การพัฒนากรอบความคิด Growth Mindset

...
104 downloads 104 Views 5MB Size
GROWTH MINDSET

การพัฒนากรอบความคิด

จัดทำ�โดย ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ

www.cepthailand.org

การพัฒนากรอบความคิด

Growth Mindset GROWTH MINDSET ¡ÒþѲ¹Ò¡Ãͺ¤ÇÒÁ¤Ô´

Growth Mindset หน้า   บทนำ�   2   รู้จัก Mindset   4   ฉันมี Mindset แบบไหน?  10   เปลี่ยนตัวเองให้มี Growth Mindset  16   การปลูกฝัง Growth Mindset ให้เด็กๆ  20   บทสรุป  38

บทนำ� Carol Dweck นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ศึกษาปัจจัยด้านจิตวิทยาที่ มีผลต่อความสำ�เร็จและพบว่า Mindset เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ส่งผลต่อ ความสำ�เร็จเป็นอย่างมาก

แนวคิดเรือ่ ง Mindset ได้รบั ความนิยมไปทัว่ โลก ถูกใช้ในการพัฒนา

ในระดับบุคคลและในระดับองค์กร ทั้งในด้านการศึกษา การกีฬา รวมถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ

Mindset คื อ สิ่ ง ที่ ทุ ก คนมี ติ ด ตั ว (แต่ อ าจไม่ รู้ ตั ว ) การเปลี่ ย น Mindset จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อชีวิตได้ในหลายๆ ด้าน

Fixed Mindset

Growth Mindset

ฉลาด

พยายาม

เก่ง

เรียนรู้

ดี

พัฒนา

รู้จัก Mindset Mindset คือ มุมมอง ความเชื่อ ของบุคคลที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ทั้งในด้านความคิด เจตคติ และพฤติกรรม Carol Dweck พบว่า Mindset สามารถแบ่งบุคคลได้เป็น 2 ประเภท คือ คนที่มี Growth Mindset หรือ Learning Mindset

•  เชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ •  มองอุปสรรคและความผิดพลาดคือโอกาสในการเรียนรู้ •  ให้คุณค่ากับความตั้งใจและความพยายาม คนที่มี Fixed Mindset

•  เชื่ อ ว่ า ไม่ ส ามารถเปลี่ ย นแปลงความฉลาดหรื อ ความ สามารถได้

•  มองว่าความผิดพลาดคือความล้มเหลว •  ให้คุณค่ากับคุณสมบัติ ภาพลักษณ์ เช่น ฉลาด เก่ง

การพัฒนากรอบความคิด | 4

Mindset เปรียบเสมือนเลนส์ การมองโลกผ่านเลนส์ที่ต่างกัน ทำ�ให้ เราเห็ น โลกแตกต่ า งกั น เช่ น เมื่ อ พบกั บ ความผิ ด พลาด คนที่ ส วมเลนส์ Growth Mindset จะเห็ น โอกาสในการเรี ย นรู้ จ ากความผิ ด พลาดและ พยายามแก้ปัญหา แต่ในคนที่สวมเลนส์ Fixed Mindset จะเห็นว่าความ ผิ ด พลาดคื อ ความล้ ม เหลวของตนและพยายามเลี่ ย งที่ จ ะเผชิ ญ ปั ญ หา เพราะไม่เชื่อว่าความสามารถของตนเปลี่ยนแปลงได้ ดังรูปด้านล่าง

Growth Mindset

ฉันสอบตก!

(กรอบความคิดแบบเติบโต)

ฉั น ต้ อ ง พ ย า ย า ม ม า ก ขึ้ น ลองปรึกษาครูดีกว่า ว่าฉันทำ� ผิดตรงไหน จะได้แก้ถูก

ตู หมั่นเพียร

Fixed Mindset

ฉันโง่เกินกว่าจะเรียนวิชานี้ ครั้ ง หน้ า โดดเรี ย นดี ก ว่ า นั่งเรียนไปก็เสียเวลา

(กรอบความคิดแบบติด)

5 | การพัฒนากรอบความคิด

แล้ว Growth Mindset สำ�คัญอย่างไร? คนที่มี Growth Mindset มีแนวโน้มที่จะประสบความสำ�เร็จ มากกว่าคนที่มี Fixed Mindset Blackwell และ Dweck ในปี ค.ศ. 2007 ศึ ก ษาความสั ม พั น ธ์ ระหว่ างความเชื่อเกี่ยวกับ ความฉลาดและผลสั ม ฤทธิ์ ทางการเรี ยน ของนั ก เรี ย นในวิ ช าคณิ ต ศาสตร์ โดยให้ เ ด็ ก นั ก เรี ย นแรกเข้ า ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ทำ�แบบทดสอบเพื่อประเมินความเชื่อเกี่ยวกับความ ฉลาด เพื่อแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 : เชื่อว่าความ ฉลาดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Growth Mindset) และ กลุ่มที่ 2 : เชื่อ ว่าความฉลาดไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ (Fixed Mindset) จากนั้น ติดตามผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งสองกลุ่ม เป็นระยะ เวลา 2 ปี ตั้งแต่แรกเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนสิ้นสุดชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร ชั้น ม.1-ม.2

คะแนนวิชาคณิตศาสตร

จากผลงานวิจัยของ Blackwell, Dweck & Trzesniewski (2007)

78 77 76 75 74 73 72 71 70 69 68

เชื่อวาความฉลาด เปลี่ยนแปลงได

เชื่อวาความฉลาด ไมสามารถเปลี่ยนแปลงได

ม.1 เทอมตน

ม.1 เทอมปลาย

ม.2 เทอมตน

ม.2 เทอมปลาย

กราฟแสดงความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความเชื่ อ เกี่ ย วกั บ ความฉลาดและ คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จนสิ้นสุด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การพัฒนากรอบความคิด | 6

ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนในกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่มีความเชื่อแบบ Growth Mindset มีผลการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงมัธยมศึกษา ปีที่ 2 เทอมปลาย สูงกว่ากลุ่มที่มี Fixed Mindset อย่างมีนัยสำ�คัญ ทางสถิติ แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่มี Growth Mindset มีแนวโน้มที่จะ ประสบความสำ�เร็จทางการเรียนมากกว่านักเรียนที่มี Fixed Mindset นอกจากนี้ Dweck ได้นำ�แนวคิดเรื่อง Growth Mindset ไปใช้ใน อีกหลายเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนักเรียนในย่านชุมชนแออัด และใน ชนเผ่าพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกาซึ่งโดยทั่วไปจะมีผลการเรียนแย่กว่า นั ก เรี ย นในกลุ่ ม อื่ น ๆ โดยผลที่ อ อกมาก็ เ ป็ น ไปในทางเดี ย วกั น คื อ พบว่าการสร้าง Growth Mindset ในเด็กนักเรียน ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนดีขึ้น เด็กๆ สามารถทำ�คะแนนในการทดสอบระดับรัฐได้ สูงเป็นลำ�ดับต้นๆ จากที่เคยอยู่รั้งท้าย หลังจากที่ได้เรียนรู้และเข้าใจ ว่าความฉลาดเปลี่ยนแปลงได้ การเรียนรู้จากข้อผิดพลาดและการ ใช้ความพยายามจะช่วยพัฒนาความสามารถของตนได้

ฉันจะทำอะไรตอ ©Ñ¹·Óä´ŒáÅŒÇ (¶Ö§à»‡ÒËÁÒÂ) ©Ñ¹·Ó¾ÅÒ´µÃ§ä˹ áÅШÐá¡Œ¢ŒÍ¼Ô´¾ÅÒ´Í‹ҧäà ©Ñ¹Å§Á×Í·Ó

©Ñ¹àÃÕ¹ÃÙŒ áÅоѲ¹Òä´Œ ©Ñ¹â§‹ äÁ‹©ÅÒ´àËÁ×͹¤¹Í×è¹

©Ñ¹µŒÍ§·ÓÍ‹ҧäà ©Ñ¹ÍÂÒ¡¨Ð·Ó (໇ÒËÁÒÂ) ©Ñ¹äÁ‹ÍÂÒ¡·Ó (Fixed Mindset)

