าย ท�ำที่ไอร์แลนด์ เขาตืน่ เต้นทีจ่ ะได้ไปทีน่ นั่ ขณะเดียวกันก็เตรียมเป็นผูก้ ำ� กับ ภาพยนตร์โรแมนติกหรรษาอีกเรือ่ ง แต่ทกุ อย่างก็ลม่ สลายหมด เมือ่ เขาเดิน ทางไปเมืองคัลปีเปอร์มลรัฐเวอร์จิเนีย เพื่อเข้าแข่งม้าที่นั่น

อุบัติเหตุร้ายแรง คริสโตเฟอร์ฝึกขี่ม้าครั้งแรกเมื่อแสดงน�ำในภาพยนตร์เรื่องแอนนา คาเรนนินา ทีแ่ รกเขามีอาการ “แพ้” ม้า ท�ำให้ตอ้ งกินยาแก้แพ้ แต่เช่นเดียว กับกีฬาอืน่ ๆ เมือ่ ฝึกขีม่ า้ เขาก็ฝกึ อย่างจริงจัง ตัง้ แต่ พ.ศ. 2528 ฝึกอยูน่ าน หลายปี จนชินกับม้า และอาการแพ้กห็ ายไป เขาซือ้ ม้าพันธุด์ ี อายุ 12 ปี และ ฝึกกับม้าตัวนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 และเริ่มเข้าแข่ง จนได้ที่ 4 จากจ�ำนวน ผู้เข้าแข่ง 27 คน ในรอบคัดเลือกที่สนามแข่งม้าเมืองคัลปีเปอร์ มลรัฐ เวอร์จิเนีย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 เขาเข้าแข่งขี่ม้าข้ามเครื่อง กีดขวาง ขณะที่ม้าก�ำลังพุ่งทยานเตรียมกระโดดข้ามรั้วกั้นที่สาม ม้าเกิด หยุดกะทันหัน ร่างของคริสโตเฟอร์หลุดจากตัวม้า พุ่งทะยานไปข้างหน้า

176 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เชือกบังเหียนม้าพันมือทั้งสองข้างของเขาเข้าด้วยกัน ร่างของเขากระแทก พื้นโดยหัวโหม่งลงดิน หมวกนิรภัยท�ำหน้าที่ปกป้องสมองของเขาได้อย่าง ดี แต่น�้ำหนักตัว 98 กิโลกรัม ท�ำให้กระดูกต้นคอข้อที่ 1 และ 2 แตกจน แหลก เบียดเอาไขสันหลังบริเวณนั้นแหลกเหลวจนแทบไม่มีชิ้นดี เขาหมด สติทันทีและหยุดหายใจไปสามนาที เคราะห์ดีที่หน่วยปฐมพยาบาลเข้ามา ช่วยเหลืออย่างถูกต้องและทันการณ์ ท�ำให้สมองของเขายังไม่ขาดออกซิเจน นานเกิน 4 นาที กระดูกสันหลังที่บดขยี้ไขสันหลังส่วนบนแหลกเหลวแทบไม่มีชิ้นดี ท�ำให้เขาเป็นอัมพาตทั้งหมดทันทีตั้งแต่คอลงมา รวมทั้งไม่สามารถหายใจ เองได้ด้วย เขาถูกน�ำส่งโรงพยาบาลใกล้ที่เกิดเหตุซึ่งไม่มีขีดความสามารถ จะรักษาเขาได้ จึงส่งขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ไปยังโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของ มลรัฐเวอร์จิเนีย แม่เขาไปเยี่ยม เห็นสภาพของเขาแล้ว ถึงกับวิงวอนให้เขาตัดสินใจ ตายเสียดีกว่าอยู่ จะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมานและเป็นภาระแก่คนรอบข้างต่อ ไป เขาเกือบจะตัดสินใจลาโลกไปแล้ว แต่กลับเปลีย่ นใจอยูส่ โู้ ลกต่อไป เพราะ ดานาภรรยาของเขาพูดกับเขาด้วยน�้ำตานองหน้าว่า “ฉันขอบอกกับเธอว่า ฉันจะขอสนับสนุนการตัดสินใจของเธอทุกอย่างไม่วา่ เธอจะตัดสินใจอย่างไร

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 177

“ เขาเกือบจะตัดสินใจลาโลกไปแล้ว

แต่กลับเปลี่ยนใจอยู่สู้โลกต่อไป เพราะดานาภรรยาของเขา พูดกับเขาด้วยน�้ำตานองหน้าว่า “ฉันขอบอกกับเธอว่า ฉันจะขอสนับสนุนการตัดสินใจ ของเธอทุกอย่างไม่ว่าเธอจะตัดสินใจ อย่างไร เพราะมันเป็นชีวิตของเธอ แต่ฉันต้องการให้เธอรู้ว่า ฉันจะอยู่กับเธอตลอดไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เธอยังคงเป็นเธอและฉันรักเธอ”



178 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เพราะมันเป็นชีวิตของเธอ แต่ฉันต้องการให้เธอรู้ว่าฉันจะอยู่กับเธอตลอด ไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เธอยังคงเป็นเธอและฉันรักเธอ” เมื่อตัดสินใจที่จะอยู่ต่อไป ท�ำให้เขาต้องเผชิญกับความยากล�ำบาก มากมายแสนสาหัส ทั้งระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล ในสถาน กายภาพบ�ำบัด และเมื่อกลับไปบ้านก็เกือบเอาชีวิตไม่รอดหลายครั้งจาก เครื่องช่วยหายใจหลุดในยามวิกาล ต้องกลับเข้าไปโรงพยาบาลอีกกว่าสิบ ครั้ง จากอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม อุบัติเหตุแขนหัก แผลติด เชื้อขั้นรุนแรงจนเกือบต้องตัดขา แต่ด้วยพลังใจที่แข็งแกร่ง ด้วยความ สามารถของทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบ�ำบัด และเหนืออืน่ ใดคือด้วย การสนับสนุนอย่างอบอุ่นไม่เสื่อมคลายจากดานาภรรยา แพทย์ได้ทำ� การผ่าตัดเชือ่ มกระดูกคอข้อที่ 3 ของเขากับฐานกะโหลก โดยใช้กระดูกสะโพกมาแทนกระดูกคอข้อที่ 1 และ 2 ที่แตกแหลกเหลวไป และยึดติดด้วยลวดและแกนโลหะไทแทเนียม หลังกระดูกยึดติดดีแล้ว เขาได้ยา้ ยไปท�ำกายภาพบ�ำบัดทีศ่ นู ย์กายภาพบ�ำบัดเคสส์เลอร์ในเมืองเวสต์ ออเรนจ์ นิวเจอร์ซี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2538 หนึ่งเดือนกับหนึ่งวันหลัง เกิดอุบัติเหตุ นอกจากเพื่อรักษากล้ามเนื้อมิให้ฝ่อลีบไปจากอัมพาต และป้องกัน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 179

แผลกดทับแล้ว สิง่ ส�ำคัญคือหาทางให้เขาสามารถหายใจได้เอง แม้บางส่วน ก็ยังดี ไม่เช่นนั้นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา ปกติความจุปอด (Lung Capacity) เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอคือต้องสูดหายใจ เข้าไปให้ได้ถึง 750 ซีซี เมื่อเริ่มต้นฝึกการหายใจ ความจุปอดของเขาคือ 0 เขายังโชคดีที่ไขสันหลังส่วนตรงกระดูกคอข้อที่ 1 และ 2 มิได้ถูกท�ำลายไป โดยสิ้นเชิง เหลืออยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งท�ำให้เขายังบังคับกะบังลมได้บ้าง ตามปกติคนทัว่ ไปจะหายใจโดยการยกกระดูกรอบๆ ทรวงอก คือซี่โครงเพือ่ สูดหายใจเข้าไป แต่เมื่อจะหายใจลึกๆ จะใช้กะบังลมซึ่งคั่นระหว่างทรวงอก และช่องท้องช่วย เมื่อหายใจเข้าแรงๆ ท้องจึงป่องออก คริสโตเฟอร์ได้รับ การฝึกให้ใช้กล้ามเนื้อที่กะบังลมและกล้ามเนื้อหลังส่วนหนึ่ง (Trapezius muscle) เขาเริ่มต้นจากศูนย์ จนกระทั่งปลายเดือนตุลาคม เริ่มได้ 50 ซีซี ซึ่งแม้ยังน้อยนิด แต่มีความหมายมาก เพราะแปลว่า เขาสามารถฝึกจนสูด ลมหายใจเข้าได้บา้ งแล้ว วันต่อมา คริสโตเฟอร์ แสดงความเป็นซูเปอร์แมน ในชีวติ จริง ด้วยการสูดลมหายใจเข้าได้ถงึ 450 ซีซี วันถัดมาเพิม่ เป็น 560 ซีซี นักกายภาพบ�ำบัดบิล แคร์รอล บอกเขาว่าเขายังไม่เคยเห็นใครพัฒนาได้ รวดเร็วขนาดนีเ้ ลย “คุณก�ำลังจะชนะ คุณก�ำลังจะหย่าจากเครือ่ งช่วยหายใจ ได้” ถึงวันที่ 13 ธันวาคม เขาสามารถหายใจได้เองถึง 30 นาที การต้องพึ่งเครื่องช่วยหายใจตลอดเวลา มีความเสี่ยงสูงมาก ชีวิต เหมือนแขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะแขนขาเขาเป็นอัมพาตหมด แทบไม่

180 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สามารถช่วยตนเองได้เลย บางครัง้ เครือ่ งช่วยหายใจขัดข้อง ข้อต่อท่อหายใจ หลุด ชีวิตของเขาก็ต้องเฉียดตายถ้าไม่มีใครมาเห็นและช่วยไว้ทัน การ หายใจได้เองแม้บางส่วน นอกจากช่วยลดความเสี่ยงโดยตรงแล้ว ยังช่วย ป้องกันโรคแทรกซ้อนจากปอดบวม ซึ่งอาจรุนแรงถึงตายได้ด้วย การหายใจได้เอง ยังท�ำให้เขาสามารถกลับมาฝึกพูดได้ใหม่ ซึง่ ก็ตอ้ ง ใช้ความพยายามอย่างมาก เพราะหลอดคอเคยถูกเจาะไปแล้วและเมื่อพูด ได้ใหม่ ก็จะไม่เหมือนเดิม เพียง “พอฟังรู้เรื่อง” เท่านั้น เพื่อให้เขาสามารถกระท�ำกิจกรรมได้บ้าง เขายังต้องฝึกการใช้รถนั่ง ซึ่งเป็นรถอัตโนมัติ บังคับด้วยการเป่าหลอดดูด ท�ำให้เขาไม่ต้องนอนแซ่ว อยู่บนเตียง หรือนั่งรถเข็นโดยต้องให้คนมาช่วยเข็น ซูเปอร์แมนในชีวิตจริง เมื่อประสบอุบัติเหตุ สมองของคริสโตเฟอร์ได้รับการปกป้องอย่างดี จากหมวกนิรภัย และเขาหยุดหายใจไปเพียง 3 นาที สมองยังไม่ถูกท�ำลาย จากการขาดออกซิเจน ท�ำให้เขายังสามารถใช้สมองได้อย่างคนปกติ เมือ่ ได้ รับการฟื้นฟูสภาพจนสามารถช่วยตัวเองได้บ้างแล้ว เขาก็เริ่ม “ออกงาน” เมื่อปี 2539 เขาไปปรากฏตัวในงานมอบรางวัลตุ๊กตาทอง เขาได้รับ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 181

เกียรติโดยการทีผ่ รู้ ว่ มงานพากันลุกขึน้ ยืนปรบมือ (ovation) ให้แก่เขาอย่าง ยาวนาน เขากล่าวปราศรัยถึงภารกิจของฮอลลีวูดที่จะต้องสร้างภาพยนตร์ เพื่อช่วยแก้ปัญหาส�ำคัญของโลก ต่อมาเขาร่วมเป็นเจ้าภาพการแข่งขัน พาราลิมปิก หรือโอลิมปิกส�ำหรับคนพิการทีน่ ครแอตแลนตา และได้ไปกล่าว ปราศรัยในที่ประชุมใหญ่ของพรรคเดโมแครต เขาเดินทางไปทั่วประเทศ กล่าวปราศรัยโดยไม่ตอ้ งเขียนบทหรือใช้เครือ่ งคอมพิวเตอร์ชว่ ยฉายบทพูด (Teleprompter) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2539 นิตยสารไทม์น�ำรูปถ่ายของ เขาขึ้นปก ปีเดียวกัน เขาเริ่มท�ำงานด้านภาพยนตร์โดยเป็นผู้บรรยายใน ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่แพร่ภาพทางช่องเอชบีโอ เรื่อง “ไม่ต้องสงสาร : ภาพยนตร์เกี่ยวกับความสามารถ” (Without Pity : A Film About Abilities) ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รางวัลเอมมีในประเภท : สารคดีพิเศษยอดเยี่ยม” หลัง จากนัน้ ไม่นาน เขาได้แสดงบทเล็กๆ ในภาพยนตร์เรือ่ ง “อีกก้าวสูว่ นั พรุง่ นี”้ ( A Step Towards Tomorrow) คริสโตเฟอร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานสมาคมคนอัมพาตอเมริกัน และรองประธานองค์การคนพิการแห่งชาติ ต่อมาเข้าร่วมก่อตั้งศูนย์วิจัย “รีฟว์-เออร์วีน” ซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์วิจัยเรื่องไขสันหลังชั้นแนวหน้าของโลก เขาก่อตั้งมูลนิธิคริสโตเฟอร์ รีฟว์ ซึ่งต่อมาได้เพิ่มชื่อภรรยาของเขาเข้าไป ด้วย เป็นมูลนิธคิ ริสโตเฟอร์-ดานา เพือ่ หาทุนเร่งสนับสนุนงานวิจยั และช่วย พัฒนาคุณภาพชีวติ ของคนพิการ มูลนิธแิ ห่งนี้ได้ให้เงินสนับสนุนการวิจยั ไป

182 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แล้วกว่า 65 ล้านเหรียญ และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการไปแล้วกว่า 8.5 ล้านเหรียญ มูลนิธิได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อช่วยให้คนเป็นอัมพาตกลับ มาเดินได้ ซึง่ สามารถช่วยให้หลายคนกลับมาเดินได้แล้ว ยูซี เออร์วนี ผูร้ ว่ ม ก่อตัง้ มูลนิธริ ฟี ว์-เออร์วนี กล่าวถึงคริสโตเฟอร์วา่ “หลังอุบตั เิ หตุ คริสโตเฟอร์ ได้ช่วยสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการบาดเจ็บของไขสันหลัง และความผิด ปกติจากระบบประสาทอื่น มากกว่าที่ใครๆ เคยท�ำมาแล้ว” ปี 2540 คริสโตเฟอร์กลับมาท�ำงานเป็นผูก้ ำ� กับภาพยนตร์เรือ่ ง “ยาม โพล้เพล้” (In the Gloaming) ซึ่งได้รับรางวัล “เคเบิลเอศ” (Cable Ace) ถึง 4 รางวัล และได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลเอมมีถึง 5 รางวัล ดานาบอกว่า เขาดูมีความสุขมากเมื่อได้ท�ำงานสร้างสรรค์ที่เขาชอบ ปีต่อมา เขาสร้าง ภาพยนตร์เรือ่ ง “หน้าต่างหลังบ้าน” (Rear Window) ซึง่ เป็นหนังของอัลเฟรด ฮิทช์ค็อค ที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เขาน�ำมาสร้างใหม่ เขาได้รับการ เสนอชื่อเข้ารับรางวัลลูกโลกทองค�ำและได้รับรางวัลจากสมาคมอาชีพ นักแสดงภาพยนตร์ เมือ่ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2541 ส�ำนักพิมพ์แรนดอมเฮาส์ได้ตพี มิ พ์ อัตชีวประวัตขิ องเขา ชือ่ “ผมยังเหมือนเดิม” (Still Me) ซึง่ ติดอันดับหนังสือ ขายดีของนิวยอร์คไทม์ตดิ ต่อกันถึง 11 สัปดาห์ และเขาได้รบั รางวัลแกรมมี ในสาขาอัลบัมค�ำพูดยอดเยี่ยม (Best Spoken Word Album)

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 183

คริสโตเฟอร์ พยายามดูแลรักษาสุขภาพด้วยการออกก�ำลังโดย อุปกรณ์พิเศษอย่างสม�่ำเสมอ ในปี พ.ศ. 2543 เขาเริ่มขยับนิ้วได้บางส่วน และเริม่ รูส้ กึ ถึงความร้อนความเย็นตามร่างกาย ปี 2545 ศูนย์ขอ้ มูลอัมพาต คริสโตเฟอร์และดานา ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ก่อตั้งโดยศูนย์ ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐ ท�ำพิธเี ปิดทีเ่ มืองซอร์ตฮิลส์ นิวเจอร์ซี มีพันธกิจส�ำคัญคือการฝึกคนที่เป็นอัมพาตให้ช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น คริสโตเฟอร์บอกว่า “เมื่อเกิดอุบัติเหตุจนเป็นอัมพาต คนมักไม่รู้ว่าจะหัน หน้าไปหาใคร ดานาและผมต้องการหน่วยงานทีส่ ามารถให้ขอ้ มูลและความ ช่วยเหลือแก่คนเหล่านั้น ศูนย์แห่งนี้คือการเริ่มต้นที่น่าอัศจรรย์” คริสโตเฟอร์ พยายามผลักดันให้รฐั บาลให้การสนับสนุนการวิจยั สเต็ม เซลล์ ซึ่งแม้มีเรื่องถกเถียงกันมากในปัญหาจริยธรรมเรื่องนี้ แต่รัฐบาลก็ สนับสนุนงบประมาณให้ราว 100 ล้านเหรียญ ซึ่งคริสโตเฟอร์เห็นว่า มาถูก ทางแล้ว ในปี พ.ศ. 2545 คริสโตเฟอร์พยายามผลักดัน “พระราชบัญญัติ ห้ามการโคลนนิง่ ” ซึง่ ห้ามศึกษาวิจยั การโคลนนิง่ โดยใช้เซลล์สบื พันธุแ์ ต่เปิด ทางให้ใช้เซลส์ร่างกาย (Somatic cell) ได้ เขาผลักดันเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง บั้นปลายชีวิตเขาผลักดันให้มลรัฐแคลิฟอร์เนียออกรัฐบัญญัติก่อตั้งสถาบัน เวชศาสตร์การฟืน้ ตัวแห่งแคลิฟอร์เนีย (California Institute for Regenerative Medicine) หลังคริสโตเฟอร์เสียชีวิตไม่ถึงเดือนกฎหมายฉบับนี้ก็ผ่าน และรัฐได้จัดงบประมาณก่อตั้งสถาบันเป็นเงินถึง 3 พันล้านเหรียญ

184 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ช่วงปี พ.ศ. 2545-2547 เขายังได้รว่ มแสดงภาพยนตร์ตำ� นานซูเปอร์แมน ซึง่ ประสบความส�ำเร็จอย่างน่าพอใจยิง่ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ส�ำนักพิมพ์ แรนดอมเฮ้าส์ พิมพ์หนังสือเล่มที่สองของเขาคือ “ไม่มีสิ่งใดเป็นไปไม่ได้” (Nothing is Impossible) เป็นเรื่องทัศนะของคริสโตเฟอร์และประสบการณ์ ชีวิตที่ช่วยหล่อหลอมความคิดของเขา ในปีเดียวกันนั้น เขายังได้ก�ำกับ ภาพยนตร์ “เรือ่ งราวของบรุค เอลลิสนั ” (The Brooke Ellison) ซึง่ เป็นเรือ่ งราว ของบรุค เอลลิสัน ที่เป็นอัมพาตหมดทั้งแขนขา แต่สามารถเรียนจบจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วงเดียวกันนั้นเขายังก�ำกับหนังแอนิเมชันเรื่อง “วีรบุรษุ ของทุกคน” (Everyone’s Hero) แต่ยงั ไม่ทนั สร้างเสร็จเขาก็จากไปเสียก่อน คริสโตเฟอร์ รีฟว์ เสียชีวิตจากภาวะหัวใจวาย เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 รวมอายุได้ 52 ปี 15 วัน ดานา ภรรยาของเขา ท�ำงานสืบทอด เจตนารมณ์ของเขาต่อมา จนพบว่าเป็นมะเร็งปอด เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2549 บทส่งท้าย คริสโตเฟอร์ รีฟว์ มีชีวิตเยาว์วัยที่ราบรื่นและประสบความส�ำเร็จใน ชีวิตการแสดงอย่างรุ่งโรจน์ แต่แล้วชีวิตก็ผกผัน เมื่อประสบอุบัติเหตุร้าย แรงจนแทบเอาชีวติ ไม่รอด แต่กร็ อดมาได้ แม้จะเป็นอัมพาตทัง้ แขนขา และ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่ตลอดเวลา แต่เขาก็ไม่ยอมแพ้ ต่อสู้จนหายใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 185

เองได้ พูดได้ และสามารถท�ำงานเพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในสภาพ ร่างกายที่พิการรุนแรงต่อมาได้ยาวนานถึงเกือบ 9 ปี ยิง่ กว่านัน้ เขายังมีโรคประจ�ำตัว เป็นโรคภูมแิ พ้และหอบหืดมาตัง้ แต่ เด็ก เมื่ออายุ 16 ยังมีโรคผมร่วงเป็นหย่อมๆ (Alopecia areata) บั้นปลาย ชีวิตเมื่อเป็นอัมพาตทั้งตัว เขาจึงต้องโกนหัวหมด นอกจากนั้นเขายังป่วย อีกหลายโรค ทั้งมาลาเรีย และโรคเลือดด้วย เมื่อเป็นอัมพาตเขามีโรค แทรกซ้อนรุนแรงหลายครั้ง จนเฉียดตายอีกหลายครั้ง เคยเป็นแผลกดทับ และติดเชื้อรุนแรงจนเกือบเอาชีวิตไม่รอด เขาเคยแพ้ยารุนแรงจนช็อค (Anaphylactic Shock) ยาที่แพ้คือยา “ไซเจน” (Sygen) ซึ่งเป็นยารักษาไขสันหลัง เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2547 เขา ยังสบายดี และได้ดูลูกแข่งขันฮอคกี้ คืนนั้นเขารับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อ รักษาอาการติดเชื้อ แล้วหัวใจหยุดเต้น หมดสติ เขาถูกน�ำส่งโรงพยาบาล แต่ 18 ชั่วโมงต่อมา เขาก็เสียชีวิต คริสโตเฟอร์ รีฟว์ มีโรคประจ�ำตัวและพิการรุนแรง แต่เขาสามารถ ด�ำรงตนเป็นซูเปอร์แมนทั้งในจอและชีวิตจริงจวบจนวาระสุดท้าย

186 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 187

ู้ชีวิต ส ก ั น ง ั ด น ย ี เข ก ั น : ง ิ ค สตีเฟน

บทน�ำ สตีเฟน คิง เป็นนักเขียนชื่อดังในยุคปัจจุบันที่สามารถสร้างผลงาน จนได้รับความนิยมอย่างยืนยาวหลายทศวรรษ หนังสือนวนิยายของเขา หลายเล่มติดอันดับหนังสือ “ขายดีที่สุด” (Best seller) โดยหนังสือของเขา ขายไปแล้วทั่วโลกกว่า 350 ล้านเล่ม หลายเล่มน�ำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ หลายเล่มน�ำไปท�ำเป็นหนังสือการ์ตูน

188 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สตีเฟน คิง มีความสามารถในการเขียนหลายด้าน งานที่เด่นที่สุดคือ นวนิยายราว 50 เล่ม ซึ่งส่วนใหญ่แปลเป็นภาษาไทยแล้ว ตั้งแต่นวนิยาย เล่มแรกของเขา คือ แคร์รี (Carrie) ซึง่ พิมพ์ออกมาจ�ำหน่ายในปี 2517 แปล เป็นภาษาไทยในชื่อ “คืนนรก” โดยสุวิทย์ ขาวปลอด เมื่อปี 2526 ’Salem’s Lot พิมพ์จ�ำหน่ายเมื่อปี 2518 แปลเป็นภาษาไทย เมื่อปี 2524 โดยสุวิทย์ ขาวปลอด เช่นกัน บางเล่มแปลออกมาสองส�ำนวน เช่น The Dead Zone เขียนเมื่อปี 2521 แปลออกมาในชื่อ “แดนมรณะ” โดยเจ้าของนามปากกา “เกียรติ” เมื่อปี 2524 และในชื่อ “มรณะด�ำ” แปลโดยเจ้าของนามปากกา “สิทธิพร-วราภรณ์” (ไม่ทราบปีที่พิมพ์) การที่นวนิยายของสตีเฟน คิง ได้ รับการแปลออกสู่ภาษาไทยจ�ำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นที่นิยมอย่าง สูงในหมู่นักอ่านนวนิยายชาวไทย เช่นกัน นอกจากเขียนนวนิยาย ในชือ่ จริงแล้ว สตีเฟน คิง ยังเขียนนวนิยายโดย ใช้นามปากกาอีก 7 เล่ม โดยมีนามปากกา คือ ริชาร์ด บาคแมน (Richard Bachman) และ จอห์น สวิเธน ( John Swithen) หลายเล่มแปลเป็นภาษา ไทยแล้วเช่นกัน นอกจากนวนิยาย สตีเฟน คิง ยังเขียนเรื่องสั้นไว้ราว 200 เรื่อง รวม พิมพ์เป็นหนังสือรวมเรือ่ งสัน้ 9 เล่ม และเขายังเขียนหนังสือประเภทสารคดี อีก 5 เล่ม

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 189

ไม่เพียงเป็นนักเขียนนวนิยายขายดี เท่านั้น สตีเฟน คิง ยังได้รับ รางวัลเกียรติยศมากมาย รวมได้ถึง 49 รางวัล เช่น • รางวัลหนังสือยอดเยี่ยมส�ำหรับเยาวชนของ สมาคมห้องสมุด อเมริกัน 2 ครั้ง จากนวนิยายเรื่อ ’Salem’s Lot เมื่อ พ.ศ. 2521 และเรื่อง Firestarter เมื่อ พ.ศ. 2524 หนังสือเล่มนี้แปลเป็นภาษาไทย 2 ส�ำนวน ใน ชื่อ “เผามันเลย” โดยสถาพร รายา เมื่อ พ.ศ. 2524 และชื่อ “หนูน้อยพลัง เพลิง” โดย “อรรถพล” เมื่อ พ.ศ. 2531 • รางวัลสมาคมจินตนิยายอังกฤษ จากหนังสือ 6 เล่ม เช่น เรื่อง Cujo เมื่อปี 2525 ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ในชื่อ “คู โจ” โดยผู้ใช้ นามปากกา “ปรีดา-ดวงตา” เมื่อ พ.ศ. 2524 Bag of Bones เมื่อปี 2542 แปลเป็นภาษาไทยในชื่อ “บ้านวิญญาณพะวง” โดยสุวิทย์ ขาวปลอด เมื่อปี 2546 เป็นต้น • รางวัลของสมาคมเรื่องสยองขวัญ จากนวนิยาย 5 เล่ม เช่น Desparation เมื่อปี 2540 Black House เมื่อปี 2545 เป็นต้น • รางวัล อูโก (ชือ่ ของนักประพันธ์เรืองนามชาวฝรัง่ เศส) จากนวนิยาย เรื่อง Danse Macabre เมื่อ ปี 2525 • รางวัล โอ. เฮนรี (ชื่อของนักเขียนเรื่องสั้นเรืองนามชาวอเมริกัน) เมื่อปี 2536 จากเรื่องสั้นชื่อ The Man in the Black Suit • ฯลฯ

