ปักธง Growth Mindset : ๑๑ เส้นทาง ถอดพลังความคิด สร้างพลังชุมชนการอ่าน

...
Author:
89 downloads 107 Views 13MB Size
Growth Mindset : ๑๑ เส้นทาง ถอดพลังความคิด สร้างพลังชุมชนการอ่าน

อ่านสร้างสุข : ปักธง พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม ๒๕๖๐ จ�ำนวนพิมพ์ : ๑,๐๐๐ เล่ม บรรณาธิการ : สุดใจ พรหมเกิด บรรณาธิการประจ�ำฉบับ : วรเชษฐ เขียวจันทร์ เขียน – เรียบเรียง : สุพรรณกัญจนารีย์ รักอิสระ จัดท�ำข้อมูล : โครงการติดตามและประเมินภายในแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านปี ๕๘ ออกแบบรูปเล่ม : วราภรณ์ วงศ์อุรประเสริฐ ออกแบบปก : ปาจรีย์ พุทธเจริญ พิสูจน์อักษร : อารยา ถิรมงคลจิต ภาพประกอบ : อิทธิวัฐก์ สุริยมาตย์, ปิยพนธ์ จันทร์แจ่ม ประสานงานการผลิต : ไตรรัตน์ แขวงเมืองปักษ์ , นภัทร พิลึกนา จัดพิมพ์และเผยแพร่ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ด�ำเนินงานโดยมูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เลขที่ ๔๒๔ หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๖๗ แยก ๓ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ : ๐-๒๔๒-๔๖๑๖-๗ โทรสาร : ๐-๒๘๘๑-๑๘๗๗ Email : [email protected] Website : www. happyreading.in.th Facebook : http://www.facebook.com/Happyreading พิมพ์ที่ : แปลนพริ้นติ้ง จ�ำกัด โทรศัพท์ : ๐-๒๒๗๗-๒๒๒๒

อ่านสร้างสุข สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ค�ำชื่นชม ยิง่ สังคมโลกก้าวเข้าสูย่ คุ เลือ่ นไหลของเทคโนโลยี ประเทศต่าง ๆ ก็เร่งสร้าง “วัฒนธรรม การอ่าน“ ให้แข็งแกร่ง ด้วยตระหนักว่า การอ่าน ซึ่งเป็นรากฐานส�ำคัญของการศึกษาเรียนรู้ นั้น มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการกล่อมเกลาพฤติกรรมที่ดีงามและพัฒนาศักยภาพมนุษ ย์ ทุกช่วงวัย และเป็นปัจจัยส�ำคัญของการร่วมสร้างสังคมแห่งสุขภาวะ สอดคล้องกับข้อเสนอของ เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต* ผู้อ�ำนวยการสถาบันความเป็น ธรรมด้านสุขภาพ ที่กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาด้วย หลักปัจจัยทางสังคมก�ำหนดสุขภาพ** (Social Determinant of Health) ซึง่ ชี้ให้เห็นถึงประเด็น การศึกษาเป็นปัจจัยทีส่ ง่ ผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเพศหญิ ง ที่ มี ก ารศึ ก ษาที่ สู ง ขึ้ น ความเสี่ ย งทางสุ ข ภาพก็ จ ะลดลงอย่ า งมี นัยส�ำคัญ เช่น อัตราการตายของทารกมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษาของมารดา ประเทศ ที่มารดาไม่ได้รับการศึกษา อัตราการตายของทารกก็จะสูง เป็นต้น รวมถึงการให้ความส�ำคัญ กับการพัฒนาเด็กช่วงปฐมวัยและการศึกษาทุกระดับเป็น หัวใจของการท�ำงานที่ลดความ ไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ แนวทางนี้ได้รบั การตอบรับอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป ต่อมาองค์การ อนามัยโลกก็ได้นำ� ไปวางแผนกลยุทธ์เป็นนโยบายสาธารณะ ซึง่ มีผลต่อแนวทางปฏิบตั ดิ า้ นสุขภาพ ทั่วโลก แนวทางนีเ้ ป็นหนึง่ ในยุทธศาสตร์สำ� คัญของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในการ หนุนเสริมให้เกิดกลไกส่งเสริมการอ่านในระดับชุมชนท้องถิ่นที่ต้องท�ำงานเชิงรุกท่ามกลางการ ขาดแคลนทรัพยากรแทบทุกด้าน เพื่อให้การอ่านเข้าถึงเด็กและครอบครัวได้รวดเร็วที่สุด

หลายปีที่ผ่านมา ๑๑ พื้นที่กลไกจากภาคประชาสังคมนี้ได้แสดงผลให้เป็นที่ประจักษ์ว่า การสร้างวัฒนธรรมการอ่าน ทั้งระดับปัจเจกชุมชน รวมถึงการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย แม้จะเป็น เรื่องใหม่และอาจไม่ใช่วิถีปฏิบัติในสังคมไทย แต่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นไม่ได้ คนตัวเล็ก ๆ ที่มีหัวใจ ห่วงใยเพื่อนมนุษย์ได้อาศัย “ทุนเดิม” และศักยภาพของตัวเองที่แข็งแกร่งมาถักร้อย เชิญชวน เครือข่ายต่าง ๆ ให้มาร่วมลงแรง ลงทุน และทุ่มเทเวลาเพื่อพิสูจน์สิ่งที่เชื่อให้ปรากฏ ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็ก ๆ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ผู้แวดล้อมเด็ก และ เครือข่ายร่วมทางคือน�้ำทิพย์ที่ชโลมจิตให้แช่มชื่น เอมอิ่ม เติมพลังให้ก้าวต่ออย่างมุ่งมั่น ทิ้งความทดท้อไว้ข้างหลัง หนังสือ ปักธง Growth Mindset : ๑๑ เส้นทาง ถอดพลังความคิด สร้างพลังชุมชนการ อ่าน ได้เปิดใจ เปิดความคิด เปิดกลวิธีที่คนตัวเล็ก ๆ คนธรรมดาสามัญได้ลงมือท�ำตามความ คาดหวัง และฟันฝ่าอุปสรรค ท้าทายความยากล�ำบากได้อย่างน่าศึกษายิ่ง ความคิดที่ถอดมาอย่างเข้มคมบนเส้นทาง ๑๑ สาย เกาะเกี่ยวคนส�ำคัญ ๆ ไว้มากมาย แม้ว่าหลายคนอาจไม่ได้ถูกบันทึกไว้ ณ ที่นี้ แต่ต่างมี Growth Mindset ที่ช่วยกันหนุนเนื่องให้ ชุมชนการอ่านค่อย ๆ ก่อตัวและเติบโตอย่างมีพลัง ขอขอบคุณ คุณสุพรรณกัญจนารีย์ รักอิสระ คุณวรเชษฐ เขียวจันทร์ คุณไตรรัตน์ แขวงเมืองปักษ์ และคณะในการถอดต้นทุนความคิดและกลวิธีท�ำงานที่ส�ำคัญในครั้งนี้ ขอขอบคุณส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่ได้สนับสนุนทัง้ ทุน การท�ำงานและทอดระยะเวลายาวนานเพื่อให้ดอกผลของการขับเคลื่อนงานในประเด็นนี้ ได้ ผลิบาน งดงาม

วาดหวังไว้ว่า แกนน�ำส�ำคัญ ๆ จากทุกภูมิภาคจะได้มีโอกาสสานพลังความร่วมมือให้ ศูนย์ประสานงาน สร้างเสริมสุขภาวะเพื่อชุมชนท้องถิ่นด้วยวัฒนธรรมการอ่าน เป็นจุดจัดการ การขยายผล ปูพรมความรู้ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำ และร่วมสร้างวิถีสุขภาวะทั่วถิ่นไทย



สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

* เซอร์ไมเคิล กิเดียน มาร์มอต ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ ๒๔ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ปัจจุบันเป็นผู้อ�ำนวยการสถาบันความเป็นธรรมด้านสุขภาพและศาสตราจารย์ระบาดวิทยา ภาควิชาระบาด วิทยาและสาธารณสุข ยูนเิ วอร์ซติ คี้ อลเลจลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราชอาณาจักร และนายกแพทยสมาคม โลก เป็นผู้มีผลงานส�ำคัญด้านการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาอย่างเป็นระบบมานานกว่า ๓๕ ปี โดยเน้นบทบาทของ เชื้อชาติ วิถีการด�ำเนินชีวิต เศรษฐานะ ความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อ สุขภาวะ ความมีอายุยนื ยาว และโอกาสการเกิดโรคของประชากรในหลายประเทศทัว่ โลก มากกว่าการบริการทางสุขภาพ ** ปัจจุบัน ๒ ใน ๓ ของโรคที่เกิดขึ้นล้วนมาจากปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เซอร์มาร์มอตจึงเสนอ แนวคิดส�ำคัญของหลักปัจจัยทางสังคมก�ำหนดสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางแก้ปัญหาสุขภาพด้วยปัจจัยทางสังคม (เช่น เชื้อชาติ การศึกษา วิถีการด�ำเนินชีวิต เศรษฐานะ สภาพแวดล้อม) ในการลดความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพ ๓ มาตรการส�ำคัญ ได้แก่ ๑) การท�ำงานเชิงรุกในทุกช่วงวัย (Life course approach) ตั้งแต่การเจริญเติบโตของ เด็กปฐมวัย การศึกษาในทุกระดับ การใช้ชวี ติ การท�ำงาน และการเป็นผูส้ งู วัย ๒) การแก้ปญ ั หาการกระจายทรัพยากร อย่างไม่เท่าเทียม ได้แก่ การกระจายอ�ำนาจ การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอืน่ ๆ ๓) การประเมินและท�ำความ เข้าใจต่อปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา ขยายองค์ความรู้ และพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

อ่านสร้างสุข วรเชษฐ เขียวจันทร์ บรรณาธิการบริหาร ส�ำนักพิมพ์ปิ่นโต พับลิชชิ่ง

ค�ำน�ำ หนังสือ ปักธง Growth Mindset : ๑๑ เส้นทาง ถอดพลังความคิด สร้างพลัง ชุมชนการอ่าน ท� ำ หน้ า ที่ สื่อสารเรื่องราวและกรอบความคิดของนักสร้างเสริมวัฒ นธรรมการอ่าน จาก ๑๑ องค์กรภาคีเครือข่ายร่วมสร้างวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน ผู้ศรัทธาในพลังแห่งการอ่าน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ของโครงการติดตามและประเมินผลภายในแผน งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ประจ�ำปี ๒๕๕๘ โดยการสนับสนุนของส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยแนวคิดการประเมิน ๒ ด้าน คือ การประเมินผล เพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation หรือ DE) และการประเมินผลเพื่อการเสริมพลัง (Empowerment Evaluation หรือ EE) การประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Developmental Evaluation หรือ DE) ด�ำเนินงาน ในรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียน ตามกระบวนทัศน์ใหม่ที่ให้ความส�ำคัญกับ การแสวงหาความรู้จากการประเมิน เพื่อน�ำไปขับเคลื่อนงานพัฒนาให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการท�ำความเข้าใจกับความซับซ้อนทางบริบทในระบบต่าง ๆ พร้อมทั้งค้นหาปัจจัย ซึง่ มีอทิ ธิพลส�ำคัญต่อผลลัพธ์ของแผนงานอย่างละเอียดถีถ่ ว้ น กระบวนการติดตามประเมินตาม แนวคิด DE จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อน�ำมาใช้ใน “การคิดเชิงสังเคราะห์” มองหาความเชื่อมโยงและ ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบผลกระทบ (ปฏิสมั พันธ์) ทีม่ ี (หรืออาจมี) ต่อกันในการขับเคลือ่ น งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในบริบทของแผนงานฯ การอ่าน ร่วมกับภาคีเครือข่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีกลไกการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่อันแตกต่างตามบริบท

การประเมินผลเพื่อการเสริมพลัง (Empowerment Evaluation หรือ EE) ด�ำเนินงาน ในรู ป แบบการใช้ สื่ อ หนั ง สื อ ถอดบทเรี ย นกรอบความคิ ด เติ บ โต (Growth Mindset) ผ่านประสบการณ์ท�ำงานพัฒนาสังคมของบุคคลส�ำคัญในการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการ อ่านจาก ๑๑ พื้นที่ภาคีเครือข่ายต้นแบบ อันเป็นบทบาทหนึ่งของการประเมินผลเพื่อสนับสนุน การท�ำงานขับเคลื่อนการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน อันสามารถขยายผลลัพธ์ต่อ เพื่อสื่อสารกับสังคม ส่วนวิธวี ทิ ยาของการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ขอ้ มูลแม้จะใช้วธิ กี ารวิจยั ทีม่ อี ยูท่ วั่ ไป เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนากลุม่ การสังเกตการณ์แบบมีสว่ นร่วม แต่สาระส�ำคัญทีค่ ำ� นึงถึง คือการมีสว่ นในการเรียนรูร้ ว่ มกัน และการค�ำนึงถึงความซับซ้อนสุดท้าย คือการสือ่ สารผลของ การประเมินจะอยู่บนพื้นฐานของการน�ำผลที่ ได้ป้อนกลับไปสู่การพัฒนาซึ่งเป็นวงจรตลอด กระบวนการประเมิน (KM & Feedback loops) ซึ่งหมายถึงกระบวนการที่ประกอบด้วย การวิเคราะห์และท�ำความเข้าใจความซับซ้อนของบริบทและองค์ประกอบต่าง ๆ ในโครงการ ด้วยปฏิสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องระหว่างทีมด�ำเนินการกับ ทีมผู้ประเมิน โดยทีมคณะท�ำงานแผนงานฯ และคณะท�ำงานโครงการภาคีในพืน้ ที่ (Developer) ท�ำงาน ไปตาม Intervention ทีก่ ำ� หนดไว้แล้ว ส่วนทีมผูป้ ระเมิน (Evaluator) นัน้ ท�ำงานไปตามตัวชีว้ ดั ของโครงการติดตามและประเมินผลผ่านตัวชี้วัดทั้งในระดับปัจเจก (Individual) เช่น บุคคล พ่อ แม่ ลูก ครอบครัว แกนน�ำส่งเสริมการอ่าน ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูในโรงเรียน เจ้าหน้าทีอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ว่ามีการเปลีย่ นแปลงพฤติกรรมและลดปัจจัยเสีย่ งอย่างไร และตัวชี้วัดตัวที่สองคือการบริหารจัดการโครงการฯ และองค์กร (Organizational System)

ด้านการเชื่อมประสานกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ การขับเคลื่อนในเชิงนโยบาย รวมทั้งตัวชี้วัดที่ สามคือการให้คณ ุ ค่าทางสังคม (Societal Values) คือการค้นหานวัตกรรมทางสังคม ทีส่ ร้างเสริม สิ่งแวดล้อมให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านในระดับชุมชน ต�ำบล อ�ำเภอ และจังหวัดได้ เมื่อทีม ผู้ประเมินลงพื้นที่จะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในการพัฒนาให้เกิดการคืนข้อมูลน�ำไปสู่การ พัฒนาโครงการฯ เพื่อให้ไปตรงตามเป้าหมายมากขึ้น

รูปที่ ๑ Level of Developmental Evaluation Inquiry ส่วนหนึง่ ของผลงานประเมินสือ่ หนังสือเล่มนี้ เป็นอีกเครือ่ งมือหนึง่ ของการน�ำมาใช้เพือ่ การประเมินผล เพราะน�ำไปสู่การตอบโจทย์ของยุทธศาสตร์หลักของแผนงานฯ การอ่าน เนื่องจากการประเมินในรูปแบบดังกล่าวนี้น�ำไปสู่กระบวนการสื่อสารกับสังคม รวมทั้งยังเป็น ส่วนส�ำคัญในการเสริมพลัง หรือ Empowerment ให้กับภาคีเครือข่ายที่ร่วมขับเคลื่อนงานทั้ง

๑๑ พื้นที่ต้นแบบ ทั้งในระดับคณะท�ำงานหลัก คณะท�ำงานร่วม และเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่ กระบวนการเก็บข้อมูลกรอบความคิดของคนท�ำงานหลัก ๆ ของ ๑๑ พืน้ ที่ เพือ่ ถ่ายทอดใน “หนังสือ ปักธง Growth Mindset : ๑๑ เส้นทาง ถอดพลังความคิด สร้างพลัง ชุมชนการอ่าน” ด�ำเนินงานผ่านทัง้ การลงพืน้ ทีส่ มั ภาษณ์บคุ คลเชิงลึก สังเกตการณ์ และเปิดวงสัมมนาถอดบทเรียน การท�ำงานกับบุคคลส�ำคัญที่เกี่ยวข้องกับการท�ำงาน กล่าวคือ การประเมินผลเพื่อการเสริมพลัง หรือ EE ไม่ได้มองแค่ภาพมิติเดียวที่ท�ำให้ บุคคลส�ำคัญในการท�ำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ได้รับผลประโยชน์สามารถเห็นคุณค่าใน ผลการด�ำเนินงานของตนเองเท่านั้น แต่ยังท�ำหน้าที่ค้นหากรอบความคิดเติบโตที่สร้างผลลัพธ์ ความส�ำเร็จในการท�ำงานขับเคลื่อนสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน อันสามารถเป็นบทเรียนและ แรงบันดาลใจส�ำหรับคนท�ำงานพัฒนาสังคมทุกประเด็นในสังคม ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปแบบ งานเขียนเพื่อการน�ำมาตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มที่สร้างคุณค่าต่อการท�ำงานขับเคลื่อนส่งเสริม การอ่านหรือสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และการท�ำงานพัฒนาสังคมในประเด็นอืน่ ๆ สืบเนือ่ ง ไปได้ด้วยเช่นกัน กรอบความคิดเติบโตของคนท�ำงานจาก ๑๑ องค์กรภาคีเครือข่ายร่วมสร้างวัฒนธรรม การอ่านในชุมชนต้นแบบที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้ ล้วนเป็นก�ำลังส�ำคัญที่ผลักดันให้เกิด วัฒนธรรมการอ่านในชุมชนตามเป้าหมายที่มุ่งสร้างสังคมแห่งปัญญาที่น�ำสู่สังคมสุขภาวะ ร่วมกัน สอดคล้องกับปรัชญา “อ่านสร้างสุขเพือ่ วิถสี ขุ ภาวะ” ของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน

วรเชษฐ เขียวจันทร์ บรรณาธิการบริหาร ส�ำนักพิมพ์ปิ่นโต พับลิชชิ่ง

สารบัญ ค�ำชื่นชม ค�ำน�ำ บทที่ ๑ บทน�ำ

๑๖

บทที่ ๒ พื้นที่ภาคใต้

๒๘

บทที่ ๓ พื้นที่ภาคอีสาน

๘๒

Growth Mindset : นักสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ตั้งค�ำถามสู่การเปลี่ยนแปลง : ป๊อบ ระบัดใบ โอกาสสร้างคน คนสร้างโอกาส : ชมพู่ ลูกเหรียง ยะลา

เชื่อมั่น ลงมือท�ำ วางใจ : เปเล่ ไทเลย ส่งต่อโอกาส สื่อสารความรู้ : “หัวหน้าพงษ์” กุฉินารายณ์ ด้วยศรัทธาแห่งการท�ำดี : มีนา-จันทร์เพ็ญ รักการอ่าน เริ่มจากฐานครอบครัว : อุ๊-สุรินทร์

๑๗

๓๐ ๕๙

๘๔ ๑๑๐ ๑๓๔ ๑๖๑

บทที่ ๔ พื้นที่ภาคเหนือ

๑๘๒

บทที่ ๕ บทสรุป

๓๐๙

เราเชื่อว่าทุกคนเปลี่ยนได้ : ปุ้ย มะขามป้อม-เชียงดาว ขอท�ำงานที่ได้ช่วยคน : ฝน เชียงใหม่อ่าน หัวใจ ชุมชน คนพัฒนา : หล้า เพียงพอดี ฉันคือนักพัฒนาสังคม : อ้อม ส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา สังคมแห่งการเรียนรู้ : ครอบครัวเข้มแข็ง ล�ำปาง

Growth Mindset สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

๑๘๔ ๒๑๑ ๒๓๖ ๒๕๕ ๒๘๓

๓๑๐

บทที่ ๑

บทน�ำ

Growth Mindset : นักสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน “การอ่านคือความเข้าใจตัวเอง วัฒนธรรมการอ่านคือการเรียนรู้ เป็นการอ่าน จิตวิญญาณของผูค้ น วัฒนธรรมการอ่านไม่ใช่แค่เรือ่ งหนังสือ แต่เป็นการเรียนรูผ้ า่ นสือ่ ประเภท ต่าง ๆ หนังสือเป็นหนึ่งในเครื่องมือส่งเสริมให้อ่านมากขึ้น ทุกวันนี้การอ่านของเด็ก ๆ ไม่ใช่ แค่อ่านหนังสืออย่างเดียวแล้ว เด็ก ๆ อ่านโลก อ่านสิ่งแวดล้อม อ่านคน อ่านครู อ่านเพื่อน อ่านสังคม อ่านสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การขับเคลื่อนสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในระดับชาติ ต้องผลักดันตรงสุขภาวะมากกว่าโฟกัสไปแค่หนังสือ” วรรณพร เพชรประดับ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัดพะเยา กล่าวถึงวัฒนธรรมการอ่านในทัศนะจากบทบาทผู้นำ� ของ ๑ ในองค์กรแกนน�ำภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่านของประเทศไทย ที่มุ่งท�ำงานขับเคลื่อนการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านเป็นพื้นที่ต้นแบบ ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

๑๑ องค์กรภาคีเครือข่ายร่วมสร้างวัฒนธรรมการอ่านในพื้นที่ต้นแบบ - ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ครอบครัวต�ำบลเหล่าใหญ่ อ�ำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ - มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน จังหวัดสุรินทร์ - สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดสุรินทร์ - กลุ่มเพียงพอดี ต�ำบลดอนแก้ว อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ - เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ - มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อมเชียงดาว) อ�ำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ - ส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัดพะเยา - ศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดล�ำปาง - สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ จังหวัดยะลา - กลุ่มระบัดใบ จังหวัดระนอง - สถาบันไทเลยเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน อ�ำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

๑๑ พืน้ ทีต่ น้ แบบสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ด�ำเนินงานโดยกลุม่ คนภาคประชาสังคม ซึ่งท�ำงานขับเคลื่อนพัฒนาสังคมประเด็นต่าง ๆ ในพื้นที่มาก่อนเชื่อมโยงเป็นภาคีเครือข่าย ส่งเสริมการอ่าน มีเป้าหมายการท�ำงานเพื่อผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน สร้างสังคมแห่งปัญญาที่น�ำสู่สังคมสุขภาวะร่วมกัน สอดคล้องกับปรัชญา “อ่านสร้างสุขเพื่อวิถี สุขภาวะ” ของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ซึ่งด�ำเนินงานภายใต้กลุ่มแผนงานระบบ สื่อสร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ ส�ำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (ส�ำนัก ๕) ในแผนระบบสื่อและ 18

∞∞

วิถีสุขภาวะทางปัญญา (แผน ๑๐) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อให้ประชาชนทุกคนในประเทศไทยเข้าถึงระบบอ่านเพื่อการมีวิถีสุขภาวะ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ร่วมด�ำเนินงานกับองค์กรภาคีเครือข่าย

เนือ่ งด้วยการอ่านเป็นปัจจัยส�ำคัญของการน�ำไปสู่พฤติกรรมเชิงบวกด้านสุขภาวะ เป็นการ เสริมสร้างสุขภาวะทางปัญญาที่สอดคล้องกับพันธกิจหลักของ สสส. และสอดคล้องกับนโยบายของ ประเทศที่ได้ประกาศให้การส่งเสริมการอ่านเป็น “วาระแห่งชาติ” (๕ สิงหาคม ๒๕๕๒) ดังนั้น แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านจึงมีพนั ธกิจในการเชือ่ มประสานกลไก นโยบาย และปัจจัยการ ขยายผล ทัง้ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ให้เอือ้ ต่อการขับเคลือ่ นการสร้างเสริมพฤติกรรม และวัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงเด็กในครอบครัว เด็กในโรงเรียน โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสในการ เข้าถึงหนังสือ สื่ออ่าน และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านยุทธศาสตร์ต่าง ๆ และเครือข่ายจ�ำนวนมาก



มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบอ่านอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถสร้างสุขภาวะและ การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก เยาวชน และครอบครัว รวมถึงกลุ่มเด็กพิเศษต่าง ๆ เช่น เด็กด้อยโอกาส เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ฯลฯ ตลอดจนขยายช่องทางให้สื่ออ่านได้แพร่หลาย เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวาง รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพเครือข่าย การอ่านเพื่อเด็ก เยาวชน ครอบครัว และกลุ่มเด็กพิเศษ ด้วยการสนับสนุนการพัฒนาระบบ กลไก นโยบายสาธารณะ ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น ที่น�ำไปสู่การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน



รวมทั้งยังมีบทบาทส�ำคัญในการผลักดันขับเคลื่อนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน

19

∞∞

ท้องถิ่น ผ่าน ๑๑ องค์กรภาคีเครือข่ายพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรท�ำงานเพื่อพัฒนาสังคมที่ มีต้นทุนทางการท�ำงานสูง ทั้งในด้านองค์ความรู้ บุคลากร และสัมพันธภาพในชุมชน มีคนท�ำงานที่ มีศักยภาพขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน มีเครือข่ายความสัมพันธ์ในพื้นที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม มีผลงานด้านพัฒนาชุมชนหลากหลายประเด็นเป็นที่ประจักษ์



“สุดใจ พรหมเกิด” ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กล่าวถึงบุคคลส�ำคัญ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ของแผนงานฯ ไว้ว่า แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มพื้นที่ปฏิบัติการ และกลุ่มพื้นที่เชิงกลไกและโครงสร้าง



กลุ่มพื้นที่ปฏิบัติการ คือ องค์กรภาคีเครือข่าย ๑๑ พื้นที่ต้นแบบ ซึ่งได้รับทุนตรงจาก สสส. เพือ่ ขับเคลือ่ นน�ำร่องการส่งเสริมการอ่านในระดับชุมชน ต�ำบล อ�ำเภอ และจังหวัดตามบริบทของพืน้ ที่ โดยมีแผนงานฯ ท�ำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ สร้างการมีส่วนร่วมในระดับประเทศ ทั้งการ พัฒนาระบบหนังสือและสื่อการอ่าน รวมทั้งหาแนวทางพัฒนากระบวนการสื่อสารกับสังคม เคลื่อนไป พร้อมกันกับการท�ำงานของทั้ง ๑๑ พื้นที่ต้นแบบ



ส่วนกลุ่มพื้นที่เชิงกลไกและโครงสร้างเป็นการท�ำงานทางความคิดกับเครือข่ายต่าง ๆ เช่น ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (กศน.) ส�ำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร (สนศ.) ส�ำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร และ ส�ำนักงาน กศน. จังหวัด เครือข่ายร่วมขับเคลือ่ นนครแห่งการอ่าน เช่น จังหวัด กระบี่ อุบลราชธานี ขอนแก่น ล�ำปาง เชียงราย ฯลฯ

20

∞∞

หัวใจส�ำคัญของกรอบความคิด (Mindset) ส�ำหรับคนท�ำงานเพื่อพัฒนาทุกประเด็นใน สังคม คือ กรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) ซึ่งเชื่อมั่นแบบไม่มีเงื่อนไขว่า คนทุกคน สามารถพัฒนาศักยภาพได้ หลายคนเริ่มต้นด้วยการพัฒนาตัวเอง ครอบครัว ญาติมิตร ก่อนจะขยับขยายไปยังคนในชุมชน ตั้งแต่ระดับต�ำบล อ�ำเภอ ไปยังระดับประเทศชาติ คนท�ำงานจาก ๑๑ องค์กรภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน ต่างขับเคลือ่ นงานตรงหน้าอย่าง เต็มไปด้วยพลังแห่งจินตนาการ ควบคู่ไปกับการใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่และทรัพยากรต่าง ๆ ทีส่ ามารถจัดสรรได้ เพือ่ สร้างคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ให้แก่ผคู้ นในพืน้ ทีเ่ ป้าหมาย ซึง่ ไม่วา่ สถานการณ์ หน้างานจะยากหรือง่ายอย่างไร พวกเขาคนท�ำงานยังเลือกคิดอย่างเป็นสุขกับการลงมือท�ำสิ่งที่ อยู่ตรงหน้าตามกรอบความคิด (Mindset) ซึ่งมาจากความเชื่อ ค่านิยม หรือประสบการณ์ที่ ตนสั่งสมมาแต่เก่าก่อน บนพื้นฐานความคิดที่ตรงกันว่าทุกคนมีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง เพือ่ สร้างการเปลีย่ นแปลง ซึง่ เป็นกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) ทีส่ ง่ ผลให้การท�ำงาน ของทุกพื้นที่ประสบความส�ำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

21

∞∞



Mindset (กรอบความคิด) หมายถึง ความเชือ่ หรือวิธคี ดิ ทีส่ ง่ ผลต่อพฤติกรรม ทัศนคติในการ

มองโลก



Carol Dweck ศาสตราจารย์ภาควิชาจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย Stanford คือผู้คิดค้นค�ำศัพท์

“Growth Mindset” โดยแยกประเภทของ Mindset เป็น ๒ แบบ คือ Fixed Mindset และ Growth Mindset



Fixed Mindset (กรอบความคิดตายตัว) หมายถึง ความเชื่อที่ว่ามนุษย์ไม่สามารถพัฒนา

ศักยภาพและเปลี่ยนแปลงตนเองไปจากที่เป็นอยู่เดิมได้



Growth Mindset (กรอบความคิดเติบโต) หมายถึง ความเชื่อที่ว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้และ

พัฒนาศักยภาพได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยการพยายามลงมือท�ำอย่างต่อเนือ่ ง

สิ่งส�ำคัญ คือ กรอบความคิด (Mindset) สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนงานขององค์กรภาคีเครือข่ายทั้ง ๑๑ แห่งของพื้นที่ต้นแบบ ก่อให้เกิด “กองทุนสวัสดิการหนังสือและการอ่าน” ตามบริบทของชุมชนท้องถิ่น เช่น สวัสดิการ หนังสือส�ำหรับเด็ก ๐-๓ ปี ธนาคารหนังสือ (Book Bank) เพื่อเด็กและครอบครัว ทั้งในโรงเรียน และในชุมชน รวมถึงการเกิดเทศบัญญัติและงบประมาณส่งเสริมการอ่านในหลาย ๆ หน่วยงาน ท้องถิ่น เช่น เทศบาลต�ำบล (ทต.) หรือองค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) 22

∞∞

“นครแห่งการอ่าน” ทั้งในรูปแบบนโยบาย และความสนใจตื่นรู้ของชุมชนท้องถิ่น ผ่าน หลากหลายช่องทาง เช่น แกนน�ำส่งเสริม การอ่าน เครือ่ งมือส่งเสริมการอ่าน หลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ส่งเสริมการอ่าน และ นโยบายส่งเสริมการอ่านในชุมชน

มี ก ารท� ำ งานร่ ว มกั บ ภาคี ใ นพื้ น ที่ เชือ่ มโยงเครือข่ายเพือ่ ขับเคลือ่ นงานร่วมกัน เป็นองคาพยพ เช่น ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก องค์กรภาคธุรกิจ องค์กร ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานและกลไกสาธารณสุข สื่อมวลชน ท้ อ งถิ่ น รวมถึ ง เด็ ก ปฐมวั ย ในครอบครั ว เด็กวัยเรียนในชุมชน เด็กด้อยโอกาส เด็กทีม่ ี ความต้องการพิเศษในพืน้ ทีเ่ ปราะบางทางสังคม และพื้นที่พิเศษ เช่น ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ฯลฯ

สามารถติดตามผลการด�ำเนินงาน ของทั้ง ๑๑ พื้น ที่ต้นแบบได้จาก www. happyreading.in.th เว็บไซต์ของแผนงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ซึ่งมีข้อมูล ข่าวสารความเคลื่อนไหวการท�ำงานสร้าง เสริมการอ่านครอบคลุมทุกด้าน ทัง้ ในระดับ ชุมชน ต�ำบล อ�ำเภอ และระดับประเทศ

รวมทั้งเกิดความเคลื่อนไหวของงาน ด้านการรณรงค์สื่อสารสังคมหลากหลาย รูปแบบ เช่น มหกรรมหนังสือเล่มละบาท ขบวนการปั่น ปัน ปัญญา ที่รณรงค์ทั้งการ อ่านและปันสุขด้วยการ ลด ละ เลิกเหล้า กิจกรรมส่งเสริมการอ่านสัญจรทั้งในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) และชุมชน รวมไปถึง การสนับสนุนให้ก่อเกิดกระแสวัฒนธรรม การอ่ า นในระดั บ จั ง หวั ด ขยั บ ขยายเป็ น

ความส�ำเร็จของพืน้ ทีต่ น้ แบบทุกแห่ง เกิ ด จากความร่ ว มมื อ ของคณะท� ำ งาน จิตอาสา เครือข่าย รวมทั้ง แต่ ล ะองค์ ก รยั ง มี บุ ค คล ส� ำ คั ญ เป็ น ก� ำ ลั ง หลั ก ใน การขับเคลือ่ นงาน บางคน ท�ำหน้าที่เป็นผู้น�ำการก้าวสู่ 23

∞∞

เป้าหมายที่ตั้งไว้ของโครงการ บางคนเชื่อมประสานทุกฝั่งฝ่ายของหน่วยงานและองค์กร ที่เกี่ยวข้อง และอีกหลายหน้าที่รับผิดชอบด้วยบทบาทนักพัฒนาสังคมภาคประชาชนภายใต้ หมวกนักสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน หลายคนขับเคลือ่ นงานท่ามกลางความท้าทายจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการติดขัดจากงานหลักของกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ หนังสือ สื่ออ่าน ระยะเวลา ด�ำเนินงาน องค์ความรู้ การเปลี่ยนผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่ การไม่ ให้ความร่วมมือของ เครือข่าย เช่น โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานการศึกษา ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคนโยบาย และภาคเอกชน สถานการณ์การเมือง เหตุการณ์ความ ไม่สงบในพื้นที่ หรือแม้แต่พื้นที่กลุ่มเป้าหมายที่อยู่บนดอยสูงและเป็นถิ่นทุรกันดาร รวมไปถึง ความมั่นคงเรื่องรายได้ค่าตอบแทนคนท�ำงานที่ไม่พอเพียง ซึ่งเป็นข้อจ�ำกัดของหลาย ๆ องค์กร พัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหาก�ำไรจากการท�ำงาน แต่พวกเขาคนท�ำงานจาก ๑๑ พื้นที่ต้นแบบก็ไม่คิดท้อถอย หรือหยุดก่อสร้างงาน ทุกคนยัง คงมีความคิดมองหาช่องทางใหม่ ๆ เพื่อเดินไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึง่ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่านเห็นผลส�ำเร็จจากความ ทุม่ เทเอาใจใส่ของคนท�ำงานจาก ทุกพื้นที่ต้นแบบ 24

∞∞

ดังนั้น นอกจากการน�ำเสนอผลงานความส�ำเร็จประจ�ำปีของการพัฒนาโครงการ ที่น�ำเสนออยู่ในเว็บไซต์ของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านแล้ว การได้ฉายภาพวิธีคิด และรูปแบบการขับเคลือ่ นงานตามบริบทพืน้ ทีข่ องคนท�ำงานพัฒนาสังคมกลุม่ หนึง่ ทีห่ ยิบจับงาน ขับเคลื่อนให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของผู้คนและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม เป็นการตอบโจทย์ การสร้างสังคมแห่งปัญญาที่น�ำสู่สังคมสุขภาวะร่วมกัน ภายใต้ปรัชญา “อ่านสร้างสุขเพื่อวิถี สุขภาวะ” หนังสือเล่มนี้จึงท�ำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิหลังที่มาของกรอบความคิดเติบโต หรือ Growth Mindset ซึง่ เป็นประสบการณ์ทำ� งานพัฒนาสังคมของบุคคลส�ำคัญในการท�ำงาน ๑๑ พืน้ ทีต่ น้ แบบ ซึ่งมีความหลากหลายของปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ เช่น บุคคล งบประมาณ สถานการณ์ 25

∞∞

ภูมิประเทศ ซึ่งเป็นชุดประสบการณ์ที่มีคุณประโยชน์และเอื้อต่อความเข้าใจสถานการณ์ กรอบความคิด การตัดสินใจลงมือพัฒนางานเพื่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ส�ำหรับบุคลากรที่ เกี่ยวข้องและสนใจการท�ำงานด้านพัฒนาชุมชนและสังคมทุกประเด็น รวมถึงคนท�ำงานพัฒนา จากทุกภาคส่วนทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรพัฒนาของภาครัฐ

พวกเขาทุกคนทีถ่ กู ฉายภาพเรือ่ งราวดี ๆ อยู่ในหนังสือเล่มนีล้ ว้ นศรัทธาในพลังแห่งการอ่าน



พวกเขาทุกคนเชื่อว่าการอ่านสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริง

พวกเขาทุกคนเชือ่ ว่าหนังสือและสือ่ ส่งเสริมการอ่านเป็นเครือ่ งมือส�ำคัญในการสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่าน ครั้งนี้กรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) และประสบการณ์งานพัฒนาสังคมของ นักสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้ปรากฏเป็น “หนังสือและสื่ออ่าน” เครื่องมือส�ำคัญซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมแห่งปัญญาที่น�ำสู่สังคมสุขภาวะร่วมกัน

26

∞∞



การอ่าน เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความเพลิดเพลิน ความสุข การแสวงหา

ความรู้ บ่มเพาะอุดมคติ สามารถเปลี่ยนแปลงความคิด พฤติกรรม และวิถีการด�ำรงชีวิต



ปฐมวัยของเด็ก (๐-๖ ปี) เป็นช่วงพื้นฐานส�ำคัญที่สุดของชีวิต มีการสัมผัส รับรู้ และเรียนรูส้ งิ่ ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพราะโครงสร้างต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วกับสมองก�ำลังพัฒนา สูงสุดถึง ๘๐% หากมีการสร้างเสริมพัฒนาการและสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นที่ดีก็จะสามารถ สร้างคนดีที่สร้างสรรค์สังคมเป็นสุขได้



การอ่าน มีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาสมองของวัยเด็ก สร้างความสุข ความเพลิดเพลิน สามารถปลูกฝัง สร้างเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในวัยเด็กและ เยาวชน และการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตในวัยผู้ใหญ่



การสร้างเสริมให้เกิดวัฒนธรรมและสังคมการอ่าน จึ ง เป็ น ฐานทางภู มิ ป ั ญ ญาทั้ ง ภายในและภายนอก อันส�ำคัญที่จะน�ำมาสู่การสร้างสังคมสุขภาวะที่ยั่งยืน

ที่มา : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

27

∞∞

บทที่ ๒

พื้นทีภ ่ าคใต้

อ่านสร้างสุข สุพจน์ องค์วรรณดี

ตั้งค�ำถาม สู่การเปลี่ยนแปลง : `ป๊อบ ระบัดใบ’ หนังสือเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริงหรือ ? หนังสือสร้างพัฒนาการได้จริงหรือ ?

“ผมเป็นคนดื้อ ไม่ค่อยท�ำอะไรตามที่ใครบอก ง่าย ๆ” เขาพูดประโยคนี้บ่อยครั้งเวลาพูดคุยถึงการ ท�ำงานขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน ไม่วา่ ประโยคนีจ้ ะพูดขึน้ มาด้วยความรูส้ กึ ใด แต่คนรับฟัง ที่รู้จักและเคยร่วมงานกับเขามาบ้าง ต่างต้องอมยิ้ม หรือแม้แต่ปล่อยเสียงหัวเราะออกมาเรื่อยไป

อาจเพราะเห็นด้วยกับประโยคดังกล่าว หรืออาจ

หลายพื้นที่ กระทั่งเมื่อ ๑๕ ปีก่อน เขาได้ ตัดสินใจปักหลักใช้ชวี ติ อยูท่ นี่ ี่ จังหวัดระนอง ภายใต้หมวกนักพัฒนาสังคมภาคประชาชน เช่นเดิม ช่วงแรกยังอยู่ในสภาวะคนต่างถิ่น ก้าวมาเป็นคนพักอาศัย เป็นคนแปลกหน้า ของคนนอกรั้วบ้าน ไม่มีคนรู้ว่าเขาคือใคร มุ่งหมายมาท�ำอะไรที่จังหวัดระนอง

ด้วยชืน่ ชอบในความเข้าใจตัวเองดียงิ่ ของเขา ปัจจุบนั เจ้าของประโยคดังกล่าวท�ำงาน พัฒนาสังคมภาคประชาชนในจังหวัดระนอง รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและ องค์กรพัฒนาเอกชนแหล่งต่าง ๆ เขามี หลักสูตรอบรมเด็ก ๆ และคุณครูเกี่ยวกับ กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก ๆ เป็นการเตรียมความพร้อมให้เด็ก ๆ ได้ใช้ ชีวิตในสังคมยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ราวการเดินของเข็มวินาที

แต่วนั นี้ จากคนแปลกหน้าเมือ่ ๑๕ ปี ก่อน เด็กเล็ก ๆ ในเมืองระนองมากมายเรียก เขาว่า “ลุงป๊อบ” “ลุงป๊อบ” ท�ำหน้าที่สร้างคน ส่งต่อ องค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพครู เจ้าหน้าที่ ท�ำงานสาธารณสุข เกี่ยวกับการเสริมสร้าง พัฒนาการเด็กเล็กด้วยการอ่าน ทั้งในเขต จังหวัดระนองและพื้นที่อื่น ๆ ต่างภูมิภาค

เขาท�ำงานพัฒนาสังคมมาตั้งแต่ยัง สวมหมวกนักศึกษามหาวิทยาลัย นับตัวเลข มาถึงปัจจุบันเกิน ๒๐ ปี “ผมเรี ย นโฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ อยูร่ ามค�ำแหง ช่วงปี ๒ ปี ๓ ได้เจอกลุม่ ละคร มะขามป้อม เห็นว่าเขาท�ำงานมัน น่าสนุก ก็กระโดดเข้าไปขอเป็นอาสาสมัคร”

“ลุงป๊อบ” ท�ำหน้าที่สร้างสรรค์พื้นที่ แห่งการอ่านให้ขยายผล เติบโตตามมุมต่าง ๆ ใน ๕ อ�ำเภอของจังหวัดระนอง ก่อให้เกิด หนั ง สื อ เดิ น สายส� ำ หรั บ เด็ ก และผู ้ ใ หญ่ หมุ น เวี ย นไปยั ง ชุ ม ชน พร้ อ มกั บ เกิ ด การ

ตั้งแต่วันนั้นเขาเดินสายเรียนรู้ลงมือ ท�ำงานเพื่อพัฒนาสังคมกับอีกหลายองค์กร 31

∞∞

แลกเปลี่ยนความรู้ ความสนุกสนานในกลุ่มประชาชน “ลุงป๊อบ” ท�ำหน้าที่สร้างสรรค์หลักสูตรพร้อมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน เรียนรู้ทักษะชีวิตส�ำหรับเติบโตอย่างสนุกสนาน แข็งแรงพร้อม ๆ กันทั้งกายและใจ โดยเฉพาะช่วงเกือบ ๑๐ ปีหลังนี้ เขาท�ำงานเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และเท่าทันสื่อ กระบวนการเรียนรู้การสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

หลายคนที่เจอกันตามสายงานพัฒนาสังคม รู้จักและเรียกเขาว่า “ป๊อบ ระบัดใบ”

ในขณะที่ “สุพจน์ องค์วรรณดี” เป็นชื่อนามสกุลของเขาที่ลงท้ายเอกสารน�ำเสนอ โครงการเพื่อพัฒนาสังคมไปยังแหล่งทุนต่าง ๆ และ ๖ ปีล่าสุดนี้ ชื่อ “สุพจน์ องค์วรรณดี” 32

∞∞

ก็ถกู เขียนลงท้ายเอกสารโครงการส่งถึงแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อย่างต่อเนื่อง เพื่อต่อยอดการเติบโตแห่งวัฒนธรรม การอ่านในพืน้ ทีจ่ งั หวัดระนอง ท�ำให้เขาเป็นหนึง่ ในบุคคลส�ำคัญ (Key Man) ของการขับเคลือ่ น วัฒนธรรมการอ่านในชุมชนของภาคีเครือข่ายทั้ง ๑๑ องค์กรของแผนงานฯ การอ่าน “ปีนี้ (๒๕๕๘) เป็นปีเก็บเกี่ยว จากที่เพาะปลูกเมล็ดพันธุ์เอาไว้ ก็เปลี่ยนบทบาทการ ท�ำงานให้ลดลงบ้าง ปล่อยให้พื้นที่ขับเคลื่อนกันต่อเอง บางอย่างก็ปล่อยให้มันเป็นไปตาม ธรรมชาติบ้าง” และการปรับบทบาทท�ำงานให้ลดลงครัง้ นี้ “ป๊อบ ระบัดใบ” ระบุไว้วา่ นีค่ อื อีกหนึง่ อาการ ดื้อของเขา

คนดื้อ... ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง

ก้าวแรก... ระบัดใบ

“ป๊อบ-สุพจน์ องค์วรรณดี” มีต�ำแหน่งเป็นผู้ประสานงานกลุ่มระบัดใบ

กลุม่ ระบัดใบ คือ คณะบุคคลทีด่ ำ� เนินกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน เพือ่ ส่งเสริม การมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการพัฒนาสังคม ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เริ่มท�ำงานให้ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ป่าเขาใหญ่ ที่จังหวัดสระบุรี “ก่อนตั้งกลุ่มเอง ผมได้ท�ำงานเรียนรู้กับหลายองค์กรมาก เช่น มูลนิธิสื่อชาวบ้าน กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงา สายงานโลกสีเขียว จนวันหนึ่งรู้สึกอยากท�ำเองในพื้นที่ ก็ลาออก 33

∞∞

มาตั้งกลุ่มเคลื่อนงานด้านสิ่งแวดล้อมกับเพื่อน ๆ ที่สระบุรี ท�ำไป ๒ ปี ก็เจอว่ามันเป็นพื้นที่ ขยับงานยากด้วยปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ อย่าง ประกอบกับพี่แนน (วัฒนาวดี พุ่มไชย ผู้จัดการกลุ่ม ระบัดใบ) เข้ามาท�ำงานด้วยกันช่วงนั้น เลยตัดสินใจย้ายฐานที่มั่นมาอยู่ระนองซึ่งเป็นบ้านของ พี่แนน อีกใจก็อยากหาเรื่องเที่ยวด้วยแหละ” “ถือว่ามาบุกเบิกงานพัฒนาสังคม ภาคประชาชนที่นี่เลยก็ ใช่ ยุคสมัยนั้น ระนองไม่เคยมีนกั พัฒนาแบบนี้ ส่วนใหญ่ สายงาน NGO (Non-Governmental Organization) จะโดดเด่นอยู่ที่ภาคใต้ ตอนล่าง คือ หาดใหญ่ พัทลุง สงขลา มากกว่า” ช่วงที่ “ป๊อบ-แนน” ย้ายที่มั่น มาอยู่ระนองใหม่ ๆ ยังท�ำงานประเด็น สิง่ แวดล้อมด้วยเป้าหมายต้องการพัฒนา ศักยภาพเยาวชน และส่งเสริมให้เยาวชนในจังหวัดระนองตระหนักถึงคุณค่าความส�ำคัญ ของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น พร้อมกับเปิดหน้างานพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน โดยด�ำเนินงานลักษณะหนุนช่วยกลุ่มเยาวชนในโรงเรียน และกลุ่มเยาวชนอื่น ๆ ที่ท�ำงานด้าน เด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดระนอง “ก่อนย้ายมาระนอง ผมไปช่วยโครงการนักสืบสายน�้ำของมูลนิธิโลกสีเขียวที่เชียงใหม่ ได้รับงบประมาณก้อนหนึ่งมาเริ่มต้นท�ำกิจกรรมนักสืบสายน�้ำ โครงการสายน�้ำมีชีวิตที่ระนอง 34

∞∞

ถือเป็นกิจกรรมแรกที่ระบัดใบท�ำที่นี่ จากนั้นก็เปิดห้องสมุดระบัดใบที่บ้าน ท�ำลานกิจกรรมเรียน รู้กับเด็ก ๆ ในชุมชน แล้วต่อยอดกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็กมาเรื่อย ๆ ทั้งรับทุนจากองค์กรใน ประเทศ ต่างประเทศ ทัง้ ภาครัฐและเอกชน ส่วนใหญ่เป็นงานเกีย่ วกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน จะเปลี่ยนไปบ้างก็เป็นเรื่องของเนื้อหาที่ส่งเสริมและพัฒนาตามวาระไป” กลุ่มระบัดใบสนใจเรื่องการศึกษาการเรียนรู้เป็นทุนเดิม ดังนั้น ทุกประเด็นที่สนใจท�ำ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคม สิทธิเด็ก สิทธิพลเมือง ฯลฯ จึงก่อให้เกิดการศึกษา เรียนรู้อย่างสนุกสนานก่อนลงมือท�ำเสมอ “เพิ่งสังเกตเห็นตอนท�ำเรื่องสิ่งแวดล้อม ว่าเราศึกษาค้นหาและเก็บข้อมูลเยอะมาก ๆ ทดลองเรียนรู้ท�ำผิดถูก จนสุดท้ายพัฒนาเป็น หลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ที่ ใช้งานได้จริง ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการจริง นั่นคือจุดเริ่มต้นของการย่อยข้อมูล ซึ่งเป็นองค์ประกอบส�ำคัญที่ท�ำให้ งานส�ำเร็จตามเป้าหมาย การย่อยข้อมูลมันมาจากประสบการณ์ อาจเพราะโตมาจากสายงาน ละคร สายงานสื่อที่ได้เห็นเครื่องมือหลากหลาย ก็เลยเอามาประยุกต์ใช้งานได้”

35

∞∞

กล่องหนังสือเดินสาย : เพราะขาดแคลนจึงก่อเกิด ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เมื่อกลุ่ม ระบั ดใบเริ่ ม ต้ น งานสร้ า งเสริ ม วัฒนธรรมการอ่านในพืน้ ทีจ่ งั หวัด ระนอง กระบวนการศึกษาเรียนรู้ จึงได้ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้งานผ่าน การเก็บข้อมูลรอบด้าน วิเคราะห์ ทีม่ าที่ไปของสถานการณ์การอ่าน เพื่อพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์ การท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน พร้อมกับค�ำถามทีต่ งั้ ไว้ชดั เจนว่า “หนังสือเปลีย่ นแปลงเด็กได้จริงหรือเปล่า” เพือ่ ค้นหา ช่องทางในการท�ำงานที่เหมาะสมกับเป้าหมายของการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน จากการลงเก็บข้อมูลครั้งนั้นท�ำให้ค้นพบสถานการณ์ขาดแคลนหนังสือในพื้นที่ส่วนใหญ่ ของจังหวัดระนอง คือบุคลากรทีเ่ กีย่ วข้องกับเด็กเล็กขาดความเข้าใจเรือ่ งหนังสือทีเ่ หมาะสมกับ วัย หลายคนแทบไม่รู้กันเลยว่าท�ำไมคนเราต้องอ่านหนังสือ หรือแม้แต่หน้าตาของหนังสือนิทาน ที่มีสีสันสวยงาม ปกแข็ง มีลายนูนให้สัมผัส พ่อแม่ผู้ปกครองหรือครูประจ�ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ยังไม่มีโอกาสเคยเห็นด้วยซ�้ำ ทั้ง ๆ ที่ต่างก็มีชีวิตอยู่กับการดูแลพัฒนาการเด็กเล็ก ครูประจ�ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) คือ เป้าหมายบุคคลที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในช่วงแรกของการขยับงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน เนือ่ งจากเป็น 36

∞∞

พัฒนาศักยภาพเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้ดูแลใกล้ชิดที่มีอิทธิพลในการสร้างเสริม พฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัยให้กับเด็กเล็ก ดังนั้น ข้อมูลและองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ เกีย่ วกับการอ่านกับพัฒนาการของเด็กเล็กจึง ถูกออกแบบเพือ่ เสริมศักยภาพคณะครู ศพด. ให้เป็นครูที่มีความเข้าใจถึงหนังสือที่เหมาะ สมกับวัย สามารถใช้หนังสือเป็นสื่อเพื่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กเล็กให้ดีขึ้นอย่าง เป็นรูปธรรม

ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นจุดเริ่มต้นของ กิจกรรม “กล่องหนังสือเดินสาย” ทีข่ ยายผล ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน “เราไปเห็นว่าในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) แทบไม่มีนิทานคุณภาพที่เหมาะสม กับวัยของเด็กเลย ส่วนหนังสือที่มีอยู่ก็เต็ม ไปด้วยตัวอักษรติด ๆ กัน เมือ่ ก่อนตัวครูเอง ก็ไม่รู้ด้วยซ�้ำว่า หนังสือคุณภาพที่เหมาะกับ เด็กเป็นยังไง แบบไหน แถมหลายคนยังมี ความเชื่อที่ว่า ถ้าปล่อยให้เด็กหยิบหนังสือ ไปอ่าน เด็กก็จะฉีกกระดาษในหนังสือขาด หมด ซึ่งมันเป็นเรื่องที่เราไม่เชื่อ เลยตั้งใจ มากที่จะเปลี่ยนความเชื่อนี้ให้ได้ ก็ตัดสินใจ ท� ำ โครงการกล่ อ งหนั ง สื อ เดิ น สาย เป็ น กิจกรรมหมุนเวียนกล่องหนังสือส�ำหรับเด็ก ปฐมวัย ข้างในก็จะมีพวกนิทาน หนังสือภาพ การ์ตูน กล่องละ ๕๐ เล่ม เอากล่องไปไว้ที่ ศูนย์ฯ เด็กเล็ก ตอนแรกจะมีอาสาสมัครที่ อบรมไว้คอยหมุนเวียนเปลี่ยนกล่องจาก

จุดส�ำคัญของการเริ่มต้นขับเคลื่อน งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน กับกลุ่มครู ศพด. นั้นมีฐานมาจากชุดข้อมูล “เปิด ๑๐๘ หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาส ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย” ในรูปแบบหนังสือ และวีดิทัศน์ที่ ได้รับจากแผนงานฯ การอ่าน ซึง่ เขาได้นำ� ชุดข้อมูลดังกล่าวมาใช้เป็นสือ่ หลัก ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นรูปธรรม และน�ำไปเป็นจุดตัง้ ต้นค้นคว้าข้อมูลเกีย่ วกับ พัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างเจาะลึกมากขึ้น เพราะเชือ่ ว่าหนังสือดี เป็นหัวใจส�ำคัญในการ 37

∞∞

แห่งหนึง่ ไปอีกแห่งหนึง่ ทุกเดือน แต่ ทุกวันนี้ก็มีแกนน�ำเยาวชนในพื้นที่ คอยเวียนเคลื่อนหนังสือให้แล้ว” ก่ อ นหน้ า การเกิ ด “กล่ อ ง หนังสือเดินสาย” ดังกล่าว “ป๊อบ” เคยท�ำกิจกรรมแบ่งปัน หนังสือใน ชุมชนมาแล้ว ตั้งแต่ช่วงหลังเกิด เหตุการณ์สึนามิราว ๑๐ ปีก่อน เนื่องด้วยเห็นภาวะเครียดที่เกิดกับ เด็ก ๆ ที่ประสบเหตุการณ์ภัยพิบัติ ในขณะที่ผู้ปกครองนั้นก็ไม่รู้จะเล่น อะไรกับลูก เขาจึงน�ำหนังสือจาก การเก็บสะสมของตนใส่กล่อง น�ำไปเป็นหนึ่งในเครื่องมือการเยียวยาหัวใจหลังจากผ่านการ สูญเสียของคนในพืน้ ที่ ต่อมาเมือ่ ได้รบั การสนับสนุนทุนให้เคลือ่ นงานส่งเสริมการอ่านจากแผนฯ การอ่านจึงท�ำให้สามารถสร้างแหล่งอ่านในชุมชนเป็นรูปธรรม รวมทั้งยังเป็นโอกาสที่ดีส�ำหรับ เขาในการทดลองใช้หนังสือกับกลุ่มเด็ก ๆ มากขึ้น กล่องหนังสือเดินสายเริ่มต้นด้วยหนังสือเฉพาะเด็กปฐมวัย ได้รับความสนใจจากเด็ก ผูป้ กครอง และชุมชนจ�ำนวนมาก ต่อมาจึงเพิม่ หนังสือส�ำหรับผูใ้ หญ่เข้าไปด้วย จากช่วงเริม่ ต้น ๕๐ กล่อง ปัจจุบันขยับมาที่ ๑๐๐ กล่อง ใน ๕๐ พื้นที่ มีหนังสือหมุนเวียนกว่า ๕,๐๐๐ เล่ม โดยเฉพาะศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็กและภาคีเครือข่าย เช่น องค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) โรงพยาบาล 38

∞∞

ส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) รวมถึ ง บ้ า นของอาสาสมั ค ร สาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น (อสม.) หรื อ อาสาสมั ค รรั ก การอ่ า นที่ เปิ ด บ้ า นเป็ น มุ ม อ่ า นหนั ง สื อใน ชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ ๕ อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอละอุ่น อ�ำเภอกะเปอร์ อ�ำเภอกระบุรี และ อ�ำเภอสุขส�ำราญ เพื่อสร้างสภาพ แวดล้อมที่เอื้อต่อการอ่านในชุมชนให้คนได้เข้าถึงหนังสือ พร้อมกับมีการให้ความรู้กับแกนน�ำ ในพื้นที่ สร้างความเข้าใจเรื่องความส�ำคัญของหนังสือและพัฒนาการกับสมองของเด็กปฐมวัย รวมถึงการใช้หนังสือเพื่อพัฒนาเด็กเล็กอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ “เข้าปีที่ ๔ ขยายงานเรื่องกล่องหนังสือไปถึง ๕๐ พื้นที่ แต่ก็ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่สนใจติดต่อ มาอีก แต่ผมตัดสินใจลดขนาดงานเดิมลง หันไปตั้งเป้าเพิ่มขยายการท�ำงานช่องทางอื่นแทน ปีนนั้ เลยตัง้ เงือ่ นไขขึน้ ว่าจะเปิดรับเฉพาะพืน้ ทีท่ ที่ ำ� งานเชือ่ มกับ อสม. นีเ่ ลยกลายเป็นอีกช่องทาง หนึ่งที่ส่งเสริมการอ่านเข้าสู่ชุมชน ผ่านหน่วยงานทั้ง รพ.สต. และ อบต. ฉะนั้น พอเข้าปีที่ ๕ ปีที่ ๖ มันก็เลยเป็นการเคลื่อนประเด็นการอ่านกับหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชนมากขึ้น” “การเชื่อมงานไป รพ.สต. เราต้องตีโจทย์ให้แตกว่า การอ่านคืออะไร ที่ส�ำคัญสามารถ ตอบโจทย์ของสาธารณสุขยังไง เพราะหลัก ๆ แล้วคนท�ำงานสาธารณสุขเขาไม่ได้มองประเด็น เรื่องส่งเสริมการอ่าน แต่เขามองเรื่องพัฒนาการของเด็ก เมื่อเราจะเชื่อมไปยังคนที่สนใจเรื่อง 39

∞∞

พัฒนาการเด็ก เราต้องท�ำการบ้าน ศึกษาค้นคว้าเพื่อย่อยข้อมูลส่งมอบให้กับคนท�ำงาน สาธารณสุข ถ้าครูศูนย์ฯ เด็กเล็กกับเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ อสม. เชื่อมงานกันได้ ประเด็น ส่งเสริมการอ่านเสริมสร้างพัฒนาการเด็กก็เกิดความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนในชุมชนได้”

นักก่อสร้าง กระบวนการเรียนรู้ เป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพครู ศพด. ให้เป็นแกนน�ำสร้าง เสริมวัฒนธรรมการอ่าน คือ หัวใจหลักของการท�ำงาน เนือ่ งด้วย พบว่าครูศูนย์ฯ เด็กเล็ก แม้จะอยู่กับหนังสือนิทานมานาน แต่ยังไม่รู้ว่าหนังสือนิทานสามารถสร้างเสริมพัฒนาการเด็ก ๆ ได้อย่างไรบ้าง รวมทั้งครูยังใช้สื่อที่ผลิตเองโดยไม่ได้เชื่อมโยงกับ หนังสือนิทานที่มีอยู่ เช่น ท�ำหุ่นมือ เย็บถุงมือขึ้นมาเล่นกับเด็ก แต่ก็ ไม่ได้น�ำหุ่นมือไปเชื่อมโยงกับนิทานที่มีอยู่ ด้านการเล่านิทานก่อนหน้านี้ก็เล่าตามสไตล์ของครู แต่ละคน ไม่มีการเชื่อมโยงมายังแผนการเรียนการสอน กลุ่มระบัดใบจึงท�ำหน้าที่เชื่อมต่อจิกซอว์ต่าง ๆ ที่ครูศูนย์ฯ เด็กเล็กมีอยู่ในตัวเองแล้วให้ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก่อนหน้านี้วิธีการที่ครูศูนย์ฯ ส่วนใหญ่ใช้เก็บเด็กให้อยู่นิ่ง ๆ ไม่วิ่งเล่นโวยวาย ดื้อซน คือ การเปิดโทรทัศน์ให้ดู ไม่เคยใช้หนังสือนิทานดึงความสนใจเด็ก บวกกับนิทานในศูนย์ฯ มีจ�ำนวน น้อย แถมเด็ก ๆ ยังเคยเปิดหนังสือแล้วฉีก จนครูหลายคนขยาด ไม่อยากให้มีหนังสือในศูนย์ฯ มากนัก เพราะกลัวเด็ก ๆ จะฉีกเสียหมด 40

∞∞

“ป๊อบและทีมงานกลุม่ ระบัดใบ” รั บ บทบาทสื่ อ สารสร้ า งความเข้ าใจ สร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อเชื่อมให้ ครูเห็นว่า หนังสือนิทานสามารถช่วยให้ ครู เ สริ ม สร้ า งพั ฒ นาการให้ เ ด็ ก ได้ อย่างไร ครูสามารถสร้างให้หนังสือเป็น พระเอกโดยการเล่าเสียงสูง เสียงต�่ำ หยิ บ เครื่ อ งมื อ ของเล่ น มาเป็ น องค์ประกอบเสริมสร้างความสนุกสนานพร้อมกับการเรียนรูไ้ ปด้วย การฉีกขาดหนังสือก็จะหายไป หลังจากเด็ก ๆ เห็นคุณค่าของหนังสือ พร้อมกับจะกลับไปเปิดหนังสือเล่มนัน้ ซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ อีก เพราะ เคยสร้างความสนุกสนานให้กับพวกเขา คุณครูก็เบาแรงเมื่อปล่อยเด็ก ๆ พัก เด็ก ๆ เริ่มหาพื้นที่ ของตัวเองเพื่อสนุกไปกับหนังสือ จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อออกแบบการพัฒนาศักยภาพของครูศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ท�ำให้เกิดเป็นหลักสูตรเกี่ยวกับสื่อประกอบนิทาน เน้นกระบวนการเรียนรู้ สร้างความ เข้าใจแก่นของกิจกรรมการอ่าน ว่าการอ่านเป็นมากกว่าการอ่านออกเขียนได้ และหนังสือเพียง เล่มเดียวสามารถสอนให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้มากกว่า ๑ เรื่อง เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย ๓ ประเด็นหลัก คือ สื่อและเครื่องมือประกอบการ อ่าน ซึ่งเน้นการวางฐานระบบคิดเกี่ยวกับการอ่าน สื่อการอ่าน และเครื่องมือส่งเสริมการอ่าน เพือ่ สร้างความรูค้ วามเข้าใจให้กบั ครู ผูป้ กครอง หรือบุคคลแวดล้อมเด็กเกีย่ วกับการใช้หนังสือ ให้เต็มศักยภาพ ประเด็นต่อมา คือ หนังสือสามารถกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้อย่างไร ประเด็น 41

∞∞

สุดท้าย คือ การเลือกหนังสือให้เหมาะกับช่วงวัย เน้นเรื่องวิธี คิดและวิธีการวิเคราะห์ว่าหนังสือมีผลต่อพฤติกรรมเด็ก อย่างไร และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมด้านลบเป็น ด้านบวกได้อย่างไร ระหว่างการลงมือคิดค้นและใช้หลักสูตรเพื่อ สร้างสือ่ ประกอบนิทาน สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในความคิดของเขา อยู่เสมอ คือ การตั้งค�ำถามแทนใจเด็ก ๆ ด้วยการน�ำใจ เข้าไปใส่ในความเป็นอยู่ ความรูส้ กึ นึกคิดของเด็ก ๆ ลงมือ ทดลองเครือ่ งมือหลากหลายเพือ่ ให้ได้เครือ่ งมือและกระบวนการ ที่เหมาะที่สุดส�ำหรับเด็ก ดังนั้น ประโยคที่ว่า “มันยากไปส�ำหรับเด็ก” หรือ “อันนี้ยังไม่เหมาะกับเด็กกลุ่มนี้” จึงถูกป๊อบพูดถึงบ่อยมากที่สุด ระหว่างการค้นคว้าและสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะกับเด็ก ปฐมวัย “เราเรียนรู้จากหลายแห่ง ไปฟังอบรม ประชุม สัมมนา เรื่องพัฒนาการสมองเด็กนี่ก็ได้ เรียนรู้มาเยอะจากหมอนิชรา (แผนงานฯ การอ่าน เชิญ รศ. พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านพัฒนาการสมองเด็กปฐมวัย มาให้ความรูแ้ ก่เครือข่ายสาธารณสุขของกลุม่ ระบัด ใบในพื้นที่) ที่มาเวิร์กช็อปให้เครือข่ายเรา แล้วก็น�ำข้อมูลความรู้ที่ได้มาคิดต่อยอดจากฐานที่ ศึกษาพฤติกรรมของเด็ก ๆ ปฐมวัยมาแล้ว บางกิจกรรมมีคนเสนอมาให้ท�ำอย่างนั้นอย่างนี้ เรานัง่ ฟังแล้วก็เฮ้ย เราไม่เข้าใจ ก็ขนาดเรายังมีคำ� ถาม ยังไม่เข้าใจ แล้วเด็ก ๆ เขาจะเข้าใจเหรอ นี่เป็นเรื่องส�ำคัญที่ต้องหยุด แล้วคิดว่าเครื่องมือชนิดนั้นเหมาะที่จะเอาไปเล่นกับเด็กหรือเปล่า เสมอ” 42 ∞∞

เด็ก ๆ ไปหาดอกไม้จริงมาด้วย เช่น มีดอก ชบาให้ดู เราก็ถามกันว่ามีกลิน่ ไหม เป็นยังไง แล้วมันมีสีอะไร สีแดง แล้วสีแดงวันอะไร เด็ก ๆ ก็ตอบวันอาทิตย์สีแดง”

นอกจากนั้นเขายังศึกษาเพิ่มเติมจาก การฟังนักเขียน นักคิด นักท�ำหนังสือ ซึ่งมี บทบาทของการวิเคราะห์เพื่อผลิตหนังสือ เมื่อได้ข้อมูลดังกล่าวแล้วก็เพิ่มเติมข้อมูล ด้วยการค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ตว่าหนังสือที่ เหมาะกับเด็กวัยไหนเป็นอย่างไร กลุม่ ระบัดใบ ส่งต่อเทคนิคต่าง ๆ ให้ครูศูนย์ฯ เด็กเล็ก สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากนิทานหนึ่งเล่ม เข้ า กั บ เครื่ อ งมื อ เล่ น อย่ า งสอดคล้ อ งกั บ แผนการสอน ชวนให้ คุ ณ ครู ม าร่ ว มกั น วิเคราะห์หนังสือ

ด้านการเลือกใช้หลักสูตรและเครือ่ งมือ ต่าง ๆ ป๊อบบอกว่า ต้องมีการวิเคราะห์กลุ่ม เป้าหมายทุกครัง้ ทีจ่ ดั การอบรบหรือใช้เครือ่ งมือ ต่าง ๆ เพราะผู้เข้ารับการอบรมแต่ละกลุ่ม มี ฐ านความรู ้ แ ละประสบการณ์ ที่ ต ่ า งกั น บางครั้ ง อาจใช้ ห ลั ก สู ต รเดี ย วกั น แต่ ต ้ อ ง พลิกแพลงเครือ่ งมือให้แตกต่างเพือ่ ให้เหมาะ กับคนเข้าอบรมแต่ละครั้ง

“การลงพืน้ ทีไ่ ปเวิรก์ ช็อปไม่ได้เกิดขึน้ บ่อย ไปสักครั้งสองครั้งเพื่อติดตั้งแนวคิด ส่งมอบเครื่องมือหลักที่ท�ำให้สมองได้จดจ�ำ ก็คือ การสัมผัส ตามอง หูฟังเรื่องราว จมูก สูดกลิ่นที่มีจากบางเล่ม หรือบางเล่มเปิดไป สู่เรื่องราวข้างนอก อย่างดอกไม้ดอกไหนมี กลิ่น นิทานอาจจะเป็นเรื่องครอบครัวที่พูด ถึงเรื่อง ๗ สี ๗ ดอก เป็นการเล่นนอกบ้าน แล้วก็เชื่อมโยงกับของจริง ซึ่งสามารถชวน

ช่วง ๓ ปีหลัง “ลุงป๊อบ และ ป้าแนน” กลุ่มระบัดใบ ระนอง ก่อร่างสร้างสรรค์ หลั ก สู ต รการพั ฒ นาสื่ อ ประกอบนิ ท าน เพื่อการเปลี่ยนแปลงส�ำหรับเด็ก กระทั่งได้ เดินสายออกมอบแนวคิด ความรู้ และเทคนิค ต่าง ๆ ในหลักสูตรให้กับภาคีเครือข่ายใน จังหวัดอืน่ ๆ เช่น กลุม่ ครูศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก จังหวัดพะเยา กลุ่มคนท�ำงานสร้างเสริมการ 43

∞∞

อ่านในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดล�ำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งส่งผลอย่างชัดเจนว่าสร้างให้ครู มีความมั่นใจและภูมิใจในตนเองมากขึ้น จนได้ใช้หนังสือนิทานเป็นเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ ให้กับเด็ก ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับได้ขยายความคิดและวิธีการต่อยอดสู่ผู้ปกครอง และชุมชนอีกด้วย ตลอดระยะเวลากว่า ๖ ปีทเี่ ข้ามาจับมือกับแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน นอกจาก จะขนเอาทุนทางสังคม องค์ความรูท้ มี่ อี ยูม่ าทุม่ เทสร้างงานให้ขบั เคลือ่ นได้ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดระนอง สิ่งส�ำคัญที่ “ป๊อบ ระบัดใบ” ยึดไว้เป็นหลักในการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่านจนเห็นผลลัพธ์ เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม คือ เขาท�ำงาน ด้วยหลักการเน้นย�ำ้ เรือ่ งแก่นแท้ของแนวคิดเกีย่ วกับการอ่านและการส่งเสริม การอ่าน ด้วยเป้าหมายทีเ่ ชือ่ มัน่ ว่าเมือ่ คนได้เข้าใจแก่นแท้ของแนวคิดแล้ว จะสามารถพัฒนาเครื่องมือน�ำไปใช้กับพื้นที่งานของตนได้แน่นอน

พัฒนาเด็ก = พัฒนาสังคม “ป๊อบ” เล่าว่า ส่วนหนึ่งของการคิดกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่บนรากฐานความคิด เรื่องสิทธิเด็ก เพราะระบัดใบท�ำงานเรื่องสิทธิเด็กด้วย ดังนั้น ทุกเรื่องของการเรียนรู้ตัวเด็กเอง จะต้องได้รับการส่งเสริมองค์ความรู้เรื่องสิทธิแทรกเข้าไปด้วย เห็นเป็นตัวอย่างกับผลงานห้อง สมุด ๒๔ ชั่วโมง ที่บ้านของ “ฟารีหะห์ ผดุงชาติ” (จ๊ะสาว) จิตอาสาในชุมชนของพื้นที่อ�ำเภอสุข ส�ำราญ ได้รับการมองไกลถึงเรื่องพื้นที่ปลอดภัยส�ำหรับเด็ก เนื่องจากแต่ก่อนเด็ก ๆ วิ่งเล่นอยู่ ริมถนนหน้าบ้านที่มีรถวิ่งผ่านไปมาตลอดวัน ผู้ปกครองก็ดูแลไม่ทั่วถึง การเปิดห้องสมุด 44

∞∞

๒๔ ชัว่ โมงจึงเกิดขึน้ เพือ่ ตอบโจทย์การ มีพื้นที่สร้างสรรค์ปลอดภัยส�ำหรับเด็ก ในชุมชนที่ครอบครัวสามารถฝากกัน ช่วยดูแลได้ “ผมเชื่อว่าการให้เด็กได้อยู่กับ คนอื่น ๆ นอกจากพ่อแม่ มันสร้างการ เรียนรูเ้ รือ่ งการอยูร่ ว่ มกันในสังคม มัน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชน และเกิดพื้นที่ปลอดภัย เกิดผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก จุดนี้มันก็คืองานสิทธิเด็ก งานแต่ละงานที่ระบัดใบ ท�ำมันเชื่อมกันได้หมด ขึ้นอยู่ที่จะต่อตัวไหนเชื่อมกันเมื่อเราจับโจทย์ได้” “โจทย์การท�ำงานทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ถ้าสนใจในสิ่งไหน เราก็ต้องหาเรียนรู้ อย่างเรื่อง การอ่านกับพัฒนาการเด็กเป็นความรู้ใหม่มาก กว่าจะรู้ไม่ง่าย แต่มันก็สนุกไง พอเราเข้าใจแล้ว เราก็ย่อยข้อมูลวิชาการมาพัฒนาเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง ซึ่งระหว่างทางเราก็ได้เรียนรู้เยอะแยะ แล้วมันสนุกไงที่เราคอยคิดว่าท�ำไงนะให้เด็กต้องสนุกด้วย ระหว่างนั้นผู้ใหญ่ที่ออกแบบ กระบวนการก็สนุกไปด้วยเหมือนกัน” “ป๊อบ-สุพจน์” หมายถึงชีวิตเขาที่อยู่กับการเรียนรู้ เมื่อมีชุดความรู้อะไรที่เกี่ยวข้องกับ หน้างานที่ท�ำอยู่โผล่ขึ้นมา จะเข้าไปศึกษาทันที เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน : Brain based Learning (BBL) นอกจากเข้าไปฟังบรรยาย อบรม สัมมนา ยังค้นคว้าจาก อินเทอร์เน็ตเพิ่มจนเจอหน้าต่างแห่งโอกาส การอบรมที่ถ่ายทอดในเว็บไซต์ YouTube ซึ่งมี ค�ำอธิบายไว้ละเอียดมากเกี่ยวกับการท�ำงานของสมอง แกนสมอง กระดูกสันหลัง 45

∞∞

“เครื่องมือส�ำหรับเด็ก ๆ ต้องเข้าใจง่ายและใช้ง่ายมาก ๆ เราเคยเห็นระบบเรียนเลขใน โรงเรียนที่มันยากมาก ทั้ง ๆ ที่มันมีวิธีการสอนเลขง่าย ๆ และสนุกเยอะแยะไป ปัจจุบันมี BBL (Brain based Learning : การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน) ที่บูมกันมากเอามาใช้สอน เลข ซึ่งพอไปศึกษาดูก็เข้าใจว่ามันเป็นศาสตร์ที่เชื่อมกับสมองการเรียนรู้ของเด็ก ผมก็ชัดเจน ว่ากระบวนการเรียนรู้แบบสนุกสนานมันเกิดขึ้นได้จริง และมันก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้ด้วย” ปัจจุบันกลุ่มระบัดใบเปิดสอนพิเศษให้เด็ก มีรุ่นประถมปลายกับคอร์ส Day Camp ๕ วัน โดยจัดเป็นกิจกรรมให้เด็กท�ำช่วงปิดเทอม แล้วก็สร้างโจทย์เป็นรูปแบบโครงงาน เช่น เรื่อง เยาวชนก้นครัว เรื่องอาหารท้องถิ่นเมืองระนอง หัวใจแห่งการเรียนรู้ของแต่ละหลักสูตรที่กลุ่มระบัดใบสร้างสรรค์ขึ้น คือ นอกจากเรียน ทฤษฎีผ่านการฟังและพูดคุยกันแล้ว เด็ก ๆ ยังได้ลงมือท�ำด้วยตัวเอง เช่น โจทย์เรียนรู้คือ ช็อกโกแลตที่เด็ก ๆ ชอบกิน เริ่มจากการค้นหาข้อมูลที่มาของช็อกโกแลตว่า เส้นทางการผลิต กว่าจะมาถึงคนกิน หรือเรื่องอาหารท้องถิ่น เช่น อาหารจีนไหหล�ำ ฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว อาหารใต้ พร้อมเปิดเวทีเรียนรู้และวิเคราะห์ร่วมกัน

46

∞∞

“ขนมฝรั่งเราก็ชวนเด็กท�ำ เช่น วาฟเฟิล เพราะท�ำให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องชั่ง ตวง วัด ซึ่งอัตราส่วนต้องพอดีจริง ๆ ไม่งั้นวาฟเฟิลไม่ขึ้น” เด็ก ๆ ทีม่ าเข้าคอร์สช่วงปิดเทอมส่วนใหญ่เป็นเด็กในเมืองระนอง ซึง่ ช่วงแรกเป็นเพือ่ นฝูง ของป๊อบและทีมงานที่พาลูกมา จากนั้นเมื่อกลับไปก็บอกต่อกันว่าสนุก ทั้งบอกเอง บอกผ่าน Facebook ท�ำให้ผู้ปกครองที่ได้ข่าวก็จองให้ลูกหลานมาเข้าแคมป์ด้วย อี ก คอร์ ส ส� ำ หรั บ เด็ ก ๆ วั ย ประมาณ ๔-๖ ขวบ ใช้เวลาวันละ ๒ ชั่วโมงหลังเลิกเรียน คือ “นิทาน เบิกบานใจ” สอนด้วยนิทานและสื่อที่ ผลิตขึ้นมาใช้ควบคู่กัน น�ำเนื้อหามาส ร้างเกมสนุกให้เด็กประดิษฐ์ของเล่นน�ำ กลับบ้านได้ด้วย มีกระบวนการฝึกให้ สังเกต กล้าแสดงออก ทุกครัง้ หลังจาก ปิดคอร์สเขาจัดหนังสือนิทานให้เด็ก ๆ น�ำกลับบ้านคนละ ๕ เล่ม ด้วยความคิดที่ว่าให้ไปก่อน วันนี้อาจยังไม่อ่าน แต่โตขึ้นอีกนิดเด็กจะหยิบมาอ่านเอง “นิทานเบิกบานใจจะรับเด็ก ๆ ที่พอเริ่มเข้าห้องน�้ำเป็น ตอบโต้สื่อสารกันได้ คอร์สหนึ่ง รับแค่ ๑๕ คน เพราะทีมงานเรามีกันแค่ ๓ คน เด็กกว่านี้หรือจ�ำนวนเยอะกว่านี้คงรับมือไม่ได้ (หัวเราะ) ทีท่ ำ� คอร์สนี้ไม่ได้อยู่ในโครงการไหน แต่อยากทดลองเครือ่ งมือเพือ่ ส�ำรวจดูพฒ ั นาการ ของเด็ก ๆ เป็นการฝึกทักษะ ฝึกพัฒนาการ ส่วนช่วงปิดเทอมเราจะรับโตขึ้น มาอีกเป็น ป.๔-ป.๖” 47

∞∞

สร้างเครือข่ายแบบคนดื้อ ๆ “งานเปิดโลกการอ่าน” คือ กิจกรรมทีจ่ ดั ขึน้ ในระดับต�ำบล ด้วยระยะเวลาเพียง ๒ ชัว่ โมง เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ไม่มีเวลาว่าง เป้าหมายต้องการสื่อสารให้ผู้ปกครองจ�ำนวนมาก เข้าใจเรื่องการอ่านและพัฒนาการเด็ก รวมทั้งเปิดมุมมองใหม่ ๆ ของพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีต่อครู ศพด. กิจกรรมในงานเป็นการใช้สื่อนิทานเสริมเรื่องพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น หนังสือเกี่ยวกับ การใช้มอื ของเด็ก ๆ เป็นสือ่ เชือ่ มโยงไปยังความสัมพันธ์ของพ่อแม่ เช่น เมือ่ พูดประโยคว่า “หูหนู อยูไ่ หน อยูน่ จี่ ะ้ คางหนูอยูไ่ หน อยูน่ จี่ า้ ” เพิม่ มิตคิ วามสัมพันธ์เข้าไปด้วยการแตะต้องสัมผัสตัวกัน ให้ลูกเอาคางไปชนกับพ่อแม่ เป็นการเล่นด้วยกันของผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งส่วนของการเรียนรู้นั้น เด็ก ๆ ได้รู้จักกับอวัยวะในร่างกายของตนเอง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงการเรียนการสอนของ ครู ศพด. เกี่ยวกับร่างกายอีกด้วย หรือในรูปแบบของการเล่าเรื่องสิ่งแวดล้อม วงจรชีวิตสัตว์ใกล้ตัว เช่น ผีเสื้อ พร้อมกับมี เครื่องเล่นต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาของนิทานให้ทดลองเล่น มีกิจกรรมเป่าสีเพื่อฝึกการ หายใจ ซึ่งลมสามารถช่วยเรื่องปากในการบังคับเสียงให้ออกมาอย่างชัดเจนขึ้น พร้อมกับเปิด พื้นที่ให้พ่อแม่ผู้ปกครองร่วมวิเคราะห์ว่านิทานแต่ละเรื่องให้ข้อคิดอย่างไร เมื่อผู้ปกครองได้เห็น ว่ากิจกรรมอ่านนิทานมีวิธีการท�ำอย่างไรให้สร้างการเรียนรู้และสนุกสนานไปได้พร้อม ๆ กัน ท�ำให้เกิดความเข้าใจถึงแก่นของการใช้นิทานส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยชัดเจนมากขึ้น “ป๊อบ” เล่าว่า เป้าหมายทีต่ อ้ งการให้ผปู้ กครองเข้าใจเรือ่ งการอ่านกับพัฒนาการของเด็ก ได้ผลส�ำเร็จตามคาด กระทั่งเกิดเป็นการจุดประกายแรงบันดาลใจให้กับ “อ้อม-วรรณพร 48