ความคิดของคนที่มี Growth Mindset

7 | การพัฒนากรอบความคิด

คนที่ มี Growth Mindset มี แ นวโน้ ม ที่ จ ะมี ก ารจั ด การทาง อารมณ์ที่ดีกว่าคนที่มี Fixed Mindset คนที่มี Growth Mindset เมื่อพบกับความ ผิ ด พลาด ผิ ด หวั ง ก็ อ าจมี อ ารมณ์ เ ศร้ า ได้ เหมื อ นกั บ คนที่ มี Fixed Mindset เพี ย งแต่ จะสามารถผ่ า นพ้ น จากความเศร้ า ได้ เร็ ว กว่ า เนื่องจากคนที่มี Growth Mindset จะพยายามเรียนรู้และตั้งใจ แก้ปัญหา ไม่มัวจมอยู่กับอารมณ์เศร้า ความผิดพลาดไม่ได้บอกว่า เขาไม่เก่ง หรือไม่ฉลาด เพียงแต่บอกว่าเขายังเรียนรูเ้ รือ่ งนัน้ ไม่ดพ ี อ

เมื่ อ พบกั บ ความผิ ด พลาด คนที่ มี Fixed Mindset จะมองในเชิ ง ตั ด สิ น ว่ า ความผิ ด พลาดคือความล้มเหลวของตน ตนไม่เก่งพอ จึงทำ�ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น ซึ่งความคิดว่าตนล้มเหลวหรือไม่เก่งนี้ เป็นความคิดที่ก่อให้เกิดอารมณ์เศร้า โดยคนที่มี Fixed Mindset ยัง มีความเชื่อที่ว่าตนเองไม่สามารถเก่งขึ้นได้ จึงไม่พยายามที่จะแก้ไข แต่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้ากับปัญหา เพราะการเผชิญ กั บ ปั ญ หาจะยิ่ ง เป็ น การตอกย้ำ � ว่ า ตนไม่ เ ก่ ง ปั ญ หาหรื อ ความ ผิดพลาดก็จะยังคงอยู่และกระตุ้นให้เกิดอารมณ์เศร้าหรือกังวลไป เรื่อยๆ

การพัฒนากรอบความคิด | 8

คนที่มี Fixed Mindset คือ คนที่ไม่มีความมั่นใจและไม่มีความสุขใช่ไหม?

คำ�ตอบคือ "ไม่ใช่" ในช่วงเวลาปกติคนที่มี Fixed Mindset อาจดูมีความ มั่นใจและมีความสุขดีเหมือนคนอื่นๆ กล้าพูด กล้าทำ� แต่ ค วามมั่ น ใจของคนที่ มี Fixed Mindset จะเป็ น ความมั่นใจที่เปราะบาง เมื่อพบกับปัญหาหรือความ ผิดพลาดในเรื่องใด ความมั่นใจในเรื่องนั้นๆ ก็จะหมดไป และทำ�ให้ทุกข์ทุกครั้งที่ต้องเผชิญกับเรื่องดังกล่าว

9 | การพัฒนากรอบความคิด

ฉันมี Mindset แบบไหน? ลองนึกภาพตัวเองได้รับมอบหมายงานที่ไม่ถนัด และคิดว่ายาก เกินความสามารถ แต่ต้องทำ�ตามหน้าที่

•  คุณคิดอย่างไร? •  คุณรู้สึกอย่างไร? •  คุณทำ�อย่างไร? หากคุณต้องทำ�งานดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเกิดข้อ ผิดพลาดมากมายจนถูกตำ�หนิ

•  คุณคิดอย่างไร? •  คุณรู้สึกอย่างไร? •  คุณทำ�อย่างไร? ในทางกลับกัน เมื่อคุณทำ�งานดังกล่าวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และผลงานออกมาดี อ ย่ า งไม่ น่ า เชื่ อ หั ว หน้ า ชื่ น ชมไม่ ข าดปาก และจะให้คุณทำ�งานเดิมต่อ คิด ?  •  คุณคิดอย่างไร? รู้สึก ?  •  คุณรู้สึกอย่างไร? ทำ� ?

•  คุณทำ�อย่างไร?

การพัฒนากรอบความคิด | 10

งานเป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถ  หรืองานช่วยให้คุณได้พัฒนาตนเอง? คนที่มี Fixed Mindset มองว่างานคือสิง่ ทีพ่ สิ จู น์ ความสามารถของตน

คนที่มี Growth Mindset มองหาโอกาสในการ พัฒนาตนเองจากงาน

• ความสำ�เร็จคือสิ่งที่พิสูจน์ว่า 

• ความสำ�เร็จคือ "การที่ฉันได้พยายาม

• ความผิ ด พลาดคื อ สิ่ ง ที่ บ อกว่ า

• ความผิดพลาดคือสิ่งที่บอกว่า "ฉันยัง

"ฉันเก่ง" "ฉันฉลาด" 

"ฉันโง่" "ฉันไม่มีความสามารถ"

เรียนในสิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเอง"

ต้องพยายามเพิ่มขึ้น และยังต้อง เรียนรู้อีกมาก"

11 | การพัฒนากรอบความคิด

ในเวลาปกติ อ าจแยกได้ ย ากว่ า ใครมี Mindset แบบใด แต่ เ มื่ อ พบกับอุปสรรค เรื่องที่ท้าทาย หรือความผิดพลาด คนที่มี Growth Mindset และ Fixed Mindset จะมีการตอบสนองต่างกัน ตัวอย่าง

•  ความคิดเมื่อได้รับมอบหมายงานที่มองว่ายากเกินความสามารถ

Fixed Mindset

Growth Mindset

"ตายแน่ ทำ�ไม่ได้แน่ๆ" 

"ฉันต้องรู้อะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้างเพื่อ จะได้ทำ�งานนี้ได้?"

"งานยากแบบนี้ ทำ�ไมไม่ให้ xx ทำ� นะ เขาเก่งกว่าฉันตั้งเยอะ"

"งานนี้ยาก ลองไปปรึกษา xx ดูดี กว่า เขาเคยทำ�มาก่อน"

"หั ว หน้ า ให้ ง านแบบนี้ แกล้ ง กั น แน่ๆ รู้อยู่ว่าฉันทำ�ไม่ได้" 

"งานยากแบบนี้ ต้ อ งให้ เวลากั บ งานมากขึ้ น หน่ อ ยช่ ว งนี้ ต้ อ ง พยายามให้มากขึ้น"

"งานบ้าอะไรก็ไม่รู้ ไร้สาระ ไว้เดี๋ยว ค่อยทำ�ดีกว่า เอาเวลาไปทำ�อย่าง อื่นดีกว่า"

"งานนี้น่าสนุก ดูยากทีเดียว น่าจะ ได้เรียนรู้อะไรมากขึ้นอีกเยอะเลย"

การพัฒนากรอบความคิด | 12

•  ความคิดเมื่อพบกับความผิดพลาด

Fixed Mindset

Growth Mindset

"ฉันมันโง่จริงๆ ไม่ได้เรื่องเลย"

ฉันพลาดตรงไหนนะ จะแก้ไขยังไงได้ บ้างเนี่ย?"