190 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ถือว่า สตีเฟน คิง ประสบความส�ำเร็จในงานประพันธ์อย่างสูง ได้ทั้ง “เงิน” และ “กล่อง” มากมาย โดยที่เขามิได้เรียนมาทางด้านการประพันธ์ เลย และชีวิตในวัยเด็กของเขาก็แสนล�ำเค็ญ เมื่อเรียนจบมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ยงั ต้องไปท�ำงานหนักแสนล�ำบากตรากตร�ำ จึงน่าสนใจว่าเขารอดปากเหยีย่ ว ปากกา และสร้างผลงานจนประสบความส�ำเร็จมีชอื่ เสียงโด่งดังมาได้อย่างไร สตีเฟน คิง มิใช่คนพิการ แต่ช่วงหนึ่งของชีวิตเขาตกอยู่ในสภาพ เหมือน “พิการชั่วคราว” เพราะประสบอุบัติเหตุถูกรถชนจนแทบจะเสียชีวิต หลังได้รบั การผ่าตัดช่วยชีวติ จนรอดมาได้อย่างหวุดหวิด เขาต้องใช้เวลาใน การ “ฟื้นฟูสภาพ” ด้วยความทุกข์ทรมาน แต่ช่วงนั้นเอง ที่เขากลับสร้าง งานส� ำ คั ญ ขึ้ น เป็ น ผลส� ำ เร็ จ นั่ น คื อ ได้ เ ขี ย น อัตชีวประวัติซึ่งเคยเขียนไว้แล้วแต่ไม่จบ โอกาสนั้น เขาสามารถเขียนต่อจนจบ โดยมี 2 ภาคใหญ่ๆ คือ ภาคเรื่องราวชีวประวัติ ซึ่งรวมทั้งประวัติการเขียน งานประพันธ์ของเขาด้วย อีกภาคหนึง่ เป็นค�ำแนะน�ำ ในการเขียนนวนิยาย เรือ่ งราวเหล่านีร้ วมพิมพ์เป็น หนังสือ ชื่อ “ว่าด้วยการเขียน” (On Writing) ซึ่ง แม้เป็นหนังสืออัตชีวประวัติแต่เขาเขียนได้สนุก ตืน่ เต้น เร้าใจ จนเป็นหนึง่ ในหนังสือที่ได้รบั รางวัล

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 191

จาก สมาคมสยองขวัญ (Horror Guild) เมื่อปี พ.ศ. 2544 หนังสือเล่มนี้ แปลเป็นภาษาไทยแล้วในชือ่ “ เขียนนวนิยายให้ขายดี” โดยนักแปลคือ คุณ นพดล เวชสวัสดิ์ ซึ่งก็เป็นคนพิการประเภท “มนุษย์ล้อ” คนหนึ่ง และมีผล งานแปลออกมามากมาย หนังสือ “ว่าด้วยการเขียน” เล่มนี้ ผู้เขียนประวัติสตีเฟน คิง ล้วนจัด อยู่ในประเภทหนังสืออัตชีวประวัติ แต่สตีเฟน คิง เองเขียนไว้ชัดเจนใน หนังสือเล่มนี้ว่า ยังไม่ ใช่อัตชีวประวัติ คงเพราะมีเนื้อหาในส่วนของ ชีวประวัติไม่มากนัก เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นค�ำแนะน�ำในการเขียน นวนิยาย และประวัติการเขียนหนังสือของเขา ในขณะที่เขาต้องการเขียน ให้กระชับ ไม่เยิน่ เย้อ เนือ้ หาในส่วนของชีวประวัติ จึงนับว่าน้อย หนังสือเล่มนี้มีชื่อรองว่า “บันทึก ความทรงจ�ำของช่าง (วรรณกรรม)” (A Memoir of the Craft) อย่างไรก็ดี เนื้อหาส่วนที่น�ำเสนอ ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับชีวิตของสตีเฟน คิง อยู่มากพอสมควร ข้อส�ำคัญ มีการเปิดเผย ด้วยตัวของเขาเองว่า เขาเคยตกเป็นทาสสุราอยู่ นานกว่าสิบปี และถึงขั้นเป็นทาสยาเสพติด คือ โคเคน ด้วย

192 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 193

“ แต่ช่วงหนึ่งของชีวิตเขา

ตกอยู่ในสภาพเหมือน “พิการ ชั่วคราว” เพราะประสบอุบัติเหตุ ถูกรถชนจนแทบจะเสียชีวิต หลังได้รับการผ่าตัดช่วยชีวิตจน รอดมาได้อย่างหวุดหวิด



ชีวิตวัยเยาว์ สตีเฟน คิง ชือ่ เต็มว่า สตีเฟน เอดเวิรด์ คิง เกิดเมือ่ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2490 ที่เมืองปอร์ตแลนด์ มลรัฐเมน สหรัฐอเมริกา พ่อชื่อโดแนลด์ เอดเวิรด์ คิง เกิดเมือ่ ราว พ.ศ. 2456 ทีเ่ มืองเปรู มลรัฐอินดิอานา เป็นพ่อค้าปลา แม่ชื่อเนลลี รูธ เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2456 ที่เมืองสคาร์บอโรห์ มลรัฐเมน พ่อกับแม่แต่งงานกันเมือ่ วันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2482 ทีอ่ ำ� เภอ คัมเบอร์แลนด์ มลรัฐเมน ทั้งคู่รับเด็กผู้ชายมาเป็นลูกบุญธรรมคนหนึ่งคือ เดวิด ซึ่งแก่กว่าสตีเฟน 2 ปี เมื่อสตีเฟนอายุได้ 2 ขวบ พ่อก็ทิ้งแม่และลูก ทั้งสองหายสาบสูญไป หลังจากบอกแม่ว่า “จะออกไปซื้อบุหรี่ซักซอง” แม่ ของสตีเฟนจึงกลายเป็น “แม่เลีย้ งเดีย่ ว” มาจนตายจากไปด้วยโรคมะเร็งเมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 ในวัย 61 ปี ทันได้เห็นนวนิยายเรื่องแรก ซึ่ง ต่อมาเป็น นวนิยายขายดีของสตีเฟน คิง ตีพิมพ์ออกมาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2516 แม้รายได้จากนวนิยายเล่มนั้น จะได้มาเป็นค่ายาแม่ได้บ้าง แต่แม่ก็ ไม่ทันเห็นความรุ่งโรจน์ในชีวิตเขาเลย หลังพ่อทิง้ แม่และลูกทัง้ สองคนไป แม่ตอ้ งปากกัดตีนถีบเลีย้ งลูกด้วย ตัวคนเดียว โยกย้ายไปหางานท�ำหลายแห่งได้แก่ เดอเปเร มลรัฐคอนเนคติกตั เมื่อคิงอายุได้ 11 ขวบ แม่ย้ายกลับมาอยู่ที่เมืองเดอร์แฮม มลรัฐเมน เพื่อ ดูแลยายกับตาของคิง ซึง่ เวลานั้นอยู่ในวัยชรา ทัง้ นี้ตามทีน่ อ้ งสาวสีค่ นของ แม่ประชุมตกลงกันมอบภาระนี้ให้แม่ของคิง ในฐานะเป็นลูกสาวคนโต ซึ่ง

194 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

หน้าที่ดังกล่าวท�ำให้แม่มี “ความมั่นคง” เรื่องที่อยู่ที่กินของตัวเองกับลูกทั้ง สองคน แต่กต็ อ้ งอยู่ในฐานะล�ำบาก เพราะไม่มรี ายได้ของตัวเอง ต้องอาศัย เงินทองทีน่ อ้ งสาวรวบรวมส่งมาให้แต่ละเดือน ซึง่ พอจะใช้จบั จ่ายซือ้ อาหาร มาเลี้ยงปากท้องทุกคนในบ้าน ไม่เหลือพอจะเจียดไปซื้ออะไรอื่นได้ เสื้อผ้า ก็ใช้จากที่น้องสาวรวบรวมของใช้แล้วส่งมาให้ การทีน่ อ้ งสาวตกลงกันให้แม่มารับหน้าทีด่ แู ลตากับยาย ก็เพราะเห็นว่า นอกจากจะได้ดูแลพ่อแม่ในวัยชราแล้ว แม่จะได้ “ปักหลัก” เสียที ไม่ต้อง อพยพโยกย้ายไปมา จะได้มีเวลาเลี้ยงดูลูกชายจอมซนทั้งสองเป็นเรื่องเป็น ราว และไม่ต้องไปตรากตร�ำท�ำงานหนักด้วยการไปเป็นคนงานในโรงอบ ขนมปัง ซึง่ ต้องตืน่ ไป อบคุกกีต้ งั้ แต่ตหี า้ หรือเป็นคนงานโรงรีดผ้า ป้อนผ้าเข้า ไปในลูกกลิง้ ทีร่ อ้ นจัด ในโรงงานทีอ่ ณุ หภูมสิ งู กว่า 150 อาศา ฟาเรนไฮต์ ใน ฤดูรอ้ น เหงือ่ โชกท่วมตัวจนหัวหน้าคนงานต้องแจกเกลือเม็ดให้คนงานตอน บ่ายโมง และอีกเม็ดตอนบ่ายสาม เพื่อชดเชยเกลือที่เสียไปกับเหงื่อที่โชก ชุ่มตัว ตอนนัน้ ยายอายุเกือบแปดสิบแล้ว อ้วนฉุ ตาเป็นต้อหินจนเกือบบอด สนิท ส่วนตาอายุ 82 ผอม ซึมเศร้า และมักระเบิดอารมณ์ฉนุ เฉียวบ่นโวยวาย ค�ำพูดพรั่งพรูออกมาซึ่งมีแต่แม่ที่ฟังรู้เรื่องว่าตาพูดอะไร

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 195

คิงเขียนว่า แม่เกลียดงานในหน้าที่นี้ แต่ก็ไม่มีทางไปจึงอยู่ดูแลตา กับยายจนทัง้ คูต่ ายจากไป หลังจากตายายตายแล้ว แม่กอ็ อกไปท�ำงานนอก บ้าน และอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นจนมะเร็งมาเยือน บั้นปลายชีวิตแม่ไปอยู่ กับเดฟลูกชายคนโตและลินดาลูกสะใภ้ คิงบอกว่า “ความเจ็บปวดที่เธอได้ รับในตอนท้ายของชีวิต ก็คงพอจะท�ำให้เธอโล่งใจที่จะจากโลกนี้ไปเสียได้” เดฟ พี่ชายของคิง เป็นเด็กฉลาด วัดไอคิวได้ถึง 150 แต่ซนเหลือ ร้าย เคยพาน้องชาย “ทดลองวิทยาศาสตร์” เพื่อให้เกิดพลังแม่เหล็กไฟฟ้า มหาศาล โดยทดลองกับไฟฟ้าในบ้าน จนท�ำให้ไฟฟ้าทัง้ อพาร์ทเมนต์ดบั วูบ หม้อแปลงไฟฟ้าหน้าอาคารระเบิด เคราะห์ดีที่ทั้งคู่ไม่โดนไฟฟ้าดูดจนตาย และไม่โดนจับได้ว่าเป็นตัวการเล่นพิเรนครั้งนั้น ตัง้ แต่ยงั จ�ำความไม่ได้ คิงเขียนถึงชีวติ วัยนัน้ ว่า แม่ตอ้ งพาลูกทัง้ สอง คนไปฝากน้องสาวและเพื่อนพ้องชั่วคราวในยามที่เศรษฐกิจรัดตัว หรือ สภาพอารมณ์ย�่ำแย่จนดูแลลูกทั้งสองคนไม่ไหว “หรืออาจเป็นในยามที่เธอ ต้องการความคล่องตัว ไล่ตามตะครุบตัวพ่อ ผู้ก่อหนี้ท่วมหัว พ่อทิ้งพวก เราไปตอนทีผ่ มอายุสองขวบ เดฟอายุสขี่ วบ ถึงแม่จะท�ำเช่นนัน้ แม่ก็ไม่เคย พบหน้าพ่ออีกเลย”

196 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ความทรงจ�ำในวัยเยาว์ของคิงมีเรือ่ งเลวร้ายหลายเรือ่ ง เช่น เมือ่ อายุ ได้ 2 ขวบ ฝันว่าจะเป็นนักกล้าม บุรุษผู้แข็งแรงที่สุดในโลกละครสัตว์จึงไป ยกแท่งอิฐบล็อคมาอวดผู้คน เคราะห์ร้ายมีตัวต่อในรูอิฐบล็อคบินออกมา ต่อยติง่ หูของเขา ความเจ็บท�ำให้ตอ้ งปล่อยอิฐบล็อคลง อิฐบล็อคตกกระแทก กระดูกนิ้วเท้าแตกไม่มีชิ้นดี สมัยเป็นเด็กเล็ก คิงมีพี่เลี้ยงเปลี่ยนหน้ามาดูแลหลายคน ทีม่ ีพเี่ ลี้ยง หลายคนไม่ทราบว่าเพราะ “เราสองพี่น้องซนจนไม่มีใครรับงาน หรือว่าพี่ เลี้ยงได้งานใหม่ที่มีค่าแรงมากกว่าเดิม หรือว่าเป็นเพราะแม่ตั้งมาตรฐาน การเลี้ยงดูเด็กไว้สูงลิบจนไม่มีผู้ใดทะยานขึ้นไปถึง” ในบรรดาพี่เลี้ยงมีคน หนึ่งที่คิงจ�ำได้ติดตา “ชื่ออูลา หรือ บูลาห์ ผมไม่แน่ใจนัก” ตอนนั้นคิงอายุ ได้ 4 ขวบ อูลา-บูลาห์ เป็นสาวรุ่น ร่างยักษ์เหมือนตึกเดินได้ มีอารมณ์ขัน เหลือร้ายที่คิงเรียกว่า “อารมณ์ขันอ�ำมหิต” และ “มีสายฟ้าซ่อนอยู่ในอุ้งมือ ตบปลอบ” เธอชอบคุยโทรศัพท์ และหัวเราะร่วนกับคูส่ นทนา “เธอจะกระดิก นิ้วเรียกให้ผมเดินไปหา เธอจะกอดผมไว้แน่น มือข้างที่ว่างจะจั๊กจี้ให้ผม หัวเราะร่วนกันทั้งสองคน เธอจะเดินข้ามหัวผม ชนจนผมล้มฟาดกับพื้น จากนั้นก็ใช้ปลายเท้าจี้ผมต่อ เราสองคนหัวเราะกันอีกครั้ง” “อูลา-บูลาห์ โปรดปรานการตด ประเภทเสียงสะเทือนเลือ่ นลัน่ ส่งกลิน่

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 197

เหม็นเขียว ในบางคราว เธอจะจับผมเหวี่ยงไปนอนหงายบนโซฟา บั้นท้าย ในกระโปรงขนสัตว์จะหย่อนลงมาจ่อใบหน้า ‘ตูม’ ระเบิดเต็มหน้า ตามด้วย การแผดเสียงหัวเราะของเธอ ผมรูส้ กึ เหมือนถูกฝังทัง้ เป็นในบึงพรุดอกไม้ไฟ เซ็งแซ่ ผมยังจ�ำได้ถึงความทุกข์ทรมาน อึดอัดแทบขาดใจตาย แต่ก็จ�ำได้ ว่าผมหัวเราะออกมาเต็มเสียง...” คิงมีอารมณ์ขนั มองเหตุการณ์สมัยนัน้ ด้วยการชืน่ ชมถือว่า อูลา-บูลาห์ คืออาจารย์ชั้นเลิศ ฝึกให้เขามีความอดทนสูงมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ เพราะต่อมาเมือ่ มีชอื่ เสียงเขียนหนังสือออกมาแล้วโดน “ย�ำเละ” จากบรรดา นักวิจารณ์ คิงก็ทนได้เพราะค�ำวิจารณ์ร้อนแรงนั้นไม่ได้รุนแรงไปกว่าตด มหาภัยของอูลา-บูลาห์ อูลา-บูลาห์ ถูกแม่ไล่ออกเมือ่ ทอดไข่ให้คงิ กิน คิงชอบมาก หมดฟอง หนึ่งก็ขออีก เธอตามใจทอดให้จนหยุดที่ฟองที่เจ็ด สักพักก็ได้ผล เมื่อคิง อ้วกออกมา อูลา-บูลาห์ก็จัดการเดินข้ามหัวคิง ชนจนเขาล้มฟาดลงบนพื้น นอนกลิ้งบนเศษไข่ที่อ้วกออกมา จากนั้นก็จับเอาคิงไปขังในตู้เสื้อผ้า อ้วก ต่อจนหมดแรงหลับไป ดีที่ไม่ตายเพราะขาดอากาศหายใจหรือเสื้อผ้ารัด คอตาย ตอนเย็นแม่กลับมาถึงบ้าน อูลา-บูลาห์ นอนหงายหน้าหลับบนโซฟา ส่วนคิงหลับในกองอ้วกในตู้เสื้อผ้าที่ลั่นกุญแจขังไว้

198 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คิงยังเล่าถึงความทรงจ�ำอันเลวร้าย เมื่อป่วยเป็นโรคหัดแล้วมีโรค แทรกซ้อนหูเป็นน�ำ้ หนวกเฉียบพลัน ต้องไปให้หมอเจาะแก้วหูระบายหนอง ออกหลายครั้ง ซึ่งเจ็บปวดแสนสาหัส ตอนนั้นเขาอายุได้ 6 ขวบ อีกเรื่องคือ ตอนที่ย้ายไปอยู่เมืองสแตรตฟอร์ด มลรัฐคอนเนกติกัต คิงเข้าไปเที่ยวเล่นในป่ากับพี่ชาย แล้วเกิดปวดท้องอึ ขอให้พี่ชายพากลับ บ้าน แต่พชี่ ายบอกให้เข้าไปจัดการปลดทุกข์ในป่า แม้จะไม่เห็นด้วย เพราะ “ไม่มอี ะไรเช็ดก้น” แต่ในทีส่ ดุ ก็ไม่มที างเลือก และเมือ่ พีช่ ายแนะให้เอาใบไม้ เช็ด เหมือนอย่างพวกคาวบอย กับพวกอินเดียนแดง ก็ท�ำให้คิงฟุ้งฝัน จินตนาการว่า การถ่ายในป่าเช่นนัน้ เหมือน “ได้นงั่ ขีอ้ ย่างพวกคาวบอย” ซึง่ จะต้องระมัดระวังตัวเตรียมพร้อม ชักปืนออกมาไว้ในมือไม่ให้ใครมาลอบ ท�ำร้ายได้ง่ายๆ แต่เรื่องร้ายที่เกิดขึ้นก็คือ ใบไม้ที่คิงเอามาเช็ดก้นเป็นพวก หมามุย่ ท�ำให้เกิดอาการแพ้ผนื่ คันตัง้ แต่กน้ ลูกอัณฑะทัง้ สองข้างลามลงไป ถึงขาพับ ลามขึ้นมาถึงแผ่นหลังและต้นคอ มือที่ก�ำใบไม้มาเช็ดก้นบวมเป่ง ตลอดหกสัปดาห์หลังจากนัน้ เขาต้องนอนแช่นำ�้ อุน่ ผสมแป้งลงผ้า รูส้ กึ ทุกข์ ทรมาน อับอายขายหน้า ขณะที่พี่ชายและแม่หัวเราะกันคิกคัก ตั้งแต่อายุ 11-19 ปี ความสุขที่คิงรอคอยก็คือการเข้าไปดูหนังใน เมืองที่อยู่ห่างไป 14 ไมล์ โดยจะโบกรถเข้าไปดูทุกวันหยุด เว้นแต่เมื่อป่วย หรือมีเหตุขัดข้องอย่างอื่น

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 199

นอกจากหนังแล้ว สิ่งที่ โปรดปรานอีกอย่างของคิงก็คือการอ่าน หนังสือ และได้พากเพียรเขียนหนังสือตั้งแต่ยังเป็นเด็กชั้นประถม เริ่มต้นงานประพันธ์ แม้แม่จะเรียนหนังสือมาน้อย และต้องท�ำงานหนักตรากตร�ำเป็น กรรมกร รวมทัง้ สามียงั ทิง้ ไปให้ตอ้ งเลีย้ งลูกเล็กๆ ถึง 2 คน ด้วยตัวคนเดียว แต่แม่นแี้ หละคือผูช้ ที้ างและจุดประกายการเป็นนักประพันธ์ให้แก่สตีเฟน คิง ตอนที่คิง เพิ่งเข้าเรียนชั้น ป. 1 และป่วยด้วยโรคหัดกับหูน�้ำหนวก ต้องไปๆ มาๆ ให้หมอรักษา ปีนั้นคิงลาหยุดเรียนแทบทั้งปี ต้องนอนแกร่ว บนเตียงอยูก่ บั บ้าน ไม่มอี ะไรท�ำ นอกจากอ่านหนังสือการ์ตนู คิงเขียนแบบ “เว่อร์ๆ” ว่า ตอนนั้น “ไม่มีอะไรท�ำ นอกจากอ่านหนังสือการ์ตูนซักหกตัน ได้กระมัง” อ่านไปมากๆ เข้าก็จดั การคัดลอกเรือ่ งจากการ์ตนู ไปอวดแม่ แม่ ดีใจและประหลาดใจ และถามว่าเป็นเรือ่ งแต่งเองหรือไม่ คิงต้องสารภาพว่า คัดลอกเนื้อหาส่วนใหญ่มาจากการ์ตูนคอมแบ็ต เคซีย์ (Combat Casey) แม่ฟังแล้วให้ “บทเรียนการประพันธ์” บทแรกแก่คิงว่า “เขียนเรื่องของหนู เอง สตีวี...... เนื้อหาจากคอมแบ็ต เคซีย์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องขยะทั้งเพ พระเอกไม่ท�ำอะไรนอกจากจะหาเรื่องชกปากคนจนฟันกระเด็น แม่เชื่อว่า หนูท�ำได้ดีกว่านั้น... เขียนเรื่องของหนูเอง”

200 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ในทีส่ ดุ คิงก็เขียนเรือ่ งของตัวเองไปอวดแม่ แม่อา่ นจบถามและได้คำ� ตอบว่าไม่ได้ลอกใครมา แม่ก็ให้บทเรียนที่สอง คือให้ความเห็นว่าเนื้อหาดี พอจะตีพมิ พ์ได้ ซึง่ เป็นค�ำชมทีค่ งิ บอกว่า “ตลอดชีวติ ของผม ไม่มคี ำ� ใดจาก ปากใครจะท�ำให้ผมสุขใจได้มากไปกว่าความเห็นของแม่ในวันนั้น” แม่ไม่ เพียงแค่ชมเท่านั้น ต่อมาเมื่อคิงเขียนไปอวดแม่ แม่ควักเงินให้เป็นค่าเรื่อง ตอนละ 25 เซ็นต์ แล้วส่งไปให้น้องสาวทั้งสี่ของแม่ได้อ่านด้วย คิงเขียนไป 4 เรื่อง ได้เรื่องละ 25 เซ็นต์ รวมเป็น 1 ดอลลาร์ เป็นค่าเขียนเรื่องครั้งแรก ในชีวิต ซึ่งเป็นเงินก้อนโตส�ำหรับเด็กวัยนั้น และแน่นอนคือพลังใจที่ท�ำให้ แววอัจฉริยะของความเป็นนักประพันธ์ นอกจากไม่ถูกปิดกั้นแล้ว ยังได้รับ การกระตุ้นอย่างถูกจุดอย่างยิ่ง เมื่ออายุได้ 13 ปี ฟอร์เรสต์ แอ็กเคอร์แมน ออกนิตยสารชื่อ “มนุษย์อวกาศ” (Spaceman) คิงน�ำเรือ่ งสัน้ เรือ่ งแรกในชีวติ ไปเสนอนิตยสาร นั้น ซึ่งถูกโยนทิ้ง “ลงตระกร้า” ไป แต่น่าประหลาด เพราะฟอร์เรสต์ เก็บ ต้นฉบับเรื่องสั้นนั้นไว้ไม่ทิ้ง ยี่สิบปีต่อมาเมื่อคิงมีชื่อเสียงโด่งดังมากแล้ว ขณะเขาไปแจกลายเซ็นทีร่ า้ นหนังสือในลอสแอนเจลิส ฟอร์เรสต์ น�ำต้นฉบับ เรือ่ งสัน้ ของคิงทีพ่ มิ พ์ดว้ ยเครือ่ งพิมพ์ดดี กระเป๋าหิว้ ยีห่ อ้ รอยัลไปให้ดพู ร้อม ขอลายเซ็น พิมพ์ดีดเครื่องนั้นแม่ซื้อให้เป็นของขวัญวันคริสต์มาสเมื่อคิง อายุได้ 11 ปี

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 201

คิงยังเขียนเรื่อง “ส่งไปลงตระกร้า” อย่างไม่หยุด โดยทุกเรื่อง “เงียบ หาย” แปดปีเต็มๆ ที่ไม่มีใครมีแก่ใจตอบมา จนมีเรือ่ งหนึง่ ส่งไปลงนิตยสาร เรือ่ งลึกลับของ อัลเฟรต ฮิตชค็อค (Alfred Hitchcoc’s Mystery Magazine) คิง “โชคดี” กับเรื่องสั้นเรื่องนี้ เพราะมีแบบฟอร์มแจ้งปฏิเสธมาพร้อมค�ำ แนะน�ำการส่งต้นฉบับ เขียนด้วยลายมือมาด้วยว่า “ห้ามเย็บด้วยลวดเย็บ กระดาษ จัดเรียงหน้า เสียบด้วยลวดเสียบกระดาษ ถือเป็นวิธีที่ถูกต้องใน การส่งต้นฉบับ” เรือ่ งสัน้ เรือ่ งแรกที่ได้ตพี มิ พ์ คือเรือ่ ง “ไอ้หนุม่ วัยรุน่ นักปล้นหลุมศพ” (I was a Teen-Age Grave-Robber) แต่บรรณาธิการเปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น “สยองขวัญครึ่งโลก” (In a Half -World of Terror) ตีพิมพ์ในนิตยสารสยอง ขวัญของไมก์ แกร์เร็ตต์ เมืองเบอร์มิงแฮม มลรัฐแอละบามา เดฟ พี่ชาย ก็ชอบเขียนและท�ำหนังสือขาย โดยใช้เครื่องโรเนียว ให้ คิงช่วยท�ำและช่วยเขียนด้วย โดยขายให้แก่ญาติพนี่ อ้ งในเมืองเล็กๆ ทีอ่ าศัย อยู่ ขณะนั้นประชากรเมืองนั้นราว 900 คน หนังสือของเดฟเริ่มขายได้ 5 ฉบับ ต่อมาขายได้ถึง 50-60 ฉบับ คิงเอาอย่างพี่ชาย เขียนเรื่องแล้วโรเนียวขายในชั้นเรียน ท�ำท่าจะได้