∞∞

เช่น เครือข่ายครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัด ระนอง กศน. จังหวัดระนอง สโมสรโรตารี ระนอง องค์การบริหารส่วนจังหวัด ศูนย์การ ศึ ก ษาพิ เ ศษ คลิ นิ ก พั ฒ นาการเด็ ก และ ครอบครัว ฯลฯ

เพชรประดับ” ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักข่าวเด็กและ เยาวชน จังหวัดพะเยา หนึง่ ใน ๑๑ ภาคีเครือ ข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน ของแผนฯ การอ่าน ซึ่งเดินทางมาร่วมดูงาน ครั้งนั้น ได้น�ำกิจกรรมไปประยุกต์จัดอบรม ให้กับคณะครู ศพด. และผู้ปกครองในพื้นที่ ท�ำงานอ�ำเภอปง จังหวัดพะเยา เนื่องจาก ได้เห็นว่าทันทีที่ “ป๊อบ” ท�ำกิจกรรมจบลง ผูป้ กครองเป็นฝ่ายเดินเข้ามาหาเพือ่ สอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิทานเอง ไม่ต้องมี การพูดประเด็นส่งเสริมการอ่านเพิ่มเติม

“เรื่องเชื่อมเครือข่าย ไม่มีหลักการ อะไรมาก นอกจากผมก็หาเรื่องลงพื้นที่อยู่ เรื่อย ขับรถมาเองนอกรอบจากกิจกรรมใน แผนเป็นประจ�ำ บางทีก็เอาหนังสือไปให้เอง จากในเมืองไปก็ประมาณ ๕๐ กว่าโลมาที่ อ�ำเภอกะเปอร์ แล้วก็แวะทักทายคนนั้นคนนี้ เป็นไงพี่ มีอะไรให้ช่วยไหม ถ้าไปอ�ำเภอ สุขส�ำราญจากในเมืองก็ ๘๐ โล บางทีก็ไป แถวติดเขตชายแดนเลย แถว จปร. อ�ำเภอ กระบุรี ฉะนั้น เรากับเครือข่ายก็เจอกันอยู่ เรือ่ ย ไม่ใช่เจอกันแค่ตอนจัดงานอย่างเดียว”

การเข้าร่วมท�ำกิจกรรมในพื้นที่อย่าง สม�ำ่ เสมอของป๊อบและทีมงานผ่านความร่วมมือ ในกิจกรรมอบรมเสริมสร้างความรู้ เทคนิค ต่าง ๆ และการเดินทางไปหาเพื่อพบปะพูด คุยกัน ส่งผลให้เกิดภาพความสนิทสนมกัน ของเครือข่ายในกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เช่น งานเปิดโลกการอ่าน ทัง้ ในระดับหมูบ่ า้ น ต�ำบล รวมไปถึงการเข้าร่วมงานระดับจังหวัด ในมหกรรม “เปิดโลกการอ่านจังหวัดระนอง”

เทคนิ ค การสร้ า งและรั ก ษาความ สัมพันธ์กับเครือข่ายของ “ป๊อบ” คนดื้อ คือ เกาะติดสถานการณ์ ห่วงใย เอาใจใส่ทุก เรื่องราว เข้าถึงพื้นที่ น�ำสิ่งดี ๆ ทั้งโอกาส 49

∞∞

ความรู้ และงบประมาณฝากถึงมือเครือข่ายเสมอ ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้หลังจากท�ำงานเรื่องส่งเสริมการอ่านมาระยะหนึ่ง มีผู้ใหญ่คนหนึ่ง ส่งโจทย์ให้แบ่งงบประมาณก้อนหนึ่งจากเงินทุนโครงการให้พื้นที่ไปท�ำงานต่อไป ในขณะที่เขา เริ่มวางแผนถอยก�ำลังในการสนับสนุนพื้นที่ย่อยด้วยเงิน พร้อมลดจ�ำนวนงบประมาณขอทุนจาก แผนงานฯ การอ่านลงจ�ำนวนหนึ่ง “ผมบอกเขาว่า ผมท�ำงานสร้าง พื้นที่ให้หาตังค์เองครับ ตั้งเป้าให้พื้นที่ เข้ า ถึ ง แหล่ ง ทุ น ได้ ด ้ ว ยตั ว เอง เช่ น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มาร่วมเครือข่าย เคยอบรมกับเราแล้ว ทุกวันนีก้ ม็ คี วามรู้ มีความสามารถไปค้นหาเงินงบประมาณ ด้านสื่อที่มีออกมาใช้ ส่วน รพ.สต. ถ้ามีงบหลักประกันสุขภาพ จะน�ำมา เชื่อมต่ออย่างไรเพื่อต่อยอดให้เกิดการ เคลื่อนไหวงานในพื้นที่ได้จากงบประมาณที่หน่วยงานหรือองค์กรตัวเองมี หรืออาจจะมองออก ไปข้างนอกเพื่อหางบเพิ่มเติมด้วย ผมสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนในรูปแบบนี้”

เขาเล่าว่า ตนไม่ท�ำตามโจทย์ของผู้ใหญ่คนนั้น เพราะดื้อ

นอกจากนัน้ เมือ่ มีโครงการหรือกิจกรรมอืน่ ๆ เกีย่ วกับการสร้างเสริมความรักความสัมพันธ์ ในครอบครัว ติดต่อเข้ามาเพื่อส่งมอบหนังสือนิทานให้กับพื้นที่ แต่พบว่าหนังสือเหล่านั้น 50

∞∞

ไม่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ๆ กลุ่มเป้าหมาย เขาตัดสินใจเลือกปฏิเสธการรับงบประมาณ หรือวัสดุอุปกรณ์เหล่านั้น ทั้งที่สามารถน�ำ มาเป็นทุนการท�ำงานต่อไปได้ เหล่านี้คือเรื่องดื้อของเขา “ป๊อบ” บอกไว้เช่นนั้น

ต่างหาก พอผมได้ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ หนังสือนิทานมาระดับหนึ่งก็พบว่า คนท�ำ เก่งมาก อ๋อ! เขาคิดรายละเอียดเยอะมาก ว่าหนังสือเล่มนั้นจะให้อะไรเด็กบ้าง หนังสือ นิทานบางเล่มใช้สอนได้หลายปี บางเล่มใช้ได้ ถึง ๖ ขวบ เช่น เรียนรู้เรื่องสัมผัส เรื่องการ ฟัง เรื่องสี เรื่องค�ำไทย เด็กโตขึ้นอีกเริ่มได้ เรียนรู้ค�ำภาษาอังกฤษ โตขึ้นอีกนิดก็เรียน เรื่องวาดรูปเข้าสู่แขนงความรู้ด้านศิลปะ ฉะนัน้ หนังสือนิทาน ๑ เล่ม ถ้าราคา ๑๙๕ บาทแล้วใช้จนเด็กอายุ ๖ ขวบ หารเฉลี่ย ต่อปี ก็ปีละประมาณ ๓๓ บาท”

อีกเรื่องที่เขายืนยันว่าขอดื้อและคิด ต่างจากทัศนคติของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมองว่า หนังสือนิทานเป็นของราคาแพง กระทัง่ พ่อแม่ ผูป้ กครองไม่มเี งินพอซือ้ จึงท�ำให้เด็กไม่ชอบ อ่านหนังสือ ซึ่งเขาไม่เห็นด้วยในมุมนี้ “มีคนบอกว่าหนังสือนิทานแพง ชาวบ้าน ซือ้ ไม่ได้ ผมเถียงเลยว่าไม่ใช่ ในเมืองระนอง เครือข่ายการอ่านเอาหนังสือนิทานไปตัง้ ขาย ในชุมชน มีชาวพม่าที่ท�ำงานรับจ้างแถวนั้น เดินเข้ามาคุยถึงหนังสือที่เหมาะกับลูกเขา แล้วก็ซื้อไป เขาบอกว่าแพงก็จะซื้อเพราะ อยากให้ลูกได้อ่าน ผมคิดว่ามันไม่ ใช่เรื่อง ราคาที่คนไม่ซื้อให้ลูก แต่มันเป็นเรื่องการ เห็นคุณค่าหรือประโยชน์ของหนังสือนิทาน

ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น เขาจึงให้ ความส�ำคัญในการอธิบายถึงขั้นตอนการท�ำ หนังสือนิทานส�ำหรับเด็ก ๆ ที่ต้องวิเคราะห์ ข้อมูลด้านการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ด้วยความประณีตละเอียดอ่อน มุมหนังสือ บางเล่มก�ำหนดให้ตดั โค้งเพือ่ ลดความคมของ ขอบกระดาษไม่ ให้เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ หนั ง สื อ บางเล่ ม เลื อ กวั ส ดุ ที่ มี ผิ ว สั ม ผั ส ให้ 51

∞∞

เหมาะสมกับวัยและปลอดภัยส�ำหรับเด็กเล็ก ความต้องการอธิบายถึงคุณค่าของหนังสือนิทานกับพัฒนาการเด็กเล็ก ท�ำให้ “ป๊อบ” ค้นหาช่องทางในการสื่อสารประเด็น “หนังสือนิทาน ๑ เล่ม สอนเด็กได้หลายเรื่อง” สู่สาธารณะ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และหลักสูตรที่ เขาสร้างสรรค์ขึ้น เขาบอกว่านี่คืออาการของคนดื้ออยู่เสมอ ที่จะตั้งค�ำถามถึง ช่องทางใหม่ ๆ ซึง่ อาจยังไม่เคยเกิดขึน้ เป็นอาการดือ้ ทีเ่ ขาบอกว่า “แก้ไขยาก”

มองอนาคต “ระนอง นครแห่งการอ่าน” จากจุดเริ่มต้นท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านของกลุ่มระบัดใบเมื่อ ๖ ปีก่อน ด้วยค�ำถามทีก่ อ้ งกังวานในหัวว่า “หนังสือเปลีย่ นแปลงเด็กได้จริงหรือเปล่า” ต่อเนือ่ งจนถึงค�ำถาม “หนังสือส่งเสริมการอ่านและพัฒนาการเด็กได้อย่างไร” ถึงวันนี้ได้เห็นความเคลือ่ นไหวของภาค ประชาชน ครู ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในชุมชนซึ่งเป็นพื้นที่ ท�ำงานของกลุ่มระบัดใบ จังหวัดระนอง ที่ได้หยิบเอาหนังสือนิทานและกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ไปเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้เหมาะสมกับวัย น�ำไปเป็นเครื่องมือในการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านลบของเด็กเล็กให้กลายเป็นด้านบวกได้ แต่เมื่อมองไปถึงการเกิดวัฒนธรรมการอ่านในระดับจังหวัด “ป๊อบ” ยืนยันว่า ยังต้องใช้ เวลาขับเคลื่อน เพื่อสร้างเสริมให้เข้าใจแก่นแท้ของการอ่านอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับบุคคล ชุมชน รวมถึงในระดับประเทศผ่านนโยบายควบคู่กันไปด้วย โดยเขายังคาดหวังถึงการขยับ เข้ามาหนุนเสริมของแผนงานฯ การอ่านด้านนโยบายระดับประเทศ คู่กับการท�ำงานในพื้นที่ของ 52

∞∞

ภาคประชาสังคม เช่น ประเด็น เรื่องครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไม่มี หนังสือที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เนื่องจากผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่ ว นท้ อ งถิ่ นส่วนใหญ่ขาดความ เข้าใจเรื่องการจัดซื้อสื่อการเรียน การสอน ท�ำให้ไม่กล้าซื้อหนังสือ นิทาน เพราะกลัวถูกส�ำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบ เอาผิด โดยทีมงานระบัดใบและเครือข่ายจิตอาสาในพื้นที่ท�ำได้เพียงการสื่อสารและสร้างความ เข้าใจกับครูหรือเจ้าหน้าที่การศึกษาจาก อปท. ในพื้นที่ท�ำงานท�ำงานเท่านั้น ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่ยังขาดความเข้าใจอีกหลายแห่ง ซึ่งหากสร้างให้เกิดความเข้าใจจากนโยบายระดับประเทศได้ จะเกิดผลดีกับเด็กเล็กในทุกต�ำบลของประเทศไทย “อีกเรื่องที่ส�ำคัญต่อการขับเคลื่อนเพื่อสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านเป็นอย่างมาก คือ เรื่องของตลาดหนังสือ อยากให้มีนโยบายบังคับลงมาเลยว่าตลาดหนังสือควรจะต้องมีรูปแบบ อย่างไร กระจายหนังสืออย่างไร การตลาดเป็นอย่างไร เพราะทุกวันนี้หลาย ๆ พื้นที่ในประเทศ เราเข้าถึงหนังสือยาก อยากให้มีระบบในการช่วยเหลือพื้นที่ให้ซื้อหาหนังสือง่ายและได้ราคาส่ง และร้านค้าก็ตอ้ งอยูไ่ ด้ดว้ ยเช่นกัน อย่างตอนนีร้ า้ นหนังสือทีร่ ะนองก็ปดิ ตายกันไปเรียบร้อยแล้ว ทุกวันนี้ ศูนย์ฯ เด็กเล็กเครือข่ายทีเ่ ข้าร่วมท�ำงานประเด็นการอ่านกับเรา อยากได้หนังสือทีเ่ หมาะสม กับวัยของเด็ก ๆ จะไปสั่งซื้อที่ร้านเครื่องเขียนก็ไม่ได้ เพราะร้านไม่มีและไม่ซื้อมาให้ พอหันมา 53

∞∞

ให้ อบต. จัดซื้อตามที่ต้องการ อบต. ก็ไม่รู้ว่าจะไปซื้อให้ที่ไหน ก็ต้องมาให้เราช่วยสั่งซื้อจาก บริษัทให้” ดังนั้น หากมีช่องทางซื้อขายหนังสือเกิดขึ้นในพื้นที่ หรือหนังสือสามารถส่งถึงในพื้นที่ ทีต่ อ้ งการได้อย่างสะดวก พืน้ ทีย่ อ่ มมีเครือ่ งมือส�ำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึน้ ในชุมชนได้ ที่ผ่านมา ป๊อบท�ำงานด้วยการพิสูจน์ให้เห็น ลงมือท�ำ สร้างคน สร้างทีมเคลื่อนในพื้นที่ เพื่อความยั่งยืน ป๊อบตั้งค�ำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเพื่อหาช่องทางในการพัฒนา ท�ำงานด้วยวิธีการ เกาะติดสถานการณ์แบบไม่ท้อถอย ด้วยการศึกษาหาข้อมูลรอบด้าน ค้นคว้า น�ำข้อมูลไปย่อย จนเกิดผลส�ำเร็จ ป๊อบมองนอกกรอบ ตั้งค�ำถาม และมุ่งค้นหาวิธีตอบโจทย์ค�ำถามที่ตั้งไว้ทุกช่องทาง กระทั่งค้นพบการจัดกระบวนการเรียนรู้ ผ่านการผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ต้องการส่งมอบให้กลุ่ม เป้าหมาย เมื่อพูดถึงอนาคตของการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในเมืองจังหวัดระนอง “ป๊อบ ระบัดใบ” ยืนยันส่งท้ายว่า ในหน้างานส่วนตัวยังคงมองไปที่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ ด้วยฐานแนวคิดที่ว่า “หนังสือสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม หนังสือส่งเสริมการอ่านและ พัฒนาการเด็กอย่างไร” เขายังคงยึดการตั้งค�ำถามไว้น�ำทางสู่การพัฒนาต่อไป นอกจากหนังสือสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ สิ่งที่พบเพิ่มเติมในวันนี้คือ การ ตั้งค�ำถามที่ใช่ของคนหัวดื้อ “ป๊อบ ระบัดใบ” ก็สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมได้เช่นกัน 54

∞∞

= Growth Mindset = - การรู้สถานการณ์จริงน�ำมาซึ่งวิธีการท�ำงานให้มีประสิทธิภาพ - มองความต้องการของเครือข่ายให้ชัดเจน ท�ำให้เกิดผลส�ำเร็จสูงสุดทุกฝ่าย - ความส�ำเร็จเกิดจากการทดลองท�ำสิ่งที่ไม่เคยท�ำอย่างไม่ท้อถอย - เราทุกคนสามารถเรียนรู้ได้โดยไม่มีวันสิ้นสุด - ต้องเผยแพร่ความรู้ที่มีอยู่ จึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง - การตั้งค�ำถามเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนท�ำงาน - ศักยภาพของคนพัฒนาได้ตลอดชีวิต



“ช่วงท�ำงานที่ รพ.กะเปอร์ ก็ได้ทำ� งานร่วมกับพีป่ อ๊ บหลายครัง้ เรียกว่า เราท�ำงานแบบช่วยเสริมกัน พี่ป๊อบมีองค์ความรู้เรื่องการท�ำสื่อนิทานและมี เทคนิคการเล่านิทานแบบสนุก สามารถถ่ายทอดเรื่องประโยชน์ส�ำหรับเด็ก ๆ จากการอ่านหนังสือนิทานได้ ส่วนทางเรามีทรัพยากรบุคคลที่อยากพัฒนา ศักยภาพ ทั้งครู ศพด. และ อสม. หรือเครือข่าย อบต. ก็จับ ๒ ส่วนนี้มาเจอ กัน ผลลัพธ์ก็เกิดในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กผ่านกระบวนการอ่าน” ชุฤณี เอี่ยมองค์ พยาบาลวิชาชีพช�ำนาญการ ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง

55

∞∞



“ตอนนั้น พี่เอี่ยม รพ.กะเปอร์ ชวนเนไปเวิร์กช็อปกับทีมพี่ป๊อบ ก็ฟัง ๆ ไปแต่ไม่ได้ใส่ใจ เพราะสมองเราโปรแกรมแล้วว่า ถ้าเด็กมีปัญหา พัฒนาการก็ต้องไปหาหมอ เราเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขก็รู้เรื่องพวกนี้อยู่ แล้วว่าต้องท�ำยังไง แล้วพวกพี่ป๊อบเป็นใคร เขาไม่ใช่หมอซะหน่อย คิดว่า เรื่องที่เขาพูดมันไม่ได้ผลหรอก ถ้าพ่อแม่ไม่เก่ง จะให้เด็กอ่านมากยังไง เด็กก็ไม่ได้เก่งขึ้นหรอก



หลังจากนั้นพี่ป๊อบกับพี่แนนก็ยังลงมาท�ำกิจกรรมในพื้นที่อยู่เรื่อย ๆ ดูเหมือนไม่แคร์ว่าเราจะ เอาด้วยมัย้ ใครจะเอาไม่เอาก็ยงั มาตลอด (หัวเราะ) จนในทีส่ ดุ เราก็ได้เห็นผลลัพธ์ทมี่ นั เกิดกับเด็กคน อื่นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ชุดความรู้นี้ก็ค่อย ๆ ซึมเข้ามา จนมีลูกเองก็เริ่มคิดถึงเรื่องพัฒนาการเด็กจากการ อ่าน การเล่านิทานของพี่ป๊อบ เลยติดต่อไปว่าเนสนใจกิจกรรมของพี่นะ อยากให้มาอบรมให้บ้าง พี่ป๊อบก็ใจดีมากมาที่ รพ.สต. จนเราได้พัฒนาเรื่องการท�ำสื่อ มีการจัดมุมอ่านใน รพ.สต. เวลาเด็ก ๆ มาฉีดวัคซีนก็ได้เข้าไปเล่นไปอ่านทีม่ มุ หนังสือด้วย ผอ.รพ.สต. ก็สนับสนุนการตกแต่งและเพิม่ เติม ของเล่นมาให้ด้วย” เกตน์สิรี คิ้วสง่า รพ.สต.เชี่ยวเหลียง อ�ำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง



“ตั้งแต่อบรมมา มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น รู้จักเอาสื่อมาใช้ได้จริง มีเทคนิคในการค้นหาเครือข่าย แลกเปลี่ยนความรู้ ช่วยเหลือกัน ส่วนเด็ก ๆ กับผู้ปกครองก็เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก เพราะหนังสือนิทาน ๑ เล่ม พัฒนาเด็กได้หลายด้าน เราเชื่อมเอาหนังสือนิทานมาใช้กับของเล่น กับสื่อที่ท�ำขึ้นเองได้ เด็ก ๆ ก็ทั้งสนุกและได้เรียนรู้ไปด้วย ทุกวันนี้ที่ ศพด. ก็กลายเป็นสถานที่รองรับการอ่านทั้งของเด็ก ๆ และผู้ปกครองในชุมชนไปแล้ว” ครูเพียงใจ พุฒแก้ว ครู ศพด. บ้านระวิ อ�ำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

56

∞∞



“เรื่องเปิดบ้านเป็นมุมอ่านนี่พร้อมมาก อยากได้สุด ๆ คิดถึง คุณค่า ดูสิ มีหนังสือมาให้อา่ นถึงในชุมชน ถึงบางเล่มจะเก่าแต่มคี ณ ุ ค่า เราไม่ต้องเสียเงินซื้อเอง มีแต่ได้ทั้งหนังสือและความรู้ แถมมีเด็ก ๆ มาอ่านที่บ้าน ลูกเราก็สนุก มีความสุขด้วย เพราะเพื่อนมาบ้านเยอะ หมุนเวียนกันมา ๑๐-๒๐ คน เด็กทุกคนชอบนิทาน ชอบระบายสี หนังสือ นิทาน ๑ เล่ม มันทั้งสนุกและเป็นวิชาการด้วย เช่น เรื่องเลข เรื่องสีสัน เรื่องสิ่งแวดล้อม

หนังสือช่วยเสริมพัฒนาการได้จริง ๆ เราอ่านนิทานให้ลูกฟังบ่อย ลูกไปเรียน หนังสือ ครูยังบอกมีสมาธิดี ก็แนะน�ำคนอื่นเหมือนกันว่า ถ้าอยากให้ลูกมีสมาธิ และอารมณ์ดี ตอนท้องก็เริ่มอ่านหนังสือให้ลูกฟังได้แล้ว มันต้องค่อย ๆ เริ่ม เพราะเป็นเรือ่ งใหม่ในชุมชน ยิง่ ถ้าพ่อแม่อา่ นกับลูกก็สร้างความผูกพันใน ครอบครัวได้ เราใส่วิชาการทักษะทั้งความรู้รอบตัวและจริยธรรมที่อยาก สอนลูกไปตอนเล่านิทานได้ด้วย เด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้แบบสนุก

การมีโครงการฯ จากพี่ป๊อบเข้ามามันดี เป็นโอกาสกับเด็กชนบท เพราะ พวกเราที่นี่ไม่มีโอกาสไปร้านหนังสือตามห้างในเมืองหรอก (หมู่บ้านห่างจากตัวเมือง ๘๐ กม.) ตอนนี้ที่บ้านก็เป็นเหมือนร้านหนังสือ แต่ไม่ได้ขาย ให้เข้ามาอ่านฟรี ยืมกลับไปอ่านก็ได้ด้วย” เครือวัลย์ สงคราม อสม. ต�ำบลเชี่ยวเหลียง อ�ำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

57

∞∞

อ่านสร้างสุข วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ

โอกาสสร้างคน คนสร้างโอกาส : ชมพู่ ลูกเหรียง ยะลา อ่านสร้างสันติภาพ อ่านสร้างคุณภาพชีวิต

หลายสิ บ ปี ก ่ อ น “ชมพู ่ ” เกิ ด เป็ น ลู ก สาว ในครอบครัวมุสลิม ที่บ้านปุโรง อ�ำเภอกรงปินัง จังหวัด ยะลา ปัจจุบัน “ชมพู่” เป็นคุณแม่ของลูกสาวตัวเล็ก ๆ ช่างเจรจาคนหนึ่ง ปัจจุบัน “ชมพู่” เป็นก�ำลังส�ำคัญในการเยียวยา หัวใจและชีวติ ของเด็ก ๆ ทีต่ อ้ งสูญเสียบุคคลอันเป็นทีร่ กั จากเหตุการณ์ความไม่สงบ

ปัจจุบนั “ชมพู”่ เป็นนายกสมาคมเด็กและเยาวชน

เพื่อสันติภาพชายแดนใต้ หรือที่รู้จักกันในนามกลุ่ม “ลูกเหรียง” ปัจจุบัน “กลุ่มลูกเหรียง” ท�ำงานพัฒนาสังคมในบทบาทภาคประชาสังคมหลากหลาย ประเด็น ปัจจุบัน “การส่งเสริมการอ่านในชุมชน” เป็นประเด็นหนึ่งที่กลุ่มลูกเหรียงรับบทบาท ขับเคลื่อนงานน�ำร่องในพื้นที่จังหวัดยะลา กลุม่ ลูกเหรียงรวมตัวกันในนามของเด็กและเยาวชนทีท่ ำ� งานประเด็นเอดส์ในพืน้ ทีจ่ งั หวัด ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ต่อมาหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ๓ จังหวัด ชายแดนใต้ สมาชิกของกลุ่มลูกเหรียงหลายคนสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป จึงมีการรวมตัวกัน เพื่อเยียวยาตนเองและยุติความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนทุกรูปแบบ กระทั่งก่อเกิดเป็นค่าย เยียวยาเด็กและเยาวชนด้วยศิลปะ รับดูแลเด็กและเยาวชนที่เป็นผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบจนถึงปัจจุบัน วันนี้ “ชมพู”่ และสมาชิกกลุม่ ลูกเหรียงยังคงท�ำงานพัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมในประเด็น ต่าง ๆ ด้วยปณิธานตั้งมั่นคือ เพื่อสันติภาพชายแดนใต้ วันนี้ “ชมพู่” คือผู้หญิงมุสลิม คือแม่ของลูกน้อย คือลูกของพ่อแม่ คือภรรยาของสามี ทีต่ ดั สินใจด�ำเนินชีวติ เป็นหนึง่ ในผูส้ ร้างและสนับสนุนการก่อเกิดสันติภาพในพืน้ ทีบ่ า้ นเกิด จังหวัด ยะลา และวันนี้ “ชมพู่ วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ” เป็นก�ำลังส�ำคัญของงานขับเคลื่อน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนของพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแผนงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 60

∞∞

ด้วยประสบการณ์ท�ำงานและทุนทางสังคมอันหลากหลายซึ่งสั่งสมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ ด้วยการสวมหมวกนักพัฒนาสังคมภาคประชาชน ผู้ศรัทธาใน “โอกาส” และส่งมอบ “โอกาส” ส่งผลให้งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในจังหวัดยะลาเกิดผลลัพธ์ สร้างความเปลี่ยนแปลง ทางความคิดและพฤติกรรมของผู้คนจ�ำนวนมาก ทั้งเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ เธอยืนยันว่า การอ่าน คือ การเปิดโลก และ การส่งเสริม การอ่ านให้เกิดขึ้น ในชุมชน เป็น ส่ว นหนึ่งของการส่งเสริม สันติภาพ 61

∞∞

ผู้หญิง-การศึกษา-ยะลา-สวีเดน ย้อนกลับไปวัยเด็ก “วรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ” หรือ “ชมพู่” เรียนประถมศึกษาที่ โรงเรียนบ้านปุโรง อ�ำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา “ได้เป็นตัวแทนไปประกวดทักษะวิชาการต่าง ๆ เยอะมาก เพื่อน ๆ ก็ให้เราเป็นประธานฯ เพราะเราเรียนเก่ง คุยเก่ง กล้าแสดงออก แล้วพี่ ชายพี่สาวก็เป็นประธานมาด้วยก่อนนั้น มีพี่น้อง ๗ คน ก็เป็นกันมาหลาย ๆ รุ่น ตั้งแต่หัวหน้า ห้อง ประธาน มาเรื่อย ๆ ตอนนั้นมีพี่ชายก็เป็นผู้ใหญ่บ้านด้วย” จังหวะนั้น “โอกาส” เดินทางมาหาเธอ เมื่อพัฒนากรประจ�ำอ�ำเภอปุโรงส่งเสริมให้เธอ และเพื่อน ๆ รวมกลุ่มกันท�ำกิจกรรมในหมู่บ้าน ทั้งจัดสรรพื้นที่ ในหมู่บ้านปลูกผักร่วมกัน ท�ำปั๊มน�้ำมันหลอดขาย “พัฒนากรท่านชื่อ คุณเบญจกร ก้าวเขียว สนับสนุนให้สร้างกลุ่มเยาวชน เรียนไปด้วย ท�ำไปด้วย ตอนนั้นแค่ ป.๕ เอง ไม่ได้คิดว่าท�ำไปเพื่ออะไร ก็แค่ไม่อยากอยู่เฉย ๆ อยากท�ำอะไร กับเพื่อน ท่านเป็นคนมองการณ์ไกลมาก ผลักดันให้เราไปเรียนพิมพ์ดีดด้วย ตอนนี้ท่านเกษียณ ไปแล้ว” ละแวกบ้านเธอในยุคสมัยนั้น เมื่อเรียนจบ ป.๖ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการสนับสนุน จากครอบครัวให้เรียนต่อ เนื่องจากนิยมให้ผู้หญิงแต่งงานเร็ว ผู้ใหญ่ส่วนมากจึงมีแนวคิดว่า อีกไม่นานลูกสาวจะมีผู้ชายมาขอแต่งงาน แล้วช่วยกันท�ำมาหากิน มีลูกเลี้ยงลูก ดังนั้นผู้หญิง ไม่จ�ำเป็นต้องเรียนต่อ

“จบ ป.๖ เพื่อน ๆ ผู้หญิงก็ไม่มีใครได้เรียนต่อเลยสักคน มีแค่เราที่ได้เรียน โชคดีที่ 62

∞∞

พ่อแม่ให้โอกาส บางคนคิดว่าเป็นผู้หญิง อีกไม่นานก็ต้องแต่งงาน แต่ตัวเราตอนนั้นคิดว่าไม่ใช่ ไม่อยากมีชวี ติ แบบนัน้ หนทางเดียวทีเ่ ราจะไม่ตอ้ งรีบแต่งงานและได้ทำ� งานดี ๆ คือต้องเรียนสูง ๆ เหมือนในใจรู้ว่าศักยภาพของเรามีมากกว่านั้น” วิธีการค้นหาเส้นทางก้าวไปสู่เป้าหมายของเธอในตอนนั้น คือ เสาะแสวงหาหนังสือมา อ่านให้มากทีส่ ดุ เนือ่ งด้วยรับหน้าทีเ่ ป็นคนดูแลห้องสมุดจึงมีโอกาสได้อา่ นหนังสือทัง้ หมดทีม่ อี ยู่ “ช่วงนั้นครอบครัวล�ำบาก ยากจนมาก ๆ แต่ครอบครัวเราขยัน ถ้าเป็นวันเสาร์อาทิตย์ทั้ง บ้านจะไปช่วยเก็บน�้ำยาง บ่าย ๆ ก็ปลูกมัน ปลูกข้าวโพด ท�ำนา ห้องส้วมที่บ้านยังไม่มี โทรทัศน์ ทีบ่ า้ นก็ไม่มี แต่ชวี ติ ของเรามันพลิกไปก็เพราะเรามีโอกาสอ่านหนังสือพิมพ์และอ่านหนังสือต่าง ๆ 63

∞∞

ที่ห้องสมุด แล้วรู้เลยว่าโลกมันกว้างมาก มันไม่ได้มีแค่บ้านที่เราอยู่ ยิ่งอ่านยิ่งท�ำให้อยากรู้ เรื่องราวต่าง ๆ มากขึ้นอีก” “ชอบอ่านหนังสือมาตัง้ แต่เด็ก ๆ เวลาได้เข้าในจังหวัด ตรงคิวรถสองแถวจะมีแผงหนังสือ เราก็จะเอาเงินเก็บที่ช่วยแม่เก็บน�้ำยางไปซื้อหนังสือการ์ตูน นิตยสาร ตอนเด็กมาก ๆ จ�ำไม่ได้ ว่าชื่ออะไรบ้าง แต่โตมาหน่อยชอบอ่านคู่สร้างคู่สมเป็นชีวิตจิตใจ คนที่เห็นก็จะชอบแซวว่าอ่าน เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ แต่เนื้อหาจริง ๆ ในหนังสือคู่สร้างคู่สมส่วนใหญ่เป็นการเล่าเรื่องราวของ ประเทศต่าง ๆ ในโลกให้เราได้รู้ ส่วนเรื่องผัวเมียมีอยู่น้อยมาก เราไม่รู้ว่าหนังสือเล่มอื่น ๆ เล่า อะไรหรอก เพราะว่าไม่มีเงินจะซื้อหนังสือเยอะขนาดนั้น แต่คู่สร้างคู่สม เราตั้งใจเก็บเงินเพื่อ จะซื้อมาเลย สมัยนั้นน่าจะเล่มละ ๑๐ กว่าบาท” เมื่อเริ่มเรียน ม.๑ เพียงพักเดียว พัฒนากรหญิงประจ�ำอ�ำเภอ ปุโรงส่ง “โอกาส” ให้ชมพู่อีกครั้ง ด้วยการสนับสนุนให้สอบชิงทุนของ กระทรวงมหาดไทย ไปเป็น นักเรียนแลกเปลี่ยนที่ประเทศสวีเดน เธอตัดสินใจเข้าร่วมสอบแข่งขัน ด้วยความคิดแน่วแน่คือต้องการ หันหน้าเข้าหาการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น “พอเราชนะทีน่ แี่ ล้วก็ไปแข่งระดับประเทศทีช่ ลบุรอี กี รอบ เป้าหมายในใจคือ เรารูช้ ดั เจน ว่า ฉันจะต้องไปให้ได้ ตอนนั้นถึงกับขาดเรียนไปสอบเลยนะ สุดท้ายเราได้ไป” การได้รับโอกาสในวัยเด็กครั้งนั้น ส่งผลให้ชมพู่มีความเชื่อและศรัทธาเรื่องการสร้าง โอกาส และส่งมอบโอกาสมาจนถึงทุกวันนี้

“เราก็อยากดูแลให้โอกาสคนอื่น ให้เขาได้รับอย่างที่เราเคยได้บ้าง” 64

∞∞

ผู้ชายก็ช่วยกันท�ำได้ ไม่ใช่เฉพาะเป็นเพศใด เพศหนึง่ ทีต่ อ้ งท�ำ แม้กระทัง่ เราทีเ่ ป็นชาวต่าง ชาติก็ได้รบั การปฏิบตั อิ ย่างเท่าเทียมเช่นกัน”

ระยะเวลา ๖ ปีในประเทศสวีเดนของ นักเรียนแลกเปลีย่ นจากพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดน ใต้ของประเทศไทย ส่งผลกับความคิดของ ชมพู่ให้คดิ อย่างรอบคอบ มีเหตุผล รับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม เก็บออมเงิน รูจ้ กั ใช้เงิน เรียนรู้จากการอ่านหนังสือมากขึ้น เนื่องจาก ห้องสมุดทีน่ นั่ มีหนังสือมากมายเกินกว่าทีเ่ ธอ เคยคาดคิดไว้

เมื่อถึงเวลากลับมาเมืองไทย ชมพู่ ยอมรับว่าตนตกอยู่ในภาวะไม่รวู้ า่ จะท�ำอะไร กับชีวติ ต่อไป ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทีบ่ า้ น ทีย่ งั เหมือนเดิม เช่น สาธารณูปโภค ถนน น�ำ ้ ไฟฟ้า รวมถึงวินัยของผู้คน ซึ่งแตกต่างไป จากอีกประเทศที่เพิ่งจากมาราวพลิกฝ่ามือ

“ตอนแรก ๆ ไม่ค่อยรู้ถูกผิด ไปแซง คิวซือ้ ของในซุปเปอร์มาร์เกต มีคนพูดด่าเลย หลังจากนัน้ ก็คอยสังเกตดู เฮ้ย ! ไม่มีใครเขา แซงคิวกันเลย ก็ค่อย ๆ ปรับตัวให้เหมือนกับ คนอื่น รู้สึกว่าเราได้ไปอยู่ ในโลกที่ดีมาก จากตอนแรกที่ ไปถึงมันงง ๆ ไม่คุ้น เป็น เด็กบ้านนอก เครือ่ งซักผ้า เครือ่ งดูดฝุน่ ก็ใช้ ไม่เป็นเลยตอนแรก แต่ครอบครัวทีเ่ ราไปอยู่ ด้วยดีมากเลย สอนทุกอย่าง พออยู่ไปสักพัก เราปรับตัวได้ ความคิดมันก็พลิกกลับเลยนะ คือชอบสังคมทีน่ นั่ มาก เพราะท�ำให้เรามีวนิ ยั ซึ่งเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้น ได้รู้เรื่องการใช้ชีวิต อย่างเท่าเทียม เช่น การท�ำงานบ้าน ผู้หญิง

“เรือ่ งมันเยอะเลยงง ๆ เพราะตอนจะ ไปสวีเดนเพื่อนไม่เชื่อ โรงเรียนก็ ไ ม่เชื่อ เพราะพัฒนากรท่านพาไปสอบ เลยมีแต่พ่อ แม่เราที่เชื่อ พอได้ไปจริง ๆ ก็ยังมีคนคิดว่า ไปขายตั ว หรื อ เปล่ า และเรายั ง เด็ ก มาก หลายคนก็กลัวว่าจะโดนหลอก แถมตอน กลับมาก็อ้วนมาก เลยมีคนพูดกันว่าท้อง หรือเปล่า จริง ๆ เป็นช่วงวัยรุน่ ร่างกายก�ำลัง เปลี่ยนพอดี พ่อกับแม่เรานี่ ใจเย็นมาก ๆ เพราะเสียงลือเรื่องท้องมันเยอะมาก เราก็ เครียดนะ แต่ก็ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ไป สุดท้ายทุกคนก็เห็นเราปกติดี” 65

∞∞

ลูกเหรียง... ลูกหลานยะลา กลับจากสวีเดนมาอยู่บ้านใหม่ ๆ เธอมีเงินเก็บจากเบี้ยเลี้ยงที่เคยได้รับระหว่างเรียน ก้อนหนึ่ง จึงน�ำมาเปลี่ยนหลังคาบ้าน พอเหมาะกับช่วงที่สถานการณ์ในบ้านดีขึ้น บวกกับความ รู้สึกรักและอยากอยู่บ้านเกิด ชมพู่จึงตัดสินใจเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา สาขา วารสารศาสตร์ เหตุเพราะสนใจเกีย่ วกับการสือ่ สาร การพูด ระหว่างเรียนได้ทำ� กิจกรรมออกค่าย อาสาพัฒนาร่วมกับเพื่อน ๆ ท�ำให้ค้นพบว่าเวลาออกไปท�ำค่ายแล้วมีความสุขมาก ช่วงนั้นจึง รวมกลุม่ กับเพือ่ นเพือ่ ให้ความรูแ้ ก่เยาวชนเรือ่ งเอดส์ เรือ่ งสิทธิเด็ก กระทัง่ ได้ตงั้ เป็นกลุม่ ท�ำงาน พัฒนาสังคมชื่อ “ลูกเหรียง” ตัง้ แต่สมัยเรียนจนกระทัง่ เรียน จบปริญญาตรีมาแล้ว ชมพูก่ บั เพือ่ น ๆ ยั ง ท� ำ กิ จ กรรมเพื่ อ สั ง คมกั น อย่ า งมี ความสุ ข สนุ ก สนาน ตั้ ง แต่ ช ่ ว งปี ๒๕๔๐ เรื่ อ ยมา กระทั่ ง ย่ า งเข้ า ปี ๒๕๔๗ เริ่มมีความรุนแรงเกิดขึ้นใน พื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ และพี่ชายของ เธอเป็นหนึ่งในผู้จากไประหว่างการ เกิดเหตุรุนแรงช่วงนั้น

เมื่อพี่ชายถูกยิงเสียชีวิต สถานการณ์ที่บ้านของเธอก็เปลี่ยนไป จากที่เคยมีพี่ชายเป็น 66

∞∞

เสาหลักของครอบครัว หลังจากพี่ชายตาย วัวจ�ำนวนมากทั้งหมดก็ถูกขโมยหายไปใน คืนเดียว พร้อมกับมีเรื่องการข่มขู่ตามมา จนครอบครัวเริม่ หมดก�ำลังใจ เพราะไม่คดิ ว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในครอบครัว

จะได้กลับมาท�ำกระบวนการเพือ่ ช่วยเด็ก ๆ บ้าง เรารู้ว่าเด็ก ๆ คงรู้สึกเจ็บปวดได้ไม่แพ้กับ ผูใ้ หญ่ ถึงหลายคนจะไม่แสดงออก ไม่รอ้ งไห้ เพราะไม่อยากให้แม่เห็น โดยเฉพาะลูกผูช้ าย คนโตยิ่งมีอาการโกรธแค้นมาก เรารู้สึกว่า มันไม่แฟร์ที่เด็ก ๆ จะต้องมาเจอเรื่องราวนี้ ไม่อยากให้เด็ก ๆ เป็นระเบิดเวลาที่รอวันแก้ แค้น เลยตั้งเป้าว่าต้องมาท�ำค่ายกับเด็ก ๆ ให้ได้ แต่กน็ านเหมือนกันกว่าจะได้กลับมาท�ำ เพราะเราต้องหาเงิน มาจัดค่าย ก็ ไปเป็น ผู้ช่วยวิทยากร เป็นล่ามแปลในงานต่าง ๆ จนได้เงินพอ แล้วเรากับเพื่อนก็กลับมาจัด กระบวนการโดยเอาเรือ่ งงานศิลปะมาเริม่ ท�ำ ค่ายเยียวยาเด็ก เราชวนเด็กวาดรูปเล่าเรื่อง ใช้กระบวนการแบบนี้กับเด็ก นั่นคือครั้งแรก ที่ ท� ำ กั บ เด็ ก ๆ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก สถานการณ์”

วันนั้นหลานของชมพู่ท้ัง ๔ คนต้อง กลายเป็นลูกก�ำพร้าพ่อ จากนั้นภายในปีเดียวกัน ชมพู่ได้มี โอกาสพาคณะท�ำงานองค์กรพัฒนาสังคม เกีย่ วกับผูห้ ญิงจากกรุงเทพฯ เข้าไปเยีย่ มเด็ก ก�ำพร้าที่สูญเสียพ่อแม่จากเหตุการณ์รุนแรง ในพื้นที่ เธอพบว่าเด็ก ๆ ล้วนอยู่ในภาวะ โกรธแค้น หลายเสียงพูดออกมาเพียงแค่ อยากโตไว ๆ เพื่อไปแก้แค้น องค์กรหลักที่ เข้ามาท�ำงานช่วงนั้นตั้งเป้าหมายไปที่การ ช่วยเหลือผูเ้ ป็นแม่ ยังไม่ได้มแี ผนงานรองรับ การเยียวยาเด็ก ๆ

จากการท� ำ ค่ า ยเยี ย วยาครั้ ง แรก พบว่าแม่ของเด็กหลายคนต้องไปท�ำงานที่ ประเทศมาเลเซีย ปล่อยให้เด็ก ๆ อยู่บ้าน

“วันนั้นเห็นแล้วคาใจเรื่องความรู้สึก ของเด็ก ๆ เลยคุยกับเพื่อนที่เป็นวิทยากรว่า ต้องเรียนรู้กระบวนการให้มากที่สุด เผื่อเรา 67

∞∞

กันเอง โดยไม่รู้ว่าจะได้ไปเรียนหรือเปล่า เพราะแม่ไม่มีเงิน หรือเด็กบางคนก็ต้องไปอาศัยอยู่ กับญาติ แต่ตอ้ งนอนอยูห่ น้าบ้านเพราะไม่ได้รบั อนุญาตให้เข้าไปนอนในบ้าน ในขณะทีบ่ างคน ก็ต้องออกจากโรงเรียน “ชมพู่” จึงเริ่มจัดระเบียบให้เด็ก ๆ ที่ต้องออกจากโรงเรียนมาอยู่ที่บ้านลูกเหรียงก่อน จากนั้นค่อย ๆ จัดการเรื่องย้ายโรงเรียนให้ทีละคน “ตอนนั้นต้องหุงข้าวเพิ่ม ต้องไปรับส่ง ที่โรงเรียนไป ต้องใช้เงินเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ช่วงแรกที่ผ่านไปได้สบาย ๆ เพราะพ่อกับแม่ ของเราเลย ช่วงนั้นกลับไปเอาข้าวที่บ้าน ไปยืมเงินแม่บ่อย ๆ โชคดีที่บ้านเราท�ำนาเลยไม่ต้อง ซื้อข้าว” เมื่อเวลาผ่านมาพักใหญ่ พ่อกับแม่ยังเห็นชมพู่ รับเด็ก ๆ มาดูแลเพิ่มเติมเรื่อย ๆ จึงเริ่มถามด้วย ความเป็น ห่วงถึงการหางานท�ำเป็น หลักแหล่ง เช่น สอบราชการ เพื่อตั้งเนื้อตั้งตัวเหมือนเพื่อนฝูง เพราะ เห็นลูกสาวเริ่มขาดเงินจับจ่ายใช้สอย “เขาถามว่า แล้วเราจะใช้ชีวิตแบบนี้ ไปอีกถึง เมื่อไหร่ ได้ยินก็สะอึกนะ เพราะบางทีเราเคยมองเพื่อน แล้วคิดว่า ดีเนอะ เขาไม่ตอ้ งมาทุกข์ใจว่าเดือนนีจ้ ะมีเงิน โครงการไหนเข้ามาเท่าไหร่ ข้าวสารจะหมดหรือยัง แต่พอเราหันไปเห็นเด็ก ๆ ซึ่งเขาก็ ไ ม่ได้อยู่เฉย ๆ ทุกคนทั้งเรียน ท�ำงาน ช่วยกันเขียนโครงการต่าง ๆ เสนอขอทุนท�ำงาน ได้บ้างไม่ได้บ้าง บางที ก็เจอปฏิเสธกลับมาแบบเจ็บ ๆ แต่เราก็น�ำค�ำปฏิเสธมาเป็นพลังท�ำต่อไป ท�ำต่อให้ดีขึ้นไปอีก” 68

∞∞

ส่วนหนึ่งที่ท�ำให้ “ชมพู่” ตัดสินใจเอื้อมมือเข้าไปเยียวยาหัวใจเด็ก ๆ ตั้งแต่ ๑๒ ปีก่อน จนถึงปัจจุบัน ด้วยเพราะเธอรู้สึกอย่างลึกซึ้งว่าความเจ็บปวดคับแค้นใจของเด็ก ๆ ไม่ได้ต่างจาก ที่เธอเคยรู้สึกมาก่อนจากการสูญเสียพี่ชาย ๓ คน และพี่สาว ๑ คน นับจากเหตุการณ์ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๒ เธอก็เคยรู้สึกเจ็บแค้น แต่ก็เรียนรู้ว่าการแก้แค้นไม่ได้ท�ำให้สถานการณ์ดีขึ้น ดังนั้น กระบวนการเยียวยาจึงส�ำคัญกับเด็กที่อยู่ในภาวะสูญเสียเป็นอย่างยิ่ง “การให้อภัยเป็นค�ำตอบหนึง่ ในกระบวนการเยียวยา แม้วา่ การให้อภัยเป็นเรือ่ งยากทีอ่ าจ ต้องใช้เวลา เราสอนให้เรียนรู้จักการให้อภัยเพื่อปลดปล่อยเรื่องราวในอดีตและอนุญาตให้ ตัวเราเดินต่อไปข้างหน้า นี่คือทางออกที่ดีสุด”

ห้องสมุดมีชีวิต กิจกรรมหนังสือหมุนเวียน เนื่องด้วยพื้นฐานของความเป็นคนชอบอ่านหนังสือและเปิดโลกกว้าง จนผลักชีวิต ออกนอกกรอบมาด้วย “การอ่าน” และ “หนังสือ” แล้ว เมื่อชมพู่ได้รู้จักแผนงานสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่าน จึงเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณมาขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่าน ในพื้นที่ โดยยึดเป้าหมายขององค์กรอยู่ในเป้าหมายของโครงการด้วยเช่นกัน คือ “อ่านเพื่อ สันติภาพ” ในนาม “โครงการชวนสร้าง ชวนอ่าน ชวนคิด สู่สุขภาวะ” ปีที่ ๑-๓ จากนั้นพัฒนาเป็นโครงการอ่านยกก�ำลังสุข อ่านสันติภาพที่ชายแดนใต้ เพื่อสร้างพื้นที่ การอ่านในวิถีชีวิตของคนทุกวัยในชุมชน เริ่มจากโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) มีเป้าหมายคือสร้างสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการจัดการตนเอง โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม มีส่วนสนับสนุนการจัดการให้เกิดกระบวนการที่จะน�ำไปสู่การ 69

∞∞

ระดมทุน เกิดเป็นกองทุนของตนเอง สร้างสรรค์นักอ่านหน้าใหม่ เกิดการอ่านเข้าไปสู่วิถีชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พฤติกรรม อันจะน�ำไปสู่กระบวนการสร้างสันติภาพ การท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านของกลุ่มลูกเหรียงผลักดันให้เกิดรูปธรรมของ พืน้ ทีต่ น้ แบบรักการอ่านในอ�ำเภอกรงปินงั จังหวัดยะลา ผ่านการท�ำงานกับโรงเรียนแกนน�ำ ชุมชน และโรงพยาบาลกรงปินงั เป็นพืน้ ทีน่ ำ� ร่อง พร้อมกับเพิม่ เติมอีกหนึง่ กลไกท�ำงานคือ การขับเคลือ่ น งานผ่านกลุ่มบัณฑิตอาสาสมัครประจ�ำชุมชน ของศูนย์อ�ำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ทีเ่ ข้ามาขับเคลือ่ นงานมุง่ ให้อำ� เภอกรงปินงั เป็นโมเดลเพือ่ ขยายผลรูปแบบการส่งเสริม การอ่านไปยังอ�ำเภออื่น ๆ “ปี ๒๕๕๘ เน้นไปที่อ�ำเภอกรงปินัง มีการท�ำวิจัยเป็นข้อมูลทางวิชาการ ท�ำงานกับคนใน ชุมชน ท�ำงานกับนายอ�ำเภอ ปลัดอ�ำเภอ จัดเวทีสง่ เสริมการอ่าน จัดมุมการอ่าน สนับสนุนกิจกรรม ห้องสมุดที่มีชีวิต และการมอบหนังสือเล่มแรกให้กับเด็กแรกเกิด โดยเวทีเสวนาการศึกษาและ บริบทชายแดนใต้ เพื่อส่งเสริมการอ่าน การศึกษา วิถีชีวิตคนชายแดนใต้ จัดขึ้นทั้งหมด ๕ แห่ง ด้วยกัน คือ อ�ำเภอกรงปินงั อ�ำเภอรามัน อ�ำเภอยะหา อ�ำเภอเมืองยะลา และอ�ำเภอเมืองปัตตานี” มีการขับเคลือ่ นหนังสือด้วยตะกร้าหนังสือ Book Bank ในโรงเรียนประถมศึกษา จ�ำนวน ๕ โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและชุมชนรอบ ๆ โรงเรียน เพื่อให้แกนน�ำในชุมชนกระจาย หมุนเวียนตะกร้าหนังสือไปตามจุดต่าง ๆ ในหมูบ่ า้ นและสับเปลีย่ นหมุนเวียนหนังสือใหม่ในตะกร้า โดยให้ชุมชนมีกองทุน Book Bank เป็นของตนเองผ่านการระดมทุนของแกนน�ำในชุมชนเอง เช่นกัน

70

∞∞



“พอได้เชื่อมงานกับกลุ่มลูกเหรียงแล้วไปอบรม สัมมนาเรื่องเปิดโลกการอ่าน ความรู้สึกตอนแรกคือ เย้! ดีใจมาก ได้หนังสือใหม่ ๆ มาเพียบเลย มาถึง โรงเรียนพวกนักเรียนก็ร้อง เย้! ดีใจเหมือนผม ทุกครั้ง ที่รู้ว่ามีหนังสือใหม่มาก็จะวิ่งกรูเข้าห้องสมุดเลย ผมมี กิจกรรมสนุกกับเด็ก ๆ เยอะ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต เช่น อ่านสนุกสุขทุกเช้า พอตอนเที่ยงก็ ให้นักเรียนมาจัด รายการเสียงตามสาย ทุกวันพุธมีเล่านิทานให้น้อง ๆ ฟัง ทุกวันศุกร์มีรายการดีเจเสียงใส ส่วนหลังเลิกเรียนก็มี กิจกรรม ๕ นาที “นั่งเปิดอ่าน ท่องจ�ำ ท�ำทุกวัน” และ “วางทุกงาน อ่านทุกคน” จนเด็ก ๆ เรียกผมว่า “เจ้าชาย ผูส้ ร้างแรงบันดาลใจ” เพราะพาหนังสือสนุก ๆ มาเล่นกับนักเรียนเยอะ”



“เป็นเครือข่ายรักการอ่านกันแล้วมันหยุดไม่ได้ ต้องขยายต่อกับชุมชนให้การอ่านเข้าถึง คนอื่น ๆ ด้วย ถามว่าได้อะไรตอบแทนเป็นชิ้นเป็นอัน มันก็ไม่มี แต่สิ่งที่ผมได้รับคือความสุขของการ เป็นครู แม้ว่าบางคนไม่ใช่ลูกศิษย์ แต่ก็เป็นญาติพี่น้อง ลูกหลานของลูกศิษย์ ผมก็มีความรักส่งมอบ ให้ผ่านเรื่องการอ่านนี่แหละ ถ้าใครรักการอ่าน คนนั้นจะมีพื้นฐานในการศึกษาเรื่องราวอื่น ๆ ในชีวิต เพิ่มเติม การอ่านท�ำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น ท�ำให้รู้เรื่องราวต่าง ๆ จากหนังสือ ไม่ถูกหลอกง่าย มีเอกสาร ที่ส�ำคัญก็สามารถอ่านออก เข้าใจความหมาย มีวิจารณญาณ ไม่ถูกชักจูงได้ง่าย”

ครูรักษ์-อภิรักษ์ ส�ำเร ครูโรงเรียนบ้านปุโรง อ�ำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

71

∞∞

โรงเรียนอ่านยกก�ำลังสุข อ�ำเภอกรงปินัง มีเครือข่าย ๕ โรงเรียน คือ ๑) โรงเรียนบ้านปุโรง ๔) โรงเรียนบ้านสะเอะ ๒) โรงเรียนบ้านโฉลง ๕) โรงเรียนบ้านห้วยกระทิง ๓) โรงเรียนบ้านกรงปินัง



“ชมพู”่ บอกว่าเป็น “โอกาส” ทีด่ มี ากเมือ่ ได้ทำ� งาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพราะนอกจากได้มอบ “โอกาส” ในการอ่านหนังสือให้กับเด็ก ๆ และคุณครูใน โรงเรียนเครือข่ายทีเ่ ข้าร่วมกิจกรรม ให้กบั กลุม่ เยาวชนและ กลุ่มสตรีในชุมชนที่ไม่เคยมีโอกาสได้อ่านหนังสือที่หลาก หลายเช่นนีม้ าก่อนแล้ว คณะท�ำงานของกลุม่ ลูกเหรียงเอง ก็ได้รบั คุณประโยชน์จากการท�ำงานส่งเสริมการอ่านเช่นกัน หลายคนในองค์กรไม่ชอบอ่านหนังสือมาก่อน แต่เมื่อเข้าท�ำงานโครงการฯ จึงได้อ่านอย่างจริงจัง ส่วนหลายคนที่เคยชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ค่อยมีโอกาส เข้าถึงหนังสือ ก็ได้โอกาสในการเข้าถึงหนังสือจ�ำนวน มากและหลากหลาย

72

∞∞



“ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ คือ ผมได้เริม่ รูจ้ กั ว่าหนังสือ และการอ่านมีความส�ำคัญต่อการด�ำเนินชีวิตของเรา หนังสือ ท�ำให้ประสบความส�ำเร็จหลายด้าน ได้ลงพื้นที่ รู้จักและสื่อสาร กับคนหลาย ๆ กลุ่ม หนังสือท�ำให้มีการสื่อสารกันในโรงเรียน และชุมชน

มาน-สุไลมาน เจะอุบง เจ้าหน้าที่กลุ่มลูกเหรียง จังหวัดยะลา

การท�ำงานร่วมกับแผนงานฯ การอ่านท�ำให้คณะท�ำงานได้องค์ความรู้ด้านการอ่านกับ พัฒนาการทางสมองเพื่อน�ำไปสื่อสารต่อมากยิ่งขึ้น รวมถึงตัวชมพู่เองก็เช่นกัน หนังสือก็ยังมี บทบาทในชีวิตเช่นเคย “ตัวเราเองก็ได้น�ำความรู้ไปใช้กับชีวิตการท�ำงาน ชีวิตคู่ สิ่งที่อ่านมันประยุกต์ได้กับชีวิต ทุกด้าน ทุกวันนี้กลุ่มลูกเหรียงเองก็มีกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านหนังสือด้วย มีการเรียนรู้ที่เกิด การเปลี่ยนแปลงชัด ๆ คือ เมื่อก่อนเด็กผู้ชายในบ้านชอบล้อเด็กผู้หญิงเรื่องมีประจ�ำเดือน เด็กผู้หญิงก็อาย ไม่กล้าพูดด้วย แต่พอได้อ่านหนังสือสุขภาพเรื่องการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงวัย ท�ำไมผู้ชายต้องมีขนตามแผงอก ท�ำไมต้องโกนหนวด ท�ำไมผู้หญิงต้องมีประจ�ำเดือน ท�ำไม ผู้หญิงเริ่มมีหน้าอก ซึ่งอ่านจบแล้วเราก็มีกิจกรรมกลุ่มที่พูดคุยกันเกี่ยวกับเนื้อหาในหนังสือ จากนั้นเด็กผู้ชายก็จะไม่ล้อเด็กผู้หญิงด้านสรีระอีก เพราะเขาจะรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร”

อีกด้านหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ชมพู่และคณะท�ำงานกลุ่มลูกเหรียงภูมิใจมาก 73

∞∞

คือ การอ่านหนังสือก็ท�ำให้ผู้หญิงในชุมชนมีความรู้และฉลาดเท่าทันสถานการณ์ต่าง ๆ ขึ้นเยอะ มาก จากผลการส�ำรวจพบว่า ผูห้ ญิงที่ได้อา่ นหนังสือจากตะกร้าในชุมชนมีความรูใ้ นเรือ่ งสุขภาพ มากขึ้น รู้ว่าการปวดท้องแบบไหนเสี่ยงเป็นโรคอะไร รู้จักอาการปวดของมะเร็งปากมดลูก รู้จัก วิธีการคล�ำเต้าตรวจหามะเร็งในเบื้องต้น รวมทั้งถ้ามีอาการเสี่ยงก็กล้าที่จะไปหาหมอ เพราะว่า ได้อ่านข้อมูลความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ จากหนังสือแล้ว “นอกจากอ่านเองรูค้ นเดียวแล้ว สาว ๆ เขาก็คยุ กัน แลกเปลีย่ นกันเยอะ โดยเฉพาะเรือ่ ง สุขภาพความสวยความงาม การดูแลรักษาสิว ผิวหน้า ผิวพรรณ พากันไปหาสมุนไพร เครือ่ งส�ำอางดูแลผิวพรรณ ส่วนแบบเสือ้ ผ้าต่าง ๆ จากนิตยสาร เขาดูกนั แล้วก็ไปตัดเย็บกันเอง เก่งกันมาก หนังสือท�ำให้โลกกว้างของสาว ๆ มุสลิมอยู่แค่ตรงหน้าเลยจริง ๆ ส่วนผู้ชายเขาก็ จะคุยเรื่องเกษตร เรื่องกีฬา เรื่องฟุตบอลกันไป” นอกเหนือจากเรื่องความสวยความงาม ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดอีกเรื่องหนึ่งคือ การกล้าเจรจาต่อรองมากขึ้นของกลุ่มผู้หญิง จากเดิมเมื่อมีเวทีประชาคม ผู้หญิงไม่ค่อยกล้า แสดงความคิดเห็นที่แย้งกัน แต่หลังจากที่เขาอ่านหนังสือมากขึ้น ก็ท�ำให้มีความรู้และกล้า แสดงความคิดเห็นในเวทีต่าง ๆ เช่น กรณีการจัดสรรงบประมาณของ อบต. (องค์การบริหาร ส่วนต�ำบล) ที่เคยน�ำเงินไปจัดแข่งฟุตบอล ใช้งบประมาณเป็นแสนบาทเพื่อซื้อเสื้อ มีผู้หญิงคน หนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า เสื้อ ๑ ตัวให้คน ๑ คน ใส่เล่นบอลซึ่งเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงบางคนมี เพียงรายได้จากการขายน�ำ้ แข็งในงานเท่านัน้ จึงเสนอว่าให้ทอ้ งถิน่ น�ำเงินมาท�ำโครงการจัดอบรม อาชีพเพิม่ เติม ซึง่ ได้รบั การอนุมตั แิ ละจัดให้เกิดการอบรมตัดเย็บเสือ้ เพือ่ ประกอบอาชีพเสริมขึน้ ผู้หญิงหลายคนเริ่มมีบทบาทในการไปดูงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มออมทรัพย์ จากเดิมที่มี เพียงผู้ชายไปดูงานดังกล่าว 74

∞∞

โอกาส สร้างการเปลี่ยนแปลง หลายคนที่ท�ำงานหรือพักอาศัย อยู่ในพืน้ ทีซ่ งึ่ มีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึน้ เป็นระยะของ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ มักได้ยนิ ค�ำถามจากคนต่างถิน่ ถึงความ น่ากลัวอยูเ่ สมอ นานนับสิบปีทหี่ ลายเสียง ถามไถ่ “ชมพู่” ถึงความเสี่ยงอันตราย จากการท� ำ งานพั ฒ นาสั ง คมในพื้ น ที่ เธอบอกว่า แม้ว่าเสี่ยงจริง แต่ส่วนตัว เชื่อว่า คนเราอยู่ที่ไหนก็มีโอกาสตายได้ อยู่ที่ว่าจะตายด้วยรูปแบบไหน เมื่อไร ดังนั้น การที่ได้ ท�ำงานที่บ้านเกิด จังหวัดยะลาในทุกวัน นี้ จึงเป็น “โอกาส” ที่จะท�ำงานเพื่อพัฒนาและ ช่วยเหลือผู้คน “จุดมุ่งหมายใหญ่ของเราคือ การท�ำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม มันดูใหญ่ เพราะเรามี ความเชือ่ เรือ่ งการเปลีย่ นแปลงคนตัง้ แต่เด็ก เหมือนกับทีเ่ ราเคยได้รบั โอกาสในการเปลีย่ นแปลง และพัฒนาตัวเองมาตอนเด็ก ๆ เลยเชื่อว่าสิ่งเล็ก ๆ ที่เราก�ำลังท�ำกันอยู่ มันคือการพัฒนาคน ให้เขาเติบโตไปเป็นคนพัฒนาต่อ เหมือนกับตัวเราและกลุ่มลูกเหรียงที่อยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะ มีคนอุปการะและหยิบยื่นโอกาสให้ตลอดเวลา” “เวลาเราเจอเคสใหม่ ๆ เราอาจเดินข้ามไปแล้วปล่อยไปก็ ได้ ไม่ต้องพาเขามาดูแล แต่ภายในของเรามันบอกว่าอย่ามองผ่านเขา เพราะถ้าเราเหลียวกลับไปมองเขา ชีวติ เด็กคนหนึง่ 75

∞∞

น้อง ๆ เข้าใจเจตนารมณ์ในการท�ำงานของ กลุม่ ลูกเหรียงชัดเจนขึน้ และเมือ่ ได้รบั ความ ไว้วางใจ ความเชือ่ มัน่ ให้ทำ� งาน คนคนนัน้ จะ ยิ่งรู้สึกมั่นใจและค�ำนึงถึงความรับผิดชอบ มากขึ้น

อาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ เหมือนตอนเรายังเด็ก แล้วพี่ ๆ ไม่ได้มองข้ามเรา แต่กลับให้โอกาส และยื่นมือมาช่วยเรา ซึ่งท�ำให้เราเป็นเรามา ถึงทุกวันนี้” “ทุกวันนี้ ถ้าเราอยู่ในบทบาทที่จะให้ โอกาสคนอืน่ ได้ จะไม่ลงั เลเลย และเราเชือ่ ว่า ถ้ า คนที่ เ ขาเคยให้ โ อกาสเรามาได้ รู ้ ว ่ า เราก็ ก ลายเป็ น ผู ้ ส ่ ง มอบโอกาสให้ ค นอื่ น เหมือนกัน เขาคงยินดีมาก ๆ ทีเ่ คยให้โอกาส ช่วยเหลือเราจนเราได้กลับมาช่วยคนอื่นต่อ เหมื อ นกั บ ทุ ก วั น นี้ ที่ เ ราพยายามปั ้ น เด็ ก ลูกเหรียงให้เขาเป็นต้นไม้ใหญ่ทจี่ ะให้โอกาส คนอื่นต่ออีก ซึ่งเด็ก ๆ ลูกเหรียงทุกรุ่นก็จะ มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านเคสใหม่ ๆ โดยตอนนี้ เริ่มมีเด็กที่โตแล้วเป็นคนพาน้อง ๆ ไปลงพื้น ที่แล้ว จากที่เดิมต้องเป็นเราขับรถพาไปเอง ตอนนี้ทุกคนท�ำงานเคลื่อนกันเองสบายเลย”

มีบางคนที่โศกเศร้าเพราะสูญเสียพ่อ แม่ แล้วคิดว่าชีวติ ไม่มคี วามหมาย แต่เมือ่ ได้ ท�ำหน้าที่เป็นผู้ส่งต่อความช่วยเหลือ จากที่ เคยรับบทบาทเป็นมือล่างที่รับมือบนมาแตะ เปลี่ยนไปเป็นมือบนที่เอื้อมไปแตะมือล่าง ซึมซับความรู้สึกยิ่งใหญ่ท่วมท้นของการเป็น มือบนทีพ่ ร้อมเยียวยามือล่าง ก็ทำ� ให้กลับมา มองเห็นคุณค่าของตนมากยิ่งขึ้น พร้อมที่จะ ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายต่อไปเพื่อตัวเอง และคนอื่น ๆ อีกมากมายในสังคม “ตอนนี้รุ่นพี่ ๆ รู้แล้วว่า บทบาทของ การเป็นมือบนคืออะไร ต้องท�ำอย่างไรเมื่อ เจอสถานการณ์ เช่น ไปบ้านที่เกิดเหตุ ก็จะ ไปคุยกับเคส แสดงความเสียใจ และน�ำเสนอ สิ่งที่ควรท�ำ คือหาคนท�ำกับข้าว จัดแบ่งคน

ในฐานะพี่ ใหญ่กลุ่มลูกเหรียง ชมพู่ เชือ่ ว่าการปล่อยมือจากงานบางอย่างทีเ่ คยท�ำ แล้วส่งมอบให้นอ้ ง ๆ ได้แสดงศักยภาพ ท�ำให้ 76

∞∞

ไปขุดหลุมฝังศพ ต้องแบ่งคนไปละหมาดศพ หาคนดูแลแขก กะประมาณเรื่องเงินที่ต้องใช้ใน งาน แล้วสอบถามเรื่องเงินว่ามีมั้ย ถ้าไม่มีหายืมใครก่อนมั้ย หรือจะยืมพี่ชมพู่ก่อนมั้ย เขาก็จะมี สติและให้ค�ำแนะน�ำกับเคสเมื่อต้องเจอสถานการณ์สูญเสียกะทันหันได้” ตลอด ๑๑ ปี ของการอยู่ร่วมกันของกลุ่มลูกเหรียง ชมพู่ยึดหลักการสื่อสารอย่างตรงไป ตรงมา เพื่อสะท้อนให้เด็ก ๆ ในกลุ่มลูกเหรียงทุกคนเข้าใจสถานการณ์ของบ้าน เช่น เดือนนี้มี เงินอยูเ่ ท่าไรและต้องใช้จา่ ยเท่าไร หากยังขาดต้องหามาเพิม่ อีกเท่าไร พร้อมกับสร้างความเข้าใจ ถึงหน้าที่รับผิดชอบในบ้าน หน้าที่รับผิดชอบเกรดเฉลี่ยในฐานะนักเรียน หน้าที่รับผิดชอบของ เยาวชนลูกเหรียง เช่น ไม่สูบบุหรี่ เขียนจดหมายถึงบ้านที่อุปการะ

“พอเด็ก ๆ เรียนจบ ก็อยากกลับมาท�ำงานที่นี่ทุกคน แต่เราไม่มีเงินจ้าง ไม่มีเงินเดือนสูง 77

∞∞

ๆ ให้ สุดท้ายจริง ๆ เราก็อยากให้เด็ก ๆ ได้ออกไปหาประสบการณ์ข้างนอก ไปเติมเต็มชีวิตให้ เติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ ช่วงปี ๕๘ เป็นปีที่เด็กเรียนจบพร้อมกัน เห็นแล้วก็ทั้งดีใจและ ใจหาย แต่ก็เลือกให้เด็ก ๆ มีอนาคตข้างนอก เพราะกลุ่มลูกเหรียงก็มีรายได้มาจากการเขียน โครงการท�ำงานพัฒนาสังคมซึ่งมันไม่แน่นอน”

ยะลา กับวัฒนธรรมการอ่าน หลายพื้นที่ ในจังหวัดยะลายังเข้าถึงหนังสือได้ยากมาก ไม่ใช่เพียงเฉพาะหนังสือนิทาน ส�ำหรับเด็ก แต่หนังสือส�ำหรับผูใ้ หญ่ยงั เข้าถึงได้ยาก ดังนัน้ การเกิดวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน จึงเดินทางอย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นจัดหาเครื่องมือหรือหนังสือซึ่งเป็นสิ่งหายากส่งมอบ เข้าสู่พื้นที่ ผ่านทั้งทางโรงเรียนและชุมชน จากนั้นค่อยเพิ่มเติมเรื่องวิชาการที่เหมาะสมกับการ เรียนรู้เข้าไปตามที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงาน “ชมพู่” เริ่มท�ำงานพัฒนาสังคมมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ จึงมี เครือข่ายที่รู้จักและคุ้นเคยกัน เช่น คนท�ำงานใน อบต. ตั้งแต่ นายก อบต. ไปถึงเจ้าหน้าที่ เนือ่ งจากหลายโครงการทีเ่ คยท�ำเป็น งานที่ต้องเชื่อมไปหาคนในภาครัฐ บางครั้งก็เชื่อมไปเจอเพื่อนที่ เคยเป็นเด็กกิจกรรมรุ่นเดียวกันซึ่งท�ำงานในองค์กรส่วนท้องถิ่น เยอะพอสมควร พร้อมกับเด็ก ๆ กลุ่มลูกเหรียงท�ำงานจิตอาสา ช่วยงานสาธารณะในพื้นที่เสมอ เช่น น�ำ้ ท่วม งานกาชาด ท�ำให้ผใู้ หญ่หรือหน่วยงานต่าง ๆ มองเห็นว่ากลุม่ ลูกเหรียงคือใคร ท�ำงานด้าน 78

∞∞

ใด เมื่อมีเรื่องที่ต้องเชื่อมต่อกันจึงไม่ยากในการสื่อสาร “ท�ำงานในพื้นที่ยะลาเป็นสิ่งที่ดีมาก เราโชคดีที่ เจอผู้ใหญ่ที่จิตใจดี มีความสามารถ ทั้งที่สถานการณ์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ค่อนข้างไม่เวิร์ก แต่ผู้คนที่นี่ สวนทางกันอย่างสิน้ เชิง ในพืน้ ทีเ่ รามีคนดีมาก มีคนเก่ง มาก ผู้ใหญ่มีวิสัยทัศน์ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดที่นี่ ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยก็เวิร์กมาก มีท่านหนึ่งคือ ผู้ว่าทรงพล สวาสดิ์ธรรม ที่เคยอยู่ที่นี่ อุดมการณ์ทันยุคสมัย เข้าถึง ความเป็นอยู่ของประชาชน ทั้งผู้ว่าฯ และนายอ�ำเภอที่ เราท�ำงานด้วยทุกคนก็ล้วนแต่เป็นนักพัฒนา สามารถ สื่อสารกันได้เพื่อเป้าหมายเดียวกัน คือพัฒนาความเป็น อยู่ของประชาชนในบ้านเรา” “ทุกวันนี้ที่ท�ำงาน เราก็หวังในสันติภาพและความเข้มแข็งของประชาชน มีการต่อรอง มีสิทธิมีเสียง สันติภาพมันควรจะเท่ากัน มีโอกาสเท่ากัน รู้เห็นเท่ากันทั้งภาครัฐและประชาชน การจะเกิดสันติภาพ พวกเราทัง้ ประชาชนและภาครัฐต้องเดินไปพร้อมกัน เราเชือ่ ว่าการส่งเสริม เรื่องการอ่านเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะสร้างสันติภาพในพื้นที่ได้ เพราะท�ำให้เราได้คิดและกล้า ท�ำมากขึ้น เมื่อเราอ่านมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น รู้ว่าเรามีสิทธิที่จะคิด จะต่อรองในกรณี ใด อย่างไรแล้ว และท�ำอย่างไรเพือ่ พัฒนาตนเองและชุมชนอย่างเหมาะสมและมีสนั ติภาพเกิดขึน้ ”

“การอ่านเปลี่ยนความคิดคนให้มาร่วมสร้างสันติภาพได้” ชมพู่ยืนยันไว้อย่างเชื่อมั่น

79

∞∞

= Growth Mindset = - การอ่านหนังสือสร้างการเรียนรู้โลกกว้างที่ไม่เคยเห็น - โอกาสสร้างชีวิตใหม่ เมื่อได้โอกาสแล้วให้ลงมือท�ำเต็มก�ำลัง - ท่ามกลางความสูญเสีย เด็กต้องการการเยียวยาเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ - ให้โอกาส เท่ากับสร้างคนและสร้างการเปลี่ยนแปลง - สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา ให้เกียรติกันและกัน ท�ำงานง่าย ได้ผลดี - การอ่านเปลี่ยนความคิดคนให้มาร่วมสร้างสันติภาพได้ - การอ่านสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้ - ปล่อยมือจากอดีตก่อน จึงเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง - ถึงโดนปฏิเสธ ก็ไม่ท้อแท้ มุ่งมั่นท�ำต่อไป ผลส�ำเร็จตามมาเอง

80

∞∞

กลไกการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

คณะท�ำงานกลุ่มลูกเหรียงท�ำงานร่วมกับภาคี เครือข่ายการท�ำงานส่งเสริมการอ่านในพื้นที่ ส่วนใหญ่ เป็นตัวแทนจากครูโรงเรียนประถมศึกษา ครูในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน ตัวแทนกลุ่มสตรี ตัวแทนสภานักเรียน ตัวแทนโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลาม และกลุ่มบัณฑิตอาสาสมัคร จาก ศอ.บต. ร่วมกันเป็นคณะกรรมการกลางเพือ่ ขับเคลือ่ น งานในพื้นที่ ผ่านการประชุมหารือ วางเป้าหมายร่วมกัน คิดค้นกลวิธีเพื่อการส่งเสริมการอ่าน และสร้างเครือข่ายในพื้นที่ของตน



“เมื่อน�ำกิจกรรมลงไปท�ำในชุมชน หนังสือเป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญมาก เพื่อให้คนใน ชุมชนได้เห็น ได้หยิบมาเปิดอ่าน เปิดดูภาพ ใช้เวลาอยู่กับหนังสือจริง ๆ การมีพื้นที่การ อ่านในชุมชนท�ำให้ผู้คนได้คุยกันมากขึ้น เพราะเป็นเหมือนพื้นที่กลางที่มีหนังสือเป็น เครื่องมือสร้างสีสัน และเพิ่มเติมความรู้ให้ได้น�ำมาแลกเปลี่ยนกัน หลายคนได้น�ำความรู้ ในหนังสือไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันด้วย พวกเรากลุ่มลูกเหรียงและชุมชนก็ช่วยกัน ระดมหนังสือเพื่อให้มีหนังสือเข้าไปชุมชนมากขึ้นเรื่อย ๆ ”



ซาฮา-ซาฮารียะห์ เจ๊ะเละ ผู้รับผิดชอบโครงการอ่านยกก�ำลังสุข กลุ่มลูกเหรียง จังหวัดยะลา

81

∞∞

บทที่ ๓

พื้นทีภ ่ าคอีสาน

อ่านสร้างสุข กิตติพงษ์ ภาษี

เชื่อมั่น ลงมือท�ำ วางใจ : เปเล่ ไทเลย อ่านออก เขียนได้ ๑๐๐% วัฒนธรรมการอ่านสร้างคน “เปเล่ ก่อการดี” หลายคนที่ท�ำงานเกี่ยวกับ เด็ ก และเยาวชนในจั ง หวั ด เลยเรี ย กเขาอย่ า งนั้ น โดยเฉพาะช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ “เปเล่” คือชือ่ เล่นของ “กิตติพงษ์ ภาษี” ปัจจุบนั ด�ำรงต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการสถาบันไทเลยเพือ่ การพัฒนา เด็กและเยาวชน จังหวัดเลย ที่ขยับฐานมาจากกลุ่ม เยาวชนก่อการดี ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อด�ำเนินงานด้าน พัฒนาเด็กและเยาวชนในนามกลุ่มคนท�ำงานภาค ประชาสังคม “ก่อการดี” มาจากชื่อกลุ่ม “เยาวชนก่อการดี” ซึ่งเปเล่และเพื่อน ๆ รวมตัวกันเพื่อท�ำงานด้านพัฒนา

เด็กและเยาวชนในพื้นที่บ้านเกิด ต�ำบลพรประเสริฐ อ�ำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย หลังจากที่ เดินทางเก็บเกีย่ วประสบการณ์ทำ� งานด้านพัฒนาสังคม โดยเฉพาะประเด็นการเท่าทันสือ่ ของเด็ก และเยาวชนในจังหวัดอุบลราชธานีอยู่พักใหญ่ ๆ

“เปเล่” เป็นคนตลก บางคนที่เคยพบเขาในแวดวงท�ำงานกล่าวไว้อย่างนั้น

“เปเล่” เป็นคนท�ำงานเก่ง จับประเด็นและขับเคลือ่ นงานอย่างเฉียบคม ร�ำ่ รวยอารมณ์ขนั บางคนที่เคยพบเขาในแวดวงท�ำงานกล่าวไว้อย่างนั้นอีกเช่นกัน “เปเล่ ” เรี ย นสื่ อ สารมวลชน มหาวิ ท ยาลั ย รามค� ำ แหง ท�ำกิจกรรมอยู่ ในชมรมปาฐกถาและโต้วาที กระทั่งเรียนจบในปี ๒๕๔๐ ได้ท�ำงานเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายฝึกอบรมเกี่ยวกับเกษตรพอเพียง ของส�ำนักงานปฏิรูปที่ดินอยู่อีก ๓-๔ ปี ท�ำงานลงพื้นที่ไปกินนอนอยู่ ในชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ เช่าบ้านพักเก็บข้อมูลชุมชน อบรม พัฒนาศักยภาพจนจบโครงการฯ จึงกลับมาช่วยพ่อท�ำสวนอยู่ท่ีบ้าน เกิดในอ�ำเภอเอราวัณ เหมือนเป็นก้าวแรกที่ย่างเข้าสู่การท�ำงานร่วมกับชุมชนเต็มตัว แต่ข้างในใจลึก ๆ ของเขา ยังคงรูส้ กึ ว่าอาชีพนักจัดรายการวิทยุหรือดีเจ ยังคงอยู่ในเป้าหมายของความฝันเสมอ จึงยังตาม ฝันด้วยการมุ่งสมัครเป็นดีเจที่จังหวัดเลย

ในที่สุดโอกาสส่งมอบให้เขาได้เป็นดีเจสมดังตั้งใจ

แต่ต้องไปจัดรายการประจ�ำสถานีวิทยุสาขาที่จังหวัดอุบลราชธานี แน่นอนว่า...เขาตกลง รับต�ำแหน่งดีเจหนุ่มด้วยความเต็มใจ แบกความรู้เดินทางไปพิสูจน์ความฝันยังเมืองดอกบัว 85

∞∞

พิสูจน์ความฝันอยู่ ๒ ปี จนรู้ชัดว่าไม่ใช่งานที่ตรงกับเนื้อแท้ของความต้องการภายใน จึงโบกมือลาองค์กร ออกมาท�ำงานร่วมทางฝันกับเพือ่ นพ้องพีน่ อ้ งกลุม่ คนท�ำงานภาคประชาสังคม ในจังหวัดอุบลฯ ทีเ่ ขามีโอกาสได้พบปะ เห็นวาระการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อยูเ่ สมอในพืน้ ทีส่ าธารณะ ของเมืองอุบลฯ ปี ๒๕๔๘ เขากับเพื่อนรวม ๓ คนก่อตั้ง “กลุ่มสื่อใสวัยทีน” เพื่อใช้สื่อวิทยุ สื่อละครใน การพัฒนาเด็กและเยาวชน เสนอโครงการกับส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้งบมาจ�ำนวนหนึง่ ส�ำหรับจัดรายการวิทยุและท�ำกิจกรรมสร้างสรรค์กบั เด็กและเยาวชน ปี ๒๕๔๙ เขาได้รบั ทุนจากสถาบันสือ่ เด็กและเยาวชน (สสย.) ผ่านเครือข่าย “ศูนย์ประสาน งานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน” ที่รวมตัวกันหลวม ๆ จาก ๑๒ องค์กร มาร่วม 86