"หัวหน้าก็รู้อยู่แล้วว่าฉันทำ�ไม่ได้ ยัง จะให้งานแบบนี้อีก แกล้งกันชัดๆ"

"ลองไปปรึ ก ษาหั ว หน้ า กั บ xx ดู ดี กว่า ว่าจะแก้ไขยังไงดี เขาน่าจะให้คำ� แนะนำ�ได้"

"ถ้ า ฉั น เก่ ง แบบ xx ก็ ดี สิ คงทำ � งานนี้ได้สำ�เร็จ" 

"ฉั น ยั ง ทำ � งานนี้ ไ ม่ สำ � เร็ จ คงต้ อ ง พยายามมากขึ้ น ไปอี ก งานนี้ ย าก จริงๆ"

"งานงี่เง่า คนบ้าที่ไหนจะทำ�ได้"

"ฉันทำ�อะไรผิดไปบ้างนะ? ครั้งหน้า จะได้ปรับปรุง"

ลักษณะความคิดของคนที่มี Fixed Mindset ต้องเผชิญกับปัญหา และอุปสรรคมีได้หลายรูปแบบ เช่น คิดว่าตนทำ�ไม่ได้ ตนไม่เก่ง ตำ�หนิ ตนเอง โทษคนอื่น โทษตัวปัญหา โดยความคิดโทษคนอื่นหรือสิ่งอื่นนั้น เป็นวิธีหลีกเลี่ยงการเผชิญความคิดว่าตนเองทำ�ไม่ได้หรือไม่เก่งพอ เพราะความคิ ด ว่ า ตั ว เองไม่ เ ก่ ง ทำ � ให้ รู้ สึ ก แย่ ม ากกว่ า ความคิ ด ว่ า คนอื่ น ไม่ ดี ต่ า งจากคนที่ มี Growth Mindset เมื่ อ เจออุ ป สรรคหรื อ ความล้มเหลว จะมองหาวิธีจัดการกับอุปสรรคและปัญหา คิดเรียนรู้ และปรั บ ปรุ ง คิ ด ว่ า "ยั ง " ทำ � ไม่ ไ ด้ ใ นตอนนี้ เพราะเชื่ อ ว่ า ตนสามารถ เรียนรู้และพัฒนาได้ โดยอาศัยความอดทนและพยายาม คนที่มี Growth Mindset มั ก ไม่ คิ ด โทษคนอื่ น หรื อ สิ่ ง อื่ น แต่ ส นใจว่ า ตนจะแก้ ปั ญ หาได้ อย่างไรมากกว่า 13 | การพัฒนากรอบความคิด

ในช่วงเวลาที่มีอุปสรรค ความคิดแบบ Fixed Mindset จะก่อให้เกิด อารมณ์ด้านลบ เช่น ความคิด (Fixed Mindset)

อารมณ์

"ตายแน่ ทำ�ไม่ได้แน่ๆ"

กังวล

"งานยากแบบนี้ ทำ�ไมไม่ให้ xx ทำ�นะ เขาเก่งกว่าฉันตั้งเยอะ"

โกรธ 

"หัวหน้าให้งานแบบนี้ แกล้งกันแน่ๆ รู้อยู่ว่าฉันทำ�ไม่ได้"

โกรธ 

"งานบ้าอะไรก็ไม่รู้ ไร้สาระ ไว้เดี๋ยวค่อยทำ�ดีกว่า เอาเวลาไป ทำ�อย่างอื่นดีกว่า"

โกรธ 

"ฉันมันโง่จริงๆ ไม่ได้เรื่องเลย"

เศร้า 

"หัวหน้าก็รู้อยู่แล้วว่าฉันทำ�ไม่ได้ ยังจะให้งานแบบนี้อีก แกล้ง กันชัดๆ"

โกรธ 

"ถ้าฉันเก่งแบบ xx ก็ดีสิ คงทำ�งานนี้ได้สำ�เร็จ"

เศร้า 

"งานงี่เง่า คนบ้าที่ไหนจะทำ�ได้"

โกรธ

การพัฒนากรอบความคิด | 14

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าคนที่มี Growth Mindset เมื่อพบเจอปัญหาหรือ อุปสรรค ก็มีอารมณ์ด้านลบได้เหมือนๆ กับคนที่มี Fixed Mindset เพียงแต่คนที่มี Growth Mindset จะคิดต่อไปว่าจะทำ�อะไร สามารถ จัดการอุปสรรคได้อย่างไร ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากปัญหา ให้ความ สำ�คัญกับการแก้ปัญหาและการเรียนรู้ มากกว่าที่จะจมอยู่กับอารมณ์ ด้ า นลบ จนบางครั้ ง กลายเป็ น ความสนุ ก ในการแก้ ปั ญ หาและเรี ย นรู้ อีกด้วย แต่คนที่มี Fixed Mindset มักจะมีพฤติกรรมในการเลี่ยง ปัญหา เช่น โทษคนอื่นโทษสิ่งอื่น หนีปัญหา โดยที่จริงๆ แล้วคนที่มี Fixed Mindset นั้นก็อยากจะแก้ปัญหาไม่ต่างกัน เพียงแต่ความเชื่อที่ว่า ตนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทำ�ให้เขาไม่เชื่อว่าเขาจะแก้ปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม การมี Growth Mindset ไม่ได้การันตีผลของงาน หรือผลลัพธ์ของการแก้ปัญหา การทำ�งานหรือแก้ปัญหาได้สำ�เร็จนั้น ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่น เช่น ความรู้ เครื่องมือ เวลา ฯลฯ ซึ่งอาจกล่าว ได้ว่า Growth Mindset เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา แต่เราคง ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากไม่เริ่มต้น ก็คงไปไม่ถึงความสำ�เร็จเช่นกัน

15 | การพัฒนากรอบความคิด

เปลี่ยนตัวเองให้มี Growth Mindset • เราสามารถเปลี่ยนให้ตัวเองมี Growth Mindset ได้จริงหรือ?

คำ�ตอบคือ "ได้"

โดยต้องอาศัยความตั้งใจและพยายาม M i n d s e t คื อ สิ่ ง ที่ ทุ ก ค น มี เ มื่ อ พ บ กั บ สถานการณ์ที่ท้าทายหรืออุปสรรค Mindset ของ Fixed Growth เราจะทำ�งาน โดยที่เราไม่รู้ตัว ในคนทั่วไป Fixed Mindset ไม่ได้ถูกกระตุ้นทุกครั้งที่พบเจอปัญหา หรืออุปสรรค แต่อาจจะแสดงตัวกับปัญหาหรือ อุปสรรคบางเรื่อง เช่น กุ๊กไก่คิดว่าตนเองไม่มีหัวด้านคณิตศาสตร์ จึงพยายามหลีกเลี่ยงงานที่ ต้องใช้ตัวเลข แต่คิดว่าตนมีหัวด้านดนตรี ก็สนุกกับการเรียนรู้และฝึกฝนด้าน ดนตรีได้ แม้บางครั้งจะรู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามมากก็ตาม หากพิจารณา แค่ด้านดนตรี ดูเหมือนกุ๊กไก่มี Growth Mindset แต่จริงๆ แล้วกุ๊กไก่มี Fixed Mindset ที่จะแสดงตัวออกมาเมื่อเจออุปสรรคด้านคณิตศาสตร์ต่างหาก เนื่องจากเราไม่มีวิธีการวัดที่สามารถบอกให้แน่ชัดว่าใครมี Growth หรือ Fixed Mindset วิธีการตรวจสอบ Mindset ของตัวเอง (ที่กล่าวในหน้า 10) ก็ เ ป็ น เพี ย งการอนุ ม านเอาจากการตอบสนองต่ อ ปั ญ หาในด้ า นความคิ ด พฤติกรรม และอารมณ์ ซึ่งแม้ว่าเราจะมี Fixed Mindset มันก็ไม่ได้แสดงตัว ออกมาให้เห็นในทุกเรื่อง ดังนั้น สิ่งที่สำ�คัญคือ ทุกครั้งที่พบกับเรื่องท้าทาย ปัญหา อุปสรรค และความผิดพลาด ควรสังเกตความคิดของตัวเอง หาก พบว่าเป็นความคิดแบบ Fixed Mindset ก็เริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยน Mindset ตามขั้นตอนในหน้าถัดไป การพัฒนากรอบความคิด | 16

• ขั้นตอนการเปลี่ยน Fixed Mindset ให้เป็น Growth Mindset

1 2 3 4

เปลี่ยนความคิดแบบ Fixed Mindset ให้เป็นความคิดแบบ Growth Mindset

เมื่อตรวจสอบความคิดแล้วพบว่าเป็นแบบ Fixed Mindset (คิ ด ตั ด สิ น ตั ว เอง / คิ ด โทษคนอื่ น หรื อ สิ่งอื่น / คิดหนีปัญหา) ลองถอยตัวเองออกมาจาก ปัญหาดังกล่าว แล้วจินตนาการว่าคนที่มี Growth Mindset จะคิ ด อย่ า งไรหากอยู่ ใ นสถานการณ์ เดี ย วกั น (คิ ด เรี ย นรู้ คิ ด แก้ ปั ญ หา) โดยเขี ย นใส่ กระดาษไว้