202 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ก�ำไรดี แต่โดนครูเบรกจนหัวคะม�ำ ไม่ยอมให้คงิ ใช้โรงเรียนเป็นตลาดสด ซ�ำ้ ชี้หน้าต�ำหนิว่าเรื่องที่เขียนและพิมพ์ขายเพื่อนนั้นเป็นเรื่องขยะ คิงรู้สึกกับ การกระท�ำของครูวา่ “เหมือนการม้วนหนังสือพิมพ์กล่าวโทษลูกหมาซึง่ เพิง่ จะขี้รดพรมปูพื้น” แต่คิงก็ไม่เข็ด เมื่อเรียนมัธยม คิงเข้าไปท�ำหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน จนเมื่อเรียน ชั้น ม. 4 ก็ถึงขั้นได้เป็นบรรณาธิการนิตยสารของโรงเรียน จนเกิดเรื่องราว ใหญ่โตถึงขั้นเกือบถูกไล่ออกจากโรงเรียน เมื่อเขียนล้อเลียนครูอย่างแรงๆ ซึ่งครูส่วนใหญ่ไม่ถือโทษ แม้จะโกรธเคือง แต่ครูผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นครูที่ ดุและเข้มงวด “ไม่ยอม” เธอถูกเรียกว่า “หนอนเน่า” ในข้อเขียนล้อเลียน ของคิง เธอยื่นค�ำขาดกับครูใหญ่ให้ไล่คิง ออกจากโรงเรียน แต่ครูใหญ่ยัง เมตตา สุดท้ายครูผู้หญิงคนนั้นยอมรับค�ำขอโทษอย่างเป็นทางการบวกกับ ให้กักตัวคิงอยู่ในโรงเรียนสองสัปดาห์ ครูคนนั้นเกลียดชังและผูกพยาบาทคิงยาวนาน เมื่อคิงเรียนหนังสือ ได้ดีจนมีชื่อติดอยู่ในบัญชีนักเรียนผู้มีผลการเรียนดีเลิศในอีกสองปีต่อมา เธอเป็นหนึง่ ในคณะกรรมการคัดเลือกนักเรียนดีเด่นประจ�ำชาติของโรงเรียน และตัดชื่อคิงมิให้เข้าไปอยู่ใน “สมาคมนักเรียนเกียรติยศ”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 203

เหตุการณ์ครั้งนั้น ท�ำให้คิง “ไม่เฉียดไปใกล้งานล้อเลียนถากถางอีก เลย” แต่สงิ่ ทีน่ า่ ชืน่ ชมก็คอื ครูทปี่ รึกษาได้นำ� เรือ่ งของคิงไปถกเถียงกันอย่าง เคร่งเครียด ได้ข้อยุติว่าควรส่งเสริมไฟในตัวของคิงให้ลุกลามไปอย่าง สร้างสรรค์ และถูกทิศทาง โดยครูได้ไปติดต่อ จอห์น โกลด์ บรรณาธิการ นิตยสารรายสัปดาห์ของเมืองลิสบอน ตอนนั้นนิตยสารขาดผู้สื่อข่าวกีฬา ครูจึงเรียกตัวไปพบ แนะน�ำให้ไปรับงานนั้น คิงฟังแล้วไม่รู้สึกดีใจ เพราะ ก�ำลังเบื่อทั้งหนังสือพิมพ์ของเดฟพี่ชาย และเบื่อหนังสือพิมพ์ของโรงเรียน เรื่องกีฬาตัวเองก็ไม่ใคร่รู้เรื่องมากนัก แต่สายตาที่ครูจ้องมองขณะเรียกไป พบวันนั้น แม้สี่สิบปีให้หลังคิงก็ยังเชื่อว่า ครูที่ปรึกษาเอาจริง และต้องรับ ท�ำตามข้อแนะน�ำนั้น ชนิดที่ว่า “ไม่ท�ำ เอ็งตาย” คิง “จ�ำใจรับ” แต่กลับกลายเป็นว่าการรับงานอย่างไม่เต็มใจครั้งนั้น คือโอกาสทองให้เขาได้พบกับ “ครูการเขียน” ที่เยี่ยมยอดอย่างจอห์น โกลด์ เมื่อเขาบอกว่าไม่รู้เรื่องกีฬามากนัก จอห์น โกลด์ บอกว่า “มีกีฬาแข่งขัน ถ่ายทอดทางทีวี แม้แต่ขเี้ มานัง่ เกาะบาร์เหล้ายังเรียนรูก้ ติกาจนดูสนุก ท�ำไม เธอจะท�ำไม่ได้” และสัญญาจะให้ค่าจ้างเขียนข่าว “ค�ำละครึ่งเซ็นต์” เมื่ อ เขาส่ ง รายงานข่ า วชิ้ น แรกไปให้ จอห์ น โกลด์ ท� ำ หน้ า ที่ บรรณาธิการ แก้ภาษาส�ำนวนให้อย่างยอดเยีย่ ม บอกเขาว่า “ฉันตัดออกแต่ เฉพาะส่วนที่ใช้ไม่ได้ ..... ส่วนใหญ่ก็ไม่เลวทีเดียว”

204 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คิงรับว่า “ผมทราบครับ... ต่อไปผมจะไม่ท�ำอีก” จอห์น โกลด์ สอนเขาต่อไปโดยหัวเราะและพูดว่า “หากเป็นเช่นนั้น จริง เธอคงไม่ต้องเขียนเพื่อเลี้ยงชีพอีกแล้ว เธอจะมานั่งเก้าอี้ตัวนี้แทน จะ ให้ฉันอธิบายเหตุผลไหมว่าท�ำไมต้องแก้ไข” คิงตอบว่า ไม่ แต่จอห์น อธิบายต่อว่า “ในยามที่เธอเขียนเรื่อง เธอ เล่านิยายให้ตัวเองฟัง ในยามที่เธอตรวจแก้ไข หน้าที่หลักของเธอก็คือ ตัด ทอนสิ่งทิ่ใช่นิยายเรื่องนั้นทิ้งไป” คิงบันทึกไว้ต่อมาว่า “จอห์น โกลด์บอกเล่าสิ่งที่น่าสนใจที่สุดให้ผม ได้รับทราบในวันที่ผมส่งข่าวสองชิ้น ข้อแรกที่สุด เขียนด้วยประตูปิด และ ข้อสอง ขัดเกลาด้วยประตูเปิด หรือพูดได้อกี อย่างหนึง่ ว่า นิยายทุกเรือ่ งเริม่ ในใจของคุณ เขียนเสร็จก็ตอ้ งผ่านประตูออกไปหลังจากทีค่ ณ ุ ทราบเรือ่ งราว เนื้อหาทั้งหมดแล้ว ตรวจแก้ไขขัดเกลาให้ดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้.... เรื่องนั้น กลายเป็นสมบัติของผู้อ่าน ทุกคนที่ประสงค์จะอ่าน (หรือวิจารณ์)” ขณะนัน้ เขายังเรียนไม่จบชัน้ มัธยมปลาย หนทางข้างหน้ายังยาวไกล และยากล�ำบาก

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 205

เรียนไป ท�ำงานไป นอกจากเรียนหนังสือ ท�ำกิจกรรมในโรงเรียน และเป็น “ผู้สื่อข่าว กีฬา” ของนิตยสารรายสัปดาห์แล้ว คิงยังต้องท�ำงานอื่นเพื่อช่วยจุนเจือ ครอบครัวด้วย เพราะรายได้ของแม่นับว่าน้อยนิด จากงานแม่บ้านส�ำหรับ คนไข้ผดิ ปกติทางจิต รายได้ของเขาจากการเป็น “ผูส้ อื่ ข่าวกีฬา” ของหนังสือพิมพ์ เอนเตอรไพรซ์ในท้องถิน่ ได้แค่เดือนละ 5-6 เหรียญเท่านัน้ “ไม่พอยาไส้” ช่วงนั้น เป็นช่วงสงครามเวียดนามก�ำลัง “ร้อนแรง” คิงเคยคิดว่า เมื่อเรียนจบชั้น ม.6 แล้ว สมัครไปเป็นทหารจะดีไหม เพราะถ้าได้ไปรบ นอกจากจะมีเงินเดือนใช้แล้ว อาจได้ความรู้ประสบการณ์น่าสนใจมาเขียน นวนิยายขายก็ได้ แต่พอไปปรึกษาเรือ่ งนีก้ บั แม่ ค�ำตอบที่ได้สามารถเปลีย่ น ใจเขาได้ชะงัด เพราะแม่บอกว่า “อย่าโง่ไปหน่อยเลย สายตาสั้นเกือบบอด แบบนี้ แกจะเป็นคนแรกทีโ่ ดนยิง แกตายไปแล้วก็เขียนหนังสือไม่ได้ จริงไหม?” ในที่สุด คิงก็ตัดสินใจยื่นขอรับทุนการศึกษาและสมัครเข้าไปเป็น กรรมกรโรงงานย้อมผ้าตอนที่เรียนหนังสืออยู่ชั้น ม.6 เขาไม่อยากท�ำงานที่ นัน่ เลยเพราะรูท้ งั้ รูว้ า่ โรงงานแห่งนัน้ ท�ำผิดกฎหมาย ท�ำลายสิง่ แวดล้อมอยู่ ทุกวัน เพราะ “สร้างยื่นเข้าไปในแม่น�้ำ ปล่อยน�้ำเสียลงในแม่น�้ำ....เหมือน โรงงานนรกในนิยายของชาร์ลส์ ดิกเกนส์” ข้อส�ำคัญ งานที่นั่นหนักหนา

206 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สาหัสมาก เขาจะต้องตืน่ นอนตอนเจ็ดโมงเช้า ไปเรียนหนังสือตอน 7 โมงครึง่ เลิกเรียนบ่ายสอง ตอกบัตรเข้าท�ำงานทีช่ นั้ สามของโรงงานเวลา 14.55 น. แบกถุงผ้า 8 ชั่วโมงเต็มๆ เลิกงาน 23.02 น. กลับถึงบ้านราวเที่ยงคืน กิน อาหารประเภทธัญพืชส�ำเร็จรูปเทนมใส่ เข้านอน แล้วตื่นเช้าไปโรงเรียน วนเวียนอยู่เช่นนี้ บางครั้งเขาท�ำงาน 2 กะ ต่อเวรดึกถึงเวรเช้า งีบหลับใน รถเก่าของพี่ชายราวหนึ่งชั่วโมงก่อนระฆังเข้าเรียน ตอนคาบเรียนที่ 5 และ 6 หนีไปนอนเอาแรงในห้องพยาบาล และไปเข้ากะใหม่ โชคยังดี ที่เขาผ่านชีวิตในโรงงานนั้นมาได้ โดยไม่พลาดหลุดเข้าไป ในเครื่องจักรหรือถูกจักรอุตสาหกรรมเย็บนิ้วให้ติดกัน หลังจบ ม.6 เขาก็มาถึงทางสองแพร่ง เขาอยากออกไป “โบยบิน” เป็นนักเขียน แต่แม่ยนื ยันหนักแน่นให้เขาเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยให้จบ ปริญญาเสียก่อน “จะได้มตี าข่ายนิรภัยไว้รองรับ” คิงเชือ่ แม่ เข้าเรียนในคณะ ศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเมน ระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย เขาตกหลุมรักเพื่อนนักศึกษาสาวชื่อ ทาบิธา สปรูซ ดูใจกันปีครึ่งก็แต่งงานกัน ทาบิธา หรือ แท็บบี เป็นนักต่อสู้ เพื่อสิทธิสตรี มาจากครอบครัวกรรมกรเหมือนคิง คิงบอกว่า “ชีวิตทางเพศ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 207

ของเราเข้ากันได้ และมีแนวคิดผัวเดียวเมียเดียวตามธรรมชาติ แต่สิ่งที่รัด รั้งให้เราสนิทแนบแน่นกันมากที่สุด จะเป็นถ้อยค�ำ ภาษาและงานที่เราท�ำ” แท็บบีเป็นนักเขียนเหมือนคิง ทั้งคู่แต่งงานกันสามปีก็มีลูก 2 คน ช่วงฤดูร้อนปี พ.ศ. 2512 คิงอายุ 22 ปี ยังเรียนหนังสือ เขาได้งาน ท�ำในหอสมุดมหาวิทยาลัยเมน และตอนปลายภาคหลังสอบเสร็จ เขาเขียน เรื่องสั้น Graveyard Shifl ได้ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร คาวาเลียร์ (Cavalier) ได้ค่าเรื่องมาถึง 200 เหรียญ นับว่าสูง เพราะสองเรื่องก่อนหน้านั้นได้ค่า เรื่องมารวมแล้วแค่ 60 เหรียญ หลังจบมหาวิทยาลัย เขายังหางานดีๆ ท�ำไม่ได้ จึงต้องสมัครเข้าไป ท�ำงานเป็นกรรมกรในโรงงานซักเสื้อผ้า ซึ่งสภาพแวดล้อมหนักหนาสาหัส ยิ่งกว่าในโรงงานย้อมผ้าเสียอีก ผ้าที่ส่งมาซักที่โรงงานแห่งนั้น จะเป็นผ้าปู เตียงจากโมเต็ลในเมืองชายทะเลมลรัฐเมน และผ้าปู โต๊ะจากภัตตาคาร ชายทะเล ผ้าเหล่านั้นมักสกปรกและมีกลิ่นเหม็นมาก โดยเฉพาะผ้าปูโต๊ะ จากภัตตาคารซึ่งกว่าจะส่งมาถึงโรงซักก็หลายวัน นอกจากเหม็นร้ายกาจ จากเศษอาหารแล้วมักมีหนอนยุ่บยั่บไปหมด หนอนจะคลานกระดุบกระดิบ มาตามท้องแขนของเขาเมือ่ ต้องหอบผ้าเหล่านัน้ ไปเข้าเครือ่ งซัก เขาคิดว่า ท�ำๆ ไปก็จะชินสภาพเหล่านั้นไปเอง แต่ก็ไม่เคยท�ำใจได้เลย

208 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ทีเ่ ลวร้ายกว่าผ้าปูโต๊ะอาหาร ก็คอื ผ้าจากโรงพยาบาลซึง่ จะมีหนอนที่ กินเลือดทีต่ ดิ มากับผ้ายุบ่ ยับ่ เหมือนกัน ในช่วงฤดูรอ้ นอุณหภูมิในโรงงานจะ ท�ำให้เหงื่อออกมาโชกตัว หัวหน้าคนงานต้องเอาเกลือเม็ดมาแจกทดแทน เกลือทีเ่ สียไปกับเหงือ่ ชีวติ ช่วงนัน้ ของเขาจึงซ�ำ้ รอยกับทีแ่ ม่เคยประสบ ทัง้ ๆ ทีเ่ ขาเรียนจบปริญญาแล้ว ส่วนภรรยาไปท�ำงานเป็นพนักงานในร้านดังกิน’ส โดนัท ขณะนั้นเขามีลูกแล้ว 2 คน รายได้จากงานหนักในสภาพอันเลวร้าย ต้องเหนือ่ ยสายตัวแทบขาด แต่บางช่วงเงินก็ไม่พอแม้แต่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าน�้ำค่าไฟ ส่วนแม่ก็ก�ำลังป่วยด้วยมะเร็งปากมดลูกระยะสุดท้าย ไปอาศัย อยู่กับเดฟพี่ชายของเขา

นวนิยายขายดีเรื่องแรก แม้จะตกอับสุดๆ เขาไม่เคยหยุดเขียนหนังสือ โดยมักเขียนตอนหลัง เลิกงาน แม้จะเหนื่อยหนักหนาสาหัสมาแล้ว บางครั้งก็ใช้ช่วงพักงานตอน เที่ยงเขียนหนังสือ ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง ที่ขายได้ก็ไม่ได้เงินซักเท่าไหร่ ต่อมาเขาได้งานสอนภาษาอังกฤษ ได้ค่าจ้างดีขึ้น คือ 6,400 เหรียญ ต่อปี เทียบกับค่าจ้างชัว่ โมงละ 1.6 เหรียญ ในโรงงานซักผ้านับว่าดีกว่ามาก และงานก็เบากว่า ในช่วงนัน้ เอง เขาเริม่ เขียนนวนิยายซึง่ ต่อมาเป็นนวนิยาย ขายดีเรื่องแรกของเขา คือเรื่อง แคร์รี (Carrie)

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 209

ผูท้ เี่ ป็นก�ำลังใจส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เขาไม่ทงิ้ งานเขียน คือ ภรรยาของเขาเอง คิงบอกว่า ถ้าเธอหลุดปากออกมาว่าเขาไม่ควรเสียเวลา ไปกับงานเขียนหนังสือ เขาก็คงถอดใจเลิก เขียนไปแล้ว นอกจากไม่เคยบัน่ ทอนก�ำลังใจกัน แล้ว คราวหนึง่ เขาเขียนเรือ่ งสัน้ ไม่ทนั จบ แต่ไม่ ชอบใจจึงขย�ำแล้วโยนทิ้งถังขยะ ภรรยาไปพบ เข้ า เอามา คลี่อ่านแล้วบอกให้เขียนต่อให้จบ เพราะ “ฉันอยากอ่านตอนจบ” ซึ่งมัน เป็นก�ำลังใจให้แก่เขาอย่างยิ่ง เขาสรุปชัดเจนว่า “งานเขียนหนังสือเป็นงาน เหงาเปล่าเปลือง ขอเพียงมีใครสักคนที่เชื่อมั่นเต็มเปี่ยมในตัวคุณ” โชคดีที่ เขามี “ใครคนนั้น” อยู่เคียงข้างตลอดเวลา ในที่สุด ส�ำนักพิมพ์ใหญ่แห่งหนึ่ง คือ ส�ำนักพิมพ์ดับเบิลเดย์ (Doubleday) ก็ตกลงรับซือ้ นวนิยายเรือ่ งแคร์รซี งึ่ เขาส่งไปเสนอขายทางไปรษณีย์ เขาได้รบั แจ้งทางโทรเลขแสดงความยินดีจากส�ำนักพิมพ์ พร้อมแจ้งจ่ายเงิน ล่วงหน้า 2,500 เหรียญ ทางส�ำนักพิมพ์พยายามจะแจ้งข่าวดีแก่เขาทาง โทรศัพท์ แต่ตดิ ต่อไม่ได้ เพราะทีบ่ า้ นเขาเวลานัน้ ไม่มโี ทรศัพท์ จึงแจ้งทาง โทรเลข ผู้แจ้งข่าวคือ “บิล ทอมป์สัน” ซึ่งต่อมาเป็นนักประพันธ์นามอุโฆษ คือ “จอห์น กริแชม”

210 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 211

“ “งานเขียนหนังสือ

เป็นงานเหงาเปล่าเปลือง ขอเพียงมีใครสักคนที่เชื่อมั่นเต็ม เปี่ยมในตัวคุณ” โชคดีที่เขามี “ใครคนนั้น” อยู่เคียงข้างตลอดเวลา



เป็นธรรมเนียมของส�ำนักพิมพ์ทจี่ ะพิมพ์นวนิยายครัง้ แรกเป็นหนังสือ ปกแข็ง หากขายดีจึงจะพิมพ์ต่อมาเป็นพ็อคเกตบุ๊คปกอ่อน เขาฝันว่าหาก แคร์รีขายดี เขาคงจะได้เงินค่าลิขสิทธิ์แบ่งครึ่งกับส�ำนักพิมพ์เป็นเงินสัก 3 หมื่นเหรียญ ซึ่งภรรยาเขาไม่คิดว่าจะได้ “มากขนาดนั้น” แต่ภายหลังบิล โทรศัพท์มาแจ้งว่า แคร์รีขายลิขสิทธิ์ปกอ่อนได้ถึงสี่แสนเหรียญ! เมื่อตอนนวนิยายเรื่องแคร์รีเข้าโรงพิมพ์ ต้องผ่านกระบวนการพิมพ์ อย่างเชื่องช้า เขาไม่ “หลงระเริง” กับความส�ำเร็จครั้งแรก ไฟการเป็น นักประพันธ์ ในตัวเขาลุกโชนอยู่ตลอดเวลา เขาเริ่มนวนิยายเล่มใหม่ทันที ชีวิตอันรุ่งโรจน์ของเขาเปิดฉากแล้ว ขณะที่แม่ของเขาป่วยหนักลงเรื่อยๆ นวนิยายเรือ่ งแคร์รตี พี มิ พ์ออกมาเมือ่ ปี พ.ศ. 2516 พอถึงเดือนกุมภาพันธ์ ปีตอ่ มา แม่กจ็ ากไป รายได้จากนวนิยายขายดีเรือ่ งแรกของเขามีโอกาสช่วย เหลือค่ายาแม่ได้บ้าง สุรา และยาเสพติด คิง เริ่มดื่มเหล้าจนเมามายครั้งแรก เมื่ออายุได้ 19 ปี ตอนไป ทัศนศึกษากับทางโรงเรียน เมื่อเรียนจบมัธยมปีสุดท้าย และเริ่มติดสุราจน เรื้อรังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เมื่ออายุได้ 28 ปี ที่จริงตอนนั้นชีวิตเขาเริ่มจะ รุง่ โรจน์แล้ว เพราะเพิง่ ประสบความส�ำเร็จกับนวนิยายขายดีเรือ่ งแรก ได้ราว

212 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

2 ปี คิงติดสุราอยู่นานถึง 12 ปี สิบปีหลังติดสุรา ถึงปี พ.ศ. 2528 เขาเริ่ม ใช้ยาเสพติดคือโคเคน ปีต่อมาขณะเขาก�ำลังเขียนนวนิยายเรื่องหนึ่งตอน เลยเทีย่ งคืนไปแล้ว ฤทธิ์โคเคนท�ำให้หวั ใจเขาเต้นระรัว ถึง 130 ครัง้ ต่อนาที เลือดก�ำเดาไหลจากจมูก เพราะเส้นเลือดฝอยแตกจากการสูดโคเคน พิษภัยจากยาเสพติดนั้น หนักหนาสาหัส คิงเล่าว่า “ผมซ่อนโคเคน ไว้มดิ ชิด หนึง่ มันเป็นเพราะความหวาดหวัน่ เกรงว่าหากไม่มยี าเสพติด ชีวติ ก็คงรอดสืบไปไม่ได้ ผมลืมชีวิตสามัญไปโดยสิ้นเชิงแล้ว อีกครึ่งหนึ่ง ซ่อน ยาเสพติดเพราะอับอายใจ...” คิงเปรียบชีวิตที่เป็นทาสยาเสพติดว่าเหมือน เมื่อครั้งเช็ดก้นด้วยหมามุ่ย ซึ่งครั้งนั้นเช็ดหนเดียวแต่ต้องทนทุกข์ทรมาน ไปถึงหกอาทิตย์ แต่ชีวิตช่วงติดยาเปรียบเสมือนเช็ดก้นด้วยหมามุ่ยทุกวัน และไม่อาจเปิดปากร้องขอความช่วยเหลือจากใครได้ “เพราะนัน่ ไม่ใช่วถิ กี าร ด�ำเนินชีวิตในครอบครัวของผม” ที่ต้อง “เก็บปัญหาไว้กับตนเอง” ที่จริงเมื่อคิงเริ่มติดเหล้าใน ปี พ.ศ. 2518 เขาเริ่มจะประสบความ ส�ำเร็จในชีวิตแล้ว เพราะนวนิยายเล่มแรกขายดีท�ำรายได้ให้มากมายแล้ว ตามมาด้วยเรื่องที่สองในเวลาไม่ช้า แต่ท�ำไมเขาจึงต้องหันเข้าหาเหล้าและ ต่อมาถึงขัน้ เสพยาเสพติด เรือ่ งนีค้ งิ ไม่ได้เขียนออกมาตรงๆ แต่มขี อ้ ความ เป็นนัยว่า สุรายาเสพติดท�ำให้เขามีจินตนาการและมีพลังในการสร้างงาน โดยสามารถสร้างงานในสภาพทีย่ งั ควบคุมตัวเองได้ แต่สดุ ท้ายก็มาถึงจุดที่ เขาไม่อาจควบคุมตนเองได้อีกต่อไป

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 213

ไม่นานหลังจากนั้น ภรรยาเขาก็รู้ชัดว่าเขากลายเป็นทาสสุราและยา เสพติดจนไม่อาจปล่อยไว้เช่นนัน้ ได้แล้ว จึงตัดสินใจยืน่ ค�ำขาดกับเขา แท็บบี ภรรยาของเขาเป็นยอดหญิงทีร่ วู้ า่ จะพูดกับสามีในภาวะเช่นนัน้ อย่างไร เธอ ยืนยันกับเขาว่าเธอกับลูกๆ รักเขาที่สุด จึงไม่อยากเห็นเขาฆ่าตัวตายต่อ หน้าต่อตา และเสนอทางเลือกให้เขา “หากไม่เข้าสถานบ�ำบัด ก็ต้องไสหัว ออกจากบ้าน” เขาพยายามต่อรอง แต่ในที่สุดก็ยอมเมื่อคิดว่า “......ถึงจะเขียน หนังสือไม่ได้เลยก็ตามทีขอให้เหลือครอบครัวไว้เป็นพอ” ในที่สุดเขาก็ยอม เข้าสถานบ�ำบัดและสามารถหลุดพ้นจากขุมนรกขึ้นมาได้ อุบัติโหด คิงถูกรถตู้ชนขณะออกไปเดินเล่นออกก�ำลังกายเป็นประจ�ำ ขณะไป พักในบ้านพักตากอากาศทางตะวันตกของมลรัฐเมน รถชนเขาขณะเดินอยู่ บนไหล่ทางตามถนนในชนบท สาเหตุเพราะสุนขั พันธุร์ อตต์ไวเลอร์ทอี่ ยูต่ อน หลังรถตู้คันนั้น กระโดดข้ามมาตะกุยกระติกแช่เย็นที่ใช้เก็บเนื้อสด คนขับ รถหันไปผลักหมาไม่ให้เปิดกระติกท�ำให้รถเสียหลักออกนอกทางไปชนเขา คนขับรถชื่อไบรอัน สมิธ อายุ 42 ปี เคยก่ออุบัติเหตุทางรถยนต์มาแล้ว กว่าสิบครัง้ ตอนทีช่ นเขา สมิธเล่าให้เพือ่ นฟังภายหลังว่านึกว่าชนกวาง จน กระทั่งเห็นแว่นตาเปื้อนเลือดตกบนเบาะนั่งข้างหน้า กรอบแว่นบิดงอ

214 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ไบรอัน สมิธ ถูกศาลตัดสินลงโทษจ�ำคุกหกเดือนฐานขับรถประมาท ท�ำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ โทษจ�ำคุกศาลรอลงอาญา และให้ถอนใบอนุญาตขับรถ หนึ่งปี ปีต่อมามีผู้พบเขาตายในบ้านรถเทรลเลอร์ของเขา สาเหตุการเสีย ชีวิตไม่ทราบแน่ชัด ผลการตรวจร่างกายในเวลาต่อมา กระดูกขาขวาของเขาหัก 9 ท่อน เบ้ากระดูกต้นขาที่สะโพกขวาแตกท�ำให้หัวกระดูกต้นขาหลุดออกจากเบ้า เงี่ยงกระดูกสันหลังหักไป 8 แห่ง ซี่โครงหัก 4 ซี่ ทิ่มปอดจนฉีกขาด หนัง ศีรษะฉีกขาดต้องเย็บ 20-30 เข็ม เขารอดมาได้ เพราะระบบการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพมาถึง ในเวลาไม่นานนัก ให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง แล้วรีบส่งไปโรงพยาบาล ด้วยความเร็วถึง 110 ไมล์ต่อชั่วโมงตามถนนลาดยางปุปะในชนบท ไปถึง โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ทางโรงพยาบาลตรวจแล้ว ไม่สามารถรับรักษาได้ จึงต้องใช้เฮลิคอปเตอร์พาไปส่งทีศ่ นู ย์การแพทย์ของมลรัฐเมนในเมืองลูอสิ ตัน เขาเข้าโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ลุกจากเตียง ได้ครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 ได้กลับบ้านเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม น�้ำหนักตัวเคย ชั่งได้ 216 ปอนด์ ลดลงเหลือ 165 ปอนด์ วันที่ 4 สิงหาคม กลับเข้า