∞∞

กันท�ำกิจกรรม เขาบอกว่าช่วงนั้นกิจกรรมของเด็กและเยาวชนมาแรงมากในจังหวัดอุบลฯ จนเกิดการเชื่อมงานไปยังส�ำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) “เปเล่” ท�ำงานร่วมฝันอยู่กับ เพื่อนที่อุบลฯ จนถึงปี ๒๕๕๒ เกิดความ เปลี่ยนแปลงในครอบครัว เมื่อคุณพ่อ เสียชีวิต จึงวางแผนชีวิตกลับมาอยู่บ้าน กับแม่ เริ่มเดินทางไปกลับ เลย-อุบลฯ บ่อยครัง้ ขึน้ ไม่นานนักโครงการทีอ่ บุ ลฯ จบลง เขาเก็บข้าวของหอบความฝัน กลับมาเติมเต็มชีวิตที่บ้านเกิด ด้วย เป้าหมายตัง้ กลุม่ ท�ำงานภาคประชาสังคม หวังใจไว้ว่าจะขอทุนส่วนหนึ่งจาก สสส. เพื่อท�ำงานเกี่ยวกับวัยรุ่นดังเดิม เป็นจุดเริ่มต้นของ “กลุ่มเยาวชนก่อการดี” ซึ่งได้ด�ำเนินงานเพื่อเด็กและเยาวชนพื้นที่ อ�ำเภอเอราวัณและใกล้เคียงในจังหวัดเลยอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะกับประเด็น “สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน” ซึง่ ได้รบั ทุนสนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จนขับเคลื่อนท�ำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ชั้นประถมศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหันมา สนใจเรื่องการอ่านหนังสือมากขึ้น ทั้งในโรงเรียน ในชุมชน และในบ้านของตนเอง จากเคยท�ำงานแต่กับกลุ่มเด็กและเยาวชน ปัจจุบัน “เปเล่” ขยับตัวเข้ามาท�ำงานร่วมกับ ภาคราชการ หน่วยงานส่วนท้องถิ่น เชื่อมต่อไปยังการสร้างเสริมพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการอ่าน 87

∞∞

“คุณภาพชีวิตผม สวัสดิการเหมือน แรงงานนอกระบบดี ๆ นี่เอง” เปเล่พูด ประโยคนี้แบบทีเล่นทีจริง ในขณะที่สนทนา ถึงประเด็นการหาแหล่งเงินทุนในการท�ำงาน พัฒนาสังคมในปัจจุบนั ซึง่ เขายอมรับว่าไม่มี ความแน่นอน ทั้งขอบเขตงาน จ�ำนวนเงิน และระยะเวลา

กับกลุ่มเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก “เปเล่” และทีมงานสถาบันไทเลย พร้อมกับเครือข่าย ครู นักเรียน และชุมชน เคลือ่ นไหวอย่างมีความหวังทีจ่ ะสร้างคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ีให้กบั เด็กและเยาวชน จึงส่งผลให้เกิด ความร่วมมือประกาศให้เอราวัณเป็นอ�ำเภอ รักการอ่านในปี ๒๕๕๗

ไม่ มี ก ารตี ค วามหมายถึ ง ประโยค ดังกล่าวระหว่างสนทนา มีเพียงสิง่ ทีย่ งั ด�ำเนิน ต่อไป คือ “เปเล่” และทีมยังคงท�ำงาน ผลักดันคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนต่อไป ตรงกับประโยคปิดท้ายสนทนาบทนี้ที่ว่า

จากวั ย รุ ่ น หนุ ่ ม ไทยเลยที่ ว าดหวั ง อนาคตไว้วา่ อยากเป็นดีเจเสียงใส ๆ จัดรายการ วิทยุม่วนซื่นสนุกสนาน ชีวติ พลิกผันหันมาเป็นนักพัฒนาสังคม ภาคประชาชน ท�ำงานรณรงค์ เชือ่ มประสาน ผู้คน หน่วยงานทั้งภาคราชการและเอกชน ให้ร่วมเคลื่อนไปข้างหน้าในประเด็น ที่เขา เลือกผลักดันเพื่อคุณภาพชีวิตของเด็กและ เยาวชนกลุ ่ ม เป้ า หมายในแต่ ล ะครั้ ง ของ โครงการ

“จริง ๆ ผมไม่ได้คิดว่าจะมาท�ำงาน เพื่อชุมชนนะ แต่พอได้ท�ำกิจกรรมแล้วมัน สนุก เราท�ำงานภาคประชาชนก็อิสระดีครับ เป็นฟรีแลนซ์ ห้ามเจ็บ ห้ามป่วย ห้ามเป็นโรค (หัวเราะ) แต่ผมถือว่าสิง่ ที่ได้คอื เราได้ทำ� ใน สิ่งที่อยากจะท�ำเต็มที่ นั่นคือการพัฒนาคน เล็ก ๆ กลุ่มคนเล็ก ๆ ทั้งเด็ก เยาวชน และ ผู้ใหญ่ให้มาร่วมกันท�ำงานดี ๆ เพื่อพัฒนา สังคม ชุมชน”

สถาบันไทเลยฯ ท�ำงานภาคประชา สังคม ด้วยการรับทุนท�ำงานเป็นโครงการ พิเศษ 88

∞∞

ก่อการดี อ่านที่นี่ เอราวัณ กลุม่ เยาวชนก่อการดีเกิดขึน้ ในปี ๒๕๕๒ จากการรวมตัวกับกลุม่ เด็ก ๆ ในชุมชน โรงเรียน เอราวัณวิทยาคม จากนั้นเมื่อท�ำงานมาระยะหนึ่ง ในปี ๒๕๕๕ จึงเปลี่ยนเป็นชื่อสถาบันไทเลย เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน จดทะเบียนเป็นคณะบุคคลเพื่อขยายขอบเขตการรับและ สร้างสรรค์งาน ซึ่งจ�ำเป็นต่อการน�ำเสนอโครงการและขอทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ “เปเล่” เริ่มกิจกรรมแรกของกลุ่มเยาวชนก่อการดีด้วยการจัดค่ายเด็กและเยาวชน เพือ่ ท�ำความรูจ้ กั กับเด็ก ๆ และบริบททางสังคมของชุมชน โดยของบประมาณเทศบาลมาจัดค่าย ให้เด็ก ๆ ท�ำกิจกรรมร่วมกัน โดยมีเพื่อน ๆ ที่เคยท�ำกลุ่มสื่อใสวัยทีนมาช่วยเป็นวิทยากรร่วม การของบประมาณจากเทศบาลในครัง้ นัน้ เริม่ ต้นด้วยการไม่รจู้ กั ใครสักคน เพียงแค่รวู้ า่ มีงบพัฒนาศักยภาพตั้งอยู่ โดยที่ผ่านมาส่วนใหญ่น�ำไปจัดกีฬาต้านยาเสพติด วันนั้นเขาชวน เด็ก ๆ ทีเ่ ริม่ รูจ้ กั กันเป็นกลุม่ แล้ว ย้ายไปประชุมทีเ่ ทศบาลโดยทีย่ งั ไม่ได้ตดิ ต่อเทศบาลล่วงหน้า

89

∞∞

“พอพวกเราไปถึงสักพักก็มคี นมาถาม ว่าพาเด็กมาท�ำอะไรกัน ผมก็เลยบอกพี่ที่มี ต� ำ แหน่ ง พั ฒ นาชุ ม ชนว่ า มาประชุ ม และ ขอปรึกษาเรือ่ งกิจกรรมค่าย คือถ้าเทศบาล มีงบประมาณ แล้วน้อง ๆ เขาอยากท�ำแบบ ค่าย พอจะจัดสรรให้ได้มั้ย ก็ถือว่าเป็นการ เดินเข้าไปหาโอกาส แล้วเราก็ได้งบมาจัด ค่ายจริง ๆ”

พื้นที่มาก เด็ก ๆ มีความสุข มีกิจกรรมอ่าน นิทานให้น้องฟังในแต่ละชุมชน ผู้ปกครอง ชอบเพราะเห็นการเปลีย่ นแปลงของลูกหลาน แบบชัดเจน เด็กได้มีเวที มีตัวตน และมี กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ ในชุมชนยอมรับเขา ผูป้ กครองฟีดแบ็กมาว่าชอบมาก ทุกวันเสาร์ ผู้คนชวนกันมาแบบคึกคักมากเลย แต่พอจะ ท�ำในปีตอ่ มาปรากฏว่าไม่ตรงกับยุทธศาสตร์ ของแผนงานฯ ในปีนั้น เราก็หยุดกิจกรรม แบบเต็ ม หลั ก สู ต รไปเพราะว่ า ไม่ มี ง บ ประมาณท�ำ”

หลังจากนั้นเมื่อเข้าปี ๒๕๕๓ “เปเล่ ก่ อ การดี ” ได้ รั บ ทุ น ท� ำ งานจากแผนงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ขับเคลื่อน กิจกรรม “พี่อาสาพาน้องอ่าน” โดยที่ช่วงนั้น ผู ้ ค นในพื้ น ที่ ยั ง ไม่ รู ้ เ ลยว่ า “จิ ต อาสา” คืออะไร เพราะยังไม่มีใครพูดกันถึงประเด็นนี้ ในชุมชน “เราท�ำงานแรกของการส่งเสริมการ อ่าน ใช้ชื่อ “โครงการพี่อาสาพาน้องอ่าน” ชาวบ้านเลยเรียกติดปากว่า “พีอ่ าสา” ท�ำกัน สนุกมาก มีกิจกรรมนิทานเดินทางคาราวาน หนังสืออยู่ ในนั้นด้วย ท�ำแล้วตอบโจทย์ใน

ในปี ๒๕๕๔ แม้ว่ากิจกรรม “นิทาน เดินทางคาราวานหนังสือ” จะไม่มงี บประมาณ 90

∞∞

จากแผนงานฯ การอ่านเหมือนเคย แต่เปเล่ไม่ได้หยุดท�ำกิจกรรมชวนอ่านทั้งหมด ตัดสินใจมอง หางบเพิ่มเติมซึ่งพอได้มาจ�ำนวนหนึ่ง ส�ำหรับจัดเป็นกิจกรรมสั้น ๆ ๑ หรือ ๒ วันจบ ด้วยทุน ขนาดย่อมประมาณ ๑๐,๐๐๐-๒๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ๆ และผู้ปกครองได้ สนุกสนานเรียนรู้กัน การสร้าง “พีอ่ าสาพาน้องอ่าน” เริม่ ต้นด้วยการอบรมเครือ่ งมือให้พอี่ าสาพาให้นอ้ งอ่านได้ เช่น เทคนิคการเล่านิทาน การจัดหนังสือ ขั้นต่อมาคือท�ำความเข้าใจเรื่องการจัดกระบวนการ ในการดูแลเด็ก ๆ หรือแม้แต่เมื่อเจอเด็กซนจะต้องท�ำอย่างไร พฤติกรรมเด็กวัยไหนเป็นอย่างไร การแสดงออกรูปแบบต่าง ๆ ของเด็กมาจากความต้องการอะไร และเทคนิควิธีการดูแลเด็ก ๆ เพื่อกระตุ้นให้อยากเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ “เรามีห้องสมุดชุมชนพรประเสริฐที่เปิดไว้ตั้งแต่ ปี ๕๓ ครับ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหลาย ๆ ฝ่าย ทั้ง เยาวชน ผู้ใหญ่ ก�ำนัน นายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล ต�ำบล ที่ส�ำคัญเรามีพ่อแม่ ผู้ปกครอง พี่น้องชาวบ้าน ที่เสร็จสิ้นภารกิจประจ�ำวันแล้วมาร่วมใจช่วยกันสร้าง ห้องสมุด ท�ำให้ทุกวันนี้หลังจากอบรมแล้วเด็ก ๆ เรามี ห้องสมุดที่เราจัดกิจกรรมทุกวันเสาร์ เป็นสนามซ้อม ฝีมือด้วย เขาจะได้ท�ำกิจกรรม จัดกระบวนการกับเด็ก จริง ๆ ที่มาอ่านนิทานอยู่แล้ว พอจัดเสร็จเราก็ชวนกัน มาใช้กระบวนการ AAR (After Action Research) ดูว่า เป็นอย่างไรบ้าง ได้ตามแผนที่วางไว้ไหม เกิดอะไรขึ้น 91

∞∞

แล้วสรุปบทเรียนเพื่อท�ำต่อไป ทุกวันนี้เด็ก ๆ ที่เคยเป็นพี่อาสาพาน้องอ่านก็ยังเป็นจิตอาสาท�ำ กิจกรรมห้องสมุดให้เด็กเล็ก ๆ ในชุมชนอยู่หลายคน”

เอราวัณ อ�ำเภอรักการอ่าน ปี ๒๕๕๗ สถาบันไทเลยฯ ท�ำโครงการอ่านเลยยกก�ำลังสุข ยกระดับสู่อ�ำเภอรักการอ่าน โดยมีเป้าหมายต้องการเห็นภาพอ�ำเภอรักการอ่าน ดังนัน้ กลไกการขับเคลือ่ นงานจึงเพิม่ รูปแบบ การท�ำงานกับระดับผู้บริหารฝ่ายนโยบายมากขึ้น ทั้งเครือข่ายในระดับท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ องค์กรปกครอง และภาคเอกชน ส่วนกลไกการท�ำงานหลักยังคงท�ำงานผ่านคณะกรรมการ เครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านระดับอ�ำเภอและระดับต�ำบล ปั จ จั ย เอื้ อ ให้ ขั บ เคลื่ อ นงานได้ ผ ลลั พ ธ์ ที่ ดี ม าก ในปี ๒๕๕๗ คือ การได้เชื่อมการท�ำงานกับนายอ�ำเภอ เอราวัณ และผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษา ประถมศึกษาเลย เขต ๒ ที่เป็นกลไกหลักมาช่วยหนุนให้เกิด อ�ำเภอรักการอ่าน ส่วนการด�ำเนินการในระดับปฏิบตั กิ ารยัง คงท�ำงานกับโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก รวมทั้งหมด ๑๕ แห่ง ท�ำให้ภาพเครือข่ายในพื้นที่อ�ำเภอเอราวัณชัดขึ้น ส�ำหรับการพัฒนาศักยภาพครูโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ในเครือข่าย ปี ๒๕๕๗ ทางสถาบันไทเลยฯ ได้เชิญ รศ.พญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านพัฒนาการ เด็ก มาพูดคุยและท�ำความเข้าใจกับเครือข่ายว่า หนังสือนิทานสามารถพัฒนาเด็กได้อย่างไร 92

∞∞

เหมาะกับเด็ก ๆ ไม่ใช่แค่สอนตามหนังสือ ครู ศพด. และครูโรงเรียนมีการเติมเต็ม ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กซึ่งเป็นเรื่อง ส�ำคัญที่ไม่ใช่แค่เลี้ยงให้โตเฉพาะร่างกาย แต่เติบโตทางสติปัญญาด้วย”

จนเกิ ด ความเคลื่ อ นไหวหลายด้ า น เช่ น โรงเรียนท�ำผ้าป่าหนังสือเพือ่ ระดมหนังสือให้ กับเด็ก โรงเรียนจัดการพัฒนาห้องสมุดของ ตนเอง หรือคณะครู ศพด. ได้พัฒนาหนังสือ เล่มเล็กของตนเองเพิ่มขึ้น ข้อมูลเชิงความรู้ ได้ทำ� ให้เครือข่ายพืน้ ทีอ่ ำ� เภอเอราวัณได้มอง เห็นภาพกว้างมากขึ้น

“ส่วนพวกรายละเอียดที่ว่าหนังสือ สามารถไปส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้อย่างไร เราไม่พูดเองเพราะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เรา จั ด เวที แ ล้ ว ก็ เ ชิ ญ ให้ ห มอนิ ช รามาพู ด ให้ เครือข่ายฟัง ซึ่งก็ ได้ผลครับ ครูจากศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) หลายคนเข้าใจและ ได้ไอเดียไปต่อยอดมากมาย แต่อกี เป้าหมาย ของผมคืออยากจะให้ผู้บริหารมาฟังด้วย แต่ ก็ไม่มีเวลามาฟัง (หัวเราะ) ขอบเขตงานปี ๕๘ นี้เน้นการสร้างให้ผู้บริหารหรือหัวหน้า งานเข้าใจภาพรวมของคุณประโยชน์ที่เขา จะได้ เ ห็ น ว่ า กลุ ่ ม เป้ า หมายของเขากั บ กลุ ่ ม เป้ า หมายของเราคื อ กลุ ่ ม เดี ย วกั น เป้าเดียวกัน จากนั้นเมื่อระดับ ผู้ใหญ่เข้าใจ ก็จะเกิดการขับ เคลือ่ นในหน่วยงานของเขาเอง”

“เราเชื่อเรื่องประสิทธิภาพของการ ผลิตสื่อว่าเป็นเครื่องมือส่งเสริมการอ่าน เนื่องจากต้นทุนหนังสือเล่มหนึ่งราคาแพง แต่ ถ ้ า เราเสริ ม เทคนิ คไอเดี ย ให้ ค รู น� ำ ไป ออกแบบผลิตสือ่ ออกมาใช้งานกับเด็ก ๆ ได้ ก็สามารถส่งเสริมการอ่านได้รวดเร็วขึ้นใน ขณะที่ เ ราขาดแคลนหนั ง สื อ เล่ ม จริ ง ๆ ผมเห็นว่าคุณครูเขาก็มี ไอเดียหรือท�ำแบบนี้ ตลอดอยูแ่ ล้ว เพียงแต่วา่ เราจะเติมเรือ่ งของ เนื้ อ หาที่ มั น เพิ่ ม ขึ้ น เช่ น การส่ ง เสริ ม ลักษณะนิสัยเด็ก การกินผัก การมีวินัย การล้างมือ การเก็บของ ก็สามารถเติม ลงไปในเนือ้ หาของสือ่ ทีผ่ ลิตได้ ผมเห็นว่าครู เขาสนุกนะที่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ 93

∞∞

แม้วา่ ผูบ้ ริหารจะไม่ได้มาฟังในวันนัน้ ตามทีต่ งั้ ความหวังไว้ แต่เขาก็ไม่ได้หยุดทีจ่ ะชงเรือ่ ง ต่อให้ผู้บริหารได้เห็นถึงสิ่งที่โครงการน�ำเสนอ ปี ๕๘ จึงวางแผนให้มีเวทีประชุมแลกเปลี่ยน ค่อนข้างเยอะ เพราะอยากมีโอกาสคุยกับผู้บริหารหน่วยงานต่าง ๆ เนื่องจากคงต้องใช้เวลา ไม่นอ้ ยในการท�ำความเข้าใจเป้าหมายเดียวกันในการท�ำงานขับเคลือ่ นส่งเสริมการอ่านในชุมชน ประชุมครั้งแรกเป็นการท�ำความรู้จักกันเบื้องต้น ครั้งที่ ๒ ย�้ำถึงเป้าหมายร่วมกันในการ ท�ำงานเพื่อชุมชน ส่วนครั้งที่ ๓ เปเล่คาดหวังว่าจะเห็นมุมมองเป้าหมายของผู้บริหารได้ชัดขึ้นว่า หากจะท�ำประเด็นขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่านในชุมชนได้ส�ำเร็จ จะมีแนวทางอย่างไร “ทุกเป้าที่ตั้งไว้ก็ลงมือท�ำ ติดขัดตรงไหน ผู้บริหารไม่ว่าง ยังไม่รับเรื่อง ปฏิเสธอยู่ เราก็ลุยต่อไป ท�ำซ�้ำ ๆ สื่อสารอย่างต่อเนื่อง ผมเชื่อว่าทุกสิ่งที่เราลงมือท�ำ มันจะมีเวลาของมัน ในการเติบโต สักวันสิ่งที่เราสื่อสารจะเกิดความเข้าใจตามที่ตั้งเป้าไว้จริง ๆ และเมื่อถึงเป้านั้น เราก็ขยับเป้าขยายผลออกไปยังเป้าหมายต่อไป เหมือนขยายพื้นที่ท�ำงานที่จะสร้างความ เปลี่ยนแปลงในชุมชนให้เกิดขึ้นเพิ่มอีก” 94

∞∞



เกือบปีกว่าผมจะตัดสินใจเข้าร่วมขับเคลือ่ นงานกับ สถาบันไทเลยฯ เนือ่ งจากครั้งแรกที่ได้ฟังคุณกิตติพงษ์พูด ในที่ประชุม ผมยังไม่เชื่อว่าบริบทชุมชนเราจะท�ำให้เป็น ชุมชนรักการอ่านได้ คือ เชื่อว่าท�ำได้จริงแต่ไม่ใช่ในเวลา สั้น ๆ แค่นั้น แต่จากวันนั้นสถาบันไทเลยฯ ก็ยังเข้ามา ประชุม มาท�ำงานในพื้นที่เรื่อยมา คิดว่าก็มีส่วนที่ท�ำให้เรา ท�ำความเข้าใจประเด็นร่วมกันได้มากขึ้น



จนวันหนึง่ ได้เห็นกิจกรรมแสดงละครส่งเสริมการอ่านเล่านิทานให้เด็กเล็กฟังของกลุม่ น้อง ๆ จิตอาสา ในวันเปิดศาลาพักรักการอ่านที่ ศพด.ผาสามยอด เป็นกิจกรรมที่สะกด ตรึงตราเด็ก ๆ เกือบร้อยคนไว้ได้ เด็ก ๆ นั่งฟังกันตาแป๋ว อายุยังไม่ถึง ๕ ขวบ ก็สามารถ ตอบโต้ซกั ถามเรือ่ งราวของนิทานได้เหมือนกับผูใ้ หญ่คยุ กัน ผมเห็นแววตาของเด็ก ๆ ทีก่ ำ� ลัง จินตนาการถึงเรือ่ งราวในนิทานก็ประทับใจมาก ถือเป็นกิจกรรมทีเ่ ป็นประโยชน์กบั เด็ก ๆ ของ ชุมชนเรา



ผมเห็นว่าถ้าเราสานต่อกิจกรรมนี้ไปเรื่อย ๆ ก็จะท�ำให้เด็กเกิดจินตนาการ เกิดความ รูใ้ หม่ ๆ หรือกระตุน้ ให้เด็กดึงความรูอ้ อกมา โดยผูป้ กครองก็จะได้ประโยชน์เหล่านีโ้ ดยไม่ตอ้ ง ลงแรงเลย ถ้าท�ำให้เด็กรักการอ่านได้ สังคมจะเจริญพัฒนาด้วยกันหมด เด็กวัยนี้ต้องโตมา กับการอ่าน ไม่ใช่ให้โตกับไม้เรียว”



ราชประชา ลิตลคร นายก อบต.ผาสามยอด อ�ำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

95

∞∞

“ทุกวัน นี้ผมพอใจมากนะ กับการ เคลื่อนงานที่ผ่านมา ตอนนี้เรามีเวทีเล็ก ๆ นั่งคุยกับผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อสื่อสารเรื่อง การพัฒนาคนในชุมชนด้วยกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน ได้เข้าถึงคนที่ดูแลเชิงนโยบาย นีเ่ ป็นจุดเริม่ ต้นทีเ่ วิรก์ มากส�ำหรับการท�ำงาน พัฒนาชุมชน”

อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งโอกาสเสริมความรู้ให้ จัดกิจกรรมแสดงผลงาน เชิญหน่วยงาน ข้างนอกมาดูงาน พาไปน�ำเสนองานต่างพืน้ ที่ หรือเชิญออกงานเวทีมหกรรมเพื่อน�ำเสนอ งาน จากนั้นฝ่ายบริหารจะเริ่มมองเห็นว่า ลูกน้องตนก็มีผลงานที่ดี น่าสนใจ การรับฟัง หรือสนับสนุนก็มีโอกาสสูงที่จะตามมา

ด้านอุปสรรคยังมีอยู่บ้างในเรื่องของ การท�ำงานร่วมกับฝ่ายบริหารหรือผูม้ อี ำ� นาจ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานในชุมชนที่ บางคนยังมองว่าการส่งเสริมการอ่านในเด็ก ๆ โรงเรียน ไม่ได้เกี่ยวกับหน้าที่ประจ�ำของเขา หรือแผนกของเขา หากเป็นเช่นนั้น เปเล่จะ ลองค้นหาเครื่องมือหรือช่องทางต่าง ๆ ที่จะ ช่วยให้สามารถเข้าไปท�ำความเข้าใจเพิม่ เติม ได้ อาจจะผ่านงานหรือกิจกรรม หรือผ่านครู ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.)

“บางกรณีที่เราประสานงานกับผู้มี อ�ำนาจในการตัดสินใจจัดสรรงบประมาณ แล้วยังไม่ได้ผลตามที่คาดไว้ ก็จะถอยกลับ มา พยายามมองให้เห็นถึงใจกันและกัน เพราะบางที เ ขาไม่ รู ้ ว ่ า เราคิ ด อย่ า งไร มีเจตนาอย่างไร แล้วเราก็อาจไม่เข้าใจเขา หรือว่าเข้าใจผิดไปเพราะอารมณ์ เช่น ผมก็ เคยโมโหว่าท�ำไมเป็นผู้มีต�ำแหน่ง มีอ�ำนาจ มีความรู้ มีทั้งเงิน มีทั้งบุคลากร ท�ำไมถึงไม่

หลาย ๆ กรณีเขาก็เริ่มต้นท�ำงานกับ แผนกปฏิบัติงานส่งขึ้นไปถึงฝ่ายบริหาร คือ พัฒนาศักยภาพคนท�ำงานก่อน สนับสนุน 96

∞∞

ลงมือท�ำประเด็นที่มันเป็นประโยชน์กับประชาชน ซึ่งพอเราพยายามท�ำความเข้าใจเขาจริง ๆ ก็พบว่าบางกรณีคนคนนั้นเขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามีอะไรบ้างที่ท�ำได้ตามขอบเขตอ�ำนาจที่มีอยู่ บางรายก็ไม่กล้าท�ำอะไรทีแ่ ตกต่างจากทีเ่ คยปฏิบตั กิ นั มาก่อน เพราะกลัว สตง. (ส�ำนักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน) กลัวทุกอย่างจนไม่กล้าลงมือท�ำอะไรใหม่ ๆ ผมมองว่าตรงนี้อยู่ที่การตีความ ท�ำความเข้าใจกับกฎ” “ทุกวันนี้ผมพยายามสื่อสารว่า หนังสือ ๑ เล่ม คุณจะมองว่าเป็นแค่วัสดุหรือจะมองว่า เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ส่งมอบประโยชน์ เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ๆ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี คุณมองได้ทั้งนั้น อยู่ที่จุดมุ่งหมายในการลงมือท�ำเพื่อเด็ก ๆ และชุมชนอย่างแท้จริง ทุกเรื่อง มันชี้แจงได้หมดเลยว่าคุณประโยชน์ที่เด็กและชุมชนจะได้รับคืออะไรบ้าง”

97

∞∞



“อบต. เรารวม ศพด. ทั้งหมดมาอยู่ด้วยกัน มีเด็ก ๗๕ คน คิดว่าวัยเด็ก ๒-๔ ปีนี้ ก็มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ เรื่องการอ่านได้แล้ว เช่น ให้ได้รู้จักเปิดหนังสือนิทาน ถึงจะยังไม่เข้าใจ แต่ก็จะเกิดจินตนาการจากการดูภาพ สีสันในแต่ละหน้า มันคือการอ่านด้วยภาพ เด็ก ๆ ก็จะมี พัฒนาการเรื่องการจดจ�ำภาพและเรื่องราวที่จินตนาการได้



เรือ่ งส่งเสริมการอ่านของทีน่ ี่ แต่เดิมเคยคิดว่าหนังสือนิทานคือต้องให้พอ่ แม่พาอ่าน แล้วเราก็หวงหนังสือเพราะเด็กอ่านแล้วจะฉีกขาด ซึง่ ถ้ามันขาดเราก็ตอ้ งซ่อมค่ะ แต่ปจั จุบนั เราแก้ไขด้วยการให้ครูผลิตสื่อที่สามารถให้เด็กสัมผัสได้ เราก็ให้ใช้งานเต็มที่โดยไม่ต้อง หวงหนังสือเลย หนังสือนิทานที่ ศพด. เรา ส่วนใหญ่เน้นผลิตเอง ถ้าซื้อก็จะซื้อมาเพื่อดู หาแนวทางว่ามีอะไรใหม่และเขาผลิตกันอย่างไร เราก็ผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ให้เด็ก ๆ ได้ สัมผัสหนังสือนิทานเล่มนั้นด้วยตัวเอง พอเด็ก ๆ ได้สัมผัสหนังสือแบบสบาย ๆ เขาก็ลด พฤติกรรมท�ำลายหนังสือลงไปด้วยเหมือนกัน”



กุหลาบ ประรองค�ำ รองปลัด อบต.ทรัพย์ ไพวัลย์ อ�ำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

98

∞∞

วัฒนธรรมการอ่าน ร่วมสร้างให้เป็นนิสัย จากมุมคิดของ “เปเล่” สิ่งที่เอื้อให้งานส่งเสริมการอ่านที่ผ่านมาประสบความส�ำเร็จ คือ ความร่วมมือของคนทีเ่ ป็นผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย (Stakeholder) ทัง้ ในระดับบุคคลและระดับองค์กร เช่น ครูประจ�ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และครูประจ�ำโรงเรียนทั้งประถมและมัธยมศึกษา ส�ำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๒ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ที่ลงมือท�ำ ทุกคนสามารถได้รับ ประโยชน์เต็ม ๆ จากนั้นเมื่อมีผลงานเกิดขึ้นแล้ว ความร่วมมือเพื่อผลักให้งานส�ำเร็จมากยิ่งขึ้น ไปอีกก็ขยับมาถึงระดับหัวหน้าส่วน ระดับบริหาร ที่จะวางนโยบายสนับสนุนเป็นกลไกขับเคลื่อน งานให้ราบรื่นยิ่งขึ้น

99

∞∞

“ท�ำงานมาถึงจุดหนึง่ ผมได้เชือ่ มงาน กั บ ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษาประถม ศึกษาเลย เขต ๒ ก็ได้รับผลตอบรับดีมาก เลยครับ ผอ.สุภชัย (ดร.สุภชัย จันปุ่ม) ท่าน เข้าใจการท�ำงานของพวกเราดี เห็นคุณค่า ของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่พวกเราท�ำ มาก และให้การสนับสนุนอย่างดี เช่น เรื่อง วั ส ดุ อุ ป กรณ์ แ ละหนั ง สื อไปตามโรงเรี ย น เครือข่าย และช่วยการันตีการท�ำงานของ สถาบันฯ ท�ำให้การเคลื่อนงานราบรื่นขึ้น ท�ำให้มีโรงเรียนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้อยู่ในเครือ ข่ายขับเคลือ่ นงานกับเราก็ยงั สนใจ ติดต่อขอ มาร่วมกิจกรรมด้วย” ด้วยประสบการณ์ทำ� งานส่งเสริมการ อ่านกับเด็กและเยาวชน กับครู โรงเรียน และ ชุมชนมาแล้ว ๖ ปี “เปเล่” ยืนยันว่ากิจกรรม ส่งเสริมการอ่านจ�ำเป็นต้องท�ำอย่างต่อเนื่อง กับเด็ก ๆ เพราะทุกวันนี้สิ่งเร้าที่คอยกระตุ้น ให้เด็ก ๆ มีพฤติกรรมทางลบมีเยอะมากขึ้น เมือ่ ห่างกับเด็กไปสักพัก เด็กส่วนหนึง่ จะหัน

กลับไปอยู่ที่ร้านเกม เนื่องจากเขายังอยู่ใน ช่วงวัยที่ต้องการกิจกรรมสนุก ๆ ท�ำ ห้ อ งสมุ ด ชุ ม ชนต้ น แบบที่ บ ้ า น พรประเสริฐของเขามีกิจกรรมทุกเดือน โดย มีรนุ่ พีจ่ ติ อาสาช่วยกันดูแลจัดกิจกรรม พร้อม กับจุดดึงดูดความสนใจจากเด็ก ๆ คือเมื่อมา แล้วได้กนิ เมือ่ มาแล้วได้สนุก เมือ่ มาแล้วก็ได้ เจอเพือ่ น ๆ พี่ ๆ เลีย้ งดูอย่างดี หรือวันดีคนื ดี เปเล่จัดให้มีค่ายอบรม เด็ก ๆ ก็สนุกสนานที่ ได้เจอเพือ่ นใหม่ ซึง่ หลังจากเด็ก ๆ ได้ไปครัง้ แรกแล้ว พอเกิดการอบรมครัง้ ที่ ๒ หลายคน จะขยับตัวมาช่วยหยิบจับอุปกรณ์และเป็น ผูน้ ำ� กิจกรรมบางส่วน สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ถือเป็นการ เรียนรู้และพัฒนาของเด็ก ๆ มุม มองการขับเคลื่อ นงานส่งเสริม วัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในชุมชนของ “เปเล่” และสถาบันไทเลยถือเป็นงานระยะยาว ไม่สามารถท�ำให้จบสั้น ๆ ภายในปีหรือ ๒ ปี แต่สถานการณ์ขององค์กรพัฒนาเอกชน ปัจจุบันในเรื่องการสนับสนุนเงินทุนตอนนี้ 100

∞∞

น้อยมาก ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ก็ได้ทุนปีต่อปี จ�ำนวนงบประมาณเล็ก ๆ น้อย ๆ บางองค์กรก็ต้อง จัดกิจกรรมพิเศษเป็นงานที่เป็นทุนให้ท�ำงานต่อยอดเช่นเดียวกับสถาบันไทเลยฯ ของเขา ซึ่งยัง ค้นหาช่องทางในการสร้างรายได้เพื่อเป็นทุนในการท�ำงานให้ต่อเนื่อง “ที่สถาบันฯ ช่วงปี ๒๕๕๖๒๕๕๗ มีทีมอาสาสมัครอยู่กับเรา เยอะและยาวสุดตั้งแต่ ม. ๔-ม. ๖ ท�ำให้เรารับงานอบรมเพือ่ พัฒนาได้ หลากหลาย ทั้งส่งเสริมการอ่าน พัฒนาศักยภาพเด็ก ท�ำให้องค์กร มีรายได้ทงั้ จากงานพิเศษอืน่ ๆ เช่น การจัดอบรม การจัดกิจกรรมแสดง งานต่าง ๆ มาสมทบทุน พอมาช่วง ปี ๕๘ เด็ก ๆ เรียนจบออกนอก พื้นที่ไปเรียนต่อ ไปท�ำงาน เราก็เคลื่อนขยับงานของเราแบบค่อยเป็นค่อยไปกับทีมงานที่มีอยู่” แนวทางการท�ำงานส่งเสริมการอ่านของสถาบันไทเลยฯ ในแต่ละปีตอ้ งดูจากยุทธศาสตร์ ของแผนงานฯ การอ่าน แล้วกลับมาตรวจสอบว่าพืน้ ทีต่ นมีศกั ยภาพท�ำอะไรได้บา้ ง ค้นหาในส่วนที่ สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับบริบทพืน้ ที่ ถ้าตรงกันก็วางแผนลงมือท�ำ แต่ถา้ พืน้ ทีย่ งั ไม่พร้อม ก็หยุดไว้กอ่ น เช่น ปีหนึง่ ทีแ่ ผนงานฯ มีเป้าหมายอยากท�ำงานร่วมกับ อสม. แต่ในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ งานของสถาบันฯ ยังไม่พร้อม จึงเว้นวรรคการรับทุนสนับสนุนการท�ำงานไว้ก่อน โดยใน สถานการณ์จริงแม้ว่าจะไม่ได้ทุนในแผนระยะปี แต่เขาก็ยังมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเล็ก ๆ 101

∞∞

น้อย ๆ ท�ำกับเด็ก ๆ ในชุมชนอยู่เป็นระยะ แล้วค่อย ๆ คิดหาช่องทางประยุกต์ตัวงานให้เกิดขึ้น แบบนอกกรอบเดิมได้ ความตัง้ ใจและมุง่ มัน่ ของจิตอาสาทีต่ อ้ งการพัฒนาบ้านเกิด สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ให้เกิดขึน้ ยังมีอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง ไม่วา่ จะเป็น เด็ก ครู ผูป้ กครอง เจ้าหน้าทีท่ อ้ งถิน่ แต่งบประมาณ ในการขับเคลือ่ นกิจกรรมยังคงเป็นเรือ่ งที่ไม่แน่นอน ก�ำลังแรงมี แต่อาจขาดปัจจัยหากไม่มหี น่วยงาน สนับสนุน เขาจึงเชื่อในการผลักดันให้เกิดนโยบายจากภาครัฐ เพื่อผลดีกับชุมชนในระยะยาว “สวัสดิการหนังสือ คือ รัฐหรือท้องถิ่นจัดสรรงบประมาณหรือจัดสรรหนังสือให้เป็น หนังสือดี ๆ และฟรีให้เด็ก ๆ เข้าถึงหนังสือได้ หรืออาจเป็นนโยบายแม่ลูกอ่อนจะต้องมีหนังสือ อย่างน้อย ๕ เล่ม ใครที่คลอดจะต้องมีหนังสือให้ หรือการจัดสวัสดิการในหมู่บ้าน ชุมชนต้อง มีมุมหนังสือที่เด็กเข้าถึงได้โดยการสนับสนุนจาก อบต. (องค์การบริหารส่วนต�ำบล) หรือท้อง ถิ่น เป้าหมายถัดไปในการท�ำงานส่งเสริมการอ่าน ผมก็อยากผลักดันให้ท้องถิ่นซื้อไอเดียนี้แล้ว ก็จัดสรรงบประมาณตั้งไว้เพื่อให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน” “เปเล่” มีความเชือ่ ว่าคนจ�ำนวนมากชอบอ่าน เพียงแค่วา่ จะอ่านจากช่องทางไหน กิจกรรม ที่กลุ่มไทเลยท�ำในปัจจุบันคือส่งเสริมให้กลุ่มเด็กที่ก�ำลังเติบโตสนใจการอ่าน สามารถอ่านออก เขียนถูกต้อง สามารถสืบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จากแหล่งอื่นได้ด้วย เพราะปัจจุบันข้อมูลหาได้จาก หลายแห่ง ห้องสมุดเป็นระบบ Digital online วิทยานิพนธ์อยูบ่ นเว็บไซต์ คนไม่ตอ้ งเดินเข้าห้องสมุด แล้วก็ได้ เพียงแต่ต้องกระตุ้นให้เด็ก ๆ คิดต่อว่าการเรียนรู้ การอ่าน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ หลายช่องทางจริง

ในขณะที่คิดหาช่องทางเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ผ่าน 102

∞∞

การอ่าน ลงมือท�ำร่วมกับเพื่อนพี่น้องในบ้านเกิดอย่างสนุกสนาน ยังมีเป้าหมายสุดท้ายของการ ท�ำงานพัฒนาสังคมประเด็นสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนที่ “เปเล่” คาดหวังไว้ “ผมอยากนอนอ่านหนังสืออยู่บน เปลทีบ่ า้ นครับ นัน่ หมายถึง การขับเคลือ่ น งานส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านเกิดขึน้ จน เราวางมือได้แล้ว ผมเชือ่ ว่าวัฒนธรรมการ อ่านสร้างได้ อาจต้องใช้เวลา แต่มันเป็น ไปได้ทวี่ นั หนึง่ ในสังคมเรา ทุกคนในชุมชน ก็มีวัฒนธรรมการอ่านตามรสนิยมความ ชื่นชอบของแต่ละคน พื้นที่สามารถขับ เคลื่อนส่งเสริมการอ่านกันเองได้ ถึงอาจ ไม่ใช่หมดทุกคนในชุมชนที่จะอ่าน เพราะการอ่านมันเป็นความชื่นชอบของแต่ละบุคคล เป็นจริตส่วนบุคคล คนชอบอ่านก็จะอ่านอย่างมีความสุข” ทุกกิจกรรมพัฒนาสังคมที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าของสถาบันไทเลยในวันนี้ ยังคงมุ่งเน้น การลงมือท�ำด้วยความสนุกร่วมกันของทุกฝ่าย ไม่ว่าผลลัพธ์ในแต่ละช่วงจะสมบูรณ์ตามที่ตั้ง เป้าหมายไว้หรือไม่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป คือ การถอดบทเรียน และลงมือท�ำต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนกว่าจะส�ำเร็จ เพื่อเป้าหมายสุดท้ายของเขา “นอนอ่านหนังสืออยู่บน เปลที่บ้านตัวเอง”

103

∞∞

= Growth Mindset = - การถูกปฏิเสธครั้งแรกไม่ใช่จุดจบ ยังมีช่องทางเดินอยู่อีกเสมอ - เมื่อรู้ว่ามีโอกาสอยู่ตรงไหน ให้เดินไปหา แล้วเราจะได้รับมัน - ทุกสิ่งที่ลงมือท�ำเต็มที่แล้ว มีระยะเวลา ของผลส�ำเร็จ จงวางใจและเฝ้ารอ - กิจกรรมรณรงค์ต้องท�ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับเด็กเยาวชน

บทสัมภาษณ์พิเศษ ดร.สุภชัย จันปุ่ม ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต ๒ (ผอ.สพป.เลย เขต ๒) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) คนส�ำคัญที่มีส่วนสนับสนุนในการขับ เคลื่อนสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สาเหตุทเี่ ข้าร่วมผลักดันงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กับสถาบันไทเลยฯ

“ผมได้ยนิ ชือ่ สถาบันไทเลยมาก่อนหน้าทีผ่ อู้ ำ� นวยการ สถาบันฯ (เปเล่) จะเข้ามาคุยกันด้วยซ�้ำไป รู้ว่าเป็นองค์กร

104

∞∞

ท�ำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนในจังหวัดเลย โดยเฉพาะพืน้ ทีเ่ อราวัณซึง่ เป็นภูมลิ ำ� เนา ของกิตติพงษ์ (เปเล่) ดังนั้น พอเขามา พู ด คุ ย เรื่ อ งการส่ ง เสริ ม การอ่ า นมั น ก็ สอดคล้องกับนโยบายของเขตพื้นที่การ ศึ ก ษาอยู ่ แ ล้ ว ในการที่ จ ะแก้ ป ั ญ หา นักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ซึ่งเป็น เรื่องส�ำคัญ เราต้องท�ำให้นักเรียนอ่าน ออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ถ้าเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นความล้มเหลวของการจัดการ ศึกษา ฉะนั้น เมื่อเขาขายแนวคิดการร่วมมือกันส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรักการอ่านหนังสือ มันก็เป็นการจุดประกายความคิดทีต่ รงกัน ผมถือว่ากิตติพงษ์เข้ามาขายตรงจุด ตรงความต้องการครับ ผมซื้อเลย (หัวเราะ) เมื่อทิศทางเป้าหมายตรงกัน ก�ำหนดการร่วมมือกันจริง ๆ ก็เกิดขึ้น”

สถานการณ์การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนเป็นอย่างไร

“ช่วง ๒-๓ ปีก่อนนี้ทุกฝ่ายก็ท�ำงานตามปกติ เช่น จัดกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านในวัน ภาษาไทย วันสุนทรภู่ ประกวดอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง แสดงละคร ยังอยูใ่ นระดับธรรมดา ไม่ได้เข้มข้น เหมือนทุกวันนีท้ มี่ กี ารสนับสนุนเรือ่ งวัสดุ อุปกรณ์ หนังสือ สือ่ อ่าน จากโครงการฯ ของสถาบันไทเลย แน่นอนว่าเมือ่ มีเครือ่ งมือมากขึน้ การด�ำเนินการก็จริงจังในระดับเข้มข้นมากยิง่ ขึน้ และความร่วมมือ ที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่แค่ในโรงเรียน แต่ยังหมายรวมถึงท้องถิ่น ผู้ปกครอง ชุมชน ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน การที่จะด�ำเนินงานเดินหน้าไปพร้อม ๆ กัน มันก็เลยเกิดพลัง



สถาบันไทเลยเข้ามาท�ำงานตรงนีด้ ว้ ยใจ มันเกิดจากแรงบันดาลใจทีอ่ ยากเห็นเด็กในชุมชนใน

105

∞∞

ท้องถิน่ ของเขาอ่านออก เขียนได้ มีการพัฒนา คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อมันเกิด จากการท�ำงานด้วยหัวใจ มันก็ท�ำได้เต็มที่ โรงเรียนเองก็ให้ความร่วมมือเต็มที่ ทัง้ ผูบ้ ริหาร โรงเรียนให้การส่งเสริมสนับสนุน ครูกเ็ ปลีย่ นแปลง พฤติกรรมทัง้ เรือ่ งการสอนและให้การช่วยเหลือ เด็กที่มีปัญหาในเรื่องการอ่าน การเขียน และ ยังมีหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือ ขั บ เคลื่ อ นไปด้ ว ยกั น เช่ น องค์ กรท้ อ งถิ่ น เมื่อเป็นการเดินหน้าไปทั้งองคาพยพ มันก็จะ เกิดการเปลี่ยนแปลง”

ระดั บ เข้ ม ข้ น ที่ ก ล่ า วมา จ� ำ เป็ น ต่ อ การ พัฒนาการอ่านเขียนของเด็ก ๆ

อ่านเขียน ถ้า ป. ๑ อ่านออกทั้งชั้นเรียนก็มอบ เกียรติบัตรให้กับครู แต่ถ้าอ่านได้ทุกคนใน โรงเรียนก็จะมอบโล่รางวัลให้โรงเรียน จัดพิธมี อบ มีเงินรางวัลให้โรงเรียนด้วย



ยกตัวอย่าง โรงเรียนบ้านเอราวัณไป เยี่ ย มนั ก เรี ย นในโอกาสประชุ ม ประจ� ำ เดื อ น ผู้บริหาร ผมก็ทดสอบชั้น ป. ๑ เพราะเป็น นโยบายของกระทรวง ผลคือเด็ก ป. ๑ อ่าน ออกเขียนได้ทุกคน รวมถึงเด็กพิเศษก็สามารถ อ่านออก เขียนได้ แต่งประโยคได้ ผมเอาบัตร ค�ำที่เป็นกระดานแม่เหล็กมาสลับที่กัน สะกด และอ่านได้หมด ซึ่งโรงเรียนบ้านเอราวัณก็ ถือเป็นโรงเรียนหลักในโครงการฯ ของสถาบัน ไทเลยฯ ด้วย”



“อย่าลืมว่าเราจัดการศึกษามาไม่รกู้ รี่ อ้ ยปี แล้วใช่ไหมครับ แต่กย็ งั เจอปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้มาโดยตลอด แต่ถ้าเราท�ำงานกัน อย่างเข้มข้น เอาจริงเอาจัง เด็กต้องอ่านและ เขียนได้ ๑๐๐% ซึง่ เกิดผลลัพธ์ขนึ้ จริง ทางเขต มีโครงการภาษาท้าประลอง ให้โรงเรียนทีพ่ ร้อม ติดต่อมา เขตฯ จะน�ำเครื่องมือไปทดสอบการ

การร่วมทางเดินสายเดียวกันเพื่อสร้างการ อ่านออกเขียนได้

“สิ่งที่ผมท�ำคือ เมื่อสถาบันไทเลยฯ มี การจัดกิจกรรม ผมจะไปร่วมงานทุกครัง้ การที่ ผมซึง่ เป็นสัญลักษณ์ขององค์กรไปร่วมงาน นัน่ แสดงว่าเขตฯ การศึกษาร่วมด้วยกับโครงการนี้

106

∞∞

นะ ผมทั้งไปปรากฏตัว ร่วมงาน และพูดคุย ท� ำ ทุ ก อย่ า งที่ ท� ำ ได้ มั น เป็ น เชิ ง สั ญ ลั ก ษณ์ (หัวเราะ) ถึงแม้วา่ เราไม่ได้ไปบังคับว่าโรงเรียน คุณต้องท�ำนะ แต่เราก็ไปยินดีกับการน�ำเสนอ กิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก เพราะที่น่าสนใจคือ ทุกงานของสถาบันไทเลยฯ จะให้เด็กมีสว่ นร่วม ตลอด ไม่ใช่ว่าเวลาน�ำเสนอให้ครูมาพูดอย่าง เดียว แต่เด็ก ๆ จะได้มาเป็นตัวเดินเรื่อง อ่าน ปฏิ ญ ญาที่ ต กลงท� ำ งานขั บ เคลื่ อ นประเด็ น ส่ ง เสริ ม การอ่ า นร่ ว มกั น แล้ ว ก็ ม อบให้ กั บ หน่วยงานต่าง ๆ เป็นข้อตกลงร่วมกัน ส�ำหรับ เราเมื่อร่วมข้อตกลงกันแล้วก็ต้องท�ำให้เต็มที่ เด็ก ๆ มายื่นให้กับมือ ถ้าผู้ใหญ่อย่างเราไม่ท�ำ อะไรเลยมันก็น่าอายเด็ก



ผมเชื่ อ ว่ า ที่ ผู ้ อ� ำ นวยการหรื อ คุ ณ ครู แต่ละโรงเรียนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการฯ ด้วย เพราะเห็นความส�ำคัญเรื่องการอ่านอยู่แล้ว เพี ยงแต่ เมื่ อก่อ นยังไม่มีใ ครมากระตุ้น หรือ ส่งช่องทางให้ แต่พอเห็นสถาบันไทเลยฯ กับ เขตฯ การศึกษาเข้ามาแอ็กชั่นด้วย ก็เลยดูมี เส้นทางที่มันชัดเจนในการลงมือท�ำมากขึ้น

107

∞∞



ส่วนที่ผมไปร่วมงานกิจกรรมส่งเสริม การอ่านด้วยตัวเอง เพราะมันเป็นงานนโยบาย ทีเ่ ราอยากจะเห็นผลส�ำเร็จเกิดขึน้ ผมเชือ่ ว่าถ้า งานใดที่ผู้บริหารหน่วยงานไม่ให้ความส�ำคัญ ความส�ำเร็จก็จะน้อยกว่าที่ควรจะได้ มันเป็น ธรรมชาติของข้าราชการส่วนหนึง่ อยูน่ ะ (หัวเราะ) เราจะต้องไปให้กำ� ลังใจซึง่ กันและกัน ให้กำ� ลังใจ สถาบันไทเลยฯ ทีเ่ ขามาช่วยเราท�ำงาน และไป ให้ก�ำลังใจผู้อ�ำนวยการและคุณครูที่เขาก�ำลัง ท�ำงานอย่างจริงจังเข้มข้นครับ”

เมื่อภาครัฐกับองค์กรพัฒนาเอกชนท�ำงาน ร่วมกัน

“สถาบันไทเลยฯ เป็นภาคประชาสังคม ทีม่ คี วามปรารถนาดี ไม่ได้เป็นกลุม่ ทีม่ าต่อต้าน ทุกเรื่อง แต่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้ามา เพื่อช่วยเหลือสังคมและมีเป้าหมายอยู่ที่การ พัฒนาเด็ก ๆ ดังนั้น ใครก็แล้วแต่ที่มีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาเด็ก ผมยินดีให้ความร่วมมือเต็มที่ อ้าแขนรับ ซึ่งก็ไม่ใช่มีแต่สถาบันไทเลยฯ ยังมี อีกหลายมูลนิธทิ คี่ อยมาช่วยเหลือดูแลเกีย่ วกับ

เด็ก ๆ ในพื้นที่เขตฯ นอกจากไม่ปิดกั้นแล้ว ผมยังแสวงหาด้วย ไม่ใช่รออย่างเดียว หาว่าจะมีองค์กร ไหนที่จะมาช่วยเสริมในเรื่องนี้ เช่น เรื่องสุขภาวะทางเพศ การป้องกันท้องไม่พร้อม ถือเป็นการเสริม สร้างทักษะ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนลูกหลานของเรา



ผมเติบโตมาจากการเป็นครูผู้สอน เข้าใจหัวอกของคนเป็นครู ผมเชื่อว่าครูส่วนใหญ่ก็อยาก เห็นเด็กของตัวเองอ่านออกเขียนได้อยู่แล้ว ดังนั้น ผมจึงพร้อมเปิดรับทุกแนวคิดหรือทุกองค์กรที่มี จุดมุ่งหมายเดียวกัน พัฒนาครู พัฒนาเด็ก เพราะถ้าปิดกั้นหรือปฏิเสธก็เหมือนกับแก้วที่คว�่ำไปแล้ว ไม่มีวันจะรับน�้ำฝนได้แม้แต่เม็ดเดียว โอกาสที่จะพัฒนาไม่มีเลย ผมคิดอยู่เสมอว่าเราไม่ใช่ผู้บริหาร ที่ดีที่สุด ไม่ใช่ผู้บริหารที่เก่งที่สุด เราต้องเรียนรู้อยู่เสมอ ที่ส�ำคัญคือมุมมองของเราก็มุมหนึ่ง คนภายนอกหรือองค์กรเอกชนก็มองอีกมุมหนึง่ ซึง่ เมือ่ เราเปิดรับความเปลีย่ นแปลงย่อมเกิดขึน้ เสมอ”

= Growth Mindset = - หากไม่อยากหยุดอยู่กับที่ แม้จะเป็นผู้บริหาร ก็ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ - คว้าโอกาสไว้เสมอ เมื่อมันเดินทางมาอยู่ตรงหน้า - หาแนวร่วมในการท�ำงาน ท�ำให้ส�ำเร็จ แบบประหยัดเวลาและพลังงาน

108

∞∞

อ่านสร้างสุข ณวพลภ์ บุญอาษา

ส่งต่อโอกาส สื่อสารความรู้ : “หัวหน้าพงษ์” กุฉินารายณ์ วัฒนธรรมจิตอาสา วัฒนธรรมการอ่าน วัฒนธรรมการให้ “ความยั่งยืนต้องฝากไว้กับพื้นที่ เราเป็นแค่ คนจุดประกาย วันหนึ่งเราก็ต้องไปที่อื่น” “ณวพลภ์ บุญอาษา” ประธานศูนย์พัฒนา ศักยภาพการเรียนรู้ครอบครัวต�ำบลเหล่าใหญ่ อ�ำเภอ กุฉนิ ารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวยืนยันว่าวางตัวเอง ไว้เพียงทีบ่ ทบาทของผูจ้ ดุ ไฟฝันต้นทางของการท�ำงาน พัฒนาชุมชน อ�ำเภอกุฉินารายณ์ เป็นอีกหนึ่งในพื้นที่ต้นแบบ ท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน ซึ่งได้ ผลลัพธ์จนเกิดแหล่งอ่าน เกิดวัฒนธรรมการอ่านเสริมสร้าง

พัฒนาการเด็กเล็ก ๐-๖ ปีในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยก�ำลังแรงกาย แรงใจของจิตอาสาจากภาคการ ศึกษา ภาคสาธารณสุข ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน “พงษ์-ณวพลภ์” เป็นแรงก�ำลังส�ำคัญของการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการอ่าน ผ่านการ รับทุนท�ำงานโครงการ ภายใต้การด�ำเนินงานของศูนย์พฒ ั นาศักยภาพการเรียนรูค้ รอบครัวต�ำบล เหล่าใหญ่ องค์กรสาธารณประโยชน์ทเี่ ขาตัง้ ขึน้ เพือ่ ท�ำงานด้านพัฒนาสังคมในพืน้ ทีบ่ า้ นเกิดของ ตนเอง หลังจากออกเดินทางไปสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาให้กับชุมชนต่าง ๆ มากมาย ทั่วประเทศภายใต้การท�ำโครงการเกี่ยวกับเด็กและครอบครัว เขาคลุกคลีอยูก่ บั กระบวนการเรียนรูด้ า้ นคุณภาพชีวติ และสายสัมพันธ์ของครอบครัวอยู่ หลายโครงการนานนับสิบปี โดยเฉพาะอย่างยิง่ กับกิจกรรมเวทีเรียนรูข้ องพ่อแม่ทมี่ งุ่ ส่งเสริมการ เรียนรูต้ อ่ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ช่วง ๐-๖ ปี ผ่านกระบวนการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม ด้วยเทคนิคเล่านิทาน อ่านหนังสือ และเล่นกับลูก ส่งผลให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการท�ำงานเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวของเขา มีฐานที่แน่นมาเป็นทุนเดิม ก่อนเข้ามาท�ำงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านกับชุมชนอย่างเต็มที่ในเวลาต่อมา “โครงการครอบครัวเข้มแข็ง” ท�ำให้เขาค้นพบว่า การเลี้ยงลูกตามช่วงวัยนั้นให้ผลลัพธ์ ที่ดีกับพัฒนาการเด็กมาก รวมทั้งได้ความชัดเจนของหลักคิดเกิดขึ้นในครอบครัว “โครงการของสายใยรัก” ท�ำให้เขาค้นพบว่า ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) เป็น Key Success น�ำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กเล็กและครอบครัว ตลอดระยะเวลาการท�ำงานประเด็นเด็ก เขาพบว่า การสร้างเด็กให้เติบโตมีคุณภาพชีวิต ทีด่ นี นั้ สามารถท�ำได้โดยความร่วมมือของผูค้ นหลากหลายฝ่าย ไม่วา่ จะเป็นผูป้ กครอง อาสาสมัคร 111

∞∞

สาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน (อสม.) รวมทั้งครูประจ�ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ที่เขายึดโยงไว้ เป็นหัวใจแห่งการท�ำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและครอบครัวถึงปัจจุบัน ศูนย์พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ครอบครัวต�ำบลเหล่าใหญ่เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ ได้รบั เงินทุนท�ำงานจากการน�ำเสนอโครงการพิเศษเป็นครัง้ คราวจากหน่วยงานทีเ่ ปิดให้ทนุ ท�ำงาน ด้านพัฒนาสังคม เช่น สสส. และแผนงานต่าง ๆ ภายใต้การก�ำกับดูแลของ สสส. หรือหน่วย งานราชการภายใต้การก�ำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ (พม.) หรือหน่วยงานเอกชนต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ เรื่อยมากับหลายโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก และครอบครัว จนมีเครือข่ายคณะครู ศพด. ท�ำงานร่วมกันอย่างเหนียวแน่นในบทบาทวิทยากร กระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่าน เล่า เล่นกับลูก “พงษ์-ณวพลภ์” ยืนยันว่า คณะครู ศพด. จิตอาสากว่า ๑๐ ชีวิต เป็นเรี่ยวแรงก�ำลังใน การพัฒนาเด็กและครอบครัวตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน และทุกวันนี้สนิทชิดเชื้อเสมือนหนึ่งเป็น ครอบครัวเดียวกัน ท�ำงานด้วยความสนุกสนาน หวังผลเพียงให้เด็ก ๆ ในชุมชนได้มีพัฒนาการ ที่เหมาะสมกับวัย กระทัง่ ปี ๒๕๕๕ “ณวพลภ์” หรือทีค่ ณะครู ศพด. จิตอาสาเรียกกันว่า “หัวหน้าพงษ์” ตัดสินใจ เปิดหน้าต่างอีกบานให้อำ� เภอกุฉนิ ารายณ์ ด้วยการท�ำโครงการสร้างเด็กกาฬสินธุฉ์ ลาด ด้วยการ ส่งเสริมการอ่านปี ๑ จากทุนสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน พร้อม ๆ กับ เริม่ ต้นพลิกชีวติ ของคนท�ำงานรับค่าตอบแทนในร่มเงาองค์กรใหญ่ เลือกกลับบ้านลงหลักปักฐาน หาทุนส�ำหรับท�ำงานที่ตนรักในจังหวัดกาฬสินธุ์แผ่นดินบ้านเกิด

เครือข่ายหลาย ๆ คนทีเ่ ขาเคยท�ำงานด้วยในบ้านเกิดตัง้ แต่ปี ๒๕๔๗ ยินดีสง่ มอบความร่วม 112

∞∞

มือให้เขาด้วยความเต็มใจ โดยเฉพาะคณะครู ศพด. ทีเ่ ป็นหัวใจส�ำคัญแห่งการท�ำงานพัฒนาเด็ก ๆ วัย ๐-๖ ปี ซึง่ อาสาเข้าร่วมเป็นคณะท�ำงานส่งเสริมการอ่าน โดยใช้เวลาในวันหยุดงานร่วมกัน ลงแรงท�ำกิจกรรมตามแผนโครงการฯ ซึ่งมีเป้าหมายท�ำงาน ๒ ปีแรกส�ำหรับส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ช่วงแรกเกิด - ๖ ขวบ ในศูนย์พัฒนา เด็กเล็กจ�ำนวน ๑๖ แห่งของอ�ำเภอกุฉินารายณ์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของ ผู้ปกครอง ด้วยการส่งเสริมการอ่านหนังสือและกระบวนการที่หลากหลาย เช่น การเล่านิทาน การเล่นกับลูก การผลิตสื่อส่งเสริมการอ่าน การพัฒนา ศักยภาพกลไกความร่วมมือของเครือข่ายผูป้ กครอง ครูปฐมวัย ครู ศพด. อสม. เด็ก เยาวชน ผู้น�ำชุมชน องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาคีส่งเสริมสุขภาวะในชุมชน 113

∞∞

“หัวหน้าพงษ์” บอกว่า แม้จะไม่มีโครงสร้างองค์กรส�ำหรับคณะท�ำงานส่งเสริมการอ่าน อย่างเป็นทางการ แต่ทุกคนก็ท�ำงานเต็มที่ตามศักยภาพที่แต่ละคนถนัด ท�ำให้ผลลัพธ์ในการ ขับเคลื่อนงานเป็นไปตามเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม “คณะท�ำงานทุกคนมีหัวใจของความเป็นจิตอาสาจริง ๆ เพราะไม่ได้มีเงินเดือน ต้องใช้ วันหยุดหรือเวลาหลังเลิกงานมาประชุม มาท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ถึงจะมีคา่ ตอบแทนบ้างก็เป็นเพียง ค่าน�้ำมันรถ บอกได้เลยว่าทุกคนมาด้วยใจจริง ๆ ซึ่งพอคนลงมือท�ำด้วยความตั้งใจจริง ผลที่ ออกมามันก็ดีตามที่ตั้งใจไว้เลย”

หอบความรู้กลับสู่บ้านเกิด “ณวพลภ์” เรียนจบด้านการจัดการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ เริ่มเป็นอาสาสมัครงานโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมตั้งแต่สมัยเรียน เขาเล่าว่ามีกี่งานชุมชน ที่ไปได้ เขาขอไปหมด เพราะเรียนวันเสาร์-อาทิตย์ เมื่อมีเวลาว่างช่วงจันทร์-ศุกร์ จึงก้าวเท้า เข้าไปอาสาร่วมทุกกิจกรรมที่ชอบ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้วเขาเลือกเรียนการจัดการ เพราะอยากไปนั่งท�ำงานออฟฟิศ แต่สงิ่ เกิดขึน้ ในชีวติ จริงหลังจากเรียนจบคือ เขาตัดสินใจ เข้าท�ำงาน “บัณฑิตอาสา” และวัน นั้น วันแรกที่ก้าวสู่การเป็น “บัณ ฑิตอาสา” น่าจะเป็นการปิดฉากการนัง่ โต๊ะท�ำงานออฟฟิศของ “หัวหน้าพงษ์” อย่างเป็นทางการ 114

∞∞

“ตอนนัน้ มีกระแสว่าคนทีเ่ รียนจบต้อง วิ่งเข้าไปที่กรุงเทพฯ เพราะจะท�ำงานได้ เงินเดือนเยอะ ทัศนคติของเราก็สวนกระแส มาคิดว่า อ้าว แล้วใครจะท�ำงานพัฒนาใน ระดับชุมชนล่ะ แล้วถ้าเราจะท�ำต้องไปท�ำ กับใคร ตั้งค�ำถามแล้วคิดหาทางไป แล้วก็ได้ ท�ำงานชุมชนมาเรื่อย ๆ จนผมพบว่าสุดท้าย มั น มี ค วามเป็ น ชุ ม ชนอยู ่ ใ นทุ ก ที่ นั่ น แหละ เราต้องมองให้เห็น” จนวั น หนึ่ ง ได้ พ บกั บ “ครู แ อร์ สุพรรณทิพย์ ประทุมทา” ครูศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก (ศพด.) บ้านสามขา สังกัดองค์การบริหาร ส่วนต�ำบล (อบต.) สามขา ซึ่งท�ำวิทยุชุมชน อยู่ จึงได้โอกาสท�ำวิทยุชุมชนที่กุฉินารายณ์ ในบทบาทสื่อมวลชนท้องถิ่น เมื่อองค์กร รักลูกลงพื้น ที่ส�ำรวจท�ำโครงการอบรมใช้ เครือ่ งมือท�ำวิจยั ชุมชน จึงได้ตดิ ต่อพูดคุยกัน กระทั่ งได้ รั บ มอบหมายให้ เ ป็ น เจ้ า หน้ า ที่ ประสานงานระดั บ พื้ น ที่ รั บ ผิ ด ชอบงาน ๖ ต�ำบล ใน ๔ อ�ำเภอของจังหวัดกาฬสินธุ์ 115

∞∞

กระทัง่ ขยับตัวเข้าไปท�ำงานโครงการเล่านิทานฯ ขององค์กรรักลูก รับผิดชอบงาน ๑๐ จังหวัด ภาคอีสาน อีกเป็นระยะเวลารวม ๕ ปี ก่อนจะ ตัดสินใจกลับมาท�ำงานพัฒนาชุมชนที่บ้าน เกิดกุฉินารายณ์ “เป้าหมายตอนทีค่ ดิ ออกจากงานกลับ มาอยู่กาฬสินธุ์ วางรากฐานไว้ส่วนหนึ่งในใจ คื อ เตรี ย มเขี ย นโครงการตามที่ เ รามี ประสบการณ์ เช่น เขียนโครงการขอทุน จังหวัด ขอทุน พมจ. (ส�ำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษ ย์จังหวัด) สสส. (ส� ำ นั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า ง เสริมสุขภาพ) ก็มหี ลายองค์กรทีเ่ คยร่วมงาน ด้วย อีกส่วนหนึ่งคือเป็นลูกคนเดียว ก็เป็น ห่วงแม่กับยาย คิดแล้วได้ข้อสรุปว่าถ้ากลับ มาอยู่บ้าน อย่างน้อยเราก็ช่วยเหลือพายาย ไปหาหมอได้ แม่ก็อยากให้กลับมาอยู่ด้วย เมื่อก่อนเขาเห็นเราสะพายกระเป๋าออกจาก บ้านไปท�ำงาน ก็ยังบอกว่าถ้าล�ำบากก็มาอยู่ บ้านเราก็ได้นะ (หัวเราะ) แต่ตอนนั้นยังรู้สึก

ว่าเดินทางเหนื่อยก็ยังได้ตังค์มากหน่อย แต่ก็คิดอยู่ตลอดว่าถ้ามีช่องทางอื่นที่กลับมาอยู่บ้านได้ ก็จะมา” วันหนึ่งในปี ๒๕๕๔ ช่องทางที่เขามองหาก็มาถึง เมื่อรู้ข่าวการเปิดให้ทุนท�ำงานระดับ ชุมชนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ซึง่ ตรงกับความต้องการทีอ่ ยากท�ำงานเกีย่ วกับ การอ่าน จึงเขียนโครงการเสนอ และได้รบั อนุมตั ใิ ห้ทำ� โครงการในปี ๒๕๕๕ ช่วงนัน้ เขายังท�ำงาน เป็นฟรีแลนซ์โครงการเล่านิทานฯ ขององค์กรรักลูก ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ควบคู่ไปด้วย จนจบลงในปี ๒๕๕๗ นับเป็นเวลากว่า ๒ ปี ทีเ่ ดินทางไปกลับระหว่างกาฬสินธุแ์ ละอีก ๑๐ จังหวัด ภาคอีสานที่รับผิดชอบงาน รวมถึงกรุงเทพฯ ต้นทางของการด�ำเนินงานทั้งหมด

“ช่วงเริ่มงานการอ่าน ผมได้หนังสือส่วนหนึ่งมาจากโครงการเล่า นิทาน อ่านเล่นกับลูก ของสายใยรัก เป็นกิจกรรมส่งเสริมการเล่านิทาน ซึง่ ผมได้ไอเดียจากโครงการนีม้ าต่อยอดท�ำงานกับแผนฯ การอ่าน ปีแรก ที่ท�ำงานอ่านไม่ได้ขอค่าตอบแทนตัวเองเลย เพราะยังวิ่งรอกท�ำงานกับ ที่เก่าอยู่ แต่อยากให้มีกิจกรรมดี ๆ เกี่ยวกับการอ่านเกิดขึ้นในบ้านเรา” 116

∞∞

“หัวหน้าพงษ์” มองว่าการท�ำงานโครงการเล่านิทานฯ ท�ำให้ได้ความรู้ จากการเป็นลูกมือผูเ้ ชีย่ วชาญด้านกระบวนการเรียนรูใ้ นรูปแบบต่าง ๆ รวมทัง้ ซึมซับ ๔ หลักคิดส�ำคัญ คือ คุณธรรม สายสัมพันธ์ครอบครัว การเลี้ยงลูก แต่ละช่วงวัย และการมีสว่ นร่วมกับชุมชนในการพัฒนาเด็ก ซึง่ น�ำมาประยุกต์ ใช้งานพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้ และด้วยประสบการณ์ท�ำงานเรื่องเด็กและครอบครัวมาระยะเวลาหนึ่ง เขาจึงเชื่อว่าการ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้จากการอ่านอย่างต่อเนื่องให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้รับรู้เท่ากันกับคณะ ท�ำงาน จะสามารถส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ๆ ได้ตามวัยอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น “หัวใจการเคลือ่ นงานอ่านของผมคือ น�ำฐานทุนความรูท้ ถี่ นัดมาส่งมอบให้กบั ชุมชนบ้าน เรา สื่อสารบอกเล่าวิธีการและคุณประโยชน์ได้ ไม่ได้เอาข้อมูลยกเมฆมา แต่เอาหลักวิชาการ ที่เรียนมา และทดลองท�ำจนประสบความส�ำเร็จแล้วมากระจายต่อ” การท�ำงานร่วมกับคณะครูศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก (ศพด.) ท�ำให้ “ณวพลภ์” พบทุนหลายอย่าง ทีช่ ว่ ยสนับสนุนการเคลือ่ นงานได้ พร้อมยืนยันว่าครู ศพด. จ�ำนวนมากล้วนมีศกั ยภาพขับเคลือ่ น สังคม เพียงแต่อาจขาดโอกาสแสวงหาแหล่งทุนภายนอก ในขณะที่เขามีโอกาสเจอแหล่งทุน ภายนอกทีพ่ ร้อมสนับสนุนหรือเปิดโอกาสให้คณะครูได้ไปศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของ ตนเพิ่มเติม เมื่อเขามองเห็นโยงใยที่สามารถเชื่อมกันเพื่อพัฒนาได้ จึงไม่รีรอที่จะร่วมท�ำงาน กับคณะครู ศพด. ในพื้นที่อย่างจริงจัง ช่วงแรกของการท�ำงานขับเคลื่อนการอ่านที่อ�ำเภอกุฉินารายณ์ เป็นการลงแรงลงใจของ เครือข่ายคณะครู ศพด. ซึ่งล้วนเป็นจิตอาสาที่เต็มใจสวมหมวกทีมงานหลัก เพื่อร่วมกันท�ำพื้นที่ 117

∞∞

น�ำร่องในการท�ำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านทีเ่ หมาะสมกับวัยให้เกิดขึน้ จุดเริม่ ต้นมีการรวมตัวนัง่ คิด พูดคุยวิเคราะห์กนั ค่อนข้างมาก เนือ่ งจากผูป้ กครองส่วนใหญ่มคี วามคาดหวังไว้วา่ เมือ่ ส่งลูกหลาน มาอยู่ที่ศูนย์ฯ แล้วเด็กต้องสามารถอ่านออกเขียนได้ ซึ่งจากการค้นคว้าข้อมูลของทีมงาน พบว่าการเร่งรัดให้เด็กเล็กอ่านออกเขียนได้นั้นขัดกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก รวมถึงข้อมูล งานวิจัยที่บอกว่า การให้เด็กเล็กเรียนหนักเกินกว่าวัยนั้นมีเปอร์เซ็นต์สูงที่ส่งผลให้โตไปแล้ว เด็กคนนั้นไม่อยากเรียนหนังสือ ดังนั้น นอกจากร่วมกันออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัยแล้ว ยังเน้นการ สื่อสารให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงคุณประโยชน์ของการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงวัย อธิบายถึง ผลกระทบของการน�ำเด็กเรียนรูข้ า้ มขัน้ ทีท่ ำ� ให้ความทรงจ�ำหรือประสบการณ์ชวี ติ ในช่วงเด็กเล็ก ขาดหายไป รวมทัง้ ย�ำ้ ชัดประเด็นการอ่านหนังสือให้ลกู ฟังทีส่ ามารถสานสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความรักระหว่างพ่อแม่ลกู ทีถ่ กู ประทับลงไปภายในจิตใจของลูกในขณะนัน้ ไม่วา่ ลูกจะโตเป็นหนุม่ สาวไปถึงอายุเท่าไร ความห่างเหินจะไม่เกิดขึ้นมากเท่ากับที่พ่อแม่ไม่ได้ประทับความสัมพันธ์ ลงไปในช่วงวัยเด็กเล็กของลูกเลย ทุกคนพร้อมใจส่งเสียงยืนยันไว้วา่ “หนังสือเป็นเครือ่ งมือสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัว ชั้นเยี่ยม”

118

∞∞

จิตอาสาการอ่าน และหน่วยงานท้องถิ่น คณะท�ำงานส่งเสริมการอ่าน ของศูนย์พัฒนาฯ เหล่าใหญ่ในพื้นที่ อ� ำ เภอกุ ฉิ นารายณ์ ท� ำ งานรู ป แบบ “จิตอาสา” ท�ำให้การขับเคลือ่ นงานไป ได้รวดเร็วมากขึน้ สามารถขยายพืน้ ที่ การท�ำงานผ่านภาคีเครือข่ายที่มีทั้ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และ โรงพยาบาลชุ ม ชน โดยมี ตั ว แทน หน่ ว ยงานเข้ า ร่ ว มเป็ น คณะท� ำ งาน จิตอาสาส่งเสริมการอ่าน รูปแบบคณะท�ำงานจิตอาสาดังกล่าว คือ การเชื่อมคนท�ำงานที่อยู่ในระบบเข้ามาพัฒนา และสร้างทีมร่วมกัน จนเกิดการพัฒนาทีมขึน้ และน�ำทีมดังกล่าวสามารถไปพัฒนาแนวความคิด ส่งต่อให้กลุ่มอื่น ๆ ได้ด้วย ผ่านการเป็น “วิทยากรกระบวนการ” กลุ่มจิตอาสาคณะท�ำงาน ส่งเสริมการอ่าน ประกอบไปด้วย ครู ศพด. ครูประจ�ำโรงเรียน พยาบาลวิชาชีพประจ�ำ โรงพยาบาล ซึง่ เข้าใจบริบทของกลุม่ เป้าหมายอย่างลึกซึง้ ยิง่ เมือ่ ได้มาขับเคลือ่ นงานภายใต้ความ เห็นชอบของหัวหน้างานและผู้บริหารแล้ว ยิ่งส่งให้เกิดการเคลื่อนงานทั้งระดับบุคคลและระดับ โครงสร้างองค์กร 119

∞∞

“หัวหน้าพงษ์” บอกเล่าถึงหัวใจในการ ท�ำงานร่วมกันคือเน้นสื่อสารแบบครอบครัว เหมือนพี่เหมือนน้อง แบ่งหน้าที่จัดสรรกัน ตามความถนัด เช่น ท�ำเอกสารการเงิน ท�ำเอกสารสรุปงาน เป็นวิทยากรน�ำกระบวนการ เป็นพิธกี ร โดยคณะท�ำงานจะได้เข้ารับอบรม เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ด้านการ ส่งเสริมการอ่าน ก่อนที่จะน�ำไปถ่ายทอดให้ เพื่อนครูคนอื่น ๆ รวมทั้งมีกิจกรรมที่เปิด โอกาสให้เพือ่ นครูได้ไปร่วมสังเกตการณ์ดว้ ย ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ท�ำให้เกิดอะไร ได้เรียนรู้ อะไรบ้าง บนฐานคิดที่ว่าเมื่อครูคนนั้นได้มา สั ม ผั ส เองจะเกิ ด ความเข้ า ใจและส่ ง ต่ อ ถ่ายทอดให้กับคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้มาฟังได้ด้วย “การที่พวกเราทุกคนในทีมท�ำงานอยู่ ด้วยกันได้ดอี ย่างนี้ ผมเชือ่ ว่าน่าจะเป็นเพราะ ทั ศ นคติ ส ่ ว นตั ว ของแต่ ล ะคนซึ่ ง ชอบงาน พัฒนาอยูแ่ ล้ว พร้อมกับได้ทำ� งานทีช่ อบ ไม่มี การบังคับให้ท�ำอะไรที่ไม่ถนัด มันก็สบายใจ ท� ำให้ เ มื่ อ มาถึ ง จุ ด หนึ่ ง ที่ อ าจมี เ หตุ ก ารณ์

บังคับให้ต้องพัฒนา หลายคนก็เต็มใจที่จะ เรียนรูเ้ พิม่ เติมในสิง่ ที่ไม่เคยท�ำมาก่อน ท�ำให้ ทุกคนมีโอกาสได้พัฒนาตัวเองไปอีกขั้นหนึ่ง ด้วย” นอกเหนือจากการท�ำงานในรูปแบบ การสนั บ สนุ น ความรู ้ ใ ห้ กั บ คณะท� ำ งาน จิตอาสาส่งเสริมการอ่าน ซึ่งถือเป็นบุคคล ส�ำคัญ (Key Man) ในพืน้ ทีผ่ า่ นการจัดอบรม ให้ความรู้แล้ว คณะท�ำงานจิตอาสาฯ ยังจัด ให้ มี ก ารประชุ ม เวี ย นไปตามศู น ย์ พั ฒ นา เด็ ก เล็ ก (ศพด.) ที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการ ซึ่งนอกจากเป็นการประชุมตามปกติแล้ว ยังได้ผลลัพธ์เป็นการศึกษาดูงาน ท�ำความ เข้าใจการท�ำงานของแต่ละ ศพด. ไปพร้อม ๆ กัน ถือเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์บน ฐานการเรียนรู้จากพื้นที่จริง ที่ส�ำคัญ “หัวหน้าพงษ์” บอกว่าศูนย์ พัฒนาฯ เหล่าใหญ่เน้นการท�ำงานตามบริบท ของพื้นที่ เช่น ช่วงที่คุณครูมีก�ำหนดการ ประชุมจ�ำนวนบ่อยครัง้ โครงการฯ จะเว้นวรรค 120

∞∞

ไม่เข้าไปท�ำกิจกรรม หรือแม้แต่เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โครงการฯ จะไม่ เข้าไปท�ำกิจกรรมกับชุมชนเช่นเดียวกัน “เราท�ำงานแบบเน้นความต้องการและความสะดวกของพืน้ ทีเ่ ป็นหลัก กิจกรรมในโครงการ จะยืดหยุ่นไปตามบริบทของพื้นที่ จะไม่ไปฝืนหรือขัดกับวัฒนธรรมขององค์กรหรือชุมชน ผมคิด ว่าการบริหารจัดการที่สามารถพลิกแพลง ยืดหยุ่น เชื่อมงานที่สร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนกับ ภาคีองค์กรต่าง ๆ มันตอบโจทย์การท�ำงานของทุกฝ่ายได้” การดูแลเอาใจใส่คณะท�ำงานจิตอาสาส่งเสริมการอ่านของ “หัวหน้าพงษ์” ไม่ได้มีเพียง แค่การท�ำงานตามโครงการฯ เพียงอย่างเดียว เขายังเน้นไปทีก่ ารพยายามหากิจกรรมทีส่ อดคล้อง กับงานประจ�ำของแต่ละคนอีกด้วย เช่น โครงการเล่านิทาน ของส�ำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ซึ่งน�ำทฤษฎี EFs (Executive Functions) หรือความสามารถ ของสมองในการบริหารจัดการชีวิต ออกแบบสื่อและกระบวนการเรียนรู้ อันเกี่ยวข้องกับการ พัฒนาเด็กด้านสภาพแวดล้อม การยับยั้งชั่งใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก การเปิดโอกาสให้ เด็กมีประสบการณ์ร่วมผ่านหนังสือ “มันต่อยอดกับงานครูได้เราก็ดีใจ เพราะการไปอบรมแม้ จะไม่ได้ค่าตอบแทน แต่ครูได้รับชุดหนังสือและคู่มือน�ำมาพัฒนา งานต่อได้ หรือแม้แต่กับทีมงานพี่เจ (สุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน) มีโครงการมหัศจรรย์สื่อ สร้างสรรค์ส�ำหรับเด็กปฐมวัย ผมก็เชื่อมต่อมาเลย ถือว่าเป็นทุน สนับสนุนให้พี่ ๆ ครูได้พฒ ั นางานของตัวเองไปด้วย บางครัง้ ผมก็ชว่ ยแนะเรือ่ งจัดการข้อมูลพัฒนา เป็นโครงการให้ด้วย เพราะมีหลายกิจกรรมที่ครูท�ำกันอยู่แล้วมีประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ 121

∞∞

ให้เด็กฟัง พาเด็กปั้นดินน�้ำมัน กิจกรรมหลายอย่างท�ำให้พัฒนาเป็นโครงการของบประมาณ มาท�ำในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เลย” “คอยมองหาตลอดว่าท�ำอะไรเพิ่มให้ทีมครูได้บ้าง ผมระลึกเสมอว่าเราไม่ได้ท�ำงาน คนเดียว ไม่ว่าจะมีกี่โครงการที่เข้ามา พี่ ๆ ครูก็เป็นก�ำลังส�ำคัญในการเคลื่อนงานมาตลอด วันจันทร์-ศุกร์ทุกคนต้องท�ำงาน พอวันเสาร์ อาทิตย์ก็มาช่วยท�ำงานโครงการ ทั้ง ๆ ที่ก็ไม่ได้รับ เงินเดือน มีเพียงค่าวิทยากรจากโครงการจ�ำนวนหนึ่งซึ่งไม่ได้เยอะ แค่พอเป็นค่าน�้ำมันรถได้ พูดตรง ๆ คือเขาไม่มาก็ได้ครับ เพราะมันไม่เป็นช่องทางรายได้ แต่พี่ ๆ ครูก็เต็มใจมาร่วมกัน ท�ำงานเพื่อชุมชนเรา ฉะนั้น ถ้ามีโอกาสที่ดี ๆ ผมก็ต้องตามหามาส่งต่อให้ทุกคน” ในขณะที่เมื่อมองไปยังด้านการสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีต่อศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กซึ่งเข้าร่วมเป็นเครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน “หัวหน้าพงษ์” บอกว่า สถานการณ์มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีหลายตัวชี้วัดที่ท้องถิ่นต้องท�ำให้ผ่านเกณฑ์ 122