แปลความคิดแบบ Growth Mindset ให้เป็นแผนพฤติกรรม (Growth Mindset Action)

แปลความคิดแบบ Growth Mindset (ความคิดที่จะ เรียนรู้จากปัญหา หรือความคิดในการแก้ปัญหา) ให้เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติได้ เขียนแผนการในการ ปฏิบัติให้ชัดเจนว่าเป้าหมายคืออะไร ต้องทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และมีใครเกี่ยวข้องบ้าง

ลงมือปฏิบัติตามแผน พฤติกรรม Growth Mindset

ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้

ทบทวนความคิดหลัง ปฏิบตั ติ ามแผนพฤติกรรม Growth Mindset

ประเมินผลการปฏิบัติตามแผน ถึงการบรรลุตาม เป้าหมาย ได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมจากสิ่งที่ทำ�บ้าง ตรวจสอบความคิดที่เกิดขึ้น ยังเห็นด้วยกับความ คิดแบบ Fixed Mindset เดิมอยู่หรือไม่ หากไม่เห็น ด้วยแล้วความคิดเปลี่ยนไปอย่างไร

17 | การพัฒนากรอบความคิด

ตัวอย่าง สถานการณ์ของคุณครูภาษาอังกฤษ: เด็กชายเอ ไม่ยอมส่งงานทำ�ให้ไม่มีคะแนน เก็บในวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งที่เคยบอกในห้องเรียนแล้วว่าถ้าไม่ส่งงาน นักเรียนจะ ไม่มีคะแนนเก็บและอาจไม่ได้เลื่อนชั้น ความคิด: "เด็กคนนี้ไม่ได้เรื่องเลย เหลือขอจริงๆ ฉันคงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว"  ตรวจสอบแล้วเป็นความคิดแบบ Fixed Mindset คือคิดโทษคนอื่น และคิดหนี ปัญหา ความคิดแบบ Fixed Mindset "เด็กคนนี้ไม่ได้เรื่องเลย ขี้เกียจจริงๆ ฉันคงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว"

1 2

เปลี่ยนความคิดแบบ Fixed Mindset ให้ เป็นความคิดแบบ Growth Mindset แปลความคิดแบบ Growth Mindset ให้ เป็นแผนพฤติกรรม (Growth Mindset Action)

การพัฒนากรอบความคิด | 18

"ฉันจะพยายามช่วยให้เด็กชายเอส่งงาน"

เป้าหมาย: เด็กชายเอ ส่งงานที่ค้างทั้งหมดภายใน 1 เดือน แผนการ:  1. คุ ย กั บ เด็ ก ชายเอ ถึ ง สาเหตุ ที่ ไ ม่ ส่ ง งาน และวางแผน ร่ ว มกั น ว่ า จะทำ � อย่ า งไรให้ ส่ ง งานได้ ม ากขึ้ น ในฐานะครู ฉันจะช่วยได้อย่างไรบ้าง เวลา: หลังเลิกเรียนวันจันทร์ที่จะถึงนี้  สถานที่: ห้องพักครู 2. ปรึกษากับผู้ปกครองของเด็กชายเอ เรื่องที่ไม่ได้ส่งงาน เลย และร่วมกันวางแผนว่าผู้ปกครองจะสามารถช่วยเหลือได้ อย่างไรบ้าง โดยแจ้งเด็กชายเอก่อนว่าจะคุยกับผู้ปกครอง เวลา: วันจันทร์หลังคุยกับเด็กชายเอ  สถานที่: คุยทางโทรศัพท์ 3. ติดตามการส่งงานของเด็กชายเอเป็นระยะทุกสัปดาห์

3 4

ลงมือปฏิบัติตาม แผนพฤติกรรม Growth Mindset

จากการพูดคุยกับเด็กชายเอ และปรึกษากับผู้ปกครอง พบว่า เด็ กชายเอ ต้ อ งใช้ เวลาช่ วงเย็นหลังเลิกเรียนทุกวันและใน วันหยุดช่วยแม่ขายของเพราะพ่อป่วย จึงไม่มเี วลาทำ�งานทีค่ รูสง่ั เด็กชายเอ ไม่ได้บอกแม่ถงึ ปัญหาทีโ่ รงเรียน เพราะเกรงว่าแม่จะ กังวล หลังจากทีแ่ ม่ทราบเรือ่ งจึงหาคนมาช่วยงานแทนเด็กชายเอ เพือ่ ให้มเี วลาทำ�งานส่ง ครูคอยติดตามการส่งงานของเด็กชายเอ ทุกสัปดาห์

ทบทวนความคิด หลังปฏิบัติตาม แผนพฤติกรรม Growth Mindset

การบรรลุเป้าหมาย : เด็กชายเอส่งงาน 70 % ของที่ค้าง ทั้งหมดใน 1 เดือนที่ผ่านมา สิ่งที่ได้เรียนรู้: • เด็กชายเอ ไม่ได้ขี้เกียจอย่างที่คิดตอนแรก • การไม่สง่ งานไม่ได้หมายความว่าเด็กคนนัน้ จะต้องขีเ้ กียจ • การตัดสินเด็กไม่ได้ช่วยอะไร แต่ควรลงมือช่วยเหลือเด็ก จริงๆ ต่างหาก • ครอบครัวของเด็กเองก็ช่วยครูแก้ปัญหาได้ ตรวจสอบความคิดเดิม "เด็กคนนี้ไม่ได้เรื่องเลย ขี้เกียจจริงๆ ฉันคงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว" ไม่จริงเลย "เด็กคนนีไ้ ม่ได้ขเ้ี กียจแต่ ไม่มเี วลาต่างหาก และฉันสามารถช่วยเขาได้"

สิ่งที่สำ�คัญไม่น้อยไปกว่าการรู้เท่าทันความคิดแบบ Fixed Mindset ของตัวเอง แล้วเปลี่ยนให้เป็นความคิดแบบ Growth Mindset คือการลงมือปฏิบัติพฤติกรรม Growth Mindset เพราะการลงมือทำ� และเห็นจริงๆ ว่า "เราสามารถแก้ปัญหาได้ สามารถเรียนรู้และพัฒนาขึ้นได้" มีพลังในการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการคิดหรือ นึกเอาเฉยๆ 19 | การพัฒนากรอบความคิด

การเปลี่ยนความคิดให้เป็น Growth Mindset และการพยายามแก้ ปัญหา ไม่ได้รับรองผลว่าจะแก้ปัญหา หรือก้าวข้ามอุปสรรคได้ ดังที่ กล่าวมาแล้วว่า Growth Mindset เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ซึ่งนอกจากจะ เริ่มต้นแล้วยังต้องอาศัยความอดทนและความพยายาม อย่างไรก็ดี แม้ว่าการพยายามแก้ปัญหานั้นจะยังไม่ประสบผล แต่ถ้าเรามอง ผ่านเลนส์ Growth Mindset เราจะเห็นว่าเราเข้าใกล้ความสำ�เร็จ ไปได้อีกนิด เพราะเรารู้มากขึ้นแล้วว่าอะไรที่ไม่ได้ผล