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 215

โรงพยาบาลรับการผ่าตัดอีกครัง้ และต้องท�ำกายภายบ�ำบัดต่อเนือ่ งกายภาพ บ�ำบัดแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ Physical Therapy ตัวย่อคือ PT คิง บอกว่าคนที่เคยผ่านการท�ำกายภาพบ�ำบัดลงความเห็นว่า PT มิได้ย่อมา จาก Pyhsical Therapy แต่ยอ่ มาจาก Pain and Torture คือ “ปวดและทรมาน”

หนังสืออัตชีวประวัติ “ว่าด้วยการเขียน” คิงเขียนหนังสืออัตชีวประวัติ “ว่าด้วยการเขียน” ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2540 ใช้เวลา 18 เดือน เขียนไปได้แค่ครึ่งเล่ม ผิดจากการเขียนนวนิยาย ซึ่งเขามักจะเขียนจบส�ำเนาแรกภายใน 3 เดือน เพราะส�ำหรับคิง การเขียน นวนิยายเป็นเรือ่ งสนุกสนาน แต่การเขียนสารคดี กว่าจะเขียนได้แต่ละค�ำเป็น เรื่องยาก บางครั้งถึงขึ้น “ทรมานสิ้นดี” จนต้องพับเก็บเข้าลิ้นชัก ถึงเดือนมิถนุ ายน พ.ศ. 2542 เขาตัง้ ใจจะเขียนต่อให้จบ คืนก่อนเกิด อุบัติเหตุเขาเขียนหัวข้อออกมาได้ 4 หน้ากระดาษ จนกระทั่งกลับออกจาก โรงพยาบาลเขาตั้งใจจะน�ำกลับมาเขียนต่อให้จบ แต่ความเจ็บปวดทรมานในร่างกาย ท�ำให้เขาไม่อยากกลับมาท�ำงาน เขียนอีก เข่าขวาเขายังงอไม่ได้ เวลาเดินต้องใช้วอล์คเกอร์ เวลานัง่ ก็ทรงตัว ได้ล�ำบาก เอวบิดแทบจะขาด นั่งได้นานที่สุดไม่เกินสี่สิบนาที และนั่งต่อไป

216 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ไม่ได้เลยหลังจากชั่วโมงสิบห้านาทีผ่านไป ข้อส�ำคัญจะหาสมาธิได้ที่ไหน เพราะพะวงคิดแต่ว่าเมื่อไรจะถึงเวลากินยาแก้ปวด เขาเดินมาถึงทางสอง แพร่ง จะเขียนหรือไม่เขียน และแล้ว ภรรยาเขานัน่ เองทีเ่ ป็นผูเ้ ลือกทางเดินให้เขา ปกติแท็บบีจะ คอยเตือนให้เขาวางมือจากการเขียน เมือ่ เห็นเขาหักโหมท�ำงานหนักเกินไป คราวนี้เมื่อตั้งต้นจะกลับมาเขียน เขาคิดว่าเธอจะเทศนาเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า อย่าเพิง่ ฝืนสังขาร ตรงกันข้าม เธอกลับสนับสนุนและช่วยตัง้ เครือ่ งพิมพ์ให้ ชัดเจนว่า แท็บบี รู้ดีเสมอว่า เมื่อใดเขาท�ำงานหนักเกินไป และเธอ ก็ทราบดีว่า ครั้งนี้ งานเขียนจะช่วยชุบชีวิตเขาให้ฟื้นคืนดีขึ้นมาได้ ครั้งนั้น เขากลับมาเขียนหนังสือได้ 1 ชั่วโมง 40 นาที แม้อากาศ ไม่รอ้ น แต่เหงือ่ เขาชุม่ โชก ปวดร้าวไปทัว่ ทัง้ ตัว ปวดทีบ่ นั้ เอวเหมือนจะขาด หนังสือแต่ละตัวเหมือนชายชราเดินข้ามล�ำธารน�ำ้ ขุน่ ต้องคอยมองหาทีห่ ยัง่ เท้าบนก้อนหินที่เปียกลื่น “ไม่มีแรงบันดาลใจผุดโผล่มาในบ่ายวันนั้น มีแต่ เพียงความตั้งใจมุ่งมั่นกัดฟันลากเท้าเดินต่อไป ด้วยความหวังว่า ถ้าลองสู้ ต่อไปไม่หยุด ผลที่ตามมา ก็น่าจะมีแต่ดีขึ้นกว่าเดิม”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 217

หลังจากนั้น เขากลับเข้าโรงพยาบาลไปรับการผ่าตัดอีก 2 ครั้ง แผล ติดเชื้อรุนแรงหลายครั้ง เขาต้องกินยามากมาย “วันละนับร้อยเม็ดกระมัง” แม้จะต้องทรมานสังขารเช่นนัน้ เขากลับไปเขียนหนังสือได้อกี “บาง วันพิมพ์ได้ตะกุกตะกักไม่กี่ค�ำ บางวันไหลรี่ออกมาเป็นสาย เมื่อขาเริ่มหาย ปวด ห้วงความคิดจับจังหวะเดิมได้อีกครั้ง” บทสรุป สตีเฟน คิง มีชีวิตเยาว์วัยที่ทุกข์ยากล�ำบาก แต่ก็ฟันฝ่ามาได้ และ ประสบความส�ำเร็จในงานอาชีพอย่างยิง่ นอกจากพืน้ ฐานด้านพรสวรรค์ และ มีใจรักอย่างมุ่งมั่นแล้ว ยังเพราะเขาเป็นนักสู้ชีวิตโดยแท้ แน่นอนบางครั้ง เขาซวนเซหรือหลงทาง แต่เขาโชคดีที่มีทั้งแม่และเมียที่รักและดีต่อเขา อย่างแท้จริง ข้อส�ำคัญทัง้ แม่และเมียรูจ้ กั เขาอย่างลึกซึง้ และรูด้ วี า่ จะพูดกับ เขาอย่างไร

218 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 219

น อ ด ล เช ์ ย ี น ด ิ ซ ต ิ ว ี ช ง อ ข ด้านอืน่

บทน�ำ ซิดนีย์ เชลดอน เป็นนักประพันธ์เรืองนามอีกคนหนึง่ ของสหรัฐ เป็น นักเขียนหนังสือขายดีอนั ดับเจ็ดของโลกในช่วงเวลายาวนาน คนไทยส่วนใหญ่ รูจ้ กั เขาในฐานะนักเขียนนวนิยายระทึกขวัญ แต่แท้จริงแล้ว เขามีผลงานโด่งดัง ทัง้ ในฐานะนักเขียนบทโทรทัศน์ นักเขียนบทภาพยนตร์ และผูก้ ำ� กับภาพยนตร์ ก่อนจะเริม่ มามีชอื่ เสียงในฐานะนักเขียนนวนิยาย เมือ่ อายุยา่ งสูว่ ยั เกิน 50 แล้ว

220 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เขาเคยเป็นนักเขียนบทละครเพลงที่ประสบความส�ำเร็จ เช่นในช่วง หนึง่ มีบทละครเพลงจากฝีมอื การประพันธ์ของเขาแสดงในโรงละครบรอดเวย์ ในนครนิวยอร์กถึง 3 เรื่อง พร้อมกัน คือเรื่อง “แม่หม้ายอารมณ์ดี” (The Merry Widow) “แจ็คพ็อต” (Jackpot) และ “ฝันไปกับดนตรี” (Dream with Music) ความส�ำเร็จบนเวทีละครบรอดเวย์ ท�ำให้เขาได้งานใน “โลกมายา” ของฮอลลีวูด คือโลกภาพยนตร์ เขาเขียนบทภาพยนตร์ให้ทั้งเครือเมโทร โกลด์วินเมเยอร์ (MGM) และพาราเมาท์พิคเจอร์ส์ (Paramouth Pictures) จนประสบความส�ำเร็จอย่างสูงในภาพยนตร์เรื่อง The Bachelor and the Bobby-Soxer ซึ่งเขาได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง (Academy Award) ในฐานะ ผูเ้ ขียนบทภาพยนตร์ยอดเยีย่ ม เมือ่ พ.ศ. 2490 ขณะนัน้ เขาอายุได้เพียง 30 ปี เมื่อโทรทัศน์เริ่มเข้ามามีบทบาทในโลก เขาก็เข้าสู่วงการโทรทัศน์ และประสบความส�ำเร็จอย่างสูงในฐานะผู้เขียนบทซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ครอง ใจคนทั่วโลกยาวนานถึง 7 ปี คือ “แพ็ตตีดุ๊คโชว์” (The Patty Duke Show) เขากลายเป็นนักเขียนบทโทรทัศน์ “มือทอง” ในเวลาอันรวดเร็ว โดยเป็นผู้ สร้างซีรสี ช์ ดุ “ฉันฝันถึงจีนนี” (I Dream of Jeannie) ซึง่ ครองใจคนดูยาวนาน ถึง 5 ปี ขณะที่เขียนบทแพ็ตตีดุ๊คโชว์และเรื่องอื่นด้วย จนท�ำให้เขาต้องใช้ “ชื่อปลอม” (Psuedomyms) คือ มาร์ค โรเวน (Mark Rowane) แอลเลน เดวอน (Allen Devon) และคริสโตเฟอร์ โกแลโต (Christopher Golato) เพราะไม่อยากให้ผู้ชม เห็นชื่อเขาซ�้ำๆ บนจอโทรทัศน์

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 221

ซีรีส์ชุด “ฉันฝันถึงจีนนี่” ยุติเมื่อ พ.ศ. 2513 ช่วงปลายของซีรีส์ชุด นี้ ซิดนีย์เริ่มหันไปเขียนนวนิยาย เมื่อ ปี พ.ศ. 2512 นวนิยายเรื่องแรกของ เขา คือ The Naked Face ตีพิมพ์ออกจ�ำหน่าย และประสบความส�ำเร็จใน ทันทีด้วยการได้รับเสนอเข้ารับ “รางวัลเอดการ์ แอลแลน โป” ในฐานะ “นักเขียนเรื่องลึกลับของอเมริกา” ในกลุ่มนักเขียน “นวนิยายเรื่องแรก” นวนิยายเรือ่ งนีแ้ ปลเป็นภาษาไทยแล้วในชือ่ “ไอ้ฆาตกร” โดย สุวทิ ย์ ขาวปลอด นวนิยายเรือ่ งต่อมา คือ “ด้านอืน่ ของเทีย่ งคืน” (The Other Side of Midnight) ทะยานขึ้นติดอันดับหนังสือขายดีที่สุดของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์คไทม์ ติดต่อกันนานถึง 52 สัปดาห์ตามมาด้วยนวนิยายเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องที่ ล้วนประสบความส�ำเร็จ หลายเรือ่ งได้นำ� ไปสร้างเป็นภาพยนตร์หรือซีรสี ท์ าง โทรทัศน์ ซิดนีย์ เชลดอน เขียนนวนิยายรวม 18 เรือ่ ง ซึง่ น�ำไปสร้างภาพยนตร์ 3 เรื่อง เขียนหนังสือส�ำหรับเด็ก 9 เล่ม เชียนบทละครเวทีบรอดเวย์ 7 เรื่อง บทภาพยนตร์ 25 เรื่อง สร้างบทโชว์ทางโทรทัศน์ 4 ชุด งานที่ ซิดนีย์ เชลดอน ชอบมากที่สุดคือ การเขียนนวนิยาย เพราะ เป็นงานทีเ่ ขาสามารถท�ำได้อย่างอิสระ ไม่เหมือนสือ่ อืน่ อย่างเช่นภาพยนตร์ ที่ต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย งานประพันธ์ของซิดนีย์ เชลดอน ส่วนมากเป็น เรื่องของ “ผู้หญิงที่แน่วแน่และมุ่งมั่นในโลกซึ่งก�ำหนดโดยผู้ชายที่ก้าวร้าว”

222 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แฟนของซิดนีย์ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ซิดนีย์เคยบอกว่า “ผมชอบเขียนถึง ผูห้ ญิงทีฉ่ ลาดและเก่งแต่ทสี่ ำ� คัญทีส่ ดุ คือ ยังคงรักษาความเป็นผูห้ ญิงเอาไว้ ผูห้ ญิงนัน้ มีพลังมหาศาล-ในความเป็นผูห้ ญิงของเธอ ซึง่ ผูช้ ายไม่มที างท�ำได้ เช่นนั้น” นับว่า ซิดนีย์ประสบความส�ำเร็จอย่างสูงในชีวิตการงาน นอกจาก รางวัลตุ๊กตาทองในฐานะผู้เขียนบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในวัยเพียง 30 ปี แล้ว เขายังได้รางวัลโทนีอะวอร์ด (Tony Award) ในบทละครเพลงเรื่อง Redhead เมือ่ ปี พ.ศ. 2502 ในวัย 42 ปี ได้รบั การเสนอชือ่ รับรางวัล เอมมี (Emmy Award) ในงานหัสนาฏกรรมทางสถานีโทรทัศน์ เอนบีซี ใน ภาพยนตร์ชดุ “ฉันฝันถึงจีนนี” เมือ่ 2537 เขาได้ รับการประทับ “ตราดาวทอง” ที่ T he Palm Springs Walk of Stars และเขามีอายุยืนยาว ถึงเกือบ 90 ปี ความส�ำเร็จอย่างรุง่ โรจน์ตงั้ แต่วยั ไม่ถงึ 30 ปี เข้าสูว่ งการไหนก็ประสบความส�ำเร็จจน โด่งดัง และมีอายุยืนยาวขนาดนี้ หลายคนคง คิดว่า ชีวิตของซิดนีย์ เชลดอน คงราบรื่นมา ตั้งแต่วัยเด็ก แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 223

เพราะในช่วงย่างเข้าสู่วัยรุ่น เขาป่วยเป็นโรคจิตซึ่งไม่มีทางรักษาหาย และ ถึงขั้นเคยลงมือฆ่าตัวตายมาแล้ว เมื่ออายุได้ 17 ปี เขาเขียนเล่าเรื่องนี้ไว้ เองในหนังสืออัตชีวประวัติ ชื่อ “ด้านอื่นของชีวิตฉัน” (The Other Side of Me) ซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2547 ขณะเมื่อเขาอายุได้ 87 ปี วัยเยาว์ ซิดนีย์ เชลดอน เกิดเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460 ที่เมือง ชิคาโก มลรัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ชื่อเดิมคือ ซิดนีย์ เชคเทล (Sidney Schechtel) พ่อแม่เป็นชาวยิวเชื้อสายรัสเซีย แม่ชื่อนาตาลี มาร์คัส อพยพ หนีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิวของพวกรัสเซียมาตั้งแต่อายุได้ 10 ขวบ นาตาลี เป็นคนสวย เธอไม่เคยเข้าโรงเรียน แต่พยายามเรียนหนังสือด้วยตนเอง เธอ ชอบดนตรีและชอบอ่านหนังสือ ความฝันของเธอคือได้แต่งงานกับเจ้าชาย รูปงาม และได้ท่องเที่ยวไปรอบโลก แต่ “เจ้าชาย” ของเธอกลับกลายเป็น ออตโต เชคเตล ซึ่งเคยเป็นเด็กเกเรตามท้องถนนในชิคาโก และต้องออก จากโรงเรียนกลางคัน แต่ออตโตรูปหล่อและมีเสน่ห์ ตระกูลมาร์คัส และ เชคเตล แต่งงานกันหลายคู่ ฝ่ายพ่อท�ำงานเป็น เซลส์แมน ชอบคุยโวโอ้อวดว่าก�ำลังจะขายสินค้ารายการใหญ่ และชอบอวด มัง่ อวดมีโดยชอบสัง่ อาหารดีๆ มาเลีย้ งเพือ่ น โดยไม่มเี งินพอจะจ่าย และใช้ วิธียืมเพื่อนในวงจ่ายไปก่อน

224 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เมือ่ ย้ายไปอยูเ่ มืองใหม่ พ่อมักจะใช้โวหารในฐานะนักขายพูดกับครู เพื่อให้ซิดนีย์ ได้เรียนในชั้นสูงๆ ผลก็คือซิดนีย์ มักจะอายุน้อยกว่าเพื่อนใน ชั้น ประกอบกับต้องย้ายโรงเรียนบ่อยๆ ท�ำให้ซิดนีย์ไม่มีโอกาสคบใครเป็น เพื่อนสนิทเลย โชคดีที่แม่รักและเข้าใจซิดนีย์ ส�ำหรับซิดนีย์แล้วแม่ คือ “ดาวเหนือ” ที่คอยส่องทางชีวิต คอยให้ความอบอุ่น และคุ้มภัยให้เสมอ อุปนิสัยที่แตกต่างกันมากระหว่างพ่อกับแม่ ไม่นานหลังแต่งงานทั้ง คู่ก็ทะเลาะกันเป็นประจ�ำ โดยทะเลาะกันอย่างรุนแรง ต่างก็ก่นด่าจุดอ่อน ของกันและกัน เมื่อซิดนีย์เริ่มรู้ความ ก็ทนสภาพนั้นไม่ได้ โชคดีที่เขาหา ทางออกโดยการหนีไปอ่านหนังสือในห้องสมุดสาธารณะ เย็นวันหนึ่งหลังกลับจากโรงเรียนเห็นพ่อกับแม่ทะเลาะกัน ซิดนีย์ก็ ถึงขีดทนไม่ได้ จึงไปหาป้าชื่อพอลีนให้ช่วย ป้าแนะว่า ทั้งพ่อและแม่ต่างก็ รักเขาดังนั้นถ้าเขาเห็นพ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าอีก ให้บอกพ่อกับแม่ตรงๆ ว่า เขาไม่อยากให้พ่อแม่ทะเลาะกันต่อหน้าเขา ซิดนีย์ เชือ่ ป้า เมือ่ พ่อแม่ทะเลาะกันอีก เขาก็บอกพ่อแม่ตามทีป่ า้ สอน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 225

ปรากฏว่าได้ผล แม่บอกว่า “ลูกพูดถูก ลูกรัก มันจะไม่เกิดขึ้นแบบนี้อีก” ส่วนพ่อก็บอกว่า “พ่อขอโทษ เราไม่มสี ทิ ธิเ์ อาปัญหาของเราไปให้ลกู แบก” หลัง จากนัน้ เมือ่ พ่อกับแม่จะทะเลาะกันก็จะเข้าห้องปิดประตูไปด่ากันในห้องแทน โรงเรียนที่ชิคาโก มีสภาพเลวร้ายมาก เช้าวันหนึ่ง ในห้องเรียนชั้น ป.3 ครูผหู้ ญิงเกิดโมโหเด็กคนหนึง่ จึงเอาขวดหมึกใบเขือ่ งขว้างไปทีเ่ ด็กคน นั้น เคราะห์ดี ถ้าโดนหัวเด็กคงถึงตาย ท�ำให้บ่ายวันนั้นซิดนีย์ไม่กล้ากลับ เข้าไปในห้องเรียนนั้นอีก สิ่งที่พ่อชอบคุยอวดด้วยความภาคภูมิใจคือ ตลอดชีวิตไม่เคยอ่าน หนังสือจบสักเล่ม ขณะที่แม่ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้ซิดนีย์ เขาชอบยืม หนังสือจากห้องสมุดสาธารณะไปอ่านที่บ้าน พ่อมักจะคอยบอกว่า จะเสีย สายตา และไล่ให้ออกไปเล่นฟุตบอลเหมือนเซย์มัวร์ลูกผู้พี่ ลุงก็คอยบอก พ่อว่าซิดนีย์อ่านหนังสือมากไป อนาคตจะแย่ เมือ่ อายุได้ 10 ขวบ ซิดนียร์ เิ ขียนบทกลอนส่งเข้าประกวดในนิตยสาร ส�ำหรับเด็กเล่มหนึ่ง เขาขอให้พ่อช่วยส่งให้ พ่อเกิดหวังดีกลัวทางนิตยสาร ปฏิเสธจะท�ำให้ซิดนีย์เสียใจ จึงเปลี่ยนชื่อผู้เขียนเป็นชื่ออา สองสัปดาห์ต่อ มาอาถามพ่อว่า ท�ำไมนิตยสาร “วี วิสดอม” (Wee Wisdom) ส่งเช็คมูลค่า 5 ดอลลาร์ มาให้

226 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

งานประพันธ์ชิ้นแรกในชีวิตของซิดนีย์ จึงได้ตีพิมพ์ ในชื่อ “อัล มาร์คัส” อาของเขา โดยได้ค่าเขียน 5 ดอลลาร์ เมื่ออายุได้ 12 ขวบ ขณะเรียนอยู่ชั้นประถม 7 ซิดนีย์ เขียนบทละคร ครูอ่านแล้วชอบ จึงสนับสนุนให้น�ำไปแสดง ซิดนีย์ดีใจมาก รับบทเป็นทั้ง ผูส้ ร้าง ผูก้ ำ� กับและผูแ้ สดงน�ำด้วย ระหว่างฝึกซ้อมมีขา่ วไปทัว่ ซิดนียฝ์ นั ถึง การเป็นผู้เขียนบทละครที่บรอดเวย์ ทั้งครูและนักเรียนรวมทั้งครูใหญ่ต่าง ตื่นเต้นอยากดูละครของ “เด็กอัจฉริยะ” แต่พอวันแสดงจริง ซิดนีย์กลับล้ม เหลวไม่เป็นท่า เพราะในฉากส�ำคัญที่เขาจะออกแสดง ในบทนักสืบ เพื่อน เกิดพูดผิดท�ำให้ซดิ นียข์ ำ� กลิง้ หัวเราะจนหยุดไม่ได้ ท�ำให้ละครล่มลงกลางคัน เมือ่ ถึงปี พ.ศ. 2473 เศรษฐกิจตกต�ำ่ รุนแรงแล้ว คนตกงานไปทัว่ คน เข้าคิวรับขนมปังไปประทังความหิว แถวยาวขึ้นๆ บนท้องถนนบางแห่งถึง ขั้นเกิดจลาจล ซิดนีย์เรียนจบชั้นมัธยมต้น และได้งานเป็นเด็กส่งของที่ร้านขายยา แห่งหนึ่ง แม่ทำ� งานเป็นแคชเชียร์ที่ร้านรอลเลอร์สเก๊ต พ่อยังคงเดินทางไป ทั่ว และกลับมาบ้านเป็นบางครั้ง จู่ๆ พ่อก็บอกให้เตรียมย้ายไปเมืองเคิร์ค แลนด์ในมลรัฐอริโซนา เพราะได้ไปซื้อเหมืองแร่เงินที่นั่น ทุกคนฝันเฟื่อง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 227

แต่เอาเข้าจริงกลับต้องไปอาศัยอยู่หลังปั๊มน�้ำมันโทรมๆ ถึงสามเดือน ก่อน จะพบว่าเหมืองแห่งนั้นไม่มีแร่เงินอยู่เลย โชคยังดี ที่ลุงแฮร์รี่โทรศัพท์มาตามไปช่วยงานในบริษัทโบรคเกอร์ ที่เดนเวอร์ เป็นครั้งแรกที่ซิดนีย์ได้อยู่ในบ้านหรูที่พ่อกะจะซื้อไว้ ซิดนีย์ฝัน ไกลไปถึงว่าจะได้แต่งงานและมีลกู ทีบ่ า้ นหลังนัน้ เพราะธุรกิจของลุงไปได้ดี มาก ฤดูใบไม้ร่วงปีนั้นซิดนีย์ก็เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลาย เขามีความ สุขมากในช่วงนั้น เป็นเวลาถึง 3 ปี จู่ๆ เช้าวันหนึ่งพ่อก็มาบอกว่าจะต้อง ย้ายกลับชิคาโก แม่อธิบายว่า เพราะ “พ่อแกกับลุงแฮรี่มีเรื่องผิดใจกัน” ที่ชิคาโก ซิดนีย์ต้องกลับไปอยู่ในห้องเช่าเล็กๆ โทรมๆ พ่อกลับไป ตระเวนหางานใหม่ แม่ไปเป็นเสมียนในห้างสรรพสินค้า รายได้ไม่พอจับจ่าย ความฝันจะได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัยล่มสลาย ซิดนียซ์ มึ เศร้าหนัก จนในทีส่ ดุ ก็ตัดสินใจฆ่าตัวตาย

ฉากระทึกขวัญ ซิดนีย์ เชลดอน เปิดฉากอัตชีวประวัติของเขาด้วยเรื่องการพยายาม ฆ่าตัวตาย เมื่ออายุได้ 17 ปี ปีนั้นเป็น พ.ศ. 2477 เศรษฐกิจก�ำลังตกต�่ำทั่ว โลก ตลาดหุ้นวิกฤต ธนาคารนับพันแห่งล้ม ผู้คนตกงานกว่า 13 ล้านคน

228 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ค่าแรงตกลงเหลือแค่ชั่วโมงละ 5 เซ็นต์ เศรษฐีเงินล้านจ�ำนวนมากฆ่าตัว ตาย ผู้บริหารธุรกิจบางคนเปลี่ยนอาชีพไปขายแอปเปิ้ลริมถนน ช่วงนั้น ซิดนีย์เชลดอนอยู่ในภาวะซึมเศร้าสุดๆ มองไม่เห็นประโยชน์ที่จะมีชีวิตต่อ ไป และคิดฆ่าตัวตาย ตอนนั้นเขาท�ำงานเป็นเด็กส่งของในร้านขายยา จึงเป็นโอกาสดีที่จะ แอบขโมยยานอนหลับครั้งละ 2-3 เม็ด เพื่อไม่ให้เจ้าของร้านรู้ จนครบ 20 เม็ด เขาอ่านหนังสือพบว่าถ้ากินยานอนหลับกับเหล้าจะช่วยให้ฤทธิ์แรงขึ้น ร้านยาปิด 6 โมงเย็น เขาเลือกจังหวะวันศุกร์ เพราะพ่อแม่ก�ำลังจะออกไป เที่ยวกันในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ ริชาร์ดน้องชายก็ไปนอนอยู่บ้านเพื่อน บ้านเขาอยู่ใกล้ทะเลสาบมิชแิ กน คืนหนึง่ เขาเดินไปริมทะเลสาบเพือ่ สงบอารมณ์ ขณะนั้นท้องฟ้ามีเมฆครึ้ม ลมแรง เขาแหงนมองขึ้นไปใน ท้องฟ้า ร�ำพึงว่า “ถ้าพระเจ้ามีจริงขอให้สำ� แดงตนต่อข้าเถิด” ทันใดนัน้ เมฆ ม้วนตัวเข้าหากันกลายเป็นรูปใบหน้าขนาดมหึมา พร้อมกับมีฟา้ แลบแปลบ ปลาบเหมือนใบหน้ายักษ์กระพริบตา ท�ำให้เขาวิ่งกลับเข้าบ้านด้วยอาการ อกสั่นขวัญแขวน วันทีเ่ ขาตัง้ ใจฆ่าตัวตาย เมือ่ กลับถึงบ้าน บ้านว่างเปล่า พ่อกับแม่ไป เที่ยวกันแล้ว น้องชายก็ไปแล้ว เขาเดินเข้าไปในห้องนอนที่เขากับริชาร์ด