∞∞

มาตรฐานอันเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ที่จะได้รับมาบริหารท้องถิ่นด้วย เช่น ส�ำนักงานรับรอง มาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มีการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่ว่า ท้องถิ่น ต้องมีสว่ นร่วมท�ำงานพัฒนากับภาคีและแหล่งเงินทุนภายนอก ซึง่ เปรียบเสมือนการการันตีจาก หน่วยงานภายนอกกับท้องถิ่น “ผมคิดว่าช่วง ๓ ปีให้หลังมานี้ ท้องถิ่นเริ่มมีกองท�ำงานด้านต่าง ๆ ขึ้นมา เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม มองกันง่าย ๆ คือปัจจุบันท้องถิ่นไม่ได้แค่ดูแลถนนแล้วนะ ยังมีอีก หลายเรื่องต้องดูแล ในขณะที่เราก็เป็นหน่วยหนึ่งที่ท�ำงานเพื่อท้องถิ่น ถ้าต่างฝ่ายต่างช่วยกัน โอกาสได้พัฒนาชุมชนหรือหมู่บ้านตัวเองมันก็มีแนวโน้มเป็นไปได้ดี” การท�ำงานส่งเสริมการอ่านในชุมชนผ่านการขับเคลื่อนของครู ศพด. ซึ่งอยู่ภายใต้การ ดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีนักวิชาการศึกษาเป็นหัวหน้าสายบังคับบัญชา ซึ่งจากประสบการณ์ท�ำงานตลอด ๓-๔ ปีที่ผ่านมา “หัวหน้าพงษ์” พบว่า ท้องถิ่นที่นักวิชาการ ศึกษาให้ความสนใจ การขับเคลือ่ นงานจะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เนือ่ งจากมีความ เข้าใจและตั้งเป้าหมายตรงชัดไปยังพัฒนาการของเด็ก ๆ ปฐมวัยที่อยู่ในศูนย์ฯ ในขณะที่หน่วยงานท้องถิ่น บางแห่งยังไม่สนับสนุนการท�ำงานของ ศพด. ทั้งด้าน งบประมาณ องค์ความรู้ หนังสือนิทาน สือ่ การเรียนรู้ อาจเป็นเพราะนักการศึกษาบางคนเพิง่ จบ มาใหม่ ยังไม่รู้ข้อกฎหมายชัดเจนว่าท�ำสิ่งใดผิดระเบียบหรือไม่ จึงไม่กล้าลงมือท�ำงานที่ นอกเหนือจากความคุน้ เคย รวมทัง้ บางคนมีหลักคิดจากอาชีพเดิม เช่น รับราชการ ซึง่ การประสาน งานทุกอย่างต้องผ่านระบบการส่งหนังสือราชการ กรอบความคิดยังอยู่ในรูปแบบเดิม ยังไม่พร้อม จะเพิ่มเติมองค์ความรู้ใหม่ วิธี ใหม่เข้าไป จึงจ�ำเป็นต้องใช้เวลาส�ำหรับสร้างความเข้าใจเพื่อ น�ำไปสู่การสนับสนุนให้เกิดขึ้นทั่วถึงในอ�ำเภอกุฉินารายณ์ 123

∞∞



“อบต.สามขา เรามีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๗ ศูนย์ ก็ก�ำหนดลงตารางงานล่วงหน้าไว้เลยว่าวันไหนไปศูนย์ฯ ไหน เดือนหนึ่งจะใช้เวลาสัปดาห์กว่า ๆ ส�ำหรับการลงพื้นที่ ถือว่าใช้เวลาเยอะ เพราะเราพูดคุยกับครูและลงเยีย่ มบ้านเด็ก ๆ กับผู้ปกครองด้วย ทุกวันนี้การประชุมครู ศพด. เราใช้วิธี เวียนลงประชุมแต่ละศูนย์ฯ สลับกันไป ก็ทำ� ให้คณ ุ ครูตา่ งศูนย์ฯ เขาได้เห็นบรรยากาศและผลงานของเพือ่ น ๆ ทีไ่ ด้พฒั นามา ได้ แลกเปลีย่ นหาไอเดียในการพัฒนาศูนย์ฯ ของตนเองและศูนย์ฯ ของเพื่อนที่ไปเยี่ยมชม และทุกครั้ง ก่อนจบประชุม เราจะให้คุณครูฝึกพูดและน�ำเสนอ เพราเชื่อว่าคุณครูทุกคนเก่ง แต่บางครั้งอาจจะ ไม่กล้าพูดหรือน�ำเสนอหน้าเวที ถือเป็นช่วงเวลาฝึกทักษะการน�ำเสนอเพิ่มเติม



คุณครู ศพด. ของต�ำบลสามขามีเจตคติทดี่ ี ซึง่ เป็นพืน้ ฐานทีจ่ ะช่วยพัฒนาในตัวอืน่ สิง่ ทีข่ าดอยู่ อาจคือเรื่องของวิชาการ เนือ่ งจากว่าเขาไม่ได้เรียนมาทางนี้โดยตรง แต่เรื่องกิจกรรมเก่งมาก ฉะนั้น เวลาที่เราจะสื่อสารเรื่องวิชาการกับคุณครู ถ้าเราสื่อให้เห็นเป็นตัวกิจกรรม คุณครูจะเข้าใจและท�ำได้ ดีมาก



หัวหน้าพงษ์เพิน่ ก็มที ศั นคติในการท�ำงานทีด่ ี เราชอบ หายากนะคะหน่วยงานทีจ่ ะมาเห็นความ ส�ำคัญและลงมือท�ำงานตรงนี้ พอหัวหน้าฯ ประสานมาให้เราร่วมท�ำงานตรงนี้ ก็ไฟเขียวให้คณ ุ ครูทกุ คน เลย ถือว่าเป็นโอกาสดีให้ได้เรียนรู้แนวทางในการท�ำงาน เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ที่เขาเอามาให้ โดยเฉพาะเรือ่ งอบรมพัฒนาศักยภาพของคุณครู ศพด. นีเ่ ป็นโอกาสทีด่ มี าก ๆ ของ ศพด. ในต�ำบลเรา”



สายลม เกตุใส นักวิชาการศึกษา อบต.สามขา อ�ำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

124

∞∞

สร้างแหล่งอ่าน สานต่อเครือข่าย สถานการณ์ขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่านของอ�ำเภอกุฉินารายณ์ล่าสุดในปี ๒๕๕๘ ภายใต้ชอื่ โครงการสานพลังเครือข่ายกุฉนิ ารายณ์อา่ นยกก�ำลังสุขปี ๒ เกิดการต่อยอดในพืน้ ที่ โรงเรียนประถมศึกษาเพื่อการขยายผลแนวคิดของโครงการเข้าสู่โรงเรียนระดับประถมศึกษา ได้มกี ารจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชนทีเ่ อือ้ ต่อการอ่าน พร้อมกับพัฒนาศักยภาพของ ครูศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็กเพิม่ เติมในด้านการท�ำหนังสือการ์ตนู และนิทาน รวมทัง้ ความรูด้ า้ นหนังสือ ที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้ครู ศพด. มีชุดความรู้ที่จะสามารถสื่อสารกับหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อ อิสระในการเลือกซื้อหนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้ ที่ส�ำคัญคือ เกิดการขยายพื้นที่ท�ำงานร่วมกับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ โดยได้รบั การสนับสนุนจากผูอ้ ำ� นวยการโรงพยาบาลให้มตี วั แทนพยาบาลวิชาชีพเข้าร่วมเป็นเครือข่าย และคณะท�ำงานส่งเสริมการอ่าน ท�ำให้เกิดการเชือ่ มโยงทุน ทรัพยากร และความรูร้ ว่ มกัน กระทัง่ ขยายการท�ำงานเชื่อมไปยัง ๕ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล และการน�ำการส่งเสริมการ อ่านไปอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพได้อีกด้วย กระบวนการใช้สื่ออ่าน นิทานเข้ามาเป็นเครื่องมือเสริมสร้างพัฒนาการเด็กที่ “หัวหน้า พงษ์” และคณะท�ำงานจิตอาสาส่งเสริมการอ่านขับเคลื่อนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ สามารถสร้างการ เรียนรู้ให้เด็ก ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากหนังสือนิทานเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เหมาะสมกับ วัย ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งที่เด็ก ๆ เข้าใจการใช้หนังสือนิทาน เด็ก ๆ ก็จะเข้ามุมไปกับหนังสือที่เขา เลือกอย่างอัตโนมัติ เริ่มจากท�ำสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง หลังจากนั้นจะเกิดการสนใจเรียนรู้พัฒนาขึ้น ตามธรรมชาติ 125

∞∞

“ทุกวันนี้สถานการณ์เรื่องการอ่านใน ชุมชนของเราดีขึ้นมาก เพราะตอนเริ่มต้น ทีท่ ำ� งานไม่มหี นังสือเลยครับ มีคนสนใจอยาก อ่าน แต่มันไม่มีหนังสือ หลาย ๆ ศพด. เข้าไม่ถึงหนังสือนิทานดี ๆ มานาน พอมา ๒ ปีหลังนี้ ผมก็ลองหาวิธีการ เริ่มท�ำผ้าป่า หนั ง สื อ เพราะเห็ น ว่ า ชุ ม ชนก็ อ ยากช่ ว ย บางคนบอกว่าไม่มีหนังสือให้ ขอเอาเงิน ใส่ ซ องให้ บอกว่ า คุ ณ ครู ไ ปซื้ อ เอามาให้ ลูกหลานเรานะ ผมว่าหลายคนเริ่มเห็นความ ส�ำคัญของการอ่านมากขึ้น” เป้าหมายของการท�ำงานส่งเสริมการ อ่ า นจากวั น นี้ ไ ปของพื้ น ที่ กุ ฉิ น ารายณ์ “หัวหน้าพงษ์” มองถึงการสร้างแหล่งอ่านให้ เกิดขึน้ ครบทุกจุดส�ำคัญของอ�ำเภอ มีกจิ กรรม ส่ ง เสริ ม การอ่ า นเกิ ด ขึ้ น กั บ เด็ ก เล็ ก ๆ ในชุมชน พร้อมกับเป้าหมายส่วนตัวที่อยาก ท�ำศูนย์เรียนรูส้ ง่ เสริมการอ่าน เป็นห้องสมุด สร้างแรงบันดาลใจ ปัจจุบนั เริม่ ต้นทีก่ ารเปิด บ้านตนเองให้เป็นส�ำนักงานจัดประชุมคณะ

ท� ำ งาน และเป็ น ห้ อ งสมุ ด ชุ ม ชน ให้ พ า ลูกหลานเข้ามาอ่านหนังสือได้ “ผมมองว่าที่เด็ก ๆ ไม่อ่านหนังสือ มันมีปัจจัย ๒ อย่าง คือ ไม่มีหนังสือให้อ่าน กับหนังสือราคาแพงจนซื้ออ่านไม่ได้ครับ แต่โดยรวมเราก็พยายามหาช่องทางให้มี หนังสือกระจายลงไปถึงชุมชนให้มากที่สุด ตอนนี้เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่บ้านตัวเองด้วย ท�ำแล้วก็รสู้ กึ ภูมใิ จที่ได้เห็นเด็ก ๆ ทีม่ าตัง้ แต่ ยังอ่านหนังสือไม่ออก จนทุกวันนีอ้ า่ นหนังสือ คล่องไปแล้ว (หัวเราะ) ก็ดีใจ คือใครอยาก ระบายสีก็มา อยากอ่านหนังสือก็มา ผม พยายามหาหนังสือมาเติม อนาคตก็คาดหวัง อยู่ว่าจะท�ำเป็นห้องสมุดประชาชน อยาก พัฒนาห้องสมุดให้เติบโตตามยุคสมัยและ สถานการณ์แวดล้อมด้วย เช่น การอ่านการ ค้นคว้าผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้ผมก็ได้รับ บริจาคคอมพิวเตอร์มา ๖ เครื่อง วางแผนว่า จะหางบส่วนหนึ่งมาให้เด็ก ๆ ได้เข้ามาใช้ อินเทอร์เน็ตส�ำหรับค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ แต่ 126

∞∞

ถ้ามากันเกิน ๖ เครือ่ ง ก็อา่ นหนังสือรอ กันไปก่อน (หัวเราะ)” “หัวหน้าพงษ์” เชือ่ ว่าการท�ำงาน ส่งเสริมการอ่านตอบโจทย์กับทีมงาน หลัก ด้วยการไปหนุนเสริมให้ทุกคน ท�ำงานง่ายขึน้ เช่น มีหนังสือเป็นเครือ่ งมือ ในการสร้างความสัมพันธ์ ช่วยให้ครูได้ ออมแรงเรื่องการดูแลเด็ก ๆ มากขึ้น และทุกคนยังได้ประโยชน์จากการอ่านหนังสือเพิ่มเติมด้วย เช่นเดียวกันกับตัวเขาซึ่งได้รับ ประโยชน์คือมีงานท�ำในพื้นที่บ้านเกิด ซึ่งเป็นงานที่ตนรักและชื่นชอบที่จะลงมือท�ำในทุก ๆ วัน ได้ความสนุกสนาน ได้เครือข่ายท�ำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากการรับทุนสนับสนุนการท�ำงานจากแผนงานฯ การอ่าน ศูนย์พฒ ั นาศักยภาพ การเรียนรูค้ รอบครัวต�ำบลเหล่าใหญ่ยงั รับทุนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของ มนุษย์ (พม.) ท�ำโครงการการอ่าน การเล่า การเล่น ช่วงจังหวะของรอยต่อการรออนุมตั โิ ครงการ ของแผนงานฯ การอ่าน “ผมพยายามหากิจกรรมมาเติมช่องว่างที่เป็นรอยต่อระหว่างรอโครงการเพื่อไม่ ให้ ขาดช่วง ไม่ว่าจะเป็นโครงการชื่ออะไร ขอให้มีเนื้อหาที่ตรงกับเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของเด็ก ๆ เราก็ท�ำทั้งนั้น ทุกกิจกรรมมีคุณค่ากับผมมาก ทั้งได้ผลลัพธ์ตามโครงการ และ ได้เครือข่ายเพิ่มเติมขึ้นเสมอ ๆ”

127

∞∞

ด้านการขยายผลงานต่อเนือ่ งในพืน้ ที่ “หัวหน้าพงษ์” เล่าว่า วางเป้าหมายสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านเพิ่มไปยังกลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับประเด็น ส่งเสริมการอ่านที่โครงการยังเข้าไม่ถึงของอ�ำเภอกุฉินารายณ์ เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ในประเด็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อและใช้งานหนังสือที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัย ของเด็ก การท�ำสือ่ ส่งเสริมการอ่าน และท�ำความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในประเด็น การสนับสนุนให้งบประมาณและองค์ความรูเ้ กีย่ วกับการส่งเสริมการอ่านส�ำหรับเด็กเล็กใน ศพด. รวมถึงเชื่อมงานไปยังหน่วยงานสาธารณสุขชุมชนเพื่อข้อมูลสนับสนุนทางวิชาการที่มีประโยชน์ ต่อพัฒนาการของเด็ก พร้อมกับต้องการสร้างกิจกรรมรูจ้ กั หนังสือดี ให้มรี ะบบยืมคืนหนังสือเกิดขึน้ ขยายผลไป ยังชุมชน สร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการอ่านให้กับกลุ่มผู้ปกครอง รวมทั้งวางแผนเชื่อม ไปยังโรงเรียนมัธยมเพือ่ สร้างความเข้าใจต่อผูบ้ ริหารและครูในโรงเรียนเกีย่ วกับกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน “การท�ำเวทีเรียนรูส้ อื่ สารไปให้ถงึ กลุม่ ผูป้ กครอง คิดว่าอย่างน้อยผู้ปกครองก็ ได้เกิดความเข้าใจเรื่อง คุณค่าของการอ่านเล่านิทาน เล่นกับลูกหลาน ซึมซับเก็บ กลับไปบ้าง แต่ผปู้ กครองส่วนใหญ่ทเี่ ราเจอตอนนี้ไม่ใช่ พ่อแม่ เป็นปู่ ย่า ตา ยาย เพราะพ่อแม่ไปท�ำงานหาเงิน ต่างถิน่ เพือ่ ส่งมาเลีย้ งลูก ท�ำให้เจอข้อท้าทายในเรือ่ งความห่างของวัยเหมือนกัน หลายคนทีเ่ ลีย้ ง หลานอยูก่ เ็ กิดความลังเลสงสัยเหมือนกันว่าจะเลีย้ งแบบไหนดี แบบยุคเก่าก็ไม่มนั่ ใจ หรือจะเลีย้ ง แบบสมัยใหม่ก็ไม่รู้จะท�ำยังไงดี ก็ถือว่าเป็นโจทย์ท้าทายที่อยากท�ำในพื้นที่อื่น ๆ อีกต่อไป” 128

∞∞

“หัวหน้าพงษ์” ยังคงยืนยันความคิดเดิมที่ว่าพื้นที่ไหนจุดประกายไว้แล้ว ปล่อยมือให้คน ในพื้นที่จัดการต่อด้วยมือของเขาเอง ความยั่งยืนของงานพัฒนาอยู่ที่เจ้าของพื้นที่ ส่วนตัวเขา และคณะท�ำงานจิตอาสาฯ ขอเคลื่อนตัวไปจุดประกายแหล่งอื่นให้เกิดแรงบันดาลใจกลายเป็น แหล่งอ่านตามวัฏจักรของวัฒนธรรมจิตอาสา วัฒนธรรมการอ่าน วัฒนธรรมการให้ ที่งอกเงย เบ่งบานอยู่ในพื้นที่ “กุฉินารายณ์”

= Growth Mindset = - พัฒนาเด็ก = พัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัว - พลังเครือข่ายขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมได้ผลส�ำเร็จ - จิตอาสาคู่ควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่ด้วยจิตใจที่ดี - มีทุนและโอกาสในการท�ำงานอยู่รอบ ๆ ตัวเสมอ - ความเปลี่ยนแปลงเกิดจากการส่งต่อองค์ความรู้ที่มี - มีหลายช่องทางให้เลือกลงมือท�ำเพื่อไปถึงเป้าหมาย

129

∞∞



“เข้าร่วมโครงการฯ มาตั้งแต่ปีแรก เราเปลี่ยนวิธีคิด ไปในทางทีด่ ขี นึ้ มาก ลดอัตตา ได้มองเห็นความเหมือนและ ความต่างว่าเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาเป็นโอกาสได้ มองเห็น การเชื่อมโยงการท�ำงานกับบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีความ สามารถแบบไหน เราก็สามารถท�ำงานร่วมกันได้ตามมิติที่ เหมาะของแต่ละคน



ส่วนเพือ่ น ๆ ครูทเี่ ข้าร่วมโครงการก็เห็นว่ามีการปรับ วิธีคิดใหม่ กลายเป็นครูท่ีไม่หวงหนังสือเหมือนเดิมอีกแล้ว และยังหันมาเป็นผู้น�ำกระบวนการชักชวนให้เด็กได้หยิบจับและเล่นกับหนังสือด้วย ซึ่งผลที่เกิดขึ้นคือ เด็ก ๆ ก็ไม่ฉีกหนังสืออย่างที่คุณครูเคยกังวลมาก่อน กลายเป็นเด็ก ๆ สามารถเข้าถึงมุมหนังสือได้ โดยครูไม่ต้องบอกอีกแล้ว



เป้าหมายต่อไป อยากรณรงค์ให้ผปู้ กครองอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เพราะเสียงแห่งความไพเราะของแต่ละคนต่างกัน เสียงพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย น่าจะเป็นเสียงที่เด็ก ๆ ฟังแล้วมีความสุข”



ครูแอร์-สุพรรณทิพย์ ประทุมทา ศพด. บ้านสามขา อบต.สามขา อ�ำเภอกุฉนิ ารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

130

∞∞



“ในฐานะครู ศพด. เรามีหน้าที่ดูแลเด็กให้มี ความพร้ อ มและมี พั ฒ นาการที่ เ หมาะสมตามวั ย ประสานงานกับผูป้ กครองและผูน้ ำ� ท้องถิน่ ให้เห็นความ ส�ำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นโอกาสทีด่ มี าก ในการเข้าร่วมโครงการฯ ส่งเสริมการอ่าน ครูทุกคนที่ มีจติ อาสามาด้วยกันก็ได้พฒ ั นาตัวเอง เข้าถึงการเรียน รู้และลงมือท�ำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ที่ดูแลอยู่อย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดผลให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการที่เหมาะสม กับวัย ซึ่งก็ท�ำให้ท้องถิ่นเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นว่าดีกับ ลูกหลานเด็กเล็กในชุมชนของเราจริง ๆ อย่างที่เทศบาลฯ กุดหว้าก็ให้การสนับสนุน ตั้งกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านเข้าสู่แผนงบประมาณประจ�ำปี แล้วยังท�ำให้เราเชื่อมงานร่วมกับ รพ.สต. (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล) ได้ด้วย



พอมาถึงการจัดมหกรรมพืน้ ทีส่ ง่ เสริมการอ่านส�ำหรับเด็กและเยาวชนอ�ำเภอกุฉนิ ารายณ์ ประจ�ำปี ก็มีเพื่อน ๆ ครูที่อยู่ศูนย์ฯ อื่นอยากจะท�ำเหมือนเราบ้าง ที่ส�ำคัญก็มีนักวิชาการศึกษา ต�ำบลอื่น ๆ อยากได้กิจกรรมไปท�ำกับ ศพด. ของเขาด้วย ผมคิดว่าถือเป็นช่องทางขยายผล ขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่านที่ดีมาก เพราะหลายคนที่มาเห็นผลงานของพวกเราแล้วเกิด แรงบันดาลใจอยากไปขยับต่อในพื้นที่ตัวเอง”



ไพบูลย์ ไชยขันธ์ ศพด. บ้านกุดหว้า เทศบาลต�ำบลกุดหว้า อ�ำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

131

∞∞



“เรามีห้องพักครูเป็นห้องสมุด ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ เนือ่ งจากห้องสมุดปกติมีระเบียบในการใช้หลายข้อ แต่ห้องสมุด มีชีวิตในห้องพักครูเปิดให้เด็ก ๆ ได้มาผ่อนคลาย พูดคุยแลก เปลี่ยนกันเรื่องหนังสือที่อ่าน หัวเราะ ส่งเสียงดังได้ มีน�้ำในตู้เย็น ให้ดื่ม เอาหมอนมานอน เป็นพื้นที่ท�ำการบ้านได้ เรียกว่าเข้ามา แล้วผ่อนคลายสบายใจ มีหนังสือให้อ่าน



ภูมใิ จมากทีเ่ ห็นเด็ก ๆ จากทีม่ มี อื ถือติดมือตลอด หันมาถือหนังสือติดมือ เรือ่ งการยืม คืนหนังสือเราไม่จ�ำกัดวันเวลา บางคนอ่านวันเดียวจบไป ๓ เล่ม บางคนมีการมายืมหนังสือ ทุกวัน บางคนอ่านเสร็จจะมาเล่าให้ครูและเพื่อนฟังว่าอ่านแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ถือว่าเป็นการ สร้างแรงบันดาลใจร่วมกันต่อการอ่านหนังสือนอกเวลา หรือหนังสือที่บางคนไม่เคยรู้จักหรือ ไม่เคยได้อา่ นมาก่อนเลย ตอนนีม้ ีหนังสือประมาณ ๕๐๐ เล่ม ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ของเด็ก แต่เราก็ก�ำลังสร้างการมีส่วนร่วมด้วยจากการบริจาคและแลกเปลี่ยนหนังสือเพิ่มเติม พร้อมกับในอนาคตจะท�ำงานเชื่อมกับห้องสมุดของโรงเรียน”



ครูอี๊ด-อ่อนศรี ไชยขันธ์ โรงเรียนบัวขาว อ�ำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

132

∞∞

อ่านสร้างสุข มีนา ดวงราษี, จันทร์เพ็ญ สินสอน

ด้วยศรัทธาแห่งการท�ำดี : มีนา-จันทร์เพ็ญ อ่านเพื่อชีวิต เพื่อสุขภาพชุมชน คนเมืองสุรินทร์ มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน คืออีก ๑ ใน ๑๑ องค์ ก รภาคี เ ครื อ ข่ า ยขั บ เคลื่ อ นงานสร้ า งเสริ ม วัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในชุมชนต่าง ๆ ของ จังหวัดสุรินทร์ ภายใต้การน�ำทีมของ “มีนา ดวงราษี” กับ “จันทร์เพ็ญ สินสอน” สองพี่น้องผู้มีชีวิตด้วยแรง ศรั ทธาในการส่งมอบสิ่งดี ๆ ให้กับผู้คนผ่านการ ท�ำงานพัฒนาสังคมหลากหลายประเด็น “พีอ่ ว๋ น (จันทร์เพ็ญ) เป็นผูบ้ ริหารจัดการองค์กร ส่วนมีนาท�ำหน้าที่ช่วยป้อนข้อมูล คิดวิเคราะห์งาน

เราท�ำงานคูก่ นั ไป แล้วก็มที มี งานช่วย ๆ กัน อีก รวมทั้งหมดก็มีกันอยู่ ๗ ชีวิต เราท�ำงาน หลายเรื่อง ทั้งการอ่าน ทั้งสุขภาพ เราเป็น ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพด้วย” มีนาเกริน่ น�ำถึงภาพรวมการท�ำงานขององค์กร “จั น ทร์ เ พ็ ญ ” พี่ ส าวสวมหมวก ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน ส่วน “มีนา” น้องสาวรับหน้าที่เป็น ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน ส�ำหรับประเด็นสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชนเริ่มต้น ด� ำ เนิ น งานครั้ ง แรกเมื่ อ ปี ๒๕๕๓ กั บ โครงการมหัศจรรย์การอ่าน ต�ำบลแกใหญ่ อ�ำเภอเมือง จังหวัดสุรนิ ทร์ ด้วยงบประมาณ สนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เริม่ ต้นงานในเขต ชุมชนเมือง ซึง่ ยังเต็มไปด้วยเด็กและเยาวชน ทีข่ าดโอกาสในการอ่านหนังสือ จึงสร้างสรรค์ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านผ่านกลไกส�ำคัญ 135

∞∞

คือ ครูผดู้ แู ลเด็ก เน้นสือ่ สารคุณค่าของการ อ่านหนังสือให้เด็ก ๆ ฟังวันละ ๑๐-๑๕ นาที ทีส่ ามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้รอบด้าน สร้างแกนน�ำส่งเสริมการอ่าน สร้างพืน้ ทีอ่ า่ น ของชุมชน สองพี่น้อง “มีนา” และ “จันทร์เพ็ญ” เป็นก�ำลังหลักในการท�ำงานส่งเสริมการอ่าน ตลอดระยะเวลา ๕ ปีทผี่ า่ นมาของมูลนิธเิ พือ่ สุขภาพชุมชน กระทั่งเกิดการสร้างสรรค์ รูปแบบ วิธีการต่าง ๆ จากความร่วมมือของ

หลากหลายภาคส่วนให้เกิดขึ้น เช่น การอบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรแกนน�ำส่งเสริมการอ่าน ระดับชุมชน ภาคีขับเคลื่อนเครือข่ายระดับจังหวัด การมีพื้นที่อ่านสาธารณะของชุมชน การมี พื้นที่สร้างสรรค์อ่านเล่นแลกเปลี่ยนหนังสือ รวมทั้งเกิดเป็นนโยบายสาธารณะวาระการอ่านในชุมชน ถึงปัจจุบันที่ขยับเข้าสู่การท�ำ โครงการชุมชนสวัสดิการ อ่านยกก�ำลังสุข ปี ๒๕๕๘ กับเป้าหมายผลักดันนโยบายการจัด สวัสดิการการอ่านส�ำหรับเด็ก ๐-๓ ปี ผ่านการขยายผลจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนว่าด้วย เรื่อง “การเลี้ยงลูกด้วยหนังสือ การอ่านกับการพัฒนาสมองเด็ก พฤติกรรมสุขภาวะ แนวทาง ส่งเสริมการอ่านในครอบครัวและชุมชน” 136

∞∞

หลักการวางแผนขับเคลื่อนส่งเสริม การอ่านทุก ๆ ปีของมูลนิธเิ พือ่ สุขภาพชุมชน ให้ความส�ำคัญกับการตอบโจทย์กับกรอบ ยุทธศาสตร์แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน เนื่องจากเห็นว่างานระดับพื้น ที่ สามารถช่วยหนุนเสริมการท�ำงานของแผน งานฯ ให้เป็นรูปธรรมที่สุด ผลส� ำ เร็ จ จากการด� ำ เนิ น งานของ มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ ขับเคลือ่ นงานตามยุทธศาสตร์ของแผนงานฯ การอ่านได้ เช่น การท�ำงานเชือ่ มกับหน่วยงาน สาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ผ่านกิจกรรมโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ประจ� ำ หมู ่ บ้าน (อสม.) และจิต อาสาใน โรงพยาบาล เพื่อส่งเสริมกิจกรรมให้ความรู้ คลินิกฝากครรภ์ ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การ สร้างสังคมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยหนังสือ รวมทั้ ง ได้ ท� ำ งานร่ ว มกั บ กองทุ น สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชน ซึ่ ง สามารถตอบโจทย์ ยุทธศาสตร์สวัสดิการการอ่านส�ำหรับเด็ก 137

∞∞

๐-๓ ปี และท�ำงานกับตลาดสีเขียว ซึ่งจัดขึ้น ทุ ก วั น เสาร์ ที่ อ งค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุรินทร์ (อบจ.สุรินทร์) ให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ เกิดการหมุนเวียนหนังสือและกองทุนหนังสือ ที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ธนาคารหนังสือ “มุมหนังสือที่ตลาดสีเขียว ทุกวันนี้มี การติดต่อขอบริจาคผ่านเฟซบุ๊ก แล้วมีการ ถามไถ่เพื่อน ๆ ต่อว่า ‘ไปบริจาคมาหรือยัง‘ คนทีม่ าบริจาคมีทงั้ ข้าราชการ คนทัว่ ไป เด็ก ผูใ้ หญ่ วัยรุน่ ตอนนีแ้ ทบไม่ตอ้ งหาหนังสือไป วางแล้ว เนือ่ งจากเกิดการหมุนเวียนเอง อ่าน จบบริจาค แล้วเอาหนังสือใหม่ไปอ่าน แถม ยังมีบริจาคเงินให้ไปซื้อหนังสือเพิ่มอีกด้วย” จันทร์เพ็ญเล่าถึงความส�ำเร็จของกิจกรรม แลกเปลี่ยนหมุนเวียนหนังสือที่ตลาดสีเขียว มีนา กล่าวเพิ่มเติมว่า การมีหนังสือ เข้าไปอยู่ใกล้มือจะท�ำให้เด็ก ๆ ได้หยิบอ่าน มากขึ้น ดังนั้น พื้นที่สวัสดิการแหล่งอ่าน ธนาคารหนังสือ เป็นสิ่งส�ำคัญที่ส่งผลให้เกิด ความยัง่ ยืน นัน่ หมายถึง “สวัสดิการการอ่าน

ในชุมชน” คือ เป้าหมายใหญ่ในการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน โดยมีเป้าหมายส�ำคัญ ที่ซ้อนอยู่อีก คือ ต้องการให้คนอ่านและเขียนหนังสือได้ ซึ่งน�ำไปสู่การอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพ ชีวติ ให้เท่าทันการเปลีย่ นแปลง หมายถึง การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน กว่า ๕ ปีของการท�ำงานสร้าง เสริมวัฒนธรรมการอ่าน “จันทร์เพ็ญ” กับ “มีนา” สองพี่น้องลงมือท�ำงานเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน และ ชุ ม ชนอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยมี การอ่ า น หนังสือนิทานเป็นหนึง่ ในเครือ่ งมือส�ำคัญ เกิ ด กิ จ กรรมและผลลั พ ธ์ แ ห่ ง การ เปลี่ยนแปลงจากโครงการฯ ขึ้นอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง มี เ ด็ ก ที่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ มีพฒ ั นาการและสุขภาพดีทงั้ ไอคิว Intelligence Quotient (ความฉลาดทางเชาวน์ปญ ั ญา) และ อีคิว Emotional Quotient (ความฉลาดทางอารมณ์) จ�ำนวนไม่น้อยกว่า ๓,๕๐๐ ครอบครัว “มีนา ดวงราษี” บอกว่า นโยบายท้องถิ่นเป็นปัจจัยเอื้อให้การท�ำงานของโครงการฯ เดินทางเร็วขึ้น แต่หัวใจส�ำคัญของการอ่านเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ คนในชุมชนเองต้อง ตระหนักถึงคุณประโยชน์ที่ลูกหลานและพวกเขาจะได้รับจากการอ่านหนังสือด้วย เริ่มต้นเพียง ๓-๕ ครอบครัวต่อชุมชน ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ลูกได้ ก็จะสามารถ ส่งต่อให้ครอบครัวอื่นได้จากความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วเป็นแรงบันดาลใจ 138

∞∞

เราท�ำงานตามยุทธศาสตร์ มีนา ดวงราษี บอกว่าหัวใจส�ำคัญของการท�ำงานขับเคลื่อนสร้างเสริมวัฒนธรรมการ อ่านตลอด ๕ ปีของมูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน คือ การเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมและสร้าง คุณค่า

ข้อมูลทางวิชาการ คือ เครื่องมือส�ำคัญ แกนน�ำ คือ เครื่องมือส�ำคัญ และหนังสือ คือ อีกเครื่องมือส�ำคัญเช่นเดียวกัน

ทุกกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ข้อมูลวิชาการคือสิ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะหมายถึง การยืนยันว่าสิ่งที่น�ำเสนอให้กับชุมชนได้ผ่านการศึกษาวิจัยจนเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมแล้ว ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ แกนน�ำ คือ บุคคลต้นแบบ ซึ่งมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนทุกช่องทางเพื่อ พัฒนาศักยภาพตามประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อน ผ่านการอบรมสัมมนา การร่วมเวทีเสนอ ผลงาน เด็ก ๆ แกนน�ำหลายคนเล่าเรือ่ งจากนิทานได้ทงั้ เล่ม ส่งผลให้ผใู้ หญ่ที่ได้เห็นรูส้ กึ ถึงความ มหัศจรรย์ของเด็กตัวเล็ก ๆ ที่เล่าหนังสือภาพได้ กระทั่งเกิดแรงกระเพื่อมให้ผู้ใหญ่หลายคน ตื่นเต้นอยากรู้เทคนิคไปท�ำกับลูกหลานตัวเองบ้าง ส่วนหนังสือภาพส�ำหรับเด็ก ๆ เป็นอีกเครือ่ งมือส�ำคัญอย่างยิง่ ในการสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่านให้เกิดขึ้นในชุมชน โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก ๆ ที่ไม่เคยเห็นหนังสือภาพหรือหนังสือนิทาน มาก่อน จากการลงพืน้ ทีท่ ำ� งานพบว่าเด็ก ๆ ในหลายพืน้ ทีข่ องจังหวัดสุรนิ ทร์เคยรูจ้ กั เพียงหนังสือ 139

∞∞

เรียน ก.ไก่ ตามหลักสูตร ไม่เคยรู้ว่ามีหนังสือประเภทอื่นใดอีกในโลกใบนี้ โดยเฉพาะหนังสือ ภาพซึ่งหายากมากในชนบท “มีนา” จึงเน้นการลงทุนซือ้ และจัดหาหนังสือให้เด็ก หนังสือภาพ ๒ เล่ม ราคาร้อยกว่าบาท ไม่ได้แพงเกินไป เพราะสามารถอ่านได้เป็นปี ๆ ๑ เล่ม สามารถเรียนรูไ้ ด้หลายเรือ่ ง อ่านเบือ่ แล้ว ก็ส่งต่อไปให้บ้านอื่น ๆ เธอเชื่อว่านี่คือการลงทุนที่ได้ผลคุ้มค่า นอกเหนือจากเครื่องมือส�ำคัญทั้ง ๓ สิ่งข้างต้น “คนท�ำงาน” ก็เป็นกุญแจ ส�ำคัญในการผลักดันให้เกิดผลส�ำเร็จของ งานด้วยเช่นกัน เพราะครอบครัวของคน ท�ำงานทั้งหมดต้องลงมือท�ำทุกกิจกรรมที่ วางแผนส่ งมอบให้ชุมชนท�ำ เช่น อ่าน หนังสือให้ลูกหลานฟัง จัดห้องสมุดในบ้าน ใช้นิทานเปลี่ยนเด็ก “ค้นหาคนท�ำงานที่ใช่ให้เจอ ต้อง อ่านคนให้เป็น และมองเชิงบวกให้เป็นนิสัย เมื่อเข้ามาท�ำงานด้วยกันแล้วก็ต้องอยู่เคียงข้างกัน เดินทางไปพร้อมกัน ทีส่ ำ� คัญเราต้องท�ำงานให้หลากหลาย ไม่ใช่หยุดอยูม่ มุ เดียว เพราะจะท�ำให้ พบกับคนที่หลากหลายเช่นกัน ถือเป็นมิติในการท�ำงาน บางคนเป็นแม่ที่อยากพัฒนาลูกตัวเอง บางคนเกี่ยวข้องกับการศึกษา บางคนเป็น อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้าน) ต่างคนก็ต่างมีประสบการณ์” 140

∞∞

หลั ก การท� ำ งานพั ฒ นาสั ง คมของ “มีนา” ให้ความส�ำคัญกับ “ยุทธศาสตร์” ทัง้ ของโครงการฯ และของแผนงานฯ การอ่าน ทัง้ ๒ ยุทธศาสตร์จะมีจดุ เชือ่ มทีเ่ ป็นฟันเฟือง น�ำไปสู่ความส�ำเร็จที่ตั้งเป้าไว้เสมอ ไม่ว่า ยุทธศาสตร์ของแผนงานฯ การอ่านคืออะไร “มีนา” ยืนยันว่าเมือ่ กลับมาค้นหาช่องทาง แม้วา่ หายากแต่ยังไงก็พบแน่นอน เนื่องด้วยกลไก ของชุมชนมีความหลากหลายและยืดหยุ่นไป ตามธรรมชาติ “ก่อนหน้านีเ้ ราก็ไม่ได้รวมกับทุกกลไก มาก่อน เช่น กับสาธารณสุขก็เปิดใจไป แล้ว ลงมือท�ำงานให้เขาเห็น แล้วค่อย ๆ เชือ่ มไป เรือ่ ย ท�ำไปให้เขาค่อย ๆ ซึมซับ จนวันหนึ่ง เมือ่ ถึงจังหวะที่ใช่ ความร่วมมือก็เกิดขึน้ เอง” “มี นา” เลื อ กมองการท� ำ งานเพื่ อ สนับสนุนยุทธศาสตร์ของแผนงานฯ การอ่าน ในมุมความท้าทายทีส่ ามารถส่งผลประโยชน์ และสร้างคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมาย แม้ว่าเป็น เรื่องที่ยังไม่เคยท�ำหรือไม่มีช่องทางมาก่อน เช่น เรื่องกองทุนสวัสดิการหนังสือ ธนาคาร 141

∞∞

หนังสือ เธอยังต้องนอนคิดหลายคืนกว่าจะ พบช่องทางให้เคลื่อนไปข้างหน้า “เราท�ำงานตามยุทธศาสตร์ ยึดจุด มุง่ หมายไว้ให้มนั่ เดีย๋ ววิธกี ารจะตามมาเอง” จากประสบการณ์ที่ ได้ไตร่ตรองคิด วิเคราะห์และลงมือท�ำงาน พบว่าหัวใจของ การเปลี่ยนเพื่อพัฒนาคือ “คน” ไม่ใช่บริบท ของพื้น ที่ เช่น เมื่อต้องท�ำกิจกรรมหญิง ตั้งครรภ์ แต่หาจังหวะที่จะได้เจอในชุมชน ยากมาก นัดหมายพร้อมกันไม่ได้ จึงถอย ออกมามองในภาพรวม จนเห็นภาพคลินิก ฝากครรภ์ในโรงพยาบาล แม้พบว่ามีขอ้ จ�ำกัด เรื่องเวลาที่ทุกคนต่างรีบกลับบ้านหลังจาก ตรวจเสร็จ แต่เธอไม่ได้ปล่อยโอกาสหลุดไป หัน มาตั้งค�ำถามและค้น หาจนเจอช่องทาง ในการใช้เวลา ๑ ชั่วโมงก่อนหมอมาตรวจ จึงสามารถจัดกิจกรรมสร้างการเรียนรูเ้ กีย่ วกับ หนังสือกับพัฒนาการเด็กให้ความรู้กับแม่ มือใหม่ได้เยอะมาก จนสามารถยืดหยุ่นและ ปรับตัวตามบริบทของพื้นที่

“การท�ำงานเราจะคิดให้สนุก ไม่ไปตั้งแง่ว่ามัน ท�ำไม่ได้ เช่น เรือ่ งกองทุน บางคนบอกว่าไม่ได้หรอก ถึงพวกเราเข้าไปก็ท�ำไม่ได้เพราะคนเขาไม่รู้เรื่อง แต่มนี าเชือ่ ว่ายังไงต้องมีทาง ถ้าตัง้ ใจค้นหา มันต้อง มีรปู แบบใหม่ ๆ การท�ำแบบนีก้ ต็ อ้ งอาศัยจินตนาการ ของคนท�ำงาน ตั้งค�ำถามที่มันโดน ๆ แล้วจะคิด ช่องทางดี ๆ ได้” เธอไม่เคยปล่อยเวลาไปกับความคิดไม่สร้างสรรค์ ประเภทที่ว่า “จะท�ำได้เหรอ ท�ำไม่ได้หรอก มันยากเกินไป” แต่มักตั้งค�ำถามว่า “แล้วเราจะท�ำ อย่างไร ถึงจะได้ผลอย่างนั้น” ซึ่งในที่สุดค�ำตอบของโจทย์ที่ตั้งไว้ก็ปรากฏให้เธอได้น�ำไปใช้ ท�ำงานต่อเสมอ “มีนา” บอกว่าทีใ่ ห้ความส�ำคัญกับการท�ำงานทางความคิดเพือ่ วางกลยุทธ์ เพราะตนเชือ่ ว่าการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในระดับชาติต้องด�ำเนินงานไปตามยุทธศาสตร์ ที่ปักธงร่วมกันทุกฝั่งฝ่าย ทั้งแผนงานฯ การอ่านและภาคีเครือข่ายต้องขยับไปเป็นองค์รวม มิเช่นนั้นจะเกิดเพียงแค่วัฒนธรรมการอ่านในชุมชนของภาคีเครือข่ายที่ท�ำงานเท่านั้น

สปสช. กับกองทุนสวัสดิการชุมชน ตัวอย่างหนึ่งของการคิดตั้งค�ำถามที่ว่า แล้วจะท�ำอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมาย ทีต่ อ้ งการของ “มีนา” คือ ความส�ำเร็จในการเชือ่ มโยงเครือข่ายสร้างกองทุนสวัสดิการการอ่าน 142

∞∞

ในรูปแบบต่าง ๆ ตามบริบทของชุมชนได้ ตามความต้ อ งการของชุ ม ชนเอง โดยมี ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. เป็นกุญแจส�ำคัญที่น�ำไปสู่ผลลัพธ์ที่ ต้องการ

ของ สปสช.

ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็ น หน่ ว ยงานที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มีเจตนารมณ์ให้ประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ซึง่ แต่เดิมเรือ่ ง สุขภาพเป็นเรือ่ งของสาธารณสุขหรือทางการ แพทย์เท่านั้น ซึ่ง “มีนา” คิดว่าหลักประกัน สุขภาพถือว่าเป็นรัฐสวัสดิการตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แค่การสงเคราะห์ แต่หมายถึง “สิทธิ” ที่ประชาชนควรได้รับ

ระดับต�ำบลคือกองทุน หลักประกัน สุ ข ภาพระดั บ พื้ น ที่ ส่ ว นระดั บ เขตมี อนุกรรมการหลักประกันสุขภาพ รวมถึงคณะ อนุ ก รรมการควบคุ ม คุ ณ ภาพบริ ก าร สาธารณสุ ข เช่ น เดี ย วกั บ ระดั บ ชาติ ซึ่ ง ประชาชนสามารถเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มเป็ น คณะกรรมการบริหารจัดการและออกแบบ นโยบายแผนงานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ สุขภาพของพื้น ที่ ได้ ซึ่ง สปสช. จัดให้มี กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ครบ ทุ ก ต� ำ บล และมี ร ะเบี ย บการใช้ จ ่ า ยที่ ใ ห้ ประชาชนมีส่วนร่วมอยู่แล้ว ซึ่งประชาชน กลุ่มเป้าหมายของ สปสช. นั้นมีกลุ่มเด็ก ปฐมวัยรวมอยู่ด้วย

การจั ด การสุ ข ภาพของประชาชน ตั้ ง แต่ เ กิ ด จนตายถื อได้ ว ่ า เป็ น สิ ท ธิ ข อง ประชาชนโดยแท้จริง “มีนา” จึงมองเห็น โครงสร้างการท�ำงานแบบมีสว่ นร่วมของภาค ประชาชน ตัง้ แต่ระดับต�ำบลจนถึงระดับชาติ

“มีนา” มองว่ากองทุนนีค้ อื ความยัง่ ยืน ทีป่ ระชาชนในต�ำบลสามารถใช้ประโยชน์และ ด� ำ เนิ น งานส่ ง เสริ ม การอ่ า นเพื่ อ ส่ ง เสริ ม พัฒนาการเด็กปฐมวัยได้ และหากคนใน ชุมชนให้ความส�ำคัญเรื่องการอ่านเพื่อการ

143

∞∞

ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย พืน้ ทีน่ นั้ ๆ ก็สามารถด�ำเนินงานได้อย่างต่อเนือ่ ง จึงเกิดการเชือ่ ม ต่อเครือข่ายพัฒนางานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนร่วมกับ สปสช. น�ำร่องพื้นที่เขต บริการสุขภาพที่ ๙ นครราชสีมา ในพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และ สุรินทร์ จัดท�ำโครงการส่งเสริมสุขภาวะเด็กเล็ก ๐-๖ ปี เป็นโครงการระดับต�ำบล ระดับจังหวัด และระดับเขต ซึ่งได้ขอการสนับสนุนจาก สปสช. เขต ๙ ต่อมาในปี ๒๕๕๘ ได้ขยายแนวคิดดังกล่าวไปยังเขตบริการสุขภาพที่ ๑๐ อุบลราชธานี ครอบคลุม ๕ จังหวัด ได้แก่ อ�ำนาจเจริญ ศรีสะเกษ มุกดาหาร อุบลราชธานี และยโสธร และ ต่อด้วยเขตบริการสุขภาพที่ ๗ ขอนแก่น ครอบคลุม ๔ จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ โดยกลไกภาคประชาชนเป็นตัวกลางประสานทุกภาคีให้เกิดความ ร่วมมือ และพัฒนาความยัง่ ยืนจากการระดมทรัพยากรของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพืน้ ที่ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และให้ส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขต เป็นกลไกส�ำคัญในการสนับสนุนของโครงการระดับพื้นที่ ปัจจุบันเกิดเป็นเครือข่ายกลไกขับเคลื่อนงานอย่างมีส่วนร่วม จากฝ่ายการศึกษา (ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก) ฝ่ายปกครอง (คณะกรรมการผู้น�ำชุมชน) ฝ่ายท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วน ต�ำบล/เทศบาล) ฝ่ายสาธารณสุข (รพ.สต. รพ.ชุมชน) และฝ่ายประชาชน (ศูนย์ประสานงาน หลักประกันสุขภาพประชาชนอ�ำเภอ/จังหวัด) ซึ่งได้น�ำการอ่าน เชื่อมโยงกับเรื่องสุขภาพเด็กปฐมวัย มหัศจรรย์ของการพัฒนา สมอง ทีส่ อดคล้องกับงานวิจยั เรือ่ งการเติบโตของสมองมากทีส่ ดุ ช่วงวัยแรกเกิด – ๖ ปี

รวมทัง้ มีแกนน�ำทีม่ ศี กั ยภาพ สามารถพัฒนาแผนงานการ 144

∞∞

พัฒนาเด็กที่ยั่งยืนในพื้นที่ โดยใช้กองทุน หลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ใน อบต. และเทศบาล เป็นทุนสังคมที่ประชาชนมี ส่ ว นร่ ว ม โดยมี ป ระเด็ น การอ่ า นเป็ น เนื้องานหลักในการพัฒนาเด็ก “โครงการที่ ส ่ ง เสริ ม สุ ข ภาพเด็ ก ปฐมวั ย ด้ ว ยการอ่ า น เป็ น การท� ำ งาน เชิงฐานรากทีส่ ำ� คัญของการพัฒนา เพราะ การลงทุนครั้งนี้ช่วยให้คนท�ำงานเห็นคุณค่าของการพัฒนาชีวิต และเห็นผลถึงการลงทุน ที่คุ้มค่ามากที่สุด เราเริ่มต้นกันที่เด็กปฐมวัย” ในอนาคต “มีนา” คาดหวังให้เกิดการขยายผลครบทั้ง ๑๒ เขตในประเทศไทยโดยมี เด็กปฐมวัยเป็นหนึง่ ในกลุม่ เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ซึง่ ต้องผ่านเกณฑ์ชวี้ ดั เรือ่ งสุขภาพดี ทุกด้าน โดยใช้หนังสือและการอ่านเป็นเครื่องมือส�ำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการที่เหมาะสม กับวัย

รักเด็ก-เลี้ยงเด็ก พัฒนาเด็ก-พัฒนาสังคม นอกเหนือจากรับต�ำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชน “อ๋วน-จันทร์เพ็ญ สินสอน” ยังเป็นเจ้าของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเอกชน “บ้านเรียนพระคุณ” ซึ่งก่อตั้งมาด้วย ความฝันที่อยากเลี้ยงดูเด็กเล็กมาตั้งแต่สมัยยังไม่เข้าวัยรุ่นด้วยซ�้ำ 145

∞∞

ตั้งแต่เรียน ป. ๕ เคยเป็นแกนน�ำคอยดูแลเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน จับอาบน�้ำ ทาแป้ง แต่งตัว พาท�ำกับข้าว เล่นสนุก และท�ำการแสดง ร้อง เต้น ในงานประจ�ำปีของชุมชน ช่วงนั้นเธอไม่รู้ เหตุผลของการชอบเลีย้ งเด็ก เมือ่ โตมาได้อา่ นหนังสือเกีย่ วกับจิตวิทยา หันมองตัวเองแล้วพบว่า การเป็นลูกคนแรก เป็นหลานคนแรก ส่งผลให้รู้สึกว่าตนได้รับความรักมากมายมหาศาล มีคนมากอดหยอกล้อเล่นด้วย ท�ำให้มีความสุขอิ่มเต็มจากภายในสม�่ำเสมอ “เกิดมาในครอบครัวที่หอมกัน กอดกั น หยอกเล่ น แล้ ว ก็ ช มลู ก ตลอดเวลา แม่ไม่เคยตี ทุกวันนี้ไปพูด ที่เวที ไหนบอกเสมอเลยว่า อ๋วนไม่เคย รู้สึกเลยว่าตัวเองเตี้ย ผมหยิก ตัวด�ำ เพราะแม่บอกอ๋วนมาตั้งแต่เด็กว่า อ๋วน สวยที่สุด ลูกแม่น่ารักที่สุด เป็นค�ำชมที่ แม่ พู ด ให้ ฟ ั ง ตลอด มั น ไม่ ไ ด้ ท� ำ ให้ เย่อหยิ่งนะ แต่มัน ท�ำให้เราภูมิใจใน ตัวเอง คือ ภูมิใจว่าตัวเราดีเยี่ยมในแบบที่เราเป็น ทุกวันนี้พอเห็นเด็ก ๆ ก็ชมทุกคนว่าหนูน่ารัก มาก ไม่ว่าจะมอมแมม น�้ำมูกเลอะยังไงก็ยังน่ารัก เพราะเด็ก ๆ มีความน่ารักอยู่ในตัวเอง ทุกคน” จันทร์เพ็ญเป็นอีกหนึ่งคนที่เติบโตมากับการอ่านหนังสือ คาดว่าได้รับอิทธิพลจากคุณตา ซึ่งอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทุกวัน ตั้งแต่ยุคฉบับละ ๓ บาทเรื่อยมา และอิทธิพลจากการ์ตูน เล่มละบาททีถ่ กู น�ำมาให้จบั ฉลากในร้านค้าของแม่ อ่านต่อเนือ่ งไปทุกช่วงวัย ตัง้ แต่นทิ านชุดสัตว์เล็ก ในป่าใหญ่ ๑๒ เล่ม นิยายแปลสืบสวนสอบสวน วรรณกรรมไทย เช่น ลูกอีสาน พอเข้าวัยรุน่ หันมา 146 ∞∞

อ่านนิตยสารบางกอกเกี่ยวกับเรื่องความรัก เธอบอกว่ า ไม่ ต ้ อ งซื้ อ เองสั ก เล่ ม เพราะไปอ่ า นที่ ห ้ อ งสมุ ด ประชาชน ซึ่ ง มี หนังสือเข้าใหม่สม�่ำเสมอ จากนัน้ เมือ่ เริม่ เข้าถึงบทบาทการเป็น แม่ จันทร์เพ็ญจึงหันมาอ่านเรือ่ งจิตวิทยาและ การเลี้ ย งดู ลู ก น้ อ ย เตรี ย มรอลู ก คนแรก ได้แรงบันดาลใจเรื่องวิธีเลี้ยงลูกจากหนังสือ “รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” หลังจาก มีลูกคนแรกได้ ๒ ปี อ๋วนไปเรียน กศน. จนจบ แล้วไปเรียนด้านพัฒนาการเด็กและ ครอบครัวต่อทีม่ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งเป็นอีกช่วงชีวิตที่อ่านหนังสือเป็นจ�ำนวน มาก “มีความสุขกับการอ่านหนังสือ อ่าน แล้วไปสอบ สอบแล้วก็กลับมาอ่านเพิ่มอีก” ศูนย์เลี้ยงเด็กคือความฝัน จันทร์เพ็ญ บอกว่าจินตนาการจนเห็นภาพตัวเองในศูนย์ เลี้ยงเด็กตั้งแต่อายุยังไม่เข้าวัยรุ่น ยิ่งอ่าน 147

∞∞

หนังสือเยอะ เส้นทางของการเลี้ยงลูกคนอื่น ก็เปิดตัวเป็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตอนนั้น ยังไม่ได้คิดเรื่องพัฒนาการทางร่างกายหรือ สติ ป ั ญ ญาของเด็ ก เพี ย งแค่ อ ยากเป็ น คนเลีย้ งเด็ก เพราะได้ยนิ เสียงเพลงแล้วอยาก พาเด็กเต้น อยากให้เด็กสนุกและมีความสุข ซึง่ เพิง่ มารูช้ ว่ งหลังว่ากิจกรรมเต้นเล่นสนุก ๆ สามารถเสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้ “สมัยเด็ก ๆ มีความสุขมากเวลาพา เด็ก ๆ เต้นในงานหมูบ่ า้ น แล้วมีคนชมว่า คือ มันเก่งแท้วะ เด็กตั้ง ๓๐ คนเต้นพร้อมกันได้ ฟังแล้วชื่นใจ เทคนิคสมัยก่อนคือให้เด็กฟัง เสียงนกหวีด ปี๊ดปุ๊บเปลี่ยนท่า ไม่ต้องรอ เสียงนับ ไม่ต้องรอเพื่อน เราเห็นคนชอบคน ชมก็อยากท�ำอีก ออกแบบท่าเต้นเพลงนั้น เพลงนี้ไม่หยุดเลย เด็ก ๆ ก็เดินตามเราเป็น แถวว่าเมือ่ ไหร่จะพาเต้นอีก จนได้มาเปิดศูนย์ เลี้ยงเองทุกวันนี้แหละค่ะ” ศูนย์เด็กเล็กบ้านเรียนพระคุณเปิด ท�ำการในปี ๒๕๓๗ เริม่ ต้นมีเด็กให้ดแู ลเพียง

๒ คน จันทร์เพ็ญจัดตารางกิจกรรมเรียนรู้สนุกสนานให้เด็กทั้งสองแน่นตาราง แต่รายได้ไม่แน่น ตาม คิดแล้วเกรงจะอยู่ไม่รอด ลงมือท�ำใบปลิวเดินแจกในหมู่บ้าน เชิญชวนให้เอาเด็กมาฝาก เลี้ยง ผลปรากฏว่าไม่มีเด็กมาเพิ่ม “แต่เราไม่ถอย เราเป็นคริสเตียนก็อธิษ ฐานให้พระเจ้าเมตตา ขอให้ส่งเด็กมาเพิ่ม จากนั้นไม่นาน ๒ พ่อแม่เด็กที่มาตอนแรกก็ไปบอกต่อว่า ยัยอ๋วนเนี่ยเลี้ยงเด็กดี อ่านหนังสือ เล่านิทานให้เด็กฟัง เด็กกลับมาบ้านก็นิสัยดีขึ้น กลายเป็นว่าคนพาเด็กมาเยอะมาก จากที่เคย ยืมสถานที่โบสถ์เลี้ยงเด็ก ก็แน่นมากจนต้องย้ายที่ใหม่ เก็บเงินสร้างตรงที่อยู่ปัจจุบันนี่แหละ”

ศูนย์เลี้ยงเด็กใหม่ที่ว่าก็ตั้งอยู่ในอาณาเขตรั้วบ้านเดิมของครอบครัว

“เทคนิคการดูแลลูก ๆ คือ พูดกับลูกดี ๆ แสดงออกดี ๆ กับลูก เพราะการลงมือท�ำให้ เห็นดีกว่าการพูดสอนมาก เช่น เด็กที่ยังไหว้ไม่เป็น เราจะเริ่มด้วยการไหว้เขาก่อนแล้วบอก สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ อย่างน้อย ๑-๒ ครั้ง หลังจากนั้นเด็ก ๆ ก็เริ่มไหว้และพูดสวัสดีทักทายกับ เราได้เอง มันยืนยันกับฐานคิดในการเลี้ยงลูกหรือเด็ก ๆ ที่อยากให้ลูกหลานมีพฤติกรรมแบบ ไหน ขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองลงมือท�ำสิ่งนั้นให้เด็ก ๆ เห็นก่อน” ตั้งแต่วันนั้นจันทร์เพ็ญก็ยังท�ำงานอย่างสนุกและมีความสุขเรื่อยมากับเด็กเล็ก ๆ ในรั้ว ของศูนย์ฯ พร้อมกับเลี้ยงลูกทั้ง ๒ คนไปด้วย กระทั่งน้องสาวคนเล็กย้ายกลับมาอยู่สุรินทร์บ้าน เกิด ได้เห็นพีส่ าวท�ำงานกลุม่ ออมทรัพย์และต่อเติมบ้านเป็นศูนย์เลีย้ งเด็ก แนวคิดการท�ำงานเพือ่ ชุมชนก็เกิด “ก่อนย้ายกลับมาอยู่บ้าน มีนาเขาท�ำงานพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว พอได้ข่าว สสส. เปิดให้ทุน ท�ำงานเพื่อพัฒนาในชุมชน บวกกับเห็นหลานกับเด็ก ๆ ในชุมชนเริ่มติดยาบ้า เลยช่วยกันเขียน 148

∞∞

ของบท�ำโครงการป้องกันยาเสพติดในชุมชนตอนปี ๒๕๔๕ ได้เงินท�ำงาน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ดีใจ จนตัวสั่นเลยวัน ที่รู้ว่าโครงการได้อนุมัติ จากนั้นก็จ้างครูมาเพิ่มเพื่อช่วยเลี้ยงเด็กที่ศูนย์ฯ แล้วอ๋วนก็ใช้เวลาที่เด็กนอนออกไปประสานงานท�ำโครงการฯ กับผู้น�ำชุมชน” ณ วันนั้น อ๋วน-จันทร์เพ็ญ คือ แม่บ้านและครูเลี้ยงเด็กเล็ก ยังแทบไม่รู้จักใครในชุมชน ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานพัฒนา “ต�ำรวจ นักจิตวิทยา โรงพยาบาล ทหาร ไม่รู้จักใครเลย แต่อ๋วนไปทุกที่ และวางแผนไว้ ว่าต้องประสานใคร ไปหาทัง้ ๆ ที่ไม่รจู้ กั มาก่อนนัน่ แหละค่ะ ไปเล่าเนือ้ งานให้ฟงั ว่าอยากให้เข้ามา ช่วยตรงไหน ขนาดผู้ว่าฯ ไม่เคยรู้จัก ก็ไปหาที่บ้านเลยค่ะ วันนั้นไม่ได้คุยงานกับท่าน แต่ก็ได้ ค�ำแนะน�ำ เธออย่ามาอย่างนี้อีก (หัวเราะ) แล้วก็บอกว่าให้เราไปส่งเรื่องตรงไหนแทน ทุกวันนี้ จะประสานเคลือ่ นนโยบายก็เตรียมเข้าหาผูอ้ ำ� นวยการก่อนเลย จากนัน้ ท่านว่าไง เราก็คอ่ ยว่ากัน” ถึงวันนีเ้ ธอบอกว่าหลงรักงานการประสานงานมาก ทัง้ ๆ ทีไ่ ม่ได้มเี ทคนิคการประสานงาน มาแต่ตน้ แต่ทดลองท�ำ เรียนรู้ ปรับปรุง พัฒนา จนถึงวันนีส้ รุปได้วา่ เธอใช้ภาษากายและภาษา ใจทักทายผู้คนไปพร้อม ๆ กันด้วยความรู้สึกแจ่มใสจากข้างในเป็นการปูทางบทสนทนาทุกครั้ง

149

∞∞

พร้อมกันนั้นเธอยังได้รับค�ำแนะน�ำจาก “มีนา” อยู่เสมอ ๆ เกี่ยวกับเทคนิคการเข้าหา พูดคุยในประเด็น ทุกคนไม่ว่าจะยศหรือต�ำแหน่งใดคือคนเช่นเดียวกัน ไม่จ�ำเป็นต้องหวาดกลัว หรือประหม่า เมื่อคิดตามที่น้องสาวว่าไว้ ทุกครั้งของการประสานงานไม่ว่าจะกับใครก็ตาม จันทร์เพ็ญสามารถยิ้มให้คนคนนั้นง่ายและพูดคุยกันสบายมากขึ้น “มีนาเขาโค้ชคนได้ดี เขาตั้งค�ำถามเก่ง จัดกระบวนการเรียนรู้ได้ดี อ๋วนจะให้เขาเป็น วิทยากร ทุกค�ำถามที่เขาตั้งมาท�ำให้เกิดการคิดทบทวนและแลกเปลี่ยนจนได้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอ” “จันทร์เพ็ญ” ยกให้ “มีนา” ผู้เป็นน้องสาวท�ำหน้าที่น�ำทางการท�ำงานพัฒนาให้ เพราะมี ประสบการณ์มากกว่าตัวเธอ โดยเฉพาะเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งทุกวันนี้เธอสามารถ เป็นวิทยากรกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นประเด็นใด จ�ำนวนเท่าไร ผู้รับ การอบรมเป็นใคร เธอยืนยันว่าสบายมาก ปี ๒๕๔๘ สองพีน่ อ้ งตัดสินใจจดทะเบียนตัง้ มูลนิธเิ พื่อสุขภาพชุมชน บริหารจัดการงานให้ เข้าระบบ ขยายฐานคนท�ำงานและขอบเขตการท�ำงานให้กว้างขึ้น รวมถึงเพื่อสะดวกต่อการ ตรวจสอบในฐานะองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization หรือ NGO) หลังจากท�ำงานประเด็นป้องกันยาเสพติด เพิ่มขอบข่ายท�ำงานมาที่ประเด็นเหล้า ความรุนแรง เพศ เอดส์ และผู้หญิง เชื่อมการท�ำงานต่อไปยังกลุ่มทหารและผู้ต้องขังในเรือนจ�ำ และในปี ๒๕๕๕ มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชนได้รับเลือกให้จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานหลัก ประกันสุขภาพประชาชน จังหวัดสุรินทร์ ของส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ด�ำเนินงานด้านสร้างเสริมสุขภาพเชื่อมโยงระหว่างภาคประชาชน ให้ค�ำปรึกษาและช่วยเหลือ ประชาชน ให้ความรูใ้ นการดูแลสุขภาพประชาชนในพืน้ ที่ อีกทัง้ ยังเผยแพร่ขอ้ มูล ข่าวสาร ความรู้ 150

∞∞

ความเข้าใจ สิทธิต่าง ๆ ที่ประชาชนพึงได้รับในระบบหลักประกันสุขภาพ “ตั้งแต่เริ่มตั้งมูลนิธิฯ ก็ได้รับร้องเรียนเรื่องความรุนแรงกับผู้หญิงและครอบครัวจ�ำนวน มาก พอรู้ว่า สปสช. เปิดรับศูนย์ประสานงาน รีบท�ำเรื่องยื่นขอท�ำหน้าที่เลยค่ะ พอได้เป็นศูนย์ ประสานงานฯ สปสช. ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่พวกเราจะช่วยคนที่เดือดร้อนได้อีกเยอะมาก”

แม่ลูก... นักเล่าเรื่อง ส่วนเส้นทางชีวติ วัยเด็กของผูเ้ ป็นน้องสาว “มีนา ดวงราษี” เติบโตมาด้วยการดูแลใกล้ชดิ อย่างมากของแม่ เนื่องจากวัยเด็กเธอมีพัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ เพราะแม่เคยยุติการ ตั้งครรภ์ แต่ไม่ส�ำเร็จ เธอจึงมีโอกาสลืมตาดูโลก พร้อมกับความตั้งใจของแม่ที่จะเลี้ยงดูลูกสาว คนนี้อย่างดีที่สุด “แม่เล่าเรื่องต่าง ๆ ให้ฟังเยอะ ครอบครัวเราจะพูดความจริงกัน แสดง ความรู้สึกตรงไปตรงมา รักก็บอกรัก กอดก็คือกอด ไม่มีประชดประชันกัน ไม่ซับซ้อน ท�ำให้มีนาเข้าใจสิ่งที่แม่คิด และท�ำทุกอย่าง ทีส่ ำ� คัญคือแม่ไม่เคยตี ลู ก เลย ซึ่ ง เราก็ สื บ ทอดมาคื อ มี น า ไม่ เ คยตี ลู ก เหมื อ นกั น แล้ ว ลู ก เราก็ ไม่เห็นเสียคน” 151

∞∞

“เรามัน่ คงเรือ่ งวินยั มาก ต่างจากเด็ก ทีถ่ กู ปล่อย แม่ให้เข้านอนก่อน ๒ ทุม่ กินข้าว ให้ตรงเวลาสม�่ำเสมอ มีนางงมากว่า แม่รู้ ได้ยงั ไงว่าการนอนช่วงหัวค�ำ่ ท�ำให้เซลล์สมอง ท�ำงานเติบโตเร็วสุดยอด ทุกวันนี้เจอเด็ก ๆ สมาธิ สั้ น เพราะ ๔-๕ ทุ ่ ม ไม่ ย อมนอน เด็กเล็กควรนอนแต่หัวค�่ำเพราะเซลล์สมอง ก�ำลังเติบโตเร็วมาก” “มี นา” พบข้ อ มู ล งานวิ จั ย ชุ ด หนึ่ ง เกี่ยวกับการสอนลูกในรูปแบบวินัยเชิงบวก ซึ่งมีวิธีการเหมือนที่แม่ ใช้เลี้ยงดูเธอ คือ ไม่จ�ำเป็นต้องลงโทษด้วยการตี แต่เลือกใช้ การชื่นชมเมื่อลูกท�ำสิ่งที่เหมาะสม บอกและ แสดงความรู ้ สึ ก เป็ น ห่ ว งเป็ น ใยลู ก อย่ า ง ซื่อตรง ชัดเจน ตรงไปตรงมา เป็นเรื่อง ส�ำคัญของความสัมพันธ์ในครอบครัว แม้แต่ เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น แม่เอ่ยปากว่าจะพา ไปไหน จะให้กนิ ขนมอะไร แม่เธอท�ำทุกอย่าง ให้จริง ๆ ตามที่พูดเสมอ

“การไม่โกหกลูกเป็นสิ่งส�ำคัญ ตรงนี้

เป็นหัวใจท�ำให้เราซือ่ สัตย์ตอ่ กัน เราไม่โกหก แม่ เพราะแม่ไม่โกหกเรา เชื่อว่าการเลี้ยงดู ของแม่เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้มีนารู้สึกมั่นคง และไว้วางใจคนอื่น แม่เรียนจบชั้น ป. ๔ แต่ มีแนวคิดการเลี้ยงดูลูกที่เก่งมาก” “แม่เป็น นักสร้างสรรค์จินตนาการ เยอะแยะ” มีนาคิดเช่นนั้น เพราะสมัยเด็ก ๆ แม่เล่านิทานสนุก ๆ ให้ฟังหลายเรื่องมาก “มีเรื่องยักษ์ เรื่องลิง มันตลกมาก เป็นการ เล่านิทานนะไม่ใช่การอ่านหนังสือ มันเป็น ภาพการนอนทุกคืนที่มีความสุข อบอุ่นมาก ความสุขตรงนีม้ นั เป็นภูมคิ มุ้ กันภายในจิตใจ” “แม่เป็นนักวิเคราะห์โดยไม่รตู้ วั ” มีนา คิดแบบนั้น เพราะแม่ชวนวิเคราะห์เรื่องเงิน ตัง้ แต่เธอยังเด็ก “แม่จะยกตัวอย่างชีวติ เพือ่ น บ้านที่จัดการเรื่องเงินไม่ถูกวิธี แล้วชวนกัน คิด ถ้ามีเงินควรซื้ออะไรที่ส�ำคัญมากที่สุด แม่จะบอกว่าต้องซื้ออาหารหลักก่อน คือ ข้าวสาร เพราะมีข้าวกินกับน�้ำปลาก็อิ่มได้ แกจะสอนว่าถ้าเอ็งมีเงิน ๓๐๐ ให้ซื้อข้าว 152

∞∞

๒๐๐ เลย ที่เหลือเก็บไว้ซื้อกับข้าว” “แม่เป็นนักเล่าเรื่อง” มีนาฟังเรื่องราวจากแม่มากมาย เรื่องหนึ่งคือ เหตุการณ์เมื่อจะมี ญาติมาเยีย่ ม ตามธรรมเนียมต้องมีขา้ วปลาอาหารต้อนรับ แต่แม่ไม่มเี งิน จึงเดินเท้า ๒ กิโลเมตร เพื่อไปยืมเงิน ได้มา ๑๐ บาท น�ำไปซื้อบวบ ๒ บาท ซื้อข้าวสารครึ่งกิโลกรัมเป็นเงิน ๕ บาท เงินที่เหลือน�ำไปซื้อไข่ไก่ เมื่อญาติ ๆ นั่งสามล้อมาลงหน้าบ้าน ก�ำลังหิวข้าวมาเลย แม่จุดไฟ ตั้งกระทะ ล้างบวบ ตีไข่ ลงกระทะผัด เด็ดใบแมงลักใส่ เติมน�้ำปลา ตักให้กินกับข้าวหุงร้อน ๆ ญาติกินกันคนละ ๒-๓ จาน จากจุดเริ่มที่ไม่มีเงินสักบาท แม่ประสบความส�ำเร็จในการ ต้อนรับญาติ ๆ ด้วยเงินที่ยืมมา ๑๐ บาท มีนาบอกว่าเหตุการณ์นี้ เกิดขึน้ สมัยเธอยังเป็นเด็กเล็กมาก แต่ทจี่ ำ� ได้จนถึงทุกวันนีเ้ พราะแม่ เล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก ๆ และเล่าบ่อยครั้ง จนแนวทางการใช้เงินซึมซับ เข้าสู่นิสัยของเธออย่างไม่รู้ตัว “แม่เป็นนักเล่าเรือ่ ง” มีนาคิดเช่นนัน้ ทุกวันนีห้ ลายคนรอบตัว “มีนา” ก็คิดว่าเธอเป็นนักเล่าเรื่องเช่นกัน

พัฒนาสังคม เริ่มที่ครอบครัว “อยากเป็นพัฒนากร ดูไม่ต้องแต่งตัวมาก ได้ไปบ้านนอก มีนาไม่ชอบสังคมเมือง” เธอตอบค�ำถามของการเลือกเรียนสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนที่ 153

∞∞

จะย้อนเพิ่มเติมไปอีกว่า เข้าใจผิดว่ามีทุนเรียนฟรีจึงสอบจนติด แต่ที่บ้านไม่มีเงินส่งเรียน แม่จึง ตัดสินใจไปกู้เงินจากเพื่อนรักส่งให้ลูกเรียนต่อตามฝัน แต่เรียนจบจาก ม.มหาสารคาม ไม่ได้เป็นพัฒนากรในทันที แต่ไปท�ำงานที่ร้านสะดวกซื้อ ๑ เดือน พบค�ำตอบชัด ๆ ว่าชีวิตของเธอไม่ต้องการท�ำงานในระบบดังกล่าว จึงลาออกมาเขียน จดหมายขอเป็นอาสาสมัครที่มูลนิธิเยาวชนชนบท สาขาเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับต�ำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในอัตราเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท กับการทดลองงาน ๓ เดือน ท�ำงานอยู่ ๓ เดือนไม่ผ่านการทดลองงาน เธอคิดว่าเพราะน�ำเสนองานไม่ได้ พูดช้า เสียงเบา ขาดความมั่นใจ ถึงไม่ถูกรับเข้าท�ำงาน แต่มีนาบอกว่าได้วิธีการท�ำงานกับชุมชนเยอะมาก จากนั้ น ไปขอเป็ น อาสาสมั ค ร ชุ ม ชนต้ า นภั ย เอดส์ ในยุ ค สมั ย ที่ สถานการณ์รงั เกียจผูต้ ดิ เชือ้ เอดส์กำ� ลัง แพร่ขยายในสังคม เธอยื่นข้อเสนอไป ว่ า ไม่ ข อรั บ เงิ น สั ก บาทเพราะอยาก ท� ำ งานชุ ม ชนมาก ในที่ สุ ด จึ ง ได้ รั บ มอบหมายงานแรกให้จัดค่ายเยาวชน ท�ำทุกหน้าที่ วางแผน ประสานงาน ติดตามวิทยากร สรุปงาน ทุกอย่าง เสร็จสิน้ ภายใน ๑ เดือน ได้คา่ ตอบแทน ๑,๕๐๐ บาท 154

∞∞



“มีนาไม่คิดถึงเงิน แค่คิดว่าฉันได้ท�ำอะไรไปบ้าง”

ค่ายเยาวชนครัง้ นัน้ เปิดโลกการจัดกระบวนการเรียนรูใ้ ห้ตวั เอง วางแผนกิจกรรม ประสานงาน สรุปผลการด�ำเนินงาน “ก็ทำ� ต่อมาเรือ่ ย ๆ จนแต่งงาน จนตัง้ ท้อง วันทีจ่ ะคลอดยังไปเป็นวิทยากร คุยเรือ่ งถุงยางอนามัยอยูเ่ ลย เพราะคิดว่าคนท้องไม่ใช่คนป่วย สามารถท�ำงานได้ แล้วก็สนุกด้วย ท�ำงานแล้วก็เล่นกับลูกในท้องไปด้วย” จากนั้นไม่นานเกิดความไม่เข้าใจกันในองค์กร มีนาจึงเลือกลาออกมาเขียนโครงการ ขอทุนท�ำงานเองอยู่ที่บ้านสามี อ�ำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ท�ำงานประเด็นเอดส์ ได้รับ งบประมาณจากสถาบันควบคุมโรคที่ ๗ (อุบลราชธานี) “ช่วงนั้นได้งบ ๔-๕ แสน เพราะประเด็นมันก�ำลังแรง เดี๋ยวนี้ไม่ได้แล้วเพราะคนเข้าใจ โรคมากขึ้น ไม่ได้กลัวเหมือนยุคนั้น ช่วงปี ๒๕๔๓-๒๕๔๗ ก็เริ่มขยายวงประเด็นไปท�ำงานด้าน ผู้หญิงและเด็ก ได้รับงบเป็นหลักล้านบาท แล้วตอนนั้นก็มีเพื่อน ๑ คนดูแลบัญชีให้ ส่วนอาสา สมัครเปิดรับจากในพื้นที่” ต่อมาในปี ๒๕๔๘ หลังจากความสัมพันธ์ชีวิตคู่สั่นคลอน มีนาตัดสินใจเลิกกับสามี และ ย้ายกลับมาอยูบ่ า้ นเกิดทีส่ รุ นิ ทร์พร้อมกับลูก “ช่วงทีม่ นี าตัดสินใจเลิกกับสามีกท็ ำ� เวทีประชาคมด้วย นะ เรือ่ งเลิกกัน (หัวเราะ) เวลามีนาเล่าเรือ่ งนี้ ทุกคนจะหัวเราะ มีนาชอบความชัดเจน ครอบครัว สามีและชาวบ้านก็รักเรามาก เพราะมีนาท�ำกิจกรรมในหมู่บ้านด้วย ชาวบ้านรับไม่ได้เพราะมีนา เป็นเมียจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จะเป็นคนออกไปท�ำไม แล้วจะพาลูกไปไหน” แต่สุดท้ายเธอก็ตัดสินใจเป็นฝ่ายเดินออกมาพร้อมลูกบนพื้นฐานความเชื่อว่าครอบครัวที่ สมบูรณ์ไม่จ�ำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเสมอไป ครอบครัวลักษณะไหนก็แข็งแรงได้เพียงแค่ต้องมีการ 155

∞∞

สื่อสารให้เข้าใจ และมีนาเชื่อว่าตัวเองแข็งแรงพอที่จะสื่อสารกับทุกคนในครอบครัวเข้าใจ สถานการณ์อย่างตรงไปตรงมาได้ “เราคุยกันหลายรอบ สามีกเ็ สียใจกับสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ เขาเป็นคนดี แต่ออ่ นไหวและไม่มที กั ษะ ชีวิตเรื่องของการจัดการความสัมพันธ์ที่เข้ามา ผู้หญิงที่เขาไปมีความสัมพันธ์ด้วยตั้งท้อง มีนา ท�ำงานเรือ่ งผูห้ ญิงและเด็ก ฉะนัน้ เราต้องคุม้ ครองเด็ก ก็ตดั สินใจกลับมาสุรนิ ทร์ ซึง่ ทุกเหตุการณ์ มีนาก็อธิบายให้ลูกเข้าใจตลอด ลูกก�ำลังน่ารัก ๔-๕ ขวบ ได้ เราไม่โกหกลูก บอกตรง ๆ ว่าพ่อ ต้องดูแลอีกครอบครัวหนึ่ง พูดถึงด้านดีของพ่อ ปิดเทอมก็หัดให้ลูกนั่งรถบัสไปหาพ่อหาย่า ให้รู้ว่ามีอีกครอบครัวหนึ่งอยู่ที่นั่น” “มีนาเลี้ยงลูกแบบเปิดมาก สอนเรื่องเพศแบบเปิดเผย แก้ผ้าอาบน�้ำด้วยกันจนลูกเรียน ป. ๔ จนมาบอกว่าแม่พอแล้ว อยากอาบน�ำ้ คนเดียวแล้ว เราก็วา่ เอ้อ ไม่เรียนรูแ้ ล้วบ่นี่ (หัวเราะ)” ผ่านมา ๑๐ ปี ผลลัพธ์จากความเชื่อและการลงมือท�ำของมีนาออกดอกผลได้งดงาม ทุกคนสามารถพูดคุยกันได้เข้าใจ ลูกของเธอรักและเข้ากันได้ดกี บั พ่อและครอบครัวใหม่ของพ่อ “คนท�ำงานพัฒนาสังคมต้องท�ำงานกับครอบครัวตนเองให้ได้ก่อน นี่คือสังคมขนาดเล็ก ที่สุดแล้ว”

ศรัทธาสร้างคุณค่า “มีนาให้ความส�ำคัญต่อความรู้สึก” ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อสุขภาพ ชุมชนเอ่ยขึน้ เมือ่ พูดคุยถึงประเด็นการบริหารจัดการทีมงาน พร้อมยืนยัน 156

∞∞

หลั ก การสื่ อ สารในองค์ ก รที่ เ น้ นไปที่ ก าร สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาทุกเรื่อง ทั้งเรื่อง งานและเรื่องส่วนตัว เอาใจใส่ความรู้สึก กั น และกั น ตั้ ง ค� ำ ถามถึ ง ความกั ง วลใจ ด้วยความห่วงใย เนื่องจากเธอมองเห็นว่า ชีวิตส่วนตัว มีส่วนเกี่ยวโยงมายังการท�ำงานเสมอ ใครมี ปัญหาส่วนตัว ครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ สามารถสร้างผลกระทบกับการท�ำงานได้ มูลนิธิเพื่อสุขภาพชุมชนจึงตั้งระบบสหกรณ์ มีความจ�ำเป็นต้องใช้เงินมากูย้ มื ได้ ลดช่องว่าง ความกังวลใจเรื่องสภาพเศรษฐกิจ “มีนา” เชือ่ ว่าความส�ำคัญของการเป็น ผู้น�ำองค์กร คือ นอกจากผลของงานที่ได้รับ ยังต้องสังเกตอากัปกิรยิ าของเพือ่ นร่วมงานด้วย เช่น ท�ำไมสีหน้าบูดบึ้งมากกว่าปกติ ท�ำไม เสียงดังกับผู้ใช้บริการสหกรณ์ ใช้วิธีสังเกต แล้วจึงสืบหา ผ่านช่องทางคนใกล้ชิด หรือ พู ด คุ ย ระหว่ า งกิ น ข้ า วร่ ว มกั น เนื่ อ งจาก ความรู้สึกของคนท�ำงานเป็นฐานของผลงาน 157