การปลูกฝัง Growth Mindset ให้เด็กๆ หากสังเกตเด็กเล็กๆ จะพบว่าเด็กทุกคนสนใจที่จะเรียนรู้จากสิ่ง ต่างๆ รอบตัวรวมทั้งฝึกฝนทักษะต่างๆ โดยไม่ย่อท้อ เช่น ตั้งใจฟัง และพยายามเปล่งเสียงจนสามารถสื่อสารเป็นคำ�พูดที่มีความหมาย เรียนรู้การใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวและฝึกฝนจนก้าวเดินและ ออกวิ่งได้ เด็กๆ มองสิ่งรอบตัวและสำ�รวจอย่างสนใจใคร่รู้ เมื่อโตขึ้น เด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะประเมินและให้ค่าสิ่งต่างๆ ตามแบบ ที่เห็นผู้ใหญ่ในชีวิตของเขาทำ� หากผู้ใหญ่รอบตัวประเมินและให้คุณค่า ตามคุณลักษณะหรือคุณสมบัติต่างๆ ของเด็ก เช่น ฉลาด เก่ง หัวไว โง่ หัวทึบ ฯลฯ เป็นประจำ� จะทำ�ให้เด็กใส่ใจในสิ่งเหล่านั้น เด็กที่ถูก ตีตราว่าฉลาด จะพยายามรักษาความฉลาดของตนไว้ ไม่ลองเรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆ ที่อาจมีความเสี่ยงว่าถ้าทำ�ไม่ได้ จะแสดงว่าตนไม่ฉลาดอีกต่อไป ส่วนในเด็กที่ถูกตีตราว่าโง่ ปัญญาทึบ เชื่อว่าตนเองเรียนรู้ไม่ได้ ก็คงจะ ไม่เรียนเพราะถึงเรียนไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้นแทนที่เมื่อเด็ก โตขึ้นจะสนใจใคร่รู้มากขึ้น กลับกลายเป็นว่าเด็กจำ�นวนมาก ความ กระตือรือร้นในการเรียนหายไป การพัฒนากรอบความคิด | 20

หลั ก การสร้ า งหรื อ การรั ก ษา Growth Mindset ให้ ค งอยู่ ที่ สำ � คั ญ คือ การช่วยให้เด็กเห็นว่าคุณสมบัติ หรือความสามารถต่างๆ ไม่ใช่ สิ่งที่ติดตัวหรือเป็นอัตลักษณ์ของเขา แต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและ พัฒนาได้ด้วยการเรียนรู้ และความพยายาม

•  เราสามารถสร้าง Growth Mindset ให้เด็กๆ ได้โดยวิธีการดังต่อไปนี้

ไม่พลาดเมื่อผิดพลาด  (Mistake is Interesting)

ctation

Power of YET

MINDSET

สอนให้เด็กรู้จักตั้งเป้าหมายในการเรียน (Student’s Expectation)

Student’s Expe

GROWTH

สอนให้เด็กเข้าใจว่าการเรียนรู้สามารถ เพิ่มศักยภาพของสมองได้ (Brainology)

gy

Brainolo

resting

Mistake is Inte

Praising Effort and the Process

Constructive Feedback

ใช้พลังของคำ�ว่า "ยัง" (Power of YET) ชมที่ ค วามพยายามและกระบวนการ (Praising Effort and the Process) ให้ Feedback เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (Constructive Feedback)

21 | การพัฒนากรอบความคิด

สอนให้เด็กเข้าใจว่าการเรียนรู้สามารถเพิ่มศักยภาพของ สมองได้ (Brainology) Dweck ได้นำ�การสอนเรื่องเกี่ยวกับสมองและการเรียนรู้ไปใช้กับ เด็กมัธยมต้น พบว่าสามารถช่วยเพิ่มระดับผลการเรียนในเด็กที่มีผล การเรียนต่ำ�ให้สูงขึ้นและมีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้นได้ เมื่อเทียบกับ กลุ่มควบคุม เราจึงควรสอนให้เด็กเข้าใจว่าสมองของเราพัฒนาและ เติบโตขึ้นได้เรื่อยๆ ศักยภาพและความสามารถของเราก็เปลี่ยนแปลง ได้ด้วยการเรียนรู้และฝึกฝนอย่างสม่ำ�เสมอด้วยเช่นกัน ตัวอย่าง เนื้อหาในการสอน

•  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้าง และหน้าที่ของสมอง เช่น

การควบคุมการเคลื่อนไหว การรับและแปลข้อมูลจากประสาท สัมผัส การเรียนรู้และจดจำ� การคิดในแบบต่างๆ เป็นต้น

•  การทำ � งานของสมอง เซลล์ ป ระสาทซึ่ ง ประกอบกั น ขึ้ น มา

เป็ น สมอง หน้ า ที่ ข องเซลล์ ป ระสาทที่ ต่ า งกั น เช่ น รั บ สั ม ผั ส สั่งการเคลื่อนไหว บันทึกความจำ� แปลความหมายของภาพที่ เห็น ฯลฯ การทำ�งานของเซลล์ประสาทที่เชื่อมโยงผ่านสายใย ประสาทที่เชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบ

การพัฒนากรอบความคิด | 22

•  การเติบโตของสมอง สมองพัฒนาขึ้นโดยการเรียนรู้ ทุกการเรียนรู้

จะเกิดการส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังเซลล์ประสาท ตัวอื่นๆ เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายใยประสาท ยิ่งเรียนรู้มาก ฝึกฝนมาก โครงข่ า ยใยประสาทก็ จ ะเชื่ อ มต่ อ กั น แข็ ง แรงมากขึ้ น ทำ � ให้ ส มอง สามารถทำ�งานในเรื่องที่เรียนรู้และฝึกฝนได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในทางกลับกัน หากไม่ เรี ย นรู้ ห รื อ ฝึ ก ฝน การเชื่ อ มต่ อ โครงข่ า ยใยประสาทก็ จ ะถู ก ทำ�ลายไป ทำ�ให้สมองทำ�งานในเรื่องนั้นๆ แย่ลง อาจใช้การเปรียบเทียบ สมองเป็นเหมือนกล้ามเนื้อ และการเรียนเปรียบเหมือนการออกกำ�ลัง ถ้าเราออกกำ�ลังกายบ่อยๆ กล้ามเนื้อก็แข็งแรงขึ้นมีพละกำ�ลัง แต่ถ้า เราไม่ออกกำ�ลังกาย กล้ามเนื้อก็จะฝ่อลงไม่มีเรี่ยวแรง

•  เชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างหน้าที่ การทำ�งาน และการ เติบโตของสมองกับชีวิตประจำ�วัน สรุปความเข้าใจเกี่ยวกับสมอง ทั้งหมดและความเชื่อมโยงกับตัวเรา การนำ�ความรู้ไปปรับใช้ โดยเน้น ให้เด็กเห็นความสำ�คัญของการเรียนรู้และการฝึกฝน หากมีเรื่องที่ทำ� ไม่ได้ แสดงว่าเซลล์ประสาทยังไม่ได้สร้างเครือข่ายใยประสาทในเรื่อง นั้น เราต้องสร้างเครือข่ายดังกล่าวขึ้นมาโดยการเรียนรู้และฝึกฝน

สามารถเข้าไปชมเรื่อง Brainology ได้ที่ :  https://ideas.classdojo.com/i/growth-mindset-1 23 | การพัฒนากรอบความคิด

สอนให้เด็กรู้จักตั้งเป้าหมายในการเรียน  (Student’s Expectation) สิ่ ง ที่ สำ � คั ญ มากในการช่ ว ยให้ เ ด็ ก ๆ เกิ ด ความรั ก ในการเรี ย นรู้ คื อ การให้ เขาได้ รู้ สึ ก ว่ า เป็ น เจ้ า ของการเรี ย นรู้ ข องตั ว เอง รู้ ว่ า การ เรียนนั้นมีความสำ�คัญ มีความหมายกับตัวเขาอย่างไร โดยการตั้ง เป้ า หมายในการเรี ย นด้ ว ยตนเอง ช่ ว ยให้ เ ด็ ก รู้ สึ ก เป็ น เจ้ า ของ และรับผิดชอบการเรียนรู้ของเขา การสอนให้เด็กรู้จักตั้งเป้าหมาย ในการเรียนจะช่วยให้เด็กมองถึงการพัฒนาไปข้างหน้าและประเมิน การเรียนรู้ของตนเป็นระยะได้ เป้าหมายมี 2 ชนิด คือ 1. เป้าหมายระยะยาว : ทำ�ให้การเรียนมีความหมาย ช่วยสร้าง แรงจูงใจในการเรียนและช่วยกำ�กับทิศทางของเป้าหมายระยะสั้น  ตัวอย่างเป้าหมายระยะยาว : อาชีพที่อยากทำ� ภาพชีวิตตัวเองในอีก 10 ปีข้างหน้า 2. เป้าหมายระยะสั้น : ช่วยกำ�กับและส่งเสริมการเรียนรู้ เป้าหมายที่ดี ควรมีการกำ�หนดช่วงเวลา เช่น 1 คาบเรียน 1 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน ฯลฯ ควรมีความชัดเจน วัดได้ เพื่อให้ง่ายต่อการประเมิน รวมทั้ง มองเห็นความเป็นไปได้ เช่น สามารถทำ�แบบฝึกหัดการบวกเลข 2 ตำ�แหน่งในหนังสือแบบเรียน ได้ถูกต้องมากกว่า 80% ภายใน 1 สัปดาห์, อ่านทบทวนบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษจบบทที่ 1 ในวันนี้, ฝึกเสิร์ฟลูกเทนนิส 100 ครั้งในวันนี้