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 229

นอนด้วยกัน จากนั้นเดินเข้าไปในครัว หยิบขวดเหล้าเบอร์บอนของพ่อเอา กลับเข้าไปในห้องนอน มองยานอนหลับกับขวดเหล้า แล้วคิดว่ามันจะใช้ เวลาเท่าไรหนอกว่าจะออกฤทธิ์ จากนั้นเทวิสกี้ลงแก้วยกขึ้นดื่ม เพราะไม่ เคยดื่มเหล้า เขาจึงส�ำลัก จากนั้นเขาเตรียมเทยานอนหลับเข้าปาก ทันใด นั้นเอง ก็มีเสียงพูดจากด้านหลังว่า “แกก�ำลังท�ำอะไรน่ะ” เป็นเสียงพ่อ ยืนอยู่ที่ประตูห้องนอน พ่อเดินเข้าไปใกล้เขา พูดว่า “พ่อไม่รู้ว่าแกดื่มเหล้า” ซิดนียม์ องพ่อ พูดด้วยความประหลาดใจว่า “ผม-ผมคิดว่าพ่อไปแล้ว” “พ่อลืมของ พ่อขอถามแกซ�้ำว่า แกก�ำลังท�ำอะไร” พ่อพูดพร้อมดึงแก้วเหล้าไปจากมือของเขา “เปล่า เปล่า” เขาปฏิเสธ พ่อขมวดคิ้ว พูดว่า “นี่มันไม่ใช่แก ซิดนีย์ เกิดอะไรขึ้นรึ” พ่อเห็นยา นอนหลับ “โอ พระเจ้านี่มันอะไรกัน นี่คืออะไรเนี่ย” “ยานอนหลับ” “ท�ำไม” “ผมก�ำลังจะ - ฆ่าตัวตาย” พ่ออึ้ง ก่อนจะพูดว่า “พ่อไม่รู้เลยว่า แกทุกข์ขนาดนี้” ซิดนีย์ตอบว่า “พ่อหยุดผมไม่ได้หรอก ถ้าพ่อห้ามผมวันนี้ได้ พรุ่งนี้ ผมก็จะท�ำใหม่”

230 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

พ่อยืนนิ่ง ครุ่นคิดว่าจะพูดอะไร จากนั้นก็พูดว่า “มันชีวิตของแก แก จะท�ำอะไรก็ได้ แต่ถา้ แกไม่รบี ร้อนเกินไปนัก ไปเดินเล่นกับพ่อสักครูด่ ไี หม” เขารู้ว่าพ่อคิดอะไร เพราะพ่อมีอาชีพเป็นเซลส์แมน พ่อต้องการ เปลี่ยนใจเขา แต่ไม่มีทางหรอก เพราะเขาตัดสินใจแน่วแน่แล้ว อย่างไรก็ ดีเขาบอกพ่อว่า “ได้” “ใส่เสื้อคลุมด้วยนะ เดี๋ยวจะเป็นหวัด ”พ่อบอก เขาฟังแล้วอดยิ้มไม่ ได้ เขาจะตายแล้ว ท�ำไมต้องกลัวจะเป็นหวัด ห้านาทีหลังจากนัน้ ซิดนียก์ บั พ่อก็ออกไปเดินบนถนนทีว่ า่ งเปล่า ไม่มี ผู้คน ลมแรง หนาวยะเยือก หลังจากเงียบอยูพ่ กั ใหญ่ พ่อเริม่ ถาม “บอกพ่อซิลกู ท�ำไมลูกจะฆ่าตัวตาย” เขาไม่รจู้ ะเริม่ ต้นอย่างไร เพือ่ จะบอกพ่อว่า เขาเหงาแค่ไหน สิน้ หวัง กับชีวติ แค่ไหน เขาอยากมีอนาคตทีง่ ดงาม แต่ไม่มคี วามหวังใดๆ เขาอยาก เข้าเรียนมหาวิทยาลัย แต่พอ่ ก็ไม่มเี งินส่ง จึงเป็นได้แค่เด็กส่งของในร้านยา เขาอยากเป็นนักเขียน และเขียนเรือ่ งสัน้ นับสิบเรือ่ งส่งไปลงพิมพ์ แต่กม็ แี ต่ ค�ำตอบปฏิเสธ.....

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 231

พ่อฟังแล้วพูดว่า “........และมีสถานที่สวยงามมากมายในโลกที่แก ยังไม่เคยเห็น.......” เขาไม่ฟัง แต่พ่อก็พูดต่อ “..........แกจะชอบกรุงโรม....” เขาฟังแล้ว ยังแน่วแน่ว่า ถ้าพ่อออกไป คืนนี้เขาก็จะฆ่าตัวตาย พ่อ พูดต่ออีก “ซิดนีย์ แกบอกพ่อว่า แกอยากเป็นนักเขียนมากกว่าอะไรทั้งหมด” “นั่นมันเมื่อวาน” เขาสวน “แล้วพรุ่งนี้ล่ะ” เขามองพ่อ งง ถามว่า “อะไรนะ” “แกไม่รู้หรอกว่าอะไรจะเกิดขึ้นพรุ่งนี้ ชีวิตก็เหมือนนวนิยาย ใช่ไหม ล่ะ มีเรื่องชวนระทึกขวัญมากมาย แกไม่มีทางรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นจนกว่าจะ พลิกอ่านหน้าต่อไป” “ผมรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ไม่มีอะไรเลย” “แกไม่รู้จริงๆ หรอก ใช่ไหม ชีวิตทุกวันก็เหมือนเรื่องราวในแต่ละ หน้า ซิดนีย์ และมันอาจเต็มไปด้วยเรือ่ งน่าประหลาดใจ แกไม่มที างรูจ้ นกว่า แกจะพลิกไปอ่านหน้าต่อไป”

232 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 233

“ มีเรื่องชวนระทึกขวัญมากมาย

แกไม่มีทางรู้ว่า จะเกิดอะไรขึ้น จนกว่าจะพลิกอ่านหน้าต่อไป”



ผมเริ่มคิด พ่อพูดมีประเด็น ทุกวันพรุ่งนี้เหมือนหน้าต่อไปของ นวนิยาย เราเลี้ยวที่มุมตึก พ่อพูดต่อ “ถ้าแกต้องการฆ่าตัวตายจริงๆ ซิดนีย์ พ่อเข้าใจ แต่พ่อไม่อยากเห็นแกโยนหนังสือทิ้งเร็วเกินไปและพลาดโอกาส รับรูเ้ รือ่ งน่าตืน่ เต้นทีแ่ กอาจได้พบในหน้าต่อไป–หน้ากระดาษทีแ่ กก�ำลังจะเขียน” “อย่าโยนหนังสือทิง้ เร็วเกินไป.........ผมโยนหนังสือทิง้ เร็วเกินไปหรือ เปล่า พรุ่งนี้อาจเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นก็ได้” ถ้าไม่ใช่เพราะพ่อเป็นยอดเซลส์แมน ก็เพราะความตั้งใจฆ่าตัวตาย ของเขาไม่แรงพอ เพราะพอเดินไปอีกหนึง่ ช่วงตึก เขาก็ยอมเลือ่ นการตัดสิน ใจฆ่าตัวตายออกไป แต่ไม่ถึงกับปิดประตูเสียทีเดียว เส้นทางวิบากยังยาวไกล ค�ำพูดของพ่อที่ให้ซดิ นียพ์ ลิกหน้ากระดาษเรือ่ งราวในชีวติ ไปอีกหน้า และอีกหน้า เป็นแรงบันดาลใจส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เขามีแรงสูช้ วี ติ อันล�ำเค็ญต่อไป ปลายปีนั้น เขาเข้าโรงเรียนมัธยมปลายที่นั่น พ่อยังคงฝันที่จะ “ขาย รายการใหญ่” ต่อไป แม่ได้งานใหม่ในร้านตัดเสื้อผ้า แต่ค่าจ้างก็ไม่พอใช้

234 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

จ่าย ซิดนีย์จึงหางานท�ำเพิ่ม โดยไปของานอาท�ำที่โรงแรมบิสมาร์ค ท�ำ หน้าที่รับฝากเสื้อโค้ตแล้วเอามาคืนให้เวลาแขกจะกลับ ได้ค่าแรงคืนละ 3 ดอลลาร์ ทุกเช้าเขาต้องรีบไปโรงเรียนจนบ่ายสาม ไปเข้าท�ำงานที่โรงแรม ตอน 5 โมงเย็น จนกระทั่งเลิกซึ่งบางครั้งต้องอยู่จนถึงสองยามหรือดึกกว่า นัน้ ต้องท�ำงานตลอดเจ็ดวันของสัปดาห์ ช่วงคริสต์มาส เขาต้องดูครอบครัว ต่างๆ ฉลองคริสต์มาสกันโดยเขาไม่มีโอกาสจะท�ำเช่นนั้น เพราะแม่ต้องไป ท�ำงาน พ่อก็ไม่รู้ไปอยู่ไหนเขากับน้องชายจึงไม่มีโอกาสอยู่พร้อมหน้าพ่อ แม่ลูก ค่าจ้างทั้งหมดเขาให้แม่ แล้ววันหนึ่ง หัวใจเขาก็สั่นไหว เมื่อพบกับพนักงานสาวสวยคนหนึ่ง เข้ามาท�ำงานใหม่ ชื่อ โจน วิตูซ์ซี เธอเป็นคนเชื้อสายอิตาเลียน แก่กว่า ซิดนียห์ นึง่ ปี เขาฝันจะได้ออกเดตกับเธอ แล้วฝันของเขาก็ทำ� ท่าจะเป็นจริง เมื่อเธอชวนเขาไปกินข้าวกลางวันกับครอบครัวของลุงกับป้าซึ่งพบกันทุก วันอาทิตย์ ลุงของโจนเป็นประธานสหภาพภารโรงของชิคาโก วันนั้นซิดนีย์ มีความสุขมาก แต่ความสุขของเขาแสนสั้น วันรุ่งขึ้นลุงของโจนถูกยิงตาย หลังจากนั้นเธอก็หายตัวไป ซิดนีย์ ยังคงท�ำงานหนักที่โรงแรมทุกคืน วันเสาร์ยังเป็นเด็กส่งของ ที่ร้านขายยา แล้ววันหนึ่งพ่อก็เข้ามาหาซิดนีย์ บอกว่าจะต้องไปท�ำฟาร์ม

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 235

สักสามปี ซิดนียฝ์ นั ถึงชีวติ ในฟาร์มแล้วอยากไปด้วย แต่พอ่ บอกไม่ได้ เพราะ แท้จริงแล้ว พ่อถูกตัดสินจ�ำคุก 3 ปี เนื่องจากร่วมกับเพื่อนขายเครื่อง จ�ำหน่ายสินค้าแบบหยอดเหรียญ เพื่อนเชิดเงินไปหมด แต่ไม่มีสินค้าส่งให้ ลูกค้า จึงถูกจับและถูกศาลตัดสินจ�ำคุก 3 ปี แต่พอ่ ติดคุกอยูป่ เี ดียวก็ได้กลับบ้านในฐานะฮีโร่ เพราะได้กระโดดลง ไปช่วยเด็กคนหนึ่งที่ตกลงไปในถังน�้ำในคุก โดยที่ตัวเองว่ายน�้ำไม่เป็น ทั้ง เด็กและพ่อรอดตาย เผอิญเด็กคนนั้นเป็นลูกผู้คุม ทางการพิจารณาความดี ความชอบของเขาในฐานะทีค่ วามผิดของเขาก็ไม่รา้ ยแรง จึงอภัยโทษให้ พ่อ กลายเป็นคนดัง ที่สื่อพากันสรรเสริญ และมีผู้เสนองานให้ท�ำ โชคดีประดังเข้ามา ซิดนีย์ ได้ทุนการศึกษาขององค์กรการกุศลแห่ง หนึ่งของชาวยิว ท�ำให้เขาสามารถเข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้ เขาเป็นคนแรกของตระกูลที่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย แต่ทนุ การศึกษาก็ไม่พอใช้จา่ ย เขาจึงต้องหางานท�ำเพิม่ งานแรกคือ งานผูช้ ว่ ยบริกรในร้านอาหารของมหาวิทยาลัย ซึง่ ก็ยงั ไม่พอ เขาจึงไปสมัคร เป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ “นอร์ทเวสเทิร์นรายวัน” (Daily Northwestern) โดยยังคงท�ำงานที่โรงแรมและร้านยาด้วย ขณะที่ลงทะเบียนเรียนเต็มพิกัด บวกภาษาละติน

236 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แม้จะเรียนหนักและท�ำงานหนักขนาดนัน้ รายได้กย็ งั ไม่พอใช้จา่ ยใน ครอบครัว ค่าเช่าห้องค้างเขาหลายเดือนแล้ว ขณะที่อาการโรคจิตของเขา ก็ไม่ดีขึ้น เขาเกือบจะได้ไปปรึกษานักจิตวิทยาแล้ว แต่ขณะก�ำลังจะไปขอ ค�ำปรึกษาจู่ๆ อาการซึมเศร้าก็กลับหายไป เขาจึงไม่ได้ไปปรึกษา ท�ำให้เขา ต้องอยู่กับอาการของโรคนี้ต่อมาอีกนาน เพื่อเพิ่มรายได้ แม่ตัดสินใจจะท�ำงานอีกหนึ่งจ๊อบตอนกลางคืน ซิดนีย์รู้เข้าก็ไม่ยอม เพราะแม่ท�ำงานทั้งวันแล้ว เมื่อกลับบ้านก็ยังไปท�ำ อาหารให้ทกุ คนและเก็บกวาดห้องอีกด้วย เขายอมให้แม่ทำ� งานเพิม่ อีกไม่ได้ เช้าวันรุ่งขึ้นเขาลาออกจากมหาวิทยาลัย และเข้าไปสมัครงานในร้านขายรองเท้าสตรี โดยโกหกผูจ้ ดั การว่าเคย ท�ำมาแล้ว ผู้จัดการจับได้ แต่ก็ตัดสินใจจ้างเขา แต่พอประเดิมงานได้ 15 นาที ก็ถูกไล่ออก หลังจากได้ลูกค้ารายแรก ขอซื้อรองเท้าเบอร์ 7B เขา เข้าไปหาในสต็อคไม่เจอเบอร์นั้น จึงเอาเบอร์ใกล้เคียงมาให้แล้วยืนยันว่า เป็นเบอร์ 7B ลูกค้าลองใส่ก็รู้ว่าไม่ใช่ จึงขอพบผู้จัดการ และเขาก็ต้องออก จากงานนั้นทันที เคราะห์ยังดีที่เพียงโดนย้ายไปแผนกอื่น ค�ำ่ วันหนึง่ ขณะนัง่ รถกลับบ้าน เขาเห็นโฆษณาว่า พอล แอช หัวหน้า

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 237

วงดนตรีชอื่ ดัง ก�ำลังจัดแข่งขันรับโฆษกสมัครเล่นทีช่ คิ าโก เขาไปสมัครโดย เปลี่ยนชื่อจาก ซิดนีย์ เชคเตล เป็น ซิดนีย์ เชลดอน เพราะเห็นว่าชื่อสกุล เชคเตลไม่เหมาะกับงานแสดง พอถึงเวลาแข่งขันจริงเขากลับเผลอประกาศ ชื่อตัวเองว่า เชคเตล แม้เขาจะท�ำหน้าที่โฆษกได้ดี แต่สุดท้ายก็ถูกสั่งว่า “ไสหัวไปให้พ้นภายใน 15 วินาที” เขาไม่ได้งานกับวงดนตรีของพอล แอช แต่เขาได้ชื่อใหม่ และครอบครัวของเขาแทบทุกคน เปลี่ยนไปใช้นามสกุล เชลดอนกันหมด เว้นแต่ลุงแฮร์รี่ ซึ่งยังคงใช้นามสกุล เชคเตล ตามเดิม เกือบได้เป็นคีตกวี ตอนเด็กๆ แม่ไม่รเู้ อาเงินจากไหนมาซือ้ เปียโนมือสองเครือ่ งเล็กๆ ให้ ซิดนีย์ และคะยัน้ คะยอให้เขาหัดเล่น พ่อไม่เข้าใจถามว่า “ท�ำไม” แม่บอกว่า “แล้วเธอจะเห็น ซิดนีย์มีมือของนักดนตรีนะ” ซิดนีย์หัดเล่นได้ไม่กี่เดือนก็ ต้องเลิก เพราะต้องย้ายไปดีทรอยต์ แต่ตอ่ มาก็ได้กลับมาหัดเล่นอีกเมือ่ ย้ายกลับ มาชิคาโก บ่ายวันอาทิตย์หนึง่ ทุกคนออกไปจากบ้านหมด ซิดนียน์ งั่ เล่นเปียโน แล้วลองแต่งเพลงแรกในชีวิต ตั้งชื่อว่า “โลกเงียบในชีวิตฉัน” (My Silent Self) ตอนนั้นเขาอายุได้ 19 ปี เขาเอาเพลงนี้ไปให้ฟิล เลแวนท์ นักดนตรี หนุม่ ทีเ่ ล่นดนตรีอยู่ในโรงแรมบิสมาร์คทีเ่ ขาท�ำงานอยูด่ ู ฟิลเล่นดนตรีในวง

238 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ออเคสตร้าของโรงแรมซึง่ มีการถ่ายทอดทางวิทยุไปทัว่ ประเทศ ฟิลรับโน้ต เพลงจากเขาไปดูผ่านๆ แล้วก็เดินจากไป ซิดนีย์ใจแป้ว แต่อีกชั่วโมงต่อ มา ฟิลกลับมาหาซิดนีย์ที่ห้องท�ำงาน บอกว่าชอบเพลงนั้น เพราะมีความ “ใหม่” (Original) ฟิลคิดว่าเพลงนี้จะดัง จึงถามว่า จะขัดข้องไหมถ้าให้วง ออเคสตร้าของเขาเล่น แน่นอน ซิดนีย์ดีใจมาก หลังกลับถึงบ้านคืนนัน้ ขณะก�ำลังอาบน�ำ้ พ่อบอกมีโทรศัพท์จาก ฟิล เลแวนต์ ซิดนีย์ รีบนุง่ ผ้าเช็ดตัวออกมารับโทรศัพท์ ฟิลแจ้งว่า มีผผู้ ลิตแผ่น เสียงจากบริษัทฮาร์มมิวสิคในนิวยอร์ค ฟังเพลงนี้แล้วอยากน�ำไปผลิต จ�ำหน่าย ให้ไปพบเขาที่โรงแรมเลยได้มั้ย ซิดนียร์ บี แต่งตัว ขอยืมรถพ่อกลับไปโรงแรม ขับไปได้พกั เดียวก็โดน ต�ำรวจเรียกให้หยุด เพราะขับรถเร็วเกินก�ำหนด เขาขอให้ต�ำรวจออกใบสั่ง ปรับเขาเลย แต่ต�ำรวจบอกว่าตามระเบียบใหม่ต้องไปที่โรงพัก พร้อมขอดู ใบขับขี่แล้วยึดไป ซิดนีย์จ�ำใจต้องขับตามรถมอเตอร์ ไซค์ต�ำรวจไปโรงพัก แต่ขับไปสักพักไม่เห็นต�ำรวจ เขาเลยตรงไปโรงแรมบิสมาร์ค ไปถึงก็เจอ ต�ำรวจดักรออยู่ที่นั่น ถามว่าเขาจะหนีเหรอ และจะให้เขาไปโรงพักให้ได้ ซิดนีย์ ขอโทรศัพท์ถงึ พ่อ บอกเล่าเหตุการณ์ให้ฟงั พ่อขอพูดกับต�ำรวจ พัก เดียวต�ำรวจคืนใบขับขี่ให้เขา เพราะพ่ออ้างว่าจะฝากงานให้ลูกต�ำรวจ ใน ทีส่ ดุ เขาจึงได้พบกับเบรนท์ซงึ่ เป็นตัวแทนจากบริษทั ทีบฮี าร์มส์ซงึ่ เป็นบริษทั

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 239

ผลิตแผ่นเสียงใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก เบรนท์บอกว่าจะน�ำเพลงเขาไปผลิตจ�ำหน่าย แต่เห็นว่าฟิล เลแวนต์ ยังไม่ “ดัง” พอ เขาอยากให้โฮราซ ไฮดท์ ซึ่งดังกว่า เล่น จึงให้ซิดนีย์ไปหาไฮดท์ที่โรงแรมเดรคในคืนนั้น ไฮดท์ดูแล้วชอบ ยื่น เงือ่ นไขขอแบ่งผลประโยชน์ครึง่ ต่อครึง่ ซิดนียต์ กลง ต่อมาไฮดท์ยนื่ เงือ่ นไข กับบริษัทอีกขอเงินล่วงหน้า 5,000 ดอลลาร์ บริษัทไม่ตกลง ไฮดท์บอกว่า ไม่เป็นไร เขาจะผลิตจ�ำหน่ายเอง สองสามสัปดาห์หลังจากนั้น ไฮดท์เล่น เพลง My Silent Self ออกอากาศบ่อยครั้งในรายการดังๆ ของเขา แต่จน แล้วจนรอดก็ไม่ยอมผลิตออกจ�ำหน่าย แม่ฟังเพลงเขาแล้ว ชมว่า ดีกว่าเพลงของเออร์วิง เบอร์ลิน ยอด นักแต่งเพลงยุคนัน้ เสียอีก เขาใช้เวลาว่างแต่งเพลงอีก 12 เพลง จะส่งไปรษณีย์ ไปให้บริษัทแผ่นเสียงในนิวยอร์ค แต่แม่บอกว่า เขาต้องไปที่ นิวยอร์คด้วย ตนเองเขาจะไปได้อย่างไรล่ะ เพราะต้องท�ำงานหลายจ๊อบเพื่อช่วยทางบ้าน แม่คะยั้นคะยอว่าต้องไป ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจไปนิวยอร์ค แม่ซื้อตั๋วรถบัส เกรย์เฮานด์ให้ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางถึง 4 วันครึ่ง ด้วยความหวังอันเรือง รองว่าจะร�่ำรวย เขาจองที่พักที่หอพักวายเอ็มซีเอ ค่าเช่าอาทิตย์ละ 4 ดอลลาร์ เขา มีเงินติดกระเป๋าแค่ 30 ดอลลาร์ ทันทีที่ไปถึงที่พัก เขาขอพบผู้จัดการ ขอ งานท�ำโชคดีอยู่ในนิวยอร์คไม่ทันข้ามวันเขาก็ได้งานท�ำ เป็นพนักงานพา

240 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ผู้ชมเข้าไปหาที่นั่งในโรงหนัง เพื่อประหยัดเงินเขาต้องเดินทางจากหอพัก ไปท�ำงานระยะทางถึง 39 ช่วงตึก ได้ค่าจ้างอาทิตย์ 14.40 ดอลลาร์ ท�ำงาน ตั้งแต่บ่าย 4 โมง 40 นาที ถึงเที่ยงคืน ช่วงเช้าเขาจึงมีเวลาว่าง ไปติดต่อ บริษัทแผ่นเสียง วันแล้ววันเล่า เขาได้รบั การต้อนรับอย่างอบอุน่ พร้อมค�ำตอบว่าเพลง ทีเ่ ขาแต่งดี แต่ยงั ไม่ใช่ที่บริษทั ต้องการ บางบริษทั บอกว่าเคยมีเพลงที่ผลิต จ�ำหน่ายแล้วไหม เพราะ “เรารับแต่เพลงของคนทีเ่ คยมีผลงานมาแล้ว” เพลง My Silent Self ของเขาดี แต่ก็ไม่มีใครสนใจจะผลิตจ�ำหน่าย เพราะโฮราซ ไฮดท์ เล่นจน “จืด” แล้ว กระเป๋าเขาแฟบลงเรื่อยๆ แม่ส่งเงินมาให้เขาอีก 20 ดอลลาร์ เขา รีบส่งคืนเพราะรู้ว่าแม่ต้องการใช้มากกว่าเขา “คลื่นซึมเศร้า” โถมทับเขา เป็นระยะๆ สลับกันสองขั้วระหว่างฟุ้งฝันกับความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายโดย ไม่มีเหตุผล วันหนึ่ง พนักงานเชียร์ลูกค้าหน้าโรงหนัง (Barker) ป่วย ซิดนีย์ถูก เรียกไปท�ำหน้าที่แทน ซึ่งเขาท�ำหน้าที่ได้อย่างดี งานเก่าเขาก็ดี เขาได้ค่า จ้างเพิม่ สัปดาห์ละ 1 ดอลลาร์ บวกกับงานในหน้าที่ใหม่ทำ� ให้รายได้เพิม่ ขึน้ เขาเจียดเงินส่งให้แม่ และใช้จา่ ยอย่างกระเบียดกระเสียร ตอนใกล้สนิ้ สัปดาห์

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 241

เขามักเหลือเงินในกระเป๋าแค่ 10 เซ็นต์ เขาต้องเลือกเอา 2 อย่างจาก 3 คือ ฮอตด็อก 5 เซ็นต์ กับโค้ก 5 เซ็นต์ แต่ต้องเดิน “ย�่ำต๊อก” กลับที่พัก 35 ช่วงตึก หรือนัง่ รถใต้ดนิ ค่าโดยสาร 5 เซ็นต์ แต่ตอ้ งงดโค้ก บางครัง้ เขาเลือก โค้ก บางครั้งเขาเลือกนั่งรถใต้ดิน ในทีส่ ดุ เขาก็เกือบไปถึงฝัง่ ฝัน เมือ่ พบกับแม็กซ์ ริช นักแต่งเพลงของ บริษัทแผ่นเสียงแห่งหนึ่ง ชวนเขาไปท�ำงานแต่งเพลงด้วยกัน โดยนัดให้ เขาไปท�ำงานวันรุ่งขึ้น คืนนั้นอาการโรคจิตของเขาก�ำเริบ แทนที่จะนอนหลับฝันดีเขากลับ สับสนมาก และสูญเสียความมัน่ ใจ ย�ำ้ คิดว่าท�ำไมแมกซ์ ริช มาชวนเขาร่วม แต่งเพลง ในเมื่อแม็กซ์จะไปแต่งเพลงกับใครก็ได้ เพราะแม็กซ์สงสาร หรือ แม็กซ์ประเมินค่าเขาสูงเกินความจริง เขาโดนปฏิเสธจากบริษัทแผ่นเสียง ชัน้ น�ำมาแล้วทุกแห่ง พวกนัน้ เป็นพวกมืออาชีพทัง้ นัน้ พวกเขารูว้ า่ ใครเป็น อัจฉริยะ ซึ่งตัวเขาไม่ใช่ เมฆหมอกทะมึนแห่งความเศร้าซึมถาโถมเข้า ครอบง�ำเขา 10 โมงเช้าวันรุง่ ขึน้ แทนทีจ่ ะเดินทางไปท�ำงานกับแม็กซ์ ริช เขานัง่ รถเกรย์เฮานด์กลับบ้านที่ชิคาโก ด้วยอารมณ์ซึมเศร้า เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2480 ขณะอายุได้ 20 ปี