∞∞

ทีเ่ กิดขึน้ ทุกอย่าง คนท�ำงานรูส้ กึ ดี มีความสุข ผลงานย่อมออกมามีประสิทธิภาพ ส�ำหรับประเด็นองค์กรพัฒนาสังคมใน ประเทศไทยหาทุนสนับสนุนให้ท�ำงานยาก หรือจ�ำนวนเงินที่ได้รบั ไม่มากและไม่แน่นอน จนต้องเป็น นักพัฒนาไส้แห้ง มีนาบอกว่า ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคนที่นี่ เนื่องจากเชื่อ ว่าการมีทักษะท�ำอาชีพส่วนตัวควบคู่ไปกับ ท�ำงานพัฒนาสังคมด้วยเป็นสิ่งส�ำคัญ เช่น เธอท�ำกิจการบ้านให้เช่าเป็นรายได้หลักใน การดูแลตนเอง พร้อมกับซื้อขายที่ดินเป็น รายได้ส่วนเสริมเพิ่มเติม ส่วน “จันทร์เพ็ญ” นอกจากมีกิจการศูนย์ดูแลเด็กเล็ก ยังท�ำนา อีกจ�ำนวนมาก ท�ำให้จาก ๗ คน ในมูลนิธิฯ มีเพียง ๒ คน เท่านั้นที่รับเงินเดือนจากองค์กร ส่วนอีก ๕ คน ที่เหลือนั้นรับตอบแทน เฉพาะงานแต่ละชิ้น “เราไม่ได้ใช้เงินมากนัก เครือ่ งส�ำอาง ไม่ต้อ งซื้อ เสื้อ ผ้าราคาไม่แพง หลักสิบ

หลักร้อย อาหารการกินก็ปกติ นาน ๆ ถึงไปกินนอกบ้าน ใช้เงินไม่เยอะชีวิตก็สบาย ได้ท�ำงาน อย่างที่อยากท�ำ คือเรื่องเปลี่ยนแนวคิดเปลี่ยนชีวิต” ถ้ายึดเรื่องเงินเป็นหลัก “มีนา” บอกว่าไม่ต้องท�ำงานพัฒนาเหมือนทุกวันนี้ก็ได้ เพราะ อาชีพอื่น ๆ ของเธอมีรายได้ดีพอควร แต่ที่ยังท�ำงานพัฒนาอยู่ เพราะชอบงานที่ท้าทายความ คิด ความสามารถ สร้างความเปลี่ยนแปลง สร้างคุณค่าให้กับผู้คนในสังคมได้ จึงพร้อมที่จะ ท�ำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ “มีคุณหมอผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเห็นการท�ำงานของมีนาแล้วบอกว่า ที่ท�ำได้มากมาย ไม่เหน็ด ไม่เหนื่อย เพราะแรงผลักที่มันลึกลับ เป็นความศรัทธาจากภายใน เราก็ อุ้ย! ท�ำไมหมอรู้จักเรา ดีแท้ หมอบอกว่า ดูจากเฟซบุ๊กมีนาไง (หัวเราะ) ก็จะเห็นมีนาไปโบสถ์ ไปท�ำงานอาสาสมัครต่าง ๆ ช่วยเหลือเคสผู้หญิงและเด็กที่ประสบปัญหาชีวิตครอบครัว ส�ำหรับมีนาถือว่าเป็นโอกาสที่ พระเจ้าให้เราได้ท�ำงานรับใช้ผู้อื่น” “พระเจ้าเปลี่ยนมีนา จากเมื่อก่อนเป็นคนใช้การไม่ได้เลย จนค้นพบศักยภาพตัวเองเจอ แล้วได้ท�ำโครงการดี ๆ มาตลอด การได้รับใช้คนอื่นเป็นจุดประสงค์ของการใช้ชีวิตในโลกนี้” มีนาตอบค�ำถามถึงแรงผลักดันในการท�ำงานจนส�ำเร็จในแต่ละครั้งอย่างสอดคล้องกับค�ำตอบ ของจันทร์เพ็ญที่ว่า เธอเลือกท�ำทุกอย่างให้ดีที่สุดทุกวันด้วยความเชื่อและศรัทธากับสิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้คน “ไม่ว่าเราจะรับงานใดมาท�ำ ขอให้ท�ำเหมือนเป็นของขวัญให้กับพระเจ้า ฉะนั้น ทุกอย่างเราสู้และท�ำให้ดีที่สุดเสมอ ฐานคิดของเราพี่น้องเป็นแบบนี้” จันทร์เพ็ญกล่าว สรุปถึงความคิดชีวิตการงานและความศรัทธา

158

∞∞

= Growth Mindset = - การพัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับการพัฒนาสังคมในระดับชาติ - สัมพันธภาพที่ดี เกิดจากการสื่อสารอย่างซื่อตรงและปรารถนาดี - การอ่านพัฒนาคุณชีวิตให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงได้ - พัฒนาสังคม เริ่มต้นที่พัฒนาครอบครัวของตัวเอง - สอนเด็ก ๆ ด้วยการลงมือท�ำเป็นตัวอย่าง - หนึ่งความส�ำเร็จสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น ๆ ได้ - ตั้งค�ำถามที่สร้างสรรค์ ได้ค�ำตอบที่เหมาะสมเสมอ - ดูแลเอาใจใส่ทีมงานเหมือนคนในครอบครัว - พัฒนาคน เท่ากับพัฒนาชุมชน - มั่นคงกับเป้าหมาย วิธีการจะปรากฏเสมอ - ทุกความท้าทายมีทางออกเสมอ - เมื่อเจองานใหม่ แค่ลงมือท�ำ เรียนรู้ และพัฒนา - สร้างสรรค์สิ่งดี ๆ เพื่อคนอื่น คือวัตถุประสงค์ของการมีชีวิต

159

∞∞

อ่านสร้างสุข อุไร โสรเนตร

รักการอ่าน เริ่มจากฐานครอบครัว : อุ๊–สุรินทร์ พัฒนาชุมชน สร้างเครือข่าย ให้เกียรติคนท�ำงาน จิตอาสาส่วนใหญ่ของพื้น ที่เครือข่ายของโครงการอ่านยกก�ำลังสุขสนุกที่สุริน ทร์ เรียกเธอว่า “น้องอุ๊”

บางคนบอกว่า “น้องอุ๊” ยิ้มเก่ง ยิ้มง่าย บางคนบอกว่า “น้องอุ๊” พูดหวาน ให้ก�ำลังใจเก่ง บางคนบอกว่า “น้องอุ๊” ใจดี มีของดี ๆ ความรู้ดี ๆ มาฝากเสมอ บางคนบอกว่า “น้องอุ๊” ก็เหมือนลูกเหมือนหลาน

แต่ที่น่าสนใจมากคือ จิตอาสาทุกคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “น้องอุ๊” ตั้งใจท�ำงานเพื่อ ชุมชนจริง ๆ “น้องอุ๊” หรือ “อุไร โสรเนตร” เป็นผู้ประสานงาน สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัด สุรินทร์ ซึ่งเป็นอีกองค์กรขับเคลื่อนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน มุ่งเน้นท�ำงาน

ร่วมกับแกนน�ำจิตอาสา บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ในพื้นที่ ๘ ต�ำบลของจังหวัดสุรินทร์ “หัวใจหลักของการท�ำงานชุมชน คือ การสร้างเครือข่ายการท�ำงาน เปิดโอกาสให้ เครื อ ข่ ายท� ำ งานตามความต้องการ เราเป็นเพียงพี่เลี้ยงผู้ติดตาม จากนั้นผลลัพธ์การ เปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเองในชุมชน” “อุ๊-อุไร” ยืนยันหลักคิดการท�ำงานชุมชนไว้ชัดเจน คือ ปล่อยให้คนในชุมชนได้ท�ำตามที่ ต้องการจริง ๆ ไม่มีการยัดเยียดความคิดหรือวิธีต่าง ๆ ให้ท�ำ ซึ่งเมื่อเกิดผลงานเป็นรูปธรรม นั่นคือผลิตผลของคณะท�ำงานในชุมชนจริง ๆ เธอท�ำงานขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่านด้วย ความร่วมมือหลัก ๆ ของคนท�ำงานที่อยู่ในชุมชนล้วน ๆ เช่น ผู้อ�ำนวยการและครูโรงเรียนประจ�ำต�ำบล ครูประจ�ำศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก (ศพด.) นักวิชาการศึกษา ประจ�ำองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) สมาชิกสภา อปท. ผูใ้ หญ่บา้ น ก�ำนัน แกนน�ำชุมชน แกนน�ำเยาวชน รวมทั้งพระภิกษุที่เคารพนับถือในท้องถิ่น ช่วงเริ่มท�ำงานกับ ๑๐ ชุมชนแรกในปี ๒๕๔๗ ยึดหลักเชื่อมประสานกับผู้น�ำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ต่อมา เมื่อมีโครงการเครือข่ายสุขภาวะครอบครัวในโรงเรียน เข้ามา จึงเริ่มเชื่อมต่อเข้าโรงเรียน มีแกนน�ำครูเป็นเครือข่ายภายใต้ขอบเขตงานครอบครัว และ ค่อย ๆ ขยายเครือข่ายเพิ่มเติมมากขึ้นตามประเด็นงานพัฒนาชุมชนที่สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง 162

∞∞

จังหวัดสุรินทร์ รับผิดชอบ “พืน้ ทีท่ ำ� งานเราหลากหลาย เราไม่ได้ ลงไปท�ำงานเองในชุมชน แต่เราเชือ่ มเข้าไป สนั บ สนุ น ให้ ตั ว แทนชุ ม ชนท� ำ งานได้ มี ประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งเรื่ององค์ความรู้ โอกาส และงบประมาณ” การท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการ อ่ า นในชุ ม ชนที่ เ ธอรั บ มอบหมายมานั้ น ขับเคลื่อนไปได้อย่างรุดหน้าและมีแนวโน้ม ของความยั่ ง ยื น ชั ด เจนจากการเห็ น คณะ ท�ำงานในชุมชนลงมือท�ำงานด้วยความรู้สึก เป็นเจ้าของอย่างแท้จริง ซึง่ “อุ”๊ มองว่าความ ส�ำเร็จตรงนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการท�ำงาน ประเด็ น ครอบครั ว เข้ ม แข็ ง ที่ มี ม าตั้ ง แต่ ปี ๒๕๔๗ ดังนัน้ ผลงานเดิมนัน้ เป็นทีป่ ระจักษ์ ว่าเธอกับทีมงานท�ำจริง เธอเน้น ประเด็น “ท�ำจริง” เพราะเชือ่ ว่าเมือ่ ท�ำจริงก็เปลีย่ นแปลง จริง ผลลัพธ์ที่ดีเกิดจริง ท�ำให้เชื่อมงานกับ พื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ได้สะดวกง่ายดายมากขึ้น

“อุ๊เชื่อว่า ทุกคนเห็นว่าพวกเราไม่ได้ 163

∞∞

ไปเอาเปรียบใคร แต่เราท�ำงาน ท�ำจริง ถ้างานไหนผลงานไม่ใช่ของเรา เช่น เขาท�ำ กิจกรรมนี้ไปแล้ว ๒ เดือน เราก็ให้เกียรติ ผลงานของเขา ไม่เอามาพูดให้คนเข้าใจผิด ว่าเป็นผลงานของเรา แต่ส่วนไหนที่เรามา เชื่อมโยงหรือสนับสนุนเพิ่มเติม เราก็พูด อธิบายไปตามข้อเท็จจริง” จุดแข็งของ “อุ๊” คือ เชี่ยวชาญเรื่อง การเข้ า หาครอบครั ว เข้ า หาผู ้ น� ำ ชุ ม ชน ประสานงานเชื่อมโยงเครือข่าย คอยหนุน เสริมให้เกิดการจัดกิจกรรม และขับเคลื่อน งานในพื้นที่ร่วมกัน รวมทั้งยังหนุนเสริมให้ เกิดภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง ด้วยการประสาน ให้คนท�ำงานของแต่ละชุมชนมีโอกาสได้มา พบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ ของแต่ละพื้น ที่ เพื่อน�ำไปประยุกต์ใช้กับ ชุมชนของตนเอง ตลอดเกือบ ๑๐ ปีที่ผ่าน มา เธอสามารถผลักดันให้ชุมชนเกิดการ ตระหนักรู้และลงมือพัฒนาตนเองได้จ�ำนวน เยอะมาก ไม่ว่าจะประเด็นลด ละ เลิก

อบายมุข ประเด็นความรักและผูกพันพ่อแม่ลกู ประเด็นสือ่ สร้างสรรค์สำ� หรับเยาวชน และประเด็น ส่งเสริมการอ่านในชุมชน แต่จากมุมมองของ “อุ๊” คือ เธอไม่ใช่คนลงมือท�ำ แต่ชุมชนต่างหากที่ลงมือท�ำ ส่วนเธอ เป็นเพียงผู้ร่วมผลักดันให้เกิดขึ้นเท่านั้น เมื่อให้ลองนิยามอาชีพของตน เธอบอกว่า คือ นักพัฒนาสังคมด้านครอบครัว เนื่องด้วย ฐานเดิมมาจากงานครอบครัวเข้มแข็ง ตลอดเส้นทางการท�ำงานพัฒนาจึงวนเวียนอยูก่ บั เรือ่ งราว ของครอบครัวเป็นหลัก ถึงวันนี้ “อุ๊-อุไร โสรเนตร” เลือกเดินเส้นทางนักพัฒนามาแล้วเกือบ ๑๐ ปี ทัง้ ๆ ที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะได้มชี วี ติ อยูก่ บั ชุมชนเช่นนี้ เพราะตนเองไม่ได้เติบโตมาจาก เยาวชนเข้มแข็งสายค่ายอาสาพัฒนาชนบท ไม่ได้มพี นื้ ฐานของความสนใจงานชุมชนมาก่อนหน้า วัยเด็ก “อุ๊” อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ต่างหาก เธอเล่าไว้อย่างนั้น เป็นคนขี้อาย ไม่ชอบ คุยกับคน อยากท�ำงานอยู่ในห้องทดลอง เธอเล่าไว้อย่างนั้น

164

∞∞

แต่ชีวิตทุกวันนี้ของ “อุ๊” พลิกจากที่เคยคิดไว้สุดขั้ว เธอได้ พูดคุยกับผู้คนทุกวัน ทั้งคนคุ้นเคย คนไม่เคยคุ้นมาก่อน และแทบ ไม่ได้นั่งท�ำงานอยู่ในส�ำนักงานด้วยซ�้ำ เพราะต้องเดินทางเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ติดตามงานอีกจ�ำนวนนับครั้งไม่ถ้วนในรอบปี “แปลกเหมือนกัน แต่ทุกวันนี้กลายเป็นคนชอบคุยไปแล้ว มีความสุข และอบอุ่นดีที่ได้ท�ำงานชุมชน”

นักทดลอง “ลงมือท�ำ” ด้วยความฝันของเด็กขีอ้ าย อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ฝังตัวอยู่ในห้องทดลอง เพราะเป็น อาชีพที่ไม่ต้องไปพบปะหรือพูดคุยกับผู้คนมากนัก “อุ๊-อุไร โสรเนตร” จึงตัดสินใจเรียนสาขา วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ หลังเรียนจบก็ได้งานต�ำแหน่งอาสาสมัครห้องทดลอง วิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ คลอง ๕ ปทุมธานี “อุ๊” เล่าย้อนไปว่าชื่อต�ำแหน่งถูกใจใช่เลย แต่เมื่อได้ท�ำงานจริง ๆ กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เพราะงานหลักไม่ได้อยู่ในห้องทดลอง แต่ต้องไปท�ำหน้าที่พูดให้ความรู้กับเด็ก ๆ ที่มาเรียนรู้ใน พิพิธภัณฑ์ “เริ่มปรับเปลี่ยนตัวเองช่วงนี้แหละค่ะ พูดคุยมากขึ้น แล้วเด็ก ๆ กรุงเทพฯ นี่ไม่ใช่ถาม ประโยคเดียวแล้วจบ แต่ถามเป็นชุดต่อ ๆ กันเลย เราต้องพร้อมตอบตลอด แล้วก็เริ่มได้คิด ท�ำการทดลองไปด้วย สนุกดี ถึงต้องเจอคนเยอะหน่อยก็ถือเป็นเรื่องต้องปรับตัว ยิ่งท�ำก็ยิ่งรู้สึก 165

∞∞

ชอบ แต่แม่เริ่มไม่ค่อยชอบเพราะไปอยู่ไกล บ้าน ความฝันแม่คืออยากให้เป็นครู ตามเรา กลับบ้านอยู่เรื่อย จนสุดท้ายก็ต้องกลับมาส อบครู แต่ไม่ตดิ ค่ะ ก็อา่ นหนังสือบ้าง ไม่อา่ น บ้างเพราะใจจริงเราไม่ได้อยากเป็นครู” เมื่อไม่ได้เป็นครูตามฝันของแม่ “อุ๊” เริ่มเรียนรู้วิธีการทอผ้าไหมจากแม่และยาย คิดเป็นลวดลายต่าง ๆ เป็นที่ต้องการของ ตลาดมาก เธอเล่าว่าช่วงนั้นคือ ปี ๒๕๔๗ นั่งทอผ้าไหมกันทั้งวันทั้งคืน ซึ่งเธอหันมา ทดลองวิทยาศาสตร์ดว้ ยการหาพืช หาเปลือก ไม้ หาวัตถุดิบจากธรรมชาติมาทดลองสร้าง เป็นสีสนั ต่าง ๆ น�ำไปย้อมผ้า เรียกว่าเป็นช่วง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอขายที่สนุกสนาน มากของเธอ กระทั่งปี ๒๕๔๙ จึงตัดสินใจร่วม ท�ำงานกับสถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัด สุรินทร์ เพราะเพื่อนชวนมาช่วยกัน องค์กร รับทุนท�ำโครงการจาก สสส. เป็นหลัก ยึด หลักเลือกงานที่สามารถบูรณาการเข้ากับ

ชุมชนเครือข่าย และมีเนือ้ งานอยู่ในขอบเขต ก�ำลังการท�ำงาน เช่น โครงการรณรงค์หยุด การพนัน สามารถรณรงค์ให้เริ่มต้นได้จาก ครอบครัว วันนัน้ “อุ”๊ รับต�ำแหน่งเจ้าหน้าทีก่ ารเงิน ซึ่งแม้ไม่ใช่งานในฝัน แต่เธอก็ตัดสินใจท�ำ เพราะความคิด เดียวคือ “อยากลองดู” “เพือ่ นก็บอกว่างานสนุก วัน ๆ เจอคน เยอะ บอกว่ามัน มาก มาท�ำแล้วจะชอบ ก็โอเค อยากลอง แต่พอเข้ามาจริง ๆ ได้ ท�ำการเงิน ซึง่ มันไม่ได้เจอใคร นัง่ ท�ำบัญชีอยู่ ส�ำนักงาน (หัวเราะ) ท�ำเสร็จว่าง ๆ ก็อ่าน หนังสือ ในส�ำนักงานก็มีหนังสือโครงการฯ เยอะ มีวนั หนึง่ ได้อา่ นหนังสือทีเ่ ก็บข้อมูลจาก แรงบันดาลใจคนท�ำงานอาสาพัฒนา ว่าเขา ท�ำงานเพราะอะไร แล้วเป็นยังไง อ่าน ๆ ๆ ไปก็ ไ ด้ แ รงบั น ดาลใจไปขอเพื่ อ นลงพื้ น ที่ ด้วยคนนะ เดี๋ยวฉันจะรีบเคลียร์งานให้เสร็จ (หัวเราะ) อยากลองลงพื้นที่มาก” 166

∞∞



สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดสุรินทร์ เป็นองค์กรเอกชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ที่มี จิตอาสาหลากหลายอาชีพในพื้นที่ของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อท�ำงานเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพของ ครอบครัวในชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจัดกระบวนการ สร้างการเรียนรู้ อบรมพัฒนาศักยภาพ การประชุมเครือข่าย กิจกรรมแสดงผลงานด้านพัฒนาชุมชน ฯลฯ เพือ่ ส่งเสริมให้ครอบครัวมีความเข้มแข็ง เน้นกระบวนการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม (Participatory Learning : PL) ซึ่งสามารถสร้างเสริมสุขภาพของครอบครัวทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ



เริ่มต้นท�ำงานกับประเด็นรณรงค์สร้างครอบครัวต้นแบบปลอดเหล้า ชุมชนครอบครัวเข้มแข็ง เครือข่ายสุขภาวะในโรงเรียน มีการจัดการรื้อฟื้นและค้นหาภูมิปัญญาพื้นบ้านเพื่อร่วมกันสืบสาน ภูมิปัญญา ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษ รักสิ่งแวดล้อมและจัดสิ่งแวดล้อมในชุมชน จนได้ เข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายระดับพื้นที่ของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ท�ำให้เกิดแกนน�ำ ส่งเสริมการอ่านในชุมชน มุมการอ่านในครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เกิดเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน มีกิจกรรมพัฒนาแกนน�ำเยาวชนอาสาอ่านหนังสือให้กับน้องในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กฟัง และมีการเรียนรูภ้ มู ปิ ญั ญาพืน้ บ้านในรูปแบบของหนังสือท�ำมือ พร้อมจัดการประกวด ผลงานระดับต�ำบล



รวมทั้งยังได้เกิดการผลักดันให้เกิดแผนพัฒนา ๓ ปีขององค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) เกี่ยวกับงานส่งเสริมการอ่านจ�ำนวน ๒ ต�ำบลอีกด้วย ท�ำให้เห็นภาพชัดเจนในการขับเคลื่อนอย่างมี ทิศทางเดียวกันทั้งชุมชนตามบริบทของแต่ละแห่ง เช่น มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กในเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัย การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่นใน สังคม การส่งเสริมการอ่านในครอบครัวของเด็กปฐมวัย รวมไปถึงโรงเรียน

167

∞∞

และชุมชน กระทัง่ เกิดผลลัพธ์การเปลีย่ นแปลงในระดับบุคคลของเด็ก ๆ ทีเ่ ข้าร่วม โครงการ เช่น ผลการเรียนดีขึ้น ได้รับคัดเลือกเป็นประธานนักเรียน



ในขณะทีผ่ ใู้ หญ่ซงึ่ เป็นจิตอาสาท�ำงานก็ได้รบั ผลส�ำเร็จด้านต่าง ๆ อีกด้วย เช่น โรงเรียนผ่านการประเมินของ สมศ. หรือส�ำนักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ได้อย่างง่าย ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนได้เลื่อนวิทยฐานะ จากการท�ำผลงานส่งเสริมการอ่านแบบมีสว่ นร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน ส่วนครอบครัวเกิดความ สัมพันธ์อบอุ่นในครอบครัวจากการยืมหนังสือไปอ่านด้วยกัน

“อุ๊” เริ่มท�ำงานกับสถาบันครอบครัวฯ สุรินทร์ ในปี ๒๕๔๙ พอย่างเข้าปี ๒๕๕๐ ก็เริ่มลง พื้นที่ชุมชน ไปครั้งแรก ๆ นั่งสังเกตการณ์ จากนั้นค่อย ๆ พูดคุยกับผู้คนมากขึ้น จนเพื่อนเริ่ม เปิดโอกาสให้ประสานงาน และส่งงานให้รับผิดชอบ เช่น เขียนสรุปกิจกรรม จนถึงปี ๒๕๕๓ เพื่อนที่ชวนอุ๊มาท�ำงานขอขยับตัวไปท�ำงานส่วนกลางในกรุงเทพฯ ส่วนเธอยังท�ำงานในพืน้ ทีต่ อ่ จนกระทัง่ ปิดโครงการครอบครัวเข้มแข็งในปี ๒๕๕๔ สถาบัน รักลูกซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลโครงการครอบครัวเข้มแข็ง เชื่อมต่อให้ “อุ๊” ได้พบกับ “พี่เจ-สุดใจ พรหมเกิด” ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ซึ่งพร้อมสนับสนุนการท�ำงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในชุมชน “พอรูว้ า่ แผนฯ การอ่านเปิดรับโครงการ อุก๊ ค็ ดิ ว่าวัดดวงเลย เขียนโครงการเป็นครัง้ แรก จากฐานคิดเรื่องครอบครัวรักการอ่าน เพราะคิดว่าสถาบันครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของการ พัฒนาทุกสิ่งได้ สุดท้ายเข้าตากรรมการ ก็ได้ท�ำโครงการปีแรก เริ่มท�ำจาก ๑๐ ชุมชนที่ท�ำงาน 168

∞∞

ร่วมกันมาตัง้ แต่ครอบครัวเข้มแข็ง แล้วก็คอ่ ย ๆ เพิม่ เติมมาจนวันนีก้ ็ ๑๕ พืน้ ทีใ่ น ๘ ต�ำบลแล้ว” ปัจจุบนั สถาบันครอบครัวเข้มแข็งจังหวัดสุรนิ ทร์ขบั เคลือ่ นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ๒ แห่ง คือ ต�ำบลบัวโคก และต�ำบลเมืองแก บรรจุกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเข้าไปอยู่ ใน แผนพัฒนา ๓ ปีของท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวในชุมชน ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก และโรงเรียนมีนิสัยรักการอ่าน โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ใน ๑๕ พื้นที่ ครอบคลุม ๘ ต�ำบล ๕ อ�ำเภอ และขยายสู่พื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสุรินทร์ และจากการประชุม ขับเคลื่อนงานระดับต�ำบลท�ำให้ผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ๒ แห่งอนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อ หนังสือส�ำหรับมุมการอ่าน โรงเรียนละ ๒๕,๐๐๐ บาท



“ผมเป็นคนทีข่ าดโอกาสทางการศึกษา เมือ่ ได้มาอยู่ ในต�ำแหน่งนีก้ ม็ องว่าทุกคนเป็นสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน อยากมอบโอกาสให้กับลูก ๆ หลาน ๆ ในชุมชนทุกคนได้ เข้าถึงหนังสือและการอ่าน เพราะเห็นแล้วว่าการอ่านเป็น ประโยชน์จริง จึงอยากจะพัฒนาและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ดีที่สุด ด้วยการผลักดันส่งเสริมการศึกษาในชุมชนจนจัด ตัง้ เป็นนโยบายหลักลงไปยังโรงเรียนทัง้ ๗ แห่งในต�ำบลบัวโคก โดยมีชุมชนเป็นจุดส�ำคัญในการส่งเสริมการอ่าน”



สมสิทธิ์ จันทร์แดง นายกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบัวโคก อ�ำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

169

∞∞



“ผมมีแนวคิดว่าอยากจะท�ำทุกวิถีทางที่จะท�ำให้คน ต�ำบลเมืองแกมีความสุขมากที่สุด ทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจ จึงพัฒนาควบคู่กันไปทั้งทางด้านสุขภาพ คือชุมชน ปลอดเหล้า อาหารปลอดภัย และทางด้านจิตใจ คือการ ส่งเสริมการอ่านแบบมีความสุข”

จักรกฤษณ์ พาณิชย์กิจเจริญ นายกเทศมนตรีตำ� บลเมืองแก อ�ำเภอท่าตูม จังหวัดสุรนิ ทร์

ทุกวันนี้ ๑๐ พื้นที่ท�ำงานครอบครัวเข้มแข็งยังคงอยู่เป็นเครือข่ายของ “อุ๊” อย่าง เหนียวแน่น อุ๊บอกว่าหัวใจในการเชื่อมโยงพื้นที่ให้อยู่ยืนยาวของเธอคือ ให้ความส�ำคัญกับเครือข่าย อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ได้ตดิ ต่อกันแค่เมือ่ ต้องการให้เครือข่ายมาท�ำงานของโครงการต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังติดต่อถึงกันเสมอในงานส่วนตัวหรืองานส่วนรวมของชุมชน เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ บวชพระ เทศกาลงานบุญประเพณี “ถือว่าเป็นพี่น้องกัน เป็นมิตร คุยกันแล้วก็สบายใจดี ในใจเราปรารถนาดีกับเขา แล้วเรา ก็อยูก่ บั เขาเสมอ ไม่ใช่เอาโครงการไปให้ทำ� แล้วตัวก็หนีหาย แต่พวกเราร่วมหัวจมท้ายกันตลอด เหมือนเป็นเครือญาติกันไปแล้ว” 170

∞∞

สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดสุรินทร์ ท�ำงานการอ่านมาแล้ว ๕ ปี พื้นฐานเครือข่าย ครอบครัวเข้มแข็งช่วยให้สอื่ สารประเด็นสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนได้มาก เนือ่ งจาก ผู้น�ำชุมชนที่เป็นภาคีในพื้นที่ช่วยประสานงานได้เยอะมาก ตั้งแต่ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) องค์การบริหารส่วนต�ำบล อบต. ซึ่งเมื่อมีผู้บริหารท้องถิ่น คนใหม่ ผู้น�ำชุมชนเป็นบุคคลส�ำคัญที่สามารถเชื่อมต่อให้สื่อสารกันได้สะดวกยิ่งขึ้น

“ผู้น�ำชุมชน เป็นแกนน�ำส�ำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาสังคมได้ทุกเรื่อง”

ผู้น�ำชุมชนที่ “อุ๊” ท�ำงาน ด้ ว ยส่ ว นหนึ่ ง เป็ น ผู ้ ใ หญ่ บ ้ า น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จิตอาสา รวมไป ถึงต�ำแหน่งอื่น ๆ ในชุมชนที่ท�ำ กิจกรรมในชุมชนสม�ำ่ เสมอ พร้อม กับคนที่เป็นผู้น�ำตามธรรมชาติ สามารถเป็ น แกนส� ำ คั ญ ในการ ชวนคนเข้ า ร่ ว มท� ำ กิ จ กรรมได้ คนในชุมชนให้ความเชื่อถือ หลักการท�ำงานชุมชน “เราก็ค้นหาคนที่ใช่ไปเรื่อย ๆ” เธอบอกว่า ฟังดูแล้วเหมือนง่าย แต่ตอ้ งมัน่ คงทีจ่ ะค้นหาต่อไปเรือ่ ย ๆ ไม่วา่ จะเจอที่ใช่แล้วหรือไม่กต็ าม ก็ยงั คงต้องค้นหาไปเรือ่ ย ๆ

การติดต่อเชื่อมงานเข้าไปพูดคุยกับหน่วยงานของพื้นที่ ใหม่นั้น “อุ๊” เลือกพาคนที่เป็น

171

∞∞

แกนน�ำและมีบทบาทส�ำคัญในพื้นที่นั้น ๆ ไปด้วย โดยเน้นการพูดคุยแบบสบาย ๆ ไม่ต้องเปิด คอมพิวเตอร์ ไม่ต้องมีสคริปต์ล่วงหน้า แต่เป็นการไปขอค�ำปรึกษา แล้วพูดคุยกัน “อุไ๊ ม่เคยไปเปิดเอกสารโครงการ เพราะเน้นคุยไม่ให้เขากังวลใจหรือกดดัน ไม่ใช่เป็นการ โกหกนะ เป็นการคุยความจริงแบบผ่อนคลาย สบาย ๆ อะไรท�ำได้ท�ำไม่ได้ ก็สบาย ๆ ค่อย ๆ ว่ากันไป เราเห็นว่าพื้นที่มีศักยภาพ ก็ยืนยันไปว่าพื้นที่ท�ำได้นะ ลองท�ำดูก่อนมั้ย”

ในที่สุดค�ำว่า “ลองท�ำดู” ก็ถูกแพร่ขยายไปยังหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ ของ “อุ๊”

จากนั้นเธอใช้วิธีค่อย ๆ เล่าถึงพื้นที่ซึ่งท�ำส�ำเร็จแล้วว่ามีจุดน่าสนใจอย่างไร ใช้กลยุทธ์ ยังไงบ้าง “บางครั้งไปเปิดพื้นที่ใหม่นี่ขนกันไปทั้งคณะท�ำงานเครือข่ายเลย แต่คนพูดเจรจางานก็ คนเดียวนะ จนมีหน่วยงานหนึ่งหลังจากเขายินดีเป็นเครือข่ายแล้ว บอกอุ๊ว่า ถ้าคุณมาคนเดียว ผมไม่เอานะ แต่นี่พวกคุณมาเป็น ๑๐ มันต้องเป็นศักดิ์ศรีของผมไง คุณมาเยอะถ้าผมไม่เอา เดี๋ยวคุณเอาไปพูดต่อ (หัวเราะ) ซึ่งก็เป็นผลดีกับงานมาก”

“จุดเด่นของอุ๊ คือ เข้าหาคนง่าย เป็นกันเอง ไปไหนมาไหน มีของฝากติดไม้ตดิ มือถึงชาวบ้าน ใจเย็น พูดจาก็นมุ่ นวล อ่อนหวาน น�ำ้ เสียงไม่กระโชกโฮกฮาก หลักการท�ำงานชุมชนของเรา คือ มองหา คนที่มีใจ พร้อมเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง ซึ่งคนมีใจก็สังเกตง่าย ๆ จากการให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนสม�่ำเสมอ”



สมุทร สนิทพันธ์ คณะท�ำงาน สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดสุรินทร์

172

∞∞

“ไปพื้นที่ ไหน เชื่อมกับใคร จะได้หรือไม่ได้ยังไม่รู้ ขอให้เราได้คุยก่อน ไปด้วยความ เชือ่ มัน่ ในศักยภาพของพืน้ ทีเ่ ขา ส่วนรูปแบบกิจกรรมก็ตามสไตล์ทถ่ี นัดเลย เพียงแค่ให้ตอบโจทย์ เดียวกัน เราคิดว่าจากสุรินทร์ไปกรุงเทพฯ มันไปได้หลายวิธี เครื่องบิน รถไฟ รถทัวร์ รถยนต์ รถตู้ เยอะมาก หรือแม้แต่เดิน ก็เลือกเอาสิ่งที่ถนัดเลย สุดท้ายก็ไปถึงกรุงเทพฯ เหมือนกัน ฉะนัน้ การส่งเสริมการอ่านในชุมชนมันก็ทำ� ได้หลายวิธเี หมือนกัน เราเปิดกว้างให้ทำ� ตามทีถ่ นัด” หลักส�ำคัญของการหาคนที่ใช่และเป็นกลไกสนับสนุน คือ การถามหาจากคนท�ำงานหรือ แกนน�ำชุมชน จากนั้นทีมงานจะร่วมกันวิเคราะห์หาบุคคลส�ำคัญในแต่ละพื้นที่เพื่อลงมือ

“การสือ่ สารรายละเอียดโครงการฯ ทีย่ ากสุด คือพืน้ ทีซ่ งึ่ มีการ เปลี่ยนแปลงผู้น�ำท้องถิ่น เนื่องด้วยหลายปัจจัย เช่น คนใหม่ ไม่ต้องการสานงานของคนเก่าเพราะเป็นคู่แข่งกัน ดังนั้น แกนน�ำ ชุมชนจึงเป็นกลไกส�ำคัญที่น�ำผลงานสื่อสารแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ ที่เกิดผลดีกับชุมชนได้จริงอย่างต่อเนือ่ งด้วย ท�ำไปจนกว่าจะเกิด ความเข้าใจและให้ความร่วมมือ หาวิธีการไปเรื่อย ๆ



บางพื้นที่ คนส�ำคัญที่สุด (Key Person) ก็เป็นภรรยาของผู้อ�ำนวยการโรงเรียน ภรรยาของ นายก อบต. ซึง่ พอเชือ่ มได้กช็ ว่ ยขยับงานได้เยอะมาก ตอนสมัยเรียนเคยได้ยนิ อาจารย์เขาพูดกันเองว่า ถ้าเข้าหานายกไม่ได้ ก็ไปคุยกับเมียนายกสิ พอผมมาเจอสถานการณ์จริง ๆ ก็เออเฮ้ย ลองดูดีกว่า ก็ได้เรื่องเลย ส�ำเร็จจริง ๆ พอภรรยาบอกว่ากิจกรรมนี้ดีนะ น่าสนใจกับบ้านเรา ท่านนายกก็กลับมา สั่งลุยต่อเลยครับ” ลูกศร-วัชรินทร์ ดียิ่ง คณะท�ำงาน สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดสุรินทร์

173

∞∞

สร้างเครือข่ายด้วยใจถึงใจ เส้นทางการท�ำงานพัฒนาสังคมของ องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization หรือ NGO) ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ไม่ได้เอื้ออ�ำนวยด้านค่าตอบแทน จนหลายคนทีแ่ ม้มีใจอยากท�ำงานเพือ่ สังคม แต่ไม่อาจทนสถานภาพค่าตอบแทนน้อย กว่าที่จ�ำเป็นได้ ต้องหมุนตัวกลับไปท�ำงาน อื่น ๆ ที่ได้ค่าตอบแทนพอเพียงกับการดูแลชีวิตตนและครอบครัว แต่ “อุ๊” ยังคงเลือกสวมหมวก NGO กับบทบาทนักพัฒนาสังคมภาคประชาชน “ช่วงแรก ๆ แม่บอกเหมือนกันว่ามีสอบราชการที่ไหนให้ไปสอบนะลูก งานนี้มันเดินทาง บ่อย อันตราย แม่เป็นห่วง เงินเดือนก็น้อย แล้วก็ไม่ค่อยได้อยู่บ้าน ก็คุยกันว่าเราชอบงานนี้แล้ว ขอไม่เปลี่ยนนะแม่ แต่อุ๊หันมาจัดสรรเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น หลัง ๆ แม่ก็เริ่มเข้าใจว่าเรา ชอบ เรื่องเงินทองที่อาจจะน้อยหน่อยก็ไม่เป็นปัญหา เพราะครอบครัวเราก็ดูแลตัวเองได้ดี” แม้ว่าค่าตอบแทนไม่มากนัก แต่เวลาลงท�ำงานพื้นที่แล้วได้เห็นรอยยิ้มของผู้คนแล้ว มีความสุข ได้ฟงั เรือ่ งราวดี ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชน ระหว่างทีข่ บั เคลือ่ นโครงการฯ เธอก็เกิดก�ำลังใจ มีพลังท�ำงานต่อไป

“เรือ่ งรายได้กก็ นิ อยูแ่ บบพอเพียง สบาย ๆ จะไปให้มเี งินเดือน ๒-๓ หมืน่ ก็คงไม่ใช่ เพราะ 174

∞∞

มันคืองานอาสาเพือ่ พัฒนา งบประมาณไม่ได้ มีเยอะ ซึ่งมันก็ท�ำให้มีบ้างที่อาจต้องน�ำเงิน ส่วนตัวเราออกมาใช้ท�ำงานด้วยซ�้ำ บางครั้ง ไปอบรมให้ท้องถิ่นกัน ๔-๕ คน เขาใส่ซอง ค่าวิทยากรมา ๑ พันบาท อุ๊ก็จัดแบ่งให้น้อง ๆ อาสาไป เพราะเรามีเงินเดือนอยูแ่ ล้ว ถึงไม่ มากแต่ก็มีเงินเดือน หรือบางงานที่ไม่ได้เงิน แต่ยงั ไงเราก็ตอ้ งได้กนิ ข้าวด้วยกัน ๑ มือ้ แน่ ๆ แค่นี้ก็เป็นความสุขของเราแล้ว” ประเด็ น ส� ำ คั ญ ที่ เ ป็ น พลั ง ในการ ท�ำงานอีกเรื่อง คือ โชคดีของเธอที่มีทีมงาน ที่ดี มีพื้นฐานของหัวใจอาสาสมัครมาแต่ต้น เช่น “ลูกศร” คนรุน่ ใหม่ซงึ่ ได้ทำ� กิจกรรมเพือ่ พัฒนามาตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษา มีความ รั กในงานพั ฒ นาสั ง คมเป็ น ทุ น เดิ ม และ “สมุทร สนิทพันธ์” ซึ่งเป็นอาสาสมัครกู้ชีพ ของอ�ำเภอศรีขรภูมิมา ๑๑ ปี มีเครือข่าย ท� ำ งานระดั บ ชุ ม ชนที่ เ ชื่ อ มต่ อ กั น ได้ ด ้ ว ย จ�ำนวนมาก

นอกเหนือจากฝีมือและเครือข่ายที่มี 175

∞∞

มาเป็นทุนของทีมงาน ยังเข้าใจและยอมรับ เรื่องค่าตอบแทนงานพัฒนาสังคมที่ ไม่มาก เท่ากับการท�ำงานบริษัทเอกชนทั่วไปอีกด้วย “พี่สมุทรเขามีรถตู้ให้เช่า แล้วช่วงที่ ว่างจากการขับรถตูก้ ็ไปเป็นอาสากูภ้ ยั ใช้รถ ตัวเองนั่นส่งคนที่ประสบเหตุหรือเสียชีวิต ส่งฟรีไม่คิดตังค์ กลายเป็นว่าท�ำเรื่อยมาจน ชาวบ้านรูจ้ กั ไว้วางใจ ท�ำให้ทกุ วันนีม้ พี นื้ ที่ใน อ�ำเภอศรีขรภูมมิ าเป็นเครือข่ายเพิม่ จากทีเ่ ขา เชื่อมมาให้” “อุ๊” บอกว่าเป็นโชคดีมากที่ทุกคนใน ทีมเดินทางมาเจอกัน “เราต่างคนต่างมาช่วยกันเติมเต็ม ท�ำให้งานเคลือ่ นไปได้งา่ ยตามบุคลิกทีช่ ดั เจน ของแต่ละคน” จากบุคลิกเดิมสมัยเด็ก ๆ ซึ่งขี้อาย และไม่ชอบคุยกับผู้คน วันนี้ “อุ๊” กลายเป็น คนทีม่ เี ครือข่ายใน ๑๕ พืน้ ทีอ่ ย่างเหนียวแน่น พบเจอ พูดคุยแลกเปลีย่ นกับผูค้ นเกือบทุกวัน

ซึ่งยิ่งท�ำแล้วยิ่งค้นพบว่าเธอชอบท�ำงานชุมชน “เราลงท�ำงานในชุมชนมีความสุขมาก เมื่อก่อนตอนมาท�ำใหม่ ๆ ระหว่างสังเกตการณ์ก็ เริ่มอยากจะพูดคุยว่าเขาเป็นยังไงบ้าง ถามไปคุยไปแล้วก็ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณขึ้นมาเรื่อย ๆ มา ถึงวันนี้เจอกันก็ทักทายกัน ถามไถ่กันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ทุกพื้นที่เลย เพราะเราคิดว่าทุกคน คือครอบครัว” เธอย้อนความหลังไปช่วงเรียนหนังสือว่า ไม่เคยท�ำกิจกรรมนอกเวลาเรียนสักครั้ง เพราะ จ�ำได้ว่ามีอาจารย์คนหนึ่งเคยบอกว่าพ่อแม่ส่งให้มาเรียน ไม่ใช่มาท�ำกิจกรรม ซึ่งเธอเลือกเชื่อ สิ่งที่อาจารย์คนนั้นพูด ตั้งหน้าตั้งตาเรียนจริงจัง ทุกวันนี้เมื่อได้มาอยู่ในกิจกรรมชุมชนที่เคยรู้ว่า เพื่อน ๆ สมัยเรียนท�ำกัน เธอยิ่งรู้สึกตื่นเต้นและสนุกทุกครั้ง

“เคยเห็นเพือ่ น ๆ ท�ำค่ายอาสาพวกเยาวชน ก็คดิ ว่าเขามีจติ อาสาดี เรียนก็ตอ้ งเรียนเหมือน 176

∞∞

เราแต่ยังไปพาเพื่อน ๆ ท�ำกิจกรรมอีก มองแล้วคิดว่าเขาคงสนุก เหมือนใจลึก ๆ เราก็อยากท�ำ นะ แต่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้ท�ำ เพราะเราเป็นคนไม่กล้าแสดงออก สุดท้ายได้มาท�ำทุกอย่าง ตอนโตแทน” “อุ”๊ เชือ่ ว่าเส้นทางชีวติ ทีพ่ ลิกเข้ามาสูก่ ารท�ำงานในบทบาทนักพัฒนาสังคม เกิดจากการ อ่านหนังสือในวันนั้น วันที่เธอท�ำงานการเงินเสร็จหมดแล้ว นั่งว่าง ๆ อยู่ในส�ำนักงานครอบครัว เข้มแข็ง จึงหยิบหาหนังสือมาอ่าน จังหวะดีที่หนังสือดี ๆ สร้างแรงบันดาลใจวางอยู่ที่นั่น เป็นหนังสือของโครงการรักลูกที่ไปสัมภาษณ์แกนน�ำจิตอาสาในพื้นที่ต่าง ๆ มาลงหนังสือ “มันมีช่วงหนึ่งที่จับใจมาก คือ เป็นเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยวที่เป็นผู้น�ำชุมชน ท�ำกิจกรรม เพื่อสังคมหลายอย่าง เป็นแกนหลักให้เยาวชน ท�ำกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน ท�ำหลายอย่างแล้วก็ ท�ำได้ดีด้วย ก็คิดเลยว่า เฮ้ย ท�ำไมเราจะท�ำบ้างไม่ได้ล่ะ อยากลองท�ำดูบ้าง” ความคิดทีว่ า่ “อยากลองท�ำดู” ของเธอในวันนัน้ สร้างการเปลีย่ นแปลงให้กบั ตนเองและ ผู้คนอีกมากมายในหลาย ๆ ชุมชน เธอเล่าว่าช่วงตั้งต้นเขียนโครงการและดูแลโครงการให้ ส�ำเร็จด้วยตัวเองเป็นเรื่องยากไม่ใช่น้อย แต่เธอผ่านมาได้ด้วยความคิดที่ว่า “ลองดูก่อน” ท�ำให้ เต็มที่ก่อน ส�ำเร็จหรือไม่ว่ากันอีกที ถือเป็นการให้โอกาสตัวเองในการเรียนรู้

แม้ว่าวันนี้เธอไม่ได้เป็น “นักทดลองทางวิทยาศาสตร์” แต่วิถีชีวิตทุกช่วงของเธอกลับเต็มไปด้วย “การทดลอง”

และยังเป็นการทดลองที่ ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นความส�ำเร็จด้านพัฒนา ครอบครัวและชุมชนทั้ง ๑๕ พื้นที่อีกด้วย

ความชื่นชอบทดลองท�ำดูของเธอน�ำไปสู่การพัฒนาตนเองหลายด้าน “อุ๊” ใช้ชีวิตทุกวัน 177

∞∞

ด้วยการค้นหาและเรียนสิ่งที่ยังไม่รู้เพื่อพัฒนาตนกับงาน จากการอ่านหนังสือ จากการอบรม สัมมนา ที่ส�ำคัญคือเธอพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้จากสังคมรอบตัว จากการประสานงาน การท�ำกิจกรรม การรับฟังเครือข่ายที่มีทั้งเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ผู้น�ำชุมชน คุณครู เด็ก ผู้ปกครอง หลายต่อหลายคนหอบเรื่องราว ทั้งงานและส่วนตัวมาหารือพูดคุยด้วย

“นอกจากเราฟังแล้วได้เรียนรู้ เรายังได้เป็นคนให้ก�ำลังใจกับคนที่มาคุยด้วยอีก บางเรื่อง ถ้ามีประสบการณ์ตรงก็อาจให้ขอ้ เสนอแนะทีเ่ หมาะสมกันไปบ้าง แค่เขามาคุยกับเราแล้วสบายใจขึน้ มีความสุขมากขึ้น เราเองก็สบายใจไปด้วยแล้ว” ความสบายใจในการท�ำงานของเครือข่าย คือ หัวใจส�ำคัญในการท�ำงานพัฒนาชุมชนของ สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดสุรินทร์ “อุ๊” เล่าว่าไม่มีการบังคับให้ผลลัพธ์ต้องออกมา แบบไหน เพียงแค่ได้ลงมือท�ำเต็มทีเ่ ท่านัน้ ผลทีอ่ อกมาส�ำเร็จหรือไม่เป็นเรือ่ งของการเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนาต่อ ดังนัน้ ทุกพืน้ ทีเ่ ครือข่ายก็สามารถท�ำงานแบบเป็นสุขใจ เพราะได้รบั โอกาสให้ออกแบบ 178

∞∞

และพัฒนารูปแบบการท�ำงานในชุมชนเองตามบริบทของพื้นที่ “พอคนท�ำงานมีความสุข เขาก็อยากจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนแต่ละพื้นที่มีผลงานเกินกว่า ทีต่ งั้ ไว้เยอะมาก ซึง่ พอพีเ่ จ (ผูจ้ ดั การแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน) ลงมาดูงานในพืน้ ที่ ก็จะถามตลอดว่า ไม่เหนื่อยหรือลูก งบให้มา ๑๐ หนูท�ำ ๑๐๐ อย่างนี้ บางกิจกรรมชุมชนก็คิด เสริมขึ้นมาท�ำเองนอกเหนือจากที่อยู่ในแผนโครงการฯ มันเป็นการท�ำด้วยใจที่อยากจะท�ำจริง ๆ”

เมื่อคนในชุมชนท�ำงานอย่างสุขใจ อุ๊บอกว่าทีมงานก็ได้รับความสุขใจด้วยเช่นกัน

“แค่ได้รบั ความชืน่ ชมยินดีกถ็ อื ว่าเป็นของขวัญจากสังคมแล้ว ถ้ามองไปเรือ่ งวัตถุก็ได้นะ แค่เราเข้าชุมชนก็ได้รับของฝากจากชาวบ้าน ขนกลับแทบไม่หวาดไม่ไหว หน้าไหนปลูกอะไร เก็บมาฝากกันหมด ข้าว ผัก ผลไม้ ทุกคนอยากเอามาให้เราด้วยใจ ส่วนเมื่อมองไปเรื่องจิตใจ คือ เรารูส้ กึ ผูกพัน ทุกพืน้ ทีเ่ หมือนกับเป็นญาติพนี่ อ้ งกันมาก่อน ถือว่าเป็นคนครอบครัวเดียวกัน มีกิจกรรมหรืองานบุญกุศลอะไร เขาโทรชวนเราตลอด”

179

∞∞

= Growth Mindset = - ให้เกียรติชุมชนได้ท�ำงานตามบริบทและความต้องการของเขาเสมอ - ครอบครัวเป็นรากฐานของการพัฒนาสังคม - สิ่งใดที่ยังไม่เคยท�ำ ก็สามารถทดลองท�ำได้เสมอ - ไม่ว่าผลลัพธ์จากการท�ำงานจะเป็นอย่างไร เป็นบทเรียนสู่การพัฒนาได้ทั้งสิ้น - ไม่ขโมยผลงานคนอื่นมาเป็นของตัวเอง - แกนน�ำชุมชน คือ หัวใจส�ำคัญของการส่งเสริมพัฒนาชุมชน - Key Person อาจอยู่ข้าง ๆ คนที่มีอ�ำนาจสั่งการก็เป็นได้ - งานพัฒนาชุมชน ต้องให้ชุมชนเป็นคนลงมือท�ำ

180

∞∞



“ผมเป็นผู้น�ำที่เป็นผู้ตามด้วย ทุกวันนี้ที่ได้ความร่วมมือจาก ทุกคน คิดว่าเพราะการให้โอกาสและมอบความเชื่อใจให้ชาวบ้านได้ ท�ำงานกันอย่างเต็มที่ ผมเป็นแค่คนที่ขนความรู้และโอกาสมาส่งต่อให้ ชาวบ้าน จากนัน้ เป็นหน้าทีข่ องทุกคนทีจ่ ะหยิบจับและน�ำไปใช้ได้เท่าไร



ทุกวันนีท้ ผี่ มยังท�ำงานชุมชนอยู่ เพราะท�ำแล้วจิตใจผมนีม่ คี วาม สุขมาก มันรูส้ กึ ดีใจ ภูมใิ จทีผ่ มเองมีสว่ นในการผลักดันให้เด็ก หรือเยาวชน หรือคนทีอ่ ยูใ่ นชุมชน มีโอกาสได้เรียนรูใ้ นสิง่ ทีไ่ ม่รนู้ ะครับ โดยเฉพาะการอ่านออก เขียนได้ตามวัยทีเ่ หมาะสมของพวกเขา” สุนทร ธรรมนาม ผู้ใหญ่บ้านหนองคูน้อย ต�ำบลเมืองแก จังหวัดสุรินทร์

    “ตอนนี้ผมเป็นผู้น�ำการสืบค้นองค์ความรู้ด้วยการอ่าน สามารถ เสนอความรู้ที่ถูกต้อง ได้เป็นผู้ฟังที่ดี ฟังมากขึ้น ปรารถนาดีกับผู้อื่น ที่ส�ำคัญกระบวนการอบรมของโครงการฯ ส่งเสริมให้เกิดจิตอาสาอย่าง เป็นรูปธรรมมากขึ้น คือผู้ใหญ่หลาย ๆ คนได้เจอกับช่องทางที่จะสร้าง คุณค่าให้กับตัวเองและชุมชน กิจกรรมเราเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เขา ได้ท�ำความดี ผมชอบกิจกรรมมุมหนังสือประจ�ำบ้าน เพราะท�ำให้ครอบครัวมีโอกาสเข้าถึงความ รู้มากขึ้น พ่อแม่ลูกได้อ่านหนังสือที่สนใจร่วมกัน และอีกกิจกรรมคือ หนังสือเล่มโปรด ก็ท�ำให้เกิด การแบ่งปันหนังสือที่ตัวเองชอบเผื่อแผ่ไปยังคนอื่น ๆ ได้ด้วย อนาคตอยากให้ส่วนราชการประกาศ การอ่านเป็นวาระจังหวัดสุรินทร์ นครแห่งการอ่าน มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนือ่ ง”



อาจารย์ชัยวัฒน์ ไชยทอง โรงเรียนสนมวิทยาคาร อ�ำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์

181

∞∞

บทที่ ๔

พื้นทีภ ่ าคเหนือ

อ่านสร้างสุข สุรารักษ์ ใจวุฒิ

เราเชื่อว่าทุกคนเปลี่ยนได้ : ปุ้ย มะขามป้อม-เชียงดาว อ่านสร้างคุณภาพชีวิต อ่านเพื่อสิทธิอันเท่าเทียม เชียงดาวเป็นอ�ำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง “ดอยหลวงเชี ย งดาว” คื อ แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ว ธรรมชาติที่เป็นภูเขาสูงอันดับ ๓ ของประเทศไทย หลายคนจากต่างถิน่ มองว่าทีน่ เี่ ป็นเมืองโรแมนติก อากาศดี เหมาะแก่การพักตากอากาศในยามหย่อนใจ ไม่แตกต่างนักจาก “ปุย้ -สุรารักษ์ ใจวุฒ”ิ ทีเ่ มือ่ ๑๐ ปีก่อนตั้งใจเก็บกระเป๋าเสื้อผ้ามาลงพื้นที่ท�ำงาน วิจยั ชุมชนในอ�ำเภอเชียงดาวสัก ๓ เดือน ด้วยความคิด ที่ว่าน่าสนุก ดูเป็นเมืองที่อยู่สบาย ๆ

วันนั้น “ปุ้ย-สุรารักษ์” มาท�ำงานให้ กับ “มูลนิธิสื่อชาวบ้าน” หรือ กลุ่มมะขาม ป้อม องค์กรท�ำงานด้านการศึกษา งานอบรม และการแสดง ซึ่ ง มี ส� ำ นั ก งานใหญ่ อ ยู ่ ที่ กรุงเทพฯ และมีส�ำนักงานย่อยท�ำงานด้าน ชุมชนอยู่ที่อ�ำเภอเชียงดาว จากจุดเริม่ ต้นที่ ๓ เดือน ทีค่ ดิ ไว้คราว นั้น ปัจจุบัน “ปุ้ย-สุรารักษ์” กลายเป็น “ปุ้ย มะขามป้อม” ท�ำงานเพลิน ๆ อยู่ที่เชียงดาว ยาวมาแล้ว ๑๐ ปี กับความสุขที่อยู่ล้อมรอบ รายทางวิถีนักละครเพื่อการพัฒนาสังคม ปัจจุบนั “ปุย้ ” เป็นตัวแทนของมะขาม ป้อมรับหน้าที่ดูแล “โครงการอ่านยกก�ำลัง สุข สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในกลุ่ม ชาติพนั ธุ์ ปี ๒” ร่วมกับคณะท�ำงานผูร้ กั การ อ่านแห่งมะขามป้อมเชียงดาว มูลนิธิสื่อชาวบ้าน หรือ มะขามป้อม ส�ำนักงานเชียงดาว เป็นอีก ๑ ใน ๑๑ องค์กร ที่จับมือเป็นภาคีเครือข่ายเคลื่อนงานสร้าง เสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน ตัง้ เป้าหมาย 185

∞∞

ชัดเจน คือ การท�ำงานขับเคลื่อนสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่านในกลุ่มชาติพันธุ์ มุ่งเน้น ให้ ก ารอ่ า นเป็ น เครื่ อ งมื อในการพั ฒ นา คุณภาพชีวิตของผู้คนและชุมชน มีเป้าหมาย ใหญ่ คือ ต้องการให้เกิดสังคมที่มีปัญญา ทุ ก คนได้ อ ่ า นหนั ง สื อ เกิ ด ประชากรที่ มี คุณภาพ สามารถวิเคราะห์แยกแยะเรือ่ งราว ต่าง ๆ ในการใช้ชวี ติ ได้ บนพืน้ ฐานของสังคม ที่เท่าเทียมกัน ไม่มีฝ่ายใดเป็นผู้กระท�ำและ ไม่มีฝ่ายใดเป็นผู้ถูกกระท�ำ “มะขามป้อม” เป็นองค์กรพัฒนา เอกชนทีท่ ำ� งานพัฒนาสังคมโดยใช้ละครเป็น เครื่องมือหลัก เช่นเดียวกับการท�ำงานสร้าง เสริมวัฒนธรรมการอ่าน มูลนิธิสื่อชาวบ้าน ใช้ละครเป็นเครื่องมือหนึ่งในกระบวนการ ส่งเสริมการอ่านมาร่วม ๑๐ ปี จนเป็นที่รู้จัก และได้การยอมรับในระดับประเทศ ภายใต้ การน�ำของทีมงานมะขามป้อม ส�ำนักงาน กรุงเทพฯ

“ปุ้ย” เคยเป็นส่วนหนึ่งในทีมเวิร์กช็อปดังกล่าว เมื่อวันหนึ่งเธอได้รับโจทย์ให้ขับเคลื่อน ประเด็นการอ่านในอ�ำเภอเชียงดาว เธอลงมือท�ำตามแนวคิดฐานเดิมขององค์กรได้ระยะหนึ่ง ระหว่างทางท�ำงานเกิดการขบคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนกันของทีมงานที่เชียงดาวอีกหลายต่อ หลายครัง้ เมือ่ ท�ำกิจกรรมแต่ละครัง้ จบ เพือ่ เป็นตัวก�ำหนดการตัดสินใจและหารูปแบบการท�ำงาน ที่เหมาะสม เช่น การประเมินเครื่องมือการท�ำงานของตัวเองอัน น�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยคณะท�ำงานพูดคุย ถกเถียง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเข้มข้น กระทั่งในปี ๒๕๕๖ เกิดการตกผลึกทางความคิดร่วมกันในทีมว่า “ละคร” คือเครื่องมือ ที่มีลักษณะของความเป็น “Outside-In” ในขณะที่การอ่านอย่างยั่งยืนที่เกิดขึ้นกับแต่ละคน นั้น ควรเริ่มจากลักษณะที่เป็น “Inside-Out” คือ เริ่มต้นจากภายในของตัวบุคคลเอง 186

∞∞

ดังนั้น ทีมงานจึงพยายามคิดและทดลองหลักสูตร (Modules) และเครื่องมือ (Tools) รูปแบบใหม่ ในรูปแบบของการอบรมพัฒนาศักยภาพแกนน�ำทีป่ ระสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก เกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายในของแกนน�ำผู้เข้าร่วมอบรมทั้งในกลุ่มครู กศน. กลุ่มแกนน�ำ เด็ก และแกนน�ำชุมชน “เมือ่ ก่อนเราคิดเยอะ ใช้เครือ่ งมือซับซ้อน แสดง ร้อง เต้น แต่ทกุ วันนีเ้ ราท�ำกระบวนการ ที่พาหนังสือกับคนมาเจอกัน ชวนให้อ่าน ชวนคุย ชวนคิด วิเคราะห์กัน แล้วก็เสริมเทคนิคที่ สนุก ๆ เข้าไป มันง่ายขึ้น แล้วก็ได้ผลลัพธ์ที่เวิร์กขึ้น” ปุ้ยเล่าว่าหัวใจหลักของการจัดการ ทีมงานภายใน คือ การเลือกคนที่ใช่ ท�ำงานด้วยใจ จนตกผลึกทางความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน “ปีนี้ (๒๕๕๘) เป็นปีที่เราคุยกันจาก Inner ล้วน ๆ คือการใช้ใจน�ำ เรื่องอยากอ่านมัน มาจากข้างใน มันเป็นเรื่องของ Inside-Out ซึ่งมันเกี่ยวเนื่องกับทีมงานด้วย พวกเราก็ใช้ใจน�ำ เหมือนกัน ทุกวันนี้ทีมงานเราจะมีเฉพาะคนที่อ่านหนังสือจริง ๆ”

การอ่าน-ชาติพันธุ์-จุดเปลี่ยน เส้นทางชีวิตของ “ปุ้ย มะขามป้อม” ดูเหมือนขับเคลื่อนด้วยความสนุกมาแต่ก่อนกาล นับแต่วันที่เลือกเรียน “ประวัติศาสตร์” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ทั้งที่สอบติดหลายแห่ง ด้วยเหตุผลที่ว่า การรับน้องรถไฟน่าสนุกดี รวมทั้งชอบอาจารย์ในรอบสอบสัมภาษณ์ที่ถามเธอ กลับถึงนิยายที่ชอบอ่าน หลังจากเธอถามอาจารย์ไปก่อนว่าต้องเรียนแล้วต้องท่องหนังสือเยอะ หรือเปล่า เพราะเธอท่องจ�ำไม่เก่ง 187

∞∞

“ความลั บ บนแหลมไซไน ของ โสภาค สุวรรณ” คือค�ำตอบวันนั้นที่อาจารย์ ฟังแล้วการันตีว่าเธอเรียนได้ ปุย้ เกิดทีเ่ ชียงใหม่แต่ยา้ ยถิน่ ฐานตาม ครอบครัวไปเรือ่ ยจนหยุดทีจ่ งั หวัดเพชรบูรณ์ ช่วงวัยอนุบาลเธออาศัยอยู่กรุงเทพฯ พ่อแม่ชอบอ่านหนังสือกระทั่งมีห้องสมุดใน บ้าน “พ่ อ แม่ เ ป็ น ชนชั้ น กลางยุ ค คนตุ ล า ทีบ่ า้ นมีหนังสือเยอะมาก เขาจะซือ้ การ์ตนู ชุด มาไว้ให้อ่าน เราอยู่บ้านไม่รู้ว่าจะท�ำอะไร ก็คว้าหนังสือมาอ่าน อ่านแล้วอ่านอีก ไม่รวู้ า่ เหมาะกับวัยหรือเปล่าก็อ่านไป แม่ชอบซื้อ นิตยสารเล่มใหญ่ทรี่ ปู สวย ๆ พวกกะรัต บ้าน และสวน เราก็พลอยได้อ่านวรรณกรรม เยาวชนในนัน้ ไปด้วย เราอ่านหนังสือกระโดด ข้ามขั้นมาแต่เด็ก” ในวัยเด็ก “ปุ้ย” ไม่ชอบเรียนหนังสือ ไม่ชอบท�ำกิจกรรมในโรงเรียน แต่ชอบอ่าน

หนังสือ “เพิ่ ง มารู ้ ต อน โตนี่แหละว่าการอ่าน หนังสือตั้งแต่เล็ก ๆ ท�ำให้เราฉลาด จับใจ ความได้ อ่านหนังสือเร็ว ท�ำข้อสอบได้ เข้าใจ เรื่องต่าง ๆ ได้ง่าย” เธอนิยามตัวเองในวัยเรียนมัธยมว่า เป็นคนแปลกแยกจากสังคมกลุม่ ใหญ่ เพราะ เธอเที่ยวกลางคืนสัปดาห์ละ ๗ วัน แต่งหน้า กรีดขอบตา และแต่งตัวแบบพั้งก์ “ไม่เคยรู้จักค�ำว่าชุมชน เป็นคนติด เที่ ย ว แต่ ง ตั ว แบบพั้ ง ก์ ทาขอบตาด� ำ แต่งหน้าจัด ดืม่ เหล้า สูบบุหรีม่ าตัง้ แต่วยั รุน่ ” แต่ ในขณะเดียวกัน เธอก็เริ่มเป็น อาสาสมัครตัง้ แต่เรียนมัธยม ด้วยเหตุผลทีว่ า่ “น่าสนุกกว่าเรียนหนังสือ” “อาสาสมั ค รคื อ อะไรยั งไม่ รู ้ ห รอก ก็ไปกับชมรมเพื่อนเตือนเพื่อน ได้เดินแจก ถุงยางท�ำความเข้าใจเรือ่ งนีก้ บั ชาวบ้าน สนุกดี 188

∞∞

เพราะมีเพื่อนเยอะ ไม่ได้ไปท�ำเพราะอยากกู้โลกอะไรแบบนั้น” เมื่อได้เรียนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มท�ำงานออกค่ายอาสาพัฒนาชนบท เรียนรู้วิถีชีวิต บนภูเขาและยอดดอยของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ จึงค่อย ๆ หัดพูดภาษาเหนือ จนไปถึงภาษาของชาติพนั ธุ์ ปกาเกอะญอ “ช่วงปี ๒๕๔๐ ที่เราเรียน มช. เป็นยุควัฒนธรรมชุมชนเฟื่องฟู โดยเฉพาะประเด็นป่า ชุมชน เราลงพื้นที่จนเข้าใจวิถีวัฒนธรรมชุมชน พูดภาษาปกาเกอะญอได้ ได้เข้าร่วมชุมนุมกับ ชาวบ้านในประเด็นป่าชุมชน พูดกันเรือ่ งสิทธิของคนทีอ่ ยู่ในป่า สิทธิการมีปา่ ชุมชน ช่วยชาวบ้าน หุงหาอาหาร ท�ำสันทนาการ ช่วงนี้คือจุดเปลี่ยนให้เราหันมาท�ำงานเพื่อชุมชน”

จากเด็กพั้งก์ติดเที่ยว ใช้เงินกอบเก็บความสนุกจากวงสังสรรค์ยามค�่ำคืน เธอเปลี่ยน...

“เราเปลี่ยนเพราะเราเห็นและได้อยู่กับชาวบ้านวันนั้น ซึ่งมันท�ำให้เราเชื่อถึงทุกวันนี้ว่า คนทุกคนเปลี่ยนได้ เพราะเราเปลี่ยนมาแล้ว จากเด็กพั้งก์เป็นสายดาร์ก (Dark) ลูกคนรวย ไม่แคร์สังคม ได้มาเจอปัญหาของชาวบ้านในชุมชนชาติพันธุ์ มันเหมือนเราจูนกันได้ติด” ปุ้ยเชื่อว่าเป็นเพราะฐานคิดและบุคลิกภาพของเธอเองก็มีจุดแตกต่างจากสังคมกระแส หลักเช่นกัน จึงเป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ไม่มีทัศนคติเชิงลบเป็นตัวกั้นระหว่างพวกเขาและพวกเรา เธอไม่มมี มุ คิดในท�ำนองว่าชาวเขาเป็นผูต้ ดั ไม้ทำ� ลายป่าตามรูปแบบของสังคมส่วนใหญ่ในยุคนัน้ “ช่วงที่ลงชุมชนก็อยู่ได้สบาย ๆ เพราะชาวบ้านอยู่ได้ ทั้งที่เขาล�ำบากกว่าเราอีก ไฟก็ไม่มี ห้องน�้ำก็ไม่มี น�้ำก็หายาก แต่เราก็ยังรู้สึกว่าทุกคนน่ารัก เราได้คุยกันแบบมนุษ ย์กับ มนุษ ย์ เป็นเพื่อนกัน เราอ่านหนังสือแปลเยอะ มีวิธีคิดมนุษ ยนิยมอยู่ในตัวเยอะ”

ปุย้ ท�ำกิจกรรมกับชุมชนจนเรียนจบปริญญาตรี และเรียนต่อปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม 189

∞∞

เรียนจบเพียงขั้นทฤษฎี ก็หยุดเรียนหันมาท�ำงาน ด้วยความตั้งใจอยากปฏิวัติความคิดคน และ สนใจงานด้านท�ำสื่อ จึงขอไปฝึกงานองค์กรที่ท�ำสื่อเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยอยู่พักหนึ่ง ก่อนออกมา เป็นฟรีแลนซ์ (ท�ำงานอิสระ) ด้านวิจัยประเด็นสิ่งแวดล้อม ได้อยู่ในเครือข่ายภาคประชาชน เคลื่อนไหวเรื่องพลังงาน เคยรวมกลุ่มท�ำเรื่องเหมืองถ่านหินเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ “ยุคหนึ่ง เราพาชาวบ้านประท้วง แต่ ก็ ไ ม่ มี ค วามสุ ข กั บ การพาชาวบ้ า น ประท้วงเยอะ ๆ เพราะเห็นชาวบ้าน เหนือ่ ยกัน เราเลยหันมาท�ำเรือ่ งข้อมูลให้ เยอะขึ้น เพราะส่วนตัวเชื่อมาก ๆ ว่า ข้อมูลเป็นสิ่งส�ำคัญในการเคลื่อนไหว ภาคประชาชน เริ่มเอาข้อมูลมาย่อย ตัดต่อเป็นวิดโี อสือ่ สารให้เข้าใจง่าย ท�ำสือ่ ประท้วงจนเป็น specialist (ผูเ้ ชีย่ วชาญ) เรื่องเหมืองถ่านหิน ตอนนั้นคิดว่าอย่ามาประท้วงกันที่ความรู้สึก อยากให้หันมาใช้ข้อมูลกัน” กระทั่งในพื้นที่มีแกนน�ำคัดค้านเหมืองขับเคลื่อนงานต่อและสถานการณ์ดูเข้าที่เข้าทาง “ปุ้ย” จึงเคลื่อนตัวเองจากภาคเหนือลงไปสู่ภาคใต้หลังเหตุการณ์สึนามิ รับงานเก็บข้อมูล ประวัติศาสตร์ชุมชนเพื่อน�ำไปประกอบแผนที่ทางดาวเทียม ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท�ำได้ยากใน ยุคนั้น “ช่วงนัน้ เกิดเหตุการณ์กล่าวอ้างเอาทีด่ นิ ชาวบ้านของนายทุน เลยมีหลายองค์กรลงขันกัน จ้างเราไปเก็บข้อมูล เป็นงานที่ซีเรียส มีการข่มขู่ท�ำร้ายกัน ตอนนั้นชาวบ้านถือปืนคุ้มกันเลยนะ 190

∞∞

ทีเ่ ราไม่กลัวเพราะคิดว่าชาวบ้านเจออันตรายกว่า เราไปท�ำงานเดีย๋ วก็กลับ ทีส่ ำ� คัญก็มหี น่วยงาน ที่เขาจ้างเราท�ำงานดูแลเราอยู่ ไม่ได้น่ากลัวมาก”

ละคร-ชีวิต-จุดเปลี่ยน หลังจากจบงานเก็บข้อมูลทีภ่ าคใต้ ชีวติ ของ “ปุย้ -สุรารักษ์” ถึงจุดเปลีย่ นอีกครัง้ เมือ่ ตกปาก รับค�ำ “ปองจิต สรรพคุณ” หรือ “เจ๊จ๋อน” ของพี่น้องกลุ่มมะขามป้อม ที่โทรศัพท์มาชวนไป ท�ำงานที่อ�ำเภอเชียงดาวเป็นเวลา ๓ เดือน ช่วงเวลานัน้ “มะขามป้อม” เพิง่ ขยายพืน้ ทีท่ ำ� งาน จากส�ำนักงานกรุงเทพฯ มาตัง้ ส�ำนักงาน เพิม่ ทีเ่ ชียงดาว “ปุย้ ” มารับหน้าทีท่ ำ� วิจยั ข้อมูลชุมชนในพืน้ ทีเ่ ชียงดาวเป็นฐานส�ำหรับการท�ำงาน พัฒนาขององค์กร “คนที่นี่เจ๋งดี” เป็นเหตุผลที่ปุ้ยให้ตัวเองเมื่อตัดสินใจท�ำงานต่อหลังจากจบ ๓ เดือน ตามที่ตกลงไว้ก่อนหน้า

ในที่สุดจาก ๓ เดือนของ “ปุ้ย-สุรารักษ์” จึงขยับขยายเพิ่มเติมในวันนั้น

เมือ่ ตกลงใจเข้ามาอยู่ในองค์กรทีท่ ำ� งานพัฒนาสังคมด้วยเครือ่ งมือละคร ในช่วงแรก “ปุย้ ” พบว่าเธอไม่ชอบและไม่เข้าใจรูปแบบการท�ำงานด้วยละครมากนัก ด้วยพืน้ ฐานก่อนหน้าเธอบอกว่า ตัวเองเป็นนักพัฒนาสาย Hardcore พอมาเจอกับความบันเทิงแบบละครจึงเกิดช่องว่างระหว่างกัน เธอเริ่มมีความไม่แน่ ใจกับหน้างานที่เลือกท�ำอยู่ แต่ด้วยค�ำเสนอแนะของ “เฮียก๋วย-พฤหัส พหลกุลบุตร” ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) ที่บอกให้เธอลอง 191

∞∞

เรียนรู้และลงมือท�ำให้เต็มที่ก่อน ถ้าพบว่า ไม่ใช่จริง ๆ ค่อยตัดสินใจจากไป “ก็ลองอยูต่ อ่ แล้วสิง่ ทีเ่ ราได้มนั เวิรก์ มาก เช่น มะขามป้อมมีกระบวนการเรียนรู้ ทีใ่ ช้พฒ ั นาสังคมดีมาก มีเครือ่ งมือทีน่ า่ สนใจ เยอะ เช่น Mapping เป็นเครื่องมือที่ถ้าเรา รู้จักตั้งแต่สมัยไปเก็บข้อมูลสึนามิ ชาวบ้าน จะไม่ต้องเสียน�้ำตาขนาดนั้น เขาจะไม่ต้อง ไปชีจ้ ดุ ทีต่ น้ มะพร้าวหายไปทุกต้น ไม่ตอ้ งมา ตอบค�ำถามซ�้ำ ๆ แล้วร้องไห้กันเยอะมาก นักมานุษยวิทยาสมัยนัน้ ไม่คอ่ ยใช้เครือ่ งมืออืน่ นอกจากการสัมภาษณ์กับเทคนิคเฉพาะตัว แต่ทมี่ ะขามป้อมมีกระบวนการและเครือ่ งมือ ท�ำงานชุมชนทีเ่ วิรก์ มาก ๆ หลายอย่าง ก็เลย อยู่ต่อ ลองค้นหาไป” อยูต่ อ่ มาเธอพบว่าองค์กรไม่ได้ให้งาน ท�ำอย่างเดียว แต่องค์กรยังสอนให้เรียนรูช้ วี ติ ของตัวเองจากภายในผ่านการท�ำงานของ กระบวนการละคร

“ศาสตร์ละครมันลึกซึ้ง มันคือการ

ท�ำความเข้าใจมนุษ ย์ เข้าใจคาแร็กเตอร์ ที่ส�ำคัญคือเราต้องเข้าใจตัวเองและยอมรับ ตัวเอง ไม่เช่นนั้นเราจะไม่สามารถเข้าใจคน อื่นและยอมรับคนอื่นได้ มันเป็นเรื่องสันติวิธี ที่พอเราเข้าใจตัวเอง เราจะเข้าใจคนอื่น ไม่ไปต�ำหนิคนอื่น และไม่เลือกปฏิบัติ” จากคนทีเ่ คยชอบอยูค่ นเดียว หลีกการ อยูเ่ ป็นกลุม่ เลีย่ งความขัดแย้ง ละครสอนให้ “ปุย้ ” เรียนรูจ้ กั การอยูร่ ว่ มกัน รูจ้ กั การเผชิญ หน้า และอยู่ร่วมกับความขัดแย้งด้วยความ เข้าใจ ท่ามกลางคาแร็กเตอร์ของผู้คนที่ แตกต่างซึ่งมาจากภูมิหลังที่ต่างกัน “คนละครต้องอยู่กันเป็นกลุ่ม ทุกคน ต้องส�ำรวจตัวเอง ถ้าใคร Ego (ตัวตน) เยอะ ต้องลดลง ส่วนใครมีน้อยก็ต้องเพิ่ม ให้ บาลานซ์ในกลุ่ม แรก ๆ ก็ไม่คุ้นเพราะไม่ใช่ สไตล์ แต่หลัง ๆ สบาย เพราะในการอยู่เป็น กลุ่ม ทุกคนก็มีพื้นที่ของตัวเอง และที่นี่เรา ยอมรับความแตกต่าง เพศอะไร นิสัยยังไง รูปร่างหน้าตายังไง ก็อยู่ที่นี่ได้ ขอแค่เคารพ กฎกติกาส่วนรวม” 192

∞∞

การเป็นพื้นที่ยอมรับความแตกต่างขององค์กร ส�ำคัญมากกับการท�ำงานพัฒนาสังคม ในความคิดของ “ปุ้ย” เนื่องจากการยอมรับตนเองและการยอมรับกันเองในองค์กรท�ำให้ ก้าวผ่านสู่การยอมรับชาวบ้านและชุมชนได้อย่างไร้เงื่อนไข อีกสิง่ ส�ำคัญทีย่ ดึ โยงการท�ำงานของ “ปุย้ ” ไว้อย่างต่อเนือ่ ง คือ กรณีทำ� งานเพือ่ ช่วยเหลือ ชาวบ้านชุมชน “บ้านปางแดง” พืน้ ทีท่ มี่ คี ดีความเกีย่ วกับการบุกรุกพืน้ ทีป่ า่ สงวนของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ดาระอั้งซึ่งถูกล้อมจับในพื้นที่ ๓ ครั้ง มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม) เป็นหนึ่งองค์กรในพื้นที่ ร่วมท�ำงานกับภาคีเครือข่ายจ�ำนวนมาก และ “ปุ้ย” คือตัวแทนองค์กรเข้าร่วมท�ำงานนี้ ในขณะที่ตัวเธอเองไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายสัญชาติ “วันที่ชาวบ้านต้องไปศาลครั้งสุดท้าย เจ๊จ๋อน (ปองจิต สรรพคุณ) บอกว่ามีคนช่วย ชาวบ้านเยอะมาก แต่ยงั ไม่มคี นไปเป็นเพือ่ นชาวบ้านเลย มันเป็นเรือ่ งทีฟ่ งั แล้ว คลิก เออใช่ งั้นเราไปเป็นเพื่อนสิ ขับรถให้แล้วก็อยู่เป็นเพื่อนกัน เราเห็นภาพเลยว่าศาลเชียงใหม่ใหญ่มากและชาวบ้านก็ตัวเล็ก มาก เขาติดคดี พูดไทยก็ไม่ได้ และไม่ว่าจะผิดอะไรมา เขาก็ ติดคุกเกินความผิดไปแล้ว วันนัน้ เราเลยไปนัง่ ด้วย จับมือเขา หาข้าวให้กิน เรียกว่าเป็นเพื่อนอย่างเดียว ไม่ท�ำอะไรเลย เพราะเราท�ำอย่างอื่นไม่เป็น หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ ได้เข้าไป ท�ำงานกับชาวบ้านในพื้นที่” สุดท้ายศาลจ�ำหน่ายคดีไว้ชวั่ คราวโดยไม่อา่ นค�ำพิพากษา และเสนอให้ตงั้ คณะท�ำงานเพือ่ หาวิธกี ารจัดการปัญหาความเดือดร้อน ของชาวบ้านร่วมกันอย่างบูรณาการจากทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาค 193

∞∞

เอกชน และภาคประชาสังคม จนเกิดการจัดสร้าง “บ้านมั่นคงชนบทชุมชนบ้านปางแดง” ขึ้น ด้วยการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ จากหลายหน่วยงานในการจัดสรรที่ดินและ สร้างที่อยู่อาศัย พร้อมกับเงินจ�ำนวนหนึ่งเพื่อซื้อที่ดินให้ชุมชนจากการท�ำกิจกรรมระดมทุนกับ ภาคประชาชน เช่น ผ่านการแสดงละครหุ่นเงาเรื่อง “นางดอยเงิน” ของเด็ก ๆ ดาระอั้งซึ่ง เดินทางไปแสดงถึงกรุงเทพฯ วันนั้น “ปุ้ย-สุรารักษ์ ใจวุฒิ” รับต�ำแหน่งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการโครงการบ้าน มั่นคงชนบทชุมชนบ้านปางแดง ท�ำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่มีใจเต็มร้อยในการช่วย เหลือพีน่ อ้ งปางแดง จนถึงวันนี้ “ปุย้ ” ก็ยงั ท�ำงานพัฒนากับชาวบ้านปางแดงอยู่ ผ่านกระบวนการ เรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การอ่าน ละคร และกายกรรม “หลังจากย้ายหมู่บ้านมาแล้ว เราเข้าไป เยี่ ย มหา ก็ เ ห็ น ร่ า งกายชาวบ้ า นที่ ห ลั ง ค้ อ ม หน้าก้ม ในแบบละคร เราเรียกว่าแกนร่างกาย หักหมด ตั้งแต่แขน หลัง คอ มองไปแล้วก็เห็นถึง ข้างในใจเขา สิง่ ทีเ่ ราคิดต่อคือต้องท�ำให้ชาวบ้าน ยืดอกขึ้น ที่ผ่านมาเรามีวงประชุมกับชาวบ้าน ฟังเสียงของกันและกัน แต่มนั ยังไม่พอทีจ่ ะท�ำให้ เขายืดอกได้” “การยืดอก” ในความหมายของ “ปุย้ ” คือการรูส้ กึ ถึงคุณค่าของตนอย่างเต็มภาคภูมจิ าก ภายใน 194

