การจัดการศึกษา ในสถานการณ์ COVID-19 ของนานาประเทศ

...
Author: |
23 downloads 111 Views 277KB Size
การจัดการศึกษาในสถานการณ์ COVID-19 ของนานาประเทศ ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ที่แพร่ระบาดไปยังทุกประเทศทั่วโลก และคาดว่าน่าจะมี ผลกระทบไปอีก 1-2 ปี กว่าจะคลี่คลายลง ความยาวนานของปัญหาจะไม่เพียงแต่เกิดกับด้าน สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คน หากแต่ยังกระทบไปถึงชีวิตความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งการศึกษา ด้วย ในห้วงเวลาของการเกิดปัญหา ประเทศต่างๆ จัดการศ ึกษากันอย่างไร เป็นประเด็นที่ต้อง ช่วยกันหาคำตอบ เพราะนี่คือสถานการณ์ที่ไม่มีชาติใดเคยประสบ ไม่เคยมีสูตรสำเร็จในการ บริหารจัดการ ไม่รู้วันเวลาของการสิ้นสุด ปัญหาจบแล้วอาจเกิดการระบาดขึ้นใหม่ได้ รวมทั้ง บริบทที่แตกต่างกันออกไปของแต่ ละประเทศ วิธีการจัดการศึกษาจึงอาจต้องมีความหลากหลาย สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาโดยยึดเอาสุขภาพอนามัยของเด็กและประสิทธิภาพการจัด การศึกษา เป็นหลักในการจัดการ และนี่คือตัวอย่างรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ ที่พอจะมีข้อมูล เผยแพร่ อันน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป ประเทศไทย ประกาศปรับเปลี่ยนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2563 จาก 16 พฤษภาคม เป็น 1 กรกฎาคม ใช้รูปแบบการศึกษาออนไลน์หรือการศึกษาทางไกล สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเปิดโทรทัศน์เพื่อการศึกษา 15 ช่อง สำหรับอนุบาลถึง ม.6 รวม 13 ช่อง และ กศน. กับ อาชีวศึกษาอีก 2 ช่อง มีการสนับสนุนวิธีการสอนออนไลน์และสร้างคลังความรู้ หรือ Content ให้บริการโรงเรียนนำไปใช้ฟรี ในขณะที่อาชีวศึกษาใช้ระบบออนไลน์เข้ามาสนับสนุนการสอน ในระบบปกติ โดยเรียนออนไลน์ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติในสัดส่วนที่แตกต่างกันแต่ละสาขาวิชา มี ก ารใช้ ส ื ่ อ ออนไลน์ รวมทั ้ ง หนั ง สื อ เรี ย นเพื ่ อ ประกอบการศึ ก ษา สำหรั บ ในมหาวิ ท ยาลั ย มี ก ารนำระบบออนไลน์ ม าใช้ ท ดแทนการศึ ก ษาในระบบปกติ โดยใช้ Application ต่ า งๆ มาเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนและการสื่อสารระหว่างครูและผู้เรียน ระบบต่ างๆ อยู ่ ในระหว่ างดำเนิ น การ ทดลองใช้ พั ฒ นา ฝึ ก อบรมผู ้ ส อน และสร้ าง เครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การทดแทนการสอนในชั้นเรียน ทั้งนี้ ด้วยความหวังว่าจะสามารถ ใช้ระบบอนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และถ้าหากสถานการณื COVID-19 จบลง ระบบนี้ก็ จะกลายเป็นระบบเสริมที่ทำให้ช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาไปในตัว

2

สำหรับในประเทศต่างๆ ทั่วโลกข้อมูลของ Unesco ณ วันที่ 13 เมษายน 2563 แสดงให้ เห็นว่า ขณะนี้กว่า 192 ประเทศ ได้มีมาตรการสั่งปิดโรงเรี ยนในสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 โดยมีผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 1,576,615,423 คน คิดเป็นร้อยละ 91.4 ของ นักเรียนที่ลงทะเบียนเรียน ทุกระดับตั้งแต่อนุบาลถึงอุดมศึกษา ซึ่งการปิดโรงเรียนจะแบ่งเป็น การปิดโรงเรียนทั่วประเทศ และการปิดโรงเรียนในรายพื้ นที่ โดยพิจารณาจากการแพร่กระจาย ของไวรัสในแต่ละพื้นที่ ส่วนประเทศที่ยังคงเปิดการเรียนการสอนตามปกติที่มีข้อมูลชัดเจน ได้แก่ สาธารณรัฐนิการากัว สาธารณรัฐเบลารุส สาธารณรัฐเติร์กเมนิสถาน และสาธารณรัฐทาจิกิสถาน