242 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ไปฮอลลีวูด ไม่นานหลังกลับจากนิวยอร์ค ครูผปู้ กครองของเขามาเป็นแขกทีบ่ า้ น พวกเขาก�ำลังจะเดินทางไปแคลิฟอร์เนีย ซิดนีย์อาสาช่วยขับรถไปให้ ทุกคนในบ้านไม่เห็นด้วยเพราะเขาเพิง่ “ล้มเหลว” จากนิวยอร์ค จะไปอีกแล้ว เรอะ แต่แล้วแม่ก็เป็นคนบอกพ่อว่า “อ็อตโต มันเป็นความต้องการของ ซิดนีย์ เราควรให้โอกาสเขา เอาอย่างนีแ้ ล้วกัน ถ้าลูกหางานท�ำไม่ได้ในสาม อาทิตย์ ลูกต้องกลับบ้าน” ซิดนีย์ตกลง การเดินทางถึงซาคราเมนโต ใช้เวลา 5 วัน ซิดนีย์มีเงินติดกระเป๋า 50 ดอลลาร์ เขาซื้อหนังสือพิมพ์ลอสแอนเจลิสไทม์ ดูโฆษณาหาห้องพัก ได้ห้องพักราคา 4 ดอลลาร์ครึ่งต่อสัปดาห์ในบ้านเช่าขนาด 20 ห้องนอน ที่ นัน่ เขาพบนักแสวงโชคกลุม่ หนึง่ บ้างเป็นนักเขียน นักแสดง ผูก้ ำ� กับ นักร้อง ทุกคนล้วนตกงาน และฝันถึงโลกมหัศจรรย์ที่ยากจะไขว่คว้าไปถึง เขาตระเวนไปยังสตูดิโอหลายแห่ง แต่ทุกแห่งยามจะถามว่า มาพบ ใคร มีนัดไว้ก่อนไหม ถ้าไม่มีนัดก็แปลว่าจะเข้าไปในอาคารไม่ได้ ลอสแอน เจลิสไม่เหมือนนิวยอร์คที่เต็มไปด้วยอาคารสูง ไม่มีค่าโดยสารก็พอเดินไป ได้ แต่ที่ลอสแอนเจลิสมีแต่ต้องใช้รถโดยสาร ซึ่งต้องเสียเงินทั้งสิ้น สอง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 243

สัปดาห์ผ่านไป ไม่มีวี่แววว่าเขาจะได้งาน เงินก็หมด จู่ๆ เจ้าของห้องเช่าก็ ประกาศว่า จะไม่มีอาหารมื้อเช้าบริการแล้ว เพราะแต่ละคนค้างค่าเช่าจน เจ้าของบ้านไม่สามารถจัดหาอาหารมาบริการได้ มีจดหมายจากทางบ้าน สอดตั๋วรถเกรย์เฮานด์ ขากลับมาให้แล้ว วันหนึ่งเขาหิวจัดจนไม่มีสมาธิจะ เขียนหนังสือ จึงเข้าไปในครัวจะหาอะไรกิน เจอเจ้าของบ้านไล่ให้กลับห้อง เขาหิวจนตาลาย สิ้นหวัง แต่โดยไม่นึกไม่ฝันสิบห้านาทีต่อมา เจ้าของบ้าน ยกถาดอาหารมาให้ มีน�้ำส้ม กาแฟ ไข่ เบคอน และขนมปัง “กินเสียตอน ทีม่ นั ยังร้อนๆ” เธอบอก อาหารมือ้ นัน้ อร่อยทีส่ ดุ และอยู่ในความทรงจ�ำของ เขาไม่รู้ลืม เย็นนั้น เพื่อนในบ้านพักบอกว่า น้องสาวของเขาเพิ่งได้งานเป็น “นักย่อเรื่อง” (reader) ที่บริษัท เอ็มจีเอ็ม เขาอธิบายว่า ทุกสตูดิโอจะมี “นักย่อเรื่อง” ท�ำหน้าที่อ่านเรื่องยาว แล้วย่อให้ทางผู้อ�ำนวยการสร้างดู ถ้า ชอบเรื่องย่อจึงจะไปอ่านฉบับเต็ม ประโยคส�ำคัญส�ำหรับซิดนีย์คือ บางครั้ง บริษัทสร้างภาพยนตร์เหล่านี้ต้องการ “นักย่อเรื่อง” จากข้างนอกบริษัท ซิดนีย์ ฟังแล้ว ก็จัดการท�ำเรื่องย่อของนวนิยายเรื่องเอกของจอห์น สไตน์เบค คือ Of Mice and Men (แปลเป็นไทยแล้วในชื่อ “เพื่อนยาก”) ถ่าย ส�ำเนาส่งไปให้หลายสตูดิโอ เรื่องเงียบหาย วันก�ำหนดกลับชิคาโกใกล้เข้า

244 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

มาแล้ว เขาสิ้นหวัง และเตรียมบอกลาเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้านถามว่า มี อะไรจะให้ช่วยได้บ้าง เขาโอบกอดเธอ บอกว่าเธอเป็นคนที่มหัศจรรย์มาก เธอบอกว่า “ต้องไม่หยุดฝัน” แต่แล้วรุ่งขึ้น ก็มีโทรศัพท์จากเลขานุการของ เดวิด เซลสนิค ผู้อ�ำนวยการสร้างภาพยนตร์ผู้ยิ่งใหญ่ แจ้งซิดนีย์ว่ามีนวนิยายที่ต้องการให้ ท�ำเรือ่ งย่อ แต่ไม่มีใครว่าง จึงเสนอให้เขารับงานนี้ คือต้องท�ำเรือ่ งย่อขนาด 30 หน้ากระดาษพิมพ์ พร้อมบทคัดย่อ 2 หน้า และบทวิจารณ์อีก 1 ย่อหน้า ให้เสร็จภายใน 6 โมงเย็นวันนั้น นวนิยายเรื่องนั้นหนา 4 ร้อยหน้า เวลานั้น 9 โมงครึ่งแล้ว ไม่มีทางท�ำได้ แต่เขาก็รับปาก จากห้องพัก ต้องใช้เวลาเดินทางชั่วโมงครึ่งไปรับต้นฉบับนวนิยาย 400 หน้า มาอ่านแล้วย่อและพิมพ์ให้เหลือ 30 หน้า บวกบทคัดย่ออีก 2 หน้า และบทวิจารณ์อีก 1 ย่อหน้า โดยที่เขาพิมพ์ดีดได้แบบ “จิ้มดีด” พิมพ์ สัมผัสไม่เป็น จะท�ำอย่างไร เขานึกถึง ซิย์ดนีย์ ซิงเกอร์ ภรรยาเก่าของเซย์มัวร์ ลูกผู้พี่ของเขา ซึ่งมาท�ำงานเป็นเลขานุการของผู้บริหารคนหนึ่งในบริษัทเอ็มจีเอ็ม เขาลืม ไปว่า ซิยด์ นีย์ อยูก่ บั เซย์มวั ร์แค่หกเดือนและหย่าขาดจากกันด้วยความเจ็บ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 245

แค้น เขาโชคดีที่จู่ๆ ก็ไปขอพบและเธอยอมให้พบ แต่เขาได้รับการต้อนรับ อย่างเย็นชา และท�ำท่าจะกลับไปมือเปล่า แต่เพราะเธอเห็นว่าเรื่องที่เขาไป ขอให้ช่วยนั้นเป็นเรื่องที่ “มีความหมายต่อชีวิตของเขามาก” และเห็นความ มุ่งมั่นของเขา เธอถึงขั้นยอมอดอาหารกลางวัน ลงมือช่วยเขา วิธกี ารคือ เขาอ่านอย่างเร็วๆ พอถึงตอนส�ำคัญเขาจะบอกค�ำบอกให้ เธอช่วยพิมพ์ ถึงบ่าย 4 โมง เพิ่งท�ำไปได้ครึ่งเล่ม เขาต้องเร่งท�ำจนเสร็จ ครบ 30 หน้า พร้อมบทคัดย่อ 2 หน้า และบทวิจารณ์อกี 1 ย่อหน้า ขอบคุณ และร�่ำลาเธอ แล้วรีบบึ่งกลับไปทันส่งงานหกโมงเย็นพอดี พร้อมกับความ หวังว่าจะได้ท�ำงานกับเดวิด เซลสนิค เขาทราบประวัติว่าเซลสนิคเริ่มงาน ในโลกบันเทิงด้วยการเป็น “นักย่อเรือ่ ง” นีแ่ หละ ถ้าได้พบกัน คงมีเรือ่ งคุยกัน แต่เรื่องก็กลับตาลปัตร เลขานุการของเซลสนิครับงานพร้อมค�ำชม และเผยความจริงว่า เขาได้งานนี้เพราะความเข้าใจผิด แท้จริงแล้วเขาไม่มี รายชื่ออยู่ในบัญชี “นักย่อเรื่อง” ของบริษัทเลย เขาได้ค่าจ้างครั้งนั้น 10 ดอลลาร์ และจบลงแค่นั้น เขาควรจะรู้สึก เศร้ามาก แต่เขากลับรู้สึกมีความสุข เขาไม่รู้ว่าท�ำไมเป็นเช่นนั้น

246 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ซิดนีย์โทรศัพท์บอก “ข่าวดี” แก่แม่วา่ เพิง่ ท�ำเรือ่ งย่อให้เดวิด เซลสนิค เขาให้ความหวังแก่แม่ว่า นี่คือจุดเริ่มต้น ประตูเปิดให้เขาแล้ว แม่ดีใจและ ไม่เร่งให้เขากลับบ้าน เขาเอาตั๋วรถเกรย์เฮานด์ไปคืน ขึ้นเงินมาใช้ จากงานชิ้นแรก ซิดนีย์ขยายผล โดยส่งเรื่องย่อเรื่องอื่นไปยังสตูดิโอ อีกหลายแห่ง โดยเขียนจดหมายน�ำด้วยการเริ่มต้นว่า “ตามการร้องขอของ เดวิด โอ. เซลสนิค ผมเพิง่ ท�ำเรือ่ งย่อนวนิยายให้แก่เขาเรือ่ งหนึง่ เสร็จ ตอน นี้ผมว่างพร้อมท�ำเรื่องย่อเรื่องอื่น....” ซิดนีย์ เสาะหางาน และได้เข้าท�ำงานอีกหลายแห่ง ได้แก่งานดูผล การอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ของสถาบันศิลปะและวิชาการภาพยนตร์ งาน โอปะเรเตอร์ที่โรงแรมแห่งหนึง่ งานที่โรงเรียนสอนขับรถ ส�ำหรับงานย่อเรือ่ ง ที่เขาส่งไป หลายสตูดิโอตอบกลับมา เสนองานให้เขา จนในที่สุดถึงขั้นได้ งาน “นักย่อเรื่อง” ประจ�ำที่ ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอ เขาได้งานประจ�ำในโลกบันเทิงแล้ว แต่ชั่วเดือนเดียวงานนี้ก็หลุดมือ ไปเพราะยูนิเวอร์แซลเปลี่ยนเจ้าของ เขายังคงหางานท�ำไปเรื่อยๆ จนได้งานย่อเรื่องกับบริษัททเวนตี้

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 247

เซนจูร-ี ฟ็อกซ์ ผลงานของเขาคง “เข้าขัน้ ” วันหนึง่ ก็ได้งานย่อเรือ่ งแบบเป็น พนักงานประจ�ำ ได้ค่าจ้างสัปดาห์ละ 23 ดอลลาร์ งานย่อเรื่องเป็นงานเร่งรีบ เพราะแต่ละสตูดิโอจะพยายามเสาะหา เรื่องดีๆ มาสร้างเป็นภาพยนตร์ ผู้สร้างต้องอาศัยคนย่อเรื่องมาย่อเรื่องไว้ ให้พจิ ารณา เรือ่ งไหนดีจะได้ชงิ ซือ้ มาก่อนเจ้าอืน่ ทีบ่ ริษทั ทเวนตี้ เซนจูร-ี ฟ็อกซ์ เขาโชคดี เพราะได้รับมอบหมายให้ท�ำงานให้ยักษ์ใหญ่ในวงการภาพยนตร์ เวลานั้น คือ ดาร์ริล เอฟ. ซานุค ซึ่งเป็นผู้บริหารแบบถึงลูกถึงคน รู้งานดี ทุกขั้นตอน ทีมงานย่อเรื่องที่นั่นมี 12 คน อายุตั้งแต่ 35 ถึง 60 ส่วนใหญ่เป็น ญาติผบู้ ริหารฝากฝังเข้ามา มาท�ำงานเบาๆ ด้วยค่าจ้างของบริษทั แต่สำ� หรับ ซิดนีย์ เขาต้องท�ำงานหนักจนเลยเที่ยงคืนเป็นประจ�ำ เขาพอใจกับงานนี้ แต่เขายังฝันจะเป็นนักเขียนเรื่องมาสร้างหนัง มากกว่า เขาบอกเรือ่ งนีก้ บั หัวหน้าเขา เพราะทราบว่าทางบริษทั มีโครงการ ส่งเสริมนักเขียนรุ่นใหม่ นายเขาเข้าใจแต่ไม่ตามใจ บอกว่า “อย่าลืมว่าคุณ ได้ท�ำงานกับซานุคนะ นั่นน่ะส�ำคัญกว่า”

248 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ท�ำงานในหน้าที่นักย่อเรื่องประจ�ำได้ไม่นาน ก็มีคนมาชวนก่อตั้ง สมาคมอาชีพนักย่อเรื่อง เพื่อต่อรองค่าจ้างกับนายจ้าง เขาไม่ปฏิเสธและ ไปชวนเพื่อนร่วมงานมาร่วม โดยไม่คิดว่าจะมีใครมาเข้าร่วม เพราะส่วน ใหญ่เป็น “เด็กฝาก” แต่ปรากฏว่าทุกคนเข้าร่วมหมด ในการเจรจานัดแรก เขาถูกเลือกเป็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้าง 6 คน ไปเจรจากับนายจ้าง 4 คน ซิดนีย์ เปรียบเทียบว่า เหมือนลูกแกะ 6 ตัว ไปเจรจากับสิงโต 4 ตัว ฝ่ายนายจ้างคนหนึ่งจากบริษัทเมโทร-โกลวิน-เมเยอร์ เล่นบทโหด เริ่มการเจรจาด้วยการส่งเสียงค�ำรามถามว่า “มีปัญหาอะไรเรอะ” พอฝ่าย ลูกจ้างบอกว่าได้ค่าจ้างแค่อาทิตย์ละ 16 ดอลลาร์ ไม่พอยาไส้ เขาลุกขึ้น แล้วตะคอกว่า “อั๊วไม่อยากฟังเรื่องขี้ๆ พวกนี้” แล้วผลุนผลันออกไปจาก ห้องเจรจา ฝ่ายลูกจ้างทั้ง 6 คน ตะลึงงัน การเจรจาท�ำท่าจะจบลง ฝ่ายนายจ้างนายหนึ่งสั่นศีรษะ พูดว่า จะลองเรียกเขากลับมา เขา ยอมกลับมาพร้อมคุกคามต่อไป หลังการเจรจาราวสองชั่วโมง ทางสมาคม ยอมรับค่าจ้างขั้นต�่ำสัปดาห์ละ 21.50 ดอลลาร์ ส�ำหรับพนักงานประจ�ำ ถ้า เป็นคนนอกจะได้เพิ่มร้อยละ 20 ผลการเจรจาครั้งนั้นท�ำให้สมาคมเป็นที่ ยอมรับของทุกสตูดิโอ ซิดนีย์ ได้รับเลือกเป็นรองประธานสมาคม

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 249

เขาโทรศัพท์ไปบอกเรือ่ งนี้ให้พอ่ กับแม่ฟงั พ่อแม่ตระหนกตกใจมาก แต่หลังจากนั้นพ่อก็ออกไปโม้ให้เพื่อนๆ ฟังว่า ซิดนีย์ได้ช่วยทุกสตูดิโอให้ รอดพ้นจากการสไตร๊ค์ครั้งใหญ่ ที่บ้านเช่า เขาได้เพื่อนใหม่ชื่อเบน โรเบิร์ต เป็นนักเขียนวัยเดียวกัน ทั้งคู่ถูกคอกันและตกลงท�ำงานเขียนด้วยกัน และลงมือเขียนส่งไปสตูดิโอ ต่างๆ เรื่องที่หนึ่งเงียบหาย เรื่องที่สองก็อีหรอบเดียวกัน เรื่องที่สามก็ไม่มี ใครสนใจ พวกเขาเริ่มท้อ จนกระทั่งได้เขียนเรื่อง “วันหยุดอันตราย” (Dangerous Holiday) ปรากฏว่าบริษทั สร้างหนังขนาดเล็กสนใจ ตกลงจะซือ้ เรือ่ ง ในราคา 500 ดอลลาร์ รวมค่าเขียนบทหนังด้วย ซิดนีย์ดีใจมาก เพราะจะ ได้มี “ผลงานเรื่องแรก” ซึ่งจะเป็นประตูทองส�ำหรับเรื่องต่อๆ ไป สองสามเดือนก่อนหน้านั้น เขารู้จักกับ เรย์ ครอสเซ็ต ซึ่งท�ำงานกับ บริษัทเอเยนซีแห่งหนึ่ง เรย์ “เชื่อมือ” ซิดนีย์ และหวังว่าสักวันหนึ่ง เรย์ จะเป็นตัวแทนให้เขา เขาจึงโทรศัพท์ ไปบอกข่าวดีเรื่องที่จะขายเรื่องได้ให้ เรย์ทราบ เรย์ไม่รู้จักบริษัทที่จะซื้อเรื่องจากซิดนีย์ เพราะเป็นบริษัทเล็กๆ สองชั่วโมงต่อมา เรย์โทรศัพท์มาหาซิดนีย์บอกว่าบริษัทพาราเม้าท์ จะเป็นผูซ้ อื้ เรือ่ งจากเขาในราคาหนึง่ พันเหรียญ ไม่รวมค่าเขียนบทอีกต่างหาก

250 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ซิดนีย์ตกใจ กลัวจะผิดค�ำพูดกับบริษัทแรก จึงพยายามติดต่อบอก ข่าวให้ทราบแต่ผจู้ ดั การบริษทั นัน้ ไม่วา่ ง เพราะก�ำลังอยู่ในห้องตัดต่อสัง่ ไม่ ให้ใครรบกวน เขาพยายามโทรไปหลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการติดต่อกลับ ใน ที่สุดเขาตกลงขายเรื่องส�ำหรับท�ำหนังเรื่องแรกให้กับบริษัทพาราเม้าท์ ซึ่ง เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการภาพยนตร์ฮอลลีวูด ทางบริษัทแรก รู้เรื่องท�ำท่าจะต่อว่า เขารีบบอกไม่ต้องเสียใจ เขามี อีกเรื่องที่ดีกว่า ชื่อเรื่อง “ทางใต้ของปานามา” (South of Panama) ซึ่งเป็น เรือ่ งประเภทดราม่า เป็นเรือ่ งรัก ตืน่ เต้น เร้าใจ ทางบริษทั ตอบตกลงให้เอา เรื่องไปดู 8 โมงเช้า พรุ่งนี้ แท้จริงเรื่องนั้นยังไม่ได้เขียน เขารีบโทรศัพท์ ไปบอกเบนว่าจะต้อง งดอาหารเย็น แล้วลงมือเขียนกันคืนนั้น กะจะเขียนให้จบตอน 7 โมงเช้า เพื่อให้ทันนัด ปรากฏว่าใช้เวลาทั้งวางพล็อต ก�ำหนดฉาก ตัวละคร แล้ว ลงมือเขียน แก้ไขจนพอใจ สามารถพิมพ์เสร็จเมื่อตี 5 ทั้งสองตั้งนาฬิกา ปลุกตอน 7 โมง แล้วเข้านอน ซิดนีย์ หอบต้นฉบับ 2 ชุดไปส่งให้ทางสตูดโิ อ ซึง่ ผูบ้ ริหารระดับสูงสุด นั่งรออยู่แล้ว ทั้งคู่รับไปอ่านรวดเดียวจบในเวลาใกล้เคียงกัน ปฏิกิริยาจาก

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 251

ผูบ้ ริหารทัง้ สองคือ “ยอดเยีย่ ม” “มหัศจรรย์” “ดีกว่า วันหยุดอันตราย จริงๆ ด้วย” ทั้งคู่เสนอซื้อทันทีในราคาเดิม คือ 500 ดอลลาร์ รวมค่าเขียนบท ภาพยนตร์ด้วย ซิดนีย์กับเบนได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น ด้วยการขายเรื่องไปสร้าง ภาพยนตร์ ได้ 2 เรื่อง ภายในเวลา 24 ชั่วโมง เท่านั้น ทั้งสองเรื่องได้สร้างเป็นภาพยนตร์ โดย เรื่อง “วันหยุดอันตราย” ทางบริษัทพาราเม้าท์ เปลี่ยนชือ่ ใหม่เป็น “บินเทีย่ วกลางคืน” (Fly-ByNight) น�ำแสดงโดยริชาร์ด คาร์ลสัน กับแนนซี่ เคลลี่ อนาคตอันเรืองรองรอเขาอยู่ข้างหน้า แล้ว ตอนนั้นซิดนีย์เพิ่งอายุได้ 21 ปี เท่านั้น ฟ้าหลังฝน ไม่นานหลังจากนั้นซิดนีย์ตัดสินใจลา ออกจากงานย่อเรือ่ งทีบ่ ริษทั ฟ็อกซ์แล้วร่วมกับเบนเขียนเรือ่ งขายไปท�ำหนัง

252 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ได้อีก 3-4 เรื่อง ในราคาเรื่องละ 500 เหรียญ พร้อมให้เขียนบทหนังด้วย ลีโอนาร์ด ฟิลด์ แห่งค่าย รีพับลิคสตูดิโอ ซื้อเรื่อง “อัยการศาลแขวงใน คดีคาร์เตอร์” (The District Attorney in the Carter Case) ในราคา 600 เหรียญ ซึ่งหนังท�ำเงินได้ดีพอใช้ ลีโอนาร์ด จึงจ้างทั้งคู่เป็นนักเขียนประจ�ำ ในอัตราค่าจ้างสัปดาห์ละ 500 เหรียญ สัญญาหนึง่ ปี พอครบสัญญาลีโอนาร์ด จะต่อสัญญาโดยชมว่าผลงานของพวกเขายอดเยี่ยม เขาขอขึ้นค่าตัวเป็น สัปดาห์ละ 600 เหรียญ ผลคือลีโอนาร์ดไม่ติดต่อกลับมาอีก แต่เขาและเบน ยังคงเขียนเรื่องต่อไป เขากลับไปเยี่ยมบ้านที่ชิคาโก ช่วงวันขอบคุณพระเจ้า เช่นเคยพ่อ ต้องการอวดเพือ่ นบ้านให้ได้มาพบลูกชายซึง่ เป็นผู้ “ควบคุมฮอลลีวดู ” จึงขอ เชิญมากินข้าวที่บ้านด้วย ซิดนีย์พบว่า พ่อกับแม่ยังเกลียดกันและทะเลาะ กันรุนแรงขึ้นจนไม่มีใครยับยั้งได้ คนที่ต้องรับหนักคือริชาร์ดน้องชายของ เขา เขาจึงตัดสินใจชวนริชาร์ดซึ่งเรียนจบชั้นมัธยมต้นแล้ว ให้ไปเรียนต่อ มัธยมปลายที่ฮอลลีวูด ซึ่งริชาร์ดดีใจมาก ท�ำให้พ่อกับแม่หมดภาระและตัว เชื่อมชีวิตคู่ ไม่ช้าทั้งคู่ก็หย่าขาดจากกัน และไม่นานต่างก็แต่งงานใหม่ ปี พ.ศ. 2482 สงครามโลกครั้งที่สองระเบิดขึ้นในยุโรป อีกสองปีต่อ มาสหรัฐก็เข้าสูส่ งครามหลังเพิรล์ ฮาร์เบอร์ถกู โจมตีเมือ่ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ซิดนียร์ วู้ า่ ในไม่ชา้ เขาจะต้องถูกเกณฑ์ทหาร จึงสมัครเข้าเป็นทหารใน

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 253

กองทัพอากาศ เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งตามระเบียบจะต้องมี จดหมายแนะน�ำตัวจากบุคคลส�ำคัญ 3 ฉบับ เขาต้องเขียนจดหมายไปขอ หนังสือดังกล่าวจากสมาชิกสภาคองเกรสแจ้งความจ�ำนงขอสมัครเข้า “รับ ใช้ชาติ” เขาต้องใช้เวลาถึง 2 เดือน กว่าจะได้หนังสือแนะน�ำตัวครบ จากนัน้ เขาต้องไปสอบข้อเขียน ซึ่งผ่าน แต่เกือบตกที่การตรวจร่ายกายเพราะเขา เคยมีปัญหาหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน เป็นแต่ละทีต้องนอนคว�่ำนิ่งๆ สามวันให้มันกลับเข้าที่ หมอทราบประวัติแล้วปั๊ม “ขาดคุณสมบัติ” ความที่ เขาอยากเป็นนักบินมากจึงเจรจาว่ามันเป็นและหายไปนานแล้ว จนหมอ ยอมลบผลนั้นออก แต่เขาเกือบตกตรวจสายตา เพราะอ่านชาร์ตสองแถว ล่างไม่ได้เลย ต้องหลอกหมอว่าเมือ่ คืนเฝ้าแม่ซงึ่ ป่วยจนแทบไม่ได้นอนทัง้ คืน จึงขอตรวจใหม่วันรุ่งขึ้น หลังจากนั้นไปปรึกษาหมอสายตา (Optometrist) แนะน�ำให้สวมแว่นบีบสายตาก่อนวัด ปรากฏว่า แทนที่จะอ่านได้กลับมอง ตัวหนังสือบนชาร์ตไม่เห็นเลย ต้องขอตรวจใหม่อีกรอบหลังจากไปปรึกษา วิธีกับหมอสายตาอีกครั้ง และฝึกซ้อมจนในที่สุด ก็ผ่านแต่ไม่ใช่ชนิดปกติ 20/20 แต่เป็นชนิด 20/20+2 ทางเจ้าหน้าทีย่ อมให้เข้าไปฝึกเป็นทหารอากาศ ได้ แต่ไม่ให้เป็นนักบินรบ ให้เป็นนักบินขนส่งแทน ปัญหาต่อมาคือ ใครจะดูแลริชาร์ด ในทีส่ ดุ ได้แม่กบั สามีใหม่อาสามา ดูแลแทน จึงเป็นครั้งแรกที่ซิดนีย์เจอ “พ่อเลี้ยง” ซึ่งใจดี การที่ทางกองทัพ อากาศรับเขาเข้าฝึกเป็นนักบินขนส่ง เขาจะได้รับค่าใช้จ่ายเฉพาะเบี้ยเลี้ยง