∞∞

“ปุ้ย” จึงท�ำโครงการห้องเรียนชุมชนกับชาวบ้าน และพบว่า แม้โครงสร้างชุมชนจะหาย ไป แต่วฒ ั นธรรมยังคงอยูก่ บั ผูค้ น จึงร่วมกันค้นหาสิง่ ทีช่ าวบ้านต้องการรือ้ ฟืน้ แล้วให้ผเู้ ฒ่าสอน วิชาให้เด็ก ๆ เช่น ท�ำกับข้าว ทอผ้า ค�ำสอนของศาสนาทั้งพุทธและคริสต์ ส่วนเด็ก ๆ ท�ำหน้าที่ เป็นฝ่ายสอนภาษาไทยให้ผู้ใหญ่ “อีกเรื่องที่เยี่ยมมาก คือ มีวิชาร�ำดาบ ซึ่งตามประเพณีผู้ชายต้องเข้าไปอยู่ในป่า ๗ วัน ๗ คืน ก่อนจะมาแสดงในชุมชน มันเป็นการรื้อฟื้นรากของเขาเอากลับคืนมา เพราะวันที่ พวกเขาออกมาแสดง เราเห็นอกของทุกคนยืดขึ้นเลย ผู้หญิงก็สนุกสนาน เหมือนจะเป็น เรื่องเล็ก แต่จริง ๆ มันใหญ่มากกับชีวิตของพวกเขา” กระบวนการท�ำงานกับบ้านปางแดงสอน “ปุ้ย” หลายด้าน เธอบอกว่ารู้สึกเหมือนเป็น ผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ขับรถพาไปคลอดลูก ดูแลทุก มิติของการใช้ชีวิต การเรียนหนังสือ สุขภาพ การจัดการความขัดแย้ง รือ้ ฟืน้ วัฒนธรรมชุมชน สร้างกลุ่มละครเพื่อพัฒนาจากเด็ก ๆ จัดให้ ทนายความมาอบรมกฎหมาย ให้เด็ก ๆ น�ำ กฎหมายมาย่อยข้อมูลเป็นบทละครแล้วน�ำไป แสดงให้ผู้ใหญ่ในชุมชนดู นอกเหนือจากคุยปัญหาในโต๊ะประชุม แล้ว “ละครเป็นสื่อที่น�ำเอาปัญหามาพูดได้ดี”

195

∞∞

วิถีชุมชน ค�ำถาม การเรียนรู้ ตอนเริ่มเข้าท�ำงานพัฒนาในชุมชนชาติพันธุ์ ดาระอั้งที่บ้านปางแดง เชียงดาว “ปุ้ย” เกิดค�ำถามกับ ตัวเองอีกครั้งส�ำหรับ “ความพอดีของชีวิต” เข้าไป คลุกคลีอยู่ในชุมชนบ่อยครั้งขึ้นก็เริ่มไม่แน่ใจว่าตนอยู่ ในฐานะคนนอกหรือคนใน มีสิ่งใดที่คือตัวตนของเธอ แสดงออกมา แล้วไปท�ำลายวัฒนธรรมของชุมชนหรือไม่ “เราเข้ามาใหม่ แปลกหน้าในชุมชน จะย้อมผม ได้ม้ัย พูดจาแบบไหนถึงจะดี สูบบุหรี่ได้มั้ย สมัยนั้น พืน้ ทีม่ นั บริสทุ ธิม์ าก สุดท้ายก็ได้คำ� ตอบจากผูน้ ำ� ชาวบ้านว่า ชาวบ้านเขาไม่เลียนแบบเราหรอก เป็นตัวเองเถอะ คือเราไม่ต้องเป็นคนอื่น ถึงเวลาชาวบ้านเขาเห็นและจะยอมรับในสิ่งที่เป็น ตัวเราเอง” สุดท้ายความเป็นตัวเองที่พอดี ก็ดีพอส�ำหรับการอยู่ร่วมกันระหว่าง NGO สาวคนเมือง กับชาวบ้านชาติพันธุ์ดาระอั้ง ต่อมา เมือ่ ความเป็นอยูข่ องชาวบ้านเริม่ มีเทคโนโลยี มีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกสบายทยอย เข้าสู่พื้นที่ ค�ำถามก็เกิดขึ้นในหัวของ “ปุ้ย” อีกครั้ง ถึงการผลัดเปลี่ยนวิถีชีวิตเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ กับสิ่งอ�ำนวยความสะดวกของชุมชนชาติพันธุ์ที่เธอท�ำงานด้วย

“พอยุคสมัยเปลีย่ น ชาวบ้านก็ควรเปลีย่ นด้วยหรือเปล่า ถ้าเขาอยากมีทวี ี มันผิดหรือเปล่า 196

∞∞

คนก็มีทีวีกันทั้งโลก ท�ำไมต้องไม่ให้เขามีทีวี มีน�้ำประปา มี ไฟ แบบนี้มันใช่หรือเปล่า เราก็ตงั้ ค�ำถามกับตัวเองว่าจะกัน้ สิง่ ข้างนอก ไว้มั้ย ซึ่งเราเจอค�ำถามจากตัวเองตอบกลับ มาว่า แล้วเราเป็นใคร มีสทิ ธิอะไรไปเลือกให้ เขา แม้จะไปช่วยเขาย้ายชุมชนก็ตามเถอะ สุดท้ายได้คำ� ตอบ เราต้องเคารพเขา ให้สทิ ธิ เต็มร้อยในการตัดสินใจกับเขา ตัวเราท�ำ หน้าที่ให้ขอ้ มูลทีเ่ ป็นจริงเท่านัน้ ไม่ใช่อารมณ์ ความรู้สึก” หลายสถานการณ์ทเี่ รียนรูร้ ะหว่างทาง ส่งผลให้วิธีการท�ำงานของ “ปุ้ย” ในช่วง ๑๐ ปีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปมาก จากคน ท�ำงานพัฒนาสายแข็ง พาชาวบ้านประท้วง และขาดทักษะในการสื่อสารโดยเฉพาะกับ หน่วยงานราชการ กลายเป็นคนท�ำงานพัฒนา สายสบายใจกับการสือ่ สารไปเรียบร้อย ไม่ว่า จะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เนือ่ งด้วย การก้าวข้ามปมว่าการประสานหน่วยงานรัฐ ช่างยากเย็น ในการท�ำงานช่วงพัฒนาพื้นที่ 197

∞∞

ชุมชนบ้านปางแดง ซึง่ ปุย้ ได้รบั มอบหมายให้ ไปติดต่อขอความช่วยเหลือจากทหารในการ ขุดดินท�ำถนนและท�ำน�้ำให้ชุมชน “ร้องไห้เลยนะ ไม่อยากไป ติดต่อ ราชการมั น เป็ น ยาขม เหมื อ นแม่ น�้ ำ กั บ ทะเล แต่พี่จ๋อนบอกว่าให้ไปแบบนักละคร จะคาแร็กเตอร์ไหนก็ได้ เอาให้สบายใจ แต่ ต้องไปเอาถนนกับน�้ำมาให้ได้ (หัวเราะ) สุดท้ายเราก็ไปคุยแบบ เออทหารก็คน คุยกับ เขาด้วยความเป็นมนุษย์ ซึง่ ผบ.ค่าย ก็ดมี าก มาช่วยเต็ม ที่จนชุม ชนก็ ไ ด้น�้ำ ได้ถนนไว้ ใช้งาน” เหตุการณ์นั้นส่งผลให้ละทิ้งอคติเดิม ในกรอบความคิดเหมาว่าข้าราชการล้วน คอร์รปั ชัน ท�ำงานในรูปแบบเช้าชามเย็นชาม กลั บ เป็ น มองโลกในอี ก มุ ม หนึ่ ง ได้ ว ่ า ทุ ก หน่วยงานมีทั้งคนดีและคนไม่ดี รวมทั้งการ ท�ำงานกรณีปางแดงยังท�ำให้เห็นความร่วมมือ ระหว่ า งภาครั ฐ และภาคเอกชนโดยมี เป้าหมายเป็นที่ตั้ง ไม่มีใครเป็นเจ้าของพื้นที่

ไม่มีคอร์รัปชัน มีแต่การช่วยกันของทุกฝ่าย จากวันนั้น “ปุ้ย” เปลี่ยนความคิด พลิกจากการสื่อสารที่เคยเป็นยาขม กลับมาขับเคลื่อน ด้วยความจริงใจบนพื้นฐานความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน ส่งผลให้สามารถสร้างผลลัพธ์ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ “เราคือนักละคร เป็นช่างเชื่อม สื่อสารอย่างไม่มีพิษภัย และวัฒนธรรมองค์กรสอนให้เราถ่อมตัว” “คนท�ำงานพัฒนายุคนี้ต้องยืดหยุ่นกับความรู้ ชุดใหม่ ยอมรับความเปลีย่ นแปลงพร้อมรับสถานการณ์ ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง วิถีของ ชาวบ้านคือวิถขี องเขา เราต้องไม่แข็งตัว เปลีย่ นได้เสมอ โลกมันหมุนเร็ว ชาวบ้านก็เปลี่ยนเร็ว ปัจจัยภายนอก ภายในเปลี่ยนเร็ว เราต้องพร้อมรับ มีสติ คิด วิเคราะห์ เปลีย่ นการตัดสินใจเราได้เสมอ ๆ จากข้อมูลทีม่ แี ละต้องเติมข้อมูล เรื่อย ๆ ด้วย จะได้มีฐานส�ำหรับปรับตัว”

198

∞∞

สิทธิการอ่านอย่างเท่าเทียม จากประสบการณ์ท�ำงานพัฒนาชุมชนกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่อเนื่องมาเกือบ ๑๐ ปีของปุ้ย เมือ่ รับหน้าทีเ่ ป็นพี่ใหญ่คอยดูแลการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ก็เป็น ประเด็น ท้าทายส�ำหรับลงมือขับเคลื่อนงานด้วยเป้าหมายสูงสุดของกลุ่มมะขามป้อม คือ อยากเห็นสังคมที่มีปัญญา ทุกคนได้อ่านหนังสือ ประชากรมีคุณภาพ สามารถวิเคราะห์แยกแยะ เรื่องราวต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตประจ�ำวันได้ “เราอยากเห็นสังคมเท่าเทียมกัน ก็ต้องหาวิธีการว่าจะท�ำอย่างไรให้คนเท่ากัน ไม่กลาย เป็นทั้งผู้กระท�ำและผู้ถูกกระท�ำ ซึ่งเราเชื่อว่าการอ่านจะสามารถสร้างความเท่าเทียมในสังคม ได้ เมื่อก่อนเราพบว่าส�ำหรับชาติพันธุ์แล้ว การอ่านเป็นเสมือนตัวแทนวัฒนธรรมของชนชั้นสูง แล้วมันไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของเขา และในพื้นที่ก็ไม่มีหนังสือ เขาก็เลยไม่มีการให้ความ ส�ำคัญกับการอ่านมาก่อน” ดังนั้น วิธีการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้กับกลุ่มชาติพันธุ์จึงมิใช่เพียงการ หยิบยืน่ หนังสือดีหรือทีเ่ หมาะสมให้เท่านัน้ แต่ตอ้ งเปลีย่ นทัศนคติและค่านิยมทีม่ ตี อ่ การอ่านและ หนังสือไปพร้อม ๆ กัน ด้วยความเชื่อมั่นของทีมงานว่า “การอ่าน” คือปัจจัยส�ำคัญที่สามารถ พัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ กลไกหลักของการท�ำงานระดับพื้นที่ในปี ๒๕๕๘ คือ Training of Trainer มีการจัดอบรม เชิงปฏิบตั กิ ารเพิม่ ศักยภาพให้ครู กศน. อ�ำเภอเชียงดาว (ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย อ�ำเภอเชียงดาว) กลับไปขับเคลื่อนประเด็นสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านต่อใน 199

∞∞

พื้นที่ควบคู่ไปกับการประสานความร่วมมือ สนับสนุนด้านนโยบายจาก กศน. อ�ำเภอ เชียงดาว สืบเนื่องจากการพูดคุยเชื่อมต่อ ท�ำความเข้าใจแผนงานฯ การอ่าน ระหว่าง ผู้อ�ำนวยการ กศน. อ�ำเภอเชียงดาว กับ ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการ อ่าน ในงานมหกรรมนิทานชนเผ่า : นิทาน จากภูเขา เรื่องเล่าเชื่อมหัวใจ ในปี ๒๕๕๗ ในปีถัดมาจึงเกิดการเชื่อมงานกับ กศน. อ�ำเภอเชียงดาว ในระดับนโยบายและปฏิบัติ เกิดการพัฒนาครู กศน. เป็น Change Agent ผู ้ ขั บ เคลื่ อ นงานส่ ง เสริ ม การอ่ า นในพื้ น ที่ อ�ำเภอเชียงดาว ปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนสร้าง เสริมวัฒนธรรมการอ่านให้ส�ำเร็จในพื้นที่ เชียงดาวมี ๓ ข้อ คือ งบประมาณ ซึ่งท�ำให้ เคลื่ อ นงานสะดวก เพราะถ้ า มี แ ผนการ ท�ำงานแต่ไม่มีเงินทุน ไม่มีหนังสือนั้น งานก็ ไม่อาจเคลื่อนได้ ปัจจัยต่อมาคือ การเลือก คนทีใ่ ช่มาร่วมเคลือ่ นงาน ทัง้ ทีมงาน วิทยากร

ผู้เข้าร่วมอบรม และปัจจัยสุดท้ายคือ องค์ ความรู้ที่สกัดออกมา โครงการอ่านยกก�ำลังสุข สร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่านในกลุ่มชาติพันธุ์ ปี ๒ แบ่งการท�ำงานออกเป็น ๒ ส่วนหลัก คือ การ ถอดองค์ความรู้และจัดพิมพ์หนังสือคู่มือ เทคนิคการจัดกิจกรรมสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่าน เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์และองค์ ความรูท้ ผี่ า่ นมาสูส่ าธารณชนในวงกว้าง และ อีกส่วนคือ จัดอบรมแกนน�ำอาสาสมัครรัก การอ่านชาติพนั ธุ์ ร่วมกับศูนย์การศึกษานอก ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อ�ำเภอ เชียงดาว (กศน. อ�ำเภอเชียงดาว) โดยอบรม ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มครู กศน. และกลุ่มตัวแทน นักเรียนจากชุมชน มีกระบวนการสื่อสาร ติดตามงานหรือกระทัง่ การแลกเปลีย่ นเรียนรู้ Professional Learning Community (PLC) เติมเนื้อหา ข้อมูล ความรู้ เกี่ยวกับการอ่าน สร้างความเคลื่อนไหวผ่าน Facebook ชื่อ “กาลครัง้ หนึง่ เมือ่ อ่านมาแล้ว” เป็นพืน้ ทีก่ าร 200

∞∞

ติดตามความเคลื่อนไหว แสดงผลงานกิจกรรม ข้อมูลข่าวสารของกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการ ในขณะทีก่ ลุม่ มะขามป้อมท�ำหน้าทีน่ ำ� เสนอข้อมูลทีน่ า่ สนใจใหม่ ๆ ทัง้ ในเมืองไทยและต่างประเทศ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและกระตุ้นการส่งเสริมการอ่านในพื้นที่ต่าง ๆ “มี ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มอบรมคนหนึ่ ง บอกเราว่ า เมื่อก่อนเข้าใจมาตลอดว่าหนังสือคือเรื่องของ คนมีความรู้ แต่วันนี้รู้แล้วว่าทุกคนอ่านหนังสือ ได้ และเธอก็อ่านได้ ฟังแล้วเรารู้สึกว่ามันพอดี กั บ สิ่ ง ที่ เ ราอยากให้ เ ขารั บ รู ้ แ ละสั ม ผั ส คื อ ทุกคนเท่าเทียมกัน ใคร ๆ ก็อ่านหนังสือได้ มะขามป้อมยังท�ำงานอยู่ในพื้นที่อีกนานก็มอง เห็นการเชื่อมโยงระยะยาว ดังนั้น การท�ำงาน ส่งเสริมการอ่านที่นี่ท�ำให้เราได้เห็นสถานการณ์การอ่านในพื้นที่ที่ไม่มีหนังสืออยู่ได้ชัดมาก ๆ เมื่อสุดท้ายพบว่าบางอย่างเราคอนโทรลไม่ได้จริง ๆ ก็เรียนรู้ที่จะไม่กดดัน ลดจังหวะชีวิต ตัวเองให้ช้าลง เราพัฒนาเป็นคนที่รู้จักรอการเกิดขึ้น รอจังหวะที่สุกงอมเหมาะสม การท�ำงาน มีความละเอียดขึ้น” งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในกลุ่มชาติพันธุ์ อ�ำเภอเชียงดาว ยังคงขับเคลื่อนด้วย กลไกท�ำงานของมะขามป้อม แกนน�ำอาสาสมัครรักการอ่านชาติพันธุ์ คณะครู กศน. ด้วยความ เชื่อที่ว่าการเปลี่ยนแปลงน�ำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของกลุ่มชาติพันธุ์ทุกคนในพื้นที่เข้าร่วมโครงการฯ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของแกนน�ำอาสาสมัครรักการอ่านชาติพันธุ์ 201

∞∞



คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคณะครู กศน. อ�ำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของคณะท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านฯ มะขามป้อม เชียงดาว

“ทุกวันนี้ สิ่งที่มีความสุขมันเยอะมาก เช่น เห็นเด็ก ๆ ในชุมชนเติบโต เห็นคนท�ำงาน มีพื้นที่ของตัวเอง เห็นเด็กปางแดงแสดงละคร ความสุขมันเยอะมาก เต็มไปหมดเลย เช่น เมือ่ วานได้ฟงั น้อง ๆ ในทีมทบทวนตัวเองในวงประชุม ก็มคี วามสุขแล้ว ไม่ได้รอเจอเรือ่ งใหญ่ ๆ แล้วค่อยมีความสุข แต่เรามีความสุขกับสิง่ เล็ก ๆ ทีไ่ ด้เห็นทุกวัน สิง่ ทีห่ ล่อเลีย้ งคือ ความสุขเล็ก ๆ การเห็นแง่งามของสิ่งเล็ก ๆ มันดีมาก เหมือนกับทุกงานที่เราค่อย ๆ ท�ำ มันอาจเป็นจุดเล็ก ๆ แต่มันจะเปลี่ยน เปลี่ยนสังคม” “เราเชื่อว่าทุกคนเปลี่ยนได้ ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นได้กับทุกคน” ปุ้ย มะขามป้อม กล่าวยืนยัน

= Growth Mindset = - ทุกคนเปลี่ยนได้ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่เหมาะสม - ข้อมูลเป็นหัวใจของการเคลื่อนไหวภาคประชาชน - การเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมช่วยเพิ่มผลลัพธ์ - รู้จักและยอมรับตัวเองได้ จึงจะรู้จักและยอมรับผู้อื่น - ทุกคนทุกชนชาติ มีรากเหง้าแห่งวัฒนธรรมของตน - วิถีชาวบ้านคือวิถีของเขา อย่าเอาวิถีเราไปตัดสิน

202

∞∞



“ส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนงานการอ่านในพื้นที่ เชียงดาว เคยฝันไว้วา่ วันหนึง่ เชียงดาวจะเป็นเมืองทีพ่ ฒ ั นา ด้วยการใช้ศิลปะหลากหลายแขนง คิดว่าการอ่านก็เป็น ศิลปะอย่างหนึ่ง จากที่เราเป็นคนในพื้นที่และก็เป็นคนท�ำ กิจกรรมทั้งละครและการอ่าน นอกจากกิจกรรมในแผน งานฯ ก็เลยเอาความรูแ้ ละเครือ่ งมือทีม่ อี ยูไ่ ปท�ำกับเพือ่ น ๆ ด้วย เราตั้งกลุ่มกันเป็นเพื่อนอ่าน คุยกันอย่างไม่เป็น ทางการ คุยสนุก ๆ ให้เพื่อน ๆ ลองท�ำกับลูกแล้วสังเกต ว่าเกิดอะไรขึน้ จากนัน้ ก็เอามาแลกเปลีย่ นกัน เราก็แนะน�ำ การเลือกหนังสือแบบไหนที่เหมาะกับเด็กแต่ละวัย ให้เพื่อน ๆ เลือกอ่านกันเอง ถือว่าเป็นการทดลอง ไปด้วยกัน”

ดาว-ประกายดาว คันธะวงศ์ หัวหน้าโครงการอ่านยกก�ำลังสุข สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ในกลุ่มชาติพันธุ์ ปี ๒ กลุ่มมะขามป้อม เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

203

∞∞



“แผนปฏิบัติการส่งเสริมการอ่านของ กศน. อ�ำเภอ เชียงดาว มีงบประมาณกิจกรรมทั้งปีเพียงแค่ ๒,๐๐๐ บาท ถือว่าเป็นงบประมาณส�ำหรับพัฒนาครูทนี่ อ้ ยมาก ดังนัน้ การ มีโอกาสร่วมงานกับกลุม่ มะขามป้อมจึงเป็นโอกาสทีด่ ตี อ่ การ พัฒนาระบบการศึกษาและศักยภาพของครู กศน. อ�ำเภอ เชียงดาว



ตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ เรากับกลุ่มมะขามป้อมได้เขียน โครงการด้วยกัน ดีใจมาก เพราะถือว่าได้คนช่วยท�ำงาน ได้ เห็นกระบวนการเสริมศักยภาพครู กศน. เรื่องส่งเสริมการอ่านแล้วรู้สึกว่าสามารถพัฒนาต่อยอดได้ ครูที่เข้าอบรมแล้วก็มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจมากขึ้น มีการท�ำกิจกรรมน�ำเข้าการสอน เอาความรู้ ที่ได้ไปดัดแปลงท�ำงานในพื้นที่ของตัวเอง ครูมีความกระตือรือร้นมากขึ้น มีการเอาผลงานมาแสดง แลกเปลี่ยนความรู้กัน เกิดการเชื่อมโยงระหว่างครูกับนักเรียนผ่านกิจกรรม



เราท�ำหน้าที่ส่งเสริม ให้การสนับสนุนการศึกษาหาความรู้ ให้อ่านหนังสือออก เพราะเป็นการ ลดความเหลือ่ มล�ำ้ และยกระดับคุณภาพชีวติ ของนักเรียนชาติพนั ธุใ์ ห้มคี วามรูเ้ พือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ให้ดีขึ้น”



อาจารย์สุทธินี จับใจนาย ผู้อ�ำนวยการ กศน. อ�ำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

204

∞∞

“มีการเรียนรู้การปฏิสัมพันธ์แบบเรียบง่าย จริงใจ เป็นกันเอง มากขึน้ ได้คยุ กับครูและผูเ้ ข้าร่วมกิจกรรมอย่างเปิดเผยและอ่อนโยน เกิดการตัง้ ค�ำถามและหาค�ำตอบในเรือ่ งต่าง ๆ ร่วมกันอย่างแข็งขัน ทุกคนช่วยกันผลักดันหลักสูตร วิธีการ เทคนิค วิธีคิด อย่างเต็มใจ ทุกขั้นตอนเราหาค�ำตอบแบบเอาใจใส่ ทุกวันนี้เราลงมือท�ำเร็วขึ้น แต่มีการไตร่ตรองมากขึ้น”



แอ๊ป-ปิยฉัตร สินพิมลบูรณ์ ทีมงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กลุ่มมะขามป้อม เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่



“ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ กับตัวเองคือ สามารถวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายการท�ำงานได้ละเอียดมากขึ้น และเข้าใจว่าการ ประชุมกันบ่อยท�ำให้เกิดการสื่อสารที่ดีของการท�ำงาน เราเกิด ค�ำถามก่อนที่จะวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เช่น ถ้าจะท�ำงานกับกลุ่ม เป้าหมายนี้ ต้องท�ำอย่างไรจึงจะท�ำงานกับกลุม่ เป้าหมายได้ในระยะ ยาว และตรงกับความต้องการของเขาจริง ๆ



ทีส่ ำ� คัญจากการทดลองใช้เครือ่ งมือท�ำงานมาหลายแบบ เมือ่ ก่อนเคยสงสัยว่าหลักสูตรก็มอี ยูแ่ ล้ว ท�ำไมต้องประชุมกันบ่อย ๆ แต่พอผ่านมาวันนีก้ เ็ ข้าใจ เพราะการคุยวันนัน้ มันท�ำให้ทกุ วันนีเ้ ราท�ำงาน น้อยลง แต่ตรงประเด็น เข้าใจชัด และเลือกเครือ่ งมือทีม่ มี าใช้กบั กลุม่ เป้าหมายได้อย่างแม่นย�ำมากขึน้



กิ๊ฟ-อัจฉรา กันทวี ทีมงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กลุ่มมะขามป้อม เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

205

∞∞

เปิดความคิดของ ๒ แกนน�ำส�ำคัญ จุดเริ่มต้นพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการอ่าน กลุ่มมะขามป้อม ร่ม-ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์ วิทยากรรักการอ่าน มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)

“ท�ำงานด้านการอ่านครั้งแรกในปี ๒๕๔๘ ตอนนั้น กระแสการอ่านยังไม่มากเท่าไหร่ สิง่ ทีเ่ ราท�ำคือ ผลิตเครือ่ งมือ ที่จะน�ำไปเชื่อมโยงกับหนังสือ เช่น เล่นละคร ละครหุ่น ที่เอานิทานมาท�ำ เวลาที่ท�ำกระบวนการในค่ายมันท�ำให้เด็ก สนุกและรูจ้ กั หนังสือมากขึน้ ต่อมาเมือ่ มีแผนงานสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่านเกิดขึ้น พวกเราก็มีโอกาสได้ท�ำโครงการ เกีย่ วกับการอ่านอย่างจริงจัง เป็นช่วงเวลาทีม่ กี ระแสรณรงค์ ส่งเสริมการอ่านเยอะขึ้น รวมทั้งระดับนโยบายก็ ให้ความ ส�ำคัญกับการอ่านเป็นอย่างมาก



กลุ่มเป้าหมายที่ได้ท�ำด้วยตอนนั้นเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ มีทั้งครู กศน. อสม. ครูบรรณารักษ์ เป็นความหลากหลายซึ่งท้าทายมาก เพราะท�ำงานกับผู้ใหญ่ แค่สนุกอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีเนือ้ หา องค์ความรู้ที่ส�ำคัญกับการเคลื่อนงานด้วย ส่วนตัวไม่ใช่ คนที่ชอบอ่านหนังสือ แต่พอมาท�ำงานนี้ก็ต้องอ่านเยอะขึ้นเพื่อหาข้อมูล น�ำไปคิดค้นกระบวนการ ร่วมกับทีมงานว่าเราจะพาคนไปถึงวัฒนธรรมรักการอ่านได้อย่างไร

206

∞∞



เกือบ ๗ ปีแล้วที่ได้ท�ำงานส่งเสริมการอ่าน สิ่งที่ค้นพบและได้คุณค่ากับตัวเองจริง ๆ คือ จากพื้นฐานที่เราไม่ได้รักการอ่านมาก่อน แต่วันนี้เรามาเป็นคนรักการอ่านได้ ท�ำให้เข้าใจว่า ทุกคน ก็รักการอ่านได้เหมือนกัน อยู่ที่โอกาสในการเจอหนังสือที่หลากหลาย ได้ลองหยิบเปิดอ่าน มีคนแนะน�ำเรื่องราวน่าสนใจในหนังสือให้ได้รับรู้



มีกิจกรรมหนึ่งส�ำหรับส่งเสริมการอ่านที่แสนเรียบง่ายแต่ได้ผลลัพธ์ดีมาก คือ กระบวนการ ธรรมชาติ เอาหนังสือมาจัดมุมต่าง ๆ โดยที่ชื่อมุมจัดตกแต่งแบบไม่ต้องเหมือนระบบห้องสมุด แต่เป็นชื่อมุมที่เข้าถึงง่าย ๆ เช่น มุมโลกของฉัน มุมการเดินทาง มุมภาพเล่าเรื่อง และเราจะแนะน�ำ หนังสือให้กับผู้เข้าร่วมคล้าย ๆ กับโฆษณา หรือบางทีก็เอาบางประโยคมาอ่าน และก็เปิดช่วงเวลาให้ ผู้เข้าร่วมอบรมได้หยิบอ่านประมาณ ๑ ชั่วโมง สิ่งที่สังเกตเห็นคือ บรรยากาศที่ผ่อนคลาย นอนอ่าน นั่งอ่าน มีคนลุกเปลี่ยนเล่ม บางกลุ่มสุมหัวอ่านเล่มเดียวกันหัวเราะคิกคัก



ร่มคิดว่านี่คือกุญแจดอกส�ำคัญของการเริ่มต้นที่จะรักการอ่าน เริ่มต้นหยิบจากเล่มที่สนใจ ได้เห็นหนังสือที่หลากหลายรูปแบบ บรรยากาศที่เอื้ออ�ำนวย ไม่มีการบังคับ ท�ำให้หลายคนได้ เรียนรู้จักการอ่านในมุมที่สนุกและได้ความรู้ไปพร้อมกัน



การส่งเสริมให้คนรักการอ่านต้องมีบริบทที่เอื้ออ�ำนวยให้การอ่านนั้นเป็นไปอย่างธรรมชาติ ไม่ใช่การบังคับ คิดว่าการอ่านเหมือนศิลปะ ความสวยไม่สวยเป็นเรื่องรสนิยม การอ่านก็คงเหมือน กัน ใครชอบเล่มไหน ก็คงเป็นเรื่องรสนิยมเหมือนกัน ดังนั้นเพียงแค่เริ่มสร้างบรรยากาศการอ่านจาก ในบ้าน โรงเรียน ให้ผ่อนคลายสบาย ๆ หนังสือก็จะกลายเป็นเพื่อนของเราโดยไม่รู้ตัว ร่มเชื่อว่าการ ส่งเสริมการอ่านใคร ๆ ก็ท�ำได้ ไม่ใช่เรื่องยาก”

207

∞∞

กุ๊กไก่-ขนิษฐา ธรรมปัญญา ผู้จัดการโครงการและวิทยากรรักการอ่าน มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)

“ปั จ จุ บั น งานการอ่ า นของมะขามป้ อ ม เน้ น กระบวนการและประสบการณ์ตรงจากหนังสือมากขึ้น เปลี่ยนจากระยะเริ่มแรกที่เน้นเครื่องมือ ความสนุก เช่น การท�ำละคร มากกว่าการอ่านหนังสือ เราปรับเป็นการเรียน รูจ้ ากประสบการณ์ตรง และให้ความหมายใหม่ตอ่ การอ่าน หนังสือ ด้วยการใช้ประโยคว่า การอ่านให้อะไรมากกว่า ความรู้



แม้การอ่านหนังสือจะได้ความรูแ้ ละเป็นความคิดชุด แรกของคนส่วนใหญ่ แต่เราพยายามท�ำให้เห็นว่าการอ่าน มีอะไรมากกว่านั้น และเชื่อมโยงกับชีวิตของแต่ละคนได้ จริง ๆ มันเชื่อมโยงกับชีวิตจิตใจ เชื่อมโยงกับโลก ซึ่งจะท�ำให้เราได้รู้จักคนอื่น ได้เชื่อมโยงกับตัวเอง และเมื่อเราเชื่อมโยงแล้ว เราจะมีความรู้สึกบางอย่างต่อการอ่านที่ไม่ได้มีแค่ความรู้อย่างเดียว และ ส่งผลต่อการพัฒนาการอ่านของกลุ่มแกนน�ำในที่สุด



มะขามป้อมมีวิธีการท�ำงานที่ยืดหยุ่น หมายถึงจะมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการระหว่างการ อบรมเสมอ ตามลักษณะ ความสนใจ และความจ�ำเป็นของผู้เข้าร่วม ซึ่งช่วยให้ผู้เข้าร่วมซึ่งเป็น แกนน�ำส่งเสริมการอ่านในกลุม่ ต่าง ๆ ได้นำ� วิธคี ดิ ไปปรับใช้ คือให้ใส่ใจกับกลุม่ เป้าหมายมากขึน้ ไปด้วย

208

∞∞

และสามารถส่งเสริมการอ่านให้เกิดขึ้นได้จริง ๆ ด้วยความรู้สึกถึงคุณค่าของการอ่าน เพราะมี ประสบการณ์ด้วยตัวเอง เช่น อาจจะเจอบางเล่ม บางประโยค ที่เพิ่มความคิดให้เขา ว่าการอ่านไม่ได้ ให้แค่ความรู้อีกต่อไปแล้ว



คนจ�ำนวนมากในสังคมมีประสบการณ์การอ่านมากขึ้น เห็นว่าหนังสือมีความหลากหลาย ไม่ได้มีเพียงหนังสือวิชาการ หนังสือเรียน หรือนิยายและการอ่านไม่ได้จ�ำกัดเฉพาะผู้ที่ต้องการ ความรู้ หรือจ�ำกัดอยู่ในกลุ่มเด็ก ๆ หรือแวดวงการศึกษา ผู้คนจ�ำนวนมากเห็นว่าการอ่านให้อะไร มากกว่าความรู้ และมีความส�ำคัญต่อชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น ความจรรโลงใจ เยียวยา และบ่มเพาะ ความเข้าใจบางอย่างในตัวผู้อ่าน



ทุกวันนี้ หน้าทีส่ ง่ เสริมการอ่านไม่ได้จำ� กัดอยูท่ กี่ ลุม่ ครูหรือผูร้ เู้ ฉพาะทางอีกต่อไป คนทุกสาขา อาชีพ หรือแม้กระทั่งเด็ก ๆ ก็สามารถเป็นผู้ส่งเสริมการอ่านได้ หากใครรักการอ่าน ก็สามารถเป็น คนส่งเสริมการอ่านได้อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กันไป”

209

∞∞

อ่านสร้างสุข มะลิวรรณ มาผาบ

ขอท�ำงานที่ได้ช่วยคน : ฝน เชียงใหม่อ่าน สร้างพื้นที่อ่าน สื่อสารต่อเนื่อง เชื่อมนโยบาย “เชียงใหม่อา่ น เหมือนเป็นนามสกุลของเราไปแล้ว ไปทีไ่ หนใคร ๆ เรียกว่า ฝน เชียงใหม่ อ่าน” ฝน-มะลิวรรณ มาผาบ เกริ่น น�ำก่อนเล่าต่อถึงสถานการณ์ความเป็นไปของงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านของพืน้ ทีจ่ งั หวัดเชียงใหม่ ในโครงการเชียงใหม่ นครแห่งการอ่าน หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า “เชียงใหม่อ่าน”

เชียงใหม่อ่าน มี “ฝน-มะลิวรรณ” หรือ “ฝน เชียงใหม่อ่าน” รับหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน เชียงใหม่อ่าน ขับเคลื่อนงานภายใต้การดูแลของเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ “ฝน เชียงใหม่อ่าน” เริ่มท�ำงานกับเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือตั้งแต่ปี ๒๕๕๔

“เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ” คือองค์กรภาคประชาสังคม ท�ำหน้าทีส่ นับสนุน เชื่อมโยงกลุ่มการศึกษาทางเลือกและรณรงค์ให้สาธารณะและรัฐยอมรับและสนับสนุนการ

ศึกษาทางเลือก ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๑ องค์กรที่ร่วมมือเป็นภาคีเครือข่ายเคลื่อนงานสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่าน ภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ “ฝน” บอกว่า ภายในระยะเวลา ๒ ปีกว่า ๆ โครงการเชียงใหม่อา่ นเติบโตและขยายพืน้ ทีร่ กั การอ่าน ได้อย่างน่าพึงพอใจ ทั้งในเขตพื้นที่ตัวเมืองและพื้นที่ ชนบทบนดอยสูง จุดเริ่มต้นของ “เชียงใหม่อ่าน” คือช่วงปี ๒๕๕๖ เมื่อเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ น�ำโดย “ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ” (อาจารย์ชัช) เลขาธิการสมาคม สภาการศึกษาทางเลือกไทย ออกปากเชิญกลุม่ องค์กร หน่วยงาน และบุคคลที่มีความสนใจด้านการอ่านใน จังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมพูดคุยหาช่องทางปลุกกระแส การอ่านของคนเชียงใหม่ให้มีชีวิตชีวามากขึ้น กระทั่งได้พบกับสถานการณ์ขาดแคลนหนังสือที่ เหมาะสมกับวัยของเด็ก ๆ ในพื้นที่ห่างไกลรอบนอกตัวเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีความต้องการอ่าน แต่กลับไม่ได้อ่าน เพราะไม่มีหนังสือที่เพียงพอเหมาะสมให้อ่าน แม้แต่ในห้องสมุดของโรงเรียน ก็ตาม จึงเกิดแนวคิดการสร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่านในระดับจังหวัด ร่วมขับเคลื่อนในเชิง นโยบายสร้าง “การอ่าน” ให้เป็นวาระของจังหวัด พร้อมกับขยับในระดับพืน้ ที่ไปพร้อมกัน ได้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน และชุมชน 212

∞∞

จากการเข้ า ร่ ว มหารื อในครั้ ง นั้ น ต่อยอดออกผลเป็นการท�ำงานขับเคลื่อน ส่งเสริมการอ่าน ปี ๒๕๕๗ ร่วมกันของ ๑๖ องค์กร ทัง้ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาสังคม เช่น เครือข่ายการศึกษา ทางเลือกภาคเหนือ องค์การบริหารส่วน จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ เทศบาลนครเชี ย งใหม่ ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย (กศน.) ส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน (สพฐ.) โฮงเฮี ย น สืบสานภูมิปัญญาล้านนา ศูนย์การเรียนรู้ โจ๊ ะ มาโลลื อ หล่ า ห้ อ งสมุ ด พื้ น บ้ า นย่ า น เวียงเชียงใหม่ สโมสรนักเขียนเชียงใหม่ ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล และพื้น ที่ เช่น มีพื้น ที่การอ่านมีชีวิตของ ชุ ม ชน มี ก ารระดมทุ น และหนั ง สื อ เพื่ อ กระจายให้กบั เด็กเยาวชนในพืน้ ทีท่ ำ� งานของ โครงการซึง่ ขาดแคลนหนังสือ เกิดชมรมการ อ่านในโรงเรียน เกิดแกนน�ำส่งเสริมการอ่าน ในชุมชน 213

∞∞

โครงการเชียงใหม่อา่ นท�ำงานบนฐาน คิดหลักทีค่ รอบคลุมเพือ่ สร้างการเปลีย่ นแปลง ทางสังคม คือ สร้างพื้นที่รูปธรรมการอ่าน และมีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายคือ ต้องสามารถท�ำงานเชื่อมโยงกับนโยบายได้ ฐานคิดทั้ง ๓ ข้อถือเป็นยุทธศาสตร์ หลักในการขับเคลือ่ นงานซึง่ เกิดผลลัพธ์อย่าง เป็นรูปธรรมหลายด้าน เช่น การประสานความ ร่วมมือไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และ หน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งในจั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ร่วมผลักดันนโยบายสนับสนุนการอ่านของ เด็กเล็ก การพัฒนาศักยภาพแกนน�ำส่งเสริม การอ่าน ประกอบด้วย ครู บรรณารักษ์ เด็ก เยาวชน และกลุ่มคนท�ำงานในเครือข่าย เชียงใหม่อ่าน สร้างพื้นที่อ่านได้อย่างเป็น รูปธรรมด้วยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทั้งสิ้น ๒๓ แห่ง พร้อมกับมีกิจกรรมรณรงค์สื่อสาร สาธารณะหลายช่องทาง เช่น มหกรรม เชียงใหม่อา่ น กิจกรรม One book One bath

สัญจรไปยังระดับต�ำบลและอ�ำเภอ การสื่อสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ท้องถิ่น สื่อวิทยุ และสื่อออนไลน์ เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการ แนะน�ำหนังสือน่าอ่าน และสร้างเป็นพืน้ ทีก่ าร แลกเปลี่ยน ระดมหนังสือส�ำหรับเด็กและเยาวชน “ฝนชอบกิจกรรมเด็กอยากอ่าน ผูใ้ หญ่อยากให้ เพราะเด็กได้เขียนมาขอหนังสือที่ตัวเองชอบในหน้า แฟนเพจเชียงใหม่อ่าน แล้วก็ตื่นเต้นเมื่อได้รับหนังสือจริง ๆ ส่วนผู้ใหญ่ที่เป็นคนให้หนังสือกับเด็ก ๆ ก็มีความสุขที่เห็นเด็ก ๆ ได้อ่านหนังสือที่ชอบ”

214

∞∞

คณะท�ำงานหลัก “เชียงใหม่อ่าน” • • • • •

อ.ชัช-ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ผูจ้ ดั การโครงการ เลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย ฝน-มะลิวรรณ มาผาบ ผู้ประสานงาน เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ จ๋า-สิรินุช วงศ์สกุล ฝ่ายข้อมูล เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ อุ๊-สุพรรษา จรรยา ฝ่ายการเงิน เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ ครูนิด-อรพินท์ กุศลรุ่งรัตน์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์การเรียนรู้โจ๊ะมาโลลือหล่า โรงเรียนวิถีชีวิต ชุมชน • อ๋อง-หัทยา อนุสสรราชกิจ สโมสรนักเขียนเชียงใหม่ • เสย-องอาจ ฤทธิ์ปรีชา (รายา) สโมสรนักเขียนเชียงใหม่

อิสรภาพ : หัวใจของการท�ำงานเป็นทีม “อ.ชัช-ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ” ยืนยันว่าคนส�ำคัญที่เป็นเรี่ยวแรงขับเคลื่อนงาน “เชียงใหม่ อ่าน” ไม่ใช่ตัวเขาแต่เป็น “ฝน-มะลิวรรณ” และทีมงานหลัก “ทีมงานคือ จ๋า และ อุ๊ เป็นคนทีเ่ ข้ามาเติมเต็มเฉพาะทางได้ดี เช่น จ๋าเขียนสรุปได้เก่งมาก อุ๊ดูแลเรื่องการเงินกับรายละเอียด ส่วนคนที่เป็นแกนหลักทางความคิด คือ ครูนิด อ๋อง และ เสย จะเป็นทีมสนับสนุนด้านความคิดที่แข็งแรง ส่วนพี่ชัชถอยบทบาทออกมาเยอะ ให้น้อง ๆ ท�ำงาน แต่ยังช่วยในด้านนโยบายอยู่บ้าง”

215

∞∞

ส�ำหรับ อ.ชัชวาลย์ การท�ำงานของ ทีมงาน “เชียงใหม่อ่าน” เป็นการเรียนรู้แนว ราบทีเ่ สมอกัน โดยไม่ใช้อำ� นาจ ไม่มีใครเก่ง เกินกว่าใคร ทุกคนต่างมีศกั ยภาพด้วยกันทัง้ สิน้ “เราเชื่อมโยงศักยภาพของแต่ละคน ถึงกันและกัน เพราะทุกคนมีศักยภาพและ การท�ำงานคือการเรียนรู้ อย่างพีช่ ชั ถนัดเรือ่ ง นโยบาย เชื่อมต่อผู้ใหญ่ ก็จะพาฝนไปพบ ผู้ใหญ่ที่ อบจ. ที่เทศบาล ก็เป็นอีกเรื่อง ในการเรียนรู้ของฝน” ปัจจุบัน ทีมงานเชียงใหม่อ่านไม่ได้ ท�ำงานตามค�ำสัง่ แต่เป็นรูปแบบการวางแผน ร่วมกันและลงมือท�ำ จากนั้นเมื่องานจบ ทุกครั้งจะมีการสรุปบทเรียนร่วมกัน หรือ AAR (After Action Review) เพื่อเติมเต็ม ให้กันและกันระหว่างทีมงาน พร้อมกับเพื่อ น�ำบทเรียนทีเ่ กิดขึน้ ไปพัฒนางานในครัง้ ต่อไป โดย อ.ชัช รับบทบาทเติมส่วนที่ยังขาดและ จ�ำเป็นต่อการพัฒนางานของทุกคน ภายใต้ ฐานคิดเชื่อมั่นในการเรียนรู้ผ่านการท�ำงาน

ของทุกคน จากบทเรียนการท�ำงานเพือ่ สร้างการ เปลีย่ นแปลงสังคม เขาพบว่าการขับเคลือ่ นงาน ต้องมีอย่างน้อย ๓ องค์ประกอบ คือ ต้องมี พื้นที่รูปธรรม ต้องมีการสื่อสารกับสังคม อย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายต้องเชื่อมโยงกับ นโยบาย “ตอนนี้ พื้ น ที่ รู ป ธรรมเกิ ด แล้ ว มี นวัตกรรมและข้อสรุป ด้านการสื่อสารท�ำ แล้วอย่างต่อเนื่อง ส่วนเรื่องนโยบายคงต้อง ใช้เวลา เพราะใช้พลังผลักดันเยอะ แต่เชือ่ ว่า ถ้าเราท�ำกิจกรรมและสือ่ สารให้คนรับรู้ และ เข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จะเกิดแรงเหวี่ยงที่ใหญ่ขึ้น จนเคลื่อนไปถึง จุดที่จะสามารถขยับนโยบายได้” ตั้งแต่ได้ท�ำงานขับเคลื่อนประเด็น เชียงใหม่อ่านเรื่อยมา “อ.ชัช” เริ่มสังเกต เห็นว่าเมื่อตนลดบทบาทลง จะมีสิ่งที่ดี ๆ เกิดขึ้น เช่น การเรียนรู้พัฒนาศักยภาพของ คนท�ำงาน ผลลัพธ์การด�ำเนินงานที่น่าพอใจ 216

∞∞

ผุดบังเกิด เนือ่ งจากเขาเชือ่ ว่าการท�ำงานคือการเรียนรูท้ ดี่ ที สี่ ดุ ลงมือท�ำแล้วจะได้รบั ประสบการณ์ เจอวิธีคิดต่อยอด ค้นพบผลสรุปที่ดีเยี่ยม หลักในการดูแลทีมงานของ อ.ชัช คือ อิสรเสรีภาพ เปิดโอกาสให้คนท�ำงานลงมือท�ำ เต็มที่ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการตัดสินใจ เพราะถ้าไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจย่อมเท่ากับท�ำไม่เต็มที่ ซึ่งการเรียนรู้จะไม่สมบูรณ์ การตัดสินใจเป็นการเรียนรู้ที่ส�ำคัญ ไม่ว่าผลจากการตัดสินใจจะ เป็นอย่างไรก็ตาม คนที่ตัดสินใจจะได้บทเรียนที่ส�ำคัญ ส�ำหรับ อ.ชัชวาลย์ เขาเชือ่ ว่า “การกล้าตัดสินใจ ส�ำคัญกว่าผลลัพธ์ของการ ตัดสินใจ” “เมื่ อไรก็ ต ามที่ ค น ท�ำงานไม่กล้าตัดสินใจ งาน จะไปไม่ไกล การตัดสินใจ ผิดไม่เป็นไร แต่เป็นเรื่อง ที่ ม าเรี ย นรู ้ กั น ว่ า เพราะ อะไร ตัดสินใจถูกก็ได้ ผิดก็ได้ เพราะนั่นคือการเรียนรู้ที่ส�ำคัญมาก ถ้าท�ำงานไปแล้วมันสะดุด หรือเจอกับสิ่งที่มันไม่ ใช่ ให้หยุดทบทวน วิเคราะห์แล้วเปลี่ยนวิธี เรียกว่าเราไม่ยอมจ�ำนน เราลองสู้ไปทางนี้แล้วมันไปไม่ได้ ก็ต้องดูปัจจัยใหม่ที่มันไปต่อได้ ซึ่งเป้าหมายเหมือนเดิม แค่ขยับทางเดินบ้าง อันไหนที่ไปไม่ได้ ก็ค่อย ๆ ลดไป อันไหนที่ไปได้ก็ค่อยขยายมัน”

217

∞∞

เหมือนกับการท�ำงาน “เชียงใหม่อ่าน” ที่ตั้งเป้าหมายขยับด้านนโยบายวาระการอ่านของ จังหวัด เมื่อเดินมาถึงจุดที่ไม่สามารถเชื่อมต่อความร่วมมือกับองค์กรเดิมที่คาดไว้ได้ อ.ชัช และ ทีมงานก็ตดั สินใจค้นหาและเปลีย่ นช่องทางประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานใหม่ คือ องค์การ บริหารส่วนจังหวัดส�ำหรับนโยบายระดับจังหวัด พร้อมกับด�ำเนินงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ควบคู่ไปด้วยส�ำหรับระดับต�ำบล เป้าหมายเดิม เพือ่ ผลักดันเชิงนโยบายเพือ่ สร้างเชียงใหม่ให้เป็น “มหานครแห่งการอ่าน” แต่เพิ่มเติมด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) รายใหม่ ซึ่งมีก�ำลังสามารถขับเคลื่อนไปยัง เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้เช่นกัน

สวมหมวกนักพัฒนาชุมชน “วันนี้ฝนเดินมาไกลมาก เกินกว่า ที่คิดไว้เยอะ ได้ท�ำงานที่ดี มีคุณค่าต่อ ตัวเองและสังคม ได้ชว่ ยเหลือคนอย่างทีเ่ รา ตัง้ ใจไว้จริง ๆ ได้ทำ� งานขึน้ เขาขึน้ ดอยจริง ๆ มันอิ่มใจมาก” ฝนเริ่มกล่าวถึงการท�ำงาน ของตน “ฝน-มะลิวรรณ มาผาบ” เป็นสาว เชียงใหม่ จากอ�ำเภอไชยปราการ เรียนทีน่ นั่ จนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างเรียนท�ำกิจกรรม โรงเรียนสม�่ำเสมอ เช่น ประชาสัมพันธ์โรงเรียน พูดหน้าเสาธง เป็นคณะกรรมการนักเรียน 218

∞∞

เป็นตัวแทนโรงเรียนท�ำกิจกรรมอาสาพัฒนา เข้าค่ายจริยธรรมร่วมกับโรงเรียนในเครือข่าย “ท�ำกิจกรรมเพราะมันสนุก ไม่อยากเรียนแบบท่องต�ำราอยู่ในห้องอย่างเดียว การท�ำ กิจกรรมมันผ่อนคลายและได้ใช้ความคิด เราประชุมแลกเปลีย่ นความคิดเห็นกัน มันสนุกแบบได้ เรียนรู้ไปด้วย ฝนเรียนได้เกรด ๓ กว่า ๆ ตอนจะจบก็เดินไปหาครูว่ามีอะไรที่เรียนแล้วได้ช่วยคน บ้าง แล้วก็แบบได้ขึ้นดอยขึ้นเขาด้วย ก็เจอว่ามีโควต้า ๒ ที่ของพัฒนาชุมชน ราชภัฏเชียงใหม่ ฝนตัดสินใจสมัครโดยไม่เลือกที่อื่นเลย” ในที่สุดเธอได้เรียนสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดังที่ตน ตั้งใจ แต่สาขาทีเ่ ลือกเรียนนัน้ กลับไม่ได้ดงั ใจของผูป้ กครอง เนือ่ งด้วยทีบ่ า้ นมีคลินกิ ทีด่ แู ลโดยน้า ซึง่ เป็นผูเ้ ลีย้ งดูฝนมาตัง้ แต่เด็ก ๆ ร่วมกับยาย น้าต้องการให้หลานสาวเป็นพยาบาล ถึงขัน้ ฝากฝัง อาจารย์หมอผูห้ ลักผูใ้ หญ่เกีย่ วกับการเรียนพยาบาล แต่เธอเลือกพูดคุยบอกเหตุผลตรง ๆ ว่าชอบ เดินทาง ช่วยเหลือพัฒนาชุมชน “ฝนเคยดูวิดีโอที่พระเจ้าอยู่หัวขึ้นเขาขึ้นดอย ช่วยเหลือชาวบ้าน ก็คิดอยากจะท�ำเพื่อ สังคมบ้าง ไม่เคยคิดอยากเรียนอย่างอื่นเลย พอคุยกันแล้ว น้าก็ให้โอกาสไปลองเรียนดู ถ้าไม่ สนุกก็กลับมาเรียนพยาบาลนะ แต่พอฝนไปเรียนแล้วมันสนุกมาก ท�ำค่ายทุกปีเลย สุดท้ายก็ เรียนมาจนจบ” หลังเรียนจบช่วงปี ๒๕๔๗ ฝนเข้าท�ำงานกับเครือข่ายเด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนบน รับหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการลงภาคสนาม หลังจากได้ฝึกงานในองค์กรมาแล้วก่อนหน้านั้นระหว่าง เรียน สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนทีเ่ ธอเรียนก�ำหนดให้นกั ศึกษาทุกคนฝึกงาน ๔ ครัง้ แบ่งสัดส่วน ระหว่างองค์กรพัฒนาภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization 219

∞∞

หรือ NGO) หน่วยงานละ ๑ ครั้ง หลังจาก นั้นอีก ๒ ครั้งเปิดให้นักศึกษาเลือกได้เอง “ปีแรกฝนไปฝึกงานของภาครัฐ ก็ได้ เสิรฟ์ กาแฟ ถ่ายเอกสาร พอปี ๒ ไปฝึก NGO เครือข่ายด้านเอดส์ ไปวันแรกให้ลงพื้น ที่ ได้ขนกระเป๋าไปดอยเลยค่ะ ไปถึงก็ ให้น�ำ กระบวนการด้วย ท�ำไม่เป็นก็ถามหัวหน้า ฝนท�ำไปถามไปตลอด หัวหน้าคือ พระเต้า (กิตติพันธ์ กันจินะ) ตอนนี้ท่านไปบวชแล้ว หัวหน้าใจดี ใจเย็น เก่งนโยบาย ให้โอกาสเรา ท�ำงานแบบไม่กลัวงานเสีย จนเราได้เรียนรู้ เยอะมาก” การเรียนรู้งานพัฒนาชุมชนที่ ได้จาก การฝึกงานครั้งนั้น ท�ำให้อีก ๒ ครั้งที่เหลือ เธอตัดสินใจฝึกงานต่อที่เดิม ซึ่งฝนบอกว่า เป็นการตัดสินใจที่ดีมากของชีวิต เพราะ ท�ำให้มีทักษะการท�ำงานด้านเพศ เอดส์ ได้ เรียนรู้เรื่องจิตภายใน การเคารพสิทธิผู้อื่น ภาวะผู้น�ำ การลดอัตตา การใช้ชีวิตร่วมกับ ผู้คนที่แตกต่างหลากหลาย

“ฝนรู้จักค�ำว่าให้มากขึ้น ตอนเคยท�ำ ค่ายก็สนุก ๆ กับเพื่อน แต่พอมาท�ำงาน ประเด็นเอดส์ ได้เจอกับการท�ำงานทีเ่ อาใจใส่ กั บ ชี วิ ต คนมาก เคยมี เ ด็ ก วั ย รุ ่ น ที่ อ บรม ตรวจพบว่าติดเชือ้ เอดส์ อยากฆ่าตัวตาย แต่ พอมาคุยกับเรา ซึ่งคอยให้ก�ำลังใจ แนะน�ำ วิธีการไปตรวจตามระยะเวลา ๓ ครั้ง ฝนก็ ท� ำ ความเข้ าใจว่ า ศู น ย์ บ ริ ก ารที่ เ ป็ น มิ ต ร ท�ำงานอย่างไร พูดคุยให้เขามีก�ำลังใจเกือบ ทุกวัน เพราะเขากลัวว่าเป็นเอดส์แล้วต้อง ตายเลย ฝนก็ให้ข้อมูลว่ามีทางออกอย่างไร บ้าง มียารักษาอยู่ จนเรื่องคลี่คลายเมื่อผล ตรวจอีก ๒ ครั้ง ออกมาแล้วไม่พบเชื้ออีก” ความรู้สึกดี ๆ จากการ “ให้” เป็น ส่วนหนึ่งของความสุขและความทรงจ�ำที่ ได้ จากการท�ำงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ กับเด็ก ๆ และเยาวชนในพืน้ ที่ ๙ จังหวัดภาค เหนือ ก่อนที่ฝนจะอ�ำลาจากเด็ก ๆ หลังจาก ท�ำงานในองค์กรมาได้กว่า ๖ ปี ที่ตั้งองค์กร เดิ ม ของฝนอยู ่ ใ นพื้ น ที่ โ ฮงเฮี ย นสื บ สาน 220

∞∞

ภูมิปัญญาล้านนา เป็นที่ตั้งเดียวกันกับเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ ซึ่งดูแลโดย “อ.ชัช-ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ” ครูการศึกษาทางเลือก โอกาสดี ๆ จึงตกเป็นของเธอ “วันนั้นเดินคอตกออกมาเจอ อ.ชัช ถามว่าจะไป ไหน เราก็บอกว่าฝนขอลาก่อน จะไปตามทางของฝน ไม่อยู่แล้ว ร้องไห้ เขาก็เรียกคุยว่าเป็นไงมาไง อ.ชัชก็ เลยว่า งั้นมาท�ำงานกับคนแก่เถอะ ท�ำงานกับเด็กมา เยอะแล้ว ฮื้อลองมาท�ำกับคนแก่ดูซิจะเป็นยังไง เราก็ อุ้ย บ่เอา หนูหัน อ.ชัช ท�ำงานแล้วอิด (เหนื่อย) คือเรา เห็น อ.ชัช ท�ำงาน ประชุมกันอยูป่ ระจ�ำ ไม่รเู้ นือ้ หาหรอก แต่ก็ไม่เอา อ.ชัช เลยบอกให้ไปคิด ๒-๓ วัน” ฝนปฏิเสธงานจาก อ.ชัช และตัดสินใจนอนเล่น อยู่บ้านอีก ๑ เดือน กระทั่ง อ.ชัช ติดต่อให้ไปช่วยบันทึกการประชุมงานหนึ่ง พร้อมชวนให้มา ท�ำโครงการเกีย่ วกับเด็กเยาวชนเรือ่ งภัยพิบตั ภิ าคเหนือ จึงตัดสินใจตกลงเป็นอาสาสมัครโครงการ กับเงินเดือน ๕,๐๐๐ บาท “ตอนนัน้ ฝนท�ำหน้าทีช่ ว่ ยพีอ่ อ้ ม (เลขานุการ อ.ชัช) ถ่ายรูป จัดอาหาร เตรียมการประชุม พี่อ้อมสอนถอดเทป สอนจับประเด็นหน้าเวที จากนั้นก็เข้ามาอยู่เครือข่ายการศึกษาทางเลือก ภาคเหนือจนถึงวันนี้ เราท�ำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานให้เครือข่ายภาคเหนือมารวมตัวกัน กระจายข่าวและนโยบายดี ๆ ออกไป ที่ผ่านมาฝนเรียนอยู่ในระบบ ไม่เคยเข้าใจเรื่องการศึกษา ทางเลือก แต่พอได้เห็นการเรียนรู้ที่ต่างไปจากในห้องเรียน การท�ำนาปลูกข้าว ท�ำให้เด็ก ช่วยเหลือตัวเองเป็น มีรายได้ และยังมีแนวคิดที่ดีกับชีวิตของพวกเขาด้วย” 221

∞∞

โอกาสแห่งการอ่าน โอกาสแห่งความสุข

“ฝน” เข้าท�ำงานกับเครือข่ายการศึกษาทางเลือกในปี ๒๕๕๔ ท�ำงานกับอาจารย์ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ มา ๔ ปี

“อ.ชัช ไม่เคยบังคับ แต่สอนให้คิดเอง ให้ท�ำด้วยความสุข ออฟฟิศ เราจะอยู่ไหน ท�ำที่ไหน ยังไงก็ได้ ขอให้งานเสร็จ เป็นระบบการท�ำงานที่ เปลี่ยนกรอบไปจากเดิม ฝน อุ๊ จ๋า ก็ติดต่อผ่านออนไลน์เป็นหลัก กับ อ.ชัช ก็ใช้สื่อติดต่อกัน ทุกวันนี้ถ่ายรูปจดหมายเชิญประชุมส่งแบบเรียงกันให้ดู ทางไลน์ให้ อ.ชัช ไม่ต้องเข้ามาอ่านเอกสารในออฟฟิศเหมือนเมื่อก่อนแล้ว เราเปลี่ยนวิธีท�ำงาน 222

∞∞

ตามยุคสมัย ใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์” เธอบอกว่าโชคดีที่ได้ท�ำงานกับอาจารย์ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เพราะได้เห็นภาวะผู้น�ำและ เข้าใจความเป็นหัวหน้าที่ดี ใจเย็น เป็นเหตุเป็นผล พร้อมให้โอกาสและรับฟังคนอื่น ไม่ปิดกั้น ความคิดลูกน้องและคนอื่น ๆ “ทุกคนในโลกของ อ.ชัช เท่ากันหมด อ.ชัช ไม่ทะเลาะกับใคร ไม่โกธรใคร ถ้าไปเวที ไหนที่เขาทะเลาะกัน อ.ชัช เป็นตัวกลาง เชื่อมให้คนเข้าใจกัน ไม่เคยเห็นหัวหน้าดีขนาดนี้ ฝนว่าฝนเจอมาเยอะ ลงพื้นที่มามาก บางคนเอาแต่ตัวเอง เอาเงินโครงการไปใช้ก่อนก็มี แต่ อ.ชัช ไม่ใช่อย่างนัน้ อย่างโครงการ สสส. โอนเงินมาช้า อ.ชัช ก็ถามว่าเอาเงิน อ.ชัช ไปก่อนไหม หรือว่าไปกินไอติมกันไหม เดี๋ยว อ.ชัช เลี้ยง (หัวเราะ) ฝนได้ซึมซับความใจดีของเขามาด้วย” ฝนบอกว่า อ.ชัช มอบอิสระในการท�ำงานให้ ไม่น�ำกรอบความคิดหรือวิธีการใด ๆ มาบังคับให้ลงมือท�ำ แต่เปิดช่องให้เรียนรู้ด้วยตัวเอง ไม่สั่งการให้ท�ำ แต่เมื่อเจอสถานการณ์ที่ ดูแล้วเกินก�ำลังทีมงาน ก็ส่งมอบข้อมูลที่เหมาะสมให้เพิ่มเติม คอยดูแลให้ค�ำปรึกษาอยู่ห่าง ๆ ซึ่งฝนเองน�ำอิสระในการท�ำงานรูปแบบดังกล่าวส่งต่อไปยังทีมงานด้วยเช่นกัน “อ. ชัช ผลักดันให้กล้าคิด กล้าพูด ให้เป็นผู้น�ำในการแลกเปลี่ยนพูดคุย ให้ออกไปหน้า เวที ซึ่งความอิสระทางความคิดเหล่านี้ มันท�ำให้สร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ ท�ำให้ฝนก็ไม่บังคับ ทีมงานเหมือนกัน เราใช้วิธีการคุยกัน ถามความคิดเห็น แบ่งงาน เช่น การลงพื้นที่ก็ถามไถ่กัน ใครว่าง ไปได้หรือไม่ได้ยังไง พูดกันตรง ๆ ได้หมด เคารพการตัดสินใจกัน” หรือแม้แต่ในช่วงงานเยอะ งานเร่งด่วน ฝนจะเปิดวงหารือกับทีมงานอย่าง อุ๊ และ จ๋า เพื่อร่วมกันหาทางออก เช่น จัดหาอาสาสมัครมาเสริมก�ำลังชั่วคราว รวมทั้งยังจัดหาเวลาไป 223

∞∞

สังสรรค์ พูดคุยกันแบบสบาย ๆ โดยไม่เกี่ยวกับงาน เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ในทีม ซึ่งแม้ว่าบางครั้งทุกคนต้องตกอยู่ในสภาวการณ์อ่อนล้าจากการเผชิญความท้าทายในหน้างาน อยู่บ้าง แต่ยังมีความเข้าอกเข้าใจกันและกันของทีมงานเป็นจุดเชื่อมประสานการขับเคลื่อนงาน อยู่ด้วย “อุ๊ กับ พีจ่ า๋ ๒ คนนัน้ บอกท�ำงานอยูเ่ พือ่ ฝน ถ้าฝนไม่หยุด ท�ำ พวกเขาก็ไม่หยุด ส่วนฝนที่ไม่หยุดท�ำ เพราะฝนก็ท�ำงานอยู่ เพื่อ อ.ชัช ส่วน อ.ชัช ก็ท�ำงานอยู่เพื่อทุกคน (หัวเราะ) อ.ชัช เคยบอกว่า เราท�ำงานเพื่อคนอื่น ไม่ได้ท�ำให้ตัวเอง ฝนก็ท�ำ เหมือน อ.ชัช คือท�ำงานให้กบั คนอืน่ ๆ อยู่ มันย้อนกลับมาตรง ทีฝ่ นเคยถามครูแนะแนวตอน ม.ปลายว่า เรียนอะไรทีม่ นั ได้ชว่ ยคนอืน่ ทุกวันนี้ ใช่เลย ฝนได้ทำ� งานช่วยคนอืน่ แล้ว” ส่วนการท�ำงานเชื่อมกับเครือข่ายทุกแห่ง เช่น โรงเรียนชุมชนมอวาคี โรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า ฝนเน้น หลักการร่วมงานด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน จัดหาสิ่งดี ๆ มอบให้กนั เสมอ ท�ำงานเหมือนญาติพนี่ อ้ ง เช่น การลงพืน้ ที่ ครั้งหนึ่ง ทีมงานจะส�ำรวจจนได้เห็นความต้องการอย่าง หนังสือใหม่ ความรู้ เครื่องมือการเรียนรู้ ทีมงานจะกลับไป หาช่องทางน�ำสิ่งเหล่านั้นกลับมา ให้ในพืน้ ที่ในเวลาต่อมา รวมทัง้ ยังมีการเชือ่ มความสัมพันธ์อย่างต่อเนือ่ งผ่านกิจกรรม ประเพณี วัฒนธรรมชุมชน “เราไม่ใช่มาเป็นเจ้าของ แต่มาเล่นสนุก ๆ กับเด็ก ไม่ได้ท�ำตัวเป็นแหล่งทุน แต่เป็นพี่ เป็นน้อง” 224 ∞∞

“เครือข่ายที่อยู่ด้วยกัน คือ องค์กรที่สมัครใจ อยากท�ำจริง ๆ” กว่ า ๑๐ ปี ใ นการท� ำ งานพั ฒ นาสั ง คมภาค ประชาชน “ฝน-มะลิวรรณ” บอกว่า คุณค่าที่ได้รับนั้น ยิง่ ใหญ่กว่าทรัพย์สนิ นัน่ คือ คุณค่าทางใจของการสร้าง สิ่งที่ดี ๆ ให้กับเด็ก ๆ เยาวชน ผู้คน และชุมชน “มันเป็นความสุขที่ได้เห็นคนอืน่ มีความสุข ฝนไป ลงพืน้ ทีก่ เ็ อาขนม ตุก๊ ตา หนังสือ ติดไปฝากเด็ก ๆ ตลอด ไปอ่านหนังสือให้ฟัง เด็ก ๆ ก็มารุมนั่งรอฟังนิทาน เห็นเด็กยิ้ม หัวเราะ ดี ใจ แล้วก็มีความสุขที่ ได้เห็น ธรรมชาติ ภูเขา ต้นไม้จริง ๆ แล้วก็ได้เห็นวัฒนธรรม ใหม่ การเป็นอยู่ อาหารการกิน ซึง่ มันท�ำให้เราได้เรียนรู้ เข้าใจวิถีของชุมชนที่แตกต่าง” จากเป้าหมายแรกที่ลงเรียนพัฒนาชุมชนเพื่อได้ ท�ำงานขึ้นดอยขึ้นภูเขาของ “ฝน เชียงใหม่อ่าน” วันนี้ เธอบอกว่า สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ดีเกินความคาดหวังเดิมเยอะมาก เกิดเป็นประสบการณ์ที่ดี จากความสุขกับการที่ได้อยู่ กับเด็ก ๆ จากความสุขกับการเป็นผู้ให้ จากความสุข ของการได้เรียนรู้พื้นที่หลากวัฒนธรรม

“เป็ น ความสุ ข อี ก แบบที่ ไ ด้ ซึ ม ซั บ ธรรมชาติ 225

∞∞

วัฒนธรรม น�้ำใจของผู้คน ได้เห็นแววตา อิ่มสุขของเด็ก ๆ เป็นสัมพันธภาพที่ดีของ การเป็นมนุษ ย์ ฝนดี ใจที่ได้ท�ำงานนี้ มันมี คุณค่ากับชีวิตมากที่ได้เรียนรู้ชีวิตและช่วย เหลือผู้คนไปด้วยแบบนี้ ได้เดินทางเจอโลก กว้างเยอะมาก จนมีเพื่อน ๆ บางคนถามฝน ว่าท�ำยังไงจะได้มาบนดอยเหมือนฝน คิดหัว เท่าไร (หัวเราะ) เราก็ย้อนคิดนะ เออ ใช่ เพื่อน ๆ บางคนได้แต่ท�ำงานอยู่ในห้อง สี่เหลี่ยมทุกวัน ฉะนั้น เราโชคดีมาก ๆ ที่ได้ ท�ำงานท่ามกลางธรรมชาติ อากาศบริสทุ ธิ์ บนดอยได้บอ่ ยมาก ๆ” ด้วยพลังจากธรรมชาติและการเดินทาง การท�ำงานช่วยเหลือของ “ฝน เชียงใหม่อา่ น” จึงขับเคลื่อนไปด้วยความสุขใจ ภายใต้การ เรียนรู้ผ่านการท�ำงานทุกจังหวะของชีวิตกับ หัวหน้างานที่ใช่และทีมงานทีช่ อบ กับบทบาท การเชื่อมประสานให้เครือข่ายได้รู้จักและ พัฒนาพื้นที่ของตนเองไปด้วยกัน ไม่ว่าจะ เป็นงานด้านการศึกษาทางเลือก หรืองาน

สร้ า งเสริ ม วั ฒ นธรรมการอ่ า นในชุ ม ชน ที่ค่อย ๆ เติบโตขยายพื้นที่รณรงค์ไปแล้ว ๘ อ�ำเภอในจังหวัดเชียงใหม่ “เชียงใหม่อ่าน” กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของชี วิ ต ฝน ทุ ก เช้ า ตื่ น มาเปิ ด เฟซบุ ๊ ก เชียงใหม่อ่าน ติดตามข่าวสารชาวเชียงใหม่ อ่าน พูดคุยกับคนที่รู้จักอยู่แล้ว หรือคุยกับ เพื่ อ นใหม่ ซึ่ ง มาชวนท� ำ กิ จ กรรมในพื้ น ที่ อยากบริจาคหนังสือ อยากได้หนังสือบริจาค อยากท�ำกิจกรรมกับเชียงใหม่อ่าน และ เรือ่ งอืน่ ๆ อีกมากมาย จากนัน้ ตลอด ๒ ปีก ว่าเธอยังมีชีวิตอยู่กับกิจกรรมเกี่ยวกับการ อ่านทุกวัน อ่านหนังสือทุกวัน คิดและพูดคุย เกี่ยวกับการอ่านทุกวัน เมื่อ “เชียงใหม่อ่าน” เป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตฝนไปแล้ว ย่อมไม่ใช่เรื่องแปลกที่ หลาย ๆ คนเรียกเธอว่า “ฝน เชียงใหม่อา่ น” คนที่ก�ำลังจับมือเพื่อน ๆ เครือข่ายร่วมกัน ผลักดันเชียงใหม่ให้เป็น “มหานครแห่ง การอ่าน” 226

∞∞

= Growth Mindset = - ท�ำงานเพื่อช่วยเหลือคน ชุมชนก็พัฒนา - คนทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง - ถอดบทเรียนการท�ำงานสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น - สร้างการเปลี่ยนแปลงต้องมีพื้นที่ท�ำงาน สื่อสารกับสังคม เชื่อมโยงกับนโยบาย - การสื่อสารสร้างแรงเหวี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ - การกล้าตัดสินใจ คือบทเรียนสู่ความส�ำเร็จ - มีหลายช่องทางให้เลือกเดินไปยังเป้าหมายเสมอ - มอบความไว้วางใจให้กับทีมงาน สร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ - ดูแลรักษาเครือข่ายให้เหมือนญาติพี่น้อง

227

∞∞

สนับสนุนกิจกรรมสร้างเครือข่ายร่วมงานการอ่านระดับพื้นที่ จ�ำนวน ๑๑ องค์กร ประกอบด้วย - - - - - - - - - - -

โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา สถาบันฝึกอบรมเพื่อการจัดการตัวเอง TISM โรงเรียนชุมชนมอวาคี ศูนย์การเรียนรู้โจ๊ะมาโลลือหล่า โรงเรียนวิถีชีวิตชุมชนปกาเกอะญอ เครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม กลุ่มบ้านใหม่สามัคคี เชียงดาว โรงเรียนสาธิตชุมชนอ�ำเภอการเรียนรู้สมเด็จย่า อ�ำเภอแม่แจ่ม สโมสรนักเขียนเชียงใหม่ เครือข่ายบ้านเรียนล้านนา ห้องสมุดพื้นบ้านย่านเวียงเชียงใหม่ ร้านเล่า เชียงใหม่

228

∞∞

ส่วนหนึ่งของกิจกรรมรณรงค์ “เชียงใหม่อ่าน”

One book One bath : เป็นกิจกรรมเพื่อการรณรงค์จัด

ขายหนังสือ ๑ เล่ม ๑ บาท เริ่มต้นกิจกรรมในปี ๒๕๕๗ ภายใน ตัวเมืองเชียงใหม่ จากนั้นในปี ๒๕๕๘ ขยายพื้นที่จัดกิจกรรมไปสู่ พืน้ ทีต่ า่ ง ๆ รวม ๘ อ�ำเภอ ได้แก่ อ�ำเภอเมือง สะเมิง แม่แจ่ม แม่รมิ สารภี เชียงดาว หางดง และแม่วาง ท�ำให้เกิดการกระจายโอกาสเข้าถึง หนังสือสู่คนกลุ่มต่าง ๆ อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น



ผ้าป่า แบ่งฝัน ปันหนังสือ : เป็นกิจกรรมเสวนาเพื่อแบ่งปันความรู้จากหนังสือในดวงใจของ

แต่ละคน สือ่ สารเป้าหมายของเชียงใหม่อา่ น เชือ่ มเครือข่ายใหม่และเครือข่ายเก่าทีร่ กั การอ่านเข้ามา ร่วมพูดคุย จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน เล่านิทาน แลกเปลี่ยน-ระดมหนังสือ ฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับ หนังสือ น�ำหนังสือที่ได้จากงานส่งมอบให้เครือข่ายที่ต้องการ



เด็กอยากอ่าน ผู้ใหญ่อยากให้ : เป็นกิจกรรมสนับสนุนการส่งมอบหนังสือดี ๆ ที่เด็ก ๆ

อยากอ่าน แต่ขาดโอกาสในการซือ้ เป็นเจ้าของ โดยเด็กเสนอความต้องการหนังสือทีอ่ ยากอ่านของตน ทั้งในเฟซบุ๊กและกิจกรรมโครงการฯ ในพื้นที่ จากนั้นผู้ใหญ่ใจดีที่สนใจอยากมอบหนังสือดี ๆ ให้เด็ก บริจาคเงินทุนหรือหนังสือเล่มดังกล่าวให้แก่เด็ก ๆ ทีอ่ ยากได้ โดยมีโครงการสนับสนุนด้านการจัดการ



มหกรรมเชียงใหม่อา่ น : เป็นกิจกรรมครัง้ ใหญ่ประจ�ำปีของโครงการเชียงใหม่อา่ น มีเป้าหมาย

ทั้งเพื่อการรณรงค์สร้างกระแสและผลักดันในเชิงนโยบายร่วมด้วย เช่น การร่วมขับเคลื่อนงานกับ อบจ.เชียงใหม่ พร้อมกับเป้าหมายเพิ่มภาคีเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษา มีการชวนภาคี การศึกษากว่า ๘๐ หน่วยงาน เพื่อวางเป้าหมายการขับเคลื่อนมหกรรมเชียงใหม่อ่านและพัฒนาเป็น “เชียงใหม่นครแห่งการอ่าน” ร่วมกันต่อไป

229

∞∞



“การร่วมเป็นเครือข่ายเชียงใหม่อา่ น แล้วมาท�ำกิจกรรมส่งเสริม การอ่าน พี่สอนน้องในโรงเรียน ท�ำให้รู้ว่าเด็ก ๆ ควรจะอ่านหนังสือ อะไร แบบไหนถึงจะเหมาะสมกับวัย ท�ำให้เราหันมาจัดสรรเวลาให้เด็ก อ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากเดิม เราเห็นว่าพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่ได้เรียน รู้จากการอ่านทั้งพี่และน้องเปลี่ยนไป ได้เห็นเด็ก ๆ กล้าคิด กล้าพูด และมีจินตนาการมากขึ้น”



บุญชัย นิรุชากุล ครูโรงเรียนมอวาคี อ�ำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่     “จุดเด่นของเชียงใหม่อา่ นในมุมของผม คือ การเสริมพลังเครือข่าย การสร้างพืน้ ทีแ่ ละโอกาสมาเจอกัน สัก ๒-๓ เดือน ได้มาท�ำกิจกรรมร่วมกัน มองผ่าน ๆ เหมือนจัดกิจกรรมจบก็จบไป แต่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ จริงคือ เป็นส่วน ทีเ่ ติมพลังให้เครือข่ายได้ดี รู้สึกว่าตัวเองมีพลังมากขึ้นทุกกิจกรรมที่ได้ เจอกัน ยิ่งเครือข่ายเยอะก็ยิ่งมีกิจกรรมเยอะขึ้น

ชอบกิจกรรม One book One bath สนุก คึกคัก อบอุ่น มีก�ำลังใจ เห็นสิ่งดี ๆ มีความหวัง สัมผัสได้ถึงพลังของหนังสือและการอ่าน พอเรามีพลังก็เต็มที่กับการคิดและ เคลื่อนงาน ได้ท�ำงานส่งเสริมการอ่านก็สนุกกับการอ่านและค้นคว้ามากขึ้นอีก มีแรงบันดาลใจอยาก เขียนหนังสือดี ๆ ให้คนอ่าน”



เสย-องอาจ ฤทธิ์ปรีชา สโมสรนักเขียนเชียงใหม่ ผู้ดูแลคอลัมน์ล้านนานครการอ่าน หนังสือไทยนิวส์

230

∞∞



“ได้เรียนรูก้ บั กลุม่ เครือข่ายทีส่ ง่ เสริมการอ่านทีห่ ลากหลาย เห็นเทคนิคต่าง ๆ มีการพัฒนากระบวนการของตนเอง ทักษะการ ท�ำงานปรับให้สอดคล้องกับงานทีท่ ำ� อยู่ อีกทัง้ เข้าใจการท�ำงานของ พื้นที่และเห็นความส�ำคัญว่าการอ่านสร้างคนได้จริง”



ฝน-มะลิวรรณ มาผาบ ผู้ประสานงานเชียงใหม่อ่าน เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ

231

∞∞

บทสัมภาษณ์พิเศษ ครูนิด-อรพินท์ กุศลรุ่งรัตน์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์การเรียนรู้โจ๊ะมาโลลือหล่า โรงเรียนวิถีชีวิตชุมชนปกาเกอะญอ บ้านสบลาน อ�ำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) คนส�ำคัญที่มีส่วนสนับสนุนในการขับเคลื่อนสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่าน “ครูนิด” น�ำประสบการณ์การเป็นครูประจ�ำชั้น เด็ ก พิ เ ศษคละชั้ น ที่ โ รงเรี ย นรุ ่ ง อรุ ณ เป็ น เวลานั บ ๑๐ ปี มาพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนวิถชี วี ติ ชุมชนปกาเกอะญอ ให้เด็ก ๆ ได้มคี วามรูค้ วามสามารถ ตามวิถีชีวิต และวิชาแกนตามหลักสูตรของ สพฐ.