การพัฒนากรอบความคิด | 24

ครูและพ่อแม่สามารถตั้งเป้าหมายร่วมกับเด็ก โดยตั้งเป้าหมายรายวัน รายสัปดาห์ หรือใน 1 เทอมการศึกษา ให้เด็กได้ฝึกวางแผนความก้าวหน้า ในการเรียนของตนเองเป็นรายบุคคล

1 สัปดาห์ เป้าหมายระยะสั้น :  ทำ�แบบฝึกหัดการบวก เลข 2 ตำ�แหน่ง ถูกต้อง มากกว่า 80 %

10 ปี เป้าหมายระยะยาว : อยากเป็นหมอ

25 | การพัฒนากรอบความคิด

ตัวอย่าง เป้าหมายการเรียน 1 สัปดาห์ เป้าหมาย : เรียนรู้และท่องจำ�คำ�ศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ ได้ 50 คำ� ระยะเวลา : 1 สัปดาห์ (วันที่ 8-14 สิงหาคม 2559) แผนการ : วันที่ 8 ส.ค. ช่วงบ่าย

สิ่งที่ต้องทำ� หมายเหตุ ค้ น หาคำ � ศั พ ท์ ที่ ไ ม่ รู้ หรื อ ช่วยกันกับคุณพ่อ ยังจำ�ไม่ได้จากหนังสือเรียน ภาษาอังกฤษ มา 50 คำ�

(ประมาณสี่โมงเย็น) 9-13 ส.ค. ท่องจำ�คำ�ศัพท์ที่เลือกมา  วันละ 10 คำ� 14 ส.ค.

ทบทวนคำ�ศัพท์ทั้งหมด

ช่วงบ่าย

คุณพ่อทดสอบคำ�ศัพท์ทง้ั หมด

ทำ�ทุกวันก่อนนอน

(หลังกินข้าวเที่ยง) ทั้ ง นี้ สิ่ ง ที่ สำ � คั ญ ร่ ว มไปกั บ การตั้ ง เป้ า หมายคื อ การกำ � หนดวิ ธี กำ�กับติดตามและสนับสนุนให้เด็กประเมินตัวเอง

การพัฒนากรอบความคิด | 26

ไม่พลาดเมื่อผิดพลาด (Mistake is Interesting) คนส่วนใหญ่มองความผิดพลาดเป็นเรื่องไม่ดี การพูดถึงความผิด พลาดคือการตำ�หนิ แต่สำ�หรับคนที่มี Growth Mindset ความผิดพลาด คือสิ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นโอกาสในการเรียนรู้ เราจึงควรชักชวนให้ เด็กๆ ใส่ใจ และมองเห็นโอกาสจากความผิดพลาด เด็ ก จำ � นวนมากไม่ ก ล้ า ทำ � งานเพราะกลั ว ว่ า ถ้ า ทำ � ผิ ด แล้ ว จะถู ก ลงโทษหรื อ ถู ก ตำ � หนิ พ่ อ แม่ แ ละครู ค วรให้ ก ารตอบสนองต่ อ ความ ผิดพลาดของเด็กด้วยท่าทีเป็นกลาง ไม่เพ่งโทษ แต่ชักชวนให้ปรับปรุง แก้ไข การทบทวนสิ่ ง ที่ ไ ด้ เรี ย นรู้ จ ากความผิ ด พลาดเป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ที่ ช่ ว ย ให้เด็กๆ มองความผิดพลาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียน การตอบ โจทย์ ผิ ด ไม่ ใช่ เรื่ อ งน่ า อายหรื อ แสดงว่ า โง่ สิ่ ง ที่ ค วรทำ � คื อ ยอมรั บ วิ เ คราะห์ และพยายามแก้ ไข ครู แ ละพ่ อ แม่ ส ามารถใช้ คำ � ถาม เชิญชวนให้เด็กทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดแทนที่จะ พูดถึงแต่สิ่งที่ทำ�ได้สำ�เร็จเพียงอย่างเดียว เช่น "หนูได้เรียนรู้อะไร เพิ่มเติมจากการกลับไปแก้โจทย์ข้อนี้ใหม่?" "ในสัปดาห์ที่ผ่านมามี อะไรบ้างที่หนูคิดว่าอยากจะกลับไปแก้ไข และหนูจะทำ�อย่างไร?" จะ เป็นการช่วยให้เด็ก ได้เรียนรู้ว่า ทั้งความผิดพลาดและความสำ�เร็จเป็น สิ่งที่มีประโยชน์ทั้งคู่ ทั้งนี้ควรตระหนักเพิ่มเติมด้วยว่า ความสำ�เร็จ ซ้ำ�ๆ ในเรื่องเดิมๆ อาจมีคุณค่าน้อยกว่าความผิดพลาดในเรื่อง ใหม่ๆ ที่ท้าทาย การตอบสนองของครูและพ่อแม่ต่อความผิดพลาดหรือความสำ�เร็จ ของเด็กสามารถสร้างได้ทั้ง Growth และ Fixed Mindset 27 | การพัฒนากรอบความคิด

ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ น้องเมย์เป็นนักกีฬาแบดมินตันประจำ�โรงเรียน พ่อแม่และทุกคนใน โรงเรียนเชื่อว่าน้องเมย์สามารถเป็นนักกีฬาทีมชาติได้ วันนี้เป็นการแข่งขันชิงชนะเลิศในระดับเขตการศึกษา น้องเมย์แพ้ ให้กับคู่แข่ง 2 ต่อ 0 เซต หากท่านเป็นพ่อแม่ของน้องเมย์ ท่านจะบอก ลูกว่าอย่างไร หลังสิ้นสุดการแข่งขัน? 1. "ไม่ว่าผลการตัดสินจะเป็นยังไง สำ�หรับพ่อกับแม่ หนูเป็นผู้ชนะ นะลูก" 2. "ไม่เป็นไรนะลูก กีฬามันไม่ได้เป็นเรื่องสำ�คัญกับชีวิตขนาดนั้น" 3. "ครัง้ นีไ้ ม่ชนะไม่เป็นไร มีครัง้ หน้าลูก หนูตอ้ งทำ�ได้แน่หนูเก่งจะตาย" 4. "วันนี้เราแพ้ โชคไม่เข้าข้างเรา แต่วันหน้าไม่แน่นะ ไม่ต้องเสียใจลูก" 5. "วันนี้หนูเป็นอะไร เสิร์ฟไม่ดีเลย จะแพ้ก็ไม่แปลกหรอก"