254 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แต่ต้องหาเครื่องแบบเอง พ่อเลี้ยงขอเป็นคนซื้อให้ ซึ่งซิดนีย์ปฏิเสธ แต่พ่อ เลี้ยงก็ยืนยันและพาไปซื้อให้จนได้ ซิดนีย์ยังได้แจ็คเกตหนังและผ้าพันคอสี ขาวมาด้วยเท่ไปเลย ซิดนีย์เข้าฝึกเป็นนักบินในหลักสูตรเร่งรัด ปกติใช้เวลา 6 เดือน แต่ เพราะสงครามท�ำให้ตอ้ งเร่งฝึกในเวลาเพียง 3 เดือน หลังจากนัน้ ทางกองทัพ ให้ทุกคนกลับบ้านโดยขอหมายเลขโทรศัพท์ไว้ เพื่อรอเรียกเข้าฝึกหลักสูตร ขัน้ ทีส่ องต่อไป ซิดนีย์กลับไปนิวยอร์ค ไม่ช้าก็ ได้งานใหม่เป็นผู้เขียนบทละคร บรอดเวย์ ซิดนียต์ กตะลึงกับข้อเสนอเพราะไม่คดิ ว่าตัวเองจะท�ำได้เนือ่ งจาก ไม่เคยมีความรู้เรื่องการเขียนบทละครมาก่อนเลย เมื่อถูกถามว่าจะรับหรือ ไม่ เขาพูดไม่ออกใจไม่อยากรับ แต่ก็ไม่กล้าปฏิเสธ และหลุดปากตอบรับ ไป จากนั้นเขาติดต่อเบน ซึ่งก็ไปเข้าค่ายฝึกทหารอยู่เช่นกัน ทั้งสองกลับ มาร่วมงานกัน เมื่อเขียนเรื่องที่หนึ่งจบ ก็ส่งให้ทางบริษัท คนแรกเห็นแล้ว ไม่พอใจ แต่อีกสองคนชอบและทางบริษัทตกลงรับซื้อ เขาจึงได้เป็นผู้เขียน บทละครบรอดเวย์เรือ่ งแรกในชีวติ ละครยังไม่ทนั ลงโรง มีอกี บริษทั มาติดต่อ ขอให้เขียนบทละครอีกเรื่อง ท�ำให้มีละครสองเรื่องที่เขาและเบนเขียนบท เล่นพร้อมกันในนิวยอร์ค

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 255

ไม่ใช่แค่สองเรื่องเท่านั้น ชื่อของเขาก�ำลังหอม จู่ๆ ก็มีบริษัทที่สาม เข้ามาติดต่อขอให้เขาไปท�ำงานอีกด้วย บริษัทนี้มีนักเขียนมือดีอยู่แล้ว วัย ห้าสิบ แต่เป็นชาวอังกฤษ เขามีหน้าที่ไปช่วยปรับส�ำนวนให้เป็นอเมริกนั ใจ เขาไม่อยากรับ แต่ปากก็รับเหมือนสองเรื่องก่อน ด้วยความไม่มั่นใจในตัว เอง เขาหวังว่าจะมี “ระฆังช่วย” คือทางกองทัพจะเรียกกลับไปฝึกบิน “ขั้น ที่สอง” เขาจะได้มีข้ออ้าง ไม่ต้องฝืนท�ำงานที่จะแสดงว่าเขาไม่ได้มีฝีมือ เหมือนอย่างทีผ่ บู้ ริหารในบรอดเวย์คดิ แต่พอไปพบกับนักเขียนชาวอังกฤษ ซึ่งมีอัธยาศัยดีมาก เขาก็อยากท�ำงานด้วย เขากะว่า บทละครทั้ง 3 เรื่อง คงใช้เวลาสัก 2-3 เดือน ตอนนัน้ เขาอยากท�ำงานให้เสร็จ แต่จๆู่ ก็มโี ทรศัพท์ เรียกตัวจากกองทัพให้ไปรายงานตัวใจเขาแป๊ว ตกอยู่ในอาการซึมเศร้าอีก แต่กต็ อ้ งไปรายงานตัว พบว่าตอนนัน้ สถานการณ์เปลีย่ น สหรัฐเริม่ กลับเป็น ฝ่ายรุก เพราะฉะนั้นทางกองทัพจึงต้องการนักบินรบ ซึ่งเขาขาดคุณสมบัติ เขาได้รับข้อเสนอทางเลือก 2 ทาง คือ สมัครเข้าไปเป็นพลทหารในกอง ทหารราบ หรือกลับเข้าไปรอคัดเลือกใหม่ เขาเลือกทางที่สองเพราะหวังว่า จะมีเวลาได้กลับไปท�ำงานให้เสร็จก่อน พอกลับไปท�ำงานเขียนบทละครต่อไม่ทนั ไร ก็โดนเรียกตัวอีก ใจแป๊ว และซึมเศร้าอีก แต่ก็ได้ “ระฆังช่วย” อีก เพราะแพทย์พบประวัติหมอนรอง กระดูกเคลื่อนของเขา จึงสั่งให้ “ปลดประจ�ำการ” และสั่งไม่ให้กลับไปแต่ง

256 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

เครือ่ งแบบอีก เขาจึงได้กลับไปท�ำงานต่อ ปรากฏว่าละครทีเ่ ขาเขียนบทร่วม กับเบน ประสบความส�ำเร็จอย่างมากได้แสดงอยู่ในบรอดเวย์ร่วมปี แล้วยัง ไปตระเวนแสดงที่อื่นๆ ต่อจากนั้นอีกสองปี ละครเรื่องที่สองของเขา ก็ดัง แต่สองเรื่องต่อมากลับ “แป๊ก” โดน นักวิจารณ์ยำ� เละ ซึง่ ท�ำให้ซดิ นียเ์ ศร้ามาก ถึงขัน้ “ถอดใจ” เห็นว่างานเขียนบท ละครให้บรอดเวย์ ไม่ใช่ “ทาง” ของเขา และตัดสินใจกลับไปฮอลลีวูด ควรเล่าไว้ดว้ ยว่า ทีบ่ รอดเวย์เขามีโอกาสเลือกนักแสดงหนุม่ คนหนึง่ ซึ่งต่อมามีชื่อเสียงโด่งดังมาก คือ เคิร์ค ดักลาส กลับไปฮอลลีวู้ด กลับไปฮอลลีวดู คราวนี้ “ต้นทุน” ของเขานับว่าสูงแล้ว ไม่ชา้ เขาก็ได้ ร่วมงานกับเซลสนิค ยักษ์ใหญ่แห่งฮอลลีวดู ในเวลานัน้ เป็นเซลสนิคทีเ่ ขาท�ำ “ย่อเรื่อง” ครั้งแรกส่งให้ และได้ค่าจ้างมาจากเลขานุการของเขาแค่ 10 เหรียญเท่านั้น ไม่มีโอกาสแม้แต่ได้เห็นตัวเขา แต่มาคราวนี้เซลสนิคขอนัด พบและเสนอให้มาท�ำงานด้วย โดยจะให้คา่ จ้างเขียนเรือ่ งและบทภาพยนตร์ ถึง 35,000 เหรียญ ซึ่งซิดนีย์รับข้อเสนอ และได้มีโอกาสท�ำงานกับดารา ใหญ่อย่างแครี แกรนท์ ที่ส�ำคัญหนังเรื่อง Suddenly It’s Spring ซึ่งจู่ๆ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 257

เซลสนิค ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น The Bachelor and the the Bobby - Soxer ประสบความส�ำเร็จอย่างสูง ใกล้เคียงกับเรื่อง “วิมานลอย” (Gone with the Wind) นักวิจารณ์พากันเขียนชื่นชมเซ็งแซ่ และซิดนีย์ก็ได้รับการเสนอชื่อ เข้าชิงตุ๊กตาทอง ชีวติ ของซิดนียใ์ นฮอลลีวดู หลังจากนัน้ ก็ดงั ทีเ่ ขาเขียนไว้วา่ “เหมือน กับลิฟต์ซงึ่ ขึน้ ลงตลอดเวลา เคล็ดลับก็คอื อย่าออกจากลิฟต์ตอนทีม่ นั ลง” อยู่ที่ฮอลลีวูดไม่นาน และต่อมาเขาก็ได้รางวัลตุ๊กตาทองในฐานะ ผู้เขียนบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเรื่อง The Bachelor and the Bobby Soxer ทีแรกเขาตัดสินใจไม่ไปงานมอบรางวัล เพราะไม่นกึ ว่าจะได้รางวัล จนเพือ่ นต้องคะยัน้ คะยอ ให้ไป เขาจึงยอมไป และเมื่อได้รางวัลแทนที่จะ ดีใจ เขากลับรู้สึกว่าเขาไม่สมควรได้รับรางวัล และเกิดอาการซึมเศร้าจนเขาตัดสินใจไปพบ จิตแพทย์ จิตแพทย์วินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้า (Manic Depression) และบอกเขาตรงๆ ว่า โรค

258 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

นี้รักษาไม่หาย “ที่ดีที่สุดที่เราท�ำได้ คือพยายามควบคุมอาการด้วยการใช้ ยา” และบอกเขาด้วยว่า “ปัญหาก็คือบางครั้ง มีโรคแทรกซ้อน หนึ่งในห้า ของคนเป็นโรคนีฆ้ า่ ตัวตาย 20-25 % พยายามฆ่าตัวตายอย่างน้อยหนึง่ ครัง้ โรคนี้เป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการฆ่าตัวตายปีละ 3 หมื่นราย” หมอบอก ด้วยว่า “จะมีบางเวลา โดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ที่คุณจะควบคุมตัวเอง และค�ำพูดของตัวเองไม่ได้” หลังจากนั้นหมอเขียนใบสั่งยาให้ หมอบอกด้วยว่า ผู้มีชื่อเสียงหลายคนป่วยเป็นโรคนี้ เช่น วินเซนต์ แวนโก๊ะห์ ยอดศิลปินอิมเพรสชั่นนิสต์ เอดการ์ แอลแลน โป ยอดนักเขียน เรื่องสั้นชาวอเมริกัน เวอร์จิเนีย วูล์ฟ นักประพันธ์มีชื่อชาวอังกฤษ คนอเมริกนั อย่างน้อยสองล้านคนป่วยด้วยโรคนี้ ฉะนัน้ จึงมีคนเป็นโรคนีถ้ งึ 1 ใน 10 ครอบครัวในสหรัฐ อาการส�ำคัญของโรคนี้คืออาการซึมเศร้า แต่ก่อนภาษาอังกฤษเรียก โรคนีว้ า่ Depressive illness ต่อมาพบว่า นอกจากอาการซึมเศร้า (depress) แล้วมักมีอาการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข (euphoria) หรือ “คลุ้มคลั่ง” (mania) สลับกัน จึงเรียกโรคนี้ใหม่ว่า “Manic Depression” และต่อมาเปลี่ยนเป็น “โรคอารมณ์สองขั้ว” (Bipolar Disorder) ซึ่งเข้าใจยาก ปัจจุบันในภาษาไทย นิยมเรียกว่า “โรคอารมณ์แปรปรวน”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 259

อาการ “ควบคุมตัวเองไม่ได้” เกิดกับซิดนีย์บางครั้ง ซึ่งบางครั้งเกิด ในช่วงจังหวะส�ำคัญจนท�ำให้ชีวิตผกผัน ชีวิตรัก ตลอดชีวติ อันยืนยาวของซิดนีย์ เชลดอน มีผหู้ ญิงผ่านเข้ามาในชีวติ หลาย คน เริม่ จากโจน วิตซู ซ์ ี ซึง่ เป็นเพียง “ฝันข้ามคืน” แล้วก็ไม่ได้พบกันอีกเลย ถัดมาคือ มิลาดา มลาโดวา ซึ่งเริ่มคบกันตอนไปเริ่มเขียนบทละคร ให้บรอดเวย์ที่นิวยอร์ค เย็นวันหนึ่งเขาชวนเธอไปกินข้าวที่โรงแรมหรู ที่ เลือกโรงแรมหรูก็เพื่อให้เธอประทับใจ แต่พอพนักงานยื่นบิลให้ เป็นเงินถึง 35 เหรียญ เขาก็เหงื่อตกเพราะเงินไม่พอ ต้องขอพบผู้จัดการ สารภาพว่า ไม่มเี งินขอเป็นหนี้ไว้กอ่ น โชคดีเจอผูจ้ ดั การใจดี นอกจากยอมให้เขาติดหนี้ แล้วยังขอจับมือกับเขา โดยให้เงินเขามาใช้อีก 50 เหรียญด้วย เขาไม่มีเงิน ไปจ่ายจนเมือ่ ละครเรือ่ งแรกทีเ่ ขาเขียนเปิดโรง และประสบความส�ำเร็จอย่าง น่าพอใจ เขาเจอผูจ้ ดั การใจดีคนนัน้ ซึง่ ไปดูละครของเขาด้วย และชืน่ ชมเขา มากเขาจึงมีโอกาสใช้หนี้คืนตอนนั้น คนที่สามเป็นดาราละครชาวอังกฤษ ชื่อเวนดี แบร์รี เธอมีแฟนแล้ว และถูกตบตี จึงมาร้องไห้กับเขา และเริ่มคบกัน ไม่ทันไรก็มีคนโทรศัพท์มา บอกให้เลิกติดต่อกับเวนดี เพราะเธอเป็นเด็กของมือปืนคนหนึ่ง

260 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คนต่อมา เริ่มคบกันไม่ทันไร เธอก็เปิดเผยว่า เธอคบกับอีกคนชื่อ โฮเซ ซึ่งเป็นนักเปียโนชื่อดัง เขารู้ว่าเขาไม่มีทางเทียบได้กับนักเปียโนคน นั้น ซึ่งบอกเธอว่า ซิดนีย์ “คือโคคา โคลา” โดยเธออธิบายว่า โคคา โคลา มีเป็นล้าน แต่โฮเซนั้นเป็นหนึ่งเดียว และเธอก็เลือกโฮเซ ต่อมาเพือ่ นแนะน�ำให้รจู้ กั กับเจน ฮาร์ดงิ สาวสวยจากนิวยอร์ค เธอเป็น คนอารมณ์ดี ฉลาด และมีชีวิตชีวา เขาชอบเธอทันที และคบกันเพียงสอง เดือนก็แต่งงานกัน แต่ไม่ถึงเดือนทั้งคู่ก็พบว่าทัศนะไม่ตรงกันเลย ทั้งคู่ พยายามประคองชีวติ คูต่ อ่ มาอีก 9 เดือน ก็ตกลงหย่าขาดจากกันด้วยความรูส้ กึ ขมขืน่ วันทีห่ ย่ากัน ซิดนียอ์ อกไปกินเหล้าจนเมามายเป็นครัง้ แรกในชีวติ ผู้หญิงคนถัดมาคือ ซิด ชาริสส์ เป็นนักบัลเลต์ ซิดนีย์ชอบเธอและมี นัดเดตกับเธอคืนวันเสาร์ แต่เธอโทรมาขอเลิกนัด สาเหตุเพราะเธอก�ำลังจะ แต่งงานกับโทนี่ มาร์ติน นักร้องมีชื่อ หลังจากนั้นไม่นานระหว่างไปเที่ยว ยุโรป ซิดนีย์ได้รบั เชิญจากโทนี่ให้ไปดูการแสดงของเขา ซิดนียอ์ ยากปฏิเสธ เพราะไม่อยากยุ่งกับคนที่แย่งแฟนไป โทนี่คะยั้นคะยอพร้อมให้ตั๋วไว้ด้วย ซิดนีย์ไปตามค�ำชวนและพบว่าโทนีเ่ ป็นคนน่ารักมาก ทัง้ สามท่องยุโรปด้วย กัน และเป็นเพื่อนกันต่อมา

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 261

ต่อมา ซิดนียพ์ บดาราสาวสวยจากสวีเดน ชือ่ อินกริด โดยการแนะน�ำ ของเอเย่นต์รายหนึ่ง ทั้งคู่เริ่มคบหากัน สองสามสัปดาห์ต่อมา มีเสียงเคาะ ประตูห้องซิดนีย์ตอนตี 4 ผู้ “มาเยือน” เป็นชายหนุ่มถือปืนจะมายิงซิดนีย์ เพราะไปนอนกับภรรยาเขา ซิดนีย์บอกว่าคงมีการเข้าใจผิด เพราะเขาไม่ เคยมี “อะไร” กับผู้หญิงที่มีสามีแล้ว ปรากฏว่าซิดนีย์พลาดเพราะไม่รู้ว่าอิน กริดมีสามีแล้ว เพราะ “เธอไม่ได้สวมแหวนแต่งงาน และก็ไม่เคยเอ่ยถึงสามี” เคราะห์ดคี ยุ กันจนรูเ้ รือ่ ง สามีอนิ กริดกลับออกไป พักใหญ่มเี สียงเคาะประตู อีก คราวนี้เป็นอินกริดโดนซ้อมมาหนัก ซิดนีย์ต้องเรียกหมอมารักษา หลัง จากนั้นอินกริดก็หายไป ซิดนีย์จีบผู้หญิงอีก 2-3 คน รวมทั้งมาริลิน มอนโร ก่อนมาพบกับ จอร์จา เคิรต์ ไรท์ (Jorja Curtright) นักแสดงสาวเชือ้ สายฮังการีจากอาร์คนั ซอส์ ตอนนัน้ ซิดนียก์ ำ� ลังดวงขึน้ ได้เลือ่ นชัน้ เป็นผูส้ ร้างภาพยนตร์ของเมโทร และ ทางบริษัทโคลัมเบียก็ติดต่อให้ไปรับต�ำแหน่งใหญ่ที่นั่น แต่เขาปฏิเสธ เมื่อ พบจอร์จาครั้งแรกซิดนีย์ชวนเธอไปกินข้าวเย็น แต่เธอปฏิเสธ เขาเพียร พยายามชวนเธออีกหลายครั้ง แต่เธอก็ปฏิเสธ จนครั้งที่ 5 เธอจึงยอมรับ เพราะเป็นการไปร่วมงานที่มีแขกหลายคน ไม่ใช่สองต่อสอง หลังงานเลิก ซิดนียข์ อไปส่งเธอทีบ่ า้ นแต่เธอก็ปฏิเสธบอกว่า “ฉันขับรถมาเอง” ยังดีทเี่ ธอ ไม่ปฏิเสธ เมื่อซิดนีย์เอ่ยปากชวนว่า ขอเชิญไปกินข้าวเย็นสักวันจะได้ไหม

262 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

แล้วทั้งคู่ก็กินข้าวเย็นกันสองต่อสอง ซิดนีย์จึงทราบเหตุผลที่เธอไม่ ยอมรับนัดเขาก่อนหน้านั้นนั่นคือ เพราะซิดนีย์ออกเดตกับผู้หญิงหลายคน และเธอไม่อยากเป็นคนหนึ่งในบรรดาผู้หญิงเหล่านั้น ในที่สุดซิดนีย์ก็ตกหลุมรักเธอ และสามเดือนหลังจากเริ่มคบกัน เขา ก็ขอเธอแต่งงาน ซิดนีย์พาจอร์จาไปพบแม่ แม่ซักไซ้ด้วยค�ำถามเป็นร้อย สรุปว่าเธอคือคนที่ “ตื่นเต้นเร้าใจ” (Thrill) เขา ซิดนีย์ซื้อเรือนหอที่เบเวอร์ ลีฮิลส์ และขอพักร้อนสามเดือน ไปฮันนีมูนที่ยุโรป เมื่อแต่งงาน ซิดนีย์อายุราว 35 ปี หลังจากนั้น 3 ปี เขาก็ได้ลูกสาว คนแรก เมือ่ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2498 จอร์จาบอกเขาว่าเธอตัง้ ท้อง ขณะ เธอร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง “ความรักคือสิ่งงดงามหลากหลาย”(Love is a Many - Splendered Thing) ซึง่ สร้างจากนวนิยายเรือ่ งเยีย่ มของฮันซูหยิน เมื่อผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้รู้ว่าเธอตั้งครรภ์ ก็ยังให้เธอแสดงต่อจน ถ่ายท�ำเสร็จ ทั้งคู่รักและเอาใจใส่ลูกมาก ทุกครั้งที่ซิดนีย์ได้ยินเสียงลูกร้อง พอเข้าไปในห้องลูก จะเห็นจอร์จาอุม้ ลูกเขย่าเบาๆ เพือ่ ให้หยุดร้อง และทุก ครัง้ ทีจ่ อร์จาได้ยนิ เสียงลูกร้อง พอเข้าไปในห้องลูก ก็จะเจอซิดนียเ์ ข้าไปอุม้ ปลอบลูกอยู่ก่อนแล้ว ซิดนีย์บอกว่า “เราเอาใจลูกมากเกินไปแล้ว เราควร ลดลงซักครึ่งนึง” จอร์จาตอบว่า “เธอพูดถูก เธอลดส่วนของเธอแล้วกัน”

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 263

ชีวติ ของซิดนียค์ วรจะสุขสบายมากหลังจากนัน้ แต่เพราะเขาได้นสิ ยั การใช้เงินแบบไม่บันยะบันยังมาจากพ่อ เมื่อหามาได้มากก็ใช้มาก เขาอยู่ บ้านหรูหรา มีสระว่ายน�้ำ มีสวน ข้อส�ำคัญเขาไม่เคยเก็บออม ขณะที่โลก มายาของฮอลลีวดู ไม่เคยปรานีใคร เมือ่ ภาพยนตร์เรือ่ งหนึง่ ของเขาท�ำเงิน ไม่ได้ เขาก็ตกงานอยู่นาน จนเงินเริ่มขาดมือ ถึงขั้นต้องขอให้ลอราแม่บ้าน ออกจากงาน ทัง้ ๆ ทีล่ อราเป็นแม่บา้ นทีด่ เี ยีย่ ม รักลูกสาวของเขาและลูกสาว ก็รกั เธอมาก เมือ่ ซิดนียพ์ ดู ว่าจะให้เธอออก เธอยืนกรานไม่ออก และท�ำงาน ต่อไปโดยไม่รับค่าจ้าง ทั้งคู่ต้องตัดรายจ่าย ไม่ออกไปงานนอกบ้าน เพราะ ไม่มีเงิน วันหนึ่งลอราเห็นทั้งคู่ตัดสินใจไม่ไปงานเพราะไม่มีเงินติดบ้านเลย ลอราเอาเงินมาให้เขา 20 ดอลลาร์ เขาแทบร้องไห้ ในที่สุดบ้านก็ถูกยึด ซิดนีย์ตกอยู่ในอาการซึมเศร้าอย่างหนัก ครุ่นคิดแต่จะฆ่าตัวตาย พยายามคิดถึงความส�ำเร็จอันรุง่ โรจน์ แต่สดุ ท้ายก็กลับจมปลักกับความคิด อยากฆ่าตัวตาย ถึงขั้นวางแผนไม่ยอมให้กรมธรรม์ประกันชีวิตขาดส่ง เพื่อ ให้จอร์จาและลูกได้เงินประกันใช้ แต่ความคิดหนึง่ ทีฉ่ ดุ รัง้ เขาไว้ได้ ก็คอื เขาไม่สามารถจากจอร์จาและ ลูกไปได้ จากจุดนั้นเอง เขาเริ่มคิดได้ว่า เมื่อฮอลลีวูดไม่ต้องการเขา เขาก็ จะไปเผชิญช่องทางใหม่คือโทรทัศน์

264 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ตอนนั้น รายการทางโทรทัศน์ยอดนิยมคือ “ฉันรักลูซี” น�ำแสดงโดย ลูซิลล์ บอล ผู้สร้างคือ เดซี อาร์นาซ สามีของเธอ ซิดนีย์ลงมือเขียนบทชื่อ “การผจญภัยของนางแบบ” (Adventure of a Model) น�ำไปเสนอเดซี อาร์นาซ โชคดีอาร์นาซเคยได้ยินชื่อเสียงของเขา เห็นชื่อเรื่องก็สนใจ ลงมืออ่านจน จบทันทีและชอบ หน้าหนังสือหน้าใหม่ในชีวิตของเขา ก�ำลังจะพลิกเปิดขึ้นอีกแล้ว อาร์นาซไม่เพียงชอบเรื่องของเขาเท่านั้น แต่ตกลงใจจะเป็นผู้ผลิตรายการ และได้ชอ่ งออกรายการทางสถานีโทรทัศน์ซบี เี อสด้วย ซิดนียแ์ ละจอร์จาดีใจ จนต้องออกไปเลี้ยงฉลอง ซึ่งลอราให้เขายืมเงิน 20 ดอลลาร์อีกครั้ง แต่แล้วฝันก็สลาย เมือ่ ทางซีบเี อสเกิดปัญหาไม่สามารถจัดผังรายการ ให้ได้ เขาต้องอยู่ในสภาพตกงานต่อไป แต่จๆู่ ทางโรงละครบรอดเวย์ทนี่ วิ ยอร์คก็ตดิ ต่อให้เขาไปท�ำละครเรือ่ ง Redhead เขาได้งานแต่ต้องสูญเสียลอราไป เพราะเขาต้องย้ายครอบครัว ไปอยู่นิวยอร์ค ลอราไม่สามารถทิ้งครอบครัวของเธอตามไปอยู่ด้วยได้ เขา จ่ายค่าจ้างทีค่ า้ งไว้ให้เธอ พร้อมโบนัสอีกก้อนโต รวมทัง้ เงินทีเ่ ธอเคยให้ยมื ทัง้ หมด

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 265

โชคดี ละครเรื่อง Readhead ประสบความส�ำเร็จน่าพอใจ ชีวิตของ เขาเหมือนอยู่ใน “ลิฟต์ขาขึ้น” อีกแล้ว เขาตัดสินใจย้ายกลับไปฮอลลีวูด เขียนบทละครเรื่อง “เทียนโรมัน” (Roman Candle) ส่งไปทั้งโรงละคร บรอดเวย์และฮอลลีวูด หลายคนอ่านแล้วชอบ อยากเล่น อยากสร้าง อยาก ก�ำกับ แต่ละคนล้วน “ใหญ่ๆ” ทัง้ นัน้ เช่น วิลเลียม ไวย์เลอร์ ผูก้ ำ� กับ เบนเฮอร์ และ โรมัน ฮอลิเดย์ นักแสดง อย่างออเดรย์ เฮปเบิรน์ และ เชอร์ลยี ์ แม็คเลน อ่านบทแล้วก็อยากเล่น ในที่สุด ก็ได้สร้างละครที่ทุกคนเชื่อมั่นว่าจะฮิต มาก ได้เล่นนานถึงสองหรือสามปี แต่เอาเข้าจริง ละครเล่นได้แค่ 5 รอบ ก็ต้องลาโรง ไม่นานวิลเลียมไวย์เลอร์ ก็แจ้งบอกเลิกที่จะก�ำกับหนังเรื่องนี้ ซิดนีย์สรุปอย่างมีอารมณ์ขันว่า “ง่ายมากที่จะสร้างละครบรอดเวย์ที่ เกือบดัง” ชีวิตของเขาอยู่ใน “ลิฟต์ขาลง” อีกแล้ว อันที่จริงละครของซิดนีย์ไม่ได้แย่อย่างที่โดนนักวิจารณ์ “ย�ำเละ” จึง ยังมีคนในฮอลลีวดู เชือ่ มือเขาอยู่ ไม่ชา้ เขาก็ได้งานพร้อม “ข่าวดี” เมือ่ จอร์จา บอกเขาว่า เธอก�ำลังตั้งท้องลูกคนที่สอง แต่ลูกคลอดออกมาพิการรุนแรง และในที่สุดเสียชีวิต ซิดนีย์และภรรยาเศร้ามาก เพื่อบรรเทาความเศร้าและ เพื่อให้ลูกสาวมีพี่น้อง ทั้งคู่ตัดสินใจรับลูกบุญธรรมมาเลี้ยง โดยติดต่อหมอ

266 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ที่ท�ำคลอด จนได้ลูกที่เกิดจากนักศึกษามหาวิทยาลัยคนหนึ่งมาเลี้ยง ทั้งคู่ มีความสุขมาก ลูกสาวก็รัก “น้อง” มาก น้องก็ดูชอบพี่มาก แต่จู่ๆ หมอก็ แจ้งว่าแม่เด็กขอรับลูกคืน เพราะพ่อเด็กตกลงแต่งงานกับเธอ และตาม กฎหมายของรัฐแม่เด็กทีย่ กลูกให้เป็นลูกบุญธรรมไปแล้ว สามารถขอคืนได้ ภายใน 6 เดือน ซิดนีย์ จอร์จา และลูก ต้องยอมคืนเด็กให้พอ่ แม่เขาไป ด้วย ความขมขื่น เมื่อลูกตาย ซิดนีย์รู้สึกเหมือนตกนรก ครั้งนี้ก็เหมือนตกนรกซ�้ำสอง เข้าสู่วงการโทรทัศน์ วันหนึ่งซิดนีย์ ได้รับการติดต่อจะให้เขียนบทโทรทัศน์ ให้แก่สถานี โทรทัศน์เอบีซี สมัยนั้น คนในวงการฮอลลีวูดยัง “ดูแคลน” รายการบันเทิง ทางโทรทัศน์ ซิดนียก์ เ็ ช่นกัน จึงปฏิเสธ แต่เอเยนต์ของเขาก็ขอร้องว่า “เพือ่ มารยาท” ขอให้ไปกินข้าวเย็นกับเขาหน่อยแล้วกัน ซิดนีย์ยอม รายการนั้น คือรายการ “แพ็ตตี ดุคโชว์” (Patty Duke Show) ผู้ที่จะ น�ำแสดงคือ แพตตี ดุค (Patty Duke) ซึ่งเคยแสดงเป็น เฮเลน เคลเลอร์ ตอนอายุ 12 แพ็ตตี ดุค มีประวัติชีวิตที่ขมขื่นมาก แต่ประสบความส�ำเร็จ ในการแสดงตั้งแต่อายุยังน้อย เมื่อพบกับซิดนีย์ เธอจับมือเขา ซึ่งเขารู้สึก ได้ถงึ ความอ้างว้างว้าเหว่ของเธอ รายการโทรทัศน์ทผี่ สู้ ร้าง “ขาย” ให้เอบีซี นั้น แท้จริงแล้วยัง “ว่างเปล่า” มีแต่ชื่อรายการ และผู้แสดง ยังไม่มีบทเลย

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 267

ผู้สร้างต้องการให้ซิดนีย์ไป “สร้าง” รายการขึ้นมา จากการไปกินข้าวด้วยอย่าง “เสียไม่ได้” ซิดนีย์กลับไม่อาจทาน “ความน่ารัก” ของแพ็ตตี ดุค ได้ จึงออกปากชวนเธอไปกินข้าวที่บ้าน เพื่อ ให้พบกับจอร์จาและลูก แพ็ตตี ดุค ตอบรับทันที ทัง้ จอร์จาและลูกต่างก็ชอบ แพตตี ดุค ระหว่างกินข้าวด้วยกัน จู่ๆ แพ็ตตี ดุค ก็หายตัวไป ปรากฏว่า เธอเข้าครัวไปท�ำอาหารมาให้ซดิ นียเ์ ป็นการเฉพาะ ซิดนียต์ นื้ ตันใจมาก โอบ กอดเธอ และบอกว่า จะเป็นผู้เขียนบทให้รายการของเธอ จากนั้น ก็เกิด ต�ำนานรายการ “แพ็ตตี ดุค โชว์” อันโด่งดัง เป็นที่รักและนิยมของคน อเมริกันทั่วประเทศ สามารถออกอากาศทุกสัปดาห์ยาวนานถึง 7 ปี และ ยังเป็นที่นิยมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เมือ่ ซิดนียต์ กลงรับเป็นผูส้ ร้างบทโทรทัศน์ให้แก่โชว์ชดุ นี้ ทางผูส้ ร้าง เตรียมการอย่างเป็น “ระบบ” เตรียมทีมผูเ้ ขียนบทไว้หลายคน จะให้เขาเป็น บรรณาธิการและ “พี่เลี้ยง” นักเขียนในทีม แต่ซิดนีย์ต้องการรักษาชื่อเสียง โดยต้องการ “ควบคุมคุณภาพ” อย่างเต็มที่ จึงขอเป็นผู้ท�ำหน้าที่สร้างและ เขียนบทด้วยตนเองทั้งหมด สร้างความหนักใจให้แก่ทางผู้สร้าง เพราะจะ ต้อง “พึ่ง” คนคนเดียว รายการที่ออกอากาศทุกสัปดาห์จะสะดุดไม่ได้ แต่ ข้อเสนอของซิดนีย์เป็นเสมือน “ค�ำขาด” ทางผู้สร้างจึงต้องยอม

268 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

อย่างไรก็ดี ซิดนีย์มาทราบภายหลังว่า ผู้ผลิตรายการได้แอบจ้าง นักเขียนส�ำรองไว้อีก 4 คน เพื่อเตรียมไว้แก้ปัญหาในกรณีที่ซิดนีย์เกิดมี ปัญหาขึ้นมา แต่ซิดนีย์ท�ำงานอย่างรับผิดชอบมาก ไม่เคยท�ำให้เกิดปัญหา เลย นอกจากครั้งหนึ่งเขาและครอบครัวพากันไป “พักร้อน” ที่ยุโรป เขา เตรียมทุกอย่างล่วงหน้าไว้หมดแล้ว และรายการก็ถ่ายท�ำล่วงหน้าไว้แล้ว หลายตอน จึงไม่ได้น�ำบทของตอนเก่าๆ ติดตัวไปด้วย จู่ๆ ทีมงานก็ติดต่อ ไป แจ้งว่า รายการที่ถ่ายท�ำไว้หลายตอน บางตอนขาดไป 1, 2 หรือ 3 นาที ขอให้เขียนบทเพิ่มให้โดยเร็ว ซิดนีย์จะท�ำได้อย่างไร เพราะเมื่อเขียนบท แต่ละตอนจบและถ่ายท�ำไปแล้ว เขาก็มักจะลืมเนื้อหาไปหมด เพื่อให้สมอง โล่งส�ำหรับเขียนตอนอื่นต่อไป เมื่อจะต้องเขียนบทเพิ่มย้อนหลังไปนาน ก็ ไม่มีทางท�ำได้ ถ้าไม่มีบทของเดิมอยู่ในมือ เขาบอกจอร์จาว่า อาจจะต้อง กลับไปแก้ปัญหา แต่เรื่องก็คลี่คลายไปได้อย่างดี เพราะพอลูกสาวได้ฟังพ่อบ่นเรื่องนี้ กับแม่ ก็บอกว่าเธอจ�ำบทรายการชุดนี้ได้ทุกตอน ซิดนีย์จึงเขียน “เติม” ได้ จนเป็นที่เรียบร้อย ก้าวเข้าสู่โลกวรรณกรรม ระหว่างท�ำงานอยู่ในฮอลลีวดู ซิดนียเ์ ริม่ เขียนนวนิยายเรือ่ งแรก โดย บอกค�ำบอกให้เลขานุการพิมพ์ตอนเช้า บ่ายท�ำงานผลิตรายการโทรทัศน์

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 269

นวนิ ย ายเขี ย นเสร็ จ แล้ ว ส่ ง ไปให้ เ พื่ อ นซึ่ ง เป็ น นั ก เขี ย นนวนิ ย าย คื อ เออร์วิง วอลเลซ ลองอ่านดู เออร์วิงอ่านดูแล้วชอบจึงให้เอเยนต์ของเขาที่ นิวยอร์คจัดการส่งให้ส�ำนักพิมพ์ต่างๆ พิจารณา ส�ำนักพิมพ์ 5 แห่งปฏิเสธ ส�ำนักพิมพ์ฮิลเลลแบล็ครับพิมพ์จ�ำหน่าย โดยจะจ่ายค่าเขียนให้ล่วงหน้า หนึ่งพันดอลลาร์ หนังสือพิมพ์ออกจ�ำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2513 เมื่อซิดนีย์อายุได้ 53 ปี ซิดนีย์ถามส�ำนักพิมพ์ว่าจะมีรายการประชาสัมพันธ์หนังสือตามรายการ โทรทัศน์ต่างๆ หรือไม่ ทางส�ำนักพิมพ์ตอบว่าไม่ เพราะ “นอกโลกฮอลลีวูด ไม่มีใครรูจ้ กั ซิดนีย์ เชลดอน” ทางส�ำนักพิมพ์ไม่ทำ� แต่ซดิ นียท์ ำ� เขาจัดการ ออกรายการแนะน�ำหนังสือของเขาหลายรายการ และไปร่วมงานเปิดตัว หนั ง สื อ ในงานเลี้ ย งอาหารกลางวั น ที่ โ รงแรมฮั น ติ ง ตั น ใน พาซาเดนา แคลิฟอร์เนีย ร่วมกับนักเขียนคนดังอีก 5 คน หลังเปิดตัว มีคนซือ้ หนังสือแล้วมา เข้าคิวขอลายเซ็นนักเขียนแต่ละคน นักเขียนคนอืน่ ๆ มีคนเข้าคิวยาว แต่ทโี่ ต๊ะ ซิดนีย์ไม่มใี ครเลย พักใหญ่จงึ มีหญิงชราเดินเข้ามาถามเขาว่า หนังสือของเขาชือ่ อะไร พอทราบชือ่ ก็บอกว่าจะซือ้ เล่มหนึง่ วันนัน้ หนังสือของเขาขายได้เล่มเดียว สองสามสัปดาห์ตอ่ มา จึงมีขา่ วดี ส�ำนักพิมพ์แจ้งว่านวนิยายของเขา ขายไปได้แล้ว 17,000 เล่ม และก�ำลังพิมพ์ครั้งที่สอง เขาฟังแล้วไม่รู้สึก ตื่นเต้น เพราะ 17,000 เล่มนั้น นิดเดียว ขณะที่รายการโทรทัศน์ของเขามี

270 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

คนดูสัปดาห์ละ 20 ล้าน ที่ซิดนีย์รู้สึกดีก็คือ ค�ำวิจารณ์ต่างๆ ออกมาชื่นชมมาก และปลายปี นั้นเขาก็ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลเอดการ์ แอลแลน โป เหนืออื่นใด คือเขาพบ “อิสรภาพ” ในการเป็นนักประพันธ์นวนิยาย เพราะสามารถท�ำงาน ได้โดยอิสระอย่างแท้จริง ไม่เหมือนงานละคร ภาพยนตร์ หรือโทรทัศน์ ซึ่ง ต้องท�ำเป็นทีมร่วมกับหลายฝ่าย หลายคน ซิดนียจ์ งึ เริม่ นวนิยายเรือ่ งทีส่ อง คือ “อีกด้านของเทีย่ งคืน” (The Other Side of Midnight) ซึง่ ประสบความส�ำเร็จ อย่างมาก ติดอันดับหนังสือขายดีทสี่ ดุ ของนิวยอร์คไทม์ยาวนานถึง 52 สัปดาห์ นวนิยายเรือ่ งต่อมาก็ลว้ นประสบผลส�ำเร็จ และเป็นทีน่ ยิ มทัง้ ในสหรัฐ และทั่วโลก งานของเขามีขายใน 180 ประเทศ แปลเป็นภาษาต่างๆ 51 ภาษา ขายไปแล้วกว่า 500 ล้านเล่ม

บั้นปลายชีวิต จอร์จาเสียชีวิตจากหัวใจวายเมื่อ พ.ศ. 2528 เวลานั้นซิดนีย์อายุได้ 68 ปีแล้ว สามปีตอ่ มาเขาพบรักใหม่และแต่งงานกับอเลกซานดรา คอสตอฟฟ์ ทีเ่ คยเป็นดารานักแสดงเด็ก ลูกสาวของเขาเป็นนักเขียน เมื่อเขาอายุได้ 89 ลูกสาวมีนวนิยายพิมพ์จำ� หน่ายแล้ว 10 เล่ม หลานสาวก็เขียนนวนิยายพิมพ์

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 271

ขายได้เมื่ออายุเพียง 16 ปี ซิดนียก์ ล่าวสัน้ ๆ ถึงพ่อกับแม่ ขอบคุณพ่อที่โน้มน้าวเขาให้พลิกหน้า กระดาษชีวติ ของเขาต่อไป ขอบคุณแม่ทมี่ ศี รัทธาในตัวเขาอย่างไม่เคยคลอน แคลนเลย ซิดนีย์ เคยกล่าวถึงเรือ่ งพ่อแม่ทะเลาะกันว่า ภาพทีเ่ ห็นจ�ำเจและ ท�ำให้รู้สึกขมขื่นอย่างยิ่งนั้นท�ำให้ตลอดชีวิตของเขาไม่ชอบทะเลาะกับใคร ซิดนีย์จากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 สิริอายุรวมได้ 89 ปี 11 เดือน 18 วัน บทส่งท้าย ซิดนีย์ เชลดอน เกิดมาในครอบครัวยากจน พ่อแม่ทะเลาะกันรุนแรง เป็นประจ�ำ พ่อไม่สนใจเรื่องการศึกษา และไม่ต้องการให้เขา “หมกมุ่น” กับ หนังสือ เขายากจนถึงขั้นต้องจ�ำใจลาออกจากมหาวิทยาลัยหลังจากได้ทุน เข้าเรียนได้ช่วงสั้นๆ เท่านั้น ในด้านสุขภาพเขามีปัญหาทั้งทางร่างกายและ จิตใจ ทางร่างกายมีปัญหาหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ท�ำให้เขาต้องมี สภาพเหมือนคนพิการเป็นครั้งคราว โชคดีที่เขาพบแพทย์ที่แนะน�ำวิธีการ รักษาอย่างถูกต้องให้แก่เขา คือให้นอนคว�่ำนิ่งๆ บนเตียง ให้หมอนรอง กระดูกเคลือ่ นกลับเข้าที่ ซึง่ แต่ละครัง้ ใช้เวลาสามวัน อาการมักเกิดเวลาเขา

272 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ก้มหยิบของผิดท่า และท�ำให้เขาต้อง “เว้นวรรค” ท�ำงานชั่วคราว ในทาง จิตใจ เขามีปัญหาทางจิตเป็นโรค “อารมณ์แปรปรวน” ถึงขั้นลงมือฆ่าตัว เมื่ออายุ 17 ปี เขารอดตายมาได้เพราะ “เหตุบังเอิญ” พ่อกลับมาพบ และ เปลี่ยนใจเขาได้ หลังจากนั้น เขาต้องประสบอุปสรรคขวากหนามมากมาย ล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เขาก็รอดปากเหยี่ยวปากกามาได้ และประสบ ความส�ำเร็จในชีวิตอย่างรุ่งโรจน์ แต่ชีวิตก็ผกผัน จนคิดฆ่าตัวตายอีกครั้ง แต่เพราะเขารักภรรยาและลูกมากเกินกว่าจะทิง้ ไปได้ ท�ำให้เขารอดพ้นวิกฤต มาได้อีกครั้งจนมาเป็นนักประพันธ์ที่ประสบความส�ำเร็จอย่างมาก นี่แหละหนาที่ท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ กวีศรีอยุธยา ได้รจนาบทกวี ไว้บทหนึ่งว่า น�้ำเน่าขังท่อข้าง ถนน มันย่อมเป็นเมฆฝน แห่งฟ้า ถึงต�่ำแต่หมายผล อันเลิศ เพียงเปรื่องปราชญ์มิช้า ช่วยขึ้นภูมิสรวง

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 273

“ ซิดนีย์กล่าวสั้นๆ

ถึงพ่อกับแม่ ขอบคุณพ่อ ที่โน้มน้าวเขา ให้พลิกหน้ากระดาษชีวิต ของเขาต่อไป ขอบคุณแม่ ที่มีศรัทธาในตัวเขา อย่างไม่เคยคลอนแคลนเลย



274 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 275

ชุดประดาน�้ำและผีเสื้อ

le Papillon et re nd ha ap Sc e L าก ลจ วัลยา วิวัฒน์ศร แป ของ ฌ็อง-โดมินิก โบบี้ (Jean-Dominique Bauby)

หนังสือเล่มนี้เป็นงานวรรณกรรมเล่มเล็กๆ เนื้อหาจริงๆ มีความยาว เพียง 224 หน้า แต่มีความยิ่งใหญ่หลายประการ ประการแรก เป็นงานเขียนของอดีตบรรณาธิการนิตยสาร ELLE ซึง่ มีชื่อเสียงของฝรั่งเศส เขียนขึ้นขณะป่วยเป็นอัมพาตทั้งตัว ที่เรียกว่า Locked-in syndrome ตัวย่อคือ LIS ทั้งร่างกายขยับได้เพียงการยกเปลือก ตาข้างซ้าย - ด้วยความยากล�ำบากเท่านั้น แต่สมองยังเป็นปกติดี

276 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

โดยล�ำพังตัวเองแล้ว ผู้เขียนย่อมไม่สามารถเขียนหนังสือเล่มนี้ออก มาได้ เพราะแม้แต่ชว่ ยตัวเองเพือ่ ให้มชี วี ติ รอดก็ทำ� ไม่ได้แล้ว แต่งานนีส้ ำ� เร็จ ลงได้ ด ้ ว ยความรั ก และความพยายามของทั้ ง ผู ้ เ ขี ย นและผู ้ ช ่ ว ย คื อ โกล๊ด มองติบิล (Claude Mendibil) บรรณาธิการต้นฉบับอิสระ จากส�ำนัก พิมพ์โรแบร๎ต์ ลัฟฟงต์ ซึ่งได้ท�ำงานร่วมกับโบบี้นานสองเดือนเต็ม ระหว่าง กรกฎาคม–สิงหาคม พ.ศ. 2539 ณ โรงพยาบาลริมทะเลเมืองแบร๎ก - ปลาซ ทางเหนื อ ของฝรั่ ง เศสและร่ ว มตรวจ แก้ ไ ขอี ก สองสั ป ดาห์ ในเดื อ น พฤศจิกายนปีเดียวกัน โกล๊ดใช้วิธีท่องตัวอักษรซึ่งเรียงล�ำดับตามความถี่ในการใช้ภาษา ฝรั่งเศส E S A R I N T U L O M D P C F B V H G J Q Z Y X K W เมื่อ ถึงตัวอักษรทีต่ อ้ งการโบบีจ้ ะเลิกเปลือกตาซ้ายซึง่ เป็นอวัยวะส่วนเดียวทีเ่ ขา สามารถขยับเขยื้อนได้ โบบี้จะต้องแต่งเรื่องราวไว้ล่วง หน้า จดจ�ำไว้ แล้วคอยมาเลือกอักษร ทีละตัว เพือ่ ประกอบเป็นค�ำ รวมเป็น ประโยค ย่อหน้า บท และจนจบเป็น เล่ ม งานนี้ จึ ง ต้ อ งใช้ ความเพี ย ร พยายามอย่างยิ่ง ทั้งผู้เขียนและ

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 277

ผู้ช่วยที่สามารถดึงศักยภาพของบุคคลที่แม้เป็นอัมพาตทั้งตัว สร้างงาน วรรณกรรมทีม่ คี ณ ุ ค่าออกมาได้ แม้ปว่ ยด้วยโรคร้ายถึงเพียงนี้ นอกจากงาน เขียนชิ้นนี้แล้ว โบบี้ยังได้จัดตั้งสมาคมผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัวเพื่อช่วยเหลือ ผูป้ ว่ ยให้ดำ� รงชีวติ อยูไ่ ด้ในฐานะ “คน” คนหนึง่ ในสังคม สามารถติดต่อสือ่ สาร กับผู้อื่นผ่านคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานด้วยสายตา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ใน การฟืน้ ฟูทางกายภาพ และมีสว่ นร่วมจัดท�ำวารสารเชิงศิลปะและวัฒนธรรม สมาคมนี้ยังคงด�ำเนินงานต่อไป ถึงแม้โบบี้จะจากโลกนี้ไปแล้วก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ป่วย อานน์ มารี (Anne Marie Pérrier) ผู้อ�ำนวย การบริหารของนิตยสาร ELLE ให้ตพี มิ พ์ชอื่ ของฌ็อง-โดมินกิ โบบี้ ในฐานะ บรรณาธิการบริหาร และหวังว่าเขาจะสามารถส่งบทความลงในนิตยสารได้ โบบี้ จากโลกนี้ไปหลังป่วยเป็นอัมพาตทั้งตัวได้ 5 เดือน เขาจากโลก นี้ไปเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2540 หลังจากหนังสือ “ชุดประดาน�้ำและ ผีเสื้อ” ภาคภาษาฝรั่งเศส วางตลาดได้ 3 วัน ประการที่สอง เรื่องราวในงานวรรณกรรมชิ้นนี้ เป็นเรื่องราวของ บุคคลที่เป็นอัมพาตทั้งตัว แต่มันสมองยังดี ท�ำให้ยังมีความคิดเช่นคนปกติ คือยังมีความคิดทีเ่ ป็นอิสระ ร่างกายจึงเสมือนถูกรัดรึงด้วยชุดประดาน�ำ้ แต่ จิตใจยังโบยบินไปได้ประดุจผีเสือ้ และได้เล่าเรือ่ งทัง้ ทีเ่ กีย่ วกับความเจ็บป่วย

278 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

ของตนเอง การดูแลรักษาพยาบาลของแพทย์ พยาบาล และนักสัทบ�ำบัด – ที่ใช้ความเพียรพยายามฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาพูดได้อีก – คือ ซองดรีน ฟิชชู (Sendrine Fichou) ซึ่งผู้เขียนถือเป็น “แม่ทูนหัว” รวมทั้ง เรื่องราวความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะลูกชายลูกสาวรวม สองคนของผู้เขียน ที่ได้ “โอบศีรษะของผมไว้ระหว่างแขนเปลือยเปล่าของ แก จูบหน้าผากผมเสียงดังหลายฟอด และร้องซ�้ำซากดังถูกเวทย์มนต์ ‘นี่พ่อของหนู นี่พ่อของหนู’ วันนี้ เราฉลองวันพ่อกัน ก่อนเกิด ‘อุบัติเหตุ’ เราพ่อลูกไม่เห็นว่าจ�ำเป็นจะต้อง มาพบกัน ตามวันในปฏิทินสายสัมพันธ์ แต่ครั้งนี้เราใช้เวลาร่วมกันในวันแห่งสัญลักษณ์นี้ แน่ละ เพื่อยืนยันว่า โครง ร่างหรือเพียงเงา หรือแม้ส่วนหนึ่งของพ่อก็ยังเป็นพ่ออยู่” นอกจากนี้ยังเล่าเรื่องการเขียนหนังสือเล่มนี้ด้วย ในฐานะบรรณาธิการมืออาชีพ ของนิตยสารชื่อดังอย่างนิตยสาร ELLE ผู้เขียนย่อมมีความรู้ความ สามารถและประสบการณ์สูง ทั้งจากการ อ่านและการเขียน งานเขียนชิน้ นีจ้ งึ มีคณ ุ ค่าทัง้ สาระและศิลปะการประพันธ์ ผสมผสานการเล่าเรื่องราว ที่สอดแทรกทั้งทัศนวิจารณ์ และอารมณ์ขัน แม้ จากสภาพร่างกายที่ พิการขัน้ ทุพพลภาพ งานนีจ้ งึ มีความยิง่ ใหญ่อกี ประการ หนึ่งในด้านคุณค่าของวรรณกรรม

10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ 279

ประการทีส่ าม ผูแ้ ปลหนังสือเล่มนี้ เป็นนักวิชาการ ซึง่ เป็นนักแปล มือเยี่ยมของโลกวรรณกรรมในประเทศไทย มีงานแปลคุณภาพสูงมาแล้ว หลายเล่ม โดยเฉพาะจากงานวรรณกรรมฝรัง่ เศส เช่นงานของ ออนอเร่ บัลซัค นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส ผู้ได้รับสมญาว่า “นโปเลียนแห่งอาณาจักร วรรณกรรม” งานหลายเล่ม ของวอลแตร์ และอังเดร มาลโรซ์ เป็นต้น งาน ชิ้นนี้ ผู้แปลแปลด้วยความรัก และศรัทธาอย่างยิ่งต่อผู้เขียน และประทับใจ ในเรื่องราวความเป็นมาของงานชิ้นนี้ ตั้งแต่ก่อนที่จะได้เห็นงานชิ้นนี้ และ ปรารถนาจะแปล ด้วย “หวังให้งานประพันธ์ของเขาเป็นตัวอย่างแก่บุคคล ทั่วไป ทั้งผู้ที่ร่างกายสมบูรณ์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ทุพพลภาพ” ผู้แปลมีโอกาสได้ไปเยือนสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มนี้ โดย เฉพาะโรงพยาบาลริมทะเลทีผ่ เู้ ขียนพ�ำนักอยูต่ ลอดช่วงสุดท้ายของชีวติ ได้ พบปะสัมภาษณ์ผเู้ กีย่ วข้อง โดยเฉพาะโกล๊ด ม็องดิบลิ ซองดรีน ฟิชชู และ มาดามโอดีล ผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาล ท�ำให้ผแู้ ปลได้รบั รูเ้ รือ่ งราวเพิม่ เติม เกี่ยวกับงานวรรณกรรมชิ้นนี้อีกเป็นอันมาก โดยเฉพาะ ได้ตระหนักอย่าง ชัดเจนว่า หนังสือเล่มนี้ “เป็นตัวอย่างและเป็นก�ำลังใจดียิ่งแก่ผู้ป่วยอัมพาต อีกทั้งเป็นเครื่องเตือนใจแก่ฝ่ายรักษาพยาบาล ซึ่งบางครั้งหลงลืมไปว่าคน ป่วยที่ขยับเขยื้อนไม่ได้พูดไม่ได้นั้นยังคงเป็น “คน” อยู่”

280 10ชีวิต 10แรงบันดาลใจ

สุดท้าย ผูแ้ ปลยังมีโอกาสไปยังหลุมศพของโบบี้ในสุสาน แปร์ ลาแชส ในกรุงปารีส ผู้แปลได้บันทึกไว้ว่า “โกล๊ดกล่าวว่า การได้ท�ำงานเขียนกับโบบี้นั้นนับเป็น ‘ประสบการณ์ วิเศษสุด’ ส�ำหรับเธอ ซองดรีน บอกว่า การได้ท�ำงานด้านออกเสียงกับโบบี้เป็น ‘โอกาสที่ ไม่เคยมีมาก่อน’ ส�ำหรับผู้แปล การแปลเรื่องนี้เป็นประสบการณ์วิเศษสุด และโอกาส ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นความผาสุกและความสุขเกินค�ำบรรยาย หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่นักอ่านทั้งหลายไม่ควรพลาด และ ส�ำนักพิมพ์ก็ควรพิมพ์หนังสือเล่มนี้ให้ผู้อ่านหาซื้อได้โดยต่อเนื่อง หนังสือ ดีๆ เช่นนี้ ไม่ควรให้หมดไปจากท้องตลาด