“เรามาจากต่างวัฒนธรรม สิ่งที่คิดคือ ท�ำอย่างไร ให้ทงั้ ๒ วัฒนธรรม ผสานกันแล้วเกิดประโยชน์กบั ทุกฝ่าย ตัวเราต้องเคารพในแนวทางของเขา เห็นความงดงาม ในความต่าง เราต่างต้องทบทวนกับตัวเอง ใคร่ครวญกับ ตัวเอง เปิดหัวใจ ศึกษาไปให้ถงึ แก่นของมันว่าสิง่ ทีเ่ ราก�ำลัง ท�ำคืออะไร สร้างผลประโยชน์ต่อใครอย่างไร คิดทวนไปว่ามันจะเกิดโทษอะไร และถ้ามีโทษจะแก้ไข อย่างไร”

232

∞∞

การร่วมเป็นเครือข่ายเชียงใหม่อ่าน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

“ตอนนี้ได้เห็นวาระการอ่านอยู่ในวิถีชีวิตชัดเจน เห็นภาพกระบวนการที่ใช้วาระการอ่านเพื่อ พัฒนาคน ท�ำให้การอ่านเข้าไปอยู่ในวิถีชีวิตวัฒนธรรมของเด็กและคนในชุมชนมากขึ้น มีช่องทางใน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างโอกาสแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกชุมชนได้มากขึ้น



ในชุมชนมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่สนุกและชอบมาก คือ การท�ำกิจกรรมกับน้อง ๆ ในชุมชน ผลิตสือ่ อ่านหนังสือนิทานให้นอ้ งฟัง ทัง้ ทีโ่ รงเรียนและในบ้าน ซึง่ ท�ำให้ได้พฒ ั นาศักยภาพใน การเรียนรูข้ องทัง้ ตัวพีแ่ ละน้อง พร้อมกับสานความสัมพันธ์ของพีน่ อ้ ง ครอบครัว พ่อแม่ ลูก มันสะท้อน ให้เห็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต เห็นเยาวชนเป็นพลังสังคมและชุมชน”

รูปแบบของโรงเรียนวิถีชีวิตชุมชนเป็นอย่างไร

“โรงเรียนชุมชนจะเป็นรูปแบบไหนก็ได้ เพียงแต่โรงเรียนต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต กับบริบท วัฒนธรรมของชุมชน ต้องสร้างสิ่งดีให้ชุมชน และแก้ปัญหาของชุมชน และต้องไม่ใช่การศึกษาที่ จับไปยัดใส่และกลับมาท�ำลายชุมชน ก่อนหน้านีเ้ ราเห็นปัญหาการศึกษาทีเ่ ข้าไปท�ำลายชุมชน เข้าไป ท�ำลายภูมิปัญญา ท�ำให้ชุมชนล่มสลาย เราเห็นการศึกษาฆ่าคน แต่วันนี้เราอยากเห็นการศึกษา ช่วยคน ซึ่งต้องท�ำให้ชุมชนปลดล็อกอันนี้และสามารถยืนขึ้นมาได้ ตามวัตถุประสงค์คือ สร้างคนตาม วิถีชีวิตของเขา



และการเรียนรูค้ วรจะเชือ่ มโยงได้ตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษา หรืออาจจะดีกว่ามาตรฐาน ก็ได้ มาตรฐานก็คือคุณภาพของเด็ก ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพชุมชน และคุณภาพของชุมชนก็ส่งผลไปยัง คุณภาพของประเทศด้วย”

233

∞∞

ความเชื่อมโยงของการเรียนรู้และวิถีชุมชนเป็นอย่างไร

“วิธกี ารท�ำงานกับชุมชนของเรา มุง่ สร้างสังคมแบบใหม่ ไม่มกี ารเอาวัตถุไปให้หรือนัง่ ดืม่ เหล้า กันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ เราท�ำงานบนพื้นฐานการสื่อสารตรงไปตรงมา ไม่ต้องเอาใจชุมชน แต่ลงมือท�ำงานให้เห็น ซึ่งสังคมแบบนี้จะอยู่ได้ด้วยสมรรถภาพทางใจ คือ ใจถึงใจ ต่างฝ่ายต่างเห็น คุณค่าซึ่งกันและกัน เป็นการท�ำงานที่ไม่เร่งรัดในผล เปรียบเหมือนน�้ำซับ (เป็นการไหลของน�้ำใต้ดิน ที่ตัดกับผิวดินโดยธรรมชาติ) ค่อย ๆ ซึมเข้ามาแล้วค่อย ๆ ไหลไปเป็นแม่น�้ำ ซึ่งกว่าจะเป็นแม่น�้ำนั้น จะเก็บน�้ำไว้จนอิ่มแล้วจึงล้นออกมาเลี้ยงผู้คนอื่น ๆ ต่อไป



ครูเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชุมชนกับสังคมเมือง ที่น�ำองค์ความรู้ใหม่ซึ่งสามารถผสานกับ ชุดเดิมได้ ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งคนและสัตว์ ต้องหาข้อมูลตลอดอย่างต่อเนือ่ ง ลงมือท�ำและค้นคว้าไปพร้อมกัน เจอปัญหาเมือ่ ไรก็เรียนรูแ้ ล้วจัดการมัน



ความจริง ของจริง สถานการณ์จริง น�ำเราไปสู่การเรียนรู้ทุกช่องทาง ตัวหลักสูตรการเรียนรู้ ของโรงเรียนวิถีชีวิตชุมชนไม่ได้มีหัวใจอยู่ที่การประกอบอาชีพ ทุกคนประกอบอาชีพอะไรก็ได้ตามที่ อยากท�ำ แต่หัวใจของหลักสูตร คือ ส่งเสริมให้คนคนนั้นเป็นคนที่มีคุณค่าของครอบครัว ชุมชน และ สังคม”

234

∞∞

อ่านสร้างสุข ธนิชา ธนะสาร

หัวใจ ชุมชน คนพัฒนา : หล้า เพียงพอดี พัฒนาคน = พัฒนาชุมชน ดอนแก้วต�ำบลแห่งการอ่าน “หัวใจของการท�ำงานชุมชน คือ ใจ เราต้องให้ใจกับชุมชน” “หล้า-ธนิชา ธนะสาร” กลุ่มเพียงพอดี กล่าว ประโยคสั้น ๆ นี้ไว้ในฐานะของคนที่ทุ่มเทท�ำงานเพื่อ ชุมชนมายาวนาน เริ่มตั้งแต่สวมหมวกนักพัฒนาสังคม ในองค์ ก รพั ฒ นาเอกชน (Non-Governmental Organization หรือ NGO) จนกระทัง่ วันนีภ้ ายใต้หมวก คนท�ำงานพัฒนาสังคมของภาครัฐเพิม่ ขึน้ อีกใบหนึง่ ใน ฐานะผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๑๐ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ต�ำบล ดอนแก้ว อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

“หล้า-ธนิชา” หรือที่ใคร ๆ ก็เรียกกัน ว่า “ป๋าหล้า” ก่อตั้งกลุ่มเพียงพอดีตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ รวมกลุ่มคนที่มีจิตอาสาร่วมท�ำงาน ขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาสังคมต่าง ๆ ใน ชุมชนต�ำบลดอนแก้ว อ�ำเภอแม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ ท�ำงานกับกลุ่มเยาวชนเริ่มด้วย ประเด็นสิง่ แวดล้อม เน้นเรือ่ งการจัดการขยะ ในชุมชน จากนั้นเริ่มท�ำงานตามเป้าหมาย พัฒนาแกนน�ำชุมชนตามประเด็นที่ตั้งไว้ คือ เยาวชนกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพผู้หญิง และ เกษตรปลอดสารพิษ กลุ่มเพียงพอดีเป็น ๑ ใน ๑๑ ภาคี เครือข่ายขับเคลื่อนงานส่งเสริมวัฒนธรรม การอ่านในชุมชน ท�ำงานส่งเสริมวัฒนธรรม การอ่านร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ประจ� ำ หมู ่ บ ้ า น (อสม.) ในพื้ น ที่ ต� ำ บล ดอนแก้ว และโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา มีคนเคยพูดกันในชุมชนว่า อย่าให้ลูก หลานไปร่ ว มกิ จ กรรมกั บ กลุ ่ ม เพี ย งพอดี 237

∞∞

เพราะเป็น NGO มี ผู ้ ป กครองเคยกั ง วลว่ า “หล้ า ” จะชวนลูกหลานไปประท้วง ในขณะที่ มุ ่ ง ท� ำ งาน ชวนเด็ ก และ เยาวชนมาร่ ว มพั ฒ นาชุ ม ชนไปด้ ว ยกั น มีหลายเสียงไม่ยอมรับเกิดขึ้น ด้วยการสวม หมวก NGO ที่ใครหลายคนในยุคสมัยหนึ่ง ไม่เข้าใจ รวมถึง “หล้า-ธนิชา” ก็ไม่ใช่คนที่ อาศัยอยู่ที่ต�ำบลดอนแก้วตั้งแต่ก�ำเนิด แต่ เพิง่ มาฝากเนือ้ ฝากตัวเป็นคนแม่รมิ ได้ในช่วง ๑๐ กว่าปีนี้เอง การยอมรับให้เป็นผู้น�ำการ พัฒนาชุมชนในยุคหนึ่งจึงค่อนข้างไม่ง่ายนัก ปี ๒๕๕๑ จึงตัดสินใจลงสมัครรับ เลือกตัง้ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนต�ำบล ดอนแก้ว (ส.อบต.) เพือ่ เพิม่ หมวกส�ำหรับการ ท�ำงานเพื่อชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือและเข้าใจ มากขึ้น แต่สอบตก แพ้ไป ๙ คะแนน แม้ว่าจะสอบตกในครั้งนั้น แต่ป๋าหล้า ยังคงตัง้ หน้าท�ำกิจกรรมโครงการเพือ่ พัฒนา ชุมชนต่อเนื่อง

กระทัง่ ปี ๒๕๕๔ เขาตัดสินใจลงสมัครเลือกตัง้ เป็นผูใ้ หญ่บา้ น ผลการเลือกตัง้ ออกมาชนะ ท�ำให้ได้สวมหมวก “พ่อหลวงหล้า” ของชุมชนตั้งแต่นั้น ในปีเดียวกันนั้นเอง กลุ่มเพียงพอดีได้เริ่มต้นท�ำงานส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน เริ่มกลไกขับเคลื่อนรณรงค์โดย อสม. สาขาแม่และเด็ก ซึ่งถือว่าเป็นแม่คนที่ ๒ ของเด็ก ๆ ในชุมชน “ใช้หนังสือเล่มแรก เทคนิคการเล่านิทาน ท�ำกับกลุ่ม อสม. เน้นไปที่เด็ก ๆ แรกเกิดถึง ๓ ปี ร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ตอนนั้นมีกิจกรรมพัฒนาศักยภาพครู ศพด. และ อสม. มีกิจกรรมตะกร้าปัญญา คือการจัดหนังสือใส่ตะกร้าเอาไปไว้ในชุมชน” กระทั่งเข้าสู่ปี ๒๕๕๕ จึงได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. เพิ่มเติมด้านการเป็นวิทยากร ส่งเสริมการอ่านในชุมชน มีการผลิตหนังสือท�ำมือ เพิ่มทักษะการอ่านหนังสือ การใช้เสียง การท�ำงานเป็นทีม ได้มีโอกาสลงปฏิบัติงานจริง จัดกระบวนการเรียนรู้ให้โดยองค์กรเครือข่าย 238

∞∞

ด้านการอ่าน กลุ่มละครมะขามป้อม เชียงดาว กระทั่งผู้เข้าร่วมอบรมมองเห็นคุณค่าในตนเอง เริ่มพัฒนาตนเอง จนเริ่มสนุกกับการเป็นอาสาสมัครด้านส่งเสริมการอ่านในชุมชน

“ถ้าคนได้รับการพัฒนา ชุมชนก็พัฒนาตามไปด้วย”

วัฒนธรรมการอ่านต�ำบลดอนแก้ว ปี ๒๕๕๑-๒๕๕๒ มีกลุ่มเยาวชนกับสิ่งแวดล้อมท�ำกิจกรรมปั่นจักรยานเก็บขยะในชุมชน เมื่อท�ำงานไประยะหนึ่งได้ค้นพบว่า แกนน�ำอาสาสมัครยังขาดความมั่นใจ ไม่กล้าแสดงออกใน การแลกเปลี่ยนและแนะน�ำข้อมูลต่าง ๆ จึงเกิดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนน�ำหลาย ๆ ด้าน เพิ่มเติม เช่น การพูดในที่ประชุม ข้อมูลความรู้เรื่องเพศและเอดส์ การท�ำงานเป็นทีม รวมทั้ง การไปร่วมประชุมในเวทีต่าง ๆ เพื่อเสริมความรู้ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการขยับงานด้านการ ส่งเสริมการอ่านในต�ำบลดอนแก้ว กลุม่ เพียงพอดีทำ� งานด้วยแนวคิดมุง่ พัฒนาศักยภาพคน เช่น แกนน�ำชุมชน แกนน�ำเยาวชน ผู้เข้าร่วมโครงการ หรือคนในชุมชน เนื่องจากเมื่อมีการพัฒนาศักยภาพคนในชุมชน แกนน�ำ ชุมชนจะสามารถร่วมคิดและขยับงานพัฒนาในชุมชนได้เอง ดังนั้น กิจกรรมการท�ำงานเก็บขยะของกลุ่มเพียงพอดีนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การเก็บขยะ แต่ ยังหมายรวมถึงการปรับทัศนคติ ความรูส้ กึ ความคิด แลกเปลีย่ นมุมมองของคนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะการใช้ “ตัวเองเป็นสือ่ ” สร้างความเข้าใจและมีสว่ นร่วมในประเด็นทีข่ บั เคลือ่ นร่วมกัน

เช่นเดียวกับตัวของ “ป๋าหล้า” ที่ใช้ตวั เองเป็นสือ่ ในการสร้างความตระหนักรูใ้ นชุมชนเช่นกัน 239

∞∞

การท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในต�ำบลดอนแก้ว มีองค์กรชุมชนทีเ่ กีย่ วข้อง คือ องค์การบริหารส่วนต�ำบลดอนแก้ว (อบต.ดอนแก้ว) โรงพยาบาลชุมชนดอนแก้ว ศูนย์พฒ ั นาเด็ก เล็ก และโรงเรียนสังกัด อบต.ดอนแก้ว และ อบจ.เชียงใหม่ ซึง่ เชือ่ มโยงกันด้วยกิจกรรมส่งเสริม การอ่านที่หลากหลาย เช่น ตะกร้าปัญญาในโรงเรียน มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็ก ๆ อนุบาล ๓-๖ ปี และเด็กประถมศึกษา ๖-๑๒ ปี โดยเลือกซื้อหนังสือที่เด็กชอบ หนังสือประกอบการสอน หนังสืออ่านเพิ่มเติมนอกเวลา แล้วน�ำมาใส่ในตะกร้า ท�ำเป็นห้องสมุดเคลื่อนที่ “ตะกร้าส�ำหรับเราเป็นเครื่องมือน�ำเหยื่อ ไปล่อปลา หมายความว่า เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ สามารถเลือกอ่านหนังสือได้โดยไม่เข้าห้องสมุด แค่เห็นหนังสือในตะกร้า เด็ก ๆ ก็มีความสุขและ ตื่นเต้นแล้ว และเนื้อหาที่สนุกของหนังสือจะ น�ำพาเด็ก ๆ ไปยังห้องสมุดในครั้งต่อไปเอง” ส่วนกิจกรรมต่อมาคือ อสม. แม่คนที่ ๒ สอนน้องอ่าน ด้วยการน�ำตะกร้าปัญญาลงสู่ ชุมชน กับกลุ่มเป้าหมายเด็กแรกเกิด - ๓ ปี มีการลงเยี่ยมบ้านเด็กแรกเกิด มอบตะกร้าหนังสือ เป็นของขวัญ มีการบูรณาการการท�ำงานร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดูแลเด็กกลุ่มนี้ด้วย ถือเป็นการปลูกฝังการรักการอ่านจากแม่สลู่ กู ซึง่ เป็นพืน้ ทีก่ ารส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ตะกร้า ปัญญาส�ำหรับแม่และเด็กนัน้ ท�ำให้เกิดประโยชน์ตอ่ ครอบครัวมาก เวลาแม่เลีย้ งลูกทีบ่ า้ น แม่จะ อ่านหนังสือกล่อมลูกนอน ได้ฝึกสมาธิ การอ่านช่วยส่งเสริมพัฒนาการที่ดีแก่เด็ก

“และอีกกิจกรรมที่ท�ำกับเยาวชนและคนในชุมชนด้วย คือ ขยะสร้างปัญญา เป็นการน�ำ 240

∞∞

ขยะมาแลกกับหนังสือ เพราะเป็นช่องทางหนึ่งในการท�ำให้ขยะ หมดไปจากชุมชน สร้างจิตส�ำนึกทีด่ ี เราจะจัดซือ้ หนังสือทีเ่ ด็ก ชอบเตรียมไว้ให้เด็กน�ำขยะมาแลกกับหนังสือ ๑ เล่ม ขยะ ที่น�ำมาก็มีการคัดแยกขยะมาด้วย ซึ่งเมื่อเด็ก ๆ ได้หนังสือ ไปแล้ว เขาจะมีความภาคภูมิใจและหวงแหนหนังสือมาก เพราะเป็นสิ่งที่หาได้มาด้วยตัวเอง” เป้าหมายล่าสุดของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในต�ำบล ดอนแก้ว คือ มีการด�ำเนินกิจกรรมภายใต้ ๓ ภารกิจหลัก คือ ธนาคารหนังสือ พืน้ ทีส่ ง่ เสริมการอ่าน และกองทุนสวัสดิการหนังสือส�ำหรับ เด็ก ช่วงวัย ๐-๓ ปี โดยมีกิจกรรมหนุนเสริมซึ่งมุ่งน�ำไปสู่การส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านระดับ อ�ำเภอ เช่น การสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการอ่าน โดยตู้ไปรษณีย์หนังสืออ่านได้ กิจกรรมมหกรรม หนังสือเล่มละบาท เป็นต้น การท�ำงานโครงการดอนแก้วอ่านยกก�ำลังสุขโดยกลุม่ เพียงพอดี มีผลลัพธ์จากการท�ำงาน ที่ชัดเจน คือ การส่งเสริมสนับสนุนจาก อบต.ดอนแก้ว ซึ่งได้ก�ำหนดให้มีนโยบายส�ำหรับการ ส่งเสริมการอ่านปรากฏอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ ๓ ปีของต�ำบล ด้วยพันธกิจด้านการส่งเสริมการ อ่านในกองการศึกษา มีกิจกรรมที่รองรับการ ส่งเสริมการอ่าน และมีแนวทางการสนับสนุน ของกองการศึกษา เป้าหมายของการขับเคลื่อนงานการอ่าน คือ ต้องการให้มีสถานที่อ่านหนังสือในชุมชน 241

∞∞

ฐานการพัฒนาคนในชุมชนต้องขยับเพิ่มมากขึ้น มีหลักสูตรแกนกลางและหลักสูตรชุมชน ถือว่า ต�ำบลดอนแก้วเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การเรียนรูท้ สี่ ง่ เสริมจากฐานราก มีการพัฒนาศักยภาพ คนในชุมชน การให้คนในชุมชนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเชิงระบบ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านคือการ สร้างทรัพยากรมนุษย์จากต้นทางที่แข็งแรง “ตัวหล้าเอง หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ก็กลายเป็นคนใจเย็นและอ่านหนังสือมากขึ้น เมือ่ ก่อนขีโ้ มโหมาก ขับรถเจอสถานการณ์ที่ไม่ชอบจะขับรถตามไปด่าเลย แต่พอได้อา่ นหนังสือ “เปลี่ยนค�ำถามชีวิตเปลี่ยน” ท�ำให้รู้เลยว่าความอ่อนโยนต้องท�ำอย่างไร หลังจากนั้นจึงไม่มี อารมณ์นั้นอีกเลย ทุกวันนี้ก็เลยสนใจอ่านหนังสือมากขึ้น ตอนนี้สุขภาพจิตดีขึ้น และปลอดภัย จากการขับขี่แล้ว”



“บ้านหนูอยู่ใกล้กับศาลากลางบ้าน เพื่อน ๆ ก็มาอ่านหนังสือที่ ศาลาเยอะมาก พวกเรามานั่งอ่านหนังสือ แล้วก็อธิบายกันด้วยว่า หนังสือเล่มนั้นเป็นยังไง เราสลับกันเล่าให้ฟัง ถ้าเราอ่านหนังสือแล้ว สามารถบอกเพือ่ นได้ ก็จะท�ำให้เขาเข้าใจเหมือนทีอ่ า่ นเอง ตอนนีอ้ า่ น หนังสืออยู่หลายแนว หนูชอบเข้าห้องสมุดทุกวัน”



ด.ญ.ลลิตา ปราพรหม (ปิ่น) อายุ ๙ ปี ชั้น ป. ๔ โรงเรียนบ้านศาลา อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

242

∞∞



“ผมชอบอ่านหนังสือแล้วก็เข้าห้องสมุดเป็นประจ�ำ ไปอ่านหนังสือ และหาความรู้มาท�ำรายงานส่งครู เมื่อก่อนตอนเด็ก ๆ แม่อ่านนิทานให้ ฟังทุกคืน ผมชอบอ่านหนังสือการ์ตูนปนความรู้ ท�ำให้เราได้ฝึกเข้าใจ เนือ้ ความของหนังสือ ท�ำให้เราได้คิดสร้างสรรค์เรื่องต่าง ๆ อีกด้วย”



ด.ช.วชิรพล นวมทอง (อิง) อายุ ๑๑ ปี ชั้น ป. ๕ โรงเรียนบ้านศาลา อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

   “ตอนนีห้ นูชอบอ่านหนังสือ เพราะอ่านแล้วได้ฝกึ สายตา จับใจความ ส� ำ คั ญ ได้ น� ำ มาใช้ กั บ ชี วิ ต ประจ� ำ วั น เพื่ อ นร่ ว มชั้ น ของหนู ก็ เ ยอะ เรามารวมตัวกันอ่านหนังสือประจ�ำ อะไรที่เราไม่รู้ก็ค้นคว้า ทดลอง แล้วเอามาเล่าให้กันฟัง”



ด.ญ.วณิชยา จันทร์พระยา (อิ่มจัง) ชั้น ม. ๒ โรงเรียนบ้านศาลา อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

243

∞∞

ล่าสุดในปี ๒๕๕๙ กลุม่ เพียงพอดีมแี นวคิดน�ำโครงการฯ ไปผนวกรวมกับทุกกิจกรรมระดับ ต�ำบล เกิดการท�ำงานขยายฐานเครือข่าย เข้าสู่ระบบการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาล และกับกลุม่ ผูน้ ำ� ในชุมชน แกนน�ำต่าง ๆ ในชุมชน มุง่ เน้นการรณรงค์สร้างการรับรู้ น�ำข้อมูลและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านไปเชื่อมกับการจัดงานและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นใน ท้องถิ่น เช่น งานแข่งกีฬาของต�ำบลดอนแก้ว ก็น�ำหนังสือไปจัดกิจกรรมให้คนได้น�ำขยะมาแลก หนังสือได้ รวมทั้งยังเชื่อมโยงไปร่วมกับงานในระดับจังหวัด เช่น กิจกรรม One Book One Bath รับบริจาคหนังสือ กลุ ่ มเพี ย งพอดีขอเข้าร่วมท�ำ กิจกรรมร่วมกับงานอื่น ๆ ในชุมชน อย่างสม�่ำเสมอจนน�ำไปสู่ความคุ้นเคย ของคนในชุมชนและองค์กรในชุมชน ในความคุ้นเคยท�ำให้เกิดความใกล้ชิด บางคนที่เป็นแม่บ้าน เข้าไปหาหนังสือ สมุนไพร สุขภาพ อาหาร ความรูร้ อบตัว เพื่อน�ำไปเป็นความรู้ของตนเอง ทางกลุ่มเพียงพอดีเลือกท�ำงานทั้งการขับเคลื่อนและรณรงค์ไปในเวลาเดียวกัน ดังนั้น สิ่งที่ค้นพบจากความส�ำเร็จของการขับเคลื่อนส่งเสริมการอ่านไปในทุกที่ทุกงาน คือ ความไว้ วางใจจากองค์กรในชุมชน ความใส่ใจของแกนน�ำส่งเสริมการอ่าน หรือ อสม. ในการเชือ่ มงาน เข้าไปสู่ในระบบต่าง ๆ การสร้างแรงจูงใจ การท�ำกิจกรรมบ่อย ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคย และ การท�ำซ�้ำให้เห็นภาพที่ปรากฏขึ้นในกิจกรรมบ่อยครั้ง 244

∞∞

“เพียงพอดี” เลือกลงมือท�ำซ�้ำ ๆ จนได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ส่งเสริมการ อ่านทั้งในระดับชุมชนและระดับจังหวัด

ก่อนมาเป็น “ป๋าหล้า” “ป๋าหล้า” เรียนจบ ป. ๗ ที่อ�ำเภอพร้าว แล้วศึกษาต่อจนจบ มศ. ๓ ที่อ�ำเภอแม่แจ่ม จากนั้นจึงเข้าไปเป็นเด็กพาณิชย์ เรียน ปวช. เลขานุการ ที่เชียงใหม่ แล้วเรียนต่อปริญญาตรี ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ส่วนปริญญาโท ได้เลือกเรียน รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เพื่อให้สอดคล้องกับการท�ำงาน เติบโตมาในครอบครัวที่มีอาชีพท�ำไร่ พี่ชายท�ำงานสถานพินิจ พ่ออยากให้ท�ำงาน รับราชการ จะได้เป็นเจ้าคนนายคนตามความเชื่อสมัยก่อน จึงอยากให้เรียนต่อ มศ. ๔ ที่ 245

∞∞

สันก�ำแพง เพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย แต่ “หล้า” ไม่อยากรับราชการ หนีพ่อไปสอบ โรงเรียนพาณิชยการเชียงใหม่ ผลออกมา สอบติดได้เรียนเลขานุการสมดังใจ แม้วา่ พ่อ เสียใจนิดหน่อย แต่เมือ่ สอบเสร็จแล้วก็ปล่อย ให้ลูกเรียนไป เหตุผลง่าย ๆ ที่เลือกเรียนเลขานุการ เพราะว่าไม่เก่ง “บัญชี” ไม่ชอบ “การตลาด” หลังจากเรียนจบไปท�ำงานบริษัทร้านค้า ขนาดใหญ่อยู่ ๑๐ กว่าวัน ในหน้าที่ตรวจ บัญชี ตรวจสต็อกของ หลังจากนัน้ ไปสมัครงานเป็นนักพัฒนา ลุ่มน�้ำแม่แจ่ม โครงการพัฒนาลุ่มน�้ำแม่แจ่ม เพราะชอบพื้นที่ในชนบทหรือบนดอย จะให้ ไปท�ำงานอะไรยังไม่รู้ คิดแค่ว่าต้องได้อยู่กับ ชาวบ้านบนดอยแน่ ๆ ซึ่งผลออกมาเป็นอย่างที่คิด คือ สนุก และมันมาก “หล้า” อยูบ่ นดอยได้ขมี่ อเตอร์ไซค์ วิบากไต่เขา

“ชาวบ้านทีเ่ ราไปเจอคือ กะเหรีย่ งกับม้ง เป็นกันเอง อบอุ่นดี เมื่อก่อนมีคนว่าชาวเขา เป็นพวกท�ำไร่เลื่อนลอย ท�ำลายป่า แต่เรา ไม่รู้สึกอย่างนั้น เพราะคิดแบบตรง ๆ ว่าคน ต้องท�ำมาหากิน เหมือนบ้านเรามีนามีนำ�้ ก็ทำ� นาไป ส่วนที่บนดอยไม่มีนาเหมือนบ้านเรา เขาก็ท�ำไร่บนดอยไง ตรง ๆ ตามภูมิประเทศ ช่วงอยู่ที่นั่นชอบมาก เรามีทีม ๓ คน องค์กร ให้อิสระเราคิดงาน ให้กรอบกว้าง ๆ มา ส่งเสริมอาชีพให้คนพื้นที่ได้ท�ำกิน จะได้ลด เลิกการปลูกฝิ่น เราไม่ได้พูดตรง ๆ แต่เสริม ทางเลือกของอาชีพให้ ได้เงินเดือน ๔,๑๐๐ บาท ดีใจมากเลย เยอะมาก” เป็นช่วงที่ ได้ฝึกประสบการณ์เยอะ มากเพราะต้องเชื่อมประสานทุกกระทรวง เข้าไปท�ำงาน และก็ ได้ความร่วมมือดีจาก ทุกแห่ง เนื่องจากเป็นองค์กรบุกเบิกการ ท�ำงานพัฒนาที่แม่แจ่มในขณะนั้น “หล้า” ภูมใิ จกับการเป็นนักพัฒนา แต่ทบี่ า้ นไม่เข้าใจ เลยว่าไปท�ำงานอะไร 246

∞∞

“บอกพ่อว่าเป็นนักพัฒนา พ่อก็ถามแล้วนักพัฒนามันท�ำอะไร เราเลยว่า ถ้าเราไปกับหมอ ชาวบ้านจะเรียกเราหมอ แล้วถ้าเราไปกับครู ชาวบ้านก็จะเรียกเราครู ถ้าเราไปท�ำการเกษตร เขาก็จะเรียกเราเกษตร ถึงพ่อจะดูไม่ค่อยเข้าใจ แต่พ่อก็ให้ไปนะ” หลังจากนั้น “หล้า” มาท�ำงานกับมูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน (North Net) เรื่องเกษตร ปลอดสารแบบยั่งยืน เป็นประเด็นสิ่งแวดล้อม รักษาป่า ที่บ้านแม่ทา อ�ำเภอแม่ออน จังหวัด เชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเล็ก ๆ ท�ำให้ชุมชนพึ่งตัวเอง ขยับขยายให้ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคเหนือ มาจนถึงปี ๒๕๔๒ “เมือ่ ก่อนตอนก�ำลังท�ำ ไม่ได้รสู้ กึ ว่าภูมใิ จมากขนาดนี้ ตอนนัน้ แค่ตงั้ ใจหาทุกสิง่ ท�ำทุกอย่าง ให้งานส�ำเร็จแค่นั้น แต่พอเวลาผ่านมาแล้วมองย้อนกลับไป ภูมิใจมากที่ชุมชนกลายเป็นแหล่ง เรียนรู้ ทั้งของคนไทยและต่างประเทศ คนพูดถึง “แม่ทา” เราก็ภูมิใจ”

นักพัฒนาแห่งแม่ริม ตุ๊-ปิยวรรณ ปี ๒๕๔๒ ลาออกจาก North Net มาตั้งถิ่นฐาน อยูท่ อี่ ำ� เภอแม่รมิ พร้อมกับคูช่ วี ติ “ตุ-๊ ปิยวรรณ เป็งมล” ก่อตั้งกลุ่มเพียงพอดี เพื่อท�ำงานชุมชน โดยเริ่มต้น ท�ำงานภายใต้ร่มเงาของมูลนิธิพัฒนาศักยภาพชุมชน “สมัยก่อน ก็มีคนเขาพูดกันว่า อย่าให้ลกู ไปกับ มันนะ มันเป็น NGO เดี๋ยวพาไปประท้วง แต่ไม่ได้ 247

∞∞

รุนแรง มันแค่เป็นกระแส เมื่อก่อนหล้าก็มีฉุนบ้าง โกธรบ้าง แต่ก็มาคิดหาทางออกที่ดีที่สุด จนเจอหมวกเป็นทางการที่จะเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาชุมชนได้เหมือนกัน จนปี ๕๑ ก็ไปสมัครเป็น ส.อบต. แต่ก็สอบตก แต่เราอยากท�ำงานชุมชน เราก็ไม่ท้อ ท�ำต่อไปเรื่อย ๆ” เพราะยังอยากท�ำงานชุมชนอยู่ “หล้า” เลยชวนชาวบ้านและเยาวชนท�ำเกษตรปลอดสารพิษ ดูแลสิ่งแวดล้อม ชวนมาเก็บขยะ “เรามีความรู้ติดตัวมาเยอะ เรามาอยู่ท่ีนี่แล้วก็อยากให้คนที่นี่ ท�ำด้วย อยากเอาความรู้ออกมาใช้ประโยชน์” ระหว่างนั้นเริ่มค้าขาย ไปติดต่อโรงแรมเพื่อขายส่งไข่ไก่ และ ไปขายตามตลาดนัดตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ 248

∞∞

“ขายได้หลายปีอยู่นะ พี่ตุ๊ชอบค้าขาย เป็นโอกาสที่ดี ไปรู้จักคนเยอะมาก มีบทเรียนใหม่ ให้รู้ เช่น มีคนเคยบอก ๆ กันว่า คนกรุงเทพฯ ใจด�ำ แต่พอหล้ามาขายของตลาดนัด ก็เจอเลย ว่าคนเมืองใจด�ำกว่าอีก (หัวเราะ) ตอนแรก ๆ ไม่มีที่ขายประจ�ำ เป็นหน้าใหม่ ไปขอที่คนเมือง ตั้งไข่ ๒ ถาด เขาไม่ให้ แต่ไปเจอพี่คนพิการขายลอตเตอรี่มาจากอยุธยา เขากลับช่วยหาที่ให้ เราด้วย ก็เป็นเรื่องที่ให้บทเรียนว่า บางความเชื่อของเราอาจไม่ใช่ความจริงเสมอไป เพราะนิสัย คนนั้นมีดีและมีเห็นแก่ตัวทุกชาติทุกภาค”

พอเข้าปี ๒๕๕๔ ผู้ใหญ่บ้านคนเดิมหมดวาระ (วาระ ๕ ปี) “หล้า” ตัดสินใจลงสมัคร เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ชิงชัยกับผู้ใหญ่คนเดิมและหน้าใหม่อีก ๒ คน จากความเป็นคนต่างถิ่นทั้ง “หล้า” และ “ตุ๊” กับระยะเวลา ๙ ปีของการท�ำงานในพื้นที่ทั้งขายไข่และท�ำงานพัฒนาชุมชน กระทั่งได้เริ่มเข้ามาช่วยงานชุมชนที่ อบต. ส่วนหนึ่ง สุดท้ายได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านดังตั้งใจ อาจเพราะตลอด ๙ ปี ผู้คนเริ่มเห็นการ ท�ำงาน พาเด็กอบรม พาเด็กปั่นจักรยาน ชวนแม่บ้านท�ำเกษตรปลอดสาร ผลิตปุ๋ยชีวภาพ 249

∞∞

จากวัน นี้ถึงเกษียณแล้ว “ป๋าหล้า” มีเวลาท�ำงานอีก ๗ ปี ในหน้าที่ผู้ใหญ่บ้าน “ทุ ก วั น นี้ ท� ำ งานด้ ว ยการใช้ ผ ลงาน พิสูจน์ ไม่ถือสา คนจะชอบหรือไม่ชอบเราก็ เข้าหาหมด ไม่แบ่งแยก เข้าหาทุกครอบครัว เชิญประธานแม่บ้านมามีส่วนร่วมท�ำงานใน ชุมชน เพราะอยากให้รวมเป็นเนื้อเดียวกัน อนาคตพอมีผู้ใหญ่บ้านคนใหม่เข้ามา งาน พัฒนาชุมชนก็เคลื่อนไปได้เร็ว ถ้าชาวบ้าน เรารวมเป็นหนึ่ง” ถ้าในหมู่บ้านมีนักพัฒนา ชุมชนจะ พัฒนาไปเร็ว ชาวบ้านจะคิดเอง วางแผนเองได้ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ชาวบ้าน คุณภาพชีวิตจะ สอดคล้องกับสถานการณ์ เป้าหมายของเขา คือ อยากเห็นทุกหมูบ่ า้ นของดอนแก้ว มีผนู้ ำ� ธรรมชาติ และชาวบ้านคิดและท�ำงานด้วย ตัวเองได้ เมือ่ ถามถึงข้อจ�ำกัดของการรับต�ำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้านของการเป็นเพศหญิง

“บางคนว่า เลือกใครบ่เลือก เลือกทอม

มาเป็นพ่อหลวง” (หัวเราะ) เนือ่ งจากบางคน ยังคงไม่เข้าใจถึงความหลากหลายทางเพศ ซึ่งคือใครจะเป็นเพศอะไรก็ได้ จึงยังมีค�ำสบ ประมาทดังกล่าว ซึ่ง “ป๋าหล้า” รับมือด้วย การไม่ตอบโต้กับค�ำครหา แต่เลือกใช้ตวั เอง เป็นสื่อ นั่งคุยกับ อสม. แม่บ้าน ลูกบ้าน แบบตรงไปตรงมา “ก็คยุ ว่าหล้าเป็นแบบนี้ แต่หล้าก็รกั ที่ จะท�ำงานให้ชุมชน คิดดี ท�ำดี รับหล้าได้มั้ย ถามตรง ๆ กับเด็ก ๆ ก็คุยตรง ๆ เราเปิด ไม่ปกปิด เราไม่หนี ไม่ปะทะ แค่ใช้ความเป็น ตัวเองอธิบาย” “งานพั ฒ นา มั น ต้ อ งค่ อ ย ๆ ไป ไม่ต้องรีบ ไม่งั้นถ้าคนหรือชาวบ้านเขายังไม่ พร้อมจะกลายเป็นการกดดันเกินไป ตอนนี้ เรามี ๑๖๘ คนมาเป็ น แกนน� ำ การอ่ า น ท�ำตะกร้าหนังสือ ๒๐ คน มี ๔ คน ที่เป็น แกนน�ำที่ทุ่มเทกับงานในระดับเข้มข้น เราก็ ดีใจ ถือว่าประสบความส�ำเร็จไปขั้นหนึ่ง เรา ภูมิใจในตัวแกนน�ำทุกคน” 250

∞∞

ทุกสิ่งอย่างต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่เอาเวลาหรือจ�ำนวนไปกดดันตัวแกนน�ำอาสาสมัคร เพียงเท่านีแ้ กนน�ำก็ได้ความภูมใิ จในตัวเอง เป็นวิทยากร ท�ำงานเพือ่ ชุมชนได้ เป็นประชาสัมพันธ์ ชุมชน “มีบางคนมาแล้วหายไป ก็เข้าใจเขา ไม่เคยเอามาท้อ เพราะในส่วนที่มีคนเล็กคนน้อย ไม่กี่คนที่อยู่ด้วยกัน หล้าก็ภูมิใจ ให้ความส�ำคัญกับคนที่อยู่ปัจจุบัน ไม่ไปโฟกัสคนที่หายไป แต่ ภูมิใจกับสิ่งดี ๆ ที่มีอยู่มากกว่า พอเราภูมิใจ คนท�ำงานข้าง ๆ ตัวก็มีพลังในการท�ำงาน หล้าไม่ได้กดดันแต่ให้ก�ำลังใจ เช่น วันนี้บ่ได้ บ่เป็นหยัง บ่ต้องเสียใจ วันพรุ่งว่าเอาใหม่นะ คอย บอกแกนน�ำเราอย่างนี้เสมอ คนท�ำงานต้องได้รับก�ำลังใจถึงจะมีพลังที่ดีในการท�ำงาน”

= Growth Mindset = - ท�ำงานกับชุมชนต้องใช้หัวใจ - พัฒนาคน เท่ากับพัฒนาชุมชน - ความสุขน�ำไปสู่การเรียนรู้ - ความรู้ที่มีอยู่ ต้องเอาออกมาใช้ประโยชน์ - ให้ความส�ำคัญกับสิ่งที่มีอยู่เสมอ - สื่อสารตรงไปตรงมา ยอมรับความแตกต่าง

251

∞∞



“ตุ๊ท�ำงานพัฒนาสังคมมาตั้งแต่เรียนจบปี ๒๕๔๐ ถึงวันนี้ก็ ๑๘ ปีแล้ว ที่มาท�ำตอนแรกเพราะอยากเป็นบัญชี เลขานุการ ไม่ได้คิดเรื่องงานพัฒนาเลย แต่ไป ๆ มา ๆ ได้ ท�ำงานผลิตสื่อสร้างสรรค์เต็มที่เลย ยิ่งท�ำก็ยิ่งรู้สึกดี เพราะ การท�ำงานพัฒนาสังคมท�ำให้เราต้องเอาใจไปใส่กับงาน เข้าใจคน เข้าใจงาน พร้อมปรับตัวยืดหยุ่นกับสถานการณ์ ถ้าทางที่ตั้งไว้ไม่ใช่แล้วก็เปลี่ยนทางได้ ซึ่งสิ่งดี ๆ คือ บางทีแนวทางใหม่ผลออกมาเวิร์กมาก และถ้ามีอะไรใหม่ ๆ เข้ามา เราก็เปิดกว้างรับมัน ลองดูได้ เช่น มีเด็กอยู่ในแคมป์ก่อสร้าง เราไป เยี่ยมไหม วางแผนกันแล้วก็ไป พอท�ำงานแล้วก็เหมือนเราซึมซับประสบการณ์งานพัฒนาไปเรื่อย ๆ ได้เป็นประสานงาน ลงพื้นที่ ท�ำแล้วก็มีความสุขดี มันรู้สึกสบายใจ”



ตุ๊-ปิยวรรณ เป็งมล เลขานุการกลุ่มเพียงพอดี อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

252

∞∞

“การเข้ า ร่ ว มโครงการฯ นี้ ท� ำ ให้ ตั ว เองเปลี่ ย น รูปแบบการท�ำงาน คือการท�ำงานแบบมีภาคีการท�ำงาน และ ชักชวนภาคประชาชนมาท�ำงานร่วมกัน ท�ำให้เปลี่ยนแนวคิด การท�ำงาน แต่ละเรื่องที่เป็นเรื่องใหม่เปลี่ยนไปจากเดิม จากเล็กไปหาใหญ่”



อารีรัตน์ มาตัน นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลชุมชนดอนแก้ว ต�ำบลดอนแก้ว อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

“การเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการอ่านท�ำให้ตนเอง มีสติมากขึ้น เกิดการพัฒนาตัวเองมากมาย เช่น การเป็น วิทยากร และส่งเสริมให้ผู้อื่นได้มีแรงบันดาลใจอ่านหนังสือ ด้วย ท�ำให้เราคิดเป็น พูดเป็น ท�ำเป็น”



บัวจันทร์ เรือนสุวรรณ์ แกนน�ำส่งเสริมการอ่าน อสม. หมู่ที่ ๙ ต�ำบลดอนแก้ว อ�ำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

253

∞∞

อ่านสร้างสุข วรรณพร เพชรประดับ

ฉันคือนักพัฒนาสังคม : อ้อม ส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา เล่นสนุก-เรียนรู้-ลงมือท�ำ อ่านสร้างชีวิตที่อ�ำเภอปง “อ่านหนังสือหมดโลกก็ไร้ความหมายนะ ถ้าคุณไม่ได้เข้าใจการอ่านจริง ๆ การอ่านคือ ความเข้าใจตัวเอง วัฒนธรรมการอ่านคือการเรียนรู้ เป็นการอ่านจิตวิญญาณของผู้คน นี่คือ วัฒนธรรมการอ่านในมุมมองของอ้อมทุกวันนี้” “วัฒนธรรมการอ่านไม่ใช่แค่เรือ่ งหนังสือ แต่เป็นการเรียนรูผ้ า่ นสือ่ ประเภทต่าง ๆ หนังสือ เป็นหนึง่ ในเครือ่ งมือส่งเสริมให้อา่ นมากขึน้ ทุกวันนีก้ ารอ่านของเด็ก ๆ ไม่ใช่แค่อา่ นหนังสืออย่าง เดียวแล้ว เด็ก ๆ อ่านโลก อ่านสิ่งแวดล้อม อ่านคน อ่านครู อ่านระดับชาติ ต้องผลักดันตรง สุขภาวะมากกว่าโฟกัสไปแค่หนังสือ” “อ้อม-วรรณพร เพชรประดับ” ผู้อ�ำนวยการส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัดพะเยา กล่าวถึงนานาความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอ่าน หลังจากพาองค์กรเข้าร่วมเป็น ๑ ใน ๑๑ ภาคีเครือข่าย ท�ำงานขับเคลื่อนการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนกับแผน

งานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ส�ำนักงาน กองทุ น สนั บ สนุ น การสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.) มาหลายปี ส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัด พะเยา - Phayao Youth News Agency (PNYA) ก�ำหนดขอบเขตการท�ำงานประเด็น สร้ างเสริ มวั ฒนธรรมการอ่านไว้ใ นพื้น ที่ อ�ำเภอปง ด้วยฐานคิดเริ่มต้น คือ ต้องการ ให้ทุกคนเข้าใจและเห็นเป้าหมายร่วมกันใน มิติของการอ่าน

ปัจจุบันได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายแล้ว

๘๐ เปอร์เซ็นต์ คือ ครูประจ�ำศูนย์พฒ ั นาเด็ก เล็ก (ศพด.) วิเคราะห์และพูดคุยเรือ่ งหนังสือ นิ ท านที่ เ หมาะสมกั บ วั ย เด็ ก เล็ ก ได้ ครู สามารถแก้ปัญหาพฤติกรรมเด็ก ๆ ด้วยการ ใช้ ห นั ง สื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ ครู พู ด คุ ย กั บ ผู้ปกครองให้เข้าใจลูกมากขึ้นผ่านหนังสือได้ จนท�ำให้ผู้ปกครองเข้าใจและขยับตัวมาเป็น หนึ่งในกลไกกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ผ่านการอ่านเพิ่มขึ้น ส่วนอีก ๒๐ เปอร์เซ็นต์ที่ยงั อยู่ในช่วง ผลักดัน คือ ภาคนโยบาย จากหน่วยงานใน 256

∞∞

ท้องถิ่น เช่น อบต. (องค์การบริหารส่วนต�ำบล) เทศบาล กศน. (ศูนย์การศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย) และอ�ำเภอที่ต้องขยับต่อ “ถ้ามีนโยบายของท้องถิน่ ในระดับประเทศว่า อปท. ต้องมีนโยบายส่งเสริมการอ่านน่าจะ ขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนได้ง่าย” คณะท�ำงานส่งเสริมการอ่านของส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา มี ๓ คนหลัก ๆ คือ “อ้อม กุ๊ก และขวัญ” สามสาวที่เป็นหน่วยลุยช่วยกันเชื่อมไปยังพื้นที่ท�ำงานของอ�ำเภอปง

“อ้อม-วรรณพร” สวมหมวกพี่ใหญ่เป็นเข็มทิศขององค์กร

“กุก๊ -ฐิตริ ตั น์ วุฒ”ิ รองผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา สวมหมวก รับผิดชอบ โครงการอ่านยกก�ำลังสุข Book Bank เดินทาง ปี ๒ “ขวัญ-เกศินี ลอยมูล” ผูช้ ว่ ยผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา รับผิดชอบประสานงาน สนับสนุนทุกการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการฯ ส่วนบุคคลส�ำคัญที่ถือว่าเป็น Stakeholder หรือผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ คือ ทันตาภิบาล โรงพยาบาลปง ซึ่งมีหน้าที่ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเด็กปฐมวัย ในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก ๓๑ แห่ง กลุ่มเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อน วัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในชุมชนของอ�ำเภอปง “เรามั่นใจว่าคุณภาพชีวิตเด็กจะดีขึ้น ถ้าเข้าใจเรื่องพัฒนาการเด็กช่วงอายุ ๐ ถึง ๖ ปี วัยเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับการขัดเกลาทักษะการคิด จินตนาการ และสุขภาวะ 257

∞∞

ซึง่ พอเด็กโตขึน้ ถึงช่วงประถม มัธยม ไม่วา่ หลักสูตรอะไร เด็กจะสามารถรับการเรียนรูไ้ ด้อย่าง มีประสิทธิภาพ สุดท้ายจะส่งผลให้เห็นว่าอนาคตของประเทศจะไปในทิศทางไหน ซึ่งอยู่ในมือ ของเด็ก” ด้วยประสบการณ์การท�ำงานพัฒนาสังคมกับเด็กเยาวชนจนมาถึงกลุม่ เด็กเล็ก มุมความคิด ของ “อ้อม” เชือ่ ว่า สังคมควรลงทุนกับเด็ก ๐-๖ ปี มากกว่ากับวัยรุน่ เรียนมหาวิทยาลัย เนือ่ งจาก เมื่อฐานคิดแน่นมาตั้งแต่เด็กแล้ว เติบโตขึ้นมาแล้ว คนคนนั้นจะสามารถเลือกเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง “อาจารย์ ด็ อ กเตอร์ ควรจะมา สอนเด็กปฐมวัย เด็กอนุบาลด้วยซ�้ำ ด็อกเตอร์ควรมาสร้างฐานชีวิตให้กับ เด็กได้เติบโตอย่างแข็งแรง อ้อมคิด อย่างนั้น แล้วเด็กมหาวิทยาลัยก็น่าจะ ได้เรียนกับชาวบ้าน เด็กเล็กคือรากแก้ว รากแข็งแรง ต้นไม้ก็เติบโต รากแก้ว ของมนุษยชาติหรือของประเทศไทยเนีย่ มันมาจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก” ท�ำงานกับปัญหาสังคมมาหลายประเด็น สุดท้ายแล้วเมือ่ ขุดลงไปยังรากของปัญหา “อ้อม” พบว่าล้วนเกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ที่มาจากสถานการณ์ต่าง ๆ ในวัยเด็กเล็ก เช่น เด็กคนหนึ่ง โตมาแล้วไม่กล้าพูดกับครู ไม่กล้าบอกครูว่าปวดฉี่ เพราะตอนที่อายุ ๓ ขวบ เคยฉี่รดกางเกง แล้วโดนแม่ตีพ่อตี โดนครูด่ามาแล้ว เมื่อโตขึ้นการพูดบอกความต้องการของตัวเองกับครูและ 258

∞∞

พ่อแม่กลายเป็นเรื่องยาก ส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบทางพฤติกรรมตามมาอีกมากมาย “เมือ่ เด็ก ๆ ได้ฟงั และเกิดจินตนาการตามเรือ่ งราวในหนังสือนิทานทีม่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับการ ด�ำรงชีวิตที่เหมาะกับวัย ตั้งแต่ช่วงการเรียนรู้ของสมองเติบโตมาก ๆ คือ ๐-๖ ปี มันจะส่งให้ เมื่อวันหนึ่งเขาเจอสถานการณ์ท้าทายกับชีวิตในวัยที่โตขึ้น อาจเป็นมัธยมปลาย ต้องพบกับการ สูญเสียหรือถูกละเมิดสิทธิ เขาจะมีชุดประสบการณ์เดิมที่เคยเรียนรู้ ท�ำให้เขารับมือกับ สถานการณ์ท้าทายที่ต้องเผชิญได้” “เรามั่นใจว่าสามารถพัฒนาคนได้ตั้งแต่เด็กเล็ก” ผอ. ส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา ยืนยันไว้ เช่นนั้น

ส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน พะเยา หลังจากเรียนจบด้านอิเล็กทรอนิกส์ ท�ำงานบริษัทอยู่สักพัก “อ้อม-วรรณพร” ตัดสินใจ เลือกท�ำงานอาสาสมัครกับกลุม่ เยาวชนกลุม่ วัยรุน่ เนือ่ งจากเห็นว่าเป็นช่วงหัวเลีย้ วหัวต่อของชีวติ และยังไม่เข้าใจเรื่องพัฒนาการสมองของเด็กวัย ๐-๖ ปี โดยเริ่มท�ำงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความรุนแรง เอดส์ และเพศ ด้วยการผลิตสื่อวิทยุเป็นเครื่องมือในการท�ำงาน เคยเป็นอาสาสมัครหลายแห่ง แต่องค์กรที่มีโอกาสท�ำงานด้วยเยอะมาก คือ ส�ำนักข่าวเด็กและ เยาวชน ขบวนการตาสับปะรด ที่กรุงเทพฯ “เพื่อนแนะน�ำว่าตาสับปะรดอยากได้คนเขียนคอลัมน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แล้วเราเขียน ได้ก็ไป จนเริ่มรู้จักองค์กรมากขึ้นก็ไปช่วยงานเป็นอาสาสมัคร ได้เรียนรู้เรื่องการใช้สื่อจากที่นี่ 259

∞∞

มีประเด็นอะไรเกิดขึ้น ก็ไปท�ำสื่อเรื่องนั้น ๆ ทั้งสิ่งแวดล้อม เข้าป่าห้วยขาแข้ง เรื่องสันติวิธี ท�ำได้ ๓ ปี ก็เริ่มมาจับ ประเด็นเอดส์ เพศ และสิทธิ ตอนนัน้ เป็นจังหวะทีม่ คี วาม ต้องการนักสื่อสารเรื่องนี้ในสังคม เราก็ถูกส่งไปอบรม เพิ่มเติม” การท�ำงานพัฒนาสังคมคือโอกาสในการเรียนรู้ เพิ่มเติมหลายด้านของเธอ เนื่องจากทุกครั้งที่มีประเด็น ใหม่ ๆ เกิดขึน้ ในสังคมต้องได้รบั การฝึกอบรมเสมอ เช่น ช่วง ท�ำงานประเด็นเอดส์และเพศ เธอได้เรียนรู้เรื่องสิทธิและเรื่องยา เมื่อได้ท�ำประเด็นศาสนาก็ได้เรียนรู้เรื่องสุนทรียสนทนา มิติภายใน และนพลักษณ์ ช่วงหนึง่ ทีท่ ำ� งานอาสาสมัครอยูก่ บั ขบวนการตาสับปะรด สามารถผลิตเครือ่ งส่งวิทยุขนาด เล็กด้วยต้นทุนต�่ำเพียงแค่ ๗๐๐ บาท จากราคาซื้อขายในท้องตลาดเกือบ ๒ แสนบาท กระทั่ง มีลุงคนหนึ่งซึ่งท�ำงานพัฒนาสังคมสายวัฒนธรรมคนหนึ่งที่จังหวัดแพร่สนใจสั่งซื้อ “อ้อม” รับหน้าที่น�ำไปส่งและช่วยติดตั้งแนะน�ำวิธีใช้ “ตอนเแรก ๆ ไปช่วยอยู่พักก็เห็นว่าน่าสนุกเลยขออยู่ต่ออีก ลุงเป็นศิลปินเล่นดนตรี แบนโจ กีตาร์ที่ท�ำจากหนังวัว ฉายาของลุงคือแบนโจแมน ว่าจะอยู่อีกแป๊บเดียว แต่ไป ๆ มา ๆ ก็อยู่กับลุง ๓ ปี แต่ระหว่างนั้นก็ไป ๆ มา ๆ ระหว่างแพร่ พะเยา กรุงเทพฯ เพราะก�ำลังเริ่ม ต้นงานในจังหวัดพะเยา การเรียนรู้กับลุงที่แพร่ท�ำให้ได้เจอคนเยอะ ได้ท�ำงานกับวัฒนธรรม จังหวัดแพร่และองค์กรเอกชนหลายหน่วยงาน ได้ร่วมงานกับเสมสิกขาลัย มีทั้งสายพระ สายพุทธ สายนพลักษณ์ สายเยาวชน สายสิ่งแวดล้อม” 260

∞∞

งานในจังหวัดพะเยาที่ก�ำลังเริ่มต้น หมายถึง “ส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัด พะเยา” ซึ่ ง เกิ ด ขึ้ น หลั ง จากท� ำ งานกั บ ขบวนการตาสับปะรดได้เกือบ ๔ ปีแล้ว ด้วย ค�ำถามที่อ้อมตั้งขึ้นถามตัวเองว่า “ท�ำไม ที่บ้านเราไม่มีแบบนี้บ้าง ?”

จังหวัดพะเยา สร้างองค์กรท�ำงานพัฒนา สังคมในบ้านเกิด เริม่ ด้วยงานสือ่ ประชาสัมพันธ์ โครงการครอบครัวเข้มแข็ง จัดค่ายอบรม เด็กและเยาวชน เชือ่ มต่อเครือข่ายคนท�ำงาน ที่รู้จักกันจากพื้นที่อื่น ๆ มาช่วยงาน

ช่วงแรกของการท�ำงานพัฒนาสังคม ที่ พ ะเยา เป็ น การรวมกลุ ่ ม เยาวชนอายุ ๑๕-๒๐ ปี จั ด รายการวิ ท ยุ เ พื่ อ สื่ อ สาร ประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวทีกิจกรรมแลก เปลี่ยนเรียนรู้ เนื่องจากช่วงนั้นมีมาตรา ๔๐ เรื่ อ งสื่ อ ภาคประชาชน ส� ำ นั ก ข่ า วเด็ ก ฯ พะเยาจึงตัง้ ใจสร้างคลืน่ วิทยุให้เด็ก ๆ ได้เป็น นักสื่อสาร ทั้งเป็นผู้ฟังและเป็นผู้ส่งสาร น� ำ เครื่ อ งส่ ง วิ ท ยุ ไ ปทุ ก แห่ ง ที่ มี ก ารจั ด กิจกรรม พร้อมจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ คลื่นออกอากาศและวันเวลาก่อนวันงาน

“ตอนนั้นอ้อมกับกุ๊ก (ฐิติรัตน์ วุฒิ) ชวนเด็ ก ๆ มาจั ด รายการวิ ท ยุ ท� ำ กั น สนุกสนาน เด็ก ๆ ก็ตื่นเต้นมากเวลาพูดใส่ ไมค์แล้วออกอากาศวิทยุได้ พอเด็ก ๆ เยอะ ก็เริ่มออกแบบค่ายพาเด็กไปอบรม ภายใต้ เครือข่ายท�ำงานประเด็นครอบครัวเข้มแข็ง ของจังหวัด เชื่อมงานไปหาพี่สาย (เครือข่าย ล�ำปาง) กับอุ๊ (เครือข่ายสุรินทร์) ท�ำกันสนุก มาก กิจกรรมมันท�ำหน้าที่หล่อเลี้ยงความ สนุกให้กับเด็ก ๆ จนพวกเราก็สนุกไปด้วย ท�ำงานแบบไม่เคยคิดว่าเป็นงาน แต่เป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตที่สนุกดี”

แม้วันนั้น “อ้อม” ยังไม่แน่ใจว่าอะไร คือสิ่งที่ตนได้ค้นพบ แต่ความรู้สึกบอกว่ามี สิง่ ทีต่ นควรท�ำ คือ ส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน

เป้าหมายในใจตอนนั้นคือ ต้องการ ให้ เ ยาวชนได้ พั ฒ นาตั ว เองในรู ป แบบที่ สนุกสนาน

261

∞∞

ยังไม่มีการตั้งเป้าหมายใหญ่เป็นพันธกิจองค์กร “ช่วงนั้นก�ำลังทดลองกับตัวเอง อายุ ๒๕ ก�ำลังสนุก ๆ อยู่ ไม่ได้คิดว่าท�ำไปเพื่ออะไร แค่รู้สึกว่าสนุก” ในช่วง ๓ ปีแรกของการเริ่มต้นขององค์กร “อ้อม” เลือก พาตัวเองไปเรียนรูก้ ารท�ำสือ่ วัฒนธรรมทีจ่ งั หวัดแพร่กบั ลุงแบนโจ แมน จนได้เรียนรู้และศึกษาเรื่อง “Dialogue” หรือการสื่อสารที่ ว่าด้วยการฟังด้วยหัวใจอย่างใคร่ครวญและไม่ตัดสิน เป็นการฝึก ภาวนารูปแบบใหม่ผ่านวงสนทนาด้วยเทคนิคการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) และการสือ่ สารด้วยสติ (Mindful Expression) ซึง่ จะท�ำให้ได้รจู้ กั ตัวเอง เข้าใจ และยอมรับตัวเองได้ เพื่อน�ำไปสู่การเข้าใจผู้อื่นได้อย่างแท้จริง นอกจากการได้เล่นและสนุกแล้ว การเรียนรู้ช่วงนี้ยังเปลี่ยนวิธีคิดของเธออีกด้วย คือ จากเดิมเคยคิดในมุมคนท�ำงานพัฒนาที่อยู่กรุงเทพฯ ซึ่งมีการเอื้ออ�ำนวยความสะดวกสูงจาก หลายสิง่ ทัง้ บุคลากร องค์ความรู้ กิจกรรมรณรงค์ และงบประมาณ เพราะแหล่งทุนองค์กรท�ำงาน พัฒนาสังคมส่วนใหญ่ทั้งหน่วยงานของไทยและต่างประเทศตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่เมือ่ ได้กลับมาท�ำงานในพืน้ ทีต่ า่ งจังหวัดซึง่ ไม่มหี น่วยงาน ไม่มสี งิ่ ของหรืองบประมาณ สนับสนุนเหมือนอยู่กรุงเทพฯ “อ้อม” จึงต้องท�ำความเข้าใจใหม่ถึงระบบการท�ำงานขององค์กร พัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organization หรือ NGO) ที่ต่างกันทั้งในรูปแบบ ผู้คน และวิธีการท�ำงาน “ตัวอ้อมปรับเปลีย่ นไปเอง ทัง้ วิธคี ดิ และมุมมอง กลายเป็นคนช้ามากขึน้ ไม่เร่งรีบเหมือน ตอนอยู่กรุงเทพฯ ที่ทุกอย่างมันเอื้ออ�ำนวย ทุกวันนี้อ้อมเรียนรู้ที่จะรอมากขึ้นและปรับแก้ 262

∞∞

ในสิ่งที่พัฒนาได้อีก เมื่อก่อนตอนท�ำสิ่งแวดล้อม ความเคลื่อนไหวคืออยู่ ในป่า ออกทะเล ลงด�ำน�ำ ้ เราสือ่ สารให้คนเห็นความส�ำคัญของสิง่ แวดล้อม แต่เมือ่ มาท�ำงานด้านชุมชน หัวใจของ งานคือชีวิตของผู้คน และการอยู่กับวิถีชีวิต เราต้องปรับตัวให้เข้าจังหวะกัน” แม้ว่าวิธีคิดบางเรื่องจะเปลี่ยนไป แต่ความสนุกในการท�ำงานยังคงอยู่เสมอ และความ สนุกทีเ่ กิดขึน้ นัน้ ส่งให้สามารถผ่านสถานการณ์ทา้ ทายแต่ละครัง้ ของการท�ำงานได้ดว้ ยใจสบาย ๆ “เวลาเจอปัญหา อ้อมไม่ถอยและ บอกทีมเสมอว่า โลกนี้ไม่มีปัญหาไหนที่ แก้ไม่ได้ เพียงแค่ว่าเมื่อไรเท่านั้น ฉะนั้นก็ เล่นสนุก ๆ และอยูก่ บั สถานการณ์ตรงหน้า ไป สนุก ๆ เดี๋ยวมันก็คลี่คลายไปตาม จังหวะของมัน ก็เพิ่งมารู้ว่าวิธีคิดแบบนี้ เป็นวิธีมองเชิงบวก เรามองแบบนี้มาตั้ง นานแล้วแต่ไม่รู้ตัว”

ค�ำถามกระตุกความคิด “ศรัทธาและเชื่อมั่น คุณธรรม การท�ำงานด้านเด็กและ เยาวชน เล่น เรียนรู้ สูก่ ารปฏิบตั ”ิ คือวิสยั ทัศน์การท�ำงานพัฒนา ของส�ำนักข่าวฯ พะเยา 263

∞∞

ส่วนเมื่อถูกถามถึงเหตุผลที่เลือกท�ำงานพัฒนาสังคมภาคประชาชน “อ้อม” บอกว่าท�ำ เพราะสนุก “ต้องส�ำรวจดูว่า เราอยากเล่น อยากสนุกกับมันไหม ถ้าเราไม่มีความสนุกกับมัน อ้อมก็ จบเลย ไม่ท�ำ” ดังนั้น ทุกโครงการฯ ที่เธอลงมือท�ำล้วนเริ่มต้นมาจากความรู้สึกอยากรู้ อยากเล่น และ สนุก กระทั่งเกิดเป็นการเรียนเพื่อให้รู้ เมื่อรู้แล้วก็ลงมือปฏิบัติ

“ถ้าเล่น เรียนรู้แล้วแต่ไม่ปฏิบัติ มันก็ไม่เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ฉะนั้น มันต้องเกิดการ ปฏิบัติทั้งกับตนเองและคนอื่น ๆ เล่น-เรียน-รู้ และปฏิบัติ นี่เป็น ๔ ปรัชญาของการท�ำงานเพื่อ การพัฒนาของอ้อม” วันนีก้ ารเล่นสนุกของอ้อมเดินมาไกลถึงการสร้างความเปลีย่ นแปลงในทางทีด่ ขี นึ้ ของผูค้ น ชุมชน และสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมมากมาย ไม่วา่ จะเป็นชีวติ เยาวชน ครู ผูป้ กครอง ผูน้ ำ� ท้องถิน่ รวมไปถึงเด็กเล็ก ๆ อีกหลายชีวิต 264

∞∞

“สิ่งส�ำคัญที่สุดเลยคือ ความเข้าใจ จากครอบครัว ถ้าครอบครัวไม่สนับสนุน ไม่เปิดโอกาส ไม่เข้าใจ คนท�ำงานพัฒนา สังคมจะท�ำงานล�ำบากเลย การเข้าใจคือการ สนั บ สนุ น อย่ า งหนึ่ ง ตลอดชี วิ ต จะเลื อ ก ท�ำงานอะไรก็ได้ อ้อมมีพอ่ แม่ทปี่ ระเสริฐมาก เข้าใจและให้โอกาสลูกเลือกชีวติ เอง พ่อเป็น ครูดอยที่อยู่กับเด็ก ๆ เยอะมาก และมาจาก หลายชนเผ่า พ่อเข้าใจในความเป็นเด็กสูง” “อ้อมเชื่อว่าสิ่งที่เราท�ำ สร้างการ เปลีย่ นแปลงได้ แต่ไม่เคยเอามากดดันตัวเอง ว่าจะเปลีย่ นมากหรือน้อย แค่ทกุ วันเรามัน่ ใจ ว่าเราสนุกกับชีวิต ค�ำว่าสนุกกับชีวิตคือการ เอาตัวรอดในเชิงเศรษฐกิจได้ในอาชีพของ นักพัฒนาสังคม” “อ้อม” บัญญัติตัวเองให้อยู่ในอาชีพ “นักพัฒนาสังคมภาคประชาชน” “นักพัฒนาสังคมควรมีระบบจัดการ ทีด่ ที งั้ กับชีวติ ตัวเองและชีวติ ทีมงาน เอาใจเขา มาใส่ใจเรา ทีส่ ำ� คัญอย่าลืมว่างานอาสาสมัคร 265

∞∞

ไม่ใช่งานท�ำฟรี เพราะอาสาสมัครก็ต้อง กินข้าว ขับรถก็ต้องเติมน�้ำมัน ต้องตีความ ค�ำว่า “อาสาสมัคร” ให้เข้าใจด้วยหัวใจ ถ้าเขาไม่รบั เงินก็ควรมีคา่ น�ำ้ มันรถให้ ถ้าเขา ไม่รับค่าน�้ำมันรถ ก็ควรมีข้าวปลาอาหาร ให้กิน” อ้อมบอกว่าปัจจุบนั หลายคนยังไม่เข้าใจ เรื่องการจัดการดูแลอาสาสมัคร เช่น เห็นว่า เป็นอาสาสมัครมาช่วยท�ำงาน ก็คดิ ว่าไม่จำ� เป็น ต้องให้การดูแล จึงเห็นการละเลยปล่อยให้ อาสาสมัครดูแลตัวเองอยู่หลายกรณี ทั้งที่ การจัดการดูแลอาสาสมัครเป็นเรื่องส�ำคัญ ขององค์ ก รพั ฒ นาสั ง คมภาคประชาชน นักพัฒนาสังคมทีก่ า้ วขึน้ มาเป็นหัวหน้าทุกวันนี้ อาจเคยผ่านประสบการณ์ที่เป็นอาสาสมัคร ฝึ ก งานเรี ย นรู ้ โ ดยไม่ มี เ งิ น เดื อ นมาก่ อ น จึงท�ำให้เลือกใช้วิธีการดูแลอาสาสมัครใน รูปแบบที่เคยเจอมา “จากทีท่ ำ� งานกับคนรุน่ ใหม่มาหลายรุน่ อ้อมยืนยันว่าวิธีคิดแบบเดิมไม่ใช่สิ่งที่จะเกิด

ขึ้นกับคนรุ่นใหม่ เพราะยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว วิธีคิด วิถีชีวิตย่อมแตกต่าง สมัยก่อนมันถ้อยที ถ้อยอาศัยได้ เมื่อก่อนไม่ต้องจ่ายค่ามือถือ ค่าอินเทอร์เน็ต มีบางคนเคยบอกอ้อมว่า “เด็ก ๆ มันไม่ตอ้ งใช้ก็ได้” แต่เราถามว่าแน่ใจเหรอ คนรุน่ เราทุกวันนีย้ งั ต้องใช้เน็ต ใช้มอื ถือเลย ท�ำงาน พัฒนามันต้องทันยุคสมัย วิธคี ดิ ของผูน้ ำ� องค์กรก็ตอ้ งเข้าใจวิถขี องเด็ก ๆ ทีเ่ ขาตัง้ ใจอยากท�ำงาน พัฒนาด้วย ต้องดูแลให้ถึงค่าใช้จ่ายเพราะทุกคนต้องกินต้องใช้” ค�ำว่า “ดูแลให้ถึง” หมายถึงมีค่าตอบแทนให้สามารถใช้ชีวิตอย่างไม่เดือดร้อน พร้อมกับ ต้องสื่อสารให้เข้าใจว่าองค์กรพัฒนาสังคมภาคประชาชนอาจไม่มีมาตรฐานเงินเดือนสูงเท่ากับ บริษั ทเอกชน แต่ระหว่างองค์กรและคนท�ำงานต้องเข้าใจตรงกันว่า ในขณะที่เงินเดือนหรือ ค่าตอบแทนไม่ได้สูงเทียบเท่านั้น ยังมีคุณค่าอะไรที่จะได้รับเป็นพิเศษ เป็นความคุ้มค่าที่เข้ามา สวมหมวกเป็นนักพัฒนาสังคมภาคประชาชน “จะเอาอดีตของเราไปก�ำหนดชีวิตเขาไม่ได้ ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมาของการท�ำงานกับ เยาวชน อ้อมเห็นเลยว่าวิธีคิดของคนเปลี่ยนไปเร็วมาก แล้วถ้าคนรุ่นอ้อมไม่รู้จักรับฟังและ ปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้สอดคล้อง รับรองพังพินาศ ประเด็นนี้เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องจัดการ และสื่อสารให้คนท�ำงานทุกคนได้เข้าใจ” ยุคสมัยหนึ่งที่ “อ้อม” ก�ำลังเป็น NGO เลือดใหม่ เข้าร่วมท�ำข่าวในเวทีกิจกรรมต่าง ๆ ในนามนักข่าวอาสาสมัครขบวนการตาสับปะรด เกิดข้อสงสัยว่าท�ำไม NGO รุ่นพี่คนหนึ่งมี พฤติกรรมที่แตกต่างจาก NGO ทั่ว ๆ ไป คือ “สมบัติ บุญงามอนงค์” หรือ “หนูหริ่ง” ประธาน มูลนิธิกระจกเงา (ยุคนั้นคือ กลุ่มศิลปวัฒนธรรมกระจกเงาเชียงราย)

“อ้อมเจอพีห่ นูหริง่ ในเวทีประชุมเรือ่ งเด็กกับไอที มองแล้วสงสัยมากว่าท�ำไมคนนีเ้ ข้าห้อง 266

∞∞

ประชุมมาแล้วนัง่ พิมพ์ ๆ ๆ โน้ตบุก๊ ถึงคิวพูดก็พดู ๆ ๆ พูดแรงด้วย ประชุมเสร็จก็สง่ อีเมลเนือ้ หา ในวงประชุมให้ทุกคนเลย เป็นคนที่ล�้ำยุคมาก สมัยนั้นคนอื่น ๆ ยังไม่มีโน้ตบุ๊กใช้เลย ยิ่งฟังพี่ หริ่งเล่าประวัติชีวิตให้ฟัง ก็ยิ่งคิดว่าตานี่เพี้ยนหรือเปล่า ออกจากกรุงเทพฯ เพราะอยากไปตั้ง ชุมชนท�ำงานพัฒนาที่บ้านนอก ก็ได้ดังใจ ไปท�ำงานกับชนเผ่าที่เชียงราย แต่ก็มีเครื่องมือท�ำงาน ทันสมัยเต็มไปหมด ย้ายไปอยู่เชียงรายแล้วก็นั่งเครื่องบินมากรุงเทพฯ เข้าเวทีประชุม พูด ๆ ๆ แล้วก็นั่งเครื่องบินกลับเชียงราย ในขณะที่อาสาสมัครคนอื่นเขานั่งรถทัวร์กันเพราะเกรงใจ แล้วความพอดีมันอยู่ตรงไหน” พอดีกับที่ผ่านมา “อ้อม” เคยมีค�ำถามเรื่องค่าตอบแทนที่เหมาะสมของ NGO อยู่ในใจ ยิ่งเมื่อได้เห็นคนท�ำงานในกลุ่มกระจกเงามีอุปกรณ์ไอทีทันสมัยใช้งานเป็นองค์กรแรก ๆ ในสาย NGO ความสงสัยถึงความพอดียิ่งเกิดขึ้นทบทวี

ในทีส่ ดุ อ้อมตัดสินใจเดินเข้าไปถาม “หนูหริง่ ” ว่าความพอดีของการเป็น NGO อยูต่ รงไหน



“หนูหริ่ง” ถามกลับว่า “ความพอดีในร้อยเปอร์เซ็นต์คืออะไร”

267

∞∞



อ้อมจ�ำได้เธอตอบกลับว่า ความพอดีก็ตรงกึ่งกลาง ๕๐ เปอร์เซ็นต์

“แล้วเขาก็บอกว่าความพอดีของเขา บางทีมันก็อยู่ที่ ๗๐-๓๐ บางทีก็อยู่ที่ ๙๙-๑ อาจ ไม่ใช่ ๕๐-๕๐ อย่างเดียว มันขึ้นอยู่กับว่าคนตีความว่าความพอดีคือเท่าไร แค่นั้นแหละอ้อมก็ เก็ตเลย ถือว่าพี่หริ่งเป็นคนแรกที่ท�ำให้เก็ตเรื่องระบบท�ำงาน NGO เลย” ถึ ง วั น นี้ ส� ำ นั ก ข่ า วเด็ ก และ เยาวชน จังหวัดพะเยา มีอายุ ๑๒ ปี ท�ำหน้าที่สร้างคน สร้างครู สร้างเด็ก สร้างวิธีคิด ภายใต้ ๔ ปัจจัยหลัก คือ เล่น เรียน รู้ สู่การปฏิบัติ โดยบริหาร จัดการองค์กรพัฒนาเอกชนให้ด�ำเนิน อยู ่ ใ นระบบเศรษฐกิ จ ของสั ง คมได้ เนือ่ งด้วย “อ้อม” ได้หยิบประสบการณ์ เก่ า ที่ ไ ด้ เ รี ย นรู ้ รู ป แบบการจั ด การ องค์กรจากบริษัท ๓ แห่ง ทีเ่ คยท�ำก่อน หน้าผันตัวมาเป็น NGO มาประยุกต์ใช้สร้างระบบการจัดการองค์กรของตน “ก็มลี ม้ ลุกคลุกคลานบ้าง แต่กผ็ า่ นมาได้เพราะระบบการจัดการทีด่ มี นั จะช่วยให้เราอยูไ่ ด้ หลักการท�ำงานพัฒนาของอ้อมใช้ทฤษฎีการผลักน�ำ้ ออกไป ช่วงท�ำงานสิง่ แวดล้อมมีรนุ่ พีค่ ยุ เรือ่ ง คลื่นสะท้อนกลับให้ฟัง เขาบอกให้เราลองอยู่ในน�้ำนิ่ง ๆ เพื่อให้เกิดคลื่นน้อยที่สุด จากนั้นก็ให้ เราดิ้น ๆ ๆ ซึ่งคลื่นน�้ำก็เคลื่อนมากตามแรงดิ้น จากนั้นเขาให้เราอยู่นิ่ง ๆ สักพักก่อนให้เราลอง วักน�้ำเข้ามาหาตัวเอง แล้วสังเกตดูว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งผลมันคือคลื่นน�้ำก็สะท้อนออกไปหมดเลย 268

∞∞

พอวักน�้ำเข้ามาคลื่นก็ออกไป จากนั้นทดลองอีกคือให้อยู่นิ่ง ๆ พักหนึ่งจึงผลัก น�้ำออกไปแล้วสังเกต ก็พบว่าคลื่นน�้ำก็ไหลกลับเข้ามา ซึ่งอ้อมยึดไว้เป็นหลัก การท�ำงาน คือ เราเป็นผูใ้ ห้สง่ มอบออกไป เดีย๋ วสิง่ ต่าง ๆ ก็สะท้อนกลับมาเอง และยังกลับมามากกว่าที่เราให้ไปเสียอีก” “อ้อมเล่นสนุกกับทุกงาน ใส่ ใจ-ให้ก่อน บอกน้อง ๆ ว่าให้ไปก่อน เดี๋ยวมันสะท้อนกลับมาเอง ในรูปแบบไหนก็แล้วแต่ มันกลับมาแน่นอน เช่น อย่างเราท�ำงานกับครู ตอนเริม่ ต้นไม่วา่ ครูจะสนใจหรือไม่เราก็ให้ไปก่อนเลย”

ยอมรับความหลากหลาย ใส่ใจความแตกต่าง ด้วยประสบการณ์ท�ำงานและเดินทางส่องโลก มองคน เห็นสังคมมาจนถึงวันนี้ ท�ำให้ สามารถรับมือกับการท�ำงานพัฒนาสังคมในประเด็นและสถานการณ์ใหม่ ๆ “เราตกผลึกทางความคิดจากการได้เรียนรู้ชีวิต ผ่านการมองผู้คนที่เข้ามาในชีวิต ผ่าน ความบอบช�้ำจากการท�ำงาน อ้อมเคยตกม้าตายจากเวทีเวิร์กช็อปเมื่อได้รับการสะท้อนกลับจาก เด็ก ๆ ว่าสิง่ ทีท่ ำ� ไปมันไม่เวิรก์ อ้อมเคยเสียงหายไปขณะเป็นผูน้ ำ� กระบวนการเรียนรู้ ทุกสิง่ เหล่านี้ คือการเรียนรูท้ สี่ ง่ ต่อเราไปยังการเรียนรูเ้ รือ่ งต่อ ๆ ไป บางเรือ่ งเรียนจากการพูดคุยในวงสัมมนา บางเรือ่ งเรียนจากธรรมชาติของคน จนสุดท้ายได้เห็นแก่นของการท�ำงานกับชุมชนกับคน พบกับ ความเชื่อและความศรั ทธาที่หลากหลาย มีวิถีชีวิตที่อยู่ร่วมกันได้ท่ามกลางความแตกต่างของ วัฒนธรรม” 269

∞∞

การท�ำงานพัฒนาชุมชนเกี่ยวข้องกับความแตกต่างและวัฒนธรรมที่หลากหลาย เส้นทาง ชีวติ การท�ำงานทุกวันนีข้ องเธอมีสว่ นมาจากวิถวี ยั เด็ก ได้เรียนรูค้ วามหลากหลายของวัฒนธรรม ผ่านการเดินทางไปเห็นวัฒนธรรมของหลายชนเผ่ากับพ่อซึ่งเป็นครูดอย พร้อมกับครอบครัวที่ สนับสนุนเรื่องการศึกษา ส่งให้เห็นความหลากหลายของชีวิตมนุษย์ที่สร้างให้แนวคิดกว้างและ เติบโตขึ้น “ตอนเด็ก ๆ อ่านแต่โดราเอมอน คิดว่าอาจได้เรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือจากโดราเอมอน เพราะเนื้อหามันช่วยเหลือกันเยอะมาก หนังสือที่เราอ่านก็น่าจะส่งผลกับสิ่งที่เราเป็นทุกวันนี้ เพราะถ้าตอนเด็ก ๆ อ้อมไปคลิกกับหน้ากากเสือ วันนี้อาจจะไม่ได้เป็นนักพัฒนาก็ได้ หรือถ้า เป็นก็อาจจะเป็นนักพัฒนาที่หัวรุนแรงกว่านี้ก็ได้นะ” เส้นทางชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ “อ้อม” เชื่อว่าทุกอย่างถูกก�ำหนดมาแล้ว และ ชีวิตผู้ใหญ่ล้วนถูกหล่อหลอมมาจากวัยเด็ก 270 ∞∞

“เด็กเป็นรากแก้ว อ้อมยืนยัน ลองดูสิ ถ้าเราอยากให้ประเทศไทยมีศิลปินมากที่สุด ในโลก ก็จัดให้เด็กตั้งแต่ ๐-๖ ขวบเรียนดนตรี ให้หมดเลย รับลองอีก ๑๒ ปี ไม่มี ใครเกิน ประเทศไทย หรือถ้าอยากให้มชี าวนาทีด่ เี ยีย่ มทีส่ ดุ ในโลก ก็พากันเรียนเรือ่ งวิถชี าวนากันตัง้ แต่ เด็ก ๆ ไปเลย ตั้งแต่ปัจจุบันเนี่ยนะ อีก ๑๒ ปี อ้อมเชื่อว่าชาวนาที่ดีที่สุดในโลกคือชาวนาไทย”

วัฒนธรรมการอ่าน อ�ำเภอปง โครงการอ่านยกก�ำลังสุข Book Bank เดินทาง ตั้งเป้าหมาย ท�ำงานในพื้น ที่อ�ำเภอปง จังหวัดพะเยา ร่วมกับทีมทันตาภิบาล โรงพยาบาลปง ขับเคลื่อนงานไปด้วยกัน เน้นการพัฒนาศักยภาพ แกนน�ำส่งเสริมการอ่าน คือ เครือข่ายครูประจ�ำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) ให้สามารถผลิตและออกแบบสือ่ โดยใช้หนังสือนิทานเป็นหลัก กระทั่งครูสามารถวิเคราะห์หนังสือนิทานแต่ละเล่มได้ ครูมองเห็น ความเชื่อมโยงของกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่น�ำมาใช้ใน ศพด. ได้ และผูป้ กครองยังมีความเชือ่ มัน่ ทีจ่ ะน�ำหนังสือนิทานมาเป็นเครือ่ งมือ สั่งสอนลูกหลานให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในเชิงบวกอีกด้วย ปัจจุบนั สถานการณ์หนังสือในพืน้ ทีค่ อ่ ย ๆ ดีขนึ้ จากการด�ำเนินงานโครงการฯ ส�ำนักข่าวฯ น�ำหนังสือส่งมอบให้พื้นที่ ได้ออกแบบระบบการให้ผู้ปกครอง พ่อแม่ มาใช้บริการยืมหนังสือ ถือเป็นการเปิดพื้นที่อ่านสร้างความสุขภายในครอบครัว โดยมีครู ศพด. ดูแล หมุนเวียน แลกเปลี่ยน จัดหาหนังสือ รวมทั้งได้รับการบริจาคและการสนับสนุนหนังสือเพิ่มเติมโดยองค์กร 271