ที่มา: https://en.unesco.org/covid19/educationresponse

หากจะลองเจาะลึกในบางประเทศที่มีข้อมูลและพอเป็นตัวอย่างมีดังต่อไปนี้ ไต้หวัน เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับการชื่นชมว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของ covid-19 ได้เป็น อย่างดี โดยได้ขยายระยะเวลาปิดเทอมฤดูหนาว 2 สัปดาห์ และกลับมาเปิดการเรียนการสอน ปกติตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 โดยโรงเรียนมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสที่ เข้มงวด นักเรียนและผู้ปกครองต้องผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อที่มือและรองเท้า และวัดอุณหภูมิร่างกายก่อน เข้าบริเวณโรงเรียน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา อีกทั้งนักเรียนจะมีฉากกั้นในเวลาอาหาร กลางวัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสขณะรับประทานอาหารและต้องถอดหน้ากาก อนามัย โรงเรียนสอนเสริมถึงการป้องกันเชื้อไวรัส และขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการวั ด อุณหภูมิร่างกายของนักเรียน และรายงานมายังโรงเรียนทุกวัน

3

ญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงขอความร่วมมือให้โรงเรีย นปิดเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาทั่วประเทศชั่วคราวจนถึงสิ้นสุดช่วงปิดเทอมฤดูใบไม้ผลิ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึง 6 เมษายน 2563 เพื่อจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด ซึ่งจากข้อมูลของ UNESCO จะมีผู้เรียนจำนวนกว่า 20,349,962 คน ที่ได้รับผลกระทบ โรงเรียนหลายแห่งยกเลิกพิธีสำเร็จการศึกษา ส่วนโรงเรียนที่จำเป็นต้องจัดพิธีตามเดิม จะต้องลดขนาดของงานและจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงาน รัฐบาลประกาศให้โรงเรียนเปิดเรียนได้ตามปกติในเดือนเมษายนนี้ แต่ยังต้องเฝ้าระวังอย่าง เข้มงวด โดยนักเรียนและครูจะต้องวัดอุณหภูมิร่างกายทุกวัน สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้ สะอาด เว้นระยะห่างทางสังคมในทุกกิจกรรม และโรงเรียนจะต้องทำความสะอาดสถานที่ให้ สะอาดเสมอ อีกทั้งต้องมีมาตรการรองรับการเรียนที่บ้าน เผื่อในกรณีที่มีนั กเรียนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และไม่สามารถเข้าเรียนตามปกติได้ โดย โรงเรียนในประเทศญี่ปุ่นเริ่มตื่นตัวในการจัดการศึกษา ทางไกล และต้องเตรียมพร้อมระบบและเทคโนโลยี เช่น online classroom, video conference เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีการเปลี่ยนแปลงการเปิดภาคเรียนใหม่ด้วยสถานการณ์ของโรคที่ กลับมารุนแรงอีกครั้ง ซึ่งจำเป็นต้องติดตามข่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป อังกฤษ รัฐบาลอังกฤษประกาศปิดโรงเรียนทั่วประเทศจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2563 ซึ่งจากข้อมูล UNESCO จะมีผู้เรียนจำนวนกว่า 15,401,609 คน ที่ได้รับ ผลกระทบ สถานดูแลเด็กจะยังคงเปิดเพื่อให้บริการแก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรืออาชีพที่จำเป็นต้อง ปฏิบัติงาน และโรงเรียนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษและบุคคลพิการจะยังคงให้การดูแล นักเรียน ในกรณีที่ผู้ผู้ปกครองยังไม่พร้อมรับนักเรียนกลับบ้าน โรงเรียนยกเลิกการสอบและการจัดกิจกรรมทั้งหมด และเตรียมบทเรียนออนไลน์เพื่อให้ นักเรียนสามารถเรียนได้จากที่บ้าน โดยโรงเรียนบางแห่งจัดการอบรมให้แก่ครูและเจ้าหน้าที่ เพื่อให้สามารถจัดการสอนออนไลน์ได้ และจะจัดส่งแบบฝึกหัดไปให้นักเรียนที่บ้าน ในเรื่องสวัสดิการอาหารฟรีของนักเรียน ให้โรงเรียนพิจารณาจัดส่งอาหารให้นักเรียนที่บ้าน หรือเลือกแนวทางอื่นที่เหมาะสม เช่น voucher แทนเงินสด มหาวิทยาลัยมีอำนาจพิจารณาปิดเรียนได้ตามสถานการณ์ อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยส่วน ใหญ่มีความพร้ อมในเรื ่อ งการจัดการศึ กษาออนไลน์อ ยู ่แล้ ว เช่น สื่อการสอน ระบบส่ ง งาน ระบบวัดผลการเรียน เป็นต้น การปิดโรงเรียนส่งผลให้ความนิยมของติวเตอร์ออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ www.bitpaper.io มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า 6 เท่า จาก 5,000 คน เป็น 32,000 คน

4

สาธารณรัฐประชาชนจีน วั น ที ่ 2 กุ ม ภาพั น ธ์ 2563 โรงเรี ย นระดั บ ประถมและมั ธ ยมของจี น เปิ ด เทอม โดยปรับรูปแบบการเรียนเป็นระบบออนไลน์แทนการเข้าเรียนที่โรงเรียนทั่วประเทศ มีผู้เรียน ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 278,436,084 คน ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของจีนเตรียมความพร้อม ล่วงหน้ากว่า 2 สัปดาห์ จัดประชุมทางไกล (Teleconference) ร่วมกับผู้บริหารของโรงเรียนต่างๆ ผู้ให้บริการด้านหลักสูตรออนไลน์และแพลตฟอร์มออนไลน์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และภาคส่วน ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนดำเนินการ กระทรวงศึกษาธิการร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเตรียม ความพร้อมในการจัดการศึกษาออนไลน์ในด้านต่างๆ อาทิ • ขอความร่วมมือจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมในการเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อ สัญญาณอินเทอร์เน็ต • รวบรวมและจัดหาหลักสูตรออนไลน์ มีหลักสูตรออนไลน์สำหรับนักศึกษามากกว่า 24,000 หลักสูตร และแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับ นักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จำนวน 22 แพลตฟอร์ม ซึ่งส่วนใหญ่ควบคุมโดยระบบ AI • ให้คำแนะนำโรงเรียนและครูในการเลือกใช้ช่องทางที่เหมาะสมกับความพร้อมด้าน ICT ของแต่ละพื้นที่ และให้คำแนะนำครูเรื่องแนวทางในการจัดการเรียนการสอน ผ่านการไลฟ์สด (live-streaming) และระบบ MOOCs ความท้าทายในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของจีน คือ ครูยังมีประสบการณ์หรือ ได้รับการอบรมเรื่องการสอนออนไลน์ไม่เพียงพอ เนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลาในการเตรียมความพร้อม และบางรายวิชายากที่จะสอนผ่านระบบทางไกล เช่น วิชาดนตรี การทดลองวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่สามารถจัดสอบได้ตามปกติ การให้คะแนนจึงจะเน้นที่ การมีส่วนร่วมในการ อภิ ป รายในชั ้ น เรี ย นผ่ านระบบ Video Conference แต่ ห ากสั ญ ญาณอิ น เทอร์ เน็ ตไม่ เสถี ยร นักเรียนก็สามารถดาวน์โหลดไฟล์เสียงและแบบทดสอบมาทำได้ ในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีความพร้อมด้านระบบอินเทอร์เน็ต นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ ่ าน รายการโทรทัศน์ ซึ่งออกอากาศทุกวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 8.00 – 22.00 น. เริ่มออกอากาศตั้งแต่ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 โดยเนื้อหาครอบคลุมรายวิชาหลักทุกวิชา

5

สาธารณรัฐสิงคโปร์ ในเดือนเมษายน สิงคโปร์ได้เตรียมความพร้อมในการเรียนแบบการศึกษาทางเลือก หรือ Home-based Learning (HBL) โดยโรงเรี ย นระด ั บ ประถมศึ ก ษ า มั ธ ยมศึ ก ษา และ สถาบันการศึกษาจะต้องทดลองเรียนแบบ HBL 1 วันต่อสัปดาห์ สิงค์โปร์ปรับมาใช้การศึกษาทางเลือก HBL อย่างเต็มรูปแบบ ในระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา รวมถึงการศึกษาพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน ถึง 4 พฤษภาคม 2563 โดยใช้ ร ะบบ Video Conference ผ่ า นโปรแกรม Zoom และ Google Meet เป็ น หลั ก หรือครูสามารถเลือกใช้ช่อ งทางอื่นที่ เหมาะสมได้ เช่น Facebook Live และ Cisco WebEx ซึ่งครูจะได้รับคำแนะนำขั้นตอนต่างๆ ก่อนเข้าใช้ระบบจากกระทรวงศึกษาธิการของสิงคโปร์ เช่น การระบุตัวตนของนักเรียนก่อนอนุญาตให้เข้าร่วมห้องเรียนออนไลน์ โรงเรียนจะเป็นผู้ออกแบบและจัดทำแผน HBL ที่เหมาะสมแก่นักเรียนและแต่ละวิช า รวมถึงการบ้านและแบบทดสอบ หรือโรงเรียนอาจเลือกใช้งาน “Singapore Student Learning Space (SLS)” ซึ่งเป็น Online Platform สำหรับช่วยเหลือนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ รวบรวมหลักสูตรและเครื่องมือทางการศึกษา โดยครูสามารถติดตามความก้าวหน้าในการเรียน ของนักเรียนและส่งงานผ่าน SLS ได้ นี่เป็นตัวอย่างการปรับรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆ ที่แม้จะไม่ ละเอียดครบถ้วนทุกประเด็น แต่ได้เห็นทิศทางที่แต่ละประเทศนำไปใช้ และจะสามารถนำบาง แนวทางมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราได้ รวมทั้งจะเป็นคำตอบสำหรับคนในโลกนี้ด้วยว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมนุษย์ไม่เคยยอมแพ้ พร้อมที่จะต่อสู้ปรับตัว และค้นหาวิธีการหรือนวัตกรรมมาใช้เพื่อความอยู่รอด และเราอาจจะพบ นวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการศึกษาหลังจบสถานการณ์ไวรัสนี้ได้เช่นเดียวกัน

ดร.กมล รอดคล้าย วรรณธิรา น้อยศิริ