การพัฒนากรอบความคิด | 28

ลองวิเคราะห์ คำ�ตอบแต่ละข้อ ข้อ 1. เป็นการปลอบใจที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะจริงๆ แล้ว เมย์แพ้ ซึ่งเมย์เองก็รู้ดี ข้อ 2. เป็นการสอนให้เมย์ลดคุณค่าสิ่งที่ทำ�ไม่ได้ ข้อ 3. เป็นการบอกว่า ชัยชนะเป็นสิ่งที่สำ�คัญ แพ้คือล้มเหลว ข้อ 4. เป็นการให้คุณค่ากับการแพ้-ชนะ เช่นกัน สอนให้เชื่อว่าโชคลาง เป็นปัจจัยที่สำ�คัญต่อความสำ�เร็จ ข้อ 5. ข้อนี้ดูทำ�ร้ายจิตใจที่สุด แม้จะให้ข้อมูลบางอย่างในการนำ�ไป ปรับปรุง แต่วิธีการพูดไม่ชวนฟัง คำ�พูดที่พ่อแม่หรือโค้ชสามารถพูดกับน้องเมย์ เพื่อสร้าง Growth Mindset ควรเป็นคำ�พูดที่ตรงกับความจริง และมุ่งไปสู่การพัฒนา เช่น "แม่รู้ว่าหนู เสียใจ ไม่ว่าหนูจะชนะหรือแพ้แม่ก็ภูมิใจในตัวหนู เพราะแม่รู้ว่าหนูตั้งใจและ พยายามซ้อมมาตลอด 1 เดือน แม่คิดว่าหากหนูอยากพัฒนาฝีมือต่อไป ก็ตอ้ งพยายามต่อ ลองดูวา่ เรามีขอ้ ผิดพลาดตรงไหนบ้าง จะได้ปรับปรุงนะจ๊ะ" ความผิดพลาดหรือผิดหวังไม่ใช่หายนะ แต่คือสิ่งที่ควรให้ความสนใจ เพือ่ การเรียนรูแ้ ละพัฒนา

29 | การพัฒนากรอบความคิด

ใช้พลังของคำ�ว่า "ยัง" (Power of YET) เราสามารถช่ ว ยให้ เ ด็ ก พลิ ก มุ ม มองจาก Fixed Mindset เป็ น Growth Mindset ได้ง่ายๆ โดยการใช้คำ�ว่า "ยัง" เมื่อเด็กบอกว่า "ทำ� ไม่ได้" ที่จริงแล้ว เขายังทำ�ไม่ได้ในตอนนีต้ ่างหาก ลองพิจารณาคำ�พูดต่อไปนี้ "หนูแก้โจทย์ปัญหาข้อนี้ไม่ได้"



"หนูยังแก้โจทย์ปัญหาข้อนี้ไม่ได้"

"ผมทำ�งานนี้ไม่สำ�เร็จ"



"ผมยังทำ�งานนี้ไม่สำ�เร็จ"

"หนูใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น"



"หนูยังใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น"

การเพิ่มคำ�ว่า "ยัง" เป็นการสร้างความตระหนักว่า ผลลัพธ์ที่มี อยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่จุดสิ้นสุด เราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงและ สามารถไปถึงเป้าหมายได้ในอนาคต ตัวอย่าง หนู ทำ � แบบฝึ ก หั ด นี้ ไม่ได้เลยค่ะ หนูไม่เก่ง เลขค่ะครู

การพัฒนากรอบความคิด | 30

ข้ อ ไหนที่ ห นู ยั ง ทำ � ไม่ ไ ด้ จ๊ ะ วิมล? ลองมาดูด้วยกันนะจ๊ะ ว่าตรงไหนที่หนูยังไม่เข้าใจ

บอลยั ง ทำ � ไม่ ไ ด้ ต อนนี้ ไม่ เ ป็ น ไรนะลู ก ถ้ า บอลว่ า เรื่ อ งนี้ สำ � คั ญ กั บ ลู ก บอลคง ต้ อ งพยายามให้ ม ากขึ้ น อี ก มาช่ ว ยกั น วางแผนไหมว่าจะฝึกตรงไหนเพิ่มเติม ผมคั ด ตั ว เข้ า ที ม ไม่ ผ่ า น มั น ยาก เกิ น ไปสำ � หรั บ ผมครั บ พ่ อ ความ สามารถของผมไม่พอหรอกครับ

31 | การพัฒนากรอบความคิด

ชมทีค่ วามพยายามและกระบวนการ (Praising Effort and the Process) การให้คำ�ชมโดยทั่วไปเป็นประโยชน์ เพราะช่วยเพิ่มความภาคภูมิใจ ในตนเอง (Self Esteem) แต่จากการศึกษาเกี่ยวกับคำ�ชมพบว่าคำ�ชม บางประเภททำ�ให้พัฒนาการในการเรียนของเด็กแย่ลง การชมทีค่ วามฉลาด (Intelligence) ทำ�ให้เด็กเกิด Fixed Mindset คำ�ชมในเรื่องความฉลาด ความสามารถโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เชิงตัดสิน เชิงเปรียบเทียบ เช่น "หนูฉลาดมาก" "หนูมีพรสวรรค์ด้าน ศิลปะมากๆ" "เธอเก่งที่สุดในห้อง" ทำ�ให้เด็กมีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยง การทำ�งานยากๆ และชอบเปรียบเทียบความสามารถกับคนอื่น มากกว่าที่จะสนใจพัฒนาตนเอง คำ�ชมในความตั้งใจ ความพยายาม หรือกระบวนการ เช่น "หนู พยายามมากเลยกับงานนี้ แม่ภูมิใจจริงๆ จ้ะ" "วิธีการลงสีเล่นแสงเงา ของเธอในภาพนี้ สวยมากๆ เลย" ทำ�ให้เด็กมีแนวโน้มที่จะชอบงาน ที่ยากและท้าทาย สนใจในกระบวนการเรียน ค้นหาวิธีการทำ�งาน ใหม่ๆ มากกว่าการเปรียบเทียบตนเองกับคนอื่น จากการศึกษาพบว่า เมื่อเปรียบเทียบเด็กๆ ที่ได้รับคำ�ชมที่ความ ฉลาดกับกลุ่มที่ได้รับคำ�ชมที่ความพยายาม เด็กกลุ่มแรกจะ

•  ยอมแพ้เมื่อพบกับความผิดพลาด •  ทำ�งานได้แย่ลงหลังจากทำ�ผิดพลาด •  โกหกว่าตนเองทำ�ผลงานได้ดี การพัฒนากรอบความคิด | 32

เราไม่ควรชมเด็กๆ ที่ความฉลาดเลยใช่หรือไม่? จากการศึกษาในเด็กเตรียมอนุบาล (ช่วงอายุ 2-3 ปี) พบว่า การ ให้คำ�ชมไม่ว่าจะเป็นแบบใด (ชมที่ความฉลาด หรือ ความพยายาม หรือ กระบวนการ) ช่วยให้เด็กสนใจในการเรียนรู้มากขึ้นเมื่อเทียบ กับกลุ่มที่ไม่ได้รับคำ�ชม แต่อย่างไรก็ดี เด็กกลุ่มที่ได้รับคำ�ชมที่ความ พยายามหรือกระบวนการ มีความสนใจในการทำ�กิจกรรมมากกว่า กลุ่มที่ชมด้านความฉลาด เมื่ อ เด็ ก โตขึ้น จะเริ่มใส่ใจต่อความหมายและสิ่ งที่ ผู้ ใหญ่ ให้ คุณค่าจากคำ�ชม การชมที่ความฉลาดทำ�ให้เด็กใส่ใจต่อภาพลักษณ์ว่า ต้องดูฉลาดจึงจะดี เมื่อเจอเรื่องที่ยากซึ่งตนทำ�ไม่ได้ จึงหลีกเลี่ยงที่จะ ทำ�เพราะการทำ�ไม่ได้ มีความหมายว่าตนไม่ฉลาด ธิดา หนูตอบถูกหมดทุกข้อเลย หนูนี่ฉลาดจริงๆ เลยนะ ตอบถูก = ฉลาด  ตอบผิด = ไม่ฉลาด

33 | การพัฒนากรอบความคิด

ควรให้คำ�ชมบ่อยแค่ไหน? การให้คำ�ชมบ่อยเกินไป ทำ�ให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการชมที่ไม่จริงใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การชมในเรื่องเล็กน้อยที่ใครๆ ก็ทำ�ได้ ดังนั้นจึงไม่ ควรให้คำ�ชมบ่อยเกินไป เพราะจะทำ�ให้การชมไม่มีค่า และอาจทำ�ให้ เด็กคิดว่าเราแกล้งชม การชมจึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ดี ช่ ว ยเสริ ม สร้ า งกำ � ลั ง ใจและสร้ า ง Growth Mindset ให้กับเด็กๆ คำ�ชมที่ดีคือคำ�ชมที่เฉพาะเจาะจง และเป็นสิ่งที่ เด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยสรุป การชมที่ดี มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1. ชมที่วิธีหรือกระบวนการทำ�งาน ที่เฉพาะเจาะจง  เช่น "การเขียนแหล่งอ้างอิงในรายงานแบบนี้ ดีมากเลยจ้ะ" 2. ชมที่ความพยายาม  เช่น "การที่หนูฝึกซ้อมทุกวัน ทำ�ให้ผลงานออกมาดีมากเลย" 3. ไม่ชมบ่อยเกินไป ม

คำช

การพัฒนากรอบความคิด | 34

ให้ Feedback เพื่ อ การเรี ย นรู้ แ ละพั ฒ นา (Constructive Feedback) การให้คุณค่ากับความพยายาม คือลักษณะที่สำ�คัญอย่างหนึ่งของ คนที่มี Growth Mindset แต่ทั้งนี้ การจะประสบความสำ�เร็จ หรือไปถึง เป้าหมายได้ ความพยายามดังกล่าวต้องเป็นความพยายามในวิธีการที่ ถูกต้อง หากเราต้ อ งการเดิ น ทางไปสู่ จุ ด หมายที่ อ ยู่ ใ นทิ ศ เหนื อ แต่ ก ลั บ เดินไปทิศใต้ ความพยายามในการเดินของเรานั้นยิ่งทำ�ให้ห่างไกล จากจุดหมายไปเรื่อยๆ ในการไปสู่เป้าหมายของเด็กๆ จึงต้องอาศัย Feedback จากครูและพ่อแม่เพื่อเป็นเข็มทิศที่ช่วยให้เดินไปได้อย่าง ถูกทาง แต่จากการรวบรวมการศึกษา ผลของการให้ Feedback ต่อผลการ ดำ�เนินงาน กว่า 40% (50 จาก 131 งานวิจัย) พบว่าการให้ Feedback ทำ�ให้ผลการดำ�เนินงานลดต่ำ�ลง ซึ่งหมายความว่าการให้ Feedback อาจก่อให้เกิดผลเสีย ดังนั้นการให้ Feedback ที่จะช่วยพัฒนาการ เรียนรู้ของเด็กก็ควรเป็น "Feedback ที่ดี" เท่านั้น

35 | การพัฒนากรอบความคิด

FEED

ที่ดี มีดังต่อไปนี้

• มุ่งพัฒนา ไม่มุ่งตัดสิน Feedback ที่ ดี คื อ Feedback ที่ ใ ห้ ข้ อ มู ล เพื่ อ ช่ ว ยให้ ไ ปถึ ง เป้าหมาย มากกว่าการตัดสิน ดี-เลว ผ่าน-ตก

• มีเป้าหมายที่ชัดเจน  ควรให้เด็กได้ร้เู ป้าหมายก่อนเริ่มทำ�งาน และควรให้ Feedback ตามเป้าหมายทีต่ ง้ั ไว้

• Feedback ที่พฤติกรรม (behavior) กระบวนการ (process) อย่างเฉพาะเจาะจง ไม่ Feedback ที่คุณลักษณะ (character)  ควร Feedback ในสิ่งที่เด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้และให้ข้อมูล ทีเ่ ฉพาะเจาะจง การให้ Feedback เช่น "หนูยงั ออกเสียงได้ไม่ด"ี "ท่าทางของเธอยังดูไม่มั่นใจ" อาจเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกตาม ความจริง แต่ไม่ได้ช่วยในการพัฒนาต่อมากนัก ควรให้ข้อมูลที่ ชัดเจนมากขึ้น เช่น "การออกเสียงควบกล้ำ�ของหนูยังไม่ดี เช่น ตอนที่หนูพูดว่า ...." " ในขณะที่พูด เธอก้มหน้าและสั่นขาเกือบ ตลอดเวลา ทำ�ให้ดูเหมือนไม่มั่นใจ"

• ให้ คำ � แนะนำ � ในการปรั บ ปรุ ง และพั ฒ นาอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม โดยมีความสมดุลระหว่างการส่งเสริมสิ่งที่ทำ�ได้ดี กับสิ่งที่ควร ปรับปรุง เช่น "ตอนรับลูกมือเธอนิ่งดีมาก ส่วนขณะที่เสิร์ฟลูกมือเธอยังดู ไม่มั่นคง ลองจับไม้แบบนี้นะ แล้วลองเสิร์ฟอีกที"

การพัฒนากรอบความคิด | 36

กระบวนการให้ Feedback สรุปดังตาราง กระบวนการ feedback 1. ถามให้ผู้รับ feedback ประเมินตนเองก่อน เช่น "ที่เพิ่งผ่าน มาคิดว่าทำ�ได้เป็นอย่างไร" "มีอะไรบ้างที่คิดว่าทำ�ได้ดี" "มีอะไรที่ ยังไม่แน่ใจ" "ถ้าให้คะแนนตัวเองจาก 1-10 จะให้เท่าไหร่ครับ" 2. อ้างอิงสิ่งที่เห็น แล้วให้ feedback โดยเริ่มจากสิ่งที่ทำ�ได้ ดีก่อน เช่น "คุณทำ�... ได้ดีตอนที่..." แล้วตามด้วยสิ่งที่ควร ปรับปรุง เช่น "มีตรงไหนบ้างที่คิดว่าอาจทำ�ได้ดีกว่าเดิม" "ถ้าจะ ให้คะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 1 คะแนน คุณจะต้องปรับปรุงอะไร เป็นสิ่งแรกครับ" 3. ผู้ให้ feedback สรุปอย่างเป็นรูปธรรมเป็นข้อๆ ในประเด็นที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 4. เปิดโอกาสให้ผู้รับ feedback ซักถามในสิ่งที่ไม่เข้าใจ รวมทั้ง สรุปประเด็นที่จะนำ�ไปปรับปรุงต่อ รู ป แบบของการให้ Feedback นอกจากการพู ด คุ ย สนทนาแล้ ว สามารถให้ Feedback โดยการเขียนข้อคิดเห็น/คำ�แนะนำ� กระดาษ คำ�ตอบหรือรายงานที่เด็กส่งก็ได้ ทั้ งนี้ น อกจากการใช้วิธีก ารต่า งๆ ดัง ที่ก ล่ าวมาข้ างต้ น เพื่ อสร้ าง Growth Mindset ให้เด็กๆ แล้ว สิ่งที่สำ�คัญมากอีกอย่างคือการเป็น ตัวอย่างของคนที่มี Growth Mindset เพราะการเรียนรู้ของเด็กๆ เกิด ขึ้นตลอดเวลา แม้อยู่นอกห้องเรียน พฤติกรรมของพ่อแม่และคุณครู เป็นสิ่งที่เด็กๆ ซึมซับโดยไม่รู้ตัว และมีผลต่อตัวเขาเป็นอย่างมาก 37 | การพัฒนากรอบความคิด

บทสรุป



ความเข้ า ใจเกี่ ย วกั บ Mindset อาจจะไม่ ใช่ คำ � ตอบของ ทุกปัญหา แต่ทกุ การแก้ปญ ั หานัน้ เริม่ ต้นด้วย Growth Mindset



เราทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ อุปสรรคและความ ผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้ ความอดทนและพยายาม เป็นปัจจัยสำ�คัญที่นำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ



ทุ ก คนสามารถสร้ า ง Growth Mindset ให้ กั บ ตั ว เองได้ รวมทั้งสามารถสร้าง Growth Mindset ให้กับเด็กๆ และ คนรอบข้างของเราได้



เข้าไปชมเทคนิคการสร้าง Growth Mindset ได้ที่ : ศูนย์จิตวิทยาการศึกษาCEPchannel

การพัฒนากรอบความคิด | 38

บันทึก Growth Mindset ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... .......................................................................................................

บันทึก Growth Mindset ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... ....................................................................................................... .......................................................................................................

ช่องทรูปลูกปัญญา  ออกอากาศทุกวัน  หลัง 14.30 น. และ 20.30 น.

ศูนย์จิตวิทยาการศึกษา มูลนิธิยุวสถิรคุณ

214 ถนนนครสวรรค์ แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. 02 282 0104 [email protected] หรือ [email protected] KidSD.org www.cepthailand.org