∞∞

ปกครองส่วนท้องถิ่น สืบเนื่องจากผลการ ด�ำเนินงานในปี ๒๕๕๗ ที่โครงการฯ หนุน เสริมศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กได้ยื่นข้อเสนอให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ สนับสนุนสือ่ การ เรียนการสอนเป็นสือ่ อ่าน โดยเฉพาะหนังสือ นิทานส�ำหรับเด็กปฐมวัย เพือ่ พัฒนาการทาง สมองส�ำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อให้เกิด ความยั่งยืนในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรม การอ่านโดยชุมชนเอง การส่ ง มอบทุ น ความรู ้ แ ละพั ฒ นา ศักยภาพให้กบั ครู ศพด. ในโครงการฯ ได้รบั ความร่ ว มมื อในรู ป แบบจากเครื อ ข่ า ยสู ่ เครือข่าย คือ กลุ่มระบัดใบ จังหวัดระนอง (ภาคีเครือข่ายระดับพื้น ที่ของแผนงานฯ) ซึง่ ค้นหาและสกัดความรู้ จนเกิดเป็นหลักสูตร จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ครู ศพด. ในด้าน การใช้สื่อนิทานส�ำหรับสร้างพัฒนาการเด็ก เมื่อน�ำมาใช้จึงได้สร้างการเปลี่ยนแปลงของ ครู ศพด. เด็กเล็ก และผู้ปกครองในพื้นที่ เป้าหมายระนองได้อย่างเป็นรูปธรรม

ส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยาจึงเชื่อมต่อ ขอให้กลุม่ ระบัดใบ ระนอง น�ำหลักสูตรพัฒนา ศักยภาพครูแกนน�ำส่งเสริมการอ่านมาสอน ให้ กั บ ครู ศพด. ที่ เ ข้ า ร่ ว มโครงการฯ ในอ� ำ เภอปง จากการอบรมเรื่ อ งการใช้ หนังสือนิทานเพื่อการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ ครูเกิดฐานคิดทีแ่ ข็งแรงถึงคุณค่าของหนังสือ นิทาน ๑ เล่ม ที่สามารถท�ำได้มากกว่าการ อ่าน แต่ยังใช้เป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนา สมองเด็กในวัย ๐-๖ ขวบ อันน�ำไปสูก่ ารปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมตามวัยของ เด็ก ๆ ได้อีกด้วย พร้อมกับเสริมสร้างความ มั่นใจและภูมิใจในตนเองของครู กระทั่งเกิด การใช้ ห นั ง สื อ เป็ น เครื่ อ งมื อ สร้ า งเสริ ม วัฒนธรรมการอ่านกับเด็ก ๆ และได้ขยาย ความคิดและวิธีการต่อไปยังผู้ปกครองและ ชุมชนอีกด้วย หลังจากได้รับการส่งมอบความรู้โดย กลุ่มระบัดใบแล้ว คณะท�ำงานส่งเสริมการ อ่ า นอ� ำ เภอปง ยั ง ได้ เ ชื่ อ มงานไปจั ด 272

∞∞

กระบวนการเรียนรูใ้ ห้เด็ก ๆ ในเครือข่าย ของ “เชียงใหม่อ่าน” ๑ ใน ๑๑ ภาคี เครือข่ายสร้างเสริมวัฒนธรรมการ อ่าน ในการออกแบบกิจกรรมให้ตรง โจทย์ นั่นคือสร้างความเข้าใจหนังสือ และวิเคราะห์หนังสือ เรียนรูก้ ารท�ำสือ่ ประกอบนิทาน ถือเป็นการส่งมอบ ความรู้เชื่อมโยงกันใน ๓ เครือข่าย “มั น ไม่ ใ ช่ แ ค่ ก ระบวนการ เครื่องมือต่าง ๆ อย่างเดียว แต่มันมีแก่นอยู่ที่วิธีคิด ซึ่งเน้นสื่อสารให้เกิดความเข้าใจว่าหนังสือ ๑ เล่ม สามารถสร้างคุณค่าได้มากมาย หนังสือไม่ได้สอนเพียงแค่เรื่องเดียว การอบรมพัฒนา ศักยภาพครูได้ผลลัพธ์ทั้งการสร้างพื้นฐานแนวคิดเรื่องคุณค่าของหนังสือนิทานและการอ่านกับ พัฒนาการของเด็ก กระทั่งครูมีความรู้และเชื่อมั่นว่าตนเองท�ำได้ หลังจากอบรมแล้วอ้อมพบว่า แววตาของครูที่เคยมีความกังวลเจือปนอยู่ก็หายไป ครูเชื่อมั่นมากขึ้น” จากเดิมเป็นครู ศพด. ตัวเล็ก ๆ ทีข่ าดความกล้าในการน�ำเสนอความคิดเห็น เคยถูกสังคม มองเป็นแค่เพียงพี่เลี้ยงคอยดูแลเด็ก ๆ หลังจากผ่านกระบวนการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพแล้ว ครูเกิดความเข้าใจและเข้าถึงแนวคิดของการใช้หนังสือนิทานเสริมพัฒนาการเด็ก มีความรู้เรื่อง หนังสือนิทานและสามารถวิเคราะห์หนังสือนิทานเองได้ ดังนั้น ครู ศพด. จึงสามารถเชื่อมโยง องค์ความรู้ที่มีไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทั่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ส�ำหรับการจัดซื้อหนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัยของเด็กเล็ก 273

∞∞



“กล้าพูดกล้าแสดงออกมากขึ้น แล้วก็สามารถเล่านิทานได้ น่าสนใจและเก็บเด็ก ๆ ได้” ครูสายพิณ ศพด.บ้านทุ่งแต



“กล้าที่จะพูดหรือเสนอเรื่องต่าง ๆ กับหน่วยงานต้นสังกัด และ เลือกใช้หนังสือที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้” ครูพิกุล ศพด.บ้านทุ่งแต



“มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ได้รู้จักหนังสือนิทานที่เหมาะ กับเด็กจริง ๆ เอาไปประยุกต์ใช้สอนได้สนุกและให้ความรู้” ครูนงเยาว์ ศพด.บ้านบางผักหอม

274

∞∞

หลังเข้าร่วมอบรมกับโครงการฯ “พิกุล เขื่อนแก้ว” ครูประจ�ำ ศพด.บ้านทุ่งแต พบว่าตน มีความมั่นใจในการพูดคุย กล้าคิด กล้าสอบถามมากขึ้น และได้น�ำความรู้และเครื่องมือต่าง ๆ ไปทดลองงาน กระทั่งได้โอกาสน�ำเสนอแนวคิดต่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กที่ท�ำโครงการฯ ร่วมกับโรงพยาบาลปงและส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน พะเยา ซึ่งในครั้งแรกยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก ต่อมาอีก ๑ สัปดาห์ ในการประชุม อบต. ประจ�ำเดือน ครูพิกุลเข้าไปน�ำเสนอนักวิชาการศึกษา เรื่องการรวมหนังสือนิทานที่เหมาะสมกับ วัยเข้าไปอยู่ในกลุ่มของวัสดุการศึกษา แม้ยังไม่ได้รับการตอบรับในวันนั้น แต่จากนั้นไม่นาน ผู้บริหารได้สั่งให้ครู ศพด. เข้าร่วมประชุมประจ�ำสามัญของ อบต. ด้วยทุกครั้ง จากที่ไม่เคย ได้รับสิทธินั้น กระทั่งทุกวันนี้ ครูกุลและเพื่อน ๆ ครู ศพด. ของ อบต.งิม ได้รับสิทธิคัดเลือกหนังสือ นิทานที่เหมาะสมตามงบประมาณด้วยตนเอง เป็นจ�ำนวน ๕๐ เล่มต่อปี จากการแสดงศักยภาพ ความรู้และแนวคิดในการใช้สื่อนิทานเพื่อพัฒนาการเด็กเล็กอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสร้างความ ตระหนักถึงคุณประโยชน์ของการใช้สื่อนิทานเพื่อพัฒนาการเด็กเล็กกับคณะผู้บริหารท้องถิ่นได้ ครู ศพด. ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้น�ำความรู้เรื่องหนังสือนิทาน การส่งเสริมการอ่าน การยืมคืนหนังสือ พัฒนาการและความเปลีย่ นแปลงในตัวเด็กนักเรียนมาเป็นช่องทางในการพูดคุย กับพ่อแม่ เป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูและผู้ปกครองไปโดยธรรมชาติ “เราส่งเสริมการอ่านส�ำเร็จเพราะท�ำงานร่วมกับผู้ปกครองด้วย ที่นี่ผู้ปกครองมารับเด็ก เอง เดินบ้าง ขี่มอเตอร์ไซค์บ้าง แต่ก็ไม่ได้เร่งรีบ ท�ำให้เราได้คุยกัน เล่าเรื่องเด็ก ๆ เรื่องหนังสือ นิทาน เรื่องทั่ว ๆ ไป การยืมหนังสือ แล้วถ้าผู้ปกครองมาเร็วก็จะมานั่งดูกิจกรรมที่คุณครูท�ำกับ เด็ก ๆ ด้วย” ครูพิกุลกล่าว 275

∞∞

ประสบการณ์น�ำเสนอคุณค่าของการ ใช้สื่อนิทานเพื่อพัฒนาการเด็กเล็กของ “ครู พิกุล” ได้มีการถ่ายทอดความรู้และเทคนิค วิธกี ารให้กบั เครือข่ายครู ศพด. อืน่ ๆ ในเวที การประชุมครู ศพด. ของอ�ำเภอปง กลายเป็น แรงบันดาลใจให้กับเพื่อนครูเป็นจ�ำนวนมาก กลับไปประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มี เพื่อน�ำ เสนอกับผู้บริหารในท้องถิ่นของตนตระหนัก ถึงคุณค่าของสือ่ นิทานกับพัฒนาการเด็กเล็ก “อ้อม-วรรณพร เพชรประดับ” กล่าว สรุปถึงการลงมือท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่านในชุมชน พื้นที่อ�ำเภอปงไว้ว่า ท�ำให้ ค้นพบการท�ำงานทีม่ งุ่ สูผ่ ลสัมฤทธิโ์ ดยไม่ยดึ ติดรูปแบบ มีความคิดยืดหยุน่ เป็นอิสระ และ รวดเร็ว ต้นทุนทรัพยากรไม่สูง ได้ระบบการ ใช้คนท�ำงานไม่เยอะ แต่ผลลัพธ์มปี ระสิทธิภาพ เข้าถึงรูปแบบการท�ำงานเชือ่ มกับศูนย์พฒ ั นา เด็กเล็ก มีเครื่องมือและกระบวนการน�ำไป พัฒนางานการอ่านต่อ

“อ้อมเข้าใจมิติของสื่อหนังสือนิทาน มากขึน้ เข้าใจเด็กเล็กในเรือ่ งของพัฒนาการ และการเจริญเติบโต อนาคตอ้อมหวังให้เกิด วาระพูดคุยการอ่านเพื่อพัฒนาการเด็กใน การประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอ�ำเภอ ของทุก ๆ เดือน เพราะวัฒนธรรมการอ่าน คือการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่มีหนังสืออย่างเดียว จะขับเคลือ่ นในวงกว้างก็ตอ้ งขยับกันให้หมด ทุกหน่วย ความร่วมมือกันเท่านัน้ จะขับเคลือ่ น โลกการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้” อ้อม-วรรณพร ผอ. ส�ำนักข่าวเด็กฯ พะเยา กล่าวยืนยันไว้ว่า “เรามั่นใจว่าสามารถพัฒนาคนได้ ตั้งแต่เด็กเล็ก”

276

∞∞

= Growth Mindset = - การพัฒนาเด็กเล็ก เท่ากับการพัฒนาสังคมในระดับชาติ - วัฒนธรรมการอ่าน คือ การเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในชีวิต - เลือกตั้งค�ำถามที่เหมาะสม ท�ำให้ค้นพบวิธีการที่สร้างผลลัพธ์ - ความสนุกระหว่างท�ำงานสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ - ท�ำงานด้วยการให้ออกไปก่อน ผลลัพธ์ที่ดีตามมาเอง - ทุกปัญหามีทางออกเสมอ เล่นสนุกกับปัจจุบัน เรื่องราวจะคลี่คลายตามจังหวะ - การท�ำงานต้องยืดหยุ่น ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และยุคสมัย - ทุกคนสร้างการเปลี่ยนแปลงให้สังคมได้ - NGO สามารถมีระบบการจัดการที่เหมาะสมส�ำหรับองค์กรได้ - ความร่วมมือของทุกฝ่าย สามารถขับเคลื่อนพัฒนาสังคมในวงกว้างได้จริง

277

∞∞



“Key Success ส�ำคัญคือ ฝ่ายทันตาภิบาลของโรงพยาบาลปง เพราะท�ำให้การขยายฐานท�ำงานไปยังศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้กระจาย เต็มพื้นที่ คิดว่าถ้าทีมเราฝ่ายเดียวประสานงานกับ ศพด. ทั้งหมด อาจเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อได้โรงพยาบาลประสานงานให้โดยมีเราเป็น พีเ่ ลีย้ งท�ำงานไปด้วยกัน ถือเป็นการเปิดประตูสกู่ ารท�ำงานกับครู ศพด. ในอ�ำเภอได้ดีมาก



ทุกวันนี้เราเห็นการอ่านมีความหมายมากกว่าเดิม เช่น ที่เคยได้ยินพี่ป๊อบ (ระบัดใบ ระนอง) พูดกับครู ๆ มาตลอดว่า หนังสือนิทานแค่ครูหยิบขึน้ มาเล่ามันก็มปี ระโยชน์แล้ว วันนีเ้ ราเข้าใจประโยค นี้มาก ๆ เลย และยิ่งได้เห็นครูเล่าด้วยสื่อประกอบนิทานที่ท�ำขึ้นจากความเข้าใจและใส่ใจด้วยก็ยิ่ง ซาบซึง้ กับคุณค่ามากขึน้ ไปอีก ตอนนีก้ ารอ่านก็ไปอยูใ่ นวิถชี วี ติ ของครูจนกลายเป็นรูปแบบสือ่ สารการ อ่านแบบธรรมชาติไปแล้ว ครูสามารถคุยกับหัวหน้าและผู้ปกครองจนเป็นกระบอกเสียงให้ชุมชนได้ เข้าใจถึงคุณค่าของการอ่าน



เป้าหมายสูงสุดของโครงการฯ คือ อยากให้ครู ศพด. กล้าลุกขึ้นมาสื่อสารกับผู้ปกครอง หน่วยงานต้นสังกัด หรือหัวหน้างานที่รับผิดชอบเขา สามารถเชื่อมโยงการท�ำงานกับผู้ปกครองได้ ยืนยันชุดความรู้ด้านพัฒนาการเด็กกับการอ่านในฐานะครูกับผู้บริหารองค์กรท้องถิ่นได้



พอใจมากที่โครงการฯ สร้างการเปลี่ยนแปลงให้คณะท�ำงาน ครู และที่ปรึกษา ยิ่งเห็นพลังใจ ของคุณครูทุกคนแล้วก็ยิ่งมีพลังมากขึ้น อย่างที่เรามาหาครูเยาว์กับครูกุลวันนี้ (วันที่พาทีมงาน ประเมินฯ แผนงานฯ ลงพืน้ ทีเ่ ก็บข้อมูล ศพด.) ก็ไม่มเี งินให้ครูสกั บาท เราก็บอกครู ๆ ว่าไม่ตอ้ งเตรียม อะไรไว้ให้นะ แต่พอมาแล้วก็มีอาหารการกินเต็มมาก ครูทุกศูนย์ฯ เป็นอย่างนี้หมด มีความเป็นพี่ เป็นน้อง มีน�้ำใจมอบให้เรามาก ซึ่งเป็นเสน่ห์ของครูที่ส่งให้เรามีพลังและมีความสุขในการท�ำงาน

278

∞∞



กุ๊กถือว่าการท�ำงานของเราไม่ใช่ว่าแค่มีครูยืนเคียงข้าง แต่เป็นการยืนหยัดอยู่ด้วยกันจริง ๆ เราเคยจัดอบรมแล้วครูมาเกินเป้าไปเท่าหนึ่ง จาก ๔๐ คนกลายเป็น ๘๐ คน ท�ำให้เราจ่ายเงินค่ารถ ให้ครูที่มาได้แค่ร้อยเดียวต่อ ๒ วัน ท�ำให้มีบางคนไม่พอใจเพราะไม่เข้าใจ แต่ก็มีครู ๆ ที่อยู่ด้วยกัน มานานแล้วเข้าใจสถานการณ์ก็จะช่วยพูดอธิบายขึ้นมาว่าการมาอบรมให้คุณค่าอะไรกับทุกคนบ้าง มันประทับเข้าไปในใจของเรามาก เป็นพลังในการท�ำงานของเราต่อไป



ส่วนตัวกุ๊กก็ได้เอาเทคนิคที่เรียนรู้มาไปใช้กับลูกของตัวเอง มีมุมมองการอ่านที่เป็นเรื่องบวก วิเคราะห์ได้ เชื่อมโยงได้ สามารถเอาความรู้ที่มีเกี่ยวกับการอ่านไปแบ่งปันให้กับคนอื่น ๆ ได้”



กุ๊ก-ฐิติรัตน์ วุฒิ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัดพะเยา

“รู้จักหนังสือนิทานหลากหลายมากขึ้น ไม่ได้มองเพียงมีไว้ อ่านอย่างเดียวเหมือนเดิม แต่หนังสือนิทานสามารถพัฒนาเป็น สื่ออื่น ๆ ต่อยอดไปได้อีกเยอะมาก นอกจากนั้นขวัญก็ได้เข้าใจ เรือ่ งพัฒนาการเด็กปฐมวัยมากขึน้ จนได้แนะน�ำวิธกี ารทีด่ กี บั เด็ก ๆ ให้คนรูจ้ กั หลาย ๆ คนน�ำไปใช้กบั ลูกหลาน เช่น เรือ่ งคุณค่าของการ ใช้หนังสือนิทานเสริมสร้างพัฒนาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็ก ๆ ให้ดขี นึ้ ส่วนการท�ำงานกับครูศนู ย์พฒ ั นาเด็กเล็ก ท�ำให้เราพบว่าครูไม่ใช่เป็นแค่เพียงพีเ่ ลีย้ งเด็ก แต่ครู มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ให้เด็กปฐมวัยได้เตรียมตัวไปสู่ระดับอนุบาล”



ขวัญ-เกศินี ลอยมูล ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการส�ำนักข่าวเด็กและเยาวชน จังหวัดพะเยา

279

∞∞

ทุนบุคลากร : หมอโฮม ผู้ดูแลสุขภาพฟันเด็กเล็ก ๓๑ ศพด.

“ขนิษฐา ทิวาศิริ” หรือ “หมอโฮม” เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขช�ำนาญงาน โรงพยาบาล

ปง อ�ำเภอปง จังหวัดพะเยา เป็นบุคคลส�ำคัญ (Key Man) ที่ส�ำนักข่าวฯ ตัดสินใจเชิญมาร่วมเป็นคณะ ท�ำงานในระดับพื้นที่ เนือ่ งจากรับผิดชอบงานเรื่องสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กเล็กทุก ศพด. อยู่แล้ว ซึ่งการอ่านนิทานสามารถเป็นกลไกหนึ่งที่ส่งเสริมเรื่องสุขภาพช่องปากและฟันของเด็ก ๆ ได้



“ชอบกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพของครู ศพด. โดย พีป่ อ๊ บ ระบัดใบ เพราะเขาสามารถน�ำรูปแบบของวิชาการมา สาธิต และแตกประเด็นองค์ความรู้ต่าง ๆ ได้มากมาย น�ำไป ใช้ได้จริงและยัง่ ยืน ด้วยบทบาทเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขตอนนี้ เราเห็นทิศทางว่าสามารถน�ำหนังสือนิทานมาเป็นเครื่องมือ ส�ำหรับสื่อสารกับผู้ปกครองได้ง่ายและตรงที่สุด



ส่วนตัวเราร่วมงานกับการอ่านมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ ได้เรียนรู้แนวคิดและวิธีการท�ำงานร่วมกับ NGO แล้วเราได้ น�ำทักษะการเล่านิทานและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปประยุกต์ ใช้ในการลงพืน้ ที่ ศพด. ตามความรับผิดชอบของเราได้อย่าง สร้างสรรค์มากขึน้ ได้พฒ ั นากระบวนการสือ่ สารกับผูป้ กครอง ผ่านการใช้รูปแบบ Focus group”

280

∞∞



กลไกท�ำงานระดับอ�ำเภอ ทีมทันตาภิบาลโรงพยาบาลปงท�ำหน้าที่เป็นหลักในด้านวิชาการ ส่งเสริมความรู้ สร้างความเข้าใจเรื่องพัฒนาการสมองและการดูแลช่องปากของเด็ก ๆ ตามตัวชี้วัด ของส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา เน้นการพัฒนาศักยภาพแกนน�ำครู ส่งเสริมการอ่าน ให้สามารถขยายความรู้เรื่องสื่ออ่านไปสู่เครือข่ายครูผู้ดูแลเด็กให้ครบทุกแห่งในอ�ำเภอปง มุ่งหนุนให้ ยกระดับเป็นอ�ำเภอสุขภาวะการอ่าน



ปัจจุบันเกิดการเชื่อมไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบล (รพ.สต.) ในพืน้ ที่นั้น ๆ เพื่อร่วม เป็นพี่เลี้ยงหนุนเสริมไปร่วมกับทีมโครงการฯ ถือว่าเป็นการท�ำงานในภาพรวมผ่านกลไกระบบ สาธารณสุขระดับอ�ำเภอ หากสามารถเคลื่อนไหวพร้อมกันทั้งระดับอ�ำเภอ น่าจะเกิดการสื่อสารกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการอ่าน เพื่อให้ได้มาซึ่ง งบประมาณหรือการสนับสนุนสื่อที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านสมองส�ำหรับเด็กมากยิ่งขึ้น

281

∞∞

อ่านสร้างสุข กันยกร ตุ้ยวงค์ษา, ปุณยนุช กรมขุนทด

สังคมแห่งการเรียนรู้ : ครอบครัวเข้มแข็ง ล�ำปาง นครแห่งการอ่าน แบ่งปันโอกาส สร้างสรรค์ชุมชน เป็นอีกหนึง่ พืน้ ทีท่ ำ� งานซึง่ คนรุน่ ใหญ่เปิดโอกาสให้คนรุน่ ใหม่ได้รบั บทบาทขับเคลือ่ นงาน สร้ างเสริ ม วัฒนธรรมการอ่านเต็มที่ กระทั่งวัน นี้เกิดเป็น “ล�ำปาง นครแห่งการอ่าน” ภายใต้การหนุนสร้างของศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดล�ำปาง รุ่นใหม่ที่ว่า คือ “สาย-ปุณยนุช กรมขุนทด” และ “ดาว-กันยกร ตุ้ยวงค์ษ า” “สาย-ปุณยนุช” มีตำ� แหน่งเป็นผูป้ ระสานงานโครงการอ่านยกก�ำลังสุข เพิม่ สุขจาวล�ำปาง ๕๘ “ดาว-กันยกร” มีต�ำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการอ่านยกก�ำลังสุข เพิ่มสุข จาวล�ำปาง ๕๘ ทั้ง ๒ คนเป็นแกนก�ำลังหลักของการท�ำงานขับเคลื่อนประเด็นส่งเสริมการอ่านร่วมกัน ในปัจจุบัน

ส่วนรุน่ ใหญ่ทวี่ า่ คือ ประธานและคณะกรรมการศูนย์เรียนรูเ้ พือ่ ครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัด

ล�ำปาง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ คนส�ำคัญของจังหวัด บางคนเกษียณอายุราชการงานวิชาการ บางคนยังท�ำงานเป็นอาจารย์ บางคนเป็นนักการเมือง ท้องถิ่น บางคนท�ำธุรกิจส่วนตัว บางคนเป็นจิตอาสาผู้น�ำชุมชน คณะท�ำงานของศูนย์เรียนรูฯ้ หลายคนทีเ่ ป็นรุน่ ใหญ่ตา่ งมีประสบการณ์การท�ำยุทธศาสตร์ ทัง้ ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ มีสถานภาพทางสังคมเป็นคณะท�ำงานขับเคลือ่ นสังคมแทบ ทุกประเด็นของจังหวัดล�ำปาง จึงท�ำให้การเคลื่อนงานเชิงนโยบายมีพลังและประสบความส�ำเร็จ สามารถผลักดันนโยบายส่วนการอ่านเข้าสู่เทศบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรได้ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ ทุกคนต่างมารวมตัวกันท�ำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน คือ ร่วมกันพัฒนาชุมชนเมืองล�ำปาง ให้น่าอยู่ในทุก ๆ ด้าน บนพื้นฐานความเข้มแข็งในครอบครัว 284

∞∞

“ทุกเรือ่ งของการพัฒนาสังคม มีฐาน หลักคือครอบครัว” ทุกคนในคณะท�ำงานศูนย์ฯ ครอบครัวเข้มแข็ง ล�ำปาง คิดเห็นตรงกัน ดังนัน้ ทุกประเด็นทีพ่ วกเขาเข้าร่วมขับเคลือ่ น ล้วนท�ำงานบนรากฐานแห่งความสัมพันธ์ของ ครอบครัว เช่นเดียวกับโครงการอ่านยกก�ำลังสุข เพิ่มสุขจาวล�ำปาง ๕๘ ภายใต้การสนับสนุน ของแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) คณะท�ำงานในศูนย์เรียนรูฯ้ ขับเคลือ่ น งานสร้ า งเสริ ม สุ ข ภาพ ความสั ม พั น ธ์ ครอบครัวในระดับหมู่บ้าน ต�ำบล อ�ำเภอ จังหวัด และระดับประเทศ ในหลากหลาย รูปแบบ เช่น เป็นวิทยากรกระบวนการเรียนรู้ พั ฒ นาศั ก ยภาพคณะท� ำ งานชุ ม ชนและ หน่วยงานอื่น ๆ ที่ร้องขอในด้านต่าง ๆ เช่น ครอบครัว ยาเสพติด สตรี เด็กและเยาวชน เป็นองค์กรรับผิดชอบขับเคลื่อนงานสื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว สถาบันสื่อสร้าง สุขภาวะเยาวชน (สสย.) รวมทัง้ เป็นวิทยากร 285

∞∞

โครงการด้านส่งเสริมสายใยรักของครอบครัว ผ่านการเล่านิทาน อ่านและเล่นกับลูก ของ สถาบันรักลูก ด้านการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรม การอ่ า น “อ่ า นยกก� ำ ลั ง สุ ข เพิ่ ม สุ ข จาว ล�ำปาง” ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้ฯ ล�ำปาง ท�ำงาน ร่วมกับท้องถิ่น ๘ พื้นที่ ในอ�ำเภอแจ้ห่ม กับ ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ชุมชนและภาคส่วน ต่าง ๆ สร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของ การอ่านกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย และได้ พัฒนาทักษะการอ่านและเล่านิทานอย่างมี ความสุขระหว่างผู้ปกครองกับลูกหลานตาม บริบทครอบครัวและชุมชน ได้พัฒนาทักษะ ด้านการเลือกหนังสือหรือสื่อที่เหมาะกับเด็ก ปฐมวัย ได้พฒ ั นาทักษะการผลิตนิทานท�ำมือ ของผู้ปกครองร่วมกับลูกหลาน ได้สร้างองค์ ความรู้ด้านการสร้างเสริมวัฒนธรรมรักการ อ่านในบริบทของชุมชนและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ได้ศกึ ษาเรียนรูแ้ ละพัฒนาขยาย ผลทั้ ง ในเชิ ง คุ ณ ภาพและเชิ ง ปริ ม าณใน โอกาสต่อไป

การขับเคลือ่ นงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนของจังหวัดล�ำปาง มีปจั จัยความ ส�ำเร็จมาจากต้นทุนที่มีอยู่ในพื้นที่ ทุนทางสังคม เช่น ความรักของคนในครอบครัว การท�ำงาน ที่สอดรับนโยบายภาครัฐและท้องถิ่น ความเชื่อและความศรัทธาต่อศูนย์เรียนรู้ฯ ความเข้มแข็ง ของภาคีเครือข่ายในระดับต่าง ๆ

ทุนทางบุคคล เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอ�ำเภอแจ้ห่ม ผู้อ�ำนวยการ กศน. (ศูนย์การ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย) อ�ำเภอแจ้ห่ม คณะท�ำงานส่งเสริมการอ่านใน ระดับพื้นที่ คณะท�ำงานศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ ล้วนแต่ยอมรับและสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการอ่าน ในขณะทีท่ นุ ความรู้ เช่น ความเชีย่ วชาญด้านการสร้างกระบวนการเรียนรูแ้ บบมีสว่ นร่วม (Participatory Learning : PL) ของคณะท�ำงานศูนย์เรียนรู้ฯ ความเชี่ยวชาญด้านการท�ำสื่อ เพื่อเด็กปฐมวัย (หนังสือนิทานท�ำมือ) ของวิทยากรและคณะท�ำงานในพื้นที่ สามารถสร้างการ เรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กปฐมวัยและผู้ปกครองได้ตามเป้าหมาย 286

∞∞

ทุกคนในคณะท�ำงานพูดถึงหัวใจของการขับเคลื่อนงานไว้ตรงกันคือ “การเรียนรู้” ทุกคนต่างเชื่อว่าตนอยู่บนเส้นทางการเรียนรู้อย่างไม่มีวันจบสิ้น ทุกการท�ำงานที่เพิ่มขึ้น ล้วนแต่สามารถส่งให้คณะท�ำงานได้ดึงศักยภาพภายในออกมา ท�ำงาน เพื่อพัฒนาทั้งตนเองและสังคม

ล�ำปาง นครแห่งการอ่าน งานส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านของ จังหวัดล�ำปางขับเคลือ่ นในระดับต�ำบล อ�ำเภอ และจังหวัด โดยมีคณะท�ำงานจากหลากหลาย หน่วยงาน เช่น ระดับต�ำบล ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (อปท.) ศูนย์การ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ศูนย์พฒ ั นาเด็กเล็ก (ศพด.) โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมูบ่ า้ น (อสม.) ตั ว แทนผู ้ ป กครองเด็ ก ปฐมวั ย โดยมี ภ าคี สนับสนุนคือ วัด ผู้น�ำหมู่บ้าน ผู้สูงอายุ และเยาวชน ระดับอ�ำเภอ (แจ้ห่ม) มีประธานคณะท�ำงาน คือ นายอ�ำเภอแจ้ห่ม และมีผู้อ�ำนวยการ กศน.อ�ำเภอแจ้ห่ม เป็นเลขานุการ หัวหน้าส่วนราชการต่าง ๆ ในอ�ำเภอเป็นคณะกรรมการ เช่น ผูก้ ำ� กับการสถานีตำ� รวจภูธรแจ้หม่ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาล�ำปาง 287

∞∞

เขต ๓ อ�ำเภอแจ้ห่ม ปลัดอ�ำเภอ พัฒนากรอ�ำเภอ เกษตรอ�ำเภอ สาธารณสุขอ�ำเภอ สัสดีอ�ำเภอ วัฒนธรรมอ�ำเภอ ผูจ้ ดั การธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรแจ้หม่ ผูจ้ ดั การธนาคาร ออมสิน แจ้ห่ม ผู้อ�ำนวยการโรงพยาบาลแจ้ห่ม ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนแจ้ห่มวิทยา ผู้บริหาร ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งก�ำนันและผู้ใหญ่ทุกคนในอ�ำเภอ ปี ๒๕๕๘ โครงการฯ ขยายพื้นที่ด�ำเนินงานครอบคลุมไปยัง ๓๒ หมู่บ้านจากทั้งหมด ๖๔ หมู่บ้าน รวมทั้งขยายไปยังพื้นที่สูงที่มีศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ตั้งอยู่ด้วย คือ บ้านห้วยวาด บ้านแม่ก๋า และบ้านห้วยปง เป็นปัจจัยพื้นฐานส่งเสริมทางปัญญาและสร้าง ครอบครัวที่อบอุ่น เพื่อผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน “กศน. มีหน้าที่โดยตรงเรื่องจัดการศึกษาตาม อัธยาศัย มีห้องสมุดประชาชน มีบ้านหนังสือชุมชน สามารถที่จะจัดกิจกรรมได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เนื่องจาก มีครู กศน. ทุกพื้นที่ นักเรียนที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่เป็น วัยหนุม่ สาวและวัยท�ำงาน ดังนัน้ การขยับงานให้เต็มพืน้ ที่ สามารถเชือ่ มเข้าไปสูก่ ลไกนี้ได้ และสามารถขยายผลไป ยังครอบครัวในระดับชุมชนได้ เราขยายผล ๒ พืน้ ที่ อบต. แจ้ห่ม และ อบต.แม่สุก ให้เป็นพื้นที่เรียนรู้อย่างเป็น รูปธรรม และสนับสนุนให้การส่งเสริมการอ่านเป็น นโยบายของจังหวัด ซึ่งในระดับจังหวัด เรามีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และผู้อ�ำนวยการ ส�ำนักงาน กศน.จังหวัดล�ำปางเป็นกองเลขานุการ” อ�ำภรณ์ ช่างเกวียน ผอ.กศน. อ�ำเภอแจ้ห่ม กล่าว 288

∞∞

ศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัว เข้มแข็ง ล�ำปาง ขับเคลื่อนงาน ส่งเสริมการอ่านในระดับชุมชนถึง ระดั บ จั ง หวั ด จนเกิ ด การท� ำ ยุ ท ธศาสตร์ การอ่ า น ๓ ปี ข อง จั ง หวั ด ล� ำ ปาง เกิ ด แผนงาน ขับเคลื่อน “ล�ำปาง นครแห่งการ อ่าน” อย่างจริงจัง ผู้ว่าราชการ จังหวัดมอบหมายให้ กศน. เชื่อมการท�ำงานร่วมกับศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง ล�ำปาง สืบเนือ่ งจากผูว้ า่ ราชการจังหวัดเห็นผลงานเชิงประจักษ์ในด้านส่งเสริมการอ่านของอ�ำเภอ แจ้ห่ม ที่มีการขับเคลื่อนงานตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับบุคคล ชุมชน และอ�ำเภอ จึงเสนอให้ อ�ำเภอแจ้หม่ ส่งตัวแทนเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จและถวายรายงานต่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชด�ำเนินทรงเปิดโครงการอ่างเก็บน�ำ้ แม่เสริมอันเนือ่ งมาจากพระราชด�ำริ บ้านโป่งน�ำ้ ร้อน อ�ำเภอเสริมงาม จังหวัดล�ำปาง เมือ่ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดล�ำปางมอบหมาย ให้ กศน. จังหวัดล�ำปาง จัดท�ำนิทรรศการและแผ่นพับประชาสัมพันธ์ “ล�ำปางนครแห่งการอ่าน” รวมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้เสริมสร้างวัฒนธรรมการอ่านในชุมชน คือ “พรทิพย์ มีมานะ” เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จและถวายรายงานเกี่ยวกับนิทรรศการ “ล�ำปาง นครแห่งการอ่าน” เนื่องจากเป็นเจ้าของบ้านหนังสืออัจริยะ บ้านสบฟ้า ต�ำบลแจ้ห่ม อ�ำเภอแจ้ห่ม จังหวัดล�ำปาง ซึ่งสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน 289

∞∞

“ล�ำปาง นครแห่งการอ่าน รักลูก รักครอบครัว รักล�ำปาง รักการอ่าน” โดย นายธานินทร์ สุภาแสน ผู้ว่าราชการจังหวัดล�ำปาง

“เนือ่ งในปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย ปีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในศุภวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๘ และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติถวายเจ้าฟ้านักอ่าน ซึ่งมีความส�ำคัญยิ่งต่อการแสวงหาความรู้และยัง เป็นกระบวนการสร้างความรู้ใหม่ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด ที่ท�ำให้ประชาชนชาวล�ำปางได้รับการพัฒนาทั้ง ทางร่างกาย จิตใจ ความรู้ความสามารถ และมีความมั่นคงในชีวิต โดยเฉพาะสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดในชีวิต คือ เป็นประโยชน์ในครอบครัว ท�ำให้ครอบครัวอบอุ่น ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาสังคม ชุมชน ประเทศ ชาติต่อไป จึงได้ก�ำหนดให้จังหวัดล�ำปางเป็นนครแห่งการอ่าน เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๘-๒๕๖๑ ก�ำหนด แนวคิดหลักไว้คือ “รักลูก รักครอบครัว รักล�ำปาง รักการอ่าน” การด�ำเนินงานโครงการ ล�ำปาง นคร แห่งการอ่าน จะประสบความส�ำเร็จได้ตอ้ งอาศัยพลังของทุกภาคส่วนในจังหวัดล�ำปางร่วมกันขับเคลือ่ น ไปพร้อมกัน เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านในครอบครัวที่ยั่งยืนต่อไป”



เนื้อความจากแผ่นพับประชาสัมพันธ์

“ล�ำปางนครแห่งการอ่าน” “ทุกวันนี้ อบต.แม่สุก และ อบต.แจ้ห่ม กลายเป็นพื้นที่ เรี ย นรู ้ ต ้ น แบบที่ มี ค นมาดู ง านต่ อ เนื่ อ ง เพราะเป็ น พื้ น ที่ ท่ี มี ประสบการณ์ แ ละผลงานที่ชัด เจน เช่น รูปแบบการท�ำงาน กระบวนการเรียนรู้ที่ ใช้วิธีการสร้างความตระหนักรู้อย่างมีส่วน ร่วมผ่านการคืนข้อมูล มีผลงานการผลิตสื่อส่งเสริมการอ่านและ สื่อประชาสัมพันธ์การท�ำงาน สามารถเห็นภาพกลไกคณะท�ำงาน 290

∞∞

ระดับต�ำบล ซึ่งท�ำงานกันผ่านแผนงานระยะ สั้ น ภายใต้ การวางยุท ธศาสตร์ระยะยาว” ผอ.กศน. อ�ำเภอแจ้ห่ม กล่าวเพิ่มเติม ด้านคนท�ำงานรุน่ ใหม่ “สาย-ปุณยนุช กรมขุนทด” ให้ขอ้ มูลเสริมว่า ปี ๒๕๕๘ ขยาย พื้นที่ท�ำงานอีก ๖ ท้องถิ่นของอ�ำเภอแจ้ห่ม ซึ่งได้เดินทางไปดูงานที่ อบต.แม่สุก และ อบต.แจ้ห่ม ได้สะดวกและเกิดความเข้าใจ เนื้องานชัดเจน เพราะมีบริบทที่ใกล้เคียงกัน สร้างแรงบันดาลใจให้คนมาดูงานกลับไป ลงมือท�ำในพื้นที่ตัวเองได้จริง ๆ ส่วนคณะ ท�ำงานก็ท�ำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ติดตามดูงาน และให้การสนับสนุน แม้ว่าในโครงการฯ ไม่ได้มงี บประมาณส�ำหรับลงติดตาม แต่คณะ ท�ำงานให้ความส�ำคัญต่อการติดตาม จัดหา ช่องทางลงพื้นที่สม�่ำเสมอ เนื่องจากเห็นว่า เป็นเรื่องส�ำคัญที่สามารถช่วยเสริมแรงคน ท�ำงานได้ และยังท�ำให้คณะท�ำงานได้เห็น ภาพความเคลื่อนไหวงานชัด ทันเหตุการณ์ หรื อ เกิ ด ข้ อ ติ ด ขั ด เฉพาะหน้ า ตรงไหน 291

∞∞

ยังสามารถช่วยดูแลแก้ไขทันเวลาอีกด้วย รวมทั้งกระบวนการต่าง ๆ ส่งผลให้ ทุกคนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน คือ อีก ปัจจัยส�ำคัญที่เคลื่อนงานส่งเสริมวัฒนธรรม การอ่านในพืน้ ที่ไปสูค่ วามส�ำเร็จ ทัง้ ในระดับ หมูบ่ า้ น ต�ำบล และอ�ำเภอ เนือ่ งจากผูม้ สี ว่ นได้ ส่วนเสีย คือ ครู กศน. ครู ศพด. อสม. ผู้ปกครอง ต่างมีความรู้สึกเป็นเจ้าของงาน ลงมือร่วมคิด ออกแบบการท�ำงาน ลงมือ ปฏิบัติงานร่วมกันทุกขั้นตอนตามแผนงาน ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ จังหวัดล�ำปาง สามารถผลักดันการอ่านสูร่ ะดับนโยบายท้องถิน่ ได้ประสบความส�ำเร็จ คือ การสร้างการอ่าน เป็นวาระจังหวัด เป็นเทศบัญญัติในพื้น ที่ ด�ำเนินการ การมีงบประมาณและความร่วมมือ ของส่วนท้องถิน่ หรือหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเข้า มาสนับสนุนในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริม การอ่าน ถือเป็นกลไกส�ำคัญส�ำหรับการ สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึน้ ในทุก ชุมชนของจังหวัดล�ำปาง เนื่องจากท้ายที่สุด

แล้ว ท้องถิ่นแต่ละแห่งจะสามารถขับเคลื่อนงานส่งเสริมการอ่านได้เอง ศูนย์เรียนรูเ้ พือ่ ครอบครัวเข้มแข็ง ล�ำปาง วางยุทธศาสตร์หลักไว้ชดั เจนตัง้ แต่เริม่ ต้นท�ำงาน สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน คือ “ต้องท�ำให้การส่งเสริมการอ่านบรรจุเข้าไปในนโยบายจังหวัด” จากนัน้ ด้วยวัฒนธรรมองค์กรของศูนย์เรียนรูฯ้ ซึง่ เน้นเรือ่ งการเรียนรูไ้ ม่มที สี่ นิ้ สุด จึงเริม่ ด้วยการท�ำงานวิจัยเก็บข้อมูล วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วางแผนงานระยะ ๓ ปีและ ๕ ปี ผ่าน การสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการอ่านผ่านการสื่อสาร วางโครงสร้างกลไกการท�ำงาน คณะท�ำงาน เวทีประชาคม เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ชุมชนสร้าง ยุทธศาสตร์ของตน เพื่อรวมศูนย์ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน มีศูนย์เรียนรู้ฯ เป็นผู้อ�ำนวยการ คอยติดตามประเมินผล สรุปบทเรียน หลังกิจกรรม กระทั่งในที่สุดการอ่านก็ได้ถูกบรรจุเป็น วาระจังหวัด “ล�ำปาง นครแห่งความสุข : รักลูก รักครอบครัว รักการอ่าน รักล�ำปาง”

“ทุกกิจกรรมมีการวางแผนกระบวนการทุกครั้ง บนฐานของ เป้าหมายกระบวนเรียนรู้ให้ครบ ๓ มิติ คือ ความรู้ ความเข้าใจ สามารถน�ำไปใช้ได้ ต้องค้นให้พบว่าแต่ละกิจกรรมมีเนือ้ หาหลักคือ อะไร ท�ำแล้วได้สง่ มอบอะไรให้กบั ใคร รวมทัง้ หลัง จากจัดกิจกรรมทุก ๆ ครั้ง เรามี AAR (After Action Review) ว่าสิ่งที่ลงมือท�ำไปแล้วตอบโจทย์อย่างไร”



ครูแอ๋ว-ผศ.จริยา วิไลวรรณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล�ำปาง

292

∞∞

หัวใจแห่งการเรียนรู้ “อาจารย์พนั ธ์ศกั ดิ์ ค�ำแก้ว” ประธานศูนย์เรียนรู้ เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดล�ำปาง กล่าวถึงภาพรวม การท� ำ งานเพื่ อ พั ฒ นาสั ง คมในจั ง หวั ด ล� ำ ปางไว้ ว ่ า คนท�ำงานภาคประชาสังคมของจังหวัดล�ำปางล้วนมา จากหลายองค์กร ฉะนัน้ หัวใจส�ำคัญของการท�ำงานของ เขาคือ ต้องเรียนรูว้ า่ แต่ละองค์กรท�ำงานอะไร สามารถ บูรณาการร่วมกับงานที่มีอยู่ได้อย่างไร ที่ส�ำคัญคือการ ขับเคลื่อนในระดับสังคม ไม่สามารถอยู่ในรูปแบบต่าง คนต่างท�ำได้ จ�ำเป็นต้องเชือ่ มโยงกันจากทุกภาคส่วนทัง้ องค์กรภาครัฐและเอกชน โดยใช้เนื้องานเป็นตัวเชื่อม เข้าไปด้วยฐานคิดการท�ำงาน คือ ครอบครัว “ครอบครัวเป็นรากฐานของการขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่าน” อาจารย์พันธ์ศักดิ์เชื่อ อย่างนัน้ เมือ่ ตอบรับโจทย์ทา้ ทายด้านการสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึน้ ในชุมชนจาก แผนงานฯ การอ่าน โดยมียทุ ธศาสตร์แรกทีต่ ง้ั เป้าหมายชัดเจน คือ การอ่านเป็นนโยบายจังหวัด คณะท�ำงานทุกคนในศูนย์เรียนรู้ฯ ล้วนเปิดกว้างทางความคิดและการเรียนรู้เพื่อมุ่งไปสู่ เป้าหมาย ทุกคนเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา ทั้งประเด็นสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี โปรแกรมการ สื่อสารออนไลน์ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดเวลาของโลกยุคนี้ 293

∞∞

ดังนั้น การเรียนรู้เป็นสิ่งส�ำคัญในการ ท�ำงานพัฒนา “วั ฒ นธรรมขององค์ ก รเราคื อ ทุกคนอยากท�ำดี มีจิตสาธารณะ อยาก ท�ำงานเพือ่ ส่วนรวม ส่วนเรือ่ งบริหารงาน เป็นแบบพีน่ อ้ งกัน เป็นครอบครัวเดียวกัน นอกเหนือจากงานเราก็มีกิจกรรมพิเศษ มาเจอกั น ด้ ว ย เมื่ อ มี ป ั ญ หาก็ คุ ย กั น ทุกกิจกรรมที่ท�ำเสร็จ เรามี AAR (After Action Review) เพื่อทบทวนร่วมกันถึงงานที่จบไปแล้ว ซึ่งเราเน้นพูดกันในเชิงพัฒนา” ส่วนเทคนิคการเชื่อมต่องานระหว่างองค์กรและหน่วยงานนั้น มีทั้งรูปแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ควบคูไ่ ปกับการใช้เครือข่ายความสัมพันธ์ทมี่ อี ยูแ่ ล้วของคณะท�ำงานในศูนย์ เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็งแต่ละคน เช่น นอกเหนือจากจัดส่งหนังสือหรือเอกสารตามระบบ อาจารย์พันธ์ศักดิ์ช่วยยกหูโทรศัพท์คุยด้วยเพื่อย�้ำประเด็นที่ส�ำคัญ หรือหลาย ๆ ครั้งที่มีการนัด พบผู้ใหญ่เพื่อจิบกาแฟสนทนา ก็พาคนท�ำงานรุ่นใหม่อย่าง “สาย” และ “ดาว” ไปเรียนรู้ด้วย เสมอ ในขณะทีค่ ณะท�ำงานรุน่ ใหญ่เปรียบเสมือนเข็มทิศ รับบทบาทคอยก�ำหนดเส้นทาง วางแผน การเคลื่อนไหวงานพัฒนาสังคม เชื่อมต่อสายสัมพันธ์ “สาย-ปุณยนุช” และ “ดาว-กันยกร” คือ ๒ คนรุ่นใหม่ผู้เป็นเรี่ยวแรงหลักในการลงมือเคลื่อนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านในจังหวัด ล�ำปางอย่างขะมักเขม้น 294

∞∞



“กระบวนการท�ำงานส่งเสริมการอ่านท�ำให้คนท�ำงานเติบโตทัง้ ทางความ คิดและวิธีการท�ำงาน ดาวและสายเป็นคนที่พัฒนาตัวเองได้ดี ทั้ง ๒ คนเป็น วิทยากรกระบวนการเรียนรู้ (Facilitators) ที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ภาคภูมิใจมาก”



ครูแอ๋ว-ผศ.จริยา วิไลวรรณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล�ำปาง

“สาย-ปุณยนุช กรมขุนทด” เริม่ ท�ำงานกับศูนย์เรียนรูเ้ พือ่ ครอบครัวเข้มแข็ง ด้วยต�ำแหน่ง ผู้สื่อข่าว รับหน้าที่ออกท�ำข่าวในแต่ละอ�ำเภอของจังหวัดล�ำปาง ท�ำรายการประเด็นต่าง ๆ วัฒนธรรม การเลี้ยงลูก และการเกษตร ภายใต้ศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง ซึ่งมีสื่อวิทยุ เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร มีเครือข่ายวิทยุชุมชน “ตอนนัน้ สายเห็นพีน่ อ้ ย (ปรารถนา หาญเมธี-หนึง่ ในคณะท�ำงานศูนย์เรียนรูฯ้ ) จัดรายการ วิทยุ ก็อยากท�ำบ้าง ไปสมัครแล้วท�ำข่าว จัดอบรม เป็นเลขานุการ ประสานงาน ยาวมาจนถึง วันนี้เลย ชอบท�ำงานด้านชุมชน เมื่อก่อนอยากเป็นครูดอยมาก เพราะอยากช่วยเหลือเด็ก ๆ ตอนเรียนอยู่เคยขอข้าวพ่อเป็นกระสอบ ๆ เอาไปให้ชาวบ้านบนดอย ช่วงหนึ่งเราอยากสอน บนดอยที่อ�ำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ แต่พ่อไม่ให้ไป เขาว่าเป็นลูกสาวคนเดียว” ถึงแม้ว่าวันนั้นพ่อไม่อนุญาตให้ไปเป็นครูดอย คอยช่วยเหลือเด็ก ๆ แต่ผ่านมาถึงวันนี้ “สาย-ปุณยนุช” ก็ ได้ท�ำหน้าที่ช่วยเหลือเด็ก ๆ และครอบครัวไปจ�ำนวนมากมายนับไม่ถ้วน ผ่านการท�ำงานภายใต้ร่มของศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง ล�ำปาง โดยท�ำหน้าที่สนับสนุน 295

∞∞

ทุกประเด็นทีอ่ งค์กรต้องการขับเคลือ่ นและพัฒนา เก็บข้อมูล ส่งมอบข้อมูล และกระตุน้ ให้ชมุ ชน นั้นมองเห็นและเป็นเจ้าของเรื่องที่ต้องการท�ำเพื่อชุมชนของตน ด้วยหลักการท�ำงาน คือ ชุมชน ต้องช่วยเหลือกัน “ทุกพื้นที่มียุทธศาสตร์การท�ำงานของตัวเอง ต่อจากยุทธศาสตร์ของอ�ำเภอและต�ำบล เราพูดตลอดเวลาท�ำงานกับชุมชนว่า เรามาสร้างความตระหนัก เราไม่ได้อยู่ที่นี่ แต่พวกคุณอยู่ คุณมีทรัพยากร คุณท�ำต่อเองได้ ถ้าคุณตระหนักรู้ว่าเรื่องที่ก�ำลังท�ำมีคุณค่า เราใช้วิธีค้นคว้า ข้อมูล เรียบเรียงประเด็น คืนข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเมื่อทุกคนเห็นก็ตื่นเต้น และอยากมีส่วนร่วม เพราะมันเกี่ยวข้องกับเขาโดยตรง” นอกจากการท�ำงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านร่วมกับภาคประชาชนโดยตรง ศูนย์เรียนรูฯ้ ยังเชิญผู้บริหารท้องถิ่นเข้าร่วมมหกรรมส่งเสริมการอ่านตั้งแต่ปี ๒๕๕๖ เพื่อให้เห็นผลงานที่ เกิดขึ้นของการท�ำงาน ได้เห็นข้อมูลที่สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับคุณค่าของการอ่านกับเด็ก เล็ก ๆ ในชุมชน พร้อมกันนั้นยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้ส�ำหรับผู้ปกครองที่ได้เห็นช่องทางการ ดูแลลูกหลานให้มพี ฒ ั นาการทีเ่ หมาะสมกับวัยมากทีส่ ดุ อีกช่องทางหนึง่ ด้วย ถือเป็นการสร้างฐาน การเรียนรู้และขยายผลต่อยอดออกไป

296

∞∞



“งานเป็นงานของคนในพืน้ ที่ ผมท�ำหน้าทีม่ าส่งและร่วมสร้างเท่านัน้ เขาท�ำกันต่อไปได้แน่นอน”



อาจารย์พันธ์ศักดิ์ ค�ำแก้ว ประธานศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดล�ำปาง

“เราท�ำงานอยู่ด้วยกันเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เป็นกันเอง การท�ำงานของ เราต้องเดินทางไปชุมชน ลงพื้นที่อยู่บ่อย ๆ แต่สามีเข้าใจเรื่องการท�ำงานดี เพราะเข้าใจ เนื้องานและรู้จักเพื่อนร่วมงานทุกคนดี เวลาที่สามีว่างก็ยังลงพื้นที่ไปกับเราด้วย เรามีความสุข ที่ได้ท�ำงานเพื่อพัฒนาคนและชุมชนให้มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้น ตั้งแต่ได้ท�ำงานเรื่องการอ่านมาก ก็ท�ำให้เรามีเทคนิคในการอ่าน เล่า และเล่นกับลูกมากขึ้น ตอนนี้ลูก ๖ ขวบก็มีความเป็นผู้น�ำ กล้าคิดกล้าท�ำ และเรียนรู้ไว” สาย-ปุณยนุช กล่าว

โอกาส-เรียนรู้-แบ่งปัน อีกคนหนึง่ ซึง่ เป็นก�ำลังหลักในการประสานงานโครงการ “ดาว-กันยกร ตุ้ยวงค์ษ า” เล่าว่า ถือเป็นโอกาสดีมากที่ ได้ท�ำงานเกี่ยวกับด้านพัฒนา ครอบครัว ท�ำให้สามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ในชีวติ ประจ�ำวันได้ เธอรับฟังคนใน ครอบครัวมากขึน้ พูดอะไรก็คดิ ถึงใจเขาใจเรา รวมทัง้ มีโอกาสได้ทำ� งานหลาย 297

∞∞

ประเด็น ตั้งแต่ครอบครัวเข้มแข็ง ครอบครัว หยุ ด พนั น ครอบครั ว รั ก การอ่ า น และ ครอบครัวเท่าทันสื่อ กระทั่งทุกวัน นี้สามี ไม่ดื่มเหล้า ไม่เที่ยวสังสรรค์แล้ว ทั้ง ๆ ที่ ไม่ได้หา้ ม แต่กลายเป็นว่าเมือ่ มีเวลาว่างก็ไป เที่ยวกันทั้งครอบครัว “เรารู้ว่าเราท�ำยังไงให้ครอบครัวมี ความสุข และยังได้เอาความรู้ตรงนี้ส่งต่อไป ถึงคนอื่นด้วย”

รวมทั้งการส่งมอบความรู้และโอกาส ในการพัฒนาตัวเองและครอบครัวให้กับคน อื่น ๆ ท�ำให้ “ดาว” รู้สึกภาคภูมิใจส�ำหรับ โอกาสดี ๆ ที่ได้ผันตัวจากผู้เคยขาดโอกาส ในวัยเด็ก มาเป็นผูม้ อบโอกาสให้กบั คนอืน่ ๆ บ้าง

วันนัน้ “ดาว” ในวัยเด็ก เรียนหนังสือดี จนได้โควต้าไปเรียนต่อ ม. ๑ ในตัวอ�ำเภอ แต่ แ ทนที่ จ ะได้ ใ ส่ ชุ ด นั ก เรี ย นต่ อ ดาวต้ อ งหั น มาใส่ ชุ ด สาวโรงงานเซรามิ ก เพราะครอบครัวไม่มีเงินส่งให้เรียนต่อ “ครอบครัวจนมาก ดาวเป็นลูกคนที่ ๙ ซึ่งพ่อแม่แก่มากแล้ว ครูก็มาด่าว่าไปรับ ตั ด สิ ท ธิ เ พื่ อ น แล้ วไม่ ย อมไปรายงานตั ว ดาวก็รอ้ งไห้เสียใจที่ไม่ได้เรียนต่อ แต่กเ็ ห็นอยู่ ว่าเรายากจนมาก มันไปเรียนต่อไม่ได้จริง ๆ ขนาดประถมฯ ยังไม่มีเงินซื้อข้าวกลางวัน กินเลย ก็ต้องไปช่วยงานครูท�ำอาหารขาย จนเกือบเข้าเรียน ก็ค่อยได้กินข้าวจากครู” เมือ่ ไม่ได้เรียนต่อจึงไปท�ำงานโรงงาน เซรามิก ขยันฝึกจนเชีย่ วชาญได้เหมางานรับ รายได้วันละ ๓๐๐ บาท “ภูมิใจมาก หลังจากเรียนจบ ป. ๖ ดาวไม่เคยขอเงินพ่อแม่ มีแต่ให้ทา่ น จ�ำได้วา่ เงินเดือนครั้งแรก ๗๐๖ บาท เราให้พ่อแม่ 298

∞∞

๕๐๐ บาท หลังจากนั้นก็ให้มาตลอดทุกเดือน แล้วเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ให้ทั้งแม่เราและแม่สามี ดาวกับสามีเข้าใจกันมากเรื่องดูแลพ่อแม่ เพราะเขาเองก็เคยล�ำบากมาเหมือนกันกว่าจะมีวันนี้” ผ่านไป ๒ ปี ดาวตัดสินใจส่งตัวเองเรียน กศน. วันเสาร์-อาทิตย์ พร้อมย้ายงานไป เป็นแคชเชียร์โรงแรมกะเช้า เพื่อจัดเวลาไปเรียนเสริมพิมพ์ดีดในช่วงค�่ำ ผ่านไปจนเรียนจบ

ม. ๖ ตัดสินใจอีกครัง้ ไปเรียนต่อบริหารจัดการภาคค�ำ ่ ทีม่ หาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมกับ ท�ำงานบริษัทของรุ่นพี่ที่รู้จักกันไปด้วย ทีต่ ดั สินใจหาช่องทางเรียนหนังสือต่อ เพราะเคยมีความฝันตอนเด็กทีอ่ ยากท�ำงานเหมือน ครูที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี คนเคารพนับถือ เด็ก ๆ เชื่อฟัง ใช้งานไปซื้อของก็ได้ เมื่ออยากเป็นครู ดาวเห็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปได้คือ ต้องเรียนต่อเท่านั้น “ตอนนั้นเราอ่านหนังสือเรียนแล้วรู้อย่างเดียวว่าอยากมีชีวิตดี ๆ ก็ต้องเรียนหนังสือ เคยอ่านหนังสือเรียน มานะมานี เนื้อเรื่องก็ไม่ไกลตัวเรา อย่างเด็กที่ชื่อ เพชร ก็ชีวิตล�ำบาก 299

∞∞

ต้องดิ้นรนนะ แล้วก็มีเพื่อนชื่อ วีระ คอยช่วยเหลือ แล้วมีตอนหนึ่งที่เด็ก ๆ นั่งรถไฟไปเที่ยวบ้าน ญาติ ท�ำให้คิดอยากออกไปบ้าง เพราะตอนนั้นไม่เคยไปเที่ยวไหน ก็เลยเอาเรื่องนี้มาเป็น แรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เราอ่านซ�้ำ ๆ นะ เพราะชอบ มันมีความสุขที่ได้อ่าน” “คิดแค่ว่า เราต้องเรียน เพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น” ดาวยืนยันถึงแนวคิดที่มีต่อการศึกษา หลังจากแต่งงานจนกระทั่งคลอดลูกแล้ว ได้ข่าว จากเพือ่ นว่าอาจารย์พนั ธ์ศกั ดิร์ บั เจ้าหน้าทีป่ ระสานงาน พื้นที่งานครอบครัวเข้มแข็ง เธอจึงได้กลายเป็นหนึ่งใน คณะท�ำงานของศูนย์เรียนรู้ฯ จนวันนี้เป็นเวลา ๑๒ ปี แล้ว “องค์กรของเราท�ำงานเพือ่ สังคม เมือ่ ก่อนใช้ชอื่ ว่า มูลนิธิเติมน�้ำใจเพื่อสังคม เคยจัดรายการวิทยุร่วมด้วย ช่วยกัน ตั้งแต่รุ่นแรก ๆ ที่ดาวยังไม่เข้ามา พอเข้ามาก็ยังมีรายการวิทยุ แต่จะเป็นรายการ ครอบครัวเข้มแข็ง” ต�ำแหน่งประสานงานพื้นที่ผิดจากที่เคยคาดไว้ว่าจะเป็นการโทรศัพท์ประสานงานและจัด ประชุมตามวาระ เพราะเมื่อลงมือท�ำจริง มีพื้นที่รับผิดชอบงานเยอะมาก ทั้งหมด ๑๒ หมู่บ้าน น�ำร่องในหลายอ�ำเภอ ทั้งอ�ำเภอแม่พริก อ�ำเภอเมืองปาน อ�ำเภอแจ้ห่ม อ�ำเภอเมือง อ�ำเภอ เกาะคา และอ�ำเภอสบปราบ ซึง่ ศูนย์ฯ มีงบประมาณให้พนื้ ทีจ่ ดั กิจกรรมส่วนกลางทีจ่ ะต้องมีการ พัฒนาศักยภาพของชุมชนแต่ละพื้นที่ แถมยังต้องลงท�ำงานในเวลากลางคืนอีกด้วย 300

∞∞

“เมือ่ ก่อนเราลงพืน้ ทีก่ ลางคืน เพราะกลางวันเขาต้องไปท�ำนา ไปท�ำงาน คือแค่เขามีเวลา ให้เราตอนกลางคืนก็ดีใจมากและต้องขอบคุณมาก ๆ แล้ว ก็เลยต้องไปประชุมกันตอนกลางคืน ส่วนใหญ่สามีกับลูกดาวก็ไปด้วย ถือกับข้าวไปกินด้วยกันเลย กลายเป็นสนิทกับครอบครัวใน หมู่บ้านไปเลย สามีก็เข้าใจเพราะชอบให้ท�ำงาน จะได้มีความสุข ไม่เครียด” “ดาว” ได้เริ่มเรียนรู้ทักษะงานพัฒนาชุมชนจากการเข้าร่วมอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อน�ำ มาพั ฒ นาคนท� ำ งานในพื้ น ที่ ต ่ อ เช่ น การท� ำ วิ จั ย ชุ ม ชน การเดิ น เวที การจั ด กิ จ กรรม ผ่านกระบวนการท�ำงานชุมชน ซึ่งมีคณะท�ำงาน ๒ กลุ่ม คือ ด้านครอบครัว และด้านเด็กและ เยาวชน “กิจกรรมในชุมชนเราเปิดให้พื้นที่คิดกิจกรรมเอง ท�ำอะไร ท�ำกับใคร เรื่องไหน เพราะ คนในพื้นที่จะรู้ดีที่สุดว่าควรท�ำอะไร อย่างไร ส่วนเรื่องการสร้างคอร์สคิดกระบวนการพัฒนา ศักยภาพคน ศูนย์ฯ จะรับผิดชอบ มีพี่ ๆ อาจารย์ทุกคนเป็นระดับปรมาจารย์” เธอย�้ำว่า ผู้ใหญ่ในคณะท�ำงานของศูนย์เรียนรู้ฯ ทุกคน เป็นระดับปรมาจารย์ที่สอนให้ เธอเติบโต “เมือ่ ก่อนดาวลงพืน้ ทีก่ บั พีบ่ ญ ุ ส่งซึง่ เป็นทีป่ รึกษานายก เป็นอดีต สจ. ทีเ่ ก่งเรือ่ งพูดคุยกับ ชาวบ้านมาก มีความรู้เรื่องการท�ำงานชุมชน รู้จักคนมาก ดาวก็ได้เรียนรู้วิธีการคุย การสื่อสาร กับชุมชนจากพี่เขาเยอะ”

301

∞∞

ดาว-รุ่นใหม่ เล่าถึงปรมาจารย์รุ่นใหญ่

“อาจารย์พันธ์ศักดิ์ ค�ำแก้ว” - เป็นคนกว้างขวางมาก ท่านเป็นอดีตศึกษานิเทศก์ คณะครูใน โรงเรียนทีเ่ ราประสานงาน อาจารย์รจู้ กั หมด โทรศัพท์แนะน�ำให้ตลอด ทุกวันนีเ้ ป็นประธานชุมชนด้วย เกษียณแล้วก็ยังไม่ยอมหยุดท�ำงาน อาจารย์ชอบท�ำงานเพื่อสังคม



“ลุงอ๋อง-พันเอก สันดุษิต ดีบุกค�ำ” เก่งเรื่องวางยุทธศาสตร์ ออกแบบหลักสูตร ออกแบบ กระบวนการเรียนรู้ ลุงอ๋องมาจากลพบุรี มาเป็นเขยล�ำปาง แต่ทุกวันนี้เป็นคนที่นี่ไปแล้ว ในชุมชนมี กิจกรรมงานบุญ งานประเพณีอะไรก็ ไปร่วมตลอด เมื่อก่อนเป็นทหาร แต่เกษียณมาช่วยพี่พิม (พิมธิดา ดีบุกค�ำ-ภรรยา) ท�ำธุรกิจร้านเครื่องเขียน ซึ่งพี่พิมก็เป็นวิทยากรกระบวนการที่เก่งมาก ไปเรียนรู้อะไรมาใหม่ ๆ ก็เอามาสอนตลอด



“ครูแอ๋ว-ผศ.จริยา วิไลวรรณ” เป็นอาจารย์อยู่ที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล�ำปาง เป็นนักจิตวิทยาที่น่ารัก พูดจาดี คุยกับใครเขาก็รักครูแอ๋วทุกคน และครูแอ๋วสอนศิลปศาสตร์ แล้วก็ช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้จัดกิจกรรมที่วิทยาลัยด้วย



“พี่น้อย-ปรารถนา หาญเมธี” เก่งและเชี่ยวชาญเรื่องสรุปความคิด จับประเด็น เป็นนักเขียน นักสื่อสาร และท�ำธุรกิจโรงงานและ Outlet เซรามิกด้วย



“พี่เฉลิม วิปัณโส” นักการเมืองท้องถิ่นที่มีจิตอาสาเพื่อสังคมมาก ตอนนี้เป็นรองนายก ใจดี ไม่ถือตัว ช่วยเหลืองานเต็มที่ อย่างตอนที่หญ้าในส�ำนักงานสูง ก็แบกเครื่องตัดหญ้ามาช่วยตัดให้ ไปออกงานในกิจกรรมก็ช่วยกันจัดของ เสิร์ฟน�้ำ



“พี่บุญส่ง ทิวงษ์ษา” เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สจ.) เป็นที่ปรึกษานายกเมือง เขลางค์ เป็นจิตอาสามาก ชอบเรียนรู้ จะไปทุกแห่งที่มีโอกาสให้เรียนรู้ มีค่าน�้ำมันให้หรือไม่ก็ไป ถ้ามีเวลา ท�ำประโยชน์เพื่อชุมชนมาตลอด จนคนในชุมชนเชื่อมั่นในตัวเขา

302

∞∞

จากทีเ่ คยเป็นคนขาดโอกาส วันนี้ “ดาว” ผันตัวเองมา เป็นผู้สร้างโอกาสให้ผู้อื่น ผ่านกระบวนการท�ำงานใน โครงการต่าง ๆ ของศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งเธอเองก็ได้ รับการแบ่งปันความรู้จากผู้ใหญ่อย่างสม�่ำเสมอ “ผู้ใหญ่ทุกคนในศูนย์ฯ ไม่เคยหยุดเรียนรู้ ถ้ามีเรื่องที่น่าสนใจ เขาลงทะเบียนเรียนเป็นสัปดาห์ เลยค่ะ แล้วพอเรียนจบมาไม่หวง เอามาเวิรก์ ช็อปให้ตอ่ ตลอด ทุกคนคือต้นแบบแห่งการแบ่งปัน ที่นี่เป็นโลกแห่ง การเรียนรู้ ดาวถึงมีความรู้ไปถ่ายทอดต่อได้” “ภูมิใจแล้วก็มีความสุขมาก ที่ได้ให้โอกาสกับคนอื่น เมื่อก่อนพูดเรื่องอดีตที่ขาดแคลน เราจะน�้ำตาไหล แต่ในวันนี้เราภูมิใจกับชีวิตมาก มีครอบครัวที่ดี มีงานที่ดี ที่ได้มอบสิ่งดี ๆ ให้กับคนอื่น” ในขณะทีท่ กุ คนทีม่ าท�ำงานชุมชนก็ลว้ นมีแต่ใจอาสา อยากเป็นผูใ้ ห้ ถึงไม่ได้รบั ค่าตอบแทน แต่ก็ยินดีมาช่วย แกนน�ำหลายคนอยากไปเรียนรู้ดูงานด้วย ถึงไม่มีงบแต่ก็พยายามหาวิธีการ เช่น ขับรถไปเอง หาบ้านเพื่อนหรือบ้านญาตินอนพัก หรือนอนพักรวมกันหลายคนในห้องเดียว เพื่อจะได้ร่วมเรียนรู้ดูงานที่น่าสนใจ “อย่างพีพ่ รทิพย์ เจ้าของบ้านอัจริยะ ก็คดิ เพิม่ เติมอยูต่ ลอด ชวนผูส้ งู อายุในชุมชนมาอ่าน หาหนังสือใหม่มาเติม แล้วก็อยากไปร่วมอบรมกับเรา เขาท�ำด้วยใจจริง ๆ ไม่ได้คา่ ตอบแทนอะไรเลย อย่างเวลาเราพาคนมาดูงาน ไม่มีเงินค่าอาหารว่างให้นะ แต่พี่พรทิพย์ก็ไปหาน�้ำมะพร้าว ไปหา 303

∞∞

ผลไม้มาเลี้ยง เขาเต็มใจต้อนรับทุกคนมาก” “การท�ำงานทุกวันนี้ ไม่ใช่เงิน แต่เพราะท�ำแล้วเรามีความสุข สร้างให้เขาได้รู้สิ่งดี ๆ มีประโยชน์ เรามีความสามารถท�ำได้ก็อยากท�ำให้เขา ดาวไม่ได้รวยมากแต่ก็ไม่ล�ำบาก บางงาน ไม่ได้เงินแต่ก็ได้ความรู้มากมาย แค่ได้เจอคนมากขึ้น ได้แลกเปลี่ยน เราก็ได้รู้จักและได้ความ รู้มากขึ้นแล้ว คนเราต้องมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้รับทุกอย่าง” หลายคนในองค์กรเป็นจิตอาสาที่มีงานหลัก ๆ และธุรกิจส่วนตัวท�ำเป็นประจ�ำอยู่แล้ว ดังนั้น เวลาที่นัดมาประชุมหรือพบกันส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเย็น “ดาว” บอกว่า ตลอด ๑๒ ปีที่ ท�ำงานด้วยกัน ครอบครัวของทุกคนในองค์กรเข้าใจสถานภาพการท�ำงานดีมาก เนื่องจากทุกคน รู้จักรักใคร่กันดี ด้วยกิจกรรมการเปิดบ้านให้ทุกครอบครัวไปกินข้าวเย็นร่วมกันอยู่บ่อยครั้งของ ลุงอ๋อง “ไม่ใช่ประชุมนะคะ แต่ไปกินข้าวและคุยกัน เหมือนเราเป็นครอบครัวเดียวกัน เป็นการ ท�ำความคุน้ เคยและรูจ้ กั กัน พอเราลงพืน้ ทีท่ ำ� งาน สามีภรรยาก็รวู้ า่ ไปท�ำกับใคร ไปท�ำงานที่ไหน มีแต่ความไว้วางใจ เพราะรู้จักและสนิทกัน แถมลูก ๆ ก็สนิทกันไปด้วย แล้วทุกต้นปี เราก็เก็บ เงินไปเที่ยวด้วยกัน ไปทะเล ขึ้นดอย ไปกันแบบรถตู้ ๓ คัน เพราะไปทั้งครอบครัวของทุกคนที่ ท�ำงานในศูนย์ฯ ทั้งสนุกและสนิทกันดี” “ดาว-กันยกร” กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราอยู่ในสภาพแวดล้อม คนที่ดี คิดดี มันช่วยกระตุ้น เรา การเรียนรู้ไม่สิ้นสุดจริง ๆ ให้ประโยชน์ตัวเอง ครอบครัว สังคม ท�ำให้เราได้เจอสิ่งใหม่ ได้เรียนรู้ และได้เป็นผู้ให้กลับคืนสู่สังคมบ้าง”

304

∞∞

= Growth Mindset = - งานพัฒนาสังคมเริ่มต้นที่รากฐานคือครอบครัว - การเรียนรู้ คือ หัวใจของการขับเคลื่อนงานให้ส�ำเร็จ - ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนน�ำพาไปถึงเป้าหมาย - ครอบครัวเป็นรากฐานของการขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่าน - ท�ำงานด้วยมิตรภาพสร้างความส�ำเร็จ - ทีมงานคือครอบครัวเดียวกัน



“เรามองเห็นความเป็นกัลยาณมิตรชัดเจน ผลส�ำเร็จที่ เกิดขึ้นตอกย�้ำให้เชื่อว่าเราท�ำงานด้วยมิตรภาพ”



ครูแอ๋ว-ผศ.จริยา วิไลวรรณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตล�ำปาง

305

∞∞



“เป็นเรื่องดีมากที่เราได้แสวงหาพันธมิตรเพื่อให้งานประสบ ความส�ำเร็จ ได้หาวิธีการสร้างแรงจูงใจให้คนรักการอ่านมากขึ้น ที่ส�ำคัญคือเราได้พัฒนาทั้งด้านการอ่านและการประชุม เป็นการ ท�ำงานร่วมกันทีไ่ ด้สร้างพลังต่อยอดทางปัญญา เพราะคณะท�ำงาน มีกลยุทธ์ท�ำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลาย จนได้แนวคิด และวิธีการท�ำงานเพิ่มเติม ส่วนความรู้ที่มีอยู่ยังไม่พอก็ต้องไป ค้นหาเพิ่ม จนกลายเป็นนักเรียนรู้ตลอดเวลา”



อ�ำภรณ์ ช่างเกวียน ผอ.กศน. อ�ำเภอแจ้ห่ม จังหวัดล�ำปาง

“ผมเป็นผูบ้ ริหารท้องถิน่ ทีอ่ ยากเรียนรูเ้ พิม่ เติม และมีความเชือ่ ว่าทุกฐานของปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยครอบครัว เป็นโอกาสดีที่ได้ เข้าร่วมเป็นคณะท�ำงานของศูนย์เรียนรู้ฯ เพราะเรื่องราวในชุมชน หลาย ๆ เรื่องเชื่อมโยงมาถึงครอบครัวด้วยกันทั้งนั้น เด็กมี พฤติกรรมที่ไม่เหมาะ จะแก้ที่เด็กอย่างเดียวไม่ได้ ต้องเริ่มที่ ครอบครัว ให้โอกาสและมอบความรักให้กับเด็ก ๆ ด้วย”



เฉลิม วิปัณโส คณะท�ำงานศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดล�ำปาง

306

∞∞



“ทุกวันนี้พวกเราท�ำงานเป็นทีมเวิร์ก เหมือนทีมฟุตบอล ไม่มี ใครเป็นพระเอก ส�ำคัญเพียงแต่ในทีมคนต้องเข้าใจร่วมกันว่าประตูอยู่ ทีไ่ หน เข้าใจร่วมกันว่าเราก�ำลังท�ำอะไร เพือ่ ไปถึงจุดไหน แล้วสุดท้าย เราจะผ่านไปถึงจุดหมายได้ด้วยดี”



อาจารย์พันธ์ศักดิ์ ค�ำแก้ว ประธานศูนย์เรียนรู้เพื่อครอบครัวเข้มแข็ง จังหวัดล�ำปาง

307

∞∞

อ่านสร้างสุข ไตรรัตน์ แขวงเมืองปักษ์, วรเชษฐ เขียวจันทร์, สุพรรณกัญจนารีย์ รักอิสระ

บทที่ ๕

บทสรุป Growth Mindset ๑๑ เส้นทางการอ่าน

เพื่อสร้างรากฐานสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่วิถีสุขภาวะ

Growth Mindset สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สุพรรณกัญจนารีย์ รักอิสระ บนพื้นฐานความเชื่อในการเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างสังคมที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นได้ บนพื้นฐานความเชื่อว่ามนุษ ย์สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ตลอดชีวิต บนพื้นฐานความเชื่อในศักยภาพของเพื่อนมนุษ ย์อย่างเท่าเทียม บนพื้นฐานความเชื่อในการพัฒนาคน พัฒนาชุมชน พัฒนาสังคม ความเชื่อเชิงสร้างสรรค์ของคนท�ำงานซึ่งเป็นก�ำลังส�ำคัญจาก ๑๑ พื้นที่ต้นแบบ ล้วนจัด อยู่ในหมวดกรอบความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset ที่เป็นกุญแจส�ำคัญในการพัฒนา ตนเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตอบโจทย์ไปถึงการท�ำหน้าที่พัฒนาเพื่อนมนุษย์ พัฒนาชุมชน พัฒนา สังคมตามล�ำดับ นอกเหนือจากหมวกใบหลักของการเป็นนักพัฒนาสังคม ไม่ว่าจะในนามภาคประชาชน หรือองค์กรภาครัฐ ไม่ว่าจะสวมหมวกใบไหน ทุกคนยังมีบทบาทเป็น “นักสร้างเสริมวัฒนธรรม

การอ่านมืออาชีพ” ที่สร้างผลลัพธ์ความส�ำเร็จจากการลงมือท�ำเหตุให้ถึงพร้อมทุกด้าน โดยมี กรอบความคิดเติบโตฉายภาพไว้อย่างชัดเจน ถึงความเชื่อในศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้อย่าง ไม่มีขีดจ�ำกัดของมนุษย์ เพียงแค่เชื่อมั่น ไตร่ตรอง ลองท�ำ เรียนรู้ และพัฒนา หลายคนเหมือนกันตรงที่ ไม่วา่ ผลลัพธ์จะพลาดไปจากทีค่ าดคิดไว้อย่างไรก็ตาม ยังคงหา ช่องทางใหม่ และลงมือท�ำอีกเพื่อให้ส�ำเร็จตามเป้าหมายอย่างไม่ท้อถอย หลายคนเหมือนกันตรงที่ ดูแลเอาใจใส่ภาคีเครือข่าย ร่วมท�ำงานเหมือนกับเป็นญาติ พี่น้องของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นใครมาจากไหน การศึกษา อายุเท่าไร เชื้อชาติ สัญชาติใด ฐานะ อย่างไร เสมอ เสมอ

หลายคนเหมือนกันตรงที่ ยังค้นคว้าและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาอยู่สม�่ำเสมอ หลายคนเหมือนกันตรงที่ ส่งต่อองค์ความรู้ที่มีอยู่เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง หลายคนเหมือนกันตรงที่ เชื่อมั่นว่าครอบครัวคือรากฐานในการพัฒนาสังคม หลายคนเหมือนกันตรงที่ ท�ำงานทุกอย่างด้วยความสนุก และตื่นเต้นกับสิ่งใหม่ ๆ เต็มที่

หลายคนเหมือนกันตรงที่ ค้นหาทุนที่มีอยู่รอบตัวเป็นเครื่องมือสนับสนุนการท�ำงาน หลายคนเหมือนกันตรงที่ เชื่อมั่นว่าการอ่าน คือ การเรียนรู้ชีวิต หลายคนเหมือนกันตรงที่ คิดว่าการพัฒนาคน คือ การพัฒนาสังคม และหลายคนเหมือนกันตรงที่ เชื่อมั่นอย่างสูงสุดว่าคนทุกคนมีศักยภาพในตัวเอง



สิ่งส�ำคัญคือ ไม่ว่าในมนุษ ย์เราจะมีกรอบความคิด (Mindset) รูปแบบใดมาก่อน

หลายคนเหมือนกันตรงที่ ใช้การตั้งค�ำถามที่สร้างสรรค์เพื่อค้นหาช่องทางท�ำงานใหม่ ๆ

311

∞∞

ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยเฉพาะเมื่อรู้ว่า กรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) สร้าง ผลลัพธ์ที่ดี ในการท�ำงาน เราทุกคนสามารถเลือกใช้กรอบความคิดที่เชื่อมั่นในการพัฒนา ศักยภาพเป็นพื้นฐานเพื่อก้าวไปสู่ผลส�ำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข กรอบความคิดและประสบการณ์ของนักสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านทุกคนทีแ่ บ่งปันอยู่ ในหนังสือเล่มนี้ เป็นส่วนส�ำคัญที่ผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมการอ่านในชุมชนหนึ่ง และขยายผล ต่อเนื่องไปยังอีกหลายต่อหลายชุมชน รวมถึงเป็นพลังส�ำคัญในการขยายต่อเนื่องไปยังระดับ จังหวัดและประเทศ

ทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมสร้างสังคมแห่งปัญญาที่น�ำไปสู่สังคมสุขภาวะ

ขอบคุณทุกประสบการณ์และทุกความคิดอันมีคุณค่าจากทุกคนที่แบ่งปันไว้ เพื่อเป็น ส่วนหนึง่ ในการขยายผลของสังคมแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับปรัชญาของแผนงานสร้างเสริม วัฒนธรรมการอ่าน คือ “อ่านสร้างสุขเพื่อวิถีสุขภาวะ”

ติดตามงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านได้ที่ www.happyreading.in.th Facebook : http://facebook.com/Happyreading

312

∞∞

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ด�ำเนินงานโดย มูลนิธสิ ร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้รบั การสนับสนุนจากส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีบทบาทหน้าที่ ในการประสานกลไก นโยบาย และปัจจัยขยายผลจากทัง้ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการสร้างเสริมพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงเด็ก เยาวชน และครอบครัว โดยเฉพาะกลุม่ ทีข่ าดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือและกลุม่ ทีม่ คี วามต้องการพิเศษ ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย โครงการ และกิจกรรม เพื่อสร้างเสริมให้เกิดพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสังคมสุขภาวะกับเราได้ที่ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ด�ำเนินงานโดย มูลนิธิสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ๔๒๔ หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ ๖๗ แยก ๓ ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ : ๐-๒๔๒๔-๔๖๑๖-๗ โทรสาร : ๐-๒๘๘๑-๑๘๗๗ E-mail : [email protected] Website : www.happyreading.in.th Facebook : http://facebook.com/Happyreading

313

∞∞

ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมสร้างวัฒนธรรมการอ่าน

สามารถดาวน์โหลด อ่านสร้างสุข ทุกเล่ม ได้ที่ www.happyreading.in.th

สามารถดาวน์โหลด อ่านสร้างสุข ทุกเล่ม ได้ที่ www.happyreading.